-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 486 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ลำไย




หน้า: 5/6




ราดสารลำไย

ปุ๋ยที่ดีที่สุดคือปุ๋ยตราเงา

เดือนมิถุนายนใกล้จะมาถึงแล้ว ชาวสวนลำไยทุกคนคงเตรียมพร้อมที่จะราดสารลำไยกันแล้ว หลังจากที่มีการเตรียมต้นลำไยกันมาหลายเดือน หมดเงินกันไปกับค่าปุ๋ยและฮอร์โมนต่างๆ ก็หลายหมื่น เพียงเพื่อหวังให้ต้นลำไยสมบูรณ์และออกดอกเต็มที่กับเม็ดเงินที่ลงทุนไป หลายคนหลายสูตรในการบำรุงต้นลำไย ซึ่งในที่นี้อาจมีในวารสารเกษตร หรือฟังเขาเล่าต่อกันมา(เอาเขาว่า) ก็แล้วแต่ครับ เพราะหลายคนก็หลายความคิด คนที่ได้รับผลประโยชน์เต็มๆคือร้านขายอุปกรณ์ทางการเกษตรครับ


ซึ่งผมอยากจะให้เกษตรกรทุกท่านคิดว่า หากเราลงทุนไปมากแต่ผลที่ได้ไม่คุ้มทุน ท่านต้องรอเวลาเป็นปี เพื่อที่จะราดสาร ดังนั้นผมคิดว่าอย่าฟังคนอื่นมากเกินไป ไม่ใช่ว่าเขาบอกว่าปุ๋ยนั้นดี ก็เอามาใช้ มันจะเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับการผลิตมากกว่า หากต้นลำไยสมบูรณ์ ไม่ย่นเวลาราดสารจากปีที่ผ่านมา สารที่ราดมีความเข้มข้น 100% ราดยังไงมันก็ออกครับ ไม่ต้องซื้อฮอร์โมนที่เขาโฆษณามาฉีดพ่นหรอกครับ มันสิ้นเปลือง ให้ท่านเกษตรกรใช้สารที่ราดทางดิน นำมาพ่นทางใบผสมกับสารเอททีฟอน(ช่วยปลิดใบอ่อน) ในอัตราที่เกษตรกรเข้าใจไม่ต้องทางวิชาการเกินไปคือ สารประมาณ 3 ขีดผสมสารเอททีฟอน 100 ซี.ซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทุก 3-7-14 วันตามลำดับ ประมาณ 25-30 ลำไยก็จะแทงช่อดอกออกมา หลังจากนั้นก็สุดแล้วแต่ท่านเกษตรกรจะบำรุงช่อดอกของลำไยต่อไป ซึ่งความคิดนี้ผมได้ทดลองใช้แล้ว ผลที่ออกมาปรากฏว่าคุ้มครับ ไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าฮอร์โมนเปิดตาดอกหลังราดสาร หากเกษตรกรท่านใดสนใจ อยากจะทดลองใช้ผมไม่สงวนลิขสิทธิ์ครับ หากมันจะเป็นผลดีต่อท่านและครอบครัว และหากสนใจหรือมีปัญหาประการใดติดต่อผมได้ครับ หากไม่เหนือบ่ากว่าแรงผมเกินไป ผมยินดีครับ เพื่อปากท้องพี่น้องเกษตรชาวสวนลำไยไทย


"ปุ๋ยที่ดีที่สุดของการทำเกษตรคือปุ๋ยตราเงา"(ตราเงาที่ว่านี้คือเงาเจ้าของสวนนะครับ) ไม่ต้องไปซื้อหาที่ไหนครับ ทุกคนมีเหมือนกันครับปุ๋ยชนิดนี้ พืชทุกชนิดต้องการการดูแลเอาใจใส่ หากเจ้าของดูแลพืชที่ปลูกอย่างดี ผลผลิตที่ได้ก็จะออกมาดีสมที่ตั้งใจครับ


