-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 196 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ลิ้นจี่




หน้า: 4/7



 

ระยะปลูก 
ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินและพันธุ์ที่จะปลูก  โดยทั่วไปอยู่ที่   8-12 x 8-12 เมตร
หรือจะปลูกระบบชิดที่ระยะ 4x4, 5x5, 6x6 ก็ได้  เมื่อพุ่มชนกันก็ค่อยตัดต้นเว้นต้น
               

หลุมปลูก 
ถ้าดินดีใช้ชนาด 50x50x50 เซนติเมตร  ถ้าดินเลวใช้ขนาด 1x1x1เมตร  การขุดหลุมควรแยก
หน้าดินส่วนบนไว้ด้านหนึ่งและดินชั้นล่างไว้อีกด้านหนึ่ง  ดินชั้นบนผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักประมาณ
1 บุ้งกี๋ ใส่ร็อกฟอสเฟตหรือกระดูกป่นอีก 100 กรัม คลุกเคล้าให้เข้ากันดีแล้วใส่รองก้นหลุม  แล้ว
นำดินชั้นล่างทับลงไปให้เต็มหลุม  โดยให้สูงกว่าก้นหลุมประมาณ 1 ฝ่ามือ  แล้วขุดหลุมลึก
ประมาณ 1 หน้าจอบใส่ฟูราดานรองก้นหลุมป้องกันแมลงกัดกินราก  แกะภาชนะที่ต้นลิ้นจี่ออกแล้ว
วางต้นลิ้นจี่อยู่ในระดับปากถุง  เอาดินกลบให้เต็มดังเดิมพร้อมกับกดดินให้แน่น  ใช้ไม้หลักปัก ผูก
ด้วยเชือกฟางยึดให้แน่นป้องกันการต้นโยกเวลาลมพัด  รดน้ำให้ชุ่ม หาวัสดุ เช่น ฟางข้าวหรือเศษ
หญ้าแห้งหรือวัสดุอื่นคลุมดินเพื่อรักษาความชื้น  แล้วทำกระโจมคลุมต้นอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันแสง
แดด  จนกว่าต้นลิ้นจี่ตั้งตัวได้จึงค่อยเอาออก
    


2 การสร้างต้นและการตัดแต่งกิ่งลิ้นจี่
               
2.1 การสร้างและควบคุมต้นลิ้นจี่ปลูกใหม่ 
                               
- ตัดยอดต้นกล้าลิ้นจี่เมื่อมีความสูงประมาณ 100-120 เซนติเมตร
- รอจนแตกตาข้างยาวประมาณ 10 นิ้ว  ให้เลือกกิ่งที่เป็นมุมกว้างกับลำต้น  ไว้ 3-4 ยอดรอบๆ
ต้น  แล้วตัดปลายยอดออกให้เหลือความยาวกิ่งประมาณ 6 นิ้ว  ปล่อยให้แตกกิ่งแขนงโดยรอบ
ยาวประมาณ 10 นิ้ว  โดยเลือกกิ่งที่ทำมุมกว้างกับกิ่งหลัก 3-4 กิ่งแล้วตัดปลายยอดออกให้เหลือ
ประมาณ 6 นิ้วเช่นกันโดยถือปฏิบัติเช่นนี้จนต้นลิ้นจี่มีอายุ 3-4 ปี จึงปล่อยให้ต้นลิ้นจี่ออกดอกติดผล
- วิธีการนี้จะช่วยลดปัญหาเรื่องการใช้ไม้ค้ำยันให้กับต้นลิ้นจี่ได้เป็นอย่างดี               

2.2 การควบคุมทรงต้นและการตัดแต่งกิ่งลิ้นจี่ที่ให้ผลผลิตแล้ว
- ตัดกิ่งล่างที่เกือบขนานไปกับพื้นด้านล่าง  เพื่อป้องกันความเสียหายจากการฉีกหัก
- ตัดกิ่งด้านล่างสุดที่สัมผัสพื้น  เพื่อป้องกันการเป็นสื่อของโรคและแมลง
- ตัดกิ่งในทรงพุ่ม เช่น กิ่งหัก  กิ่งแห้ง  กิ่งที่ถูกโรคและแมลงเข้าทำลาย  กิ่งที่ตั้งตรงหรือชี้ลง
ล่าง  กิ่งที่ชี้เข้าในทรงพุ่ม  หรือกิ่งที่ปลายกิ่งไม่ได้รับแสงแดด  ถ้าเป็นกิ่งใหญ่ควรตัดประมาณ 
3 ครั้งเพื่อไม่ให้กิ่งฉีกหัก
   
- ตัดแต่งกิ่งเพื่อเปิดกลางทรงพุ่ม  เพื่อให้แสงแดดส่องลงถึงโคนต้น
               

2.3 ตัดยอดลิ้นจี่เพื่อควบคุมความสูง  สามารถปฏิบัติงานได้สะดวกและประหยัด
2.4 การตัดยอดหรือกิ่งลิ้นจี่ที่ประสานกับต้นข้างเคียงทำให้ไม่สามารถรับแสงแดดได้ทั่วถึง  ทำให้
ไม่สามารถติดดอกออกผลได้
                               
- การทำสาวลิ้นจี่
ตัดกิ่งที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 4-6 นิ้ว และตัดให้ต่ำที่สุด แล้วทาด้วยสีน้ำมัน
หรือสีพลาสติก
 ปล่อยให้กิ่งแตกใหม่ออกมาอายุไม่น้อยกว่า 1 ปี  จึงทำการตัดให้เหลือตอละ 3-4
กิ่ง อยู่กระจายรอบตอเดิมหรือในปีแรกอาจจะตัดเพียงครึ่งต้นเพื่อเหลือกิ่งไว้เลี้ยงตอที่ตัดยอดออก
แล้ว แล้วกลับมาตัดกิ่งที่เหลืออีกครั้งหนึ่งในปีที่ 2 หน่อหรือกิ่งใหม่นี้จะให้ผลผลิตเมื่อมีอายุ 2-3
ปี ขึ้นอยู่กับพันธุ์ลิ้นจี่ควรกระทำในช่วงฝนจะดีกว่าช่วงอื่น
 
            
การสร้างและควบคุมทรงต้นลิ้นจี่ต้นเล็ก                
การควบคุมทรงต้นและการตัดแต่งกิ่ง               
การทำสาวลิ้นจี่          
ลักษณะกิ่งที่ทำมุมกว้าง(ก)  กับกิ่งที่ทำมุมแคบ (ข)       

3 การดูแลรักษา
               
3.1 การใส่ปุ๋ย
          
ต้นที่ให้ผลผลิตแล้วแบ่งการใส่ปุ๋ยดังนี้
                                    
- บำรุ้งต้นใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15
                                    
- ระยะสร้างดอกใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24
                      
- บำรุงผลใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15
                                    
- ปรับปรุงคุณภาพใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21
                               

ส่วนปริมาณปุ๋ยที่ใช้ขึ้นอยู่กับอายุของต้นและผลผลิตบนต้น  ซึ่งอัตราที่ใช้อยู่ระหว่าง 2 กิโลกรัม/
ต้น/ปี
    

การให้ปุ๋ยทางใบเป็นการเสริมให้ต้นลิ้นจี่ได้รับปุ๋ยโดยตรงและต้นลิ้นจี่สามารถนำไปใช้ได้ทันที  ซึ่งควร
ใช้ในกรณีต่อไปนี้
                                    
- เมื่อต้นลิ้นจี่แตกใบอ่อนช้าหรือไม่สม่ำเสมอ  ควรใช้ปุ๋ยไทโอยูเรียอัตรา 100-150 กรัม/น้ำ 20
ลิตร  พ่นทั่วทรงพุ่ม 1-2 ครั้ง  ห่างกัน 7-10วัน  จะช่วยการแตกใบอ่อนเร็วขึ้น
    
- ถ้าใบสมบูรณ์ต่ำไม่มีสีเขียวเป็นมันควรใช้ปุ๋ยทางใบ สูตร 30-20-10 หรือ 20-20-20 อัตรา
20-30 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร
                               

ระยะใบแก่ก่อนออกดอก 

เพื่อช่วยให้ใบแก่เร็วขึ้นและช่วยป้องกันการแตกใบอ่อน เมื่อฝนตกควรพ่นปุ๋ยทางใบ สูตร 0-52-34
อัตรา 100-150 กรัม/น้ำ 20 ลิตร 2 ครั้ง  ห่างกัน 7-10 วัน
                 

- ช่วงลิ้นจี่ก่อนออกดอก  ควรพ่นปุ๋ยทางใบเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์และเป็นการกระตุ้นให้เกิดดอก
และหลังจากแทงช่อดอกแล้วควรฉีดพ่นอีกครั้งเพื่อช่วยบำรุงช่อดอกและช่วยให้ติดผลดีขึ้น
     
