-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 572 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

อาชีพเสริม3





ชาวปากท่าเมืองลับแลจับ"จักจั่น" นับล้านหนีแล้ง 
ออกจากป่าสงวนขายเป็นอาชีพเสริมมีรายได้กว่า 10,000 บาท


ชาวบ้านจากหมู่บ้านห้วยก้านเหลือง หมู่ 5 ต.ฟากท่า อ.ฟากท่า จ.อุตรดิตถ์ จำนวนมากแห่นำไม้ไผ่ที่มีความยาวประมาณ 1-2 เมตร ทาด้วยกาวแป้งเปียกหรือกาวแป้งมันตามภาษาที่ชาวบ้านเรียกขานกัน นำไปปักที่โขนหินตามลำธารน้ำห้วยก้านเหลืองและลำน้ำทอด ซึ่งอยู่ห่างจากน้ำตกตาดน้อย น้ำตกตาดใหญ่ เขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติลำน้ำปาดฝั่งขวา ประมาณ 1-5 กิโลเมตร  เพื่อดักจับจักจั่นนับล้านตัวหนีแล้งออกจากรังลงมากินน้ำตามลำธารที่มีความยาวกว่า 2 กิโลเมตร นำมาประกอบเป็นอาหารและส่งขายให้กับพ่อค้าในตลาดสดเป็นอาชีพเสริมเลี้ยงดูครอบครัว


นางมุกดา  สุทะ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 5 บ้านห้วยก้านเหลือง กล่าวว่า ตั้งแต่เกิดมาก็พบเห็นมีจักจั่นอยู่ในพื้นที่หมู่บ้านแล้ว โดยเฉพาะทุกปีในช่วงต้นเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นฤดูแล้งและมีอากาศร้อนจักจั่นจำนวนนับล้านตัวจะบินออกจากพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติลงมากินน้ำตามลำธารห้วยก้านเหลืองและลำน้ำทอด พื้นที่ป่าแห่งนี้อุดมไปด้วยต้นไม้นานาชนิด ทั้งต้นไม้เบญจพรรณ ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้มะค่าโมง ไม้ตะเคียน ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้ชิงชัน ล้วนแล้วแต่เป็นต้นไม้ที่มีคุณค่าและหายากจะมีอยู่ในเฉพาะพื้นที่แห่งนี้ รวมถึงพันธุ์ไม้ที่หายากประเภทกล้วยไม้ป่า กล้วยไม้ป่าบาน หวายแดง  ช้างกระ เอื้องจำปา เอื้องกุหลาบขาว  เอื้องสารภี  เอื้องสามปอย  เอื้องคำปอยและเอื้องสายน้ำผึ้ง สัตว์ป่าที่คงเหลืออยู่และพบเห็นบ่อย เก้ง เต่า ตะกรวด หมูป่า ไก่ป่า กระรอก กระแต ลิง ค่าง ชะนีและเม่น  

"ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของป่าแห่งนี้ จักจั่นจึงยึดเอาพื้นที่ป่าแห่งนี้เป็นแหล่งเพาะและแพร่ขยายพันธุ์ให้กับพวกมันเป็นจำนวนมาก และมากจนที่จะถูกชาวบ้านจับมาปรุงประกอบเป็นอาหารหลากหลายชนิดได้ อาทิ แกงขนุนใส่จักจั่น แกงคั่วใส่ผักเสี้ยว จักจั่นชุบแปงทอดและน้ำพริกจักจั่น กินในแต่ละมื้อของทุกวัน บ้างก็นำมาทอดเพื่อทำเป็นกับแกล้มเหล้า ก่อนนำมาปรุงอาหารต้องเด็ดปีกทิ้งทุกครั้งไป


ทั้งนี้ มีชาวบ้านกว่า 50 ราย ยึดอาชีพเสริมด้วยการจับจักจั่นขายให้กับพ่อค้าแม่ค้าในตลาดสดเทศบาลตำบลฟากท่าและพ่อค้าแมลงทอดที่เร่หาซื้อถึงบ้าน เพื่อนำไปเป็นของทอดขายคลุกกับซอสให้กับคนทั่วไปกินกัน สนนในราคากิโลกรัมละ 35 บาท หรือ 3 กิโล 100 บาท ทำให้ชาวบ้านมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 10,000 ต่อเดือนในช่วงระยะนี้ แต่หากฝนตกลงมาก็จะไม่มีจักจั่นลงมากินน้ำอีก เพราะมันจะอาศัยน้ำที่เกาะตามใบไม้กินแทน