หมวดหมู่: เกษตรกรรม อุตสาหกรรม ธุรกิจการค้า

คำสำคัญ: ปุ๋ยตราเงา  ราดสารลำไย



gotoknow.org/blog/maejo69/362284
– 






กนกวรรณ แซ่หล่อ 

ปัญหาลำไยผลแตก


อาการผลแตก หรือ fruit cracking เกิดจากความไม่สมดุลของการขยายตัวของส่วนเนื้อและส่วนเปลือก โดยส่วนของเนื้อมีลักษณะเป็นเซลล์อ่อนนุ่ม (spongy parenchyma) ซึ่งมีความสามารถในการยืดหดตัวได้สูง ในขณะที่เปลือกมีความยืดหยุ่นตัวต่ำกว่า ดังนั้น ในกรณีที่ส่วนของเนื้อผลมีการขยายปริมาตรอย่างรวดเร็ว แรงดันที่เกิดจากการขยายตัวของเนื้อผลสามารถทำให้เปลือกผลแตกได้

ในกรณีของลำไย อาการผลแตกมักจะเกิดในช่วงที่ผลลำไยกำลังสร้างเนื้อ หรือผลใกล้จะแก่ เช่น ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ลำไยที่ประสบปัญหาผลแตกมักจะเป็นลำไยที่ติดผลดก มีลูกขนาดเล็ก และเปลือกมีขนาดบาง ธาตุอาหารที่เกี่ยวข้องกับอาการผลแตกของลำไยคือธาตุแคลเซียม สาเหตุของปัญหา เกิดจากปริมาณน้ำที่ได้รับไม่สม่ำเสมอในช่วงที่ผลกำลังพัฒนาโดยเฉพาะในช่วงสร้างเนื้อหรือผลใกล้แก่ หากลำไยไม่ได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอจะทำให้เกิดอาการผลแตกได้ง่าย เช่น ลำไยที่กระทบแล้ง ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ประกอบกับอุณหภูมิในช่วงดังกล่าวร้อนจัด เช่น 40 องศาเซลเซียส ทำให้ลำไยมีการคายน้ำมากจึงต้องการน้ำในปริมาณมากไปชดเชย หากได้รับน้ำไม่เพียงพอทำให้ผลลำไยเจริญเติบโตช้า เมื่อลำไยกระทบฝน โดยเฉพาะฝนแรกในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ปริมาณน้ำที่ได้รับมีมากกว่าในช่วงที่ผ่านมา เนื้อของผลจะขยายขนาดได้เร็วกว่าเปลือก เนื่องจากลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกัน ทำให้เปลือกผลแสดงอาการแตกและร่วงอย่างเห็นได้ชัด สาเหตุของปัญหาลำไยผลแตกสามารถสรุปเป็นแผนผัง ดังแสดงไว้ในภาพที่ 1

จากแผนผังดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการผ่านสภาพแล้งตามธรรมชาติแล้วกระทบฝน จะมีโอกาสทำให้ลำไยเกิดอาการผลแตกได้ แต่ในบางกรณีแม้จะผ่านช่วงแล้งตามธรรมชาติมาแล้วและย่างเข้าฤดูฝนแล้วก็ตาม หากฝนทิ้งช่วงหรือประสบกับภาวะฝนแล้ง เมื่อกลับมาได้รับน้ำฝนอีกครั้ง ลำไยก็จะสามารถเกิดอาการผลแตกได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการให้ลำไยได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอระหว่างการพัฒนาของผล จะช่วยลดปัญหาอาการผลแตกของลำไยได้

ฤดูกาลผลิตลำไยปี 2553 ประสบกับปัญหาลำไยผลแตกมาก ซึ่งแม้แต่นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านลำไย ผู้ช่วยศาตราจารย์พาวิน มะโนชัย ยังยอมรับว่าปีนี้ผลลำไยแตกเยอะมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา จากการสำรวจความคิดเห็นของเกษตรกรหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตลำไยจำนวนรวม 266 ราย ในเขตของจังหวัดเชียงใหม่ (49.2%) ลำพูน (37.6%) และเชียงราย (13.2%) เมื่อวันที่ 25-27 มิถุนายน 2553 ของศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พบว่า 68 เปอร์เซ็นต์ของผู้ให้ข้อมูล เห็นว่า ผลผลิตลำไยปีนี้จะลดลงเนื่องจากสภาพแล้งและภูมิอากาศแปรปรวน ประมาณ 72 เปอร์เซ็นต์ ประสบกับภาวะภัยแล้ง สภาพอากาศที่ร้อนมาก และน้ำที่ใช้ในการเกษตรไม่เพียงพอ และครึ่งหนึ่งของผู้ให้ข้อมูลเชื่อว่าปีนี้ราคาผลผลิตลำไยจะตกต่ำ ประกอบกับผลผลิตไม่ได้คุณภาพ ผลมีขนาดเล็กและแตก (ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร, 2553)

