-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 496 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

สารเคมี4





รูปแบบและกลุ่มสารเคมีฆ่าแมลง





ผู้เขียน: อาจารย์โชติมา วิไลวัลย์

รูปแบบของยาฆ่าแมลงมีหลายรูปแบบ  ที่พบในประเทศไทยที่นิยมมี


1. Aerosol  เป็นการบรรจุของเหลวใส่ลงในกระป๋องอัดความดัน  ซึ่งจะมีปริมาณสารออกฤทธิ์ (สารเคมี
ที่กล่าวข้างต้น)เพียงเล็กน้อยเท่านั้น  และจะถูกปล่อยออกมาในรูปของสเปรย์หรือหมอกควัน  รูปแบบนี้
สะดวกในการใช้เพราะสามารถใช้ได้ทันทีและต่อการเก็บ  แต่ควรระมัดระวังถ้ากระป๋องมีรอยรั่วหรือถูกเผาจะ
ระเบิดเป็นเศษโลหะชิ้นเล็กๆได้
 

2. Bait เป็นการผสมของสารออกฤทธิ์กับสิ่งที่แมลงกิน  ซึ่งเมื่อแมลงกินเข้าไปก็จะเกิดผลต่อร่างกาย
ทันที  ดังนั้นควรจัดเก็บให้ปลอดภัยจากเด็ก  สัตว์เลี้ยง  หรือสัตว์ที่ไม่ใช้เป้าหมายที่จะกำจัด
 

3. Chalk เป็นการผสมสารออกฤทธิ์กับผงแป้ง  ซึ่งจะเกิดผลต่อแมลงด้วยการสัมผัสกับสารออกฤทธิ์

4. ยาจุดกันยุง เป็นการผสมสารออกฤทธิ์กับขี้เลื่อย  เมื่อจุดยากันยุงจะเกิดความร้อน  แล้งส่งผลให้สารอ
อกทธิ์กลายเป็นไอระเหยออกมาทำหน้าที่กำจัดแมลง
 

5. แผ่นกำจัดยุงไฟฟ้า  ใช้ความร้อนในการทำให้สารออกฤทธิ์ระเหยเป็นไอออกมาทำหน้าที่กำจัดแมลงเช่น
เดียวกับยาจุดกันยุง  ต่างกันตรงที่ใช้ไฟฟ้าเป็นการทำให้เกิดความร้อน







ยาฆ่าแมลงที่ใช้ในบ้านเรือนสามารถจัดกลุ่มได้เป็น

1. Organophosphates Insecticides
ยาฆ่าแมลงประเภทนี้จะมีฟอสฟอรัสซึ่งเป็นพิษโดยการสัมผัสแล้วซึมผ่านเข้าทางผิวหนังตัวยาจะยับยั้งเอนไซม์
cholinesterase ซึ่งส่งผลต่อระบบประสาทเนื่องจากมันสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายและส่งผลอย่างรวด
เร็วต่อระบบประสาททำให้มันทำหน้าที่ฆ่าแมลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่สารประเภทนี้ไม่ถูกสะสมในไขมัน
และจะสลายตัวได้ในสภาพที่เป็นด่างทำให้ไม่สะสมในเนื้อเยื่อของคน  และสารเคมีประเภทนี้จะสลายตัวภาย
ใน 72 ชั่วโมงในสิ่งแวดล้อมปกติ  ยาฆ่าแมลงในกลุ่มนี้ที่พบตามท้องตลาดคือ chlopyrifos,
dichlovos หรือ DDVP ซึ่งพบในสเปรย์กำจัดยุงและแมลงสาบ, สเปรย์กำจัดแมลงสาบ และสเปรย์กำจัด
ปลวก มด มอด แมลงสาบ

