-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 549 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สารเคมี5






จะเกิดอะไรขึ้น 
ถ้าเกษตรยังมุ่งใช้แต่สารเคมีกำจัดศัตรูพืช


 

ศักดา ศรีนิเวศน์
กลุ่มงานชีววิธี ส่วนบริหารศัตรูพืช
สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร
s_sinives@yahoo.com



   จะเกิดอะไรขึ้นถ้าการเกษตรยังมุ่งแต่การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพียงอย่างเดียว

   1. ผลที่เกิดขึ้นกับสุขภาพของคน ในประเทศสหรัฐอเมริกา แม้ว่าเป็นประเทศที่เจริญแล้ว ประชาชนมีการศึกษาสูงยังปรากฎว่า มีผู้ได้รับพิษภัยจากสารเคมีทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยเฉลี่ยปีละ 20,000 - 67,000 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นผู้มีเกี่ยวข้องหรือเป็นผู้ที่ใช้สารเคมีโดยตรง นอกจากนั้น เกิดจากอุบัติเหตุหรือความประมาท ผลจากปนเปื้อนสารเคมี ทำให้ผู้คนเจ็บป่วยทรมานเป็นจำนวนมาก โดยแต่ละปีมีผู้ป่วยเป็นมะเร็งประมาณ 6,000 ราย ซึ่งมีสมมติฐานว่า มาจากสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ปี พ.ศ. 2538 สหรัฐอเมริกาตอนกลางพบสารเคมีกำจัดวัชพืชปนเปื้อนน้ำในธรรมชาติจำนวน 28 ใน 29 รัฐ และในจำนวนนี้มากกว่าครึ่งหนึ่ง พบสารกำจัดวัชพืชเกินค่าความปลอดภัยที่รัฐกำหนด นอกจากนี้ The US Geological Survey ยังพบว่ามีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชปนเปื้อนอยู่ในน้ำบาดาลมากกว่า 2 ชนิดขึ้นไป


   ในปี พ.ศ. 2535 องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า ปัญหาของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีต่อสุขภาพของคนเกิดขึ้นทั่วโลกประมาณปีละไม่น้อยกว่า 1 ล้านคน ในจำนวนนี้เสียชีวิตประมาณ 4,000 - 19,000 คน และมีผู้ได้รับผลกระทบจากสารเคมีปีละ 3 - 25 ล้านคน โดยในจำนวนทั้งหมดนี้ 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้เสียชีวิตเกิดขึ้นกับประเทศที่กำลังพัฒนา


   สำหรับประเทศไทย วัชรี แก้วนอกเขา รายงานว่า ปี พ.ศ. 2541 กองระบาดวิทยาได้รับรายงานผู้ป่วยโรคพิษจากสารกำจัดแมลงและวัชพืช จำนวน 4,398 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 7.16 ต่อประชากรแสนคน สูงกว่า 3 ปีที่ผ่านมา (อัตราป่วยปี พ.ศ. 2538 - 2540 เท่ากับ 5.71 5.28 และ 5.42 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ) จำแนกเป็นเพศชาย 2,757 ราย เพศหญิง 1,641 ราย ผู้เสียชีวิต จำนวน 15 ราย คิดเป็นอัตราตาย 0.02 ต่อประชากรแสนคน และอัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.34 ซึ่งต่ำกว่าทุกปีนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 เป็นต้นมา อัตราป่วยสูงสุดในกลุ่มอายุ 25 - 34 ปี เท่ากับ 10.27 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาได้แก่ กลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป 10 - 14 ปี 0 - 4 ปี และ 5 - 9 ปี


   ระยะเวลาที่พบจำนวนผู้ป่วยสูงในปี พ.ศ. 2541 ได้แก่ เดือนสิงหาคมและตุลาคมซึ่งอยู่ในช่วงเวลาที่มีผู้ป่วยมาก (มิถุนายน - ตุลาคม ) เช่นเดียวกับปีก่อน ๆ


   การจำแนกตามรายภาค พบว่าภาคเหนือมีอัตราป่วยสูงสุด รองลงมาได้แก่ ภาคกลาง ซึ่งมีลักษณะเช่นนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 และพบว่า ปี พ.ศ. 2541 อัตราป่วยของภาคเหนือสูงกว่าหลายปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534) 



   จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูง 5 อันดับแรกของประเทศ พ.ศ. 2541 ได้แก่
   กำแพงเพชร, พิจิตร, นครสวรรค์, อุทัยธานี และพิษณุโลก อัตราป่วย เท่ากับ 64.23, 62.41, 50.79, 44.07 และ 35.46 ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ

   3 จังหวัด อันดับแรกของประเทศไทยยังคงเป็นจังหวัดกำแพงเพชร พิจิตร และนครสวรรค์ เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา แต่ปี 2541 มีอัตราป่วยเพิ่มขึ้นทุกจังหวัด

   ลักษณะอาชีพ ผู้ป่วยประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 73.28 รับจ้าง ร้อยละ 15.83 นักเรียน ร้อยละ 2.41 แม่บ้าน ร้อยละ 1.41 ข้าราชการ ร้อยละ 0.57 นักธุรกิจ ร้อยละ 0.41 เลี้ยงสัตว์ ร้อยละ 0.02 ประมง ร้อยละ 0.02 ไม่ทราบอาชีพ และอื่น ๆ ร้อยละ 6.05

   ชนิดของสารกำจัดแมลงและวัชพืชที่เป็นสาเหตุของการป่วย ได้แก่ สารกำจัดแมลงกลุ่ม Organophosphate ร้อยละ 56.98 สารกำจัดวัชพืช (Herbicide) ร้อยละ 13.31 สารฆ่าแมลงกลุ่ม Carbamate ร้อยละ 12.01 กลุ่ม Chlorinated Hydrocarbon ร้อยละ 1.14 ฯลฯ





ตัวอย่างชนิดของสารกำจัดแมลงและวัชพืชที่พบว่ามีผลต่อสุขภาพของประชาการที่สำรวจ


 
ชื่อสามัญ
ชื่อการค้า
กลุ่ม Organophosphate Methyl parathion โครไธออน, กูราซาน, กรีนฟอส, กวาด
  Mevinphos โครฟอส, กิ๊ดดี้, กอล์ฟฟอส
  Dimethoate คอนโดเมท, คาร์เนลล์
กลุ่ม Herbicide Paraquat กรัมม๊อกโซน, กรีนโซน, ดีทีโซน ไวโซน,สตาร์โซน
กลุ่ม Carbamate Methamyl โกลเด้นฟลาย
  Carbaryl คาร์บาริล, คาร์บาริล 85, คาร์โบน๊อก 85,เซฟดริน 85
  BPMC ซีซ่า 50, ซีซ่า - ดี
กลุ่ม Chlorinated Chlordane คลอติกซ์, คลอเดน 40
  Hydrocarbon Endosulfan คลินตัน, ซานฟาน, โซโลนมอน
  Dicofol ดีแอลเทน, ไดคอฟ



สาเหตุของการป่วยเกิดจากหลายประการ
ได้แก่
   1. การประกอบอาชีพ โดยสารเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง และจากการหายใจ
   จากการศึกษาพิษจากสารฆ่าแมลง จังหวัดนครสวรรค์ ระหว่างเดือนกันยายน - ตุลาคม 2530 พบผู้ป่วยที่มีสาเหตุจากการประกอบอาชีพ จำนวน 161 ราย ซึ่งมีลักษณะการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสสาร คือ การฉีดพ่นยาฆ่าแมลง จำนวน 146 ราย (ร้อยละ 90.68) การผสมยาฆ่าแมลง จำนวน 4 ราย (ร้อยละ 2.5) และไม่ระบุแน่ชัด จำนวน 11 ราย (ร้อยละ 6.8) ปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้ได้รับสารกำจัดแมลง เกิดจากการปฏิบัติงานที่ไม่ถูกต้อง จากการศึกษาของกองอาชีวอนามัย กรมอนามัย พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ทราบว่าสารกำจัดแมลงและวัชพืชมีพิษต่อร่างกาย และทราบแนวทางการทำงานได้อย่างปลอดภัยแต่ไม่ปฏิบัติตาม เช่น การใช้มือเปล่าผสมยา การไม่ทำความสะอาดร่างกายทันทีเมื่อสารหกรด ขณะฉีดยาฆ่าแมลงไม่มีการสวมเครื่องป้องกันอย่างถูกต้อง และภาชนะที่ใช้ฉีดพ่นยาอาจมีการรั่วขณะฉีดทำให้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ รวมทั้งไม่ทำลายภาชนะบรรจุสารกำจัดแมลงที่ใช้หมดแล้ว