สาเหตุของอาการผลแตกในลำไย คือปริมาณน้ำฝน
จากข้อมูลปริมาณน้ำฝนที่วัดได้จากสถานีวัดอากาศของศูนย์อิเล็กทรอนิกและคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งติดตั้งอยู่ที่แปลงลำไย ในสำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พบว่า ปริมาณน้ำฝนในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายนของปี 2553 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2552 อย่างเห็นได้ชัด (ภาพที่ 2) โดยพบว่าปริมาณน้ำฝนในปี 2553 ปริมาณน้ำฝนเดือนเมษายน ลดลงเหลือ 27% เมื่อเทียบกับปี 2552 ส่วนเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนปริมาณน้ำฝนลดเหลือเพียงประมาณ 7 และ 1% ของช่วงเดือนเดียวกันของปี 2552 ตามลำดับ ข้อมูลสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการลดลงของประมาณน้ำฝน แสดงถึงการประสบกับภัยแล้งของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนได้เป็นอย่างดี

สรุป
อาการทางกายภาพของลำไยที่แตกเกิดจากการที่เปลือกลำไยขยายตัวไม่ทันการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของเนื้อลำไย ซึ่งสาเหตุแท้จริงเกิดจากการที่ผลลำไยที่กำลังเจริญเติบโตนั้น ผ่านสภาพแล้ง อุณหภูมิสูง หรือขาดน้ำก่อน จากนั้นจึงได้รับน้ำในปริมาณมากทันที หรือเกิดจากการที่ฝนขาดช่วง ได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอ จึงทำให้เกิดการแสดงอาการผลแตกและหลุดร่วงได้

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการผลแตกของลำไย ประกอบด้วยสภาพแวดล้อมภายนอก คือสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน เช่น แล้งแล้วกระทบฝน หรือฝนขาดช่วง หรือการจัดการน้ำที่เหมาะสม เช่น ให้น้ำไม่สม่ำเสมอ เป็นต้น และสภาพแวดล้อมภายในต้นลำไยเอง โดยมักจะพบว่าเฉพาะต้นลำไยที่ติดผลดก ลูกมีขนาดเล็กและเปลือกบาง มักจะถูกชักนำจากสภาพแวดล้อมให้แสดงอาการผลแตกได้ง่ายและมากกว่าต้นที่ติดผลปานกลางหรือน้อย

ปัญหาลำไยผลแตกดังกล่าว เมื่อเกิดขึ้นแล้วไม่สามารถแก้ไขได้ วิธีการที่ดีที่สุดคือการป้องกัน ซึ่งได้แก่ การให้น้ำลำไยอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ หากพบว่าลำไยติดผลดกอาจจะต้องตัดแต่งช่อผลออกบ้างเพื่อให้ลำไยสามารถเลี้ยงลูกได้ การดูแลเรื่องธาตุอาหารเสริมโดยเฉพาะแคลเซียม อาจจะช่วยลดความเสียหายที่อาจจะเกิดกับสวนลำไยได้

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ผศ.ดร.ธีรนุช เจริญกิจ และ ผศ.พาวิน มะโนชัย ศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาลำไยแม่โจ้-สกว. และศูนย์วิจัยและพัฒนาลำไยแม่โจ้ โทร. (053) 499-218



เอกสารอ้างอิง
พาวิน มะโนชัย ยุทธนา เขาสุเมรุ ชิติ ศรีตนทิพย์ และสันติ ช่างเจรจา. 2547. เทคโนโลยีการผลิตลำไย. ฟิสิกส์เซ็นเตอร์. 128 หน้า.

