-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - แก้วมังกรกระบองเพชรกินได้...
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
ตอบตอบ: 02/01/2011 9:36 pm    ชื่อกระทู้: แก้วมังกรกระบองเพชรกินได้...

แก้วมังกรกระบองเพชรกินได้ ปีใหม่ครบรอบ 20 ปี แก้วมังกรมาเมืองไืทย



ภาพต้นแก้วมังกรของประเทศอิสราเอล



ประวัติแก้วบังกรสากลถึงเวียดนามช่วงก่อนเข้าสู่ไทย
แก้วมังกรเป็นพืชจำพวกต้นกระบองเพชรชนิดเดียวที่ออกผลกินได้ ถิ่นกำเนิดของแก้วมังกรอยู่ในทวีปอเมริกากลาง แถบหมู่เกาะเวสต์อินดีส เม็กซิโก โคลอมเบีย กัวเตมาลา และเวเนซุอลา สันนิษฐานว่าแก้วมังกรเข้ามาในเอเชียโดยบาทหลวงชาวฝรั่งเศสที่นำพืชพันธุ์นี้มาจากอเมริกากลางมาปลูกในเวียดนามเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งศตวรรษ ที่เวียดนามปลูกกันมากจนชาวเวียดนามถือว่าเป็นผลไม้ท้องถิ่น มีการปลูกเป็นไม้ผลหลังบ้านและปลูกเป็นสวนขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ ตามสภาพดินที่มีอยู่ บริเวณที่ปลูกกันมากคือ แถบชายฝั่งทะเลตะวันออกจากเมืองนาตรังทางเหนือลงไปทางใต้ถึงนครโฮจิมินห์ ในประเทศไทยแก้วมังกรเป็นผลไม้ที่นำพันธุ์มาจากประเทศเวียดนาม คนเวียดนามเรียกว่า ธานห์ลอง (Thanh long)



ด.ร. ดร.สุรพงษ์ โกสิยะจินดา ผู้นำเข้าและตั้งชื่อต้นแก้วมังกรเมื่อราว พ.ศ. 2534 หรือเมื่อ 20 ปีก่อนนี่เอง



ประวัติแก้วมังกรในไทย
มีผู้นำแก้วมังกรเข้ามาปลูกในประเทศไทยเป็นเวลานานมากกว่ากึ่งศตวรรษแล้ว แต่ไม่เป็นที่รู้จัก คนที่นำแก้วมังกรเข้ามาในเมืองไทยเป็นคนแรกนั้น ไม่มีใครทราบ เพราะว่าเดิมนำเข้ามาในฐานะของไม้ประดับที่ให้ดอกและผลสวยงาม แต่ว่าคนที่นำเข้ามาและผลักดันอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งสามารถปลูกเป็นการค้า เมื่อราว พ.ศ. 2534 เพิ่งมีการนำต้นพันธุ์ดีจากประเทศเวียดนามเข้ามาปลูกเพื่อเป็นผลไม้เศรษฐกิจ คนที่ตั้งชื่อและนำเข้าผลไม้ชนิดนี้ว่า แก้วมังกร คือ ดร.สุรพงษ์ โกสิยะจินดา อดีตหัวหน้าภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีโอกาสเดินทางไปในหลายประเทศ และได้ไปพบเห็นผลไม้ชนิดนี้ในตลาด จึงลองซื้อมาชิมดู และเห็นศักยภาพ จึงได้นำมาขยายพันธุ์และทดลองปลูกดู ปรากฏว่าแก้วมังกรสามารถออกดอกและให้ผลได้ในเมืองไทยเช่นเดียวกัน ชื่อผลไม้ชนิดนี้เป็นภาษาไทยว่า แก้วมังกร ตรงตามความหมายของภาษาจีนและรูปลักษณ์ของผล จนกลายเป็นไม้มงคลไปโดยปริยาย (ภาษาจีนเรียกแก้วมังกรว่า 火龙果 huŏ long kè แปลตามตัวว่าผลไม้มังกรไฟ) ทั้งที่ในช่วงแรกไม่มีใครเชื่อว่าผลไม้ชนิดนี้จะสามารถนำมาพัฒนาเป็นไม้ผลเศรษฐกิจได้ เพราะว่ารสชาติไม่น่าประทับใจเท่าใด ต่อมาแก้วมังกรมีการมีการกลายพันธุ์ใหม่ๆออกมา และมีหลากหลายสายพันธุ์จนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจไทยในที่สุด





ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก
dragon-fruit.biz
pr.trf.or.th
cn.wikipedia.org
th.wikipedia.org
www.212cafe.com
www.itmstrade.com
www.ryt9.com

http://historyclubsite.forumotion.com/t115-page