-
MySite.com :: ทบทวนกระทู้ - ทายาทเกษตรกร
ผู้ส่ง ข้อความ
ott_club
ตอบตอบ: 09/09/2009 12:55 pm    ชื่อกระทู้:

ott_club
ตอบตอบ: 09/09/2009 12:23 pm    ชื่อกระทู้:

ปาล์มน้ำมันจะตอบสนองผลผลิตในปีถัดไปนั้น ใช่ครับเพราะปาล์มตั้งแต่เกิดเซลล์ตาดอกเล็กๆและพัฒนาเป็น
ทะลายปาล์มจนถึงการเก็บเกี่ยวจะใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 3 ปีครึ่ง เพราะฉนั้นผลผลิตปีต่อไปอีกประมาณ 2ปี
จึงจะรู้ผล รอดูนะเจ๊

ผลผลิต ณ.ปัจจุบันคือปัจจุบัน เมื่อผลผลิตออกมาแล้วเราบำรุงดี ผลผลิตที่เป็นอยู่จึงดี จึงแน่ใจว่าเรามาถูก
ทางแล้ว

เรื่องรูปนั้นถ้าคนเรามันจะโม้ จะถ่ายยังงัยก็ได้ เอาลูกใหญ่เทียบลูกเล็กแล้วถ่าย เอาทะลายสวยวางคู่ทะลาย
ไม่สวยแล้วถ่าย ทั้งหมดมันต้องเห็นกับตา มาดูกับตัว จริงๆไม่ได้โม้
Aorrayong
ตอบตอบ: 09/09/2009 10:05 am    ชื่อกระทู้:

nw5208061 บันทึก:

ปัจจุบันปาล์มน้ำมันตอบสนองต่อฮอร์โมนน้ำดำ, Ca.Br.,ระเบิดฯ ดีมากๆ ผลปาล์มใหญ่เต่งตึงเงาเป็นมันผลสุก
แดงสดใสดูได้ชัดเจน เมื่อเปรียบกับของคนข้างบ้าน

มันสะใจจริงโว้ยยยยย


ขนาดนั้นเลยเหรอออ...ไม่อยากจะเชื่อ ตามหลักการและเหตุผล ปาล์มจะตอบสนองในปีต่อไป แน่ใจเหรอว่า
ของตัวเองผลใหญ่เต่งตึงกว่าข้างบ้านจริงหรือเปล่า ถ้าเป็นไปได้ถ่ายรูปมาให้ดูหน่อยนะ
ott_club
ตอบตอบ: 09/09/2009 9:49 am    ชื่อกระทู้:

"บ้าไปแล้ว" คำพูดที่ได้ยินเข้าหูบ่อยๆ ผมอยู่บ้านไม่มีปํญหาต้องรบกับใครเพราะทุกสิ่งทุกอย่างผมเป็นคนทำ
ทั้งหมด แต่คำพูดที่ได้รับข้างต้นคือคนข้างบ้านที่เขาเห็นในสิ่งที่เรากำลังทำ เราทำไม่เหมือนชาวบ้านงัย ผม
พ่นสารอาหารให้ต้นปาล์มน้ำมัน "เดี๋ยวเถอะมึงใบเหลือง" ผมก็ได้แต่หัวเราะ

ปัจจุบันปาล์มน้ำมันตอบสนองต่อฮอร์โมนน้ำดำ, Ca.Br.,ระเบิดฯ ดีมากๆ ผลปาล์มใหญ่เต่งตึงเงาเป็นมันผลสุก
แดงสดใสดูได้ชัดเจน เมื่อเปรียบกับของคนข้างบ้าน

มันสะใจจริงโว้ยยยยย
Aorrayong
ตอบตอบ: 09/09/2009 8:17 am    ชื่อกระทู้: Re: ทายาทเกษตร

Aorrayong บันทึก:

"
เรียนให้เก่ง ๆ ขยัน ๆ จะได้เป็นเจ้าคนนายคน
"