   2. อุบัติเหตุ โดยการรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีการปนเปื้อนของสารกำจัดแมลงและวัชพืช
   รายงานการสอบสวนโรคอาหารเป็นพิษที่เกิดจากการปนเปื้อนสารกำจัดแมลงและวัชพืช ระหว่างปี พ.ศ. 2526 - 2541 จำนวน 17 ครั้ง มีผู้ป่วยรวม 661 ราย เสียชีวิต 4 ราย พบสารกลุ่ม Carbamate จำนวน 13 ครั้ง และสารกลุ่ม Chlorinated hydrocarbon ได้แก่ ดีดีที จำนวน 2 ครั้ง และไม่ทราบชนิดของสาร 2 ครั้ง ซึ่งมีสาเหตุจากการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงในส่วนประกอบของอาหารที่นำมาปรุงร่วมกัน และเกิดจากภาชนะใส่อาหารหรือเครื่องดื่มมีการปนเปื้อน ชนิดของอาหารที่เกิดการปนเปื้อน ได้แก่ สุรา เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำดื่ม ขนมบัวลอย กล้วยทอด หน่อไม้ดอง ขนมจีน ข้าวเหนียวสังขยา ปลาร้า ผงชูรส ขนมชนิดหนึ่ง น้ำตาลปี๊บและมะไฟ

   3. การฆ่าตัวตาย
   ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยที่ได้รับสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช สาเหตุของการป่วยส่วนหนึ่งไม่ใช่จากการประกอบอาชีพ แต่เป็นฆ่าตัวตายการศึกษาของ อำนวย ทิพยศรีราช พ.ศ. 2536 จากโรงพยาบาล 10 แห่ง ของจังหวัดเชียงรายและลำปาง พบผู้ป่วย 298 ราย แยกเป็นผู้ป่วยจากการประกอบอาชีพ 43 ราย (ร้อยละ 14.4 ) และไม่ใช่จากการประกอบอาชีพ 255 ราย (ร้อยละ 85.6) ได้แก่ เจตนาฆ่าตัวตายและอื่น ๆ
 
  ข้อมูลของกรมอนามัยในการตรวจหาระดับ Cholinesterase ในเกษตรกรระหว่าง พ.ศ. 2535 - 2541 พบว่า มีผู้ได้รับพิษสารกำจัดศัตรูพืช ถึงขึ้นมีระดับเอนไซม์ผิดปกติระหว่างร้อยละ 16 - 21 โดยที่ยังไม่มีแนวโน้มลดลง






การตรวจหาระดับ Cholinesterase ในเกษตรกร พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2541



พ.ศ.
จำนวนที่ตรวจ (คน)
ผิดปกติ
จำนวน (คน)
%
2535
42,471
8,669
20.41
2536
242,820
48,500
19.97
2537
411,998
72,590
17.62
2538
460,521
78,481
17.04
2539
156,315
40,520
25.92
2540
563,354
89,926
15.96
2541
369,573
77,789
21.05


ที่มา : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข



   แม้หน่วยงานราชการหลายแห่งที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ได้พยายามที่จะแก้ปัญหาสุขภาพของคนและสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่ แต่ก็ยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเท่าที่ควร อาจจะเป็นเพราะว่า ผลกระทบที่เกิดจากสารเคมีไม่เกิดขึ้นทันทีทันใด ไม่อยู่ใกล้ตัวผู้รับผิดชอบ และที่สำคัญคือยังไม่มีบทเรียนที่เจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากสารเคมีเป็นตัวอย่าง เช่น กรณีคลังเก็บสารเคมีท่าเรือระเบิด จึงยังไม่มีใครสนใจ จากตัวเลขดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนเชื่อว่ามีจำนวนตัวเลขผู้เจ็บป่วยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชน้อยกว่าความเป็นจริงมาก เพราะจากการที่ผู้เขียนเคยศึกษาและคลุกคลีทำงานร่วมกับเกษตรกรมากว่า 20 ปี พบว่า เกษตรกรผู้เกี่ยวข้องกับการใช้สารโดยตรงเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ได้รับผลกระทบจากสารเคมีมากบ้างน้อยบ้างตามชนิดและระดับความรุนแรงของสารเคมี จำนวนครั้งที่ฉีดพ่น การปฏิบัติและระวังตัวขณะใช้สารเคมี เคยสัมภาษณ์เกษตรกรเกือบทั้งหมดตอบว่า มีการมึนงงศีรษะ คอแห้ง และอ่อนเปลี้ย ภายหลังจากการใช้สารเคมี แต่ไม่ได้ไปพบแพทย์เพราะอาการไม่รุนแรง พักผ่อนแล้วก็หาย แต่เกษตรกรไม่ทราบว่าอาการเหล่านี้จะสะสมในร่างกายเพิ่มขึ้น ๆ เรื่อย จนถึงวันหนึ่ง … แน่นอน ตัวเลขเหล่านี้ราชการไม่มีแน่นอน เพราะข้อเท็จจริงคงไม่มีเกษตรกรคนไหนหรือแม้แต่คนทั่วไปที่มีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยแล้วเดินทางไปพบแพทย์ ส่วนใหญ่ก็รักษาตัวเองตามสภาพ