- ช่วงลิ้นจี่ติดผลขนาดปานกลาง  อาจจะใช้ปุ๋ยทางใบเพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโต และเพิ่มคุณภาพ
ของผล  โดยใช้ปุ๋ยสูตร 10-20-30 อัตรา 20-30 ซีซี/น้ำ 30 ลิตร
               

3.2 การให้น้ำ
                               
ลิ้นจี่ที่ให้ผลผลิตแล้วในฤดูแล้งต้องให้น้ำสม่ำเสมอ อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง แต่ในช่วงเดือน
พฤศจิกายนก่อนออกดอกควรงดการให้น้ำและเริ่มให้เมื่อแทงช่อดอกหประมาณ 50% ให้น้ำปริมาณ
น้อยก่อน แล้วค่อยเพิ่มปริมาณมากขึ้นแล้วจะไปงดการให้น้ำอีกครั้งก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 7-10 วัน
               

3.3 การป้องกันกำจัดวัชพืช
                               
ควรจะมีการกำจัดวัชพืชในสวนอย่างน้อยไม่ต่ำกว่าปีละ 2 ครั้ง  โดยวิธีถากถางด้วยจอบ  วิธีการตัด
หญ้าด้วยเครื่องจักรกล  วิธีพ่นสารเคมีควบคุมวัชพืช เช่น สารไกลโฟเสท  สารพาราคว๊อท  และ
กลูโฟซิเนท-แอมโมเนีย ซึ่งสารพวกนี้เป็นสารที่ไม่ค่อยมีพิษตกค้างทางดินแต่ถ้าไม่ใช้ได้ก็จะยิ่งดี
               

3.4 การป้องกันกำจัดโรคแมลง
                               
1. ระยะแตกใบอ่อน  ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคแมลง  แมลงที่ทำลายใบอ่อนได้แก่ ไร
กำมะหยี่ หนอนเจาะกิ่ง หนอนม้วนใบ จำพวกคาร์บาริล หรืออามิทราส หรือสารสกัดชีวภาพ
           
2. ระยะก่อนออกดอก จะมีการระบาดของหนอน เช่น มวนลำไย ควรพ่นสารเคมีป้องกันจำพวกไซฮา
โลทรินแอล หรือคาร์บาริล หรือสารสกัดชีวภาพ
                               

3. ระยะติดผลขนาดเล็ก  มีการระบาดของหนอนเจาะขั้วผล  มวนลำไย  ไรกำมะหยี่  ควรฉีด
พ่นสารเคมีอย่างต่อเนื่อง เช่น คาร์บาริล  อามิทราส  หรือสารสกัดชีวภาพ
                               
4. ควรงดการใช้สารเคมีทุกชนิดไม่ต่ำกว่า 10 วัน ก่อนการเก็บเกี่ยวผลผลิต
               

3.5 การชักนำให้ลิ้นจี่ออกดอก
                               
การชักนำการออกดอกของลิ้นจี่ในปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถควบคุมได้อย่างแน่นอน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัย
ทางด้านสภาพแวดล้อมในแต่ละปี  ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้  แต่อย่างไรก็ตามมีผู้เสนอแนวทางใน
การควบคุมการออกดอกไว้ดังนี้คือ

1). การคัดเลือกพันธุ์ 
ดังที่ได้กล่าวข้างต้นจะเห็นว่าพันธุ์แต่ละพันธุ์มีความยากง่ายในการออกดอก  ในพื้นที่ที่มีอากาศหนาว
เย็นไม่มากและมีช่วงหนาวเย็นสั้นควรปลูกพันธุ์ภาคกลาง เช่น พันธุ์ค่อม  พันธุ์สำเภาแก้ว  พันธุ์
ทิพย์  พันธุ์จีน  เป็นต้น  พันธุ์ดังกล่าวจะออกดอกได้ง่าย  ส่วนพันธุ์ทางภาคเหนือที่ออกดอก
ง่าย ได้แก่  พันธุ์กิ้มจี้  พันธุ์ฮงฮวย  สำหรับพันธุ์ที่ออกดอกยาก เช่น พันธุ์โอเฮียะ  และกิมเจ็ง
จักพรรดิ์ ควรเลือกปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นมากๆและยาวนานจึงจะออกดอกได้ดี  นอกจาก
การคัดเลือกพันธุ์แล้วควรเลือกกิ่งพันธุ์จากต้นที่มีประวัติการออกดอกติดผลสม่ำเสมอ

2). การควั่นกิ่ง 
การควั่นกิ่งเป็นวิธีหนึ่งที่ยับยั้งการแตกใบอ่อน  ซึ่งมีส่วนช่วยส่งเสริมการออกดอกของลิ้นจี่ได้
Menzel and Simpson (1986) รายงานว่าระยะใบที่เหมาะสมต่อการควั่นกิ่งนั้นควรอยู่ใน
ระยะใบแก่  สำหรับประเทศไทยนั้น  ศรีมูล (2528) แนะนำว่าต้นลิ้นจี่ที่ควั่นกิ่งต้องสมบูรณ์ 
การควั่นกิ่งควรทำในเดือนตุลาคมโดยควั่นกิ่งที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 12 เซนติเมตร  และ
ควั่นในระยะใบแก่  ขนาดของรอยควั่นกว้าง 1-1.5 มิลลิเมตร  ลึกเข้าไปถึงเนื้อเยื่อ  พันธุ์ลิ้นจี่
ที่ตอบสนองต่อการควั่นกิ่งได้ดี คือ พันธุ์บริวสเตอร์และพันธุ์ฮงฮวย  ส่วนพันธุ์โอเฮียะและพันธุ์ค่อม
ตอบสนองไม่ดีนัก  การควั่นกิ่งจะประสบผลสำเร็จจะต้องมีอุณหภูมิต่ำร่วมด้วย

3). การงดการให้น้ำ 
โดยงดการให้น้ำก่อนการออกดอกประมาณ 2 เดือน  เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ้นจี่แตกใบอ่อน  แต่วิธีนี้
บางครั้งอาจไม่ได้ผลเนื่องจากมักมีฝนหลงฤดูตกในช่วงฤดูหนาวทำให้ลิ้นจี่แตกใบอ่อนเกิดขึ้น

4). การปลิดยอดอ่อนที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาว 
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ต้นลิ้นจี่ที่ผลิใบอ่อนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนจะทำให้โอกาศออกดอก
น้อย  ถึงแม้ว่าจะได้รับอากาศหนาวเย็นก็ตาม  แต่ก็ไม่สามารถออกดอกได้  ดังนั้นการทำลายยอด
อ่อนจึงเป็นการสร้างโอกาสให้ลิ้นจี่ออกดอกได้มากขึ้น  ซึ่งอาจทำได้โดยใช้มือปลิด หรือใช้สารเอทธิ
ฟอนความเข้มข้น 400 วันต่อล้าน ฉีดพ่น ยุพิน (2540) ทดลองปลิดยอดลิ้นจี่พันธุ์
ฮงฮวยและพันธุ์บริวสเตอร์ที่ผลิใบอ่อนกลางเดือนพฤศจิกายน  พบว่ายอดที่ถูกปลิดออกสามารถออก
ดอกได้ 56-83 เปอร์เซ็นต์  ส่วนต้นลิ้นจี่ที่ไม่ปลิดยอดอ่อนไม่สามารถออกดอกได้

5). การใช้สารเคมีควบคุมการเจริญเติบโต 
มีรายงานว่าสารหลายๆชนิดที่สามารถชักน้ำให้ลิ้นจี่ออกดอกเพิ่มขึ้น ได้แก่
    

1. ออกซิน (Auxin) มีรายงานจากมลรัฐฮาวาย ประเทศสาธารณรัฐอเมริกา ถึงการใช้ Na-NAA
(Sodium napthylene acetic acid) ความเข้มข้น 100 ส่วนต่อล้าน  ฉีดพ่น 4
ครั้ง ระหว่างเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม ตเพิ่มการออกดอกถึง 20 เท่า  ต่อมามีรายงานเพิ่มเติม
ว่า Na-NAA จะยับยั้งการเจริญทางกิ่งใบและส่งเสริมการออกดอกเฉพาะที่มีความชื้นในฤดูใบไม้ร่วง
ถึงฤดูหนาว แต่จะไม่ส่งเสริมการออกดอกในปีที่แห้งแล้งหรือในต้นลิ้นจี่ที่ให้ผลผลิตสูงในปีที่ผ่านมา
    
2. เอทธิฟอน (Ethephon) มีรายงานจากไต้หวันทดลองใช้สารสองชนิดร่วมกัน คือ ใช้เอทธิ
ฟอนความเข้มข้น 200ส่วนต่อล้านฉีดพ่นหลังจากนั้นอีก 20 วันฉีดพ่นด้วยไคเนติน (Kinetin)
ซึ่งเป็นสารในกลุ่มไซโตไคนิน (Cytokinin) พบว่าสามารถชักนำให้ลิ้นจี่ออกดอกเพิ่มขึ้นถึง 80
เปอร์เซ็นต์
    

3. พาโคลบิวทราโซล (Paclobutrazol, PP333) ในประเทศไทยมีรายงานการใช้สารพา
โคลบิวทราโซลความเข้มข้น 500 ส่วนต่อล้าน  กับลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวยในวันที่ 20 ธันวาคม  แล้ว
ตามด้วยเอทธิฟอนความเข้มข้น 300 ส่วนต่อล้าน  จำนวน 2 ครั้ง  คือวันที่ 27 ธันวาคม และ
11มกราคม  พบว่าสามารถชักนำการออกดอกของลิ้นจี่เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับต้นที่ไม่
ได้ฉีดพ่น (Chaitrakulsub et al., 1992) แต่อย่างไรก็ตามการฉีดพ่นสารพาโคลบิ
วทราโซลเพียงอย่างเดียวในความเข้นข้น 700, 1,400 และ 2,800ส่วนต่อล้าน พ่น 3 ครั้ง
ห่างกัน 10 วัน กลับพบว่าความเข้มข้น 1,400 ส่วนต่อล้าน ทำให้การออกดอกลดลงส่วนความเข้ม
ข้นอื่นๆให้ผลไม่แตกต่างจากต้นที่ไม่ได้รับสาร  (นพดล และสัณห์, 2536)
จากข้อมูลดังกล่าวจะ
เห็นว่าการใช้สารคงบคุมการเจริญเติบโตอาจไม่ได้ผลเสมอไปเพราะความสำเร็จของการใช้สารเคมีขึ้น
อยู่กับปัจจัยหลายๆประการ เช่น สภาพแวดล้อม  จังหวะของการฉีดพ่น  ความเข้มข้นที่ใช้  ตลอด
จนระยะการเจริญเติบโตหรือสภาพของต้นลิ้นจี่ในแต่ละปี
                

3.5 การห่อผลลิ้นจี่
                               
เพื่อให้ลิ้นจี่มีสีสวยเป็นที่ตอ้งการของตลาด  ประกอบกับช่วยป้องกันผลแตกและลดการเข้าทำลาย
จากโรคแมลงต่อผลลิ้นจี่  จึงควรห่อช่อผลด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หรือถุงใยสังเคราะห์สำเร้จรุปก่อน
ผลแก่ประมาณ 45วัน และเปิดออกก่อนเก็บประมาณ 1 สัปดาห์
  
             
3.6 การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
                               
1. ดัชนีการเก็บเกี่ยว  ผลผลิตจะแก่หลังจากดอกบานประมาณ 4 เดือน  โดยสังเกตได้จากขนาด
ของผลโตเต็มที่  สีของผลเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดงปนชมพูหรือแดงปนน้ำตาลแล้วแต่ละสาย
พันธุ์  ไหล่ผลกว้างออก  ฐานของหนามที่เปลือกขยายออก  ร่องหนามถ่างออกเห็นได้ชัด  เนื้อ
แห้ง  กลิ่นหอม  รสหวาน
       

2. การเก็บเกี่ยว  ควรเก็บในเวลาที่ไม่ร้อนจัด  ขนย้ายมารวมกันที่ร่ม  เพื่อตัดแต่งกิ่งช่อผล 
คัดขนาดและจัดชั้นคุณภาพ  บรรจุภาชนะ
                               

3. การลดอุณหภูมิก่อนการเก็บรักษาหรือขนส่งโดยรถห้องเย็นที่อุณหภูมิ 0-5 องศาเซลเซียส 
ในระดับความชื้นสัมพัทธ์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 เก็บไว้นาน 2-3 สัปดาห์ หรือจะแช่ในสารละลายกรด
ไฮโดรคลอริกความเข้มข้น 1.0 N นาน 15 นาที ก่อนที่จะนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 องศา
เซลเซียส จะยืดอายุได้นานถึง 7 สัปดาห์ โดยไม่มีการเปลี่ยนสีผิวของเปลือกลิ้นจี่
 
               

ปฏิทินการปฏิบัติดูแลรักษา  ลิ้นจี่ 
.ค. .พ. มี.ค. เม.ย. .ค. มิ.ย. .ค. .ค. .ย. .ค. .ย. .ค.
- ระยะช่อดอก- ให้น้ำสม่ำเสมอ- ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลง - ติดผลอ่อน- ใส่ปุ๋นสูตร 15-15-15- ให้น้ำสม่ำเสมอ- ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลง - ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลง- ห่อผลเมื่อเปลือกเริ่มเปลี่ยนสี - เก็บเกี่ยวผลผลิต - ตัดแต่งกิ่ง- ใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 - ระยะแตกใบอ่อน- ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลง - ใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24- งดการให้น้ำ-กำจัดวัชพืช - ควั่นกิ่งหรือรัดด้วยลวด- คลายลวดที่รัดกิ่งออก 30-45 วัน - เริ่มแทงช่อดอก
    

คำแนะนำการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและเหมาะสม
                     
การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่เหมาะสม เกษตรกรควรรู้จักศัตรูพืชชนิดอัตราการใช้สารป้องกันกำจัด
ศัตรูพืช การเลือกใช้เครื่องพ่น หัวพ่น และวิธีการพ่นที่ถูกต้อง มีข้อแนะนำควรปฏิบัติดังนี้
               
1. การใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
                    
- ตรวจซ่อมอุปกรณ์เครื่องพ่นอย่าให้มีรอยรั่ว เพื่อป้องกันสารพิษเปียกเปื้อนเสื้อผ้า และร่างกายของผู้พ่น
     
- ต้องสวมเสื้อผ้าและอุปกรณ์ป้องกันสารพิษ ได้แก่ หน้ากากหรือผ้าปิดจมูก ถุงมือ หมวก และรองเท้า
เพื่อป้องกันอันตรายจากสารพิษ
                    
- อ่านฉลากคำแนะนำคุณสมบัติ และวิธีการใช้ของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชก่อนปฏิบัติงานทุกครั้ง
- ควรพ่นในช่วงเช้าหรือเย็น ขณะลมสงบ หลีกเหลี่ยงการพ่นในเวลาแดดจัดหรือลมแรง ขณะปฏิบัติ
งาน ผู้พ่นต้องอยู่เหนือลมตลอดเวลา
                    
- เตรียมสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชสำหรับใช้ให้หมดในคราวเดียว ไม่ควรเหลือติดค้างในถังพ่น
    
- เมื่อเลิกใช้ควรปิดฝาภาชนะบรรจุสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้สนิท เก็บไว้ในที่มิดชิด ห่างจากสถานที่
ปรุงอาหาร แหล่งน้ำ และต้องปิดกุญแจโรงเก็บทุกครั้ง
                    
- ภายหลังการพ่นสารกำจัดศัตรูพืชทุกครั้ง ผู้พ่นต้องอาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ทันที เสื้อ
ผ้าที่ใส่พ่นสารต้องซักให้สะอาดทุกครั้ง
  ไม่เก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ใช้จะ
สลายตัวถึงระดับปลอดภัย โดยดูจากตาราคำแนะนำการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช หรือฉลากที่บรรจุ
ภาชนะ
               

2 การใช้เครื่องพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
                    
- เครื่องพ่นแบบสูบโยกสะพายหลัง
                    
- เครื่องยนต์พ่นสารชนิดใช้แรงดันของเหลว (ลากสายปั๊ม 3 สูบ)

3 วิธีการใช้                    
- เครื่องพ่นสารแบบสูบโยกสะพายหลัง ใช้อัตราการพ่น 60-80 ลิตรต่อไร่ ใช้หัวพ่นแบบกรวยขนาด
เล็ก (เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.6-1.0 มิลลิเมตร) สำหรับพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชและแมลงศัตรู
และใช้หัวพ่นแบบพัดหรือแบบปะทะ สำหรับการพ่นสารกำจัดวัชพืช
                    
- การพ่นสารกำจัดวัชพืช ต้องแยกใช้เครื่องพ่นเฉพาะ ไม่ใช้ปนกับสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชชนิดอื่นๆ
หลังพ่นไม่ควรรบกวนผิวหน้าดิน ขณะพ่นกดหัวพ่นต่ำ เพื่อให้ละอองสารเคมีตกลงบนพื้นที่ต้องการควบ
คุมวัชพืชเท่านั้น ระวังการพ่นซ้ำแนวเดิม เพราะอาจทำให้ปริมาณสารเพิ่มเป็นสองเท่า
        
- เครื่องยนต์พ่นสารชนิดใช้แรงดันของเหลว ใช้อัตราการพ่น 80-120 ลิตรต่อไร่ ใช้หัวพ่นแบบ
กรวยขนาดกลาง (เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.0-2.0 มิลลิเมตร) ปรับความดันในระบบการพ่นไว้ที่ 10
บาร์ หรือ 150 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
                    
- ถ้าเป็นหัวพ่นกรวยชนิดปรับได้ ควรปรับให้ได้ละอองกระจายกว้างที่สุด ซึ่งจะได้ละอองขนาดเล็กสม่ำ
เสมอ เหมาะสำหรับการพ่นสารป้องกันกำจัดแมลงและโรคพืช
                    
- ใช้ความเร็วในการเดินพ่นประมาณ 1 ก้าวต่อวินาที พ่นให้คลุมทั้งต้นไม่ควรพ่นจี้นานเกินไป เพราะ
จะทำให้นำโชกและไหลลงดิน ควรพลิก-หงายหรือยกหัวพ่นขึ้นลงเพื่อให้ละอองแทรกเข้าทรงพุ่มได้ดี
ขึ้น โดยเฉพาะด้านใต้ใบ
   
- การพ่นสารทุกครั้งให้เริ่มพ่นจากทางใต้ลมก่อน จากนั้นขยายแนวพ่นขึ้นเหนือลม ขณะเดียวกันหัน
หัวพ่นไปทางใต้ลมตลอดเวลา เพื่อหลีกเหลี่ยงการสัมผัสกับสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
          
- เมื่อใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชหมดแล้ว ให้ล้างขวดบรรจุสารด้วยน้ำ 2-3 ครั้ง เทน้ำในถังพ่นปรับ
ปริมาณน้ำตามความต้องการ ก่อนนำไปใช้พ่นป้องกันกำจัดศัตรูพืชสำหรับภาชนะบรรจุสารที่ใช้หมดแล้ว
คือ ขวด กล่องกระดาษ และถุงพลาสติก ให้ทำลายโดยการฝังดินห่างจากแหล่งน้ำ และให้มีความลึก
มากพอที่สัตว์ไม่สามารถคุ้ยขึ้นมาได้ ห้ามเผาไฟและห้ามนำกลับมาใช้อีกครั้ง
 


fs.doae.go.th/เนื้อหาถ่ายทอดFS%20ปี49/.../ลิ้นจี่.doc
-




 

ลิ้นจี่ เป็นไม้ผลที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Litchi chinensis, Somn สามารถขึ้นได้งอกงามในดินร่วนเหนียวหรือดินร่วน ปนทราย มีความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (PH) ประมาณ ๖ - ๗ มีฝนตกสม่ำเสมอตลอดปีประมาณ ๔๐-๖๐ นิ้วต่อปี มีอากาศหนาว ปานกลางจะช่วยให้ลิ้นจี่ออกดอกและติดผลมากขึ้น โดยเฉพาะภาคเหนือของประเทศไทยมีดินที่อุดมสมบูรณ์อากาศหนาวพอสมควร จึงเป็นทำเลที่เหมาะแก่การปลูกลิ้นจี่ พันธุ์ลิ้นจี่ที่นิยมมี ๒ พันธุ์ คือ

๑. พันธุ์เบา
เริ่มตั้งแต่ดอกบานจนถึงผลสุกใช้เวลาประมาณ ๔๕-๕๐ วัน ได้แก่ พันธุ์แห้ว พันธุ์กระโหลกใบยาว

๒. พันธุ์หนัก
เริ่มตั้งแต่ดอกบานจนถึงผลสุกใช้เวลาประมาณ ๗๐-๗๕ วัน ได้แก่ พันธุ์กระโถนท้องพระโรง พันธุ์กระโนใบไหม้ สำหรับภาคกลางนิยมปลูกพันธุ์ค่อมและพันธุ์ลำเจียก ส่วนภาคเหนือนิยมปลูกพันธุ์โอวเฮียะ พันธุ์ฮงฮวย และพันธุ์จักรพรรดิ์ การขยายพันธุ์ส่วนมากใช้วิธีตอนกิ่งทั้งสิ้น ซึ่งได้ผลถึง ๙๐-๙๕ % การเตรียมดินหากพื้นที่ต่ำและน้ำขังควรปลูกแบบ ยกร่องถ้าเป็นที่ราบดอนให้ปลูกแบบสวน ในเว้นระหว่างแถว ๑๒ x ๑๒ เมตร ขุดหลุมกว้างลึกยาว ๑ เมตร ผสมปุ๋ยคอกหรือ ปุ๋ยหมักกับ ดินส่วนบนแล้วกลบลงจนเต็มหลุม ใช้ไม้ปักผูกเชือกยึดกับลำต้นป้องกันไม่ให้ต้นโยกไปมา และควรทำร่มบังแดด ในระยะหนึ่งก่อน ระยะแรกต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ในหน้าฝนระวังอย่าให้น้ำท่วม ระยะลิ้นจี่ยังเล็ก (อายุ ๓-๔ ปี) ควรใช้ปุ๋ยสูตร ๑๕-๑๕-๑๕ โดยโรยปุ๋ยรอบๆ ทรงพุ่มใบแล้วพรวนกลบต้นละ ๒๐๐- ๓๐๐ กรัมต่อปี ส่วนที่ให้ผลแล้วควรใส่ ปุ๋ยพวกฟอสเฟตเพิ่มให้อีกต้นละ ประมาณ ๒๐๐-๓๐๐ กรัม ควรปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่วควบคู่กันไปด้วย เป็นการเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดินให้อุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ควรตัดแต่งกิ่งที่เบียดเสียดกัน อยู่และกิ่งที่ไม่สมบูรณ์ตอนกลางพุ่มที่ไม่ได้รับแสงแดดออก และควรปลูกต้นไม้รอบบริเวณสวน เช่น ต้นไผ่ ต้นสน ช่วยบังลมให้ ลิ้นจี่เริ่มออกผลเมื่ออายุ ๕-๖ ปี ผลมี ๒ รุ่น รุ่นแรกออกก่อน ผลัดใบ รุ่นหลังผลัดใบแล้วออกดอก การเก็บลิ้นจี่จะเลือกเก็บ เฉพาะช่อที่แก่สุกเต็มที่ มีสีแดงจัด ซึ่งลิ้นจี่จะสุกไม่พร้อมกัน เมื่อเก็บผลมาแล้วก็ตัดแต่งช่อให้สะอาดเก็บไว้ในที่มีลมโกรก หรือห้องที่มีอากาศโปร่ง โรคและศัตรูของลิ้นจี่มีน้อย ศัตรูสำคัญคือ ไรแดง หรือแมงมุมแดงที่คอยดูดกินน้ำเลี้ยงตามใบ จะเกิดขึ้นในระยะ ที่ลิ้นจี่กำลังแตกใบอ่อน ป้องกันโดยใช้กำมะันผง ๑๐๐ กรัม ผสมน้ำ ๑ ปีบ ๑๒๐ ลิตร ฉีดพ่นตามที่ลิ้นจี่กำลังแตกใบใหม่ทุก ๑๐-๑๕ วัน ลิ้นจี่ปลูกในประเทศไทยมานานแล้ว สันนิษฐานว่าสวนลิ้นจี่เกิดขึ้นตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยชาวจีนเป็นผู้นำเอาเข้ามา ในรูปกิ่งตอนหรือผลแล้วนำมาเพาะอีกทีหนึ่ง เพราะสมัยนั้นชาวจีนเข้ามาเมืองไทยมาก มีการซื้อขายสินค้าแลกเปลี่ยนกัน เชื่อว่าจะต้อง มีลิ้นจี่รวมอยู่ด้วยและคงจะมีการปรับปรุงบำรุงพันธุ์กันต่อๆ มา ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ เช่นที่อำเภอฝาง อำเภอแม่อาย และจังหวัดเชียงรายมีการปลูกลิ้นจี่มาก สันนิษฐานว่าพันธุ์ลิ้นจี่ ที่เข้ามาระยะหลังคงจากไต้หวัน เพราะมีหมู่บ้านที่เป็นเขตที่อยู่ของชาวจีนฮ่ออดีตทหารจีนก๊กมินตั๋งมาอาศัยอยู่ จึงได้รับความช่วย เหลือทางด้านพืชเมืองหนาว เช่น ลิ้นจี่ ท้อ และสาลี่ จากทางรัฐบาลไต้หวัน ประกอบกับโครงการหลวงมีนโยบายจะไม่ให้ชาว เขาย้ายถิ่นจึงสนับสนุนให้ปลูกพืชเมืองหนาวเหล่านี้ ทำให้มีปริมาณของลิ้นจี่ที่มีคุณภาพดีเพิ่มขึ้น และลิ้นจี่ทางภาคเหนือกับลิ้นจี่ทาง ภาคกลางสุกในเวลาแตกต่างกัน จึงนับว่าเป็นผลดีอย่างยิ่งแก่ทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค ลิ้นจี่นับเป็นพืชเศรษฐกิจอย่างหนึ่งของเชียงใหม่ โดยเฉพาะอำเภอฝางและแม่อายจะจัดให้มีการส่งเสริมการขายลิ้นจี่ โดยจัด "งานวันลิ้นจี่" ขึ้นทุกๆ ปี เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวไปในตัวอีกด้วย ราคาลิ้นจี่ตกกิโลกรัมละ ๒๕-๓๐ บาท ในระยะที่ มีผลมากส่วนระยะที่มีผลน้อยก็อาจจะได้ราคาดีกว่านี้


(ข้อมูลหนังสือ การปลูกผลไม้ เล่ม ๑ ของ อุดม โกสัยสุก สำนักพิมพ์อักษราพิพัฒน์จำกัด มปท)



http://kanchanapisek.or.th/kp8/cem/cem501d.html








การป้องกันกำจัดโรคลิ้นจี่
โรคใบจุดสนิม หรือจุดสาหร่าย
สาเหตุ สาหร่ายเซฟาลิวโรส ( Cephaleuros virescens)

ลักษณะอาการ
เกิดบนใบแก่ลิ้นจี่ แผลเริ่มแรกเป็นจุดขุยสีเทาอมเขียวฟูเล็กน้อย เกิดกระจัด
กระจายบนใบ ต่อมาจุดจะขยายออกและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมส้มหรือสีสนิม ลักษณะค่อน
ข้างกลมขนาด 3-5 มิลลิเมตร ระยะต่อมาจุดจะแห้งและทำให้เนื้อเยื่อใบทั้งด้านบนและใต้ใบ
บริเวณแผลมีลักษณะสีน้ำตาลดำ ในที่สุดใบที่เป็นโรคจะมีสีซีดเหลืองปนน้ำตาลและใบร่วง

การแพร่ระบาด
สาหร่ายแพร่ระบาดไปกับลมและพายุฝน  เข้าทำลายในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง พืช
อาศัยของสาหร่ายชนิดนี้มีหลายชนิดเช่น มะม่วง ลำไย เงาะ ฝรั่ง ส้ม ทุเรียน และไม้ผลอื่น ๆ
 

การป้องกันกำจัด

ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง และพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์


โรคราสนิม
สาเหตุ เชื้อราสเกอกา (Skierka nephelii)
               
ลักษณะอาการ
ใบลิ้นจี่ที่แก่บริเวณใต้ทรงพุ่ม แสดงอาการเป็นจุดนูนขนาดเล็กมากสีเหลือง
เกิดกระจัด กระจายทางด้านใต้ใบ และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลในระยะต่อมา
               
การแพร่ระบาด
สปอร์ของเชื้อราฟุ้งกระจายแพร่ระบาดไปกับลมและพายุ ในสภาพอากาศ
ทางภาคเหนือ ของประเทศไทย
               
การป้องกันกำจัด
ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง และพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชแมนโคเซบ เป็น
โรคที่ยังไม่มี ความสำคัญทางเศรษฐกิจ


โรคลำต้นและกิ่งแห้ง
สาเหตุ ยังไม่ทราบสาเหตุ
               
ลักษณะอาการ
พบเป็นกับลิ้นจี่หลายพันธุ์ อายุ 3-20 ปี ส่วนใหญ่เมื่อต้นลิ้นจี่มีอายุตั้งแต่
10 ปี ขึ้นไป เริ่มแรกแสดงอาการทรุดโทรมใบร่วงและปลายกิ่งแห้งเป็นบางกิ่งหรือทั้งต้น
บริเวณโคน ลำกิ่งหรือลำต้น มีแผลลักษณะเป็นรอยแตก รูปร่างและขนาดไม่แน่นอน เมื่อ
เฉือนผิวเปลือกออก แผลมีอาการไหม้สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลดำ การพัฒนาของโรคจะเป็น
ไปอย่างช้า ๆ กรณีต้นลิ้นจี่ที่มีอายุยังน้อยการพัฒนาการจะเป็นอย่างเฉียบพลัน ใบจะร่วง
และกิ่งแห้งอย่างรวดเร็ว ในที่สุดต้นลิ้นจี่มีลักษณะยืนต้นตาย
               
การแพร่ระบาด
พบเป็นกับต้นลิ้นจี่ตลอดทั้งปี
               
การป้องกันกำจัด
ตัดแต่งกิ่งเป็นโรคนำไปเผาทำลาย แล้วบำรุงรักษาต้นให้สมบูรณ์แข็ง
แรง โดยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมี และพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างสม่ำเสมอ


โรคราดำ
สาเหตุ เชื้อรา แคบโนเดียม และเมลิโอลา (Copnodium sp. และ Meliola sp.)
               
ลักษณะอาการ
ใบ กิ่ง ช่อดอก และช่อผล มีลักษณะเป็นคราบเขม่าหรือฝุ่นผง มีสีดำ ขึ้น
เจริญปกคลุมทำให้ชะงักการเจริญเติบโตและผิวของผลไม่สะอาด เมื่อถูกน้ำฝนชะล้างคราบ
เขม่าสีดำของเชื้อราจะหลุดไปเอง
               
การแพร่ระบาด
เชื้อราดำแพร่ระบาดภายหลังแมลงพวกดูด เช่น เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้งเข้า
ทำลายต้นลิ้นจี่ แล้วขับถ่ายสารเหนียวเป็นละอองน้ำหวาน (honey dew) ลงบนพืช ซึ่งเป็น
อาหารของเชื้อราดำ
               
การป้องกันกำจัด
ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง ควบคุมการแพร่ระบาดของแมลงเพลี้ยหอย และ
เพลี้ยแป้ง และพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างสม่ำเสมอ


โรคเปลือกผลไหม้
สาเหตุ ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคที่ชัดเจน
               
ลักษณะอาการ โรคเปลือกผลไหม้ มี
2
ลักษณะ
- อาการไหม้บริเวณขั้วผล แผลมีลักษณะสีน้ำตาลอ่อนขอบแผลสีน้ำตาล รูปไข่และขนาดไม่
แน่นอน ขนานไปตามความยาวผลพบในระยะที่ผลลิ้นจี่กำลังสร้างเนื้อผล (เปลือกสีเขียวปน
เหลือง) ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลปนดำ บางครั้งแผลแตกปริเนื่องจากเนื้อ
ผลขยายขนา
- อาการไหม้ทั่วไปบนผล แผลมีลักษณะสีน้ำตาลอ่อนจนถึง น้ำตาลปนดำบนผล ตำแหน่ง
ขนาดและรูปร่างของแผล ไม่แน่นอน พบในระยะที่ผลลิ้นจี่กำลังสร้างเนื้อเป็นต้นไป แผลอาจ
แตกปริเนื่องจากเนื้อผลขยายขนาด


โรคผลแตก

สาเหตุ ลิ้นจี่ได้รับน้ำหรือธาตุอาหารไม่เพียงพอในระยะระหว่างที่ผลลิ้นจี่กำลังพัฒนา
               
ลักษณะอาการ
เปลือกผลแตกตามความยาวของผลบริเวณก้นผลในระยะที่ผลลิ้นจี่กำลัง
สร้างเนื้อผลหุ้มเมล็ด และระยะที่เปลือกผลเริ่มเปลี่ยนสี ต่อมาเนื้อผลเน่าเนื่องจากมีจุลินทรีย์
เข้าทำลายซ้ำเติม การแพร่ระบาด เป็นโรคที่ไม่ติดเชื้อไม่มีการแพร่ระบาด
               
การป้องกันกำจัด

1. ให้น้ำลิ้นจี่ทีละน้อยและสม่ำเสมอระหว่างที่ผลลิ้นจี่ กำลังพัฒนา
2. ให้ปุ๋ยธาตุอาหารรองอย่างสม่ำเสมอระหว่างที่ผลลิ้นจี่กำลังพัฒนา เช่น ธาตุแคลเซียม
โบรอน สังกะสี ทองแดง และแมกนีเซียม นอกเหนือจากการให้ธาตุอาหารหลักได้แก่ ไนโตร
เจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม
3. พ่นสารป้องกันและกำจัดโรคแมลงศัตรูพืชโดยสม่ำเสมอ



โรคผลร่วง
สาเหตุเป็นผลมาจากการตายของคัภพะในระหว่างที่ใบเลี้ยงมีการพัฒนา เกิดในช่วงที่ผลลิ้นจี่
มีอายุ ประมาณ30-50 วัน ภายหลังการผสมเกสร และบางครั้งอาจเกิดจากการทำลายของ
หนอนเจาะขั้วลิ้นจี่
               
ลักษณะอาการ
ผลลิ้นจี่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-8 มิลลิเมตร ร่วง ผลลิ้นจี่บาง
ส่วนอาจไม่ร่วงและมีการพัฒนาเจริญเติบโตไปจนแก่และสุก แต่ผลจะมีขนาดเล็กกว่าผลที่มี
เมล็ดปกติ
               
การแพร่ระบาด
สาเหตุที่เกิดจากการตายของคัภพะ ไม่ทำให้โรคแพร่ระบาด ปัจจัยที่เกิด
จากหนอนเจาะขั้ว ลิ้นจี่ ดูรายละเอียดในแมลงศัตรูลิ้นจี่และการป้องกันกำจัด
               
การป้องกันกำจัด
การตายของคัภพะไม่ทราบวิธีการป้องกันกำจัด ส่วนการป้องกันกำจัด
หนอนเจาะขั้วลิ้นจี่ ดูในแมลงศัตรูลิ้นจี่และการป้องกันกำจัด


โรคราน้ำค้างเทียม หรือโรคผลไหม้สีน้ำตาล
สาเหตุ เชื้อราเพอร์โรโนไฟโธรา (Peronophythora litchii)

ลักษณะอาการ
เกิดแผลสีน้ำตาลดำรูปร่างและขนาดไม่แน่นอน และขอบแผลมีลักษณะไม่
ชัดเจนบนก้านผล ผล ใบ และรากลิ้นจี่ เชื้อราสร้างส่วนขยายพันธุ์สีขาวฟูบนแผลในช่วงระยะ
หลังของการติดเชื้อ เมื่อสภาพแวดล้อมชุ่มชื้นและมีฝนตก
               
การแพร่ระบาด
เชื้อราฟักตัวข้ามฤดูถัดไป หรือเศษซากพืชที่ติดเชื้อ แล้วแพร่ระบาดไปกับ
น้ำฝน ลมพายุ แมลง และดินที่มีเชื้อในฤดูถัดไป สภาพอุณหภูมิที่ 22-25 0C และมีฝนตก
ชุกเกือบทุกวัน โรคจะลุกลามและแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง
               
การป้องกันกำจัด
การป้องกันกำจัดโรคราน้ำค้างเทียม จะให้ผลดีถ้าใช้วิธีผสมผสานกันระ
หว่างวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
1. ปลูกลิ้นจี่ให้มีระยะห่างที่พอเหมาะไม่ปลูกชิดเกินไป

2. ตัดแต่งกิ่งให้โปร่งเพื่อให้แสงแดดส่องถึงโคนต้น และกำจัดวัชพืชภายใต้ทรงพุ่ม แล้วขน
ย้ายกิ่งแห้ง และกิ่งที่ติดเชื้อออกไปจากแปลงแล้วเผาทำลาย

3 บำรุงรักษาต้นลิ้นจี่ให้เจริญเติบโตแข็งแรง โดยการใส่ปุ๋ย ให้น้ำในช่วงที่อากาศแห้งแล้ง
และพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชและสารฆ่าแมลงอย่างสม่ำเสมอ

4. หมั่นตรวจแปลงในฤดูหนาวเมื่อพบใบลิ้นจี่เป็นโรค ควรพ่นต้นลิ้นจี่และผิวดินบริเวณ โคน
ต้นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ กรณีที่พบโรคช่วงฤดูฝน ซึ่งสภาพ
อากาศอบอุ่นและดินมีความชื้นสูง ควรพ่นด้วยสารละลายจุนสีเข้มข้น 0.2-0.3% ผสม
โซดาซักผ้า เข้มข้น 0.1% ถ้าพ่นบนผิวดินเพิ่มความเข้มข้นเป็น 2 เท่า จาก นั้นโรยปูนขาว
บริเวณโคนต้น

5.การป้องกันกำจัดโรคในระยะแตกตาดอก ระยะเริ่มติดผลไปจนถึงก่อนผลสุกควรพ่นป้องกัน
ด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชแมนโคเซบ เมื่อพบอาการของโรคปรากฏที่ผลเพียง 1 ผล ให้
เปลี่ยนไปพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช เมตาแลกซิลผลมแมนโคเซบ ไซม๊อกซานิล และแมน
โคเซบ ฯลฯ จำนวน 1-2 ครั้ง แล้วกลับไปพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช แมนโคเซบ เช่นเดิม
 เว้นระยะให้สารเคมีสลายตัวก่อนการเก็บเกี่ยวอย่างน้อย 7 วัน

6. กรณีที่ผลและใบลิ้นจี่เป็นโรคแล้วร่วงหล่นอยู่บนพื้นดินภายใต้ทรงพุ่ม ควรรีบเก็บแล้วนำ
ไปเผาทำลาย ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน เนื่องจากเชื้อราสามารถมีชีวิตและอาศัยอยู่ในดินข้าม
ฤดู เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมจะทำให้เกิดการติดเชื้อใหม่ในฤดูต่อไป

7. การควบคุมโดยชีววิธี โดยใช้เชื้อปฏิปักษ์ Trichoderma หรือ Bacillus
ผสมคลุกเคล้ากับดินภายใต้ทรงพุ่ม และผสมน้ำพ่นให้ทั่วทั้งต้น เป็นวิธีการหนึ่งที่มีประสิทธิ
ภาพทั้งในแง่การป้องกันและกำจัดโรค


โรคผลเน่าภายในหลังการเก็บเกี่ยว

สาเหตุ เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น เชื้อราคอเลคโตตริคัม (Colletrichum gloeospor
ioides)
เชื้อราโบทรัยโอดิโพลเดีย (Botryodipia theobromae) เชื้อราโฟมา (Phom
a
sp.) เชื้อราโฟมอพซิส (Phomopsissp.) เป็นต้น
               
ลักษณะอาการ
ผลลิ้นจี่สุกภายหลังเก็บเกี่ยวที่เก็บรักษาไว้ในสภาพควบคุมความชื้น จะแสดง
อาการแผลเน่า สีน้ำตาลเข้มจนถึงสีน้ำตาลดำ ลักษณะแผลค่อนข้างกลมมีขนาดไม่แน่นอน
เชื้อราสร้างเส้นใยและมวลสปอร์บนผิวเปลือกที่เป็นโรค ภายใต้สภาพอุณหภูมิห้องโรคผลเน่า
จะพัฒนาอย่างรวดเร็วภายในเวลา 2-3 วัน การเก็บรักษาผลลิ้นจีในสภาพอุณหภูมิ 5-6๐ C
               
อาการโรค
ผลเน่าจะมีการพัฒนาการไปอย่างช้า ๆ และอาการรุนแรงน้อยกว่าการเก็บรักษา ใน
สภาพอุณหภูมิห้อง
               
การแพร่ระบาด
เชื้อราแพร่ระบาดไปกับลมและพายุฝน เข้าทำลายผลลิ้นจี่แบบแฝงตั้งแต่ใน
แปลงปลูก แต่จะปรากฏอาการให้เห็นภายหลังการเก็บเกี่ยว
               
การป้องกันกำจัด
พ่นป้องกันด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชแมนโคเซบ โปรคลอราซ คาร์เบน
ดาซิม ฯลฯ ชนิดใดชนิดหนึ่ง และหยุดพ่นก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างน้อย 14 วัน

______________________________________________________________________________________________
ที่มา: กรมวิชาการเกษตร  http://it.doa.go.th/vichakan/news.php?newsid=38

         
http://kasetinfo.arda.or.th/north/plant/lychee_disease.html
 www.thaihealth.or.th/node/4677 - 






  ลิ้นจี่เป็นไม้ผลที่มีการปลูกกันมากในเขตภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ พันธุ์ที่นิยมปลูกกันมาก ได้แก่ ฮงฮวย กิมเจง  โอวเฮี้ยะ และจักรพรรดิ์ การขยายพันธุ์ลิ้นจี่สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด  การปักชำ  การตอนกิ่ง การทางกิ่ง และการเสียบกิ่ง แต่วิธีขยายพันธุ์ที่ชาวสวนนิยมกันมากที่สุด คือการตอนกิ่งแบบตอนอากาศ (Air Layering) เพราะว่า เป็นวิธีการที่ง่ายประกอบกับลิ้นจี่เป็นพืชที่ออกรากได้ง่าย  แต่อย่างไรก็ตามมีเกษตรกรบางรายขยายพันธุ์ลิ้นจี่โดยวิธีการเสียบกิ่ง  เช่นที่สวนวังน้ำค้าง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งการขยายพันธุ์ลิ้นจี่ในแต่ละวิธีการมีข้อดีข้อเสียดังแสดงในตารางที่ 1 


ตารางที่
1  ข้อดีข้อเสียของการขยายพันธุ์ลิ้นจี่โดยวิธีการต่าง ๆ

รายการ เพาะเมล็ด ปักชำ ตอนกิ่ง การเสียบกิ่งและทาบกิ่ง
1.ระยะเวลาในการตลาด      นานหลายปี สั้น สั้น สั้น
2.ระบบราก ดีมาก ไม่ดี        พอใช้ ขึ้นอยู่กับต้นตอที่ใช้
3.ขนาดของต้นใหม่ที่ได้ ขนาดเล็ก ขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ ขึ้นอยู่กับขนาดของต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี
4.ความสม่ำเสมอของต้น ไม่ค่อยสม่ำเสมอ สม่ำเสมอ สม่ำเสมอ สม่ำเสมอ
5.ระยะเวลาที่สามารถนำไปปลูกในแปลง (เดือน)      12 – 24 12 – 24 3 – 12  ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของกิ่งเสียบ
6.อัตราการเพิ่มกระจายพันธุ์ มาก มาก น้อย น้อย
7. การทำลายต้นแม่ - น้อย มาก น้อย
8.ความยุ่งยากในการทำ ไม่ยุ่งยาก ไม่ยุ่งยาก ไม่ยุ่งยาก ต้องอาศัยความชำนาญ
9. การใช้แรงงาน น้อย น้อย มาก มาก
10.การใช้ประโยชน์ เพื่อคัดพันธุ์ใหม่และใช้ประโยชน์จากต้นตอ ขยายพันธุ์ได้ปริมาณที่มากและใช้ประโยชน์จากต้นตอ เป็นวิธีการขยายพันธุ์เพื่อการค้า ใช้ประโยชน์จากต้นตอและใช้ในการเปลี่ยนยอดต้นใหญ่