คำบอก กล่าวของพ่อแม่ญาติพี่น้องยังคงก้องในความรู้สึก นี่อาจจะเป็นสาเหตุสำคัญในการสร้างภาพพจน์ว่า
อาชีพเกษตรกรดูจะเป็นอาชีพที่น่ารังเกียจเสียเหลือเกิน


ชาวบ้านในชนบท โดยเฉพาะเกษตรกร มีแนวคิดที่จะให้ลูกหลานได้เรียนสูงๆ ไม่อยากให้ลูกหลานมาเป็น
เกษตรกร เพราะกลัวว่าจะลำบาก ทำให้ค่านิยมและทัศนคติของคนรุ่นใหม่ต่ออาชีพเกษตรกรจึงเป็นไปในด้าน
ลบ แต่ถ้าจะมาวิเคราะห์กันจริงๆแล้ว สาเหตุที่พ่อแม่คิดว่าการทำการเกษตรลำบาก ไม่ประสบความสำเร็จ มีแต่
หนี้สิน เป็นเพราะแนวทางการปฏิบัติในการทำเกษตรที่ผิดพลาดของพ่อแม่นั่นเอง

ในเมื่อเราคนรุ่นใหม่ ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นทายาทเกษตรเต็มตัว จะลุกขึ้นมาปฏิวัติแนวทางปฏิบัติของพ่อแม่ที่ท่าน
ทำกันมา เราจะทำอย่างไรกันดี เพื่อให้บัวไม่ใช้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น

Aorrayong บันทึก:


……
การเป็นเกษตรกร ในโลกความเป็นจริงไม่ง่าย ! อุปสรรคที่ต้องก้าวข้ามให้พ้น

เริ่มตั้งแต่การต่อสู้กับครอบครัวจนกว่าจะทำให้พวกเขายอมรับ
และกว่าจะทำให้พวกเขาเห็นด้วยกับการทำ
เกษตรที่ปฏิเสธสารเคมี

และการทำอย่างไรให้ตนเองมีอยู่มีกิน มีรายได้ไปซื้อสิ่งของจำ
เป็นที่ไม่สามารถผลิตได้ เป็นโจทย์ที่ต้องแก้ให้สมดุลกับวิถีชีวิตของแต่ละคน !

การทำความเข้าใจกับครอบครัวมีกลยุทธ์หลายกระบวนท่าขึ้นกับปัจจัยแวดล้อม ของแต่ละคน


จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง แม่ซึ่งไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงอะไรง่ายๆ
" ู..ทำมาเป็นสิบๆปี ...ึงเป็นใคร "

" ใครมาพูดอะไร ...ึงก็เชื่อ ทำไมไม่เชื่อ...ู "

ฯลฯ

เป้าหมายหลักคือปฏิวัติแนวทาง ด้วยวิธีการที่บัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น โดยใช้ทฤษฎีพบกันครึ่งทาง เมื่อท่าน
เป็นผู้ทำลาย เราจะเป็นคนสร้างสรรค์ ให้กลับมาเหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิม
การเผชิญหน้าไม่เกิดประโยชน์ใดๆ มีแต่จะทำให้สถานการณ์รุนแรงขึ้น การนิ่งเฉย ทำให้มากกว่าพูด พิสูจน์ให้
ท่านเห็น ไม่ว่าจะต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ แต่ถ้าเราผ่านปัญหาเหล่านี้ไปได้ อุปสรรคอื่นๆ จะกลายเป็นเรื่องเล็กน้อย

เป็นกำลังใจ ให้กับผู้ที่ประสบปัญหาโลกแตกนี้ จนกว่า...จะก้าวข้าม...ให้พ้น

แล้วเพื่อนสมาชิกและลุงคิมละคะ เคยประสบปัญหานี้หรือเปล่า เล่าสู่กันฟังค่ะ
Aorrayong
ตอบตอบ: 09/09/2009 7:56 am    ชื่อกระทู้: ทายาทเกษตรกร