อันตรายของ dichlorvos มีค่า LD50  (หนู) 28-500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษร้ายแรง
การหายใจเข้าไปทำให้คลื่นไส้  อาเจียน  ปวดศีรษะ  เวียนศีรษะ  เจ็บหน้าอก  ตัวซีดเป็นสีเขียวเนื่อง
จากขาดออกซิเจน  กล่องเสียงอักเสบ  ชัก  หัวใจเต้นผิดปกติ  การสัมผัสทางผิวหนังก่อให้เกิดความ
ระคายเคือง  ถ้ากลืนหรือกินเข้าไปทำให้มีอาการคลื่นไส้  อาเจียน  มีน้ำลายขับออกมามาก   ปวด
ศีรษะ  เวียนศีรษะ  ตัวซีดเป็นสีเขียวเนื่องจากขาดออกซิเจน  กล้ามเนื้ออ่อนล้าทำงานไม่ประสานกัน  มี
เหงื่อขับออกมามาก  ท้องร่วง  การสัมผัสถูกตาทำให้รูม่านตาหดตัว  ปวดตา  เกิดการระคายเคือง 
dichlorvos
สามารถทำให้เกิดมะเร็งในคนได้  ห้ามทิ้งลงสู่แหล่งน้ำ  น้ำเสีย  หรือดิน
   

อันตรายของ chlorpyrifos มีค่า LD50  (หนู) 82-270 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  เป็นพิษมาก  เป็น
อันตรายเมื่อกินหรือหายใจเข้าไป  อาจระคายเคืองผิวหนัง  ถ้าได้รับสารเป็นระยะเวลานานอาจมีผลต่อระบบ
ประสาทส่วนกลาง  ทำลายตับหรือไต  ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อตา  น้ำตาไหล  ตาบวม  แดง 
และมองภาพไม่ชัดเจน  chlorpyrifos มีผลยับยั้งการทำงานของ cholinesterase enzyme ซึ่ง
พบในเนื่อเยื่อประสาท  เซลเมดเลือดแดง  และพลาสมา  ถ้าได้รับสารมากเกินไปจะเกิดอาการภายใน 24
ชั่วโมงทำให้ปวดศีรษะ  เวียนศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  ท้องร่วง  ม่านตาหดตัว  เห็นภาพไม่ชัดเจน
มีน้ำมูกหรือน้ำลาย  เหงื่อออกมาก  ปวดท้องเกร็ง  ขั้นร้ายแรงทำให้หมดสติ  ชัก  หายใจลำบาก อาจ
ตายได้เนื่องจากระบบหายใจและหัวใจล้มเหลว  เป็นพิษมากต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตในน้ำ



2.
Carbamate Insecticides
ยาฆ่าแมลงประเภทนี้จะมีไนโตรเจน  และซัลเฟอร์   เข้าสู่ร่างกายได้ทางการสัมผัส  การกิน  และ การ
ซึมผ่านผิวหนัง  ทำหน้าที่ยับยั้งเอนไซม์ cholinesterase และกระตุ้นให้ระบบประสาทของแมลงทำงาน
มากเกินไป  สารเคมีประเภทนี้ไม่สะสมสิ่งแวดล้อมและหมดฤทธิ์ในสภาพที่เป็นด่างอย่างรวดเร็ว  สารเคมีที่
ใช้ในตลาดคือ propoxur พบในสเปรย์กำจัดยุงและแมลงสาบ,  สเปรย์กำจัดปลวก มด มอด แมลง
สาบ   และ bendiocarb
เป็นผงกำจัดแมลงสาบ


ยาฆ่าแมลงที่มี bendiocarb ผสมอยู่มักอยู่ในรูปของฝุ่นผงหรือแป้งที่เปียกน้ำได้  อันตรายของ
bendiocarb มีค่า LD50  (หนู) 46-156 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษมาก bendiocarb มี
ความเป็นพิษสูงถ้ากินเข้าไปหรือดูดซึมผ่านผิวหนัง  อาการอ่อนเพลีย  เห็นภาพไม่ชัดเจน  ปวดศีรษะ  วิง
เวียน  ปวดท้องเกร็ง  เจ็บหน้าอก  ม่านตาแข็ง  เหงื่อออก  กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน  ชีพจรลด
ลง  ถ้าสัมผัสทางตา  ทำให้ระคายเคืองตา  เจ็บตา  เห็นภาพไม่ชัดเจน  น้ำตาไหล  กล้ามเนื้อตาชัก
กระตุก  รูม่านตาไม่ตอบสนองต่อแสง   ในกรณีรุนแรงอาจตายได้เนื่องจากหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ  กล้าม
เนื้อระบบหายใจไม่ทำงาน
 

