-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 509 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สารเคมี20







การปรับปรุงมาตรฐานสารเคมีทางการเกษตรตกค้าง

กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น (MHLW) แจ้งการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างในอาหาร ดังนี้


1. กำหนดมาตรฐานสารเคมีตกค้างรายการใหม่ 5 ชนิด
2. ปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารแคดเมียมตกค้างในข้าวให้เข้มงวดขึ้นเป็น 0.4 ppm. จากเดิม 1.0 ppm.
3. แจ้งวิธีการยื่นคำร้องเพื่อกำหนด Import Tolerance (MRLs) ของสารเคมีตกค้างรายการที่อนุญาตให้ใช้ในต่างประเทศ โดยใช้มาตรฐานเดียวกับการกำหนดค่า  MRLs   ภายในประเทศญี่ปุ่น




กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น (MHLW) ได้จัดประชุม The 136th Conference for Promotion of Food Import Facilitation ณ ห้องประชุมเฉพาะที่ 16 ชั้น 13 กระทรวงสาธารณสุขฯ ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2552 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

       
1. กําหนดมาตรฐานสารเคมีทางการเกษตรตกค้างใหม่ 5 ชนิด ดังนี้

1.1 Oxadiazon (สารกําจัดวัชพืช) ซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้ในประเทศญี่ปุ่น โดยที่กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น ได้จัดทําร่าง MRL ใหม่สําหรับสินค้าประมง และปรับปรุงค่ามาตรฐานของสาร Oxadiazon ส่งผลให้มีความเข้มงวดขึ้นต่อข้าว (Brown Rice) รายละเอียดตาม Attachment 1-1       
1.2  Dimethenamid (สารกําจัดวัชพืช) เป็นสารเคมีที่ประกอบด้วย Optical isomer 2 ชนิด ที่มีสูตรโมเลกุลเหมือนกันแต่มีสูตรโครงสร้างต่างกัน ซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้ในประเทศญี่ปุ่นแล้ว ในรูปของ racemic เมื่อกระทรวงเกษตรฯ ญี่ปุ่น ได้อนุญาตให้ใช้สารดังกล่าวในรูป non-racemic โดยอัตราส่วนผสมที่กระทรวงเกษตรฯปรับปรุงใหม่เป็นไปตาม Agricultural Chemicals Regulation Law นั้น MHLW จึงจัดทําร่าง MRL และปรับปรุงค่ามาตรฐานของสาร Dimethenamid สําหรับสินค้าธัญพืช พืชผัก ผลไม้ และสินค้าปศุสัตว์ ซึ่งส่งผลให้มีความเข้มงวด    มากขึ้นต่อ ข้าวโพด ถั่วเหลือง มันสำปะหลัง หอมหัวใหญ่และกระเทียม รายละเอียดตาม Attachment 1-2           

1.3  Tebufenozide (สารกําจัดแมลง) ซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้ในประเทศญี่ปุ่น   โดยที่กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น ได้จัดทําร่าง MRL ใหม่สําหรับสินค้าประมง และปรับปรุงค่ามาตรฐานของสาร Tebufenozide โดยมีความเข้มงวดขึ้นต่อสินค้าธัญพืช ผลไม้และสินค้าปศุสัตว์ ได้แก่ ถั่วเหลือง เผือก มันฝรั่ง มัน (Yam) หัวบีท และสินค้าของไทย ได้แก่ ข้าว (Brown Rice) มะม่วง สินค้าปศุสัตว์และสินค้าประมง รายละเอียดตาม Attachment  1-3

1.4  Pyributicarb (สารกําจัดวัชพืช) ซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้ในประเทศญี่ปุ่น   โดยที่กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น ได้จัดทําร่าง MRL ใหม่สําหรับสินค้าประมง และปรับปรุงค่ามาตรฐานของสาร Pyributicarb โดยมีความเข้มงวดขึ้นต่อข้าว (Brown Rice) และสินค้าประมงรายละเอียดตาม Attachment 1-4

1.5  Metaldehyde (สารกําจัดหอยทาก) ซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้ในประเทศญี่ปุ่น  โดยที่กระทรวงเกษตรฯ ญี่ปุ่น ได้จัดทําร่าง MRL ใหม่สําหรับสินค้าพืชผัก ผลไม้และสินค้าประมง ซึ่งส่งผลให้มีความเข้มงวดขึ้นต่อสินค้าประมง รายละเอียดตาม Attachment 1-5

       
2. MHLW แจ้งข้อกําหนดเกี่ยวกับวิธีการดําเนินการส่งผลวิเคราะห์สารเคมีตกค้างที่ใช้ยื่นคําร้องเพื่อกําหนด Import tolerance (MRLs) ของสารเคมีตกค้างทางการเกษตรในพืชที่อนุญาตให้ใช้ต่างประเทศ ทั้งนี้ MHLW จะใช้มาตรฐานเดียวกับการขออนุญาตที่ปฏิบัติในญี่ปุ่น โดยรายละเอียดปรากฎบนเว๊บไซต์ต่อไปนี้ http://www.mhlw.go.jp/english/topics/foodsafety/residue/dl/01.pdf

       
3. แจ้งการแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้าง Cadmium จากมาตรฐานเดิมไม่เกิน 1.0 ppm. ในข้าวซ้อมมือ (Brown Rice) เป็นมาตรฐานใหม่ ไม่เกิน 0.4 ppm.ในข้าว (Brown Rice) และข้าวที่ผ่านการสีแล้ว (Polished rice) และยกเลิกการตรวจสอบโดยวิธี Dithizone-chloroform จากรายการวิธีวิเคราะห์สารเคมีตกค้าง Cadmium ในข้าว

       
4. กรณีที่ตารางมิได้ระบุค่า Draft MRL ให้ใช้ระดับ Uniform Limited 0.01 ppm.

ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถส่งข้อคิดเห็นต่อเสนอร่างการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐาน และร่างค่า MRL ที่กำหนดใหม่ ถึง MHLW โดยตรงจนถึงวันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน 2552 หากพ้นกำหนดดังกล่าว สามารถส่งข้อคิดเห็นตามระบบ WTO/SPS Notification ต่อไป

www.thaiceotokyo.jp/th/index.php?option=com...









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1361 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©