ที่มา http://www.prachatai.com/column-archives/node/386


จำรัส เสือดี

ฤา….อาชีพเกษตรกรจะสิ้นแล้ว

เมื่อ เดือนก่อน ผู้เขียนเข้าไปประชุมในหมู่บ้าน เห็นผู้นำชุมชนหลายคนบ่นว่า วิทยาลัยเกษตรในบ้านเราดูจะร้าง
ไปทุกที นักเรียนสายเกษตรแทบจะไม่มี ข้อมูลนี้สอดคล้องกับคำตอบของพี่น้องเกษตรกร ที่อยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ
ที่ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าไปพูดคุย ซึ่งพบว่าลูกหลานเกษตรกรที่จะสืบทอดอาชีพเกษตรกรต่อแทบจะไม่มี นับ
เป็นความมืดมนกับอนาคตทายาทเกษตรกรเสียจริง ๆ

คุณวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ จากเครือข่ายสิทธิภูมิปัญญาไทย ได้ให้ข้อมูลที่สอดคล้องกันว่า " เมื่อก่อนเรามี
วิทยาลัยเกษตรกรรมกระจายอยู่ทั่วประเทศ เป็นความหวังว่าวิทยาลัยนี้จะเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลง ให้
ความรู้ และปรับปรุงให้ชีวิตเกษตรกรเป็นวิถีที่ยั่งยืน เป็นวิถีที่น่าภาคภูมิใจ แต่เท่าที่ทราบมานั้น วิทยาลัย
เกษตรกรรมไม่ได้สอนเรื่องการเกษตร เพราะไม่มีใครไปเรียน หลายที่ต้องจ้างให้เรียน เดี๋ยวนี้วิทยาลัยเกษตร
เป็นวิทยาลัยที่สอนคอมพิวเตอร์ สอนอะไรหลายเรื่อง "

"
เรียนให้เก่ง ๆ ขยัน ๆ จะได้เป็นเจ้าคนนายคน
"

คำบอก กล่าวของพ่อแม่ญาติพี่น้องยังคงก้องในความรู้สึก นี่อาจจะเป็นสาเหตุสำคัญในการสร้างภาพพจน์ว่า
อาชีพเกษตรกรดูจะเป็นอาชีพที่น่ารังเกียจเสียเหลือเกิน

ยิ่งถ้อยคำที่ตอกย้ำความรู้สึกที่ว่า " รายได้ก็ต่ำ ใช้แรงงานก็เยอะ ต้องตากแดดตัวดำ ไม่เหมือนกับคนทำงาน
ในสำนักงาน ที่ไม่ต้องทำอะไรมาก แค่ถือเอกสารเดินไปเดินมา ก็ได้เงินแล้ว" นี่คงเป็นภาพพจน์ที่ติดตรึงอยู่ใน
ความรู้สึกของคนรุ่นใหม่ทั่วไป

ท่ามกลางกระแสการหนีจากการเป็นทายาทเกษตรกร คุณวิลิต เตชะไพบูลย์ ( เห็นนามสกุลทุกคนก็รู้ว่าเป็น
ตระกูลที่มีชื่อเสียงด้านการทำธุรกิจในเมือง ไทยมานาน) สร้างความงุนงงให้กับสังคม ด้วยการออกมาเป็นชาว
นา หนีจากตัวเลขในห้องแอร์ เข้าสู่ท้องนา ในห้องธรรมชาติ

" เป็นสิ่งที่สนใจว่าเป็นงานจริง ๆ เพราะได้เห็นคุณค่าจากการที่ได้ลงมือทำ ได้ลงแรง ได้ไปไถนา ได้ฟันจอบ
สำหรับผมในวันนี้อย่างน้อยที่สุด ผมปลูกข้าว ผมมีข้าวกิน และยังมีปลาในนาข้าวอีก" คุณวิลิตบอกเหตุผล

ปรากฎการณ์ดังกล่าวเสมือนเป็นน้ำหล่อเลี้ยง " คนรุ่นใหม่" ที่แอบซุ่มทำการเกษตรอยู่ ให้รู้สึกว่า " เฮ้ย เราไม่
ได้บ้าคนเดียวนี่หว่า " นอกจากนี้ ผู้เขียนยังเชื่อว่ามี " คนรุ่นใหม่" อีกหลายคนที่กำลังพยายามกรุยทางในการ
เป็น " เกษตรกร"