อันตรายของ propoxur มีค่า LD50  (หนู) 83-104 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษมาก  ถ้า
หายใจเข้าไปจะทำให้คลื่นไส้  ปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย  เหงื่อออกมาก  การสัมผัสทางผิวหนังไม่เกิดการ
ระคายเคืองแต่สามารถดูดซึมผ่านผิวหนังได้  การกลืนกินเข้าไปทำให้เหงื่อออกมาก  น้ำลายขับออกมา
มาก  น้ำตาไหล  หายใจติดขัด  ปวดท้องเกร็ง  อาเจียน  ท้องร่วง  ปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย  การ
สัมผัสถูกตาทั้งที่เป็นไอและของเหลวทำให้เกิดการระคายเคือง  propoxur เป็นพิษต่อปลาและสัตว์ที่กิน
ปลา
 

3. Botanicals and Pyrethroid Insecticides
สารเคมีในกลุ่มนี้นิยมใช้กำจัดแมลง  เช่นยาจุดกันยุงมีสารออกฤทธิ์คือ d-allethrin ซึ่งอาจใช้ในชื่ออื่น
(pynamin forte หรือ esbiothrin) 

Botanicals เรียกว่า pyrethrins เป็นสารประกอบของสารเคมีหลายชนิดที่ได้จากพืช  เป็นพิษโดย
การสัมผัสหรือการกิน  ส่วนใหญ่ไม่คงอยู่ในสภาพแวดล้อม

Synthetic pyrethroids คล้ายกับ pyrethrins ตามธรรมชาติแต่ได้รับการปรับปรุงเพิ่มความคง
อยู่ได้ในสิ่งแวดล้อม  ส่วนใหญ่เป็นพิษด้วยการสัมผัส  เนื่องจากเป็นพิษสูงควรใช้ในปริมาณน้อยๆ  นอก
จากนี้ยังมีผลต่อสิ่งแวดล้อมทางน้ำ

อันตรายของ deltamethrin มีค่า LD50  (หนู) 129-139 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษมาก
ถ้าหายใจเข้าไปก่อให้เกิดความระคายเคือง  ถ้าความเข้มข้นสูงจะไปทำลายเยื่อบุเมือก  ทางเดินหายใจส่วน
บน  ทำให้กล่องเสียงและหลอดลมอักเสบ  เกิดอาการหายใจถี่รัว  ปวดศีรษะ  คลื่นไส้  อาเจียน  การ
สัมผัสทางผิวหนังก่อให้เกิดการระคายเคืองอย่างแรง  สามารถซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย  การกลืน
หรือกินเข้าไป  ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้  อาเจียน  อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้  การสัมผัสถูกตาก่อให้
เกิดการระคายเคือง  ทำให้ตาแดง  เจ็บตา  น้ำตาไหล  deltamethrin ไม่เป็นสารก่อมะเร็ง  แต่
สามารถทำลายปอด  ทรวงอก  ระบบหายใจ  ไต  ท่อไต   กระเพาะปัสสาวะ  ทางเดินอาหาร  และ
เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์  ไม่กระทบต่อระบบนิเวศน์หากมีการใช้และจัดเก็บผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสม

อันตรายของ cypermethrin มีค่า LD50  (หนู) 247 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษมาก  ก่อ
ให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบนและล่าง  ต่อตา  และต่อผิวหนัง  อาการชาที่ผิว
หนัง  คัน  ร้อนไหม้  ขาดความสามารถในการควบคุมกระเพาะปัสสาวะ  ร่างกายทำงานไม่ประสานกัน 
หมดสติ  และอาจถึงตายได้   ถ้ากลืนหรือกินเข้าไปทำให้เกิดอาการปวดท้อง  ท้องร่วง  ถ้าได้รับสาร
เป็นเวลานานจะเกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของตับ  cypermethrin
เป็นพิษอย่างมากต่อปลาและ
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในน้ำ

