-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - ให้น้ำสำปะหลัง สู้เพลี้ยแป้ง ผลผลิตเพิ่ม.....
ผู้ส่ง ข้อความ
Redmountain
ตอบตอบ: 09/03/2011 4:47 pm    ชื่อกระทู้:

เอ้อ ฝากเตือนพี่น้องที่ดูกระทู้ให้น้ำมันสำปะหลังด้วยนะครับว่า อย่าให้ระหว่าง ๐๙๓๐-๑๕๓๐ รากพึ่งงอกใหม่ๆมันจะสุก แล้วใบร่วงต้นอ่อนแอ โดนเพลี้ยโจมตีได้

เพราะผมเจอมาแล้ว โง่แสนโง่ รดน้ำทั้งวัน เพื่อเร่งให้ใบออก ช่วงแรกก็ใบออกดี ซักพักใบเหลืองร่วงหมด เพลี้ยตามซ้ำ ฮ่าฮ่าฮ่า

คราวนี้เลยให้ช่วง ๑๘๐๐-๒๑๐๐ ซะเลย ตอนนี้ให้สลับกัน โคนต้นกับทางใบ
Redmountain
ตอบตอบ: 09/03/2011 4:45 pm    ชื่อกระทู้:

ลุงครับลุง เพลี้ยแป้งกลับมาอีกแล้ว

http://www.nettathai.org/writer/Feb2011/04.pdf
http://www.nettathai.org/writer/Feb2011/05.pdf

พื้นที่ผมอยู่ระหว่างจอมบึงกับหนองตากยา ปีที่แล้วเริ่มพรึ่บตอนปลายเดือนมีค ต้นเมย
ปีนี้ก็ไม่น่าพ้นสภาพเดิม

แต่อาศัยว่าคราวนี้ รอบที่ปลูกพ.ย. ต้นโตสมบูรณ์พออยู่ตัวแล้ว แถมพ่นใบด้วยขี้หมู/สมุนไพรทุก๒อาทิตย์ ยังสุขภาพดีอยู่ ปลูก๖๐ไร่ พ่นทุกสองอาทิตย์เจอ๓-๔ต้น
kimzagass
ตอบตอบ: 04/02/2011 9:28 pm    ชื่อกระทู้:

ความต้องการของธาตุอาหารมันสำปะหลัง


มันสำปะหลังมีความต้องการธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ในแต่ฤดูการผลิตในสำปะหลังจะต้องการ

ธาตุไนโตรเจน ........... 10-20 กิโลกรัมต่อไร่
ฟอสฟอรัส ................ 6-10 กิโลกรัมต่อไร่
โพแทสเซียม ............. 8-12 กิโลกรัมต่อไร่

ขึ้นอยู่กับปริมาณธาตุอาหารในดินก่อนปลูก มันสำปะหลังจะตอบสนองต่อปริมาณธาตุไนโตรเจนที่ได้รับมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความ
สามารถในการอุ้มน้ำของดินและปริมาณฝนที่ตกกระจายอย่างสม่ำเสมอ

แต่เมื่อได้รับธาตุไนโตรเจนมากเกินไป จะทำให้เปอร์เซ็นต์แป้งในหัวมันลดลง

ส่วนธาตุฟอสฟอรัสนั้นถึงแม้จะมีปริมาณความต้องการน้อยกว่าธาตุไนโตรเจนและโพแทสเซียม แต่ก็มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต
และปริมาณผลผลิต

ที่สำคัญอย่างยิ่ง ธาตุฟอสฟอรัสจะมีประโยชน์ต่อมันสำปะหลังมากที่สุดที่ระดับ pH ของดินเป็นกลางในระหว่าง 6-7

สำหรับธาตุโพแทสเซียมนั้นมีความสำคัญต่อการเคลื่อนย้ายคาร์โบไฮเดรต จากส่วนใบ และต้นไปยังราก เพิ่มปริมาณแป้งในหัวมัน และลด
ปริมาณไฮโดรไซยานิคในหัวมัน

การขาดโพแทสเซียมจะทำให้ผลผลิตหัวมันลดลงอย่างชัดเจน ใบแก่จะร่วงหล่นเร็วกว่าปกติ ใบเล็กแคบ และลำต้นแคระแกร็น



file.siam2web.com/umponpong/2010929_68867.doc
kimzagass
ตอบตอบ: 04/02/2011 8:05 am    ชื่อกระทู้:

ทำเถอะ ทำให้รู้ผล ได้/ไม่ได้ อย่างที่เขาว่า อย่างที่เราว่า หรือไม่ เอาคำตอบสุดท้าย "ก. ทำกับมือ" มาให้ได้

แบบที่คุณทำ เรียกว่า "หมักในกอง" ซึ่งทุกขั้นตอน IN CONTROL ตั้งแต่เริ่มต้น (ทำ) จนถึงส่งถึงแปลง (ใช้)
เราสามารถกำหนดสเปคได้

อีกแบบหนึ่งที่ลุงคิมอยากเสนอเป็นแนวคิด คือ "หมักในแปลง" ซึ่งวิธีนี้เรา CONTROL เพียงบางส่วน
ที่เหลือปล่อยให้ธรรมชาติ (จุลินทรีย์ สภาพแวดล้อม) เป็นตัว CONTROL ให้





"หมักในกอง V.S. หมักในแปลง"

หมักในกอง......ทุกขั้นตอนต้องใช้แรงงาน ตั้งแต่ทำ ขนย้ายไปแปลง
หมักในแปลง....ลดขั้นตอนในการทำ ไม่ต้องขนย้าย

หมักในกอง......ต้องขนอินทรีย์วัตถุมาทำกอง แล้วรดด้วยน้ำจุลินทรีย์
หมักในแปลง....ไม่ต้องขนอินทรีย์วัตถุมาทำกอง แต่ใช้อินทรีย์วัตถุที่มีอยู่ในแปลง

หมักในกอง.....อินทรีย์วัตถุเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้ด้วยน้ำจุลินทรีย์
หมักในแปลง...เอาน้ำจุลินทรีย์ไปราดรดใส่อินทรีย์วัตถุในแปลง อินทรีย์วัตถุในแปลงก็กลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้


หลักการและเหตุผล :
- ความหมายของอินทรีย์วัตถุ คือ สิ่งมาจากธรรมชาติ นอกจากเศษพืชและซากสัตว์แล้ว "ดิน" ก็จัดว่า
เป็นอินทรีย์วัตถุเช่นกัน ดังนั้น การเอา "น้ำจุลินทรีย์" ราดรดลงดินโดยตรง ด้วย "ปริมาณ-วิธีการ-
สภาพแวดล้อม" ที่เหมาะสมต่อกระบวนการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ จากดินธรรมดาๆก็จะกลายเป็น
ปุ๋ยอินทรีย์ได้เช่นกัน

- พืชไม่ได้กินอินทรีย์วัตถุที่ยังคงสภาพเป็นชิ้นเป็นต่อนอยู่ แต่กินของเหลวที่ละลายมาจากอินทรีย์วัตถุ

- อาหารที่พืชต้องการกินประกอบด้วย ธาตุหลัก/รอง/เสริม 14 (+) ตัว, ฮอร์โมน 4-5 (+) ตัว,
และอื่นๆอีก 100 (+) ตัว.....ทำอย่างไรในปุ๋ยอินทรีย์ที่ทำจากอินทรีย์วัตถุธรรมชาติจึงจะมีสาร
อาหาร "ครบ" หรือมาก ตัว/ชนิด ที่สุด....(งานวิจัยระบุว่า สารอาหารที่ได้จากอินทรีย์วัตถุใดๆ มี
เพียง 1-2-3 % เท่านั้น....อาจจะพอเพียงสำหรับพืชบางชนิด และอาจจะไม่พอเพียงกับพืชอีกชนิดหนึ่งก็ได้...)

- ตัวเปลี่ยนสภาพอินทรีย์จากที่เป็นชิ้นเป็นต่อนให้เป็นของเหลวได้ คือ จุลินทรีย์

- ตรวจสอบ "น้ำจุลินทรีย์" ที่ทำเองว่า มีสารอาหารพืชหรือไม่ ? สารอาหารตัวไหน ? และตรวจสอบ
อินทรีย์วัตถุในกองว่า เมื่อถูกย่อยสลายแล้วได้สารอาหารพืชตัวไหน ?

- เปรียบเทียบ "น้ำจุลินทรีย์" ที่ทำขึ้นมาเอง กับ "น้ำหมักชีวภาพ สูตรระเบิดเถิดเทิง" (สูตรอยู่ที่เว้บ
หน้าแรก) ว่ามีความต่างกันของสารอาหารพืชทางเคมี หรือทางฟิสิกส์ อย่างไรบ้าง



สรุปแนววิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ :

- ทำน้ำหมักชีวภาพ สูตรระเบิดเถิดเทิง หมักในถัง "ง่าย-สะดวก-สมบูรณ์แบบ" กว่าการทำปุ๋ยอินทรีย์
ในกอง หรือไม่ ? อย่างไร ?

- การขนย้ายปุ๋ยอินทรีย์ในกองไปใส่แปลง กับ การนำน้ำหมักชีวภาพ สูตรระเบิดเถิดเทิง ไปราดรดทับ
อินทรีย์วัตถุในแปลง วิธีไหน "ง่าย-สะดวก-สมบูรณ์แบบ" กว่ากัน

- ทำน้ำหมักชีวภาพ สูตรระเบิดเถิดเทิง 1 ถัง (200 ล.) เพียงพอต่อการใช้สำหรับแปลงสำปะหลัง 40 ไร่
(5 ล./ไร่) /ครั้ง......(อัตราใช้ : น้ำเปล่า 200 ล.+ น้ำหมักฯ 5 ล.+ ปุ๋ยเคมี 5 กก.+ ธาตุรอง/ธาตุ
เสริม 200 กรัม สำหรับเนื้อที่ 1 ไร่)

- ปริมาณและชนิดของสารอาหารพืชระหว่าง ปุ๋ยอินทรีย์ในกอง กับ น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงในถัง
อย่างไหนมีสารอาหารพืชมากกว่ากัน

- ปริมาณสารอาหารพืชทั้งจากปุ๋ยอินทรีย์ในกอง และจากน้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงในถัง ต่างก็ยังมี
น้อยเหมือนๆกัน เมื่อเทียบกับความต้องการของพืชอย่างสำปะหลัง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใส่เพิ่ม และนี่คือ
การเกษตรแบบ "อินทรีย์ นำ - เคมี เสริม - ตามความเหมาะสมของสำปะหลัง" นั่นเอง....



ลุงคิมครับผม
kimzagass
ตอบตอบ: 02/02/2011 11:10 am    ชื่อกระทู้:

ต่อยอด.....

ข้อมูลตรงนี้กับข้อมูลอีกหลายๆแหล่ง แนวพิจารณาหนึ่งที่พ้องต้องกัน คือ เพลี้ย
แป้งสำปหลังชอบความแห้งแล้ง แต่ไม่ชอบความชื้น.....ถ้าสภาพแวดล้อมในแปลง
สำปะหลังแห้งแล้ง จะเอื้อต่อการเจริญเติบโตขยายพันธุ์ แต่หากสภาพแวดล้อมใน
แปลงมีแต่ความชื้น นอกจากจะไม่เจริญเติบโตขยายพันธุ์ได้แล้วยังตายอีกด้วย สัง
เกตุคำแนะนำในการใช้เชื้อโบวาเรียที่ว่า ต้องผสมน้ำมากๆ ฉีดพ่นให้โชกๆ นี่ก็คือ
การสร้างความชื้นในบรรยากาศแปลงสำปะหลังนั่นเอง

สรุป : กำจัดเพลี้ยแป้งสำปะหลังด้วยความชื้น ....... ดีที่สุด


บนแนวความคิดการให้น้ำแก่สำปะหลังด้วยวิธีการใดก็สุดแท้นั้น น้ำในแปลงจะทำ
ให้ความชื้นสัมพัทธ์สูงโดยธรรมชาติ เช่น น้ำที่ฉีดพ่นด้วยสปริงเกอร์โอเวอร์เฮด
ละอองน้ำจะปลิวอยู่ในอากาศเหนือพื้นที่แปลง ครั้นเมื่อน้ำตกลงสู่พื้นดินแล้ว ก็ยัง
ระเหยเป็นไอสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศได้อีกต่อหนึ่งด้วย หรือแม่แต่ระบบน้ำ
หยด หรือระบบพ่นฝอยที่โคนต้นเหนือพื้น น้ำเหล่านี้ต้องระเหย (ธรรมชาติ) อยู่
แล้ว นั่นก็คือ เกิดความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศได้นั่นเอง

การให้น้ำแก่สำปะหลังนอกจากเป็นการบำรุงสำปะหลังในตัวแล้ว ยิ่งเป็น "น้ำ+
ปุ๋ย" ก็จะยิ่งดีขึ้นไปอีก

