-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - สูตรผสมปุ๋ย + เกร็ดความรู้สปริงเกอร์
ผู้ส่ง ข้อความ
kimzagass
ตอบตอบ: 16/11/2010 7:57 am    ชื่อกระทู้:



1..... ส้ม 100 ต้น (สมมุติ) ด้วยเครื่องมือตัวนี้ใช้เวลาต้นละ 5 นาที เท่ากับต้องใช้เวลาทั้งสิ้น 500
นาที. ...... ค่าน้ำมันเครื่องปั๊มในเรือ 500 นาที เท่ากับ ?


2..... ส้ม 100 ต้น (แปลงเดียวกัน) ติดสปริงเกอร์แบ่งเป็นโซนๆ ละ 20 ต้น เท่ากับ 5 โซน.
เปิดสปริงเกอร์โซนละ 10 นาที ใช้เวลาทั้งสิ้น 50 นาที ..... ค่าไฟฟ้า 50 นาที เท่ากับ ?

3..... ค่าน้ำเครื่องปั๊มในเรือ 500 นาที/ครั้ง....รวมทั้งปี หรือ 2 ปี หรือ 3 ปี เป็นต้นทุนเท่าไหร่ ?

4..... ค่าไฟฟ้าเครื่องปั๊มสปริงเกอร์ 50 นาที/ครั้ง....รวมทั้งปี หรือ 2 ปี หรือ 3 ปี เป็นต้นทุนเท่าไหร่ ?

5..... แล่นเรื่อใช้ปั๊ม เลือกเวลาตามต้องการไม่ได้ เพราะธรรมชาติไม่เอื้ออำนวย แต่สปริงเกอร์
เลือกเวลาทำงานได้ เช้า-สาย-บ่าย-ค่ำ ตามสบายเจ้าประคุณทูนหัว

6..... สุขภาพร่างกายที่ต้องลงไปแช่น้ำ ครั้งละเท่าไหร่ ?

7..... ฯลฯ


ลุงคิม (ลงทุนเพื่อลดต้นทุน) ครับผม
kimzagass
ตอบตอบ: 16/11/2010 7:25 am    ชื่อกระทู้:



ออกแบบวางท่อแบบนี้ หัวสปริงเกอร์ตัวใกล้ท่อเมน (มาจากปั๊ม) จะแรงกว่าหัวสปริงเกอร์ที่อยู่ไกล.....

หัวแรกแรงดันจะมากเท่าที่ปั๊มดันน้ำได้ แล้วแรงดันจะค่อยๆ ลดลงๆ ๆๆ ถึงหัวสุดท้าย (ปลายก้างปลา..
..ภาษาวิศวชาวบ้าน) แรงดันจะค่อยที่สุด....

แนวทางที่ชาวบ้านแก้ไข คือ ติดวาวล์ที่สปริงเกอร์หัวแรก หัวต่อไป ต่อๆไป ถ้าจำเป็น แล้วใช้วาวล์ควบคุม
ปริมาณน้ำที่สปริงเกอร์หัวแรก ให้เหลือปริมาณน้ำสำหรับหัวถัดไป ถัดไป ๆๆ ซึ่งก็ถือว่าใช้ได้ แต่ใช้ได้เพียง
ระดับหนึ่ง ระดับเล็กๆ เท่านั้น...



ถามว่า..... ถ้าทุกหัวสปริงเกอร์ ทั้งใกล้-ไกล จากปั๊ม-จากท่อเมน (เน้นย้ำ...ทุกหัว) พ่นน้ำออกมาได้แรงเท่ากัน
ทุกหัว โดยไม่ต้องมีวาวล์เพิ่มหรือลดแรงน้ำที่บางหัว จะดีกว่าไหม ? กับทำยังไง ?

ดีไหม.... ถ้าเราสามารถ "เพิ่ม/ลด" แรงดันน้ำแต่ละหัวสปริงเกอร์ ที่ปกติพ่นน้ำออกไปได้ไกลรัศมี 4 ม. (เส้นผ่า
ศูนย์กลาง 8 ม.) ให้รัศมีพ่นน้ำลดลงเหลือ 3 ม., 2 ม., หรือ 1 ม. ได้เท่ากันทุกหัว คล้ายๆ คันเร่งรถยนต์ หรือโวลลุ่มวิทยุ



สปริงเกอร์ระบบกะเหรี่ยง ที่ไร่กล้อมแกล้มไม่ได้ใช้เทคนิคนี้
ลุงคิม (กะเหรี่ยง+ลาว+มะแมร์) ครับผล
Yuth-Jasmine
ตอบตอบ: 15/11/2010 10:12 pm    ชื่อกระทู้:

ขออนุญาตเพิ่มรูปภาพข้อมูลของ "ลุง" ครับ















http://captainfer.com/index.php?option=com_content&view=article&id=57&Itemid=58
kimzagass
ตอบตอบ: 15/11/2010 9:38 pm    ชื่อกระทู้:

วิธีการใช้ปุ๋ยเคมีเหลว

ต้องมีการจัดทำระบบน้ำชลประทานในแปลงปลูกเสียก่อน ซึ่งประกอบด้วย 4 ส่วนคือ

1. เครื่องสูบน้ำ ทำหน้าที่เป็นต้นกำลังในการผลักดันน้ำและปุ๋ยไปตามท่อส่งน้ำ
2. ท่อส่งน้ำ ทำหน้าที่ในการนำพาน้ำและปุ๋ยไปยังหัวจ่ายน้ำ
3. หัวจ่ายน้ำ ทำหน้าที่ในการจ่ายน้ำและปุ๋ยให้แก่พืชที่ต้องการน้ำและปุ๋ย โดยให้ใน
อัตราตามที่ต้องการ เช่น 80 ลิตร /ชั่วโมง หรือ 120 ลิตร /ชั่วโมง อาจให้เป็นแบบ
น้ำ หยด (drip) แบบน้ำเหวี่ยง แบบพ่นฝอย (mini-sprinkle) หรือแบบน้ำเหวี่ยง
ขนาดใหญ่ (sprinkle)
4. ปุ๋ยเคมีเหลว เป็นปุ๋ยที่ใช้กับการให้ปุ๋ยในระบบน้ำชลประทานโดยเฉพาะ
(fertigation fertilizer) มี 2 ชนิดคือ ปุ๋ยเคมีเหลวใส และปุ๋ยเคมีเหลวมีสาร
แขวนลอย

การคำนวณปริมาณปุ๋ยที่ให้แก่พืชในระบบน้ำชลประทาน สำหรับไม้ผล
1. ต้องรู้จำนวนต้นไม้ผลในแปลงปลูกที่จะให้ปุ๋ยในแต่ละครั้ง
2. ต้องรู้สูตรปุ๋ยที่จะให้
3. ต้องรู้ปริมาณปุ๋ยที่จะให้ต่อต้นในช่วงความถี่ในการให้ปุ๋ยเท่าไร เช่น ให้ปุ๋ยเคมี
เหลวในอัตรา 100 กรัม/ต้น/30 วัน หมายความว่า ในต้นไม้ผล 1 ต้น เราจะต้องให้
ปุ๋ยเคมีเหลวจำนวน 100 กรัม โดยให้ทุกๆ 30 วัน ดังนั้นในหนึ่งปี เราให้ปุ๋ยเคมี
เหลว รวม 12 ครั้ง ตามหลักการให้ปุ๋ยเคมีเหลวในระบบน้ำชลประทานที่ดีว่า “ ให้
น้อยแต่บ่อยครั้ง “

สมมุติว่า มีสวนส้มเขียวหวาน 1 แปลงที่จะให้ปุ๋ยมีจำนวนต้นส้ม 50 ต้น อายุส้ม
ประมาณ 6 ปี ขณะนี้ติดผลอายุ 3 เดือน หลังออกดอก ต้องการให้ปุ๋ยสูตร 18-6-
12 ในอัตรา 100 กรัม/ต้น / 30วัน

วิธีคำนวณ
จำนวนต้นส้ม 50 ต้น ต้องการปุ๋ยต้นละ 100 กรัม และให้ปุ๋ยเคมีเหลวทุกๆ 30 วัน
ปริมาณปุ๋ยที่ให้ทั้งหมด = 50 x 100 ...... = 5,000 กรัม หรือ 5 กิโลกรัม

ดังนั้นต้องชั่งปุ๋ยเคมีเหลวตามจำนวนดังกล่าว นำมาใส่ในถังผสมสารละลายปุ๋ย (อาจ
เป็นถังพลาสติกสีฟ้า 200 ลิตร หรืออ่างผสมปุ๋ยที่สร้างขึ้น) เนื่องจากปุ๋ย 5
กิโลกรัม มีจำนวนน้อยจึงควรเพิ่มน้ำอีก 100 ลิตรในถังผสม เพื่อให้ได้เนื้อ กวนให้
เข้ากัน แล้วดำเนินการให้ปุ๋ยตามขั้นตอนดังนี้