อันตรายของ cyphenothrin มีค่า LD50  (หนู) 400 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษมาก 
ระคายเคืองต่อตาและผิวหนัง  ความระคายเคืองต่อการสัมผัส  เกิดความรู้สึกผิดปกติบริเวณที่สัมผัส  รู้สึก
แสบคัน  ซ่า  และชา  เกิดอาการปวดศีรษะ  คลื่นไส้  วิงเวียน  อาเจียน  ท้องร่วง  น้ำลายฟูม
ปาก  หมดสติ  ในกรณีที่รุนแรงจะมีน้ำในปอด  และกล้ามเนื้อบิดตัว  เกิดอาการชัก  cyphenothrin
เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
 

อันตรายของ alphacypermethrin มีค่า LD50  (หนู) 400 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษ
มาก  ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อตา  ผิวหนัง  ถ้าหายใจเข้าไป  ทำให้ปวดศีรษะ  ถ้ากลืนหรือกินเข้า
ไปทำให้คลื่นไส้  อาเจียน  ตัวสั่น  มีน้ำลายมาก 
เป็นพิษมากต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ  ย่อยสลายได้ทาง
ชีวภาพ  จะไม่สะสมในดินหรือน้ำ  และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในระยะยาว

อันตรายของ fenvalerate มีค่า LD50  (หนู) 451 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษมาก  ถ้า
หายใจเข้าไปก่อให้เกิดการระคายเคือง  เกิดอาการเวียนศีรษะ  ปวดศีรษะ  คลื่นไส้  ถ้าสัมผัสจะแดง 
ไหม้  รู้สึกชา  ซ่า  และคัน  ถ้าสัมผัสตาจะเกิดอาการตาแดง  ปวดตา  ถ้ากลืนหรือกินเข้าไปทำให้
ปวดท้อง  คลื่นไส้  อาเจียน

อันตรายของ d-allethrin มีค่า LD50  (หนู) 425-860 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษมากถึง
ปานกลาง  ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อตาและต่อผิวหนัง  การหายใจเอาไอของสารเข้าไปทำให้ปวด
ศีรษะ  วิงเวียน  คลื่นไส้  การกลืนกินเข้าไปทำให้ปวดศีรษะ  คลื่นไส้  วิงเวียน  อาเจียน  ท้องร่วง
มีน้ำลายมาก  เป็นลม  ในกรณีรุนแรงอาจเกิดน้ำเข้าปอด  กล้ามเนื้อบิดตัว  อาจมีผลต่อการเจริญเติบโต
ของทารกในครรภ์  เป็นพิษอย่างมากต่อปลาและสัตว์ไม่ม่กระดูกสันหลังในน้ำ

อันตรายของ cyfluthrin มีค่า LD50  (หนู) 500-800 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษ
ปานกลาง  ก่อให้เกิดการระคายเคืองตาทำให้ตาแดง น้ำตาไหล  ที่ผิวหนังทำให้คันเป็นแผล  ผื่นแดง 
รู้สึกซ่าบริเวณที่สัมผัสสาร  ถ้าหายใจเข้าไปจะระคายเคืองต่อระบบหายใจและระบบประสาทส่วนกลาง  มี
อาการสับสน  คลื่นเหียน  เวียนศีรษะ   การกลืนหรือกินเข้าไปจะระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร  ถ้าได้
รับสารต่อเนื่องเป็นเวลานานมีอาการคลื่นเหียน  ปวดศีรษะ  ทานอาหารไม่ได้  อ่อนเพลีย  แพ้
แอลกอฮอล์  เป็นพิษต่อปลาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในน้ำ