ปัญหาใหญ่ของชาวไร่สำปะหลัง หรือพืชไร่อื่นๆ ก็คือ "ไม่มีน้ำ" เพราะฉนั้น ชาวไร่
ต้องช่วยเหลือตัวเองให้ได้ เช่น ใช้พื้นที่ปลูกให้เล็กลง แล้วหาซื้อน้ำ (ถ้าจำเป็นต้อง
ซื้อ) มาให้แก่สำปหลังให้ได้ มิฉนั้นก็จะไม่ได้ผลผลิตอะไรเลย นี่คือ สภาวะจำ
ยอม เมื่อสำปะหลังต้องการน้ำก็ต้องหาน้ำมาให้เขาให้ได้

นอกจากเชื้อโบวาเรียต่อสำปะหลังแล้ว บรรดาเชื้อ บีที. เชื้อ บีเอส. เชื้อ เอ็นพี
วี. ที่ใช้กำจัดศัตรูพืช ซึ่งเชื้อเหล่านี้คือจุลินทรีย์ประเภทหนึ่ง ดังนั้น การนำใช้ก็ต้อง
อาศัยเทคนิคเดียวกันจึงจะได้ผล


ลุงคิมครับผม
kimzagass
ตอบตอบ: 01/02/2011 9:35 pm    ชื่อกระทู้:

การใช้เชื้อรา บิวเวอร์เรีย ปราบเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังอย่างถูกต้อง

เชื้อรามีด้วยกันหลายประเภท เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคกับคน พืชและแมลง เชื้อราที่
ใช้กับแมลงจะไม่ทำให้เกิดโรคในคนหรือในพืช ในขณะเดียวกันเชื้อราที่ทำให้เกิด
โรคกับแมลงก็ยังเฉพาะเจาะจงกับในกลุ่มของแมลงอีกด้วย เชื้อราที่จะกำจัดแมลง
ชนิดใดก็จะต้องเป็นเชื้อราสายพันธุ์ที่สกัดเอาเชื้อที่มีอยู่ในแมลงชนิดนั้น แล้วนำไป
เพิ่มจำนวนสปอร์ฉีดพ่นแมลงชนิดนั้น เพราะมีประสิทธิภาพดีกว่าที่จะไปสกัดเอาเชื้อ
จากแมลงชนิดอื่นมาใช้

นายสุเทพ สหายา นักกีฎวิทยาชำนาญการพิเศษ กลุ่มวิจัยกีฎและสัตววิทยา
สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร อธิบายให้ฟังว่า ถ้าเรา
ต้องการเชื้อราบิวเวอร์เรียไปฆ่าเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง เราก็ต้องไปเก็บเพลี้ยแห้งใน
ธรรมชาติที่ตายด้วยเชื้อราชนิดนั้นมาสกัด แล้วนำมาขยายเพิ่มปริมาณสปอร์ ซึ่ง
จำนวนสปอร์จะต้องมีปริมาณตามมาตรฐานที่กำหนด คือ 20 ล้านสปอร์ต่อ 1 ซีซี.

การใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย
ในการกำจัดเพลี้ยแป้ง ต้องใช้ในอัตรา 100 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ สารผสม
20 ลิตรต้องมีอย่างน้อย 2,000 ล้านสปอร์



ปัจจัยที่เอื้อต่อการใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียให้เกิดประสิทธิผล
นางเสาวนิตย์ โพธิ์พูนศักดิ์ นักกีฎวิทยาชำนาญการ กลุ่มงานวิจัยการปราบศัตรูพืช
ทางชีวภาพ กลุ่มวิจัยกีฎและสัตววิทยา ชี้แจงว่า เนื่องจากเชื้อราเป็นสิ่งมีชีวิต การ
นำไปใช้จะได้ผลหรือไม่ ต้องอาศัยปัจจัยสภาพแวดล้อมอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง
หลายอย่าง ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นแสงกับช่วงเวลาและตัวของแมลงเอง


อุณหภูมิ
อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับเชื้อราบิวเวอร์เรีย ที่จะทำให้เชื้อรางอกสปอร์ได้ดี จะอยู่
ในระหว่าง 25-27 องศาเซลเซียส ดังนั้น หากเกษตรกรซื้อมาแล้วยังไม่ได้ใช้จะ
ต้องเก็บไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสม คือ 25-27 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิสูงกว่า
นี้ สปอร์จะไม่เจริญเติบโตและเสื่อมคุณภาพ เมื่อนำเชื้อราไปพ่นกำจัดแมลงหรือ
เพลี้ยก็จะไม่ได้ผลเท่าที่ควร




ความชื้น
ความชื้นทีเหมาะสมสำหรับพ่นเชื้อราบิวเวอร์เรีย ต้องมีความชื้นสูงมากกว่า 50
เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ความชื้นที่เหมาะสมที่สุด คือ ช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่ใน
บรรยากาศมีความชื้นสูง เนื่องจากความชื้นจะไปกระตุ้นให้สปอร์งอกออกมา และ
แทงทะลุผ่านเข้าไปในตัวแมลงหรือตัวเพลี้ย แต่ถ้าจะพ่นในช่วงฤดูฝนต้องดูว่าช่วง
นั้นมีเพลี้ยระบาดหรือไม่ เพราะโดยธรรมชาติฝนจะช่วยลดการระบาด
ของเพลี้ยอยู่แล้ว แต่เนื่องจากเพลี้ยแป้งมักจะระบาดในช่วงแล้ง ซึ่งอุณหภูมิและ
ความชื้นไม่เหมาะต่อการพ่นเชื้อรา
ดังนั้น เกษตรกรจะต้องมีความเข้าใจ
ในธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตทั้งสองชนิดนี้ จึงจะสามารถใช้เชื้อราให้เกิดประสิทธิผล


แสงกับช่วงเวลา
การที่จะพ่นเชื้อราบิวเวอร์เรียให้ได้ผล คือ ต้องเป็นช่วงเวลาเย็นที่อากาศมีความชื้น
สูงและอุณหภูมิต่ำ การที่เลือกเวลา พ่นเชื้อราในตอนเย็น ก็เพื่อไม่ให้โดนแสงแดด
เพราะแสงแดดจะทำให้เชื้อราเสื่อมคุณภาพเร็วยิ่งขึ้น



ตัวแมลง
เพลี้ยแป้งมีลักษณะเฉพาะตัวของมันเอง คือ มีแป้งคลุมตัวอีกชั้นหนึ่ง การพ่นเชื้อ
รากว่าสปอร์จะทะลุเข้าไปถึงตัวชั้นใน จะต้องผ่านแป้งที่คลุมอยู่อีกหนึ่งชั้น ดังนั้น
การใช้เชื้อรากำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังจึงยากกว่าการกำจัดเพลี้ยธรรมดา และ
ระยะที่เหมาะสมกับการพ่นเชื้อรา คือ ช่วงระยะตัวอ่อน ซึ่งเพลี้ยแป้งยังไม่มีแป้ง
มาปกคลุมลำตัว


การฉีดพ่นเชื้อราบิวเวอร์เรีย
การพ่นเชื้อราบิวเวอร์เรียในแปลงมันสำปะหลังเพียงครั้งเดียวไม่ได้ผล ต้องพ่นซื้อ
2-3 ครั้งขึ้นไป และต้องพ่นในช่วงที่แมลงยังตัวเล็กๆ การพ่นต้องให้ถูกตัวแมลง
ด้วย เนื่องจากเชื้อราเป็นสิ่งมีชีวิต การออกฤทธิ์ของเชื้อราไม่เหมือนสารเคมีซึ่ง
สามารถดูดซึมผ่านไปสู่เนื้อเยื่อได้ เมื่อเพลี้ยมาดูดกินก็จะได้รับสารเคมี ทำให้
เพลี้ยตาย ในกรณีที่เพลี้ยเกาะอยู่ใต้ใบ หากพ่นเชื้อราไปตกอยู่บนใบ ในกรณีที่
เพลี้ยเกาะอยู่ใต้ใบ หาก พ่นเชื้อราต้องให้สปอร์ไปตกหรือถูกตัวแมลงเท่านั้นจึงจะ
ทำลายเพลี้ยได้
อย่างไรก็ตามต้องคำนึงถึงช่วงเวลา แสง อุณหภูมิ และความชื้นที่
เหมาะสมดังกล่าวเป็นสำคัญ สปอร์จึงจะงอกเส้นใยออกมาแทงทะลุเข้าไปในตัว
เพลี้ยแป้งได้


การใช้อุปกรณ์พ่นสารเคมีร่วมกับอุปกรณ์พ่นเชื้อรา
สามารถใช้อุปกรณ์ตัวเดียวกันได้ แต่จะต้องเปิดรูหัวฉีดให้กว้างขึ้น ถ้าเราไม่ปรับหัว
ฉีดให้รูกว้างขึ้น อาจทำให้อุปกรณ์ส่วนอื่นอุดตันได้ โดยเฉพาะที่หัวฉีด เพราะ การ
ใช้เชื้อราพวกนี้ต้องการความชื้นมาก จึงจำเป็นต้องเปิดรูให้กว้างขึ้น ปริมาณน้ำที่ใช้
ผสมจะต้องมากกว่าการพ่นสารเคมีจึงจะทำให้มีความชื้นมาก และต้องพ่นให้เปียก
โชก
ควรผสมสารจับใบด้วยเพื่อให้สปอร์เกาะพืชดีขึ้น การซื้อเชื้อราจากร้านค้า
มาใช้ปราบศัตรูพืช เกษตรกรควรสังเกตสถานที่เก็บเชื้อราว่า วางอยู่ในสถานที่อย่าง
ไร ที่สำคัญ คือ ต้องไม่โดนแสงแดด ไม่โดนลม ดังที่กล่าวแล้วว่าเชื้อราเป็นสิ่ง
มีชีวิต หากอยู่ในห้องที่มีอุณหภูมิสูง สปอร์จะเสื่อมคุณภาพ คุณภาพของเชื้อราจะลด
ลง เกษตรกรนำไปใช้ไม่ได้ผล


ดังนั้น เกษตรกรที่จะใช้เชื้อราในการป้องกันกำจัดเพลี้ยหรือแมลงศัตรูพืช จะต้อง
ศึกษาและเข้าใจในธรรมชาติของเชื้อรา และแมลงศัตรูพืชแต่ละชนิดและใช้ให้ถูก
วิธีการกำจัดจึงจะได้ผล


สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มวิจัยกีฎและสัตววิทยา และกลุ่มงาน
วิจัยการปราบศัตรูพืชทางชีวภาพ สำนักวิจัยการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร
โทร. 0-2579-5583 และ 0-2579-7542


กรมวิชาการเกษตร ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ :
0-2561-2825, 0-2940-6864 โทรสาร : 0-2579-4406


http://it.doa.go.th/pibai/pibai/n13/v_4-may/rai.html
kimzagass
ตอบตอบ: 27/01/2011 7:48 am    ชื่อกระทู้:

เทคนิคการเพิ่มผลผลิต สำปะหลัง 10-40 ตัน/ไร่





1. หากิ่งพันธุ์
โดย มองหามันสำปะหลังสายพันธุ์ที่เหมาะต่อสภาพการเจริญเติบโตในพื้นที่นั้นๆ ซึ่ง
มีอยู่หลายสายพันธุ์ และแต่ละสายพันธุ์มีอัตราการเจริญเติบโตในแต่ละสภาพพื้นดิน
ที่แตกต่างกัน เช่น ระยอง 1 ระยอง 2 ระยอง 3 ระยอง 60 พันธุ์ระยอง 90
เกษตรศาสตร์ 50 และห้วยบง 60 เป็นต้น



2. การเตรียมดิน
2.1 หว่านปุ๋ยคอกลงบนพื้นที่ที่จะทำการปลูกมันสำปะหลัง เช่น ปุ๋ยมูลวัว-ควาย มูล
ไก่ หรือ มูลหมู ในปริมาณ 1,000 ก.ก. /ไร่ หรือมากกว่านั้นก็ได้ ( ซึ่งผลผลิตมัน
สำปะหลังจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณปุ๋ยคอกที่ใส่ลงในดิน นี้ด้วย)

2.2 ไถดะเพื่อตากดิน ทิ้งไว้ประมาณ 10 วัน

2.3 ไถพรวนเพื่อยกร่องปลูกมัน โดยร่องที่ยกสูงประมาณ 25-30 เซนติเมตร



3.เตรียมกิ่งพันธุ์
3.1 คัดลำมันสำปะหลังที่มีอายุระหว่าง 8-12 เดือน ที่สดใหม่ไม่เกิน 15 วัน (หรือ
หากตัดมานานกว่านั้นการเก็บรักษาลำมันอย่างดีมีความจำเป็น กล่าวคือ ลำมันที่ตัด
รวมกันไว้หากจะให้ดีต้องใช้ดินกลบบริเวณโคนต้นของลำมันไว้เพื่อ รักษาความชุ่ม
ชื้นและป้องกันปลวกและเชื้อรา)

3.2 นำลำมันสำปะหลังมามัดรวมกันประมาณ 20 ต้น โดยตัดบริเวณส่วนล่าง และ
ส่วนปลายของลำมันทิ้ง

3.3 นำเลื่อยมาเลื่อนเป็นท่อนความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร/ ท่อน หรือให้
ได้ตามันสำปะหลังระหว่าง 5-7 ตา

3.4 ตั้งส่วนปลายของท่อนพันธุ์ให้ชี้ขึ้นด้านบน จากนั้นใช้ปูนขาวทาบริเวณส่วน
ปลายของท่อนพันธุ์เพื่อป้องกันเชื้อรา

3.5 นำท่อนพันธุ์ทั้งหมดไปแช่ในน้ำยาเร่งราก โดยให้ส่วนปลายที่ทาปูนขาวตั้งขึ้น
ใช้บริเวณโคนของกิ่งพันธุ์แช่น้ำยา แล้วคลุมด้วยผ้ายางทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อให้กิ่งพันธุ์
ดูดซับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตได้อย่างเต็ม ที่



4. การปลูก
4.1 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เคมีที่ก้นหลุม โดยเว้นระยะห่างระหว่างหลุมประมาณ 1X1 เมตร

4.2 นำกิ่งพันธุ์ที่แช่น้ำยาเร่งรากแล้ว มาปักในบริเวณหลุมที่ใส่ปุ๋ย โดย ปักให้ตั้งตรง
90 องศา
ยิ่งดี แล้วกดโคนต้นให้แน่น

4.3 หลังปลูกได้ 2 สัปดาห์ มันสำปะหลังจะเริ่มแตกใบ ระหว่างนี้ให้พ่นน้ำยาปราบ
วัชพืชคลุมดินเพื่อป้องกันวัชพืชไม่ให้รบกวนต้น มันที่กำลังแตกกิ่ง

4.4 จากนั้นใส่ปุ๋ยอินทรีย์-เคมี ในปริมาณ 25 ก.ก. /ไร่

4.5 เดือนที่ 3-4 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 15-7-18 เพื่อเร่งหัว เร่งแป้ง
ปริมาณ 25-50 ก.ก./ไร่

4.6 เดือนที่ 4-7 พ่นปุ๋ยทางใบ โดยนำน้ำหมักขี้หมูผสมน้ำส่าเหล้า พ่น 15 วัน/
ครั้ง

พืชคลุมดินเพื่อป้องกันวัชพืชที่ไม่ต้องการมาณ นขาวตั้งขึ้น แล้วคลุมด้วยผ้ายางไว้
ประะชาชนที่ได้ฝากความหวังไว้ที่ตนเป(วิธีการทำปุ๋ยทางใบคือ การนำขี้หมูแห้ง
10 ก.ก. แช่น้ำ 100 ลิตร ผสมน้ำส่าเหล้า 5 ลิตร ทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นนำน้ำที่ได้
มากรองด้วยตาข่ายรูเล็กเพื่อให้ได้น้ำที่มีตะกอนน้อยที่สุด จากนั้นจึงนำน้ำปุ๋ยที่ได้
ไปผสมกับน้ำสะอาด ในอัตราส่วน 40-50 ซีซี/ น้ำสะอาด20 ลิตร ฉีดพ่น)

4.7 เดือนที่ 7-8 ก็เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ซึ่งจากวิธีการดังกล่าวจะสามารถเพิ่มผล
ผลิตมันสำปะหลังให้เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 เท่าตัว



เจ้าของเทคนิค คุณพรชัย โควสุรัตน์
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด อุบลราชธานี ปี 47-51
อ้างอิง www.pornchai.net



http://thanapat99.igetweb.com/index.php?mo=59&action=page&id=290550
kimzagass
ตอบตอบ: 24/01/2011 7:13 pm    ชื่อกระทู้:

ปัญหาผลผลิตมันสำปะหลังต่ำ เนื่องจากขาดจุลธาตุสังกะสี


ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช มีอยู่ 16 ธาตุ แต่มีเพียง 7 ธาตุ เท่า
นั้นที่พืชต้องการใช้ในปริมาณน้อยมาก และเราเรียกธาตุเหล่านี้ว่า จุลธาตุ
(Micronutrient) ได้แก่ เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) สังกะสี (Zn) ทองแดง
(Cu) โบรอน (B) โมลิดินัม (Mo) คลอรีน (Cl) แม้ว่าพืชต้องการธาตุเหล่านี้น้อย
แต่ก็มีความจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดสังกะสี ในมันสำปะหลัง ซึ่ง
ในปัจจุบัน เป็นปัญหาของเกษตรกรจำนวนมาก


ความสำคัญของธาตุสังกะสี (Zn)
เป็นส่วนประกอบที่จำเป็นของเอนไซม์หลายชนิด รวมทั้งออกซิเจนและฮอร์โมนใน
พืช เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างกรดอินโดลอะเซติก (LAA) เป็นธาตุที่จำเป็นต่อ
การสร้างคลอโรฟิลล์ และการสร้างเมล็ดพืช ตลอดจนมีบทบาทในการสังเคราะห์
โปรตีน ช่วยส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัสและไนโตรเจนในพืช


ลักษณะอาการขาดธาตุสังกะสีในมันสำปะหลัง
พบเห็นโดยทั่วไปในดินด่าง จะมีลักษณะ การยืดต้นช้า พบจุดหรือแถบสีขาว หรือ
เหลืองบนใบอ่อน ใบอาจย่นหรือเปลี่ยนรูปร่าง อาจพบจุดแผลเซลล์ตายในใบล่าง
และอาจรุนแรงทำให้ต้นตาย ส่งผลถึงความอยู่รอดและผลผลิตมันสำปะหลัง


สาเหตุ
• พื้นที่มีการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
• ปลูกมันสำปะหลังในที่เดิมเป็นเวลานาน ไม่มีการปลูกพืชหมุนเวียน
• ดินมีความเป็นด่างสูง (pH สูง) หรือดินที่มีแคลเซียม (Ca) สูง
• เกษตรกรใส่ปุ๋ยธาตุอาหารหลักอย่างเดียว


ข้อแนะนำ
- ชุบท่อนพันธุ์ด้วยปุ๋ยสังกะสี (ซิงค์ ซัลเฟต) ละลายน้ำในอัตรา 0.4 กก. ต่อน้ำ
20 ลิตร เป็นเวลา 15 นาทีก่อนปลูก

- ปุ๋ยสังกะสี (ซิงค์ ซัลเฟต) ละลายน้ำอัตรา 0.8 กก. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทาง
ใบที่อายุ 1, 2 และ 3 เดือนหลังปลูก หรือเมื่อต้นมันสำปะหลังแสดงอาการขาด
ธาตุสังกะสี



http://web.sut.ac.th/cassava/index.php?name=14cas_plant&file=readknowledge&id=60
kimzagass
ตอบตอบ: 22/01/2011 6:14 pm    ชื่อกระทู้:

copy.....


การเปลี่ยนแนวความคิดจาก...
ปลูกมันสำปะหลังแบบพืชไร่ มาเป็นแบบพืชสวน


ที่ผ่านมาเกษตรกรมักปลูกและดูแลมันสำปะหลังแบบพืชไร่ ถ้าเปลี่ยนแนวความคิด
มาเป็นปลูกและดูแลรักษามันสำปะหลังแบบพืชสวนก็เป็นแนวทางเลือกอีกแนวทาง
หนึ่งที่จะเพิ่มผลผลิตให้กับมันสำปะหลัง

จากการคาดกาลผลผลิตจากแบบจำลองพืช พบว่า ศักยภาพในการให้ผลผลิตของ
มันสำปะหลังสูงถึง 20 ตัน/ไร่ ดังนั้น การปลูกและดูแลรักษามันสำปะหลังแบบพืช
สวน คือ ปลูกและดูแลรักษามันสำปะหลัง อย่างประณีตนั่นเองโดย

เริ่มต้นด้วยการเลือกดินที่มีสมรรถนะในการให้ผลผลิตสูง คือ ดินร่วนเหนียว หว่าน
ปุ๋ยมูลไก่ผสมแกลบ 500-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ก่อนไถดะ ไถดะให้ลึก การไถ
ลึก ช่วยให้ลงหัวได้ดี ยกร่องให้ฐานร่องกว้าง เพื่อให้มีพื้นที่ออกหัวได้มาก ต้องหา
พันธุ์ที่ ให้หัวดก ออกหัวหลายชั้น ไม่บ้าต้น หรือขึ้นต้น มีศักยภาพในการให้ผลผลิต
สูง พันธุ์ดังกล่าว คือ พันธุ์ระยอง 5 และระยอง 7 ปลูกด้วยระยะแถว 120
เซนติเมตร ระยะต้น 80 เซนติเมตร

ติดตั้งระบบการให้น้ำหยดทุกต้น ใช้ยาคลุมก่อนวัชพืชงอก ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 2 : 1 :
2 เพื่อเพิ่มธาตุอาหารหลัก อย่างเช่น 15-15-15 หรือ 15-7-18 อัตรา 50
กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากปลูก 1 เดือน ดูแลรักษาวัชพืชอย่าให้แข่งขันกับมัน
สำปะหลัง รอเวลาเก็บเกี่ยวที่อายุ 10-12 เดือน คาดว่าผลผลิตที่ได้ควรใกล้เคียง
กับศักยภาพในการให้ผลผลิตของมันสำปะหลังอย่างแน่นอน





สังเกตุ :

เนื้อหาส่วนนี้ลุงคิมพูดมานานแล้ว พูดมาก่อนที่จะมาพบข้อมูลนี้ ทั้งพูดทั้ง
เขียน ลุงคิมกับนักวิชการท่านนี้ ไม่เคยรู้จักกันเป็นการส่วนตัวมาก่อน

ถามว่า ..... "นักวิชาการ COPY ลุงคิม หรือ ลุงคิม COPY นักวิชาการ"
ตอบว่า ..... ไม่มี ใคร COPY ใครทั้งสิ้น.....เพราะ



ในโลกแห่งความเป็นจริง ความจริงที่บริสุทธิ์
มีเพียง 1 เดียวเท่านั้น ใครก็ตามที่พูด
ความจริง ย่อมพูดเหมือนกันทั้งสิ้น.....
อาการที่พูด ผิดเพี้ยนไปจากความจริง นั่น
เพราะมีผลประโยชน์บางอย่างแอบแฝงอยู่
เบื้องหลัง



จริงไหม ? ..... :
- ธรรมชาติ คือ ธรรมชาติ
- สำปะหลัง คือ สำปะหลัง
- สำปะหลังไม่ใช่คน-คนไม่ใช่สำปะหลัง
- บำรุงสำปะหลังแบบตามใจคน แต่ไม่ตามใจสำปะหลัง
- ทุกเรื่องราวที่เกี่ยวกับสำปะหลัง .... คน "คิดเอง ถามเอง ตอบเอง" ทั้งนั้น
- ฯลฯ


ลุงคิมครับผม

kimzagass
ตอบตอบ: 21/01/2011 9:53 pm    ชื่อกระทู้:

มันสำปะหลังทุบสถิติส่งท้ายปี สูงเกินราคาประกันรัฐบาล
คาดปีหน้ายังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง


นายสุนทร เหมทานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6
(สศข.6) จ.ชลบุรี เปิดเผยถึงสถานการณ์ราคามันสำปะหลังว่า เนื่องจากผลผลิตลด
ลงขณะที่ตลาดยังคงมีความต้องการมาก โดยในโครงการประกันราคา รัฐบาลได้
ประกาศราคาอ้างอิงมันสำปะหลัง ความชื้น 25% ณ วันที่ 16 ธันวาคม ที่กิโลกรัม
ละ 1.82 บาท แต่ปรากฏว่า ราคาขายในตลาดกลับมีราคาสูงกว่าราคาอ้างอิงที่
รัฐบาลประกาศออกมา โดยราคามันที่เกษตรกรในภาคตะวันออกได้รับในขณะนี้ อยู่
ที่กิโลกรัมละ 1.84-2.00 บาท ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติการณ์ที่ราคาอ้างอิงสูง
กว่าราคาประกัน

นายสุนทร กล่าวอีกว่า ภาคตะวันออกมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังรวม 6 จังหวัด โดย
ปลูกมากที่สุดคือ จ.สระแก้ว รองลงมา ได้แก่ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ระยอง
และปราจีนบุรี ตามลำดับ โดยคาดว่า ปีการผลิต 2553 จะมีเนื้อที่เพาะปลูกทั้งหมด
ประมาณ 1.60 ล้านไร่ ผลผลิตรวม 5.77 ล้านตัน ให้ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 3.60
ตัน ซึ่งเนื้อที่เก็บเกี่ยวจะมีแนวโน้มลดลงประมาณร้อยละ 7 ส่วนผลผลิตลดลง ร้อย
ละ 9 และผลผลิตต่อไร่มีทิศทางลดลงประมาณร้อยละ 3 เนื่องจากการระบาดของ
เพลี้ยแป้งสีชมพูที่ผ่านมา ทำให้เกษตรกรเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นแทนเพื่อตัดวงจรศัตรู
พืช เช่น อ้อยโรงงาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งจากการสุ่มสำรวจของ สศข.6 ถึง
การระบาดเพลี้ยแป้งในช่วงที่ผ่านมาของ จ.ระยอง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี รวมทั้ง
สระแก้วที่ได้รับผลกระทบและจะทำให้ผลผลิตของเกษตรกรเสียหาย

สำหรับแนวโน้มทิศทางราคามันสำปะหลังคาดว่ายังสดใส เพราะผลต่อเนื่องจาก
ปัญหาเพลี้ยแป้งสีชมพูระบาดทำลายไร่มันสำปะหลังครอบคลุมทั้งประเทศ ทำให้ผล
ผลิตโดยรวมลดลง และไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ขณะที่ทิศทางความ
ต้องการด้านพืชอาหารและพืชพลังงานทดแทนมีแนวโน้มสูงขึ้นด้วย จึงเป็นโอกาสที่
ดีของเกษตรกรชาวไร่มันสำปะหลังทั้งประเทศ ซึ่งเกษตรกรต้องเร่งพัฒนาการปลูก
เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ พร้อมเฝ้าระวังป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งอย่างถูกวิธีเพื่อรักษา
ระดับราคามันสำปะหลัง



ที่มา : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 30 ธันวาคม 2552
http://www.naewna.com/news.asp?ID=193465

http://www.phtnet.org/news52/view-news.asp?nID=708
kimzagass
ตอบตอบ: 21/01/2011 8:44 pm    ชื่อกระทู้:




ประเด็นหลักในการแนะนำเกษตรกรเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง

การเลือกฤดูปลูก
หลักสำคัญก็คือควรจัดวันปลูกเพื่อให้ช่วงอายุ 3-12 เดือนของมันสำปะหลังได้รับ
น้ำฝนมากที่สุด ผลผลิตขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนในช่วงอายุดังกล่าว โดย ในช่วงแรก
คือ ตั้งแต่ 1-3 เดือนของการปลูกมันสำปะหลัง ต้องการน้ำน้อยเพื่อการเจริญเติบ
โต ดังนั้น มันสำปะหลังจะให้ผลผลิตสูงสุดเมื่อปลูกในช่วงฤดูร้อน (กุมภาพันธ์-
มีนาคม) รองลงมาคือ ต้นฤดูฝน(เมษายน-พฤษภาคม) และปลายฤดูฝน(ตุลาคม-
พฤศจิกายน) แต่การปลูกในช่วงฤดูร้อนและปลายฤดูฝนมีข้อจำกัดของปริมาณน้ำ
ฝนค่อนข้างน้อย มีผลต่อการงอกของท่อนพันธุ์

การเลือกพันธุ์มันสำปะหลัง
หลักสำคัญก็คือ ดินที่ใช้ปลูกมันสำปะหลังโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ดิน
ร่วนเหนียวถือว่าเป็นดินดี ดินชนิดนี้สามารถนำไปปั้นเป็นลูกกระสุนได้ และดินร่วน
ทรายถือว่าเป็นดินปานกลางถึงเลว ดินชนิดนี้ไม่สามารถนำไปปั้นเป็นลูกกระสุนได้
เนื่องจากดินแตกง่ายไม่เกาะติดกัน โดย ดินร่วนเหนียว ควรปลูกพันธุ์ระยอง 5
ระยอง 72 และระยอง 7 ส่วนดินร่วนทรายควรปลูกพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50,
ระยอง 90, ห้วยบง 60, และระยอง 9 เนื่องจากทั้ง 4 พันธุ์เมื่อนำไปปลูกในดิน
ร่วนเหนียว จะเจริญเติบโตในส่วนของลำต้นที่อยู่เหนือดินมากกว่าลงหัว หรือชาว
บ้านเรียกกันว่ามันสำปะหลังขึ้นต้นหรือบ้าต้นเกินไป

การเตรียมดินให้ลึก
ที่ผ่านมาเกษตรกรไม่ให้ความสำคัญในเรื่องการเตรียมดินมากนัก หลักสำคัญก็
คือ ต้องไถดะครั้งแรกให้ลึกที่สุดด้วยพาล 3 หรือ พาล 4 เท่านั้น ควรไถดะใน
ขณะที่ดินมีความชื้นพอเหมาะ ห้ามไถดะด้วยพาล 7 เพราะจะไถได้ไม่ลึก การ
ไถดะให้ลึกจะเพิ่มความสามารถในการเก็บกักความชื้นของดินได้มากขึ้นและมัน
สำปะหลังลงหัวได้ง่าย จากนั้นตากหน้าดินเพื่อให้วัชพืชตาย ถ้าเป็นดินร่วนเหนียว
ควรไถแปรครั้งที่สองเพื่อย่อยดินด้วยพาล 7 และตามด้วยการยกร่องพร้อมปลูก
ส่วนดินร่วนทรายไม่จำเป็นต้องไถแปรครั้งที่สองด้วยพาล 7 สามารถยกร่อง
พร้อมปลูกได้เลย ในกรณีที่เกษตรกรสามารถหาปุ๋ยอินทรีย์ได้ ควรหว่านปุ๋ย
อินทรีย์ก่อนไถดะ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้ได้ผล คือ ปุ๋ยมูลไก่ 500-1,000 กิโลกรัมต่อ
ไร่ หรือ กากมันวัสดุเหลือจากโรงงานแป้ง 1-2 ตันต่อไร่

การปลูกที่ถูกต้อง
หลักสำคัญก็คือ ควรเลือกต้นพันธุ์ที่ใช้ปลูกที่มีอายุ 10-12 เดือน จะให้ความงอก
สูงที่สุด โดยเลือกต้นพันธุ์ที่แข็งแรง มีตาถี่ ขนาดโตพอสมควร ต้องตัดท่อนปลูก
ด้วยมีดที่คมเพื่อมิให้ท่อนปลูกช้ำ ยาวไม่ต่ำกว่า 20 เซนติเมตร ปลูกปักตรงให้ลึก
2 ใน 3 ของความยาวท่อนปลูก ในดินร่วนเหนียว ควรใช้ระยะแถวกว้าง 1.20
เมตร ระยะปลูกตั้งแต่ 0.50-1.00 เมตร และในดินร่วนทรายควรใช้ระยะแถวแคบ
0.80 เมตร ระยะปลูกตั้งแต่ 0.50-0.80 เมตร

การกำจัดวัชพืช
หลักสำคัญก็คือ มันสำปะหลังใช้เวลาประมาณ 3 เดือนหลังจากปลูก เพื่อสร้างพุ่ม
ใบให้คลุมพื้นที่ระหว่างร่องทั้งหมด ดังนั้นภายในช่วง 3 เดือนแรก ถือว่าเป็นช่วง
วิกฤตของมันสำปะหลัง ต้องดูแลรักษาให้มันสำปะหลังปลอดวัชพืช ถ้าปล่อยให้
วัชพืชแข่งขันกับมันสำปะหลังมันสำปะหลังจะแคระแกร็น มีผลให้ผลผลิตลดลง
มาก การกำจัดวัชพืชสามารถเลือกทำแบบผสมผสาน โดยใช้จอบถาง รถไถเดิน
ตามแถกระหว่างร่อง ใช้สารเคมีประเภทคลุมก่อนวัชพืชงอก หรือสารเคมีฆ่าหลัง
วัชพืชงอก สารเคมีประเภทคลุมใช้ได้ผลเฉพาะการปลูกต้นฤดูฝนเท่านั้น สารเคมี
ประเภทฆ่า โดยเฉพาะ ห้ามใช้ไกลโฟเสทในขณะที่มันสำปะหลังต้นเล็กอยู่ เพราะมี
ผลทำให้ชะงักการเจริญเติบโต

การใส่ปุ๋ยเคมี
ควรเลือกใช้ปุ๋ยเคมีอัตราส่วน 2 : 1 : 2 ปุ๋ยเคมีที่แนะนำ คือ 15-7-18 หรือ
15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดย ใส่ปุ๋ย 2 ข้างลำต้นรัศมีพุ่มใบแล้วกลบ
ใส่ปุ๋ยครั้งเดียวเมื่ออายุ 1 เดือนหลังจากปลูก หลักสำคัญก็คือ ต้องใส่ปุ๋ยเคมีใน
ขณะที่ดินมีความชื้นและต้องกลบปุ๋ยด้วย ถ้าไม่กลบปุ๋ยอาจสูญเสียปุ๋ยมากเกิน 50
เปอร์เซ็นต์

การเก็บเกี่ยว
หลักสำคัญก็คือ ควรเลือกเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังในช่วงที่เหมาะสมตั้งแต่อายุ 10-
18 เดือน ควรงดเว้นการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังในช่วงฝนแรก คือ ตั้งแต่เดือน
เมษายนถึงมิถุนายน เนื่องจากมันสำปะหลังแตกใบอ่อน จะให้เปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ




การเพิ่มผลผลิตด้วยการปรับปรุงดิน...
ดินที่ใช้ปลูกมันสำปะหลัง โดยให้ผลผลิตต่ำกว่า 3 ตันต่อไร่ ถือว่าเป็นดินที่มีความ
อุดมสมบูรณ์ต่ำ ควรมีการปรับปรุงดินได้แล้ว

หลักสำคัญก็คือ การสร้างให้ดินมีความสามารถในการอุ้มน้ำได้ดี และการเพิ่มธาตุ
อาหารหลักให้กับดิน ดังนั้น การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์ หรือเปลือกมันจากโรงงาน
แป้ง หรือปุ๋ยพืชสดจากปอเทืองและถั่วพร้าปลูกแล้วไถกลบ เป็นการเพิ่มอินทรีย์
วัตถุให้กับดิน ทำให้ดินสามารถอุ้มน้ำได้ดี

โดยปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์ที่เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังนิยมใช้กันมาก คือ ปุ๋ยมูล
ไก่ผสมแกลบ หว่านก่อนไถดะ โดยใช้อัตรา 500-1,000 กิโลกรัมต่อไร่

ส่วนปุ๋ยอินทรีย์จากพืชที่นิยมใช้ คือ เปลือกมันจากโรงงานแป้ง ใช้อัตรา 1,000-
2,000 กิโลกรัมต่อไร่

สำหรับการใช้ปุ๋ยพืชสดเป็นวิธีการที่สะดวกที่สุดในการเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้กับดิน
โดยปลูกมันสำปะหลังติดต่อกัน 4 ปี สลับด้วยการปลูกถั่วพร้าหรือปอเทือง 1 ปี

ในกรณี ที่พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังมีชั้นดินดานอยู่ใต้ดิน ปิดกั้นการไหลซึมขึ้นมา
ของน้ำใต้ดินในรูปของน้ำซับ (capillary water) ทำให้มันสำปะหลังไม่สามารถ
ใช้น้ำซับได้ในช่วงแล้ง นอกจากนี้ยังมีปัญหาในเรื่องของการระบายน้ำในช่วงฤดู
ฝน เนื่องจากไม่สามารถระบายน้ำลงใต้ดินได้ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง มีผลให้หัวเน่า
ได้ ดังนั้น ควรใช้หญ้าแฝกปลูกประมาณ 1-2 ปี เพราะหญ้าแฝกมีระบบรากลึก
มากกว่า 2 เมตร สามารถทำลายชั้นดินดานได้ และเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้กับ
ดินด้วย


การยืดอายุเก็บเกี่ยวเพื่อเพิ่มผลผลิต...
ระบบการปลูกมันสำปะหลัง 1 ปี คือ ระบบนี้ต้องเก็บเกี่ยวภายใน 1 ปี โดย การ
ปลูกต้นฤดูฝนสามารถเก็บเกี่ยวได้ ตั้งแต่อายุ 9-12 เดือนสำหรับการปลูกปลายฤดู
ฝนสามารถเก็บเกี่ยวได้ ตั้งแต่อายุ 11-12 เดือน หรือ เกษตรกรส่วนใหญ่มักเรียก
ว่าการปลูกมันสำปะหลังชนปี หมายความว่าเก็บเกี่ยวเสร็จแล้วปลูกใหม่ทันทีภายใน
เดือนเดียวกัน ในกรณีระบบการปลูกมันสำปะหลังมากกว่า 1 ปี คือ ต้องเก็บเกี่ยว
อายุมากกว่า 1 ปี ควรใช้กับการปลูกต้นฤดูฝนเท่านั้น สามารถเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่
อายุ 13-18 เดือน ผลผลิตจะเพิ่มตามอายุดังรายละเอียดในตาราง


หมายเหตุ การปลูกต้นฤดูฝนที่อายุ 9 เดือน ผลผลิตเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ และ
การปลูกปลายฤดูฝนที่อายุ 12 เดือน ผลผลิตเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์

ที่มา : โอภาษ บุญเส็ง


ระบบการปลูกมันสำปะหลังภายใน 1 ปี การกระจายของผลผลิตหัวสดออกสู่ตลาด
จะอยู่ในช่วงแคบประมาณ 5 เดือน คือตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์เท่านั้น มีผล
ทำให้ผลผลิตหัวสดมีมากเกินความต้องการ ช่วงการทำงานของโรงงานอุตสาหกรรม
จะสั้นลงแต่ระบบการปลูกมันสำปะหลังมากกว่า 1 ปี ถ้ามีการวางแผนการเก็บเกี่ยว
ได้อย่างเหมาะสม ผลผลิตหัวสดสามารถออกสู่ตลาดเพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรม
ได้ตลอดปี ดังนั้นระบบการจัดการการปลูกมันสำปะหลัง 2 ครั้งภายใน 3 ปี สามารถ
ลดต้นทุนการผลิต และมีช่วงเวลาในการจัดการปรับปรุงดิน เพื่อการผลิตมัน
สำปะหลังที่ยั่งยืนได้


การเปลี่ยนแนวความคิดจากปลูกมันสำปะหลังแบบพืชไร่
มาเป็นแบบพืชสวน...

ที่ผ่านมาเกษตรกรมักปลูกและดูแลมันสำปะหลังแบบพืชไร่ ถ้าเปลี่ยนแนวความคิด
มาเป็นปลูกและดูแลรักษามันสำปะหลังแบบพืชสวนก็เป็นแนวทางเลือกอีกแนวทาง
หนึ่งที่จะเพิ่มผลผลิตให้กับมันสำปะหลัง

จากการคาดกาลผลผลิตจากแบบจำลองพืช พบว่า ศักยภาพในการให้ผลผลิตของ
มันสำปะหลังสูงถึง 20 ตันต่อไร่ ดังนั้น การปลูกและดูแลรักษามันสำปะหลังแบบ
พืชสวน คือ ปลูกและดูแลรักษามันสำปะหลัง อย่างประณีตนั่นเองโดย

เริ่มต้นด้วยการเลือกดินที่มีสมรรถนะในการให้ผลผลิตสูง คือ ดินร่วนเหนียว หว่าน
ปุ๋ยมูลไก่ผสมแกลบ 500-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ก่อนไถดะ ไถดะให้ลึก การไถ
ลึกช่วยให้ลงหัวได้ดี ยกร่องให้ฐานร่องกว้าง เพื่อให้มีพื้นที่ออกหัวได้มาก ต้องหา
พันธุ์ที่ให้หัวดก ออกหัวหลายชั้น ไม่บ้าต้น หรือขึ้นต้น มีศักยภาพในการให้ผลผลิต
สูง พันธุ์ดังกล่าว คือ พันธุ์ระยอง 5 และระยอง 7 ปลูกด้วยระยะแถว 120
เซนติเมตร ระยะต้น 80 เซนติเมตร

ติดตั้งระบบการให้น้ำหยดทุกต้น ใช้ยาคลุมก่อนวัชพืชงอก ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 2 : 1 :
2 เพื่อเพิ่มธาตุอาหารหลัก อย่างเช่น 15-15-15 หรือ 15-7-18 อัตรา 50
กิโลกรัมต่อไร่หลังจากปลูก 1 เดือน ดูแลรักษาวัชพืชอย่าให้แข่งขันกับมัน
สำปะหลัง รอเวลาเก็บเกี่ยวที่อายุ 10-12 เดือน คาดว่าผลผลิตที่ได้ควรใกล้เคียง
กับศักยภาพในการให้ผลผลิตของมันสำปะหลังอย่างแน่นอน






การเลือกพันธุ์มันสำปะหลังให้เหมาะกับพื้นที่ปลูก...
จากการสำรวจผลผลิตมันสำปะหลัง มักจะพบว่าในแหล่งปลูกหนึ่ง พันธุ์นี้ให้ผลผลิต
สูง แต่เมื่อนำไปปลูกอีกแหล่งปลูกหนึ่ง กับให้ผลผลิตต่ำแสดงว่า ต้องเลือกพันธุ์ให้
เหมาะกับพื้นที่ปลูกของตัวเอง

การเลือกพันธุ์ให้เหมาะกับพื้นที่ปลูก เป็นการลดต้นทุนการผลิต เนื่องจากไม่จำเป็น
ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงและดูแลรักษา

เพื่อปรับสภาพพื้นที่ปลูกให้เหมาะกับชนิดของพันธุ์พืชนั้น หมายความว่าต้องใส่ปุ๋ย
และดูแลรักษาประณีตมากกว่าเดิม ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต ปัจจุบัน การ
พัฒนาพันธุ์มันสำปะหลังมักมุ่งเน้นในด้านแป้งสูง โดยลักษณะแป้งสูงเป็นลักษณะ
ด้อยซึ่งได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพ่อแม่พันธุ์ที่มีสายเลือดชิด

ดังนั้น พันธุ์รับรองใหม่ ๆ ถึงแม้ว่าจะให้แป้งสูงมาก แต่ก็มีลักษณะอ่อนแอต่อโรค
และแมลงเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตสูงบางสภาพแวดล้อม หรือมีความเฉพาะ
ต่อสภาพแวดล้อมเท่านั้น ไม่เหมือนกับพันธุ์รับรองที่ผ่านมา ซึ่งได้จากการผสม
พันธุ์ ระหว่างพ่อแม่พันธุ์ที่มีสายเลือดห่างกัน เช่น พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง
5 และระยอง 90 สามารถเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตสูงเกือบทุกสภาพแวด
ล้อม หรือมีเสถียรภาพสูง

ดังนั้น แผนการส่งเสริมการปลูกพันธุ์รับรองใหม่ ๆ ต้องมีทิศทางอย่างชัดเจน คือ
ต้องรู้ว่าพันธุ์พวกนี้ให้ผลดีเฉพาะบางสภาพแวดล้อมเท่านั้น ไม่อย่างนั้นการแนะนำ
พันธุ์ใหม่ ๆ คงไม่เกิดประโยชน์มากนัก หรือทำให้เกษตรกรหลงทางได้ ส่งผล
กระทบต่อแผนการเพิ่มผลผลิตเพื่อรองรับโรงงานผลิตเอทานอลได้



http://it.doa.go.th/pibai/pibai/n12/v_6-july/rai.html
kimzagass
ตอบตอบ: 21/01/2011 3:29 pm    ชื่อกระทู้:

กะอีแค่สำปะหลัง คงไม่ไม่ต้องถึงระดับ "สูตรระเบิดเถิดเทิง" หรอก ไอ้ที่จะไปหา
ให้ครบสูตร ตั้งแต่เลือด. ไขกระดูก. น้ำมะพร้าว. นม. ถึงปลาทะเล. ค่าน้ำมัน
รถกินตายซะก่อนมั้ง.....แค่เลือดอย่างเดียว แน่ใจหรือว่าโรงฆ่าสัตว์เขาจะขายให้
คุณ เลือดในโรงฆ่าสัตว์น่ะ ทางโรงฆ่าสัตว์เขามีไว้แถมคนซื้อเนื้อสด สำหรับเอาไป
ทำ "ซกเล็ก - ก๋วยเตี๋ยวน้ำตก" เท่านั้น แต่ถ้าคุณเอาได้ก็ถือว่าเก่ง

เลือดไก่เป็นก้อนๆ ที่เขาเอาไปทำผัดถั่วงอกกับเลือดหมูนั่นก็ได้ เชือดไก่ซักตัวก็
ได้ หาไม่ได้จริง "เลือดคนนั่งข้างๆ" นั่นก็ได้

ในเลือดสัตว์มีสารอาหารพืชหลายชนิดก็จริง แล้วสารอาหารกลุ่มนี้หรือตัวนี้ ใน
ขวด ในกล่อง ในซอง ตามร้านขายปุ๋ยมีขายไหม เอามาใช้แทนได้ไหม ประหยัด
ต้นทุนค่าโสหุ้ยกว่าการใช้เลือดโดยตรงไหม.....ว่าแต่ว่า ในเลือดมีธาตุ "สังกะสี"
สำหรับสร้างแป้ง มีธาตุ "แม็กเนเซียม" สำหรับสร้างคลอโรฟีลด์ ให้แก่สำปะหลัง
มาก/น้อย แค่ไหน ตรงตามความต้องการของสำปะหลังอย่างแท้จริงหรือไม่

วัสดุส่วนผสมต่างๆในสูตรระเบิดเถิดเทิง ก็เพื่อให้ได้ชนิดของสารอาหารในแบบของ
ความหลากหลาย สารอาหารทุกตัวเป็น "สารอินทรีย์" เพราะมาจากธรรมชาติ
แท้ๆ ในการทำนั้น เมื่อหาวัสดุส่วนผสมที่ให้สารอินทรีย์ตามต้องการไม่ได้ ก็น่าจะ
พิจารณาใช้ "สารสังเคราะห์" แทน ซึ่งสามารถเลือกได้ทั้งชนิดและปริมาณ

ระวัง !
"อินทรีย์ตกขอบ...เคมีบ้าเลือด"
มันจะเดือดร้อน พืชน่ะไม่มากเรื่องหรอก
คนต่างหากจู้จี้จุกจิกกวนใจจริงเจียว

แนวคิดสไตล์ลุงคิมนะ.....ทำ ขี้ค้างคาวหมัก หรือขี้ไก่หมัก หรือขี้นกกระทาหมัก
หรือขี้ค้างคาว+ขี้ไก่+ขี้นกกระทา หมักข้ามปี เหมือนการหมักสูตรระเบิดเถิดเทิง
น่าจะง่ายกว่านะ ในขี้ของสัตว์ปีกพวกนี้มี K. สูง ตรงตามความต้องการของ
สำปะหลังอยู่แล้ว หมักนานข้ามปีไปเลย....วิธีการหมักก็อยู่ในเว้บนี้นี่แหละ

หมักได้ที่แล้วก่อนใช้งานจริง ก็ใส่ตัว "หลัก/รอง/เสริม/เติม/เพิ่ม/บวก" ลงไป
แค่นี้ก็จบ ....ทำตามแบบ "อินทรีย์ นำ - เคมี เสริม - ตามความเหมาะสมของ
สำปะหลังและคนปลูกสำปะหลัง" ไงล่ะ

อันที่จริง ใช้ขี้หมูอย่างเดียว ใช้เวลา 2 ปี ได้ผลผลิตเท่าที่ได้น่ะ ลองคำนวนต้น
ทุน (เงิน+เวลา+พื้นที่+แรงงาน+ฯลฯ) ซิ ถ้ามันคุ้ม ได้กำไร ก็น่าจะทำต่อไป แต่
ถ้าทำแล้วขาดทุน ก็เลิก หรือถ้าเพิ่มทุนตามแนวทางของลุงคิมแล้วได้มากขึ้นตาม
หลักเศรษฐสตร์การลงทุน ก็ต้องคิดอีก จะเอาหรือไม่เอา


ลุงคิม (เรื่องง่ายๆ) ครับผม
Redmountain
ตอบตอบ: 21/01/2011 9:14 am    ชื่อกระทู้:

Super pig manure เอาครับ เอาครับ ทำแน่นอน ชอบชื่อด้วย

ผมเข้าไปดูสูตรของลุงแล้ว (เจอ ไขกระดูกหมักอย่างเดียวก็สะดุ้งแล้ว)
ของแต่ละอย่าง หัวได้ตามโรงเชือดและตลาดสด น่าทำครับๆ
ผมว่ามันหลักการเดียวกับ จับฉ่าย หรือแกงโฮะเลย ยอดหัวอาหารทั้งน้านนเลย
สูตรปรุงนี่ เหมือนทำกับข้าวใช่มั้ยครับ ปรุงรสตามมือพ่อครัว

แต่ ผมเอาสูตรลุงก่อนดีกว่า เอาที่เป็นวัตถุดิบหลักก่อน ได้ความยังไงเดี๋ยวจะมาชี้แจงครับ
Sita
ตอบตอบ: 20/01/2011 2:35 pm    ชื่อกระทู้:

..เอ้า..ลุยยยยย..
ฮุย..เล่..ฮุย!!!... ขอนิดเดียวค่ะคุณลุง

ชอบจริงๆ..คุณ Redฯ กับคุณลุงคุยกัน

แป้ง (คนนะไม่ใช่มัน)
kimzagass
ตอบตอบ: 20/01/2011 1:32 pm    ชื่อกระทู้:

- ในธรรมชาติไม่มีสูตรสำเร็จ และไม่มีตัวเลข....ความแตกต่างทั้งปวงขึ้นอยู่
กับ "ปัจจัยพื้นฐาน การเพาะปลูก" (ดิน-น้ำ-แสงแดด/อุณหภูมิ/ฤดูกาล-สาร
อาหาร-สายพันธุ์-โรค) ไม่ใช่พูดซ้ำซาก แต่ต้องการย้ำให้นำหลักการนี้ไปใช้เป็น
พื้นฐานในการวิเคราะห์ปัญหา.....แม้แต่ของคุณเอง แปลงติดกัน ต้นติดกัน บำรุง
อย่างเดียวกัน ผลรับออกมายังไม่เท่ากันเลย สาเหตุก็มาจากปัจจัยพื้นฐานฯ ตัวนี้นี่
แหละ

- เขาปลูก 8 เดือนขุดได้ แต่คุณปลูก 2 ปีถึงขุด.....เวลาก็คือต้นทุน คุณหมดไป
กับต้นที่สูญเปล่าตรงนี้แค่ไหนน่ะ

- อย่าเชื่ออะไรทันทีทันใดยไม่มีเงื่อนไข อย่าไม่เชื่ออะไรชนิดหัวชนฝา ไม่ให้เชื่อ
แม้กระทั่งลุงคิม แต่ให้เชื่อคนในกระจก คือ ตัวเอง.....ว่าแต่ว่า วันนี้ ตัวเอง
มี "ข้อมูล" (วิชาการ/ประสบการณ์/โลกทัศน์) เพียงพอต่อการวิเคราะห์ความเป็น
ไปได้ของสิ่งที่ได้มาหรือไม่เท่านั้น

- ปุ๋ยตัวสร้างแป้ง คือ "สังกะสี" ..... ปุ๋ยตัวสร้าง คลอโรฟีลด์ คือ "แม็กเน
เซียม" ..... ปุ๋ยตัวสร้างคุณภาพ คือ "แคลเซียม" .... ทั้ง 3 ตัวนี้เป็นตัวหลัก
นอกนั้นเป็นตัว "เติม-เสริม-เพิ่ม-บวก" ที่สำปะหลังต้องการ คุณได้ให้เขาหรือ
ไม่ ?

- เห็นว่า ใส่ "น้ำขี้หมู" อย่างเดียว ทำไมไม่ต่อยอดเป็น "ขี้หมูซุปเปอร์" ให้มัน
เหนือกว่าขี้หมูธรรมดาๆ แล้วก็ตรงตามความต้องการทางธรรมชาติสรีระวิทยาพืช ว่า
ด้วยสำปะหลัง


สารอาหารรือปุ๋ย (ทั้งเคมี อินทรีย์ และอื่นๆ) ที่สำปะหลังต้องการ...
- ธาตุหลัก คือ 2 : 1 : 8 (10 -5 - 40)
- ธาตุรอง/ธาตุเสริม คือ แม็กเนเซียม + สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน...ทั้ง 2
ตัว สูตรอยู่ที่หน้าเว้บ
- และอื่นๆ คือ เติม/เพิ่ม/บวก ที่เรียกว่า ภูมิปัญญาพื้นบ้าน

หมายเหตุ :
แม็กเนเซียม. สร้างคลอโรฟีลด์ (ใบ) ทำให้ต้นเขียวสด สมบูรณ์ตลอดอายุขัย
สังกะสี. สร้างแป้ง (หัว) ให้มีคุณภาพดี เปอร์เซ็นต์แป้งสูง
แคลเซียม. สร้างคุณภาพของหัว ต้น ใบ

**** อ้างหน้าเว้บ เพื่อต้องการให้ทำเอง...ถ้าซื้อ ก็ให้เลือกซื้อสูตรที่มีสาร
อาหารตัวที่สำปะหลังต้องการ.....พร้อมทำเอง สอนวิธีทำ พร้อมซื้อสอนวิธีเลือกซื้อ*****

ทั้ง 3 รายการนี้ เป็นปุ๋ยประเภทให้ทางใบ ซึ่งปุ๋ยทางใบ เป็นเพียงเสริมปุ๋ยทาง
รากเท่านั้น นั่นคือ ปริมาณสารอาหาร 4 ใน 10 ส่วน พืชรับได้ทางใบ ที่เหลือ 6
ใน 10 ส่วน พืชรับได้จากทางราก

ช่วงเตรียมดินก่อนลงมือปลูกหรือปลูกไปแล้ว ขณะที่สำปะหลังอยู่ระหว่างการเจริญ
เติบโต คุณได้ให้หรือใส่ "ยิบซั่ม-กระดูกป่น-ขี้ไก่" ลงไปด้วยหรือไม่ สำปะหลัง
ต้องการธาตุอาหาร "ตัวท้าย (K)" สูงมากๆ ในขี้ไก่, ขี้ค้างคาว, ขี้นกกระทา. จะ
มี K สูงกว่าขี้หมูนะ

คนในกลุ่มของลุงคิม เขาทำแบบ "สะสมความสมบูรณ์" ในดิน มานานไม่น้อย
กว่า 3 รุ่นสำปหลัง....ขอให้ "ตีความ" คำว่า "สะสม" ในการปฏิบัติจริงนั้นว่าเป็น
อย่างไร ดินของเขาสะสม ยิบซั่ม กระดูกป่น ขี้ไก่ มานานติดต่อกัน 3 รุ่น ในขณะ
ที่ของคุณสะสมแต่ขี้หมูอย่างเดียวมากี่รุ่นไม่รู้....นี่ก็คือ อีกมุมหนึ่งในการวิเคราะห์
หาสาเหตุของความแตกต่าง


ลุงคิมครับผม
Redmountain
ตอบตอบ: 20/01/2011 10:33 am    ชื่อกระทู้:

ha ha ha ทำเปอร์เซนต์แป้งดีโดนไล่ออก ต้องเป็นเถ้าแก่ที่ไม่มีสายตามองการณ์ไกลเลย

ถ้าผมเป็นเถ้าแก่นะครับ จะรีบไปเรียกเจ้าของมันฯมา นั่งจิบชา ค่อยๆคุยกัน วางแผนให้ไปส่งเสริมเกษตรกรในกลุ่มต่อไป
อย่างนี้ถึงจะวินวินทั้งคู่

ส่วนเรื่องอายุการขุดนี่ มันก็น่าแปลก
ใจนะครับ เห็นอาจารย์หรือใครก็ตาม วิเคราะห์ตามทฤษฎีอะไก็ตามแต่ จะบอกกันว่า กราฟการลงหัว จะพุ่งพรวดที่ ๔-๘ เดือน
หลังจากนั้นจะวิ่งเป็นแนวราบแล้ว


แต่มีลุมคิม กับเพื่อนไร่ข้างเคียงนี่แหละครับ บอกว่าหน้าแล้งให้น้ำเถอะจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว
ต่อให้อายุเกิน ๑๐ เดือนก็ตาม


ส่วนเรื่องให้สารอาหารแล้วเปอร์เซนต์แป้งจะยังสูงอยู่นี่ ผมลองแล้วครับ ให้


น้ำขี้หมู (แบบเจือจางด้วย) ทางใบนี่แหละครับ อายุขุดเกือบสองปี ขุด ๑๐๐ ไร่ เปอร์เซนต์
แป้งอยู่ที่ ๒๕ เปอร์ (สูงสุดที่ ๒๙ ต่ำสุดที่ ๒๒)
ตอนนี้ที่มันฯ ชุดที่ลงเดือน พ.ย.๕๓ เริ่มคลี่ใบคลุมหัวร่องแล้วครับ



[img]http://uppic.net/full/e6a4c68cc69a1802e6c74f11fae0b8e9[/img]

[img]http://uppic.net/full/1c41ad3a58bd3d6d2bc8ca54b2ff4876[/img]
kimzagass
ตอบตอบ: 19/01/2011 8:48 pm    ชื่อกระทู้:

เปอร์เซ็นต์แป้งเกิน ไล่ออก.....

ลานรับซื้อสำปะหลังแห่งหนึ่ง ประมาณที่ลำนารายณ์ - ชัยบาดาล ลพบุรี รับซื้อหัวมันสำปะหลังแบบทั้งหัว โดยให้ราคาตามเปอร์เซ็นต์แป้ง นั่นหมายความว่า หลังจากชั่งน้ำหนักแล้ว จะต้องสุ่มเอาหัวสำปะหลังไปวัดเปอร์เซ็นต์แป้งก่อน

เสมียน (ภาษาชาวบ้าน) ผู้หญิงเป็นผู้ทำหน้าที่ตรวจเปอร์เซ็นต์แป้ง ได้รับคำสั่งตามอำนาจเด็ดขาดจากเถ้าแก่ลานมันว่า

"......เปอร์เซ็นต์แป้งวัดได้เท่าไหร่ใส่เท่านั้น แต่ถ้าเปอร์เซ็นต์เกิน 30 ให้ใส่แค่ 30 ......"

คราวหนึ่งเสมียนวัดเปอร์เซ็นต์แป้งสำปะหลังของคนที่ทำตามแนวทางลุงคิม ปรากฏว่าได้เปอร์เซ็นต์ 32-33% เสมียนก็เขียนในใบจ่ายเงินตามนั้น

พอเถ้าแก่รู้ เท่าแหละ เถ้าแก่ไล่ออก ข้อหา ไม่รักษาผลประโยน์ของลานมัน แถมแย้งอีกว่า ไม่เคยมีใครทำได้เปอร์เซ็นต์สูงขนาดนั้น คนที่ทำได้มันไม่รู้หรอก แค่ใส่เต็มที่ 30% ก็น่าจะพอแล้ว


ลุงคิมครับผม
kimzagass
ตอบตอบ: 19/01/2011 5:15 pm    ชื่อกระทู้:

เรื่องการบริหารเวลา ปลูก-ขุด ก็ให้พิจารณาตามความเหมาะสมกับพื้นที่ เพราะแต่ละพื้นที่ ปัญหาต่างๆไม่เหมือนกัน


สำปะหลัง ถ้าบำรุงถูกต้อง (ตามสำปะหลัง) อายุ 6 เดือนก็ขุดได้แล้ว แต่ลุงคิมว่า 8 เดือนกำลังสวย เพราะ "เวลา" ก็เป็นต้นทุนเหมือนกัน

รายการเกษตร ทีวี.ตรานกปีกฉีก (จำช่องไม่ได้) บอกว่า ปลูกสำปะหลัง 2 ปี (24 เดือน) ได้ผลผลิต 6 ตัน แต่ถ้าปลูกปีเดียวได้แค่ 3 ตัน.....แล้วตีความแบบเหมาจ่ายว่า ปลูกครั้งเดียวแต่ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเท่าตัว เป็นการ "ลดต้นทุน" ค่าปลูก ค่าเตรียมดิน แต่เขาไม่คิดเลยหรือว่า "เวลาตั้งปีกว่า" ก็คือต้นทุน


หลักนิยมในการปลูกสำปะหลัง มักกะเวลาปลูกแล้วให้ได้อายุขุดตรงกับหน้าแล้ง นัยว่าขุดง่าย บางครั้งถึงหน้าแล้งแล้วไม่ได้ขุด จะด้วยเหตุผลใดก็สุดแท้ จำเป็นต้องปล่อยสำปะหลังค้างคาอยู่ในแปลงอย่างนั้น ........ ช่วงที่ปล่อยค้างคาอยู่ในแปลงนี้ ชาวไร่สำปะหลังบอกว่ามันจะ "กินตัวเอง" นั่นคือ หัวสำปะหลังจะยุบ ไส้กลวง ไม่มีน้ำหนัก ไม่มีเปอร์เซ็นต์แป้ง


ว่าด้วยสรีระวิทยาสำปะหลัง :
หัวสำปะหลัง คือ ราก เรียกว่า "รากสะสมอาหาร" ช่วงระหว่างที่ต้นสามารถสร้างอาหารได้ ซึ่งก็คือหน้าฝนนั่นเอง สารอาหารที่สร้างได้ส่วนใหญ่จะเอาไปสต๊อกไว้ที่หัว (ราก) กับส่วนน้อยที่ส่งไปเลี้ยงส่วนอื่นๆ (ลำต้น-ใบ) ของต้น

ครั้นถึงหน้าแล้ง ไม่มีน้ำ ไม่มีฝน ต้นไม่สามารถสร้างสารอาหารได้จึงไม่มีสารอาหารไปสะสมที่หัว (ราก) อีก หัวก็จะไม่โตขึ้น ในขณะเดียวกัน ต้นจะต้องเลี้ยงส่วนอื่นๆด้วย เมื่อไม่มีสารอาหารใหม่จากดินก็ต้องเอาสารอาหารเก่าที่เคยสะสมไว้ในหัวส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆของต้นแทน นี่คือ สาเหตุ "กินตัวเอง" ไงล่ะ

วิธีป้องกันไม่ให้สำปะหลังกินตัวเอง ก็คือ "ให้อาหาร" เพื่อไม่ให้ต้นต้องเอาสารอาหารเก่าที่สะสมไว้ไปใช้ แบบนี้หัวสำปะหลัง (ราก) ก็ยังคงสภาพเดิม หรือดีกว่าเดิม

ข้อสังเกตุ :
- ต้นสำปะหลัง ลักษณะลำต้นเรียวเล็ก ข้อถี่ ใบน้อย แค่กระจุกเดียวที่ปลายยอด(เหมือนผมโก๊ะ).... นั่นแหละ สำปะหลังขาดน้ำ ขาดสารอาหาร สำปะหลังแบบนี้ หัวเล็ก ผิวเปลือกที่หัวเป็นสีน้ำตาล เปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ ลำต้นใช้ทำพันธุ์ต่อไม่ดี

- สำปะหลัง ลักษณะลำต้นอวบอ้วน ข้อห่าง ใบมากจากยอดถึงโคน ใบใหญ่หนา เขียวเข้ม (เหมือนบ้าใบ) ...... นั่นแหละ สำปะหลังได้น้ำ ได้สารอาหาร สำปะหลังแบบนี้หัวใหญ่ ผิวเปลือกที่หัวเรียบ สีขาวเป็นมัน น้ำหนักดี เปอร์เซ็นต์แป้งสูง ลำต้นใช้ทำพันธุ์ต่อดี (ขายได้ มีรายได้เพิ่ม)

- สำปะหลังบ้าใบ ไม่ลงหัว หรือลงหัวไม่ดี แก้ไขด้วยการควบคุมปริมาณ "น้ำ" ให้น้ำพอหน้าดิน "ชื้น" น้อยๆ (ชื้น - ชุ่ม - โชก - แฉะ - แช่) กับควบคุม "สูตรปุ๋ย" ที่ให้ทั้งทางรากและทางใบ โดยเน้นปุ๋ยสูตรสร้างแป้ง มากกว่าสูตรสร้างต้นสร้างใบ



ประสบการณ์ตรง :
สำปะหลัง อายุ 6 เดือน ให้ "น้ำ + สารอาหาร" สม่ำเสมอ คาดว่า (ดูด้วยสายตาจากประสบการณ์) จะได้ผลผลิตประมาณ 6 ตัน กอร์ปกับช่วงนั้นเข้าสู่หน้าแล้งแล้ว เพราะปีนั้นแล้งมาเร็วผิดปกติ คิดอยู่ว่า อายุแค่ 6 เดือน เปอร์เซ็นต์แป้งคงยังไม่ดีนัก ต้องเลี้ยงต่อไปอีก จึงจัดการให้ "น้ำ + สารอาหาร" ตามปกติเหมือนช่วงที่ยังไม่แล้ง ให้สม่ำเสมอต่ออีก 2 เดือน สิริรวมอายุสำปะหลังเป็น 8 เดือน คราวนี้สุ่มขุดขึ้นมาดู

ต๊กกะใจ ! หัวสำปะหลังใหญ่ขึ้น คาดว่า (ดูด้วยสายตาจากประสบการณ์) น่าจะได้ผลผลิตถึง 8 ตัน แต่เนื่องสถานการณ์ด้านแรงงานขุดไม่พร้อม จำต้องตัดสินใจปล่อยสำปะหลังไว้ในแปลงต่ออีก 2 เดือน พร้อมกับให้ "น้ำ + สารอาหาร" สม่ำเสมอตามปกติ กระทั่งครบกำหนด 10 เดือน คราวนี้ลงมือขุดได้....

ปรากฏว่า ผลผลิตที่ได้ 12 ตัน แป้ง 30 เปอร์เซ็นต์ตามเกณท์ที่ลานมันกำหนด



ลุงคิมครับผม
Redmountain
ตอบตอบ: 19/01/2011 1:57 pm    ชื่อกระทู้:

[สำหรับผู้สนใจ ต้องการไปศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ระบบน้ำหยดในมันสำปะหลัง สามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานสหกรณ์การเกษตรโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ โทร. (044) 607-187/quote]


ถามไปที่สหกรณ์ เค้าก็ให้เบอร์ลุงสมัยมา โทรไปคุยมาแล้วครับ สไตล์เกษตรกรทั่วไป ไม่ค่อยพูดมาก ตกลง ถ้าปลูกด้วยวิธีนี้แล้ว ต้นจะใหญ่โตเร็ว ดังนั้น ขุดหัวเสร็จ เอาต้นไปทำพันธุ์ต่อได้ครับ

แต่ยังงั้นก็เหอะ ผมว่า การปลูกให้ครบวงจร ๑๑ เดือน น่าจะดีกว่า เพราะรอบการขุดจะคงที่ทุกปี ถ้าเราปลูกปลายฝน (พ.ย.) กับ ต้นฝน (เม.ย.) ไปได้ตลอด มันจะจัดการวงจรชีวิตง่ายกว่า แถมไม่ต้องเสียค่าไถที่ชักร่องถี่ตามไปด้วย ช่วงที่รอไปอีก๓ เดือน ก็ถือว่าให้หัวมันโตตามไปด้วย

ยังไง ผมก็คงจะลองขุดหัวมันดูก่อนว่า ช่วง ๘ เดือน ถึง ๑๑ เดือน จะได้น้ำหนักหัวเพิ่มกี่มากน้อย
kimzagass
ตอบตอบ: 13/01/2011 6:31 pm    ชื่อกระทู้:

ชุบท่อนพันธุ์มันสำปะหลังปราบเพลี้ยแป้ง

จากการที่เพลี้ยแป้งสีชมพูของมันสำปะหลังระบาดรุนแรงมาตั้งแต่เดือน มกราคม - พฤษภาคม 2552 และเมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ฝนตกลงมา การระบาดของเพลี้ยแป้งได้ลดลงไปชั่วระยะหนึ่ง ต่อมาในช่วงเดือน ตุลาคม - พฤศจิกายน หลังฝนทิ้งช่วงเพลี้ยแป้งกลับระบาดรุนแรงขึ้นมาอีก เพลี้ยแป้งสีชมพูมันสำปะหลังค่อนข้างจะกำจัดยากกว่าเพลี้ยแป้งธรรมดา เนื่องจากในช่วงฤดูฝนเพลี้ยแป้งจะหลบลงไปอยู่ที่บริเวณโคนต้น หลังจากฝนทิ้งช่วงอากาศร้อนเพลี้ยแป้งจะเคลื่อนย้ายขึ้นมาอยู่ที่ยอดทำลายใบให้หงิกงอ กรมวิชาการเกษตรจึงได้ทำการศึกษาวิจัยการป้องกัน และกำจัดทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว ในระยะสั้นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อยับยั้งการระบาดมิให้กระจายออกอย่างกว้างขวาง ได้ศึกษาการใช้สารเคมีโดยการวิจัยของกลุ่มกีฏและสัตววิทยาพบว่า สารเคมีที่มีประสิทธิภาพที่สุดได้แก่ไทอะมีโทแซมใช้ในอัตรา 2 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมกับสารไวท์ออยล์ 67% EC. 50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นติดต่อกันอย่างน้อย 2 ครั้ง

นายสุเทพ สหายา นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ซึ่งได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังมาตั้งแต่ต้น กล่าวว่า หลังจากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังแล้ว กลุ่มวิจัยกีฏและสัตววิทยาก็ได้ทำศึกษาวิจัยการแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังด้วยสารเคมีก่อนปลูก โดยศึกษาการแช่ท่อนพันธุ์ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน กลุ่มกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตรได้แนะนำให้ใช้สารเคมีสำหรับแช่ท่อนพันธุ์คือ




1. ไทอะมีโทแซม 25 เปอร์เซ็นต์ ดับเบิ้ลยู จี 4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
2. อิมิดาคลอพริด 70 เปอร์เซ็นต์ ดับเบิ้ลยู จี 4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
3. ไดโนทีฟูแรม 10 เปอร์เซ็นต์ ดับเบิ้ลยู พี 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

อย่างใดอย่างหนึ่งนาน 5-10 นาที หลังจากแช่แล้วนำไปปลูก ได้ทดสอบแล้วจะสามารถป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งได้อย่างน้อยประมาณ 1 เดือน

การแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังด้วยสารเคมีที่ได้ผลที่สุด คือ ตัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลังพร้อมปลูก แล้วนำไปแช่สารเคมีที่แนะนำไปแล้วข้างต้นประมาณ 5-10 นาที สารเคมีจะถูก ดูดซึมเข้าไปในเซลพืชได้มากที่สุด และไม่ทำให้พืชเกิดอาการเป็นพิษ จากการทดลองแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังในแนวนอนจะต้องใช้เวลา 15 นาที สารเคมีจึงจะซึมเข้าได้หมด ขณะเดียวกันได้ทดลองแช่ท่อนพันธุ์ในแนวตั้งปรากฎว่าใช้เวลาแช่ 24 ชั่วโมง พบว่าสารเคมียังซึมไม่ถึงยอด ซึ่งเราจะศึกษาเพิ่มเติมต่อไปว่าการแช่ในแนวตั้งนานแค่ไหน สารเคมีจึงจะมีประสิทธิภาพในการกำจัดเพลี้ยแป้งได้

“ดังนั้นในช่วงนี้ขอให้เกษตรกรแช่ท่อนพันธุ์ที่ตัดแล้วพร้อมปลูก หรือแช่ท่อนพันธุ์ในแนวนอนไปก่อน โดยปกติแล้วเกษตรกรมักจะทำการแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังด้วยฮอร์โมนเร่งราก หรือฮอร์โมนที่มีสารอาหารต่างๆ ก่อนปลูกอยู่แล้ว เกษตรกรจะเพิ่มสารเคมีป้องกันเพลี้ยแป้งโดยยอมเสียเวลาแช่ไปอีกสักหน่อย ก็จะได้ประโยชน์ทั้งสองอย่าง ซึ่งนอกจากเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์จะตายแล้ว เพลี้ยแป้งก็ไม่สามารถทำลายต้นมันสำปะหลังที่งอกออกมาอย่างน้อยประมาณ 1 เดือน” นายสุเทพ กล่าวต่อไปว่าหลังจากที่นำท่อนพันธุ์ที่แช่สารเคมีไปปลูก เมื่อต้นมันสำปะหลังงอกได้ปล่อยเพลี้ยแป้งไปที่ต้นมันทุกสัปดาห์ และเฝ้าดูว่าวิธีไหนที่เพลี้ยแป้งมีชีวิตอยู่รอด เมื่อเปรียบเทียบกับ ต้นมันสำปะหลังที่ปลูกโดยแช่น้ำเปล่า พบว่าวิธีที่แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีได้ผลดีที่สุด คือหลังจากที่ปลูกไปแล้วระยะเวลาการทำลายของเพลี้ยแป้งจะช้าลง เพลี้ยแป้งไม่สามารถบินไปได้เนื่องจากไม่มีปีก โอกาสที่จะระบาดก็คือลมพัดมา ติดมากับคนและสัตว์เลี้ยงหรือมดพามาเท่านั้น

ขณะเดียวกัน ได้มีข้อมูลจากมูลนิธิมันสำปะหลังแห่งประเทศไทย รายงานว่า ได้ทำการทดลองแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังด้วยสารไทอะมีโทแซม 4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยผสมอยู่ในอัตรา 200 ลิตร สามารถแช่ท่อนพันธุ์ปลูกได้ถึง 40 ไร่ ต้นทุนอยู่ที่ไร่ละ 5 บาท มูลนิธิได้รายงานด้วยว่า จากการทดลองปลูกไปแล้ว 6 เดือน ยังไม่พบการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังที่แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีเลยแต่ในแปลงที่ไม่ได้แช่ท่อนพันธุ์ได้มีการพ่นสารเคมีไปแล้ว 3 ครั้ง




นอกจากนั้น กรมวิชาการเกษตรยังได้ทำการศึกษาเพิ่มเติม โดยการนำแตนเบียนสายพันธุ์เฉพาะเจาะจงสำหรับการกำจัดเพลี้ยแป้งที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ มาทำการเลี้ยงขยายพันธุ์แล้วนำไปปล่อยในไร่มันสำปะหลัง ซึ่งจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังโดยนำมาดำเนินการร่วมกับวิธีแช่ท่อนพันธุ์ หลังจากที่กรมวิชาการเกษตรได้ปล่อยแตนเบียนไปทำลายเพลี้ยแป้งในไร่มันสำปะหลังแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องพ่นสารเคมี ซึ่งเป็นนโยบายการลดการใช้สารเคมีของกรมวิชาการเกษตรอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตามในระยะนี้ ขอให้เกษตรกรหลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลังไปก่อนเพราะอยู่ในช่วงหน้าแล้ง และยังอยู่ในช่วงของการระบาดของเพลี้ยแป้ง การปลูกในช่วงที่เหมาะสมคือ ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือน เมษายน-พฤษภาคม ของฤดูปลูกปี 2553


สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0 - 2579 5583 และ 0 2579 7542



http://it.doa.go.th/pibai/pibai/n13/v_5-june/rai.html
kimzagass
ตอบตอบ: 06/01/2011 5:26 pm    ชื่อกระทู้:

แนะนำ.....

สอบถามไปที่เว้บอ้างอิง หรือไม่ก็โทร.ในข้อมูลก็ได้
ได้เรื่องได้ราวยังไง ส่งข่าวด้วยก็ดีนะ.....

เว้บนี้ลุงคิม COPY เขามาให้รู้กันเท่านั้น



ลุงคิม (ก็สงกะสัยเหมือนกัน) ครับผม
Redmountain
ตอบตอบ: 05/01/2011 8:17 pm    ชื่อกระทู้:

สงสัยอยู่อย่างครับว่า ขุดหัวมันที่ ๗ เดือนนี่ แล้วเอาต้นพันธุ์ ๗ เดือนไปปักนี่
มันจะไหวรึเปล่า ถ้าซัก ๑๐ เดือน นี่ยังพอไหว
kimzagass
ตอบตอบ: 03/01/2011 10:11 pm    ชื่อกระทู้:

สมัย ลิ้มวัชราภรณ์ ทำน้ำหยดในไร่มัน ที่โนนสุวรรณ เพิ่มผลผลิต หยุดเพลี้ยแป้ง

เพราะได้แรงบันดาลใจจากผู้เป็นบิดา คือ คุณประกอบ ลิ้มวัชราภรณ์ ที่ได้นำระบบน้ำหยดเข้ามาใช้กับการปลูกแตงกวา และข้าวโพด จนได้ผลสำเร็จเป็นอย่างดี จึงทำให้ คุณสมัย ลิ้มวัชราภรณ์ ผู้เป็นลูกชาย และเป็นสมาชิกของสหกรณ์การเกษตรโนนสุวรรณ จำกัด เลขทะเบียน 936 อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 30 หมู่ที่ 5 บ้านหนองตาเฮียง ตำบลดงอีจาน อำเภอโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ ได้นำระบบน้ำหยดเข้ามาในแปลงปลูกมันสำปะหลังจนประสบความสำเร็จ

ในวันนี้ บนพื้นที่ 20 ไร่ ในครอบครองของคุณสมัย ที่เน้นการปลูกมันสำปะหลังด้วยระบบน้ำหยด จึงกลายเป็นแปลงสาธิตการผลิตมันสำปะหลังระบบน้ำหยด เปิดให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังที่สนใจ ได้เข้าไปศึกษาเรียนรู้ในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติ

คุณสมัย บอกว่า ได้ปลูกมันสำปะหลังมาเป็นเวลาประมาณ 13 ปีแล้ว โดยในครั้งที่ยังปลูกมันสำปะหลังแบบเดิมจะได้ผลผลิตเพียง 3-4 ตัน ต่อไร่ มีรายได้จากการขายหัวมันไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตเท่าไรนัก

แต่ในวันนี้ เมื่อปรับเปลี่ยนมาใช้ระบบการปลูกแบบน้ำหยด ทำให้ได้ผลผลิตหัวมันสดที่ดีขึ้นมาก โดยเฉลี่ยที่ไร่ละประมาณ 7-8 ตัน ทีเดียว

"สิ่งที่ผมเห็นว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่ได้จากการนำระบบน้ำหยดมาใช้ในการปลูก มันสำปะหลังนั้น มีด้วยกันหลายประการ ทั้งประหยัดเวลาในการดูแล ผลิตมันได้มากขึ้น ลดการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังได้ และมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย" คุณสมัย กล่าว

"อย่างเพลี้ยแป้งนั้น เห็นได้ชัดเลยว่า มีอัตราการระบาดลดลงอย่างมาก ตั้งแต่มีระบบน้ำหยด โดยจากเดิมนั้น ไร่มันสำปะหลังจะต้องได้รับความเสียหายจากการระบาดของเพลี้ยแป้ง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 แต่เมื่อนำระบบน้ำหยดมาใช้แล้ว การระบาดลดลงเหลือเพียง ร้อยละ 10 เท่านั้น"

คุณสมัย ยังกล่าวถึงรายได้ที่ได้รับว่า ในช่วงที่ผ่านมาขายมันสำปะหลังได้ กิโลกรัมละ 2.50-3 บาท เฉลี่ยไร่ละ 24,000 บาท หากรวมทั้ง 20 ไร่ จะมีรายได้ประมาณ 480,000 บาท นอกจากนี้ ยังสามารถขายท่อนพันธุ์ได้อีก ต้นละ 2 บาท เฉลี่ยแล้วไร่หนึ่งจะมีรายได้จากการขายท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง ประมาณ 3,000 บาท

แต่อย่างไรก็ตาม ในอีกมุมมองหนึ่งของคุณสมัยที่ทำให้ระบบการปลูกมันสำปะหลังด้วยระบบน้ำหยด ยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร ทั้งที่มีเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังเข้ามาดูงานอย่างต่อเนื่อง นั่นคือ ปัญหาการขาดเงินลงทุน การขาดแคลนแหล่งน้ำและปัญหาระบบไฟฟ้าเข้าไม่ถึงพื้นที่ปลูก

"สำหรับระบบการทำน้ำหยดในไร่มันนั้น จะต้องใช้ต้นทุนประมาณ 7,000 บาท ต่อไร่" คุณสมัย บอกกล่าวถึงต้นทุนที่ต้องเตรียมการไว้

ในไร่มันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 ทั้ง 20 ไร่ ในวันนี้ของคุณสมัย จึงมีระบบน้ำหยดวางอยู่ทั่วทั้งแปลง ซึ่งหมายถึงว่าต้องใช้เงินทุนสำหรับการนี้ประมาณ 140,000 บาท

"ทั้งนี้ จะเป็นการลงทุนในครั้งแรกมากที่สุด เพราะต้องซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าเครื่องสูบน้ำ ท่อน้ำ และอื่นๆ แต่หลังจากนั้นจะลงทุนน้อยลง โดยเฉพาะอยู่ที่ไร่ละ 3,000 บาท ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ จะมีค่าไฟฟ้าอีกปีละ 6,000 บาท และค่าปุ๋ยหมักชีวภาพที่ให้ไปพร้อมกับระบบน้ำอีก เฉลี่ยไร่ละ 1,500 บาท"

"แต่เราจะมีรายได้จากการขายหัวมันสำปะหลังและท่อนพันธุ์ เฉลี่ยปีละ 2 ครั้ง โดยอายุของต้นมันที่ขุดได้นั้น อยู่ที่ประมาณ 6-7 เดือน จากที่ผมทำมานั้นเพียงแค่ขุดหัวมันขายในรอบแรก เราก็สามารถคืนทุนได้แล้ว ส่วนรอบ 2 นั้นถือว่าเป็นกำไร" คุณสมัย กล่าว

สำหรับระบบน้ำหยดของ คุณสมัยนั้น จะใช้น้ำจากบ่อน้ำที่ขุดไว้ ซึ่งเป็นบ่อน้ำซับ สามารถมีน้ำใช้ได้ตลอดทั้งปี ซึ่งพื้นที่บ่อมีความจุประมาณ 1,260 ลูกบาศก์

ให้ปุ๋ยทางน้ำไว้ด้วย โดยใช้อุปกรณ์ง่ายๆ คือ นำปุ๋ยชีวภาพมาผสมกับน้ำและคนให้เข้ากันในถังพลาสติคใบใหญ่ และจะต่อสายยางในรูปแบบของกาลักน้ำ เพื่อนำปุ๋ยที่ผสมแล้วเข้าไปสู่ระบบท่อที่สูบน้ำจากบ่อ ปุ๋ยดังกล่าวจะไหลไปตามท่อเมนที่วางยาวไว้กลางไร่มันสำปะหลัง ซึ่งจะมีการต่อท่อน้ำหยดในลักษณะก้างปลากระจายไปทั่วทุกแถวของต้นมัน สำปะหลัง

"ระบบท่อน้ำหยดนี้ สามารถหาซื้อได้จากร้านจำหน่ายวัสดุทางการเกษตรทั่วไป คุณสมัยจะวางเครื่องสูบน้ำที่จะมีการวางระบบซึ่งเป็นสายสำเร็จรูป เราเพียงนำมาวางในไร่มัน โดยวางไปตามร่องปลูกมันสำปะหลัง ซึ่งระยะของรูที่เจาะเพื่อปล่อยให้น้ำหยดออกมานั้น จะอยู่ห่างกันประมาณ 10 เซนติเมตร" คุณสมัย กล่าว

สำหรับท่อน้ำหยดที่วางไปตามร่องปลูกต้นมัน สำปะหลังนั้น คุณสมัย บอกว่า จะวางท่อไปพร้อมกับการนำต้นพันธุ์มาปลูก พอเมื่อจะเก็บเกี่ยวขุดหัวมันปะหลังขึ้นมาขาย จะดำเนินการรื้อท่อออกก่อน แล้วจึงเริ่มขุด ส่วนท่อที่รื้อมานั้นจะเก็บไว้ใช้งานในครั้งต่อไป

ทั้งนี้ สำหรับท่อน้ำหยดที่วางไว้ในไร่มันสำปะหลังนั้น คุณสมัย บอกว่า จะมีอายุการใช้งานได้นานประมาณ 3-4 ปี

"โดยจะให้น้ำหยดแก่ต้นมันสำปะหลังที่ปลูก สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง"

ในส่วนของการให้ปุ๋ยนั้น ครั้งแรกคุณสมัยบอกว่า จะให้ปุ๋ยชีวภาพในช่วงก่อนการไถกลบ เมื่อต้นมันสำปะหลังอายุได้ประมาณ 3 เดือน จะให้ปุ๋ยสูตรระเบิดหัว และในเดือนที่ 5 จะให้ปุ๋ยสูตรระบิดหัวอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ จะใช้ปุ๋ย 7 กระสอบ และเมื่อต้นมันสำปะหลังอายุได้ประมาณ 7 เดือน จะขุดหัวขึ้นมาขาย

"พอผมมาใช้ระบบน้ำหยดแบบนี้ ในเรื่องของการเก็บเกี่ยวก็เร็วขึ้น จากเดิมหากปลูกตามธรรมชาติ การดูแลจะต้องปล่อยให้ต้นเติบโตนาน 12 เดือน จึงขุดหัวมันขึ้นมาได้ แต่พอมาใช้ระบบน้ำหยดสามารถย่นระยะเวลาได้มากขึ้น เหลือเพียง 7 เดือน ก็สามารถขุดหัวมันขายได้แล้ว ที่สำคัญได้หัวมันที่ใหญ่ น้ำหนักดีขึ้นกว่าเดิมมากด้วย" คุณสมัย กล่าว

"ในการทำไร่มัน สำปะหลังด้วยระบบน้ำหยดนี้ ผมก็ไม่รู้ว่าที่อื่นจะมีใครทำหรือไม่ แต่จากที่ผมได้ทำมา รับรองได้เลยว่า สามารถให้ผลตอบแทนที่ดีมากจริงๆ" คุณสมัย กล่าวในที่สุด

สำหรับผู้สนใจ ต้องการไปศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ระบบน้ำหยดในมันสำปะหลัง สามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานสหกรณ์การเกษตรโนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์ โทร. (044) 607-187 ซึ่งทางสหกรณ์พร้อมที่จะให้คำแนะนำและนำเยี่ยมชมแปลงสาธิตการปลูกมัน สำปะหลังน้ำหยด เพื่อช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังสามารถนำไปปรับใช้จนประสบความสำเร็จ เช่นเดียวกับ คุณสมัย ลิ้มวัชราภรณ์


http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=hoonvi&date=14-10-2010&group=8&gblog=119
kimzagass
ตอบตอบ: 25/12/2010 2:47 pm    ชื่อกระทู้:

ถ้าทำเพื่อ "จำหน่าย" ก็สมควรลงทุน สำหรับความน่าเชื่อถือในคุณภาพของ
สินค้า....

แต่ถ้าทำเพื่อใช้ในแปลงส่วนตัวละก็ น่าจะหาวิธีที่ประหยัดต้นทุน (ทุกอย่าง) ได้
มากกว่านี้.......ทำไมไม่คิดวิธี "แสวงประโยชน์" จากธรรมชาติบ้างล่ะ


ลุงคิม (ไม่ชอบขี่ช้างจับตั๊กแตน) ครับผม
Redmountain
ตอบตอบ: 25/12/2010 2:35 pm    ชื่อกระทู้:

โอ้พระเจ้า เอาลูกหมุนระบายลมหลังคามาใช้ อันนี้โดนครับลุง
ผมใช้จุลินทรีย์พื้นถิ่นช่วยหมักด้วย น่าจะเวลาไม่เกินสองอาทิตย์ครับ

แต่ต้องดูพื้นที่ให้เหมาะกับการรับลม ผมว่าถ้าเปลี่ยนกระเบื้องโกดังเป็นชุดระบายลมซักสองตัว หรือ ตั้งตัวหมุนให้สูง แล้ววิ่งท่อลงมา เจอกองปุ๋ย

วางกองปุ๋ยแนวยาวกว้าง ๑ เมตร ยาว ๖ เมตร สูง ๑ เมตร วางท่อระบายลมขนานคู่ โผล่ปล่องขึ้นมาซัก ๔ ตัว แล้วต่อท่อรวบสี่จุดเข้ากับท่อเข้าตัวระบายลมสองจุด

ชักสนุกแฮะ