1. 
การเพาะเมล็ด
การเพาะเมล็ดลิ้นจี่โดยทั่วไปไม่ค่อยนิยมทำเนื่องจากมักจะมีการกลายพันธุ์ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดเมื่อนำไปปลูกใช้ระยะเวลานาน 10 ปี หรือมากกว่านี้ บางครั้งอาจพบถึง 25 ปี จึงจะออกดอก  นอกจากนั้นต้นกล้าที่ได้มีการเจริญเติบโตช้า และบางพันธุ์ เมล็ดมักลีบ(chicken  tongues)
เช่น พันธุ์กวางเจา แต่ข้อดีของการขยายพันธุ์โดยเมล็ดคือ  ได้พันธุ์ใหม่ ๆ เกิดขึ้น เช่น พันธุ์  Peerless กลายมาจากพันธุ์  Brewster และพันธุ์ Benga l กลายพันธุ์มาจากพันธุ์  Purbi  เป็นต้น  นอกจากนี้การเพาะเมล็ดยังมีจุดประสงค์เพื่อที่จะใช้เป็นต้นตอสำหรับการเสียบกิ่งและทางกิ่ง                   

วิธีการเพาะเมล็ด
               
เนื่องจากลิ้นจี่จะสูญเสียความงอกเร็ว หากปล่อยให้เมล็ดแห้งจะเพาะไม่ขึ้น Ray and Sharma (1987) ความชื้นในเมล็ดหากสูญเสียมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดจะสูญเสียความงอก ดังนั้นเมื่อแกะผลเสร็จควรนำไปเพาะทันที หากเก็บไว้เกิน 4–14 วัน เมล็ดจะไม่งอก แต่ในกรณีที่ต้องการจะเก็บเมล็ดไว้ให้นานควรเก็บไว้ทั้งผล เก็บในตู้เย็นไว้ช่องผักจะสามารถเก็บได้นานถึง 4 สัปดาห์               

ขั้นตอนการเพาะ
- เมื่อนำเมล็ดออกจากผลให้ล้างเอาเนื้อออกให้หมด นำเมล็ดแช่ไว้ในน้ำนาน 24  ชั่วโมง จะทำให้เปอร์เซ็นต์การงอกเพิ่มขึ้น
- วัสดุที่ใช้เพาะเมล็ดในกรณีที่เพาะในกระบะควรใช้ขี้เถ้าแกลบผสมทราย อัตราส่วน 1:1 ส่วนการเพาะลงในถุงพลาสติก วัสดุเพาะควรใช้ดินร่วน ผสมขี้เถ้าแกลบ ผสมปุ๋ยคอกอัตราส่วน 2:1:1
- การเพาะให้กดเมล็ดลงในวัสดุเพาะพอมิด รดน้ำให้ชุ่ม ประมาณ 2–3 สัปดาห์เมล็ดลิ้นจี่จะเริ่มงอก
 
2. การตัดชำ
ปกติวิธีการนี้ไม่ค่อยนิยมทำเนื่องจากปริมาณกิ่งที่เกิดรากน้อย และรากไม่แข็งแรง แต่ได้มีการกล่าวถึงการตัดชำกิ่งไว้ดังนี้
1. กิ่งที่จะนำมาปักชำควรเป็นกิ่งแก่(Hard wood)และกิ่งกึ่งแก่ (Semi hard wood)

2.ขนาดของกิ่งความยาว 15–20 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 8–15 มิลลิเมตร ก่อนนำมาปักชำควรทำการควั่นกิ่งทิ้งไว้ประมาณ 1–2 เดือน เพื่อให้กิ่งเกิดการสะสมอาหารทำให้การเกิดรากดีขึ้น

3. จุ่มกิ่งในสาร IBA ความเข้มข้น 5,000–10,000 ส่วนต่อล้าน หรือแช่กิ่งในสาร IBA ความเข้มข้น 100–200 ส่วนต่อล้าน นาน 24 ชั่วโมง

4. วัสดุที่ใช้ในการปักชำ คือ  ทรายผสมขี้เถ้าแกลบอัตราส่วน 1:1

5. อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเกิดรากของลิ้นจี่ คือ อุณหภูมิของอากาศ 20–25 องศา ซ. อุณหภูมิวัสดุปักชำ 30–32 องศา ซ. ทั้งนี้เพื่อป้องกันการแตกใบอ่อนก่อนที่กิ่งลิ้นจี่จะเกิดราก

6. ประมาณ 2–4 เดือน กิ่งปักชำจะเริ่มเกิดราก   


3. 
การตอนกิ่ง
การตอนกิ่งลิ้นจี่ปกติจะได้ผลถึง 95–100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งปกติจะทำการตอนกิ่งในฤดูฝน มีเทคนิคในการตอนกิ่ง ดังนี้

1. เลือกกิ่งที่ตั้งตรง ความยาว 75–100 เซนติเมตร  นาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 
ซม. ควรเลือกกิ่งที่ได้รับแสงเต็มที่จะออกรากได้ดีกว่าที่ได้รับแสงน้อย
2. ควั่นกิ่งโดยใช้มีดควั่นเป็น 2 รอย จากนั้นใช้คีมปากจิ้งจกบิด เพื่อให้เปลือกลอกออก ซึ่งจะเป็นวิธีการตอนกิ่งที่ทำได้รวดเร็วและได้ผลดี
3. หุ้มรอยควั่นด้วยขุยมะพร้าวซึ่งบรรจุอยู่ในถุงขนาด 4x6 มัดด้วยเชือกฟางให้แน่น
4. หากต้องการเร่งการเกิดรากให้เร็วขึ้น อาจใช้สารเร่งรากเซราดิกซ์เบอร์ 2 หรือ 3 ทาบริเวณรอยควั่นด้านบน
5. ประมาณ 30–45 วัน กิ่งตอนจะเริ่มเกิดราก

เทคนิคการชำกิ่งตอน
1. ต้องดูราก บริเวณกระเปาะขุยมะพร้าวว่ามีปริมาณมากพอ และรากควรเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
2. เมื่อตัดกิ่งตอนเพื่อนำลงถุง  ควรริดใบออกประมาณครึ่งหนึ่งเพื่อลดการคายน้ำ
3. การแกะพลาสติกที่หุ้มขุยมะพร้าวออกควรทำด้วยความระมัดระวัง
4. ในกรณีที่กิ่งตอนไม่ตรงควรใช้ไม้ดัดให้ตรง
5. ชำกิ่งตอนลงถุง ใช้วัสดุชำคือ ดินร่วน ผสมขี้เถ้าแกลบ ผสมปุ๋ยคอกอัตราส่วน 2:1:1  ขนาดของถุงควรใช้ถุงพลาสติกสีขนาด 8x10 นิ้ว
6. นำกิ่งชำวางไว้ในที่ร่มแสงประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ รดน้ำให้ชุ่ม
7. ประมาณ 3–12 เดือนหลังจกชำก็สามารถนำกิ่งพันธุ์ไปปลูกในแปลง 


4.
การเสียบกิ่ง
จุดมุ่งหมายในการเสียบกิ่งเพื่อต้องการที่จะใช้ประโยชน์จากต้นตอในด้านการควบคุมขนาดของทรงต้นและนิสัยการเจริญเติบโต ผลผลิต คุณภาพของผล รวมถึงความต้านทานต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ

วิธีเสียบกิ่ง
               
ใช้วิธีการเสียบกิ่งแบบเสียบลิ่มหรือฝานบวบ โดยเลือกต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีให้มีขนาดใกล้เคียงกันคือ มีขนาด 3–10  มิลลิเมตร ความยาวของกิ่งพันธุ์ดียาว 10–15 เซนติเมตร


ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร  สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  มหาวิทยาลัยแม่โจ้   โทร. 0-53873938-9
 



ลิ้นจี่

ลิ้นจี่(Litchi chinensis Sonn) เป็นผลไม้เศรษฐกิจสำคัญชนิดหนึ่ง ที่ทำรายได้ให้แก่จังหวัดสมุทรสงคราม แหล่งปลูกดั้งเดิมนั้นอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน ซึ่งพ่อค้าชาวจีนได้นำลิ้นจี่มาขายทางเรือพร้อมสินค้าอื่น ๆ ตามลำคลองต่าง ๆ ของแม่น้ำแม่กลองและคลองแควอ้อม เมื่อเกษตรกรได้บริโภคผลลิ้นจี่แล้วจึงนำเมล็ดไปปลูก เมื่อต้นลิ้นจี่ให้ผลผลิตจึงทราบว่ามีรสชาติที่อร่อยจึงนำมาขยายพันธุ์ต่อไป ซึ่งมีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน แต่ที่นิยมที่สุดคือพันธุ์ค่อม เพราะมีรสชาติที่หวานหอมอร่อย ราคาดี ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกทั่วจังหวัด ประมาณ 6,637 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอบางคนที และอำเภออัมพวา ลิ้นจี่จังหวัดสมุทรสงครามได้ชื่อว่าเป็นลิ้นจี่ที่มีรสชาติดีที่สุดก็ว่าได้ ราคาจึงค่อนข้างแพง การปลูกและการดูแลรักษาก็ง่าย โรคแมลงก็รบกวนน้อยจึงเป็นที่รู้จักแพร่หลายเกือบทุกจังหวัดของประเทศไทย ว่าลิ้นจี่แม่กลองเป็นสุดยอดของลิ้นจี่เมืองไทย

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ดิน
ที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดี คือ ดินร่วนเหนียว หน้าดินลึก มีอินทรีย์วัตถุมาก ระบายน้ำได้ดี มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินประมาณ 6-7

อากาศ
อากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและออกดอกต่อผลของลิ้นจี่ ต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส
ไม่น้อยกว่า 120 ชม. เมื่อออกดอกแล้วอุณหภูมิจะสูงขึ้นก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าสูงเกิน 36.5 องศาเซลเซียส ขึ้นไป จะทำให้มีผลกระทบต่อดอกของลิ้นจี่ คือ ดอกจะไม่สมบูรณ์ แห้ง หรือร่วงมาก

ความชื้นในอากาศ ความชื้นสัมพันธ์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับลิ้นจี่ในระยะก่อนออกดอกและระยะกำลังจะติดผลควรต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ถ้าสูงกว่านี้ดอกจะร่วง

การคัดเลือกพันธุ์มาปลูก
ลิ้นจี่ในเมืองแม่กลองหรือจังหวัดสมุทรสงคราม มีมากมายหลายพันธุ์ เช่น พันธุ์ค่อม , กะโหลกใบยาว, กะโหลกใบไหม้, กะโหลกในเตา, พันธุ์แห้ว, พันธุ์จีน, พันธุ์ไทยธรรมดา , พันธุ์ไทยใหญ่, พันธุ์สาแหรกทอง, พันธุ์สำเภาแก้ว, พันธุ์ช่อระกำ, พันธุ์เขียวหวาน พันธุ์ที่นิยมมากที่สุดในจังหวัดสมุทรสงคราม คือ พันธุ์ค่อม



พันธุ์ค่อม
ลักษณะประจำพันธุ์
- ลำต้นและกิ่งเรียบ ลำต้นสีน้ำตาลอ่อน กิ่งแข็งแรง ทรงพุ่มค่อนข้างกลมไม่สูง ใบแคบเรียวเป็นลอนกลางใบพอง ปลายใบเรียวแหลม ใบมี 2-4 คู่ สี่ใบด้านบนเขียวเป็นมัน ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ผลมีขนาดใหญ่กลมสีแดงเข้ม เปลือกกรอบบาง หนามห่างสั้นแหลม เนื้อหนา หวาน มีกลิ่นหอมพิเศษ เนื้อแห้ง สีขาวขุ่น

การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์ลิ้นจี่ ทำได้หลายวิธี ได้แก่ การตอน การทาบกิ่ง การเสียบยอด แต่วิธีที่นิยมขยายพันธุ์ลิ้นจี่ คือ

การตอนระยะการปลูก
พื้นที่ในจังหวัดสมุทรสงครามส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ยกร่อง ระยะการปลูกลิ้นจี่ 8x8 เมตร

การเตรียมหลุมปลูก
หลุมปลูกลิ้นจี่ควรขุดหลุมในแนวตรงบนแปลงขนาดกว้าง ยาว ลึก ประมาณ 50-80 เซนติเมตร ผสมดินปลูกด้วยปุ๋ยอินทรีย์ อัตราส่วน 3:1 โดยปริมาณ คลุกให้เข้ากันแล้วกลบลงหลุม โดยให้ดินบริเวณปากหลุมสูงกว่าดินเดิม ประมาณ 15 เซนติเมตร เพื่อป้องกันการยุบตัวของดิน หาไม้ปักกลางหลุม เพื่อเป็นหลักแก่ต้นลิ้นจี่ การปลูกให้คุ้ยดินตรงโคนหลักไปเล็กน้อย แล้วนำกล้าลิ้นจี่ลงปลูก ตั้งยอดให้ตรงแนบกับหลักให้ระดับดินอยู่เหนือตุ้มกาบมะพร้าวกิ่งตอนเล็กน้อยแล้ว กดบริเวณโคนด้วยมือให้แน่นแล้ว ผูกเชือกรัดลำต้นให้แนบกับหลักเพื่อกันลมโยกเพื่อกันไม่ให้รากลิ้นจี่ขาด จากนั้นควรทำซุ้มบังแดด โดยใช้ทางมะพร้าว หรือสะแลนพรางแสงแดด

การปฏิบัติดูแลรักษา
ลิ้นจี่ที่ปลูกใหม่ ควรให้น้ำสม่ำเสมอ เพื่อให้กิ่งที่ปลูกแตกใบอ่อน 3-4 ครั้ง/ปี

การให้ปุ๋ย
การให้ปุ๋ยลิ้นจี่ที่ยังไม่ให้ผลผลิต (อายุ 1-4 ปี)
การใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 25-7-7 ต้นละ ประมาณ ครึ่งกิโลกรัม/ต้น/ปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง ต้นฝนและปลายฝน

การให้ปุ๋ยลิ้นจี่ที่ให้ผลผลิตแล้ว
1. หลังการเก็บเกี่ยวผลแล้วต้องตัดแต่งกิ่งและให้ปุ๋ยบำรุงต้นให้เจริญเติบโตสมบูรณ์ โดยใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 20-50 กิโลกรัมต่อต้น พร้อมปุ๋ยเคมี สูตรเสมอ เช่น 25-7-7 อัตรา 2-5 กิโลกรัม/ต้น เมื่อแตกใบอ่อน ใบเพสลาดใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 2-5 กก./ต้น

2. ให้ปุ๋ยเคมีเพื่อเตรียมต้นลิ้นจี่ให้พร้อมที่จะออกดอกในฤดูกาล คือ แตกใบอ่อน ครั้งที่ 2 ช่วงใบเพสลาดควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24, 12-24-12 อัตรา 2-5 กิโลกรัม/ต้น ประมาณ เดือน กันยายน-ตุลาคม

3. การให้ปุ๋ยในระยะติดผล ใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 1-3 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพดี

4. การให้ปุ๋ยทางใบ เป็นการเสริมให้ต้นลิ้นจี่ได้รับปุ๋ยโดยตรงและต้นลิ้นจี่สามารถนำไปใช้ได้ทันทีซึ่งการใช้ในกรณีต่อไปนี้

- เมื่อต้นลิ้นจี่แตกใบอ่อนช้า หรือไม่สม่ำเสมอ ควรใช้ปุ๋ยไทโอยูเรีย สูตร 13-0-46 อัตรา 100-150 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วทรงพุ่ม 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน จะช่วยให้การแตกใบอ่อนเร็วขึ้นและพร้อมกัน

- ถ้าใบมีความสมบูรณ์ต่ำ คือ ใบไม่มีสีเขียวเข้มเป็นมัน ควรพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 30-20-10 หรือ 20-20-20 อัตรา 20-30 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร จะช่วยเพิ่มความสมบูรณ์แก่ใบให้มากขึ้น

- ระยะใบแก่ก่อนออกดอกเพื่อช่วยให้ใบแก่เร็วขึ้น และช่วยป้องกันการแตกใบอ่อนเมื่อมีฝนตก ควรพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34 อัตรา 100-150 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน

- ช่วงลิ้นจี่ใกล้ออกดอก ควรพ่นปุ๋ยทางใบเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์และกระตุ้นตาดอก เช่น ปุ๋ยสูตร 10-52-17 หรือ 10-45-10 อัตรา 20-30 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร และหลังจากแทงช่อดอกแล้วควรฉีดพ่นอีกครั้งเพื่อบำรุงช่อดอกและช่วยให้ผลดีขึ้น

- ช่วงลิ้นจี่ติดผลขนาดโตปานกลาง อาจให้ปุ๋ยทางใบเพื่อช่วยเร่งการเจริญและเพิ่มคุณภาพของผล โดยใช้ปุ๋ยสูตร10-20-30 อัตรา 20-30 ซีซี ต่อน้ำ 30 ลิตร

Content ©