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. 2553. ผลการสำรวจความคิดเห็น เรื่อง "เสียงสะท้อนชาวสวน ก่อนผลผลิตลำไยออกสู่ตลาด". 2 หน้า.


http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05094010953&srcday=2010-09-01&search=no







ลำไยเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีการเพิ่มพื้นที่ปลูกกันมากขึ้น จึงทำให้ความต้องการกิ่งพันธุ์เพิ่มขึ้น 

พันธุ์ลำไยที่นิยมปลูกกันมากในปัจจุบันคือ พันธุ์อีดอ แห้ว สีชมพูและเบี้ยวเขียว  ชาวสวนส่วนใหญ่นิยมขยายพันธุ์โดยวิธีการตอนกิ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลแน่นอน เนื่องจากลำไยเป็นพืชที่ออกรากได้ง่าย ข้อเสียของวิธีการนี้คือ ไม่มีรากแก้วจึงทำให้มีโอกาสโค่นล้มเนื่องจากลมพายุสูงมาก   ปัจจุบันชาวสวนบางรายเริ่มให้ความสนใจในการขยายพันธุ์ลำไยโดยวิธีการอื่น ๆ เช่น การเสียบกิ่ง การทาบกิ่ง และการเสริมราก 

1.  การเพาะเมล็ด.
               
เมล็ดลำไยจัดเป็น  recalcitrant  seeds  ดังนั้นเมื่อแกะเอาเนื้อออกควรรีบนำไปเพาะทันที หากเก็บเมล็ดไว้นานเมล็ดจะสูญเสียความงอกเร็ว  มีการศึกษาเกี่ยวกับการเก็บรักษาเมล็ดลำไย พบว่าเมล็ดที่แกะออกจากผลแล้วนำไปเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง  พบว่า เพียง  10  วัน  เมล็ดลำไยจะไม่งอกเลย  ในกรณีที่จะเก็บเมล็ดไว้นาน ๆ ควรเก็บไว้ทั้งผลโดยแช่ในยากันราพวกเบนโนมิล ความเข้มข้น 0.05 กรัม  สามารถเก็บไว้ได้นาน  30   วัน  โดยมีเปอร์เซ็นต์การงอกถึง  85  เปอร์เซ็นต์  (choo,1992) การเพาะอาจเพาะลงในถุงพลาสติกหรือเพาะในกระบะ  ฝังเมล็ดให้ลึกประมาณ  0.5  เซนติเมตร  รดน้ำให้ชุ่มประมาณ 2 สัปดาห์เมล็ดจะเริ่มงอก 

2. การตอนกิ่ง
               
ถึงแม้ว่าวิธีการตอนกิ่งจะเป็นวิธีการที่ง่าย แต่วิธีการที่จะขยายพันธุ์เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและได้จำนวนต้นในปริมาณที่มาก มีเทคนิคและขั้นตอนในการปฏิบัติ ดังนี้

- การเลือกต้นพันธุ์ควรเลือกตอนกิ่งจากต้นพันธุ์ที่ออกดอกติดผลดี ข้อสำคัญต้นพันธุ์ควรจะปราศจากโรคโดยเฉพาะโรคพุ่มไม้กวาด

- เลือกกิ่งที่ตั้งตรง ถ้าเป็นกิ่งนอนก็อาจจะใช้ได้ แต่การเกิดรากจะเกิดเฉพาะด้านล่าง แต่ไม่ควรเลือกกิ่งที่ปลายกิ่งชี้ลงดิน

- ขนาดความยาวของกิ่งยาวประมาณ 75–100 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่ง 1.5-2.0 เซนติเมตร

-  ใช้มีดควั่นกิ่งเป็น 2 รอย  หรืออาจจะควั่นรอยเดียวจากนั้นให้ใช้คีมปากจิ้งจกบิดโดยที่ไม่ต้องใช้มีดกรีดเปลือก ซึ่งการใช้คีมบิดจะทำให้เกิดความรวดเร็ว

- หุ้มด้วยดินเหนียวและกาบมะพร้าว และผ้าพลาสติก มัดกระเปาะหัวท้ายด้วยตอก

- ประมาณ 30 วัน รากจะเริ่มออกเมื่อเห็นรากมีสีขาวและมีปริมาณมากจึงค่อยตