-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 512 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สารเคมี9







เคมีภัณฑ์ทางการเกษตร

        

เคมีภัณฑ์ทางการเกษตรหรือวัตถุอันตรายทางการเกษตร หมายถึง สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช รวมถึงสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งสารเหล่านี้มีการนำเข้ามาเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และลดการสูญเสียผลผลิตทางการเกษตร นอกจากนี้ยังมีการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรเพื่อใช้ในกิจการประมง โดยเฉพาะในกิจการเพาะเลี้ยงกุ้ง เพื่อควบคุม ป้องกันและกำจัดเชื้อราและวัชพืช ซึ่งปัจจุบันการประกอบธุรกิจการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติวัตถุอันตรายปี 2535 ทั้งนี้เพื่อให้มีการควบคุมการใช้สารเคมีได้อย่างครบวงจร และมีการควบคุมตามความจำเป็นและเหมาะสม นอกจากนี้ยังเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคและผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย โดยหลักเกณฑ์สำคัญ คือ การกำหนดให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับวัตถุอันตรายต้องขึ้นทะเบียน และขออนุญาตประกอบการดังกล่าว

        
ปัจจุบันการใช้สารเคมีทางการเกษตรเพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยจะเห็นได้จากสถิติปริมาณการนำเข้าเคมีภัณฑ์ทางการเกษตร ซึ่งยังมีปริมาณการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีมูลค่าการนำเข้าในแต่ละปีสูงถึงกว่า 6,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย เนื่องจากเกษตรกรบางกลุ่มมีความเข้าใจว่า หากมีการใช้เคมีภัณฑ์ทางการเกษตรในปริมาณมากแล้วจะเป็นการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้ ซึ่งความเข้าใจนี้ก็จะได้ผลดีในระยะแรก แต่มีความสูญเสียอย่างมากต่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย เนื่องจากสารเคมีที่ใช้ในการเกษตรยังต้องพึ่งพาการนำเข้าทั้งในลักษณะของวัตถุดิบและสินค้ากึ่งสำเร็จรูป รวมถึงความเป็นอันตรายเกิดขึ้นจากการตกค้างของสารเคมีทางการเกษตรที่เกิดขึ้นกับตัวเกษตรกร ผู้บริโภคสินค้าเกษตร และสิ่งแวดล้อม โดยการตกค้างของสารเคมีทางการเกษตรนี้มีผลต่อข้อกีดกันทางการค้า ที่ประเทศผู้นำเข้าสินค้าเกษตรเข้มงวดในเรื่องสารเคมีตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ส่วนที่มีผลต่อร่างกาย คือ สารเคมีในกลุ่มของออร์แกโนฟอสเฟต และกลุ่มคาร์บอเนต ผู้ได้รับสารเคมีเหล่านี้เข้าไปในร่างกายมากๆ ในคราวเดียว จะเกิดเป็นพิษเฉียบพลันถึงเสียชีวิตได้ และหากได้รับสะสมในร่างกายเป็นระยะเวลานาน จะมีผลต่อการเกิดมะเร็งทางเดินอาหาร และมะเร็งตับ และในปัจจุบันปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีทางการเกษตรที่เกิดขึ้นมาพร้อมๆกับสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก็คือสารเคมีปลอม ในปัจจุบันมีสารเคมีทางการเกษตรปลอมหรือไม่ได้มาตรฐานวางจำหน่ายอยู่เป็นจำนวนมาก คิดเป็นมูลค่าปีละ 2,000 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของตลาดสารเคมีทางการเกษตรทั้งหมด ซึ่งสร้างผลเสียหายให้กับเกษตรกรอย่างมาก เนื่องจากเมื่อซื้อไปแล้วไม่สามารถป้องกันและกำจัดศัตรูพืชอย่างได้ผลในปริมาณที่ระบุไว้ที่ฉลาก ทำให้ต้องมีการใช้สารเคมีในปริมาณที่มากขึ้น ผลที่ตามมาคือ ต้นทุนการผลิตต้องสูงขึ้น นอกจากนี้การใช้สารเคมีปลอมยังส่งผลให้แมลงศัตรูพืชสร้างภูมิต้านทานเพิ่มขึ้น หากภายหลังเมื่อเกษตรกรนำสารเคมีที่ถูกต้องมาใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ก็จะไม่สามารถกำจัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากแมลงศัตรูพืชเกิดอาการดื้อยา เกษตรกรต้องเพิ่มปริมาณการใช้ ซึ่งทำให้ต้นทุนในการผลิตเพิ่มขึ้น รวมทั้งยังส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะการปนเปื้อนและการสะสมสารเคมีในดินและแหล่งน้ำธรรมชาติ ผลกระทบต่อสุขอนามัยของเกษตรกร และต่อผู้บริโภคสินค้าเกษตร




ขอขอบคุณข้อมูลจาก









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1825 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©