นางไทย  ศรีจันทร์น้อย อายุ 60 ปี ชาวบ้านห้วยก้านเหลือง  กล่าวว่า  พบเห็นจักจั่นมีเป็นจำนวนมากนับล้านส่งเสียงดังลั่นป่าและแห่ลงมากินน้ำในช่วงนี้ของทุกปี วิถีชีวิตชาวบ้านดั่งเดิมเคยจับจักจั่นมาทำเป็นอาหารเพื่อประทังชีวิต ตนพร้อมด้วยชาวบ้านด้วยกันเห็นว่า หลังจากที่จับมาปรุงเป็นอาหารกินในแต่ละมื้อแล้วทำให้รู้สึกเบื่อเพราะมันมีเยอะมาก กินเท่าไหร่ก็ไม่หมด น่าจะเอาไปขายที่ตลาดเพื่อนำเงินมาเป็นทุนเลี้ยงครอบครัวบ้าง จึงพร้อมใจกันนำไปขาย พ่อค้าแม่ค้ากลับรับซื้อหมด ได้เงินครั้งแรกไม่กี่พันบาทและถามว่ามีอีกไหม จึงรวมตัวกันจับชั่งกิโลขายเพื่อเป็นอาชีพเสริมทำให้มีรายได้เพิ่มถึงกว่า 10,000 บาท


"วิธีการจับก็เพียงนำกิ่งไม้ไผ่ที่มีขนาดความยาวประมาณ 1-2 เมตร ทาด้วยกาวแป้งเปียกหรือกาวแป้งมัน ให้ทั่วโดยรอบบริเวณไม้ไผ่ จากนั้นก็นำไม้ไปปักที่บริเวณโขนหินแถวลำธารน้ำที่มีจักจั่นบินลงมากินน้ำ ก่อนหรือหลังที่จักจั่นบินกินน้ำ เมื่อมาเกาะไม้ที่ทาด้วยกาว ทำให้จักจั่นติดและดิ้นหนีไปไหนไม่ได้ เมื่อได้เต็มหรือเกือบเต็มไม้แล้ว ก็ใช้มือรุดเอาจักจั่นออกเก็บใส่ถังแล้วนำไปเทใส่ถุงปุ๋ย เตรียมชั่งกิโลขายต่อไป"


นายธาตรี  บุญมาก นายอำเภอฟากท่า กล่าวว่า เท่าที่ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวงจรชีวิตจักจั่นแล้วพอจะทราบว่า พื้นที่บริเวณที่พบจักจั่นจำนวนมากนั้น เป็นพื้นที่ป่าสงวนที่อุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งถิ่นเกิดจักจั่นมาตั้งแต่ช่วงระยะแรกเกือบ 100 ปี เมื่อถึงช่วงเดือนมี.ค.-เม.ย.ซึ่งเป็นช่วงที่มันโผล่ออกจากดินขึ้นมาและเตรียมผสมพันธุ์ในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน โดยตัวผู้จะขยับปีกให้มีเสียงร้องและเป็นจุดสนใจเรียกตัวเมีย เมื่อตัวเมียวางไข่แล้วก็จะตาย หลังจากไข่ฟักตัวอ่อน ต่อมาตัวอ่อนตกลงสู่พื้นดิน จากนั้นตัวอ่อนขุดลงสู่ใต้ดิน โดยอาศัยกินรากไม้เป็นอาหาร หลังจากครบ 17 ปี ตัวอ่อนก็จะโผล่ขึ้นมาจากหลุม ปีนขึ้นสู่ต้นไม้ ลอกคราบเปลี่ยนเป็นจักจั่นที่โตเต็มที่เจริญวัยเจริญพันธุ์พร้อมหาคู่ ตัวเมียจะออกไข่ครั้งละมากกว่า 600 ฟอง ก็ลองคิดเอาว่าถ้ามีนับล้านตัว จะมีไข่กี่ฟองและชีวิตมันที่จะเติบโตอีกเท่าไหร่


จักจั่นถือเป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์ประเภทกินแมลงรวมถึงนกด้วย ธรรมชาติแล้วจักจั่นมีมากเกินไปก็ไม่ดี มีน้อยไปก็เสียความสมดุลธรรมชาติดังนั้นจึงต้องหามาตรการในการดูแลพื้นที่ดังกล่าว การที่ชาวบ้านจับมาเป็นอาหารก็ถือเป็นการลดปริมาณสัตว์ประเภทนี้ลงไป แต่ก็ใช่ว่าจะต้องทำลายให้มันสูญพันธุ์ เมื่อทราบข่าวก็ได้เรียกผู้ใหญ่บ้านมาพูดคุยปรึกษาและหาแนวทางในการอยู่ร่วมกันระหว่างจักจั่นกับคน โดยให้หามาตรการแบ่งโซนในการจับในปีต่อไป โดยให้ชาวบ้านภายในหมู่บ้านดูแลกันเองและห้ามคนนอกพื้นที่เข้ามาดำเนินการจับจักจั่นไปขาย หวั่นปริมาณจักจั่นลดลงหากบ้านใดพร้อมที่จะจัดทำโฮมสเตย์เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวก็จะเป็นการดี ทำให้มีรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1623 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©