ยิ่งแน่ใจมากขึ้น เมื่อมีโอกาสได้ร่วมงาน ชุมชนชาวสวน ครั้งที่ 9 ที่ ไร่กอนสะเดิน อำเภอบ้านไร่ จังหวัด
อุทัยธานี เมื่อวันที่ 26 - 29 มีนาคม 2548 งานนี้จัดขึ้นทุกปีเวียนไปตามสวนต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิก ด้วยความ
มุ่งหมายในการจัดงาน คือ ให้ผู้ที่ออกไปทำงานและใช้ชีวิตชนบทได้แลกเปลี่ยนแนวคิด ประสบการณ์ สร้าง
ความสัมพันธ์กัน รวมถึงการทบทวนทิศทางและแนวคิดการทำงานและใช้ชีวิตในชนบท ที่มาของการจัดงานมา
จากการที่ปัจจุบัน ช่องว่างทางเศรษฐกิจระหว่างคนจนกับคนรวยกว้างมาก คนไว้วางใจกันน้อยลง แก่งแย่ง
กันมากขึ้น ธรรมชาติถูกทำลาย คนจำนวนมากไม่มีความสุขในชีวิต จากปรากฏการณ์ดังกล่าว ทำให้หลายคน
ตั้งคำถามกับการใช้ชีวิตปัจจุบัน และเริ่มมองหาทางเลือกใหม่ในการดำเนินชีวิต โดยหวังชีวิตที่เป็นสุขและ
สังคมสงบสุขเป็นปลายทาง

ผู้ร่วมงานส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ผ่านรั้วมหาวิทยาลัยมาทั้งสิ้น ตั้งแต่วัยกระเตาะ 25 ปี จนถึง 40 ปี นับไปนับมาร่วม
40 ชีวิต อยู่ในที่ต่าง ๆ กันตั้งแต่เหนือ จด ใต้ จากการพูดคุยพบว่า ……
การเป็นเกษตรกร ในโลกความเป็นจริงไม่ง่าย ! อุปสรรคที่ต้องก้าวข้ามให้พ้น

เริ่มตั้งแต่การต่อสู้กับครอบครัวจนกว่าจะทำให้พวกเขายอมรับ
และกว่าจะทำให้พวกเขาเห็นด้วยกับการทำเกษตรที่ปฏิเสธสารเคมี

และการทำอย่างไรให้ตนเองมีอยู่มีกิน มีรายได้ไปซื้อสิ่งของจำเป็นที่ไม่สามารถผลิตได้ เป็นโจทย์ที่ต้องแก้ให้
สมดุลกับวิถีชีวิตของแต่ละคน !

การทำความเข้าใจกับครอบครัวมีกลยุทธ์หลายกระบวนท่าขึ้นกับปัจจัยแวดล้อม ของผู้เข้าร่วมแต่ละคน แต่การ
ทำให้ตนเองและครอบครัวมีอยู่มีกิน ใช้หลักการเดียวกัน คือ การ ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
เน้นการพึ่งตนเอง ผ่านการทำของกินของ ใช้เอง ปฏิเสธการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายทั้งสิ้น การเลือกใช้
เทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อนและใช้พลังงานน้อยมาก เช่น ใช้น้ำด่างซักผ้าแทนผงซักฟอก ใช้มะขามเปียก ชำระ
ร่างกายแทนสบู่ การหุงข้าว ด้วยเตาถ่าน การปลูกผัก ผลไม้กินเองในครอบครัว การปลูกข้าว และสีเป็นกล้อง
ด้วยเครื่องสีข้าวที่ทำเองจากดินและไม้ไผ่ การปลูกและทำสมุนไพรไว้ใช้ในครัวเรือน การเลือกใช้แผงโซลาร์
เซลในการผลิตพลังงานไฟฟ้า

นอกจากนี้ ผลผลิตทางการเกษตรยังไม่นิยมส่งขายกับพ่อค้าคนกลาง แต่จะผ่าน " การแปรรูป " ก่อน อาทิ
หนุ่มวิศวกรแห่งแผ่นดินอีสาน ได้นำข้าวที่ปลูกด้วยความเอาใจใส่ของตนเอง ไม่ใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้น แปร
เป็นข้าวกล้องนำไปจำหน่ายให้กับผู้บริโภคโดยตรงที่โรงพยาบาล หรือพี่อ้วน ที่แปรรูปไม้ในสวน มาเป็นถ่าน
และน้ำส้มจากควันไม้ ( สารไล่แมลง) ขณะที่เจ้าภาพการจัดงาน คุณราเมศ เลขยัน ปลูกมะขามเปรี้ยว แปรรูป
เป็นมะขามดองและมะขามแช่อิ่มขาย ช่วยเพิ่มมูลค่าได้อีกโข

" การแปรรูป" จึงน่าจะเป็นทางออกที่น่าสนใจและดูจะเหมาะสมกับเกษตรกรรายย่อย เพราะนอกจากเป็น
ทางออกในการเก็บผลผลิตไว้กิน - ใช้ ในครัวเรือนได้ยาวนานแล้ว ยังสามารถพัฒนาไปสู่การเพิ่มมูลค่าผล
ผลิต ไม่ต้องถูกพ่อค้ากดราคาเพราะจะต้องรีบขายผลผลิตนำมาซึ่งรายได้ เพื่อไปซื้อสิ่งของจำเป็นที่ไม่
สามารถผลิตได้ต่อไป

การพัฒนาใจและกายในการใช้ชีวิตที่แปลกแยกกับกระแสสังคมโดยรวม " เครือข่าย" จึง มีความสำคัญและ
เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ชุมชนชาวสวนใช้ โดยผ่านกิจกรรมการพบเจอกันปีละครั้งเป็นอย่างน้อย การเจอกันได้ทั้ง
กำลังใจ การพูดคุยถามสารทุกข์สุขดิบ การพัฒนาการทำสวน เทคนิคต่าง ๆ วิถีที่แต่ละคนใช้สร้างให้มีกิน - มี
อยู่ การแลกเปลี่ยนพันธุ์พืช เหล่านี้เป็นตัวอย่างกิจกรรมในการเชื่อมโยงกันและกันของคนที่สนใจในเรื่อง เดียวกัน

ประเด็นสำคัญที่พบเห็น รู้สึก " ทึ่ง" คือ ความพยายามที่ค่อย ๆ สะสมความรู้จากการลงมือทำจริง ๆ การลงไป
ใช้ชีวิตจริง ๆ แล้วค่อย ๆ พัฒนาขึ้นจาก " ความเป็นจริง" ในแต่ละบริบทของพื้นที่ แม้ ว่าจะมีความหลาก
หลายในเงื่อนไขปัจจัยที่แตกต่างของแต่ละคน แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนต้องการคือ " การเป็นส่วนหนึ่งของ
ธรรมชาติ การได้ใกล้ชิดกับต้นไม้ใบหญ้า"

ความมั่นคงในการต่อสู้กับ …. อุปสรรคภายในจิตใจตนเอง …… การยืนหยัดจุดยืนที่สวนทางกับกระแสสังคม …
และการสร้างความพร้อมในด้านปัจจัยหลักของการดำรงชีวิต อาจ เป็นอีกความท้าทายหนึ่ง
สำหรับคนรุ่นใหม่ที่สนใจในการเป็นทายาทเกษตรกร ประสบการณ์ชีวิตของพวกเขาอาจเป็นแสงแห่งความหวัง
ให้กับลูกหลานเกษตรกรหรือคน ที่ไม่ใช่เกษตรกร ที่กำลังตัดสินใจว่าจะไปเป็นเกษตรกรดีหรือไม่


















แต่ไม่ว่าคุณจะตัดสินใจอย่างไร มีคนอีกกลุ่มหนึ่งในสังคมยังคงร้องเพลง " เหลือเพียงแสงธูปดอกสุดท้าย
ส่องทางเดินไปไม่ไหวหวั่น…. "

..............

เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๑ เม.ย. ๒๕๔๘