อันตรายของ bifenthrin มีค่า LD50  (หนู) 632 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษปานกลาง 
ก่อให้เกิดการระคายเคืองตาเล็กน้อย  ไม่มีผลต่อผิวหนังแต่มีพิษเล็กน้อยถ้าซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกาย 
เป็นพิษต่ออวัยวะภายในถ้ากลืนกินเข้าไป  ความรุนแรงขึ้นกับปริมาณของสารที่ถูกดูดซึม  ถ้าหายใจเข้าไป
ในปริมาณมากก่อให้เกิดการระคายเคืองทางเดินหายใจส่วนบน  แต่ไม่เป็นพิษกับอวัยวะภายใน 
bifenthrin
เป็นสารก่อมะเร็ง  และเป็นพิษอย่างมากต่อดินและต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ

อันตรายของ allethrin  ค่า LD50 (หนูตัวผู้) มีค่า 1,100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  LD50 (หนูตัว
เมีย) มีค่า 685 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษปานกลาง  ก่อให้เกิดการระคายเคืองทางตาและผิว
หนัง  ที่ผิวหนังอาจเกิดอาการแพ้ซึ่งเมื่อถูกสารในปริมาณน้อยก็อาจทำให้คันและเป็นผื่นแดงได้  เป็น
อันตรายเมื่อกลืนกิน  และเป็นอันตรายเมื่อสูดดมอาจก่อให้เกิดการแพ้  อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองที่
แผ่นเยื่อเมือกและบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน  ถ้าสูดดมเข้าไปมากจะทำให้คลื่นไส้  ตัวสั่น  หงุดหงิด
ง่าย  เป็นลม  หมดสติ  ในระยะยาวอาจทำลายตับและไต  allethrin เป็นพิษอย่างมากต่อสิ่งมีชีวิต
ในน้ำ  อาจก่อให้เกิดผลเสียระยะยาวต่อสิ่งแวดล้อมทางน้ำ  allethrin พบว่าใช้เป็นสเปรย์กำจัดยุงใน
ชื่อ Prallethrin
ด้วย

อันตรายของ imiprothrin มีค่า LD50 (หนู) 900-1,800 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษ
ปานกลาง  ถ้ากลืนกินเข้าไปทำให้คลื่นไส้  ปวดท้องเกร็ง  อาเจียน  มีผลต่อระบบประสาท  เกิดอาการ
หน้ามืด  วิงเวียน  ปวดศีรษะ  กล้ามเนื้ออ่อนล้าทำงานไม่ประสานกัน  และหมดสติ  สามารถซึมผ่านผิว
หนังทำให้ไหม้หรือปวดแสบปวดร้อนบริเวณใบหน้า  ตา  หรือปาก  ถ้าได้รับอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา
นาน  ผิวหนังจะแดงและอักเสบได้  ถ้าหายใจเข้าไปในปริมาณมากจะเกิดการระคายเคืองต่อระบบหายใจ 
เกิดอาการเช่นเดียวกับเมื่อกลืนเข้าไป  ระคายเคืองต่อดวงตาชั่วคราว  ทำให้น้ำตาไหล  เห็นภาพไม่
ชัดเจน
 

อันตรายของ permethrin มีค่า LD50 (หนู) 2,000-4,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  อาจก่อให้เกิดการ
ระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตา  อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองที่แผ่นเยื่อเมือกและบริเวณทางเดินหายใจ
ส่วนบน  เป็นอันตรายเมื่อกลืนกิน  permethrin เป็นสารก่อมะเร็ง  ถ้าได้รับ permethrin แบบ
เรื้อรังอาจก่อให้เกิดการกลายพันธุ์  คนได้รับ permethrin จะเกิดความผิดปกติในเซลเม็ดเลือดขาว

อันตรายของ tetramethrin มีค่า LD50 (หนู) 4,640 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษ
ปานกลาง  อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตา  อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองที่แผ่นเยื่อ
เมือกและบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน  เป็นอันตรายเมื่อกลืนกิน  คนที่ได้รับ tetramethrin ในระยะ
ยาวจะมีความผิดปกติของ DNA


