-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - ปัญหาการส่งเสริมการเกษตร
ผู้ส่ง ข้อความ
Aorrayong
ตอบตอบ: 09/09/2009 2:43 pm    ชื่อกระทู้: ปัญหาการส่งเสริมการเกษตร

.
.

ที่มา http://www.pandintong.com/ReplyUI.php?ForumGroupID=1&ForumID=244

เกษตรต้องรู้

คอลัมน์: เกษตรต้องรู้
Source - พิมพ์ไทย (Th)

Tuesday, July 07, 2009 10:45

ปัญหาการส่งเสริมการเกษตร คือปัญหาที่นักส่งเสริม หรือหน่วยงานด้านการเกษตรทำการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีทางด้านการเกษตร แล้วเกษตรกรไม่สามารถพัฒนาอาชีพการเกษตรของตนจนสามารถพึ่งตนเองได้อย่าง ยั่งยืน ซึ่งมีปัจจัยที่ทำให้การส่งเสริมการเกษตรไม่บรรลุผลได้แก่

ปัจจัยที่เกิดจากการทำงานด้านการส่งเสริมการเกษตรของหน่วยงานองค์กร ภาครัฐ ภาคเอกชน ปัจจัยที่เกิดจากระบบการผลิตการตลาดสินค้าการเกษตร และปัจจัยที่เกิดจากเกษตรกร

แนวทางการแก้ไขปัญหาการส่งเสริมการเกษตร คือ การบูรณาการความร่วมมือเรียนรู้ และพัฒนาร่วมกันทุกฝ่ายอย่างเป็นระบบ ทั้งเกษตรกร และหน่วยงานภาครัฐเอกชน

หน่วยงานภาครัฐ ที่ทำงานด้านส่งเสริมการเกษตรในสังกัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ได้แก่กรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์กรมประมง กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมพัฒนาที่ดิน สำนักปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก) กระทรวงศึกษาธิการได้แก่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี วิทยาลัยประมง ในสังกัดสำนักคณะกรรมการอาชีวศึกษากระทรวงมหาดไทย ได้แก่ กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงกลาโหม ได้แก่ กรป.กลางหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณืการเกษตร(ธกส.) องค์การตลาดเพื่อการเกษตร (อตก.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

ในส่วนองค์กรภาคเอกชนที่ทำงานด้านการส่งเสริมการเกษตร มี 2 ลักษณะ ได้แก่ ภาคเอกชนที่ไม่หวังผลกำไร มักเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบำเพญสาธารณะกุศล เช่น สมาคมพัฒนาประชากร และชุมชน สมาคมพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย

ภาคเอกชนที่หวังผลกำไร ได้แก่ บริษัทเอกชนที่ผลิตและจำหน่าย เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ยเคมี สารกำจัดศัตรูพืช บริษัทที่ทำธุรกิจด้านการผลิต และการแปรรูปสินค้าเกษตร เช่น โรงงานน้ำตาล โรงงานแปรรูปต่างๆ ฯลฯ


ปัญหาการทำงานส่งเสริมการเกษตรของหน่วยงานรัฐ
1. ขาดการประสานงานกับทั้งในระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติการทำงานเหลื่อมล้ำซ้ำซ้อน
2. ความเชื่องช้ามากขั้นตอนของระบบราชการ เป็นอุปสรรคสำคัญของการส่งเสริมการเกษตร
3. บุคลากรภาครัฐขาดประสบการณ์ตรงในการประกอบอาชีพเกษตรขาดความเชื่อถือ
4. ข้อจำกัดด้านงบประมาณ ในสภาวะการณ์ปัจจุบัน การจัดสรรงบประมาณเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สำหรับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเดินทางไปพบปะเยี่ยมเยือนเกษตรกร ณ ไร่-นา

5. ข้อจำกัดด้านบุคลากร ขาดบุคลากรที่ทำงานในภาคสนาม 1 คนต่อพื้นที่ 1 ตำบล ถือว่าไม่เพียงพอ

6. การสร้างเครือข่ายประชาชนด้านการส่งเสริมการเกษตรยังขาดประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับด้านอื่นๆ
7. บทบาทของนัการเมืองระดับชาติ และระดับท้องถิ่นทำงานสนองนักการเมือง
8. การเผยแพร่ติดตามงานของหน่วยงานรัฐยังขาดประสิทธิภาพ
9. นโยบายภาครัฐไม่ชัดเจนจริงจัง เพราะผู้กำหนดนโยบายยังขาดความรู้ด้านพัฒนาการเกษตร ทำให้ไม่สอดคล้องกับการแก้ปัญหา ขาดความต่อเนื่องไม่คำนึงถึงความยั่งยืน

10. องค์กรปกครองท้องถิ่นมีบทบาทน้อยมากทั้งที่เป็นบทบาทโดยตรงที่จะพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่



ปัญหาการทำงานส่งเสริมการเกษตรขององค์กรภาคเอกชน
1. หน่วยงานภาคเอกชนที่มุ่งผลกำไร บางครั้งทำให้เกษตรกรเสียเปรียบในการประกอบการ ปล่อยให้เกษตรกรรับสภาพความเสี่ยงเอง

2. ภาคเอกชนมักไม่ได้รับความไว้วางใจจากเกษตรกร เพราะเกษตรกรอาจรู้สึกว่าตนเองกำลังถูกเอาเปรียบ

3. ภาคเอกชนบางองค์กรขาดความรู้ และประสบการณ์ด้านการเกษตรอย่างแท้จริง รู้มาผิดๆ
4. ขาดการประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพกับหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่โดยตรง
5. ภาคเอกชนที่เป็นสื่อสารมวลชน มีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมการเกษตร เพราะเกษตรกรจะได้รับรู้ข่าวสาร จากสื่อมวลชน ในวงกว้าง บางครั้งข้อมูลข่าวสารมีความคลาดเคลื่อนในเชิงวิชาการ และความเป็นจริง ในประเด็นนี้ควรมีหน่วยงานนภาครัฐคอยกลั่นกรองข้อมูลข่าวสาร เพราะถ้าเกษตรกรได้รับข้อมูลผิดๆ จะทำให้เกิดผลเสียต่อการประกอบอาชีพ

สำหรับวันนี้ผมนำวิชาการมาให้ได้อ่านทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในบ้านเรา โดยมีความเห็นร่วมกันว่าน่าจะเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ บางครั้งเราทำงานไม่มี ระบบ ความสำเร็จอาจไม่บังเกิด ถ้าท่านอยากทราบรายละเอียดปัญหาด้านการผลิต การตลาด เขียนจดหมายมาที่สถานีเกษตรอินทรีย์ ตู้ ปณ.1027 ปณฝ.เกษตรศาสตร์ และฟังวิทยุเพื่อการเกษตร AM 1386 ได้ทุกวัน

อ.กร สุขเกษม นักวิจัยพัฒนาเกษตรอินทรีย์


--จบ--

ที่มา: หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย




.