1. ควรจ่ายน้ำเปล่าก่อนใช้เวลาประมาณ 15 นาที
2. ขณะที่กำลังจ่ายน้ำเปล่า(เมื่อครบ 15 นาที) ให้เปิดวาล์วที่ถังผสมสารละลาย
ปุ๋ย ปล่อยปุ๋ยให้หมดถังโดยใช้เวลาประมาณ 15 นาที แล้วปิดวาล์ว
3. จ่ายน้ำเปล่าอีกครั้ง ใช้เวลา 15 นาที เพื่อเป็นการชำระล้างท่อ หัวจ่ายน้ำ ตลอด
จนเครื่องสูบน้ำด้วย
4. นับจากวันนี้ไปอีก 30 วันจึงจะมีการให้ปุ๋ยอีกครั้ง หรืออีกหนึ่งเดือนข้างหน้าจะ
ต้องให้ปุ๋ยอีกครั้ง


การให้ปุ๋ยเคมีเหลวในระบบน้ำชลประทานดังกล่าวข้างต้น ต้นส้ม 50 ต้น จะได้รับปุ๋ย
ต้นละ 100 กรัม ค่อนข้างสม่ำเสมอ ลดการชะล้างปุ๋ยออกนอกบริเวณรากพืช ลด
การซึมลึกลงสู่น้ำใต้ดิน รากพืชไม่เสียหาย

ธาตุอาหารพืชไม่ถูกตรึงโดยอนุภาคดิน พืชได้รับธาตุอาหารครบ เช่น N. P. K.
Ca. Mg. S. Zn. Fe. Cl. Mn. Cu. B. Mo.


อธิบายภาพ
หมายเลข1 เป็นท่อดูดน้ำจากบ่อ
หมายเลข2 เป็นท่อดูดสารละลายปุ๋ย
หมายเลข3 ถังใส่ปุ๋ยเคมีเหลว
หมายเลข4 วาล์วควบคุมปริมาณสารละลายปุ๋ยจากท่อ2
หมายเลข5 เครื่องสูบน้ำ
หมายเลข6 ท่อจากเครื่องสูบน้ำต่อไปยังท่อประธาน

การทำงาน เริ่มจากท่อ 1 สูบน้ำจากบ่อ โดยอาศัยต้นกำลังจากเครื่องสูบน้ำ (หมาย
เลข 5) ขณะเดียวกันท่อ 2 ก็ดูดสารละลายปุ๋ยในถัง 3 โดยถูกควบคุมปริมาณด้วย
วาล์วที่ 4 ปริมาณน้ำจากบ่อในท่อ 1 และสารละลายปุ๋ยในท่อ 2 จะถูกสูบเข้ายัง
เครื่องสูบน้ำ เกิดการผสมกันทั้งน้ำจากบ่อและสารละลายปุ๋ยจากถัง 3 ให้เป็นเนื้อ
เดียวกันและจะผลักดันออกมาตามท่อ 6 ส่งไปตามท่อประธานและท่อแขนง สุด
ท้ายไปยังหัวจ่ายน้ำ ตามลำดับ

- การให้ปุ๋ยแบบไมโครสปริงเกิล (Micro Sprinkle)
- การให้ปุ๋ยแบบสปริงเกิล (บิ๊กกัน-BigGun)
- การให้ปุ๋ยแบบเรือรดน้ำ

http://captainfer.com/index.php?option=com_content&view=article&id=57&Itemid=58
Yuth-Jasmine
ตอบตอบ: 15/11/2010 8:23 pm    ชื่อกระทู้: สูตรผสมปุ๋ย + เกร็ดความรู้สปริงเกอร์

เผื่อเพื่อนสมาชิกท่านใดสนใจครับ
ขอบคุณ นิตยสาร "เคหการเกษตร" เอื้อเฟื้อข้อมูล

http://www.mediafire.com/?2cdffrfnb1tynf1
คำนวณการผสมปุ๋ยทางดิน

http://www.mediafire.com/?ugriy14u4epbm67
คำนวณการผสมปุ๋ยระบบน้ำ

http://www.mediafire.com/?88d39mptql3k613
การผสมจุลธาตุใช้เอง

http://www.mediafire.com/?ewvouuid9e46bp3
การผสมปุ๋ยกล้วยไม้และการปุ๋ยพ่นทางใบ

http://www.mediafire.com/?btmfra6cssuki1l
การผสมปุ๋ยระบบน้ำมีแคลเซียม