4.
Insecticidal Bait Toxicants
สารเคมีกลุ่มนี้ใช้เป็นสารออกฤทธิ์ที่ผสมกับสิ่งที่กินแมลงสามารถกินได้  ดังนั้นจึงควรเก็บให้เป็นที่  ป้องกัน
ไม่ให้เด็ก, สัตว์เลี้ยง หรือ สัตว์อื่นๆกินเข้าไปได้

อันตรายของ hydramethynon มีค่า LD50  (หนู) มากกว่า 5,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามี
พิษน้อย  ก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังและตา  อาการปวดศีรษะ  คลื่นไส้  hydramethynon ที่
พบในท้องตลาดใช้กำจัดมดเท่านั้น  เนื่องจากมีความเป็นพิษน้อย
 

5. Inorganic Insecticides
สารประเภทนี้ไม่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ  มักเป็นผลึกคล้ายเกลือ  มีความคงตัวและละลายน้ำได้  เช่น
boric acid 
พบในสเปรย์กำจัดแมลงสาบ

อันตรายของ boric acid มีค่า LD50 (หนู) 2,660 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  แสดงว่ามีพิษปานกลาง 
การหายใจเข้าไปก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกของทางเดินหายใจ  อาจทำให้มีการดูดซึมของสาร
ผ่านทางเยื่อเมือก  ทำให้เกิดอารคลื่นไส้  อาเจียน  ท้องร่วง  เซื่องซึม  เป็นผื่นแดงบนผิวหนัง  ปวด
ศีรษะ  อุณหภูมิในร่างกายลดลง  ความดันต่ำ  ไตได้รับอันตราย  เกิดภาวะที่ผิวหนังเป็นสีน้ำเงินเนื่องจาก
ขาดออกซิเจน  หมดสติ  และตาย  การสัมผัสทางผิวหนังกิ่ให้เกิดการระคายเคือง  สารดูดซึมอย่างรวด
เร็วทำลายผิวหนังหรือเป็นแผลไหม้  มีอาการเช่นเดียวกับการหายใจและกลืนกินเข้าไป  ในผู้ใหญ่ถ้ากินสาร
นี้เข้าไปมากกว่า 30 กรัมอาจทำให้ตายได้  การสัมผัสถูกตาก่อให้เกิดการระคายเคือง  ตาแดง  ปวดตา 
การได้รับสารติดต่อกันเป็นเวลานานทำให้น้ำหนักลด  อาเจียน  ท้องร่วง  เป็นผื่นแดงบนผิวหนัง  ชัก
กระตุกอย่างรุนแรง และโรคโลหิตจาง  boric acid อาจทำลายตับ  ไต  ทางเดินอาหาร  เป็น
อันตรายต่อทารกในครรภ์  และ boric acid เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ


นอกจากนี้ยังมีสารเคมีบางชนิดที่ไม่ได้ใช้ฆ่าแมลงโดยตรง  แต่ใช้ร่วมกับสารในกลุ่ม Botanicals and
Pyrethroid Insecticides เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์  พบในยากำจัดยุงประเภท
ใช้ไฟฟ้า  และสารเคมีที่พบในกลุ่มนี้คือ piperonyl butoxide

อันตรายของ piperonyl butoxide มีค่า LD50 (หนู) มากกว่า 5,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม 
แสดงว่ามีพิษน้อย  เป็นอันตรายเมื่อกลืนกิน  หายใจ  หรือซึมผ่านผิวหนัง  อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง
ต่อทางเดินอาหารตอนล่าง เช่นคลื่นไส้  อาเจียน  ท้องร่วง  ถ้ากินเข้าไปมากจะมีผลต่อระบบประสาทส่วน
กลาง  คลื่นไส้  กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน  ตัวสั่น  หมดสติ  อาการจะมากขึ้นถ้าได้รับติดต่อกัน
นานๆ  piperonyl butoxide  เป็นอันตรายอย่างมากต่อปลา  มีการทดลองว่า piperonyl
butoxide เป็นสารก่อมะเร็ง  และอาจมีผลต่อความผิดปกติของการสืบพันธุ์ 




ชนิด

ชื่อสารเคมี

ค่า LD50 ทางปาก (mg/kg)