   2. การสิ้นเปลืองพลังงานของโลกโดยไม่จำเป็น ในขั้นตอนกระบวนการผลิตสารเคมี และการใช้สารเคมีทุกขั้นตอนต้องใช้พลังทั้งสิ้น เพียงเพื่อผลิตสารเคมีใช้กำจัดศัตรูพืชเพียงไม่กี่ตัว ซึ่งในธรรมชาติมีน้อยกว่าสิ่งที่มีประโยชน์ด้วยซ้ำ นับว่าไม่คุ้มค่าสำหรับโลกเลย นอกจากสร้างความร่ำรวยให้กับผู้ผลิตเท่านั้น

   3. การใช้สารเคมีเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกร ทำให้สินค้าเกษตรมีราคาแพงขึ้นโดยไม่จำเป็น และหากเกษตรกรจำหน่ายผลผลิตได้ในราคาต่ำ ก็จะส่งผลให้เกษตรกรขาดทุน เพราะต้นทุนการผลิตเกือบครึ่งหนึ่งเกิดจากสารเคมี จะมีเกษตรกรสักกี่คนทราบและสังเกตว่าสารเคมีที่ฉีดพ่นกำจัดศัตรูพืชถูกเป้าหมายและได้ผลสักเท่าใด ในสหรัฐอเมริกา การฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชส่วนใหญ่ฉีดพ่นทางอากาศโดยเครื่องบินเล็ก หรือเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 25 - 50 เปอร์เซ็นต์ ของละอองสารเคมีที่พ่นลงตรงพื้นที่เป้าหมายที่เหลือไม่ถูกเป้าหมาย และในพื้นที่เป้าหมาย 25 - 50 เปอร์เซ็นต์ มีเพียง 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ที่ทำลายศัตรูพืชเป้าหมายได้

   มีการศึกษาในเรื่องประสิทธิภาพของสารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชที่เกิดจากการฉีดพ่นสารเคมีซึ่งผลที่ได้เป็นไปในลักษณะเดียวกันกับการศึกษาในสหรัฐอเมริกาเช่นกัน กล่าวคือ เกษตรกรพ่นสารเคมีโดยต้องการกระจายสารเคมีให้ตกบนเป้าหมายทั่วทั้งต้นพืช แต่การปฏิบัติที่พบเห็นทั่วไปอาจเรียกว่า "เป็นการอาบน้ำต้นพืช" ผู้ใช้พยายามถือหัวฉีดจี้ตรงไปยังพืช

เป้าหมาย โดยมีความเชื่อว่าการกระทำดังกล่าวช่วยทำให้สารเคมีตกค้างอยู่บนต้นพืชมากที่สุด หรือทำให้สารเคมีถูกตัวแมลงมากที่สุดเช่นกัน ซึ่งการพ่นสารเคมีแต่ละครั้งที่เกษตรกรปฏิบัติอยู่ขณะนี้พบว่า
มีการสูญเสียของสารเคมีมาก กล่าวคือ บางส่วนไหลลงดิน และอีกบางส่วนปลิวไปตามกระแสลม
ได้มีการวิเคราะห์การใช้สารเคมีแต่ละครั้งเป็นดังนี้คือ


   จากการวิเคราะห์ได้ข้อสรุปว่า การพ่นสารเคมีแต่ละครั้งมีสารเคมีไม่เกิน 45 เปอร์เซ็นต์ตกค้างอยู่บนพืช และน้อยกว่า 4 เปอร์เซ็นต์ ที่มีโอกาสโดนแมลง แต่ไม่ใช่จุดที่สำคัญ แมลงไม่ตาย 3 เปอร์เซ็นต์ คงเหลือเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ที่กำจัดแมลงศัตรูพืชสำเร็จ นั่นหมายถึงว่า สารเคมีที่เกษตรกรใช้ 100 ลิตร ใช้ประโยชน์ได้จริง ๆ 1 ลิตรเท่านั้น เกษตรกรจึงทิ้งเงินจำนวนมหาศาลทุกครั้งที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

   4. แมลงศัตรูพืชมีความต้านทานสารเคมีเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรต้องเพิ่มปริมาณการใช้สารเคมีมากขึ้น สาเหตุเพราะแมลงสร้างสารพันธุกรรมที่สามารถทนทานต่อสารเคมีมากขึ้น ประกอบกับสารเคมีรุ่นใหม่ได้ออกแบบมาเพื่อใช้กำจัดศัตรูพืชเฉพาะชนิดมากกว่าสารเคมีรุ่นแรก ทั้งนี้ เพื่อลดผลกระทบและปัญหาด้านอื่น ๆ ที่จะตามมา จึงทำให้ศัตรูพืชสามารถสร้างความต้านทานได้ง่าย ขณะเดียวกันเกษตรกรก็พยายามเปลี่ยนสารเคมีที่ใช้ไปเรื่อย ๆ แต่ก็มีสารเคมีให้เกษตรกรเลือกใช้กำจัดในศัตรูพืชชนิดเดียวกันจำกัด เพราะการที่บริษัทผู้ผลิต จะคิดค้นสารเคมีแต่ละชนิดออกมาต้องใช้เวลาในการทดสอบเป็นเวลานานนับปี หรือมากกว่าจนกว่าจะได้รับการอนุญาตให้ผลิต ซึ่งทุกบริษัทก็พยายามที่จะคิดค้นหาสารเคมีที่กำจัดศัตรูพืชได้อย่างถาวรตลอดไป แต่ไม่สามารถจะทำได้

   5. เกิดศัตรูพืชชนิดใหม่ขึ้น ศัตรูพืชบางชนิดไม่ใช่ศัตรูพืชหลัก กล่าวคือ ที่ผ่านมายังไม่เคยสร้างปัญหาให้กับเกษตรกร แต่เมื่อเกษตรกรมีการใช้สารเคมีมากขึ้น ศัตรูพืชรอง (Secoudary Pests) จะเกิดการต้านทานสารเคมีเช่นกัน สาเหตุอาจจะเกิดจากสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่ควบคุมศัตรูพืชรองที่อยู่ในธรรมชาติ ถูกทำลายเพราะสารเคมีด้วย ไม่สามารถควบคุมศัตรูพืชรองได้ จึงทำให้ศัตรูพืชรองกลายเป็นศัตรูพืชหลัก หรือศัตรูพืชชนิดใหม่ขึ้นมา

   6. ห่วงโซ่อาหารปนเปื้อนสารเคมี ดังได้กล่าวในตอนที่แล้วว่าสารเคมีที่เกษตรกรฉีดพ่นพลาดเป้าหมายมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ นั่นย่อมหมายความว่า สารเคมีจำนวนนั้น รวมทั้งสารเคมีในพื้นที่เป้าหมายด้วยได้ตกลงสู่น้ำดินและอากาศ และเข้าไปอยู่ในห่วงอาหารของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายบนโลก

   7. แมลงที่มีประโยชน์ช่วยในการผสมเกสร ถูกทำลายการใช้สารเคมีโดยไม่เลือกชนิดว่าเป็นอันตรายต่อแมลงที่ช่วยผสมเกษตรหรือไม่ เช่น เป็นอันตรายต่อผึ้ง ส่งผลให้ผลผลิตของเกษตรกรเสียหาย หรือพืชของเกษตรกรไม่ติดผล
 
  8. สิ่งมีชีวิตในดินถูกทำลาย สารเคมีหลายชนิดทำลายสิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์ในดิน เช่น ไส้เดือนและจุลินทรีย์ต่าง ๆ ทำให้กระบวนการผลิตเสริมสร้างทางเคมี หรือธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์บางชนิดของพืชสูญเสียไป
 
  9. เกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน และโครงสร้างของดินเสื่อมโทรม สารเคมีกำจัดวัชพืชเป็นตัวการสำคัญที่ทำลายพืชซึ่งปกคลุมหน้าดิน ทำให้เกิดการพังทลายของหน้าดินไปกับน้ำเมื่อฝนตก หรือเมื่อเกษตรกรให้น้ำ หรือถูกลมพักพาหน้าดินไป ไม่เพียงแต่สารเคมีเท่านั้น ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ก็เป็นตัวการสำคัญเช่นกัน ซึ่งนี่เองก็ให้เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีในน้ำที่ใช้อุปโภคและบริโภค ยิ่งเกษตรกรใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชบ่อย อินทรีย์วัตถุในดินก็จะถูกทำลายจนหมดสิ้น จึงทำให้พืชที่เกษตรกรปลูกไม่มีความแข็งแรงและเจริญเติบโตให้ผลผลิตไม่ดี ผู้เขียนเข้าใจว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ปลูกส้ม ของอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี และบริเวณใกล้เคียง ประเด็นหนึ่งที่ควรพิจารณาคือ สภาพดินแถวนั้นได้ถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากเกษตรกรใช้สารเคมี และปุ๋ยวิทยาศาสตร์มาก โดยมีการเพิ่มอินทรีย์วัตถุ (ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก) ในดินไม่เพียงพอต่อความต้องการของส้ม ผลจึงร่วงหล่น (เป็นการสันนิษฐานเปรียบเทียบกับข้อมูลจากผลกระทบของสารเคมีเท่านั้น)

   10. น้ำที่ใช้อุปโภคบริโภคมีคุณภาพเลวลง สารเคมีปนเปื้อนกับน้ำในธรรมชาติได้ เช่น จากการที่ฝนที่ตกลงมาได้นำเอาละอองของสารเคมีที่ลอยฟุ้งอยู่ในอากาศลงมาด้วย ทำให้สิ่งมีชีวิตที่ใช้น้ำอุปโภคบริโภคเจ็บป่วยทำลายระบบนิเวศในน้ำและอื่นที่เกี่ยวข้องด้วยทั้งระบบ
 
  ที่ผ่านมาผู้เขียนได้เสนอให้เห็นถึงผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เกิดจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพื่อเป็นข้อพิจารณาให้พี่น้องเกษตรกร และผู้สนใจได้ร่วมกันคิดและตระหนักถึงพิษภัยที่เกิดกับพวกเราและลูกหลานเราในภายภาคหน้าโดยดูจากบทเรียนที่เกิดในประเทศที่เจริญแล้ว เพื่อหาทางป้องกัน หรือบรรเทาปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับบ้านเราต่อไป มิได้มีความมุ่งหมายที่จะต่อต้านการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพราะอย่างไรสารเคมีก็เป็นทางเลือกอย่างหนึ่งที่เกษตรกรต้องนำมาใช้ในการจัดการกับศัตรูพืชแต่ขอให้เป็นทางเลือกสุดท้ายที่เกษตรกรเลือก เพราะยังมีทางเลือกหลาย ๆ ทางที่เราสามารถทำได้ และในขณะนี้กระแสของโลกกำลังตื่นตัวในเรื่องสิ่งแวดล้อมมาก ในอนาคตหากเราไม่ป้องกันในเรื่องนี้ ผลผลิตของเกษตรของเรามีปัญหาแน่นอนเพราะประเทศที่เจริญแล้ว เขาพยายามที่ปกป้องคุณภาพชีวิตของคนในประเทศเขา หากสินค้าเรามีสารเคมีตกค้างเขาคงไม่ซื้อเรา เพราะในตลาดโลกไม่มีประเทศไทยประเทศเดียว เรามีคู่แข่งมากมาย อย่างไรเสียก็อย่าคิดถึงเงินจนลืมคุณภาพชีวิตและชีวิตตนเอง อย่าลืมว่า "เป็นคนจนที่แข็งแรง มีสุขภาพดี ดีกว่าเป็นเศรษฐีขี้โรค"

   หากท่านใดสนใจเรื่อง สารเคมีกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ค้นหาได้ใน
www.orst.edu หรืออ่านได้จากหนังสือเรื่อง Our Stolen Future เขียนโดย Theo Colborn, Dianne Dumanoski และ John Peterson Myers จัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1996










สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1257 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©