-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 505 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ลิ้นจี่




หน้า: 6/7


 

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกดอกของลิ้นจี่







 1. อายุของต้น  

  ต้นลิ้นจี่ที่ปลูกด้วยเมล็ดจะเริ่มออกดอกโดยใช้เวลา 6-25 ปีนับจากปลูก (Menzel, 1983) ส่วนกิ่งตอนใช้เวลาเพียง 1-2 ปีก็สามารถออกดอกได้ ทั้งนี้เนื่องจาก       กิ่งตอนได้ผ่านระยะเยาว์วัยมาแล้ว


 2. พันธุ์ 

  ลิ้นจี่แต่ละพันธุ์มีความยากง่ายในการออกดอกแตกต่างกัน เช่น ลิ้นจี่พันธุ์ ฮงฮวยออกดอกได้ง่ายกว่าพันธุ์โอวเฮียะและกิมเจง  


 3. การเจริญทางกิ่งใบ

   ต้นลิ้นจี่ที่ผลิใบใกล้ช่วงเวลาของการออกดอกจะทำให้โอกาสของการออกดอกลดน้อยลง จากการสังเกตต้นลิ้นจี่ที่ผลิใบอ่อนเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม พบว่าจะออกดอกน้อยลงหรือแทบไม่มีเลย  Menzel and Paxton (1987)  เชื่อว่าลิ้นจี่ต้องการพักตัว (หยุดการเจริญเติบโตทางกิ่งใบ) อย่างน้อย 4-6 สัปดาห์ จึงจะสามารถออกดอกได้การหยุดการแตกใบถูกควบคุมโดยอุณหภูมิต่ำ สภาพการขาดน้ำหรือการปฏิบัติบางประการ เช่น การงดการให้น้ำ และการควั่นกิ่ง เป็นต้น


 4. อุณหภูมิ

  ช่วงอากาศหนาวเย็นประมาณ 1-2 เดือนก่อนการออกดอกเป็นสิ่งจำเป็นต่อการชักนำการออกดอกของลิ้นจี่โดยจะสังเกตได้จากในปีที่มีอากาศหนาวเย็นมากและยาวนาน โดยไม่มีช่วงอากาศอบอุ่นเข้ามาแทรกลิ้นจี่จะออกดอกได้มาก มีการศึกษาเกี่ยวกับอุณหภูมิ     ต่อการออกดอกของลิ้นจี่  พบว่าระดับของอุณหภูมิและความยาวนานของอุณหภูมิต่ำที่ต้นลิ้นจี่ได้รับมีผลอย่างมากต่อการออกดอก ระดับอุณหภูมิที่ชักนำการออกดอกควรต่ำกว่า 20 องศา-เซลเซียส เป็นเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ต้นลิ้นจี่จะออกดอกได้ดีที่สุดเมื่อได้รับอุณหภูมิ        กลางวัน/กลางคืน เท่ากับ 15/10 องศาเซลเซียส (ตารางที่ 2.4) ชิติ (2539) ศึกษาถึงอุณหภูมิรากต่อการออกดอกของลิ้นจี่พันธุ์จักรพรรดิ์ 3 ระดับ คืออุณหภูมิปกติ (ประมาณ 26 องศาเซลเซียส ) 20องศาเซลเซียส และ 15 องศาเซลเซียส พบว่าต้นลิ้นจี่ที่ได้รับอุณหภูมิรากต่ำ                      (15  องศาเซลเซียส) จะออกดอกได้ดีกว่าสภาพอุณหภูมิรากปกติ  จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าต้นลิ้นจี่จะออกดอกได้ดีต้องได้รับอุณหภูมิของอากาศและอุณหภูมิของรากต่ำพอ  ถ้าอุณหภูมิของอากาศต่ำแต่อุณหภูมิรากสูงหรือในทางกลับกันถ้าอุณหภูมิของอากาศสูงแต่อุณหภูมิรากต่ำการออกดอกจะเกิดขึ้นน้อยหรือไม่ออกดอก (ตารางที่ 2.5) บทบาทของอุณหภูมิต่อการออกดอกยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับสมดุลของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการออกดอก






 5.ความชื้นในดิน

 นักวิจัยหลาย ๆ ท่านเชื่อว่าถ้าลิ้นจี่ขาดน้ำก่อนการออกดอกจะทำให้ลิ้นจี่พักตัวและออกดอกมากขึ้น Stern et al. (1993) รายงานจากประเทศอิสราเอลว่าการงดการให้น้ำในฤดูใบไม้ร่วงเป็นเวลาประมาณ 6 สัปดาห์ ระหว่างเดือนตุลาคมและเดือนพฤศจิกายน โดยงดการให้น้ำโดยสิ้นเชิงเป็นเวลา 35 วัน และให้น้ำอย่างจำกัดวันละ 1 มิลลิเมตร จนถึงกระทั่งฝนตก คือประมาณเดือนธันวาคม มีผลกระตุ้นให้ลิ้นจี่พันธุ์ มอริเซียส และ ฟลอริเดียน ออกดอกมากขึ้น โดยมีจำนวนช่อดอกต่อต้นประมาณ 2 เท่าของต้นที่ได้รับน้ำตามปกติและมีผลผลิต   มากขึ้น 2-3 เท่าอย่างไรก็ตาม Chaikiattiyos et al. (1994) รายงานว่าการขาดน้ำเพียงอย่างเดียวไม่สามารถชักนำให้ลิ้นจี่ออกดอกได้ Menzel and Simpson (1994) สรุปว่าอุณหภูมิเป็นปัจจัยหลักในการกระตุ้นการออกดอก การขาดน้ำในช่วงก่อนออกดอกช่วยส่งเสริมการออกดอกโดย    มีผลทำให้หยุดการเจริญเติบโตทางกิ่งใบ


6.ช่วงแสง 

  มีบทบาทต่อการออกดอกของพืชหลายชนิดแต่สำหรับลิ้นจี่นั้นพบว่าการ    ออกดอกไม่ตอบสนองต่อช่วงความยาวของวัน แต่มีผลต่อการบานของดอกโดยต้นลิ้นจี่ที่ได้รับช่วงแสงสั้นคือ 8 ชั่วโมง จะทำให้การบานของดอกตัวเมียนานเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับการได้รับแสง      16 ชั่วโมง (Nakata and Watanabe, 1966) จากการสังเกตพฤติกรรมการออกดอกของลิ้นจี่     ในภาคเหนือมักพบว่ามีการออกดอกทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออก ส่วนทางด้านทิศใต้และตะวันตกมักไม่ค่อยออกดอก ทั้งนี้อาจเป็นไปได้ว่า ในช่วงการชักนำการเกิดดอกซึ่งตรงกับ  ฤดูหนาว พระอาทิตย์จะตกทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ทำให้ได้รับแสงมากและอุณหภูมิสูงกว่าทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออก


7.ธาตุอาหาร  

 ต้นลิ้นจี่ที่ได้รับธาตุไนโตรเจนมากเกินไป การออกดอกน้อยลงเนื่องจากไนโตรเจนส่งเสริมการเจริญเติบโตทางกิ่งใบ ดังจะเห็นได้จากรายงานของ Menzel et al. (1988) ว่าต้นลิ้นจี่ที่มีปริมาณของธาตุไนโตรเจนในใบสูงกว่า 1.85 % มีผลทำให้ลิ้นจี่แตกใบมากและการแตกใบจะเกิดมากที่สุดภายหลังจากช่วงฝนตกหนัก เขาเสนอว่าก่อนการออกดอกระดับของไนโตรเจนในใบควรต่ำกว่า 1.85 %


8.ฮอร์โมนภายในต้น 

  มีการวิเคราะห์ปริมาณของไซโตไคนินในยอดลิ้นจี่ในช่วงก่อนการออกดอกและในขณะที่เกิดตาดอกในลิ้นจี่พันธุ์เฮน เยน (Hen Yen) พบว่าปริมาณไซโตไคนิน    จะเพิ่มขึ้นเมื่อตาใบมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นตาดอก ส่วนตาใบที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจะมีปริมาณไซโตไคนินคงที่และมีปริมาณต่ำ (Chen,1991) เช่นเดียวกับการศึกษาของ ดรุณี (2539) พบว่าปริมาณของสารไซโตไคนินในยอดลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวยเพิ่มขึ้นในช่วงก่อนการออกดอกและแตกใบอ่อนโดยมีปริมาณต่ำในสัปดาห์ที่ 9 ก่อนออกดอกและปริมาณเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่ 7 และคงที่ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 5 และจะเพิ่มขึ้นอีกในสัปดาห์ที่ 3 ก่อนออกดอก แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลการศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนภายในต้นคงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป









หน้าก่อน หน้าก่อน (5/7) - หน้าถัดไป (7/7) หน้าถัดไป


Content ©