ค่า LD50 ทางผิวหนัง (mg/kg)

Organophosphate Insecticides

dichlorvos,DDVP chlorpyrifos

28-500

82-270

75-107

2,000

Carbamate Insecticides

bendiocarb

propoxur

46-156

83-104

566-800

มากกว่า 1,000-มากกว่า 2,400

Botanicals and Pyrethroid Insecticides

deltamethrin

cypermethrin

cyphenothrin

alphacypermethrin

fenvalerate

d-trans-allethrin

cyfluthrin

bifenthrin

allethrin

imiprothrin

permethrin

tetramethrin

129-139

247

310-419

400

451

425-860

500-800

632

685-1,100

900-1,800

2,000-4,000

มากกว่า 4,640

มากกว่า 2,000

มากกว่า 2,000



มากกว่า 2,500


มากกว่า 5,000

มากกว่า 2,000

มากกว่า 2,500

มากกว่า 2,000

มากกว่า 4,000

  มากกว่า 15,000

Insecticidal Bait Toxicants

hydramethylnon

543

มากกว่า 5,000

Inorganic Insecticides

boric acid

2,660



ตารางแสดงชนิดของสารเคมีที่ใช้ฆ่าแมลงในประเทศไทย  และความเป็นอันตราย


  สารเคมีที่เกี่ยวข้อง:
Allethrin
Clorpyrifos
Cyfluthrin
Cypermethrin
Deltamethrin
Dichlorvos
Ficam
Orthoboric acid
Propoxur



ที่มา  :  www.chemtrack.org


**************************************************************************************************************************************


 

ชนิดของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช


สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในทางการเกษตร ที่มีการจำหน่ายทางการค้า มีกว่า 1,000 ชนิด ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ
ตามชนิดของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ในการควบคุมและกำจัด คือ สารเคมีกำจัดแมลง สารป้องกันกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัด
เชื้อรา สารกำจัดหนูและสัตว์แทะ สารเคมีกำจัดหอยและปู เป็นต้น



1. สารเคมีกำจัดแมล'
สารเคมีกำจัดแมลงเป็นสารเคมีการเกษตรที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด สารเคมีกำจัดแมลงแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ตาม
ชนิดของสารเคมีได้ 4 ประเภท คือ


1.1 กลุ่มออร์กาโนคลอไรน์ ซึ่งเป็นกลุ่มของสารเคมีที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ สารเคมีกำจัดแมลงในกลุ่มนี้ที่นิยม
ใช้กันมาก คือ ดีดีที (DDT), ดีลดริน (dieldrin), ออลดริน (aldrin), ท็อกซาฟีน (toxaphene), คลอเดน
(chlordane), ลินเดน (lindane), เอนดริน (endrin), เฮปตาครอ (heptachlor) เป็นต้น สารเคมีในกลุ่มนี้ส่วน
ใหญ่เป็นสารเคมีที่มีพิษไม่เลือก (คือเป็นพิษต่อแมลงทุกชนิด) และค่อนข้างจะสลายตัวช้า ทำให้พบตกค้างในห่วงโซ่
อาหารและสิ่งแวดล้อมได้นาน บางชนิดอาจตกค้างได้นานหลายสิบปี ปัจจุบัน ประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกจะไม่อนุญาตให้
ใช้สารเคมีในกลุ่มนี้ หรือไม่ก็มีการควบคุมการใช้ ไม่อนุญาตให้ใช้อย่างเสรี เพราะผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวด
ล้อม


1.2 กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ โดยสารเคมีในกลุ่มนี้ที่รู้จักกันคือ มาลา
ไธออน (malathion), พาราอาซินอน (diazinon), เฟนนิโตรไธออน (fenitrothion), พิริมิฟอสเมธิล
(pirimiphos methyl), และไดคลอวอส (dichlorvos หรือ DDVP) เป็นต้น สารเคมีในกลุ่มนี้จะมีพิษรุนแรง
มากกว่ากลุ่มอื่น โดยเป็นพิษทั้งกับแมลงและสัตว์อื่นๆ ทุกชนิด แต่สารในกลุ่มนี้จะย่อยสลายได้เร็วกว่ากลุ่มแรก


1.3 กลุ่มคาร์บาเมต ซึ่งมีคาร์บาริลเป็นองค์ประกอบสำคัญ โดยสารเคมีกำจัดแมลงที่รู้จักและใช้กันมาก คือ คาร์บาริว
(carbaryl ที่มีชื่อการค้า Savin), คาร์โบฟุแรน (carbofura), โพรพ็อกเซอร์ (propoxur), เบนไดโอคาร์บ
(bendiocarb) สารเคมีในกลุ่มคาร์บาเมตจะมีความเป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมน้อยกว่าพวกออร์กาโนฟอสเฟต


1.4 กลุ่มสารสังเคราะห์ไพรีทอย เป็นสารเคมีกลุ่มที่สังเคราะห์ขึ้นโดยมีความสัมพันธ์ตามโครงสร้างของไพรีทริน ซึ่ง
เป็นสารธรรมชาติที่สกัดได้จากพืชไพรีทรัม สารเคมีในกลุ่มนี้มีความเป็นพิษต่อแมลงสูง แต่มีความเป็นพิษต่อสัตว์
เลือดอุ่นต่ำ  อย่างไรก็ตาม  สารเคมีกลุ่มนี้มีราคาแพงจึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้  สารเคมีกำจัดแมลงในกลุ่มนี้  ได้แก่
เดลตาเมธริน (deltamethrin), เพอร์เมธริน (permethrin), เรสเมธริน (resmethrin), และไบโอเรสเมธริน
(bioresmethrin) เป็นต้น




2. สารป้องกันกำจัดวัชพืช
สารเคมีกำจัดวัชพืชแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ พวกที่มีพิษทำลายไม่เลือก กับพวกที่มีพิษเฉพาะกลุ่มวัชพืช คือ
ทำลายเฉพาะวัชพืชใบกว้าง หรือวัชพืชใบแคบ สารกำจัดวัชพืชที่มีพิษทำลายไม่เลือก คือ พาราควอท (paraquat)
ส่วนที่มีพิษทำลายเฉพาะ คือ พวก แอทราซิน (atrazine), 2,4-D, 2,4,5-T เป็นต้น




3. สารกำจัดเชื้อรา
มีอยู่หลายกลุ่มมาก บางชนิดมีพิษน้อย แต่บางชนิดมีพิษมาก กลุ่มสำคัญของสารกำจัดเชื้อราในการเกษตร (สรุป
รายงานการเฝ้าระวังโรค 2546)ได้แก่

กลุ่ม Dimethey dithiocarbamates (Ziram, Ferbam, Thiram) มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Acetaldehyde
dehydrogenase เกิด antabuse effect ในคนที่ดื่มสุราร่วมด้วย

กลุ่ม Ethylenebisdithiocarbamates (Maneb, Mancozeb, Zineb) กลุ่มนี้จะถูก
metabolize 
เป็น Ethylene thiourea ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์

กลุ่ม Methyl mercury ดูดซึมได้ดีทางผิวหนังและมีพิษต่อระบบประสาท

กลุ่ม Hexachlorobenzene ยับยั้งเอนไซม์ Uroporphyrinogen decarboxylase มีพิษต่อตับ ผิวหนัง ข้อ
กระดูกอักเสบ

กลุ่ม Pentachlorophenol สัมผัสมากๆ ทำให้ไข้สูง เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว




4. สารกำจัดหนูและสัตว์แทะ (Rodenticides)
สารกำจัดหนูและสัตว์แทะที่นิยมใช้กัน ส่วนใหญ่เป็นสารกลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด ตัวอย่าง เช่น
Warfarin หยุดยั้งการสร้างวิตามิน เค ทำให้เลือดออกตามผิวหนัง และส่วนต่างๆ ของร่างกาย เม็ดเลือดขาวต่ำ ลม
พิษ ผมร่วง


****************************************************************************************************************************************************************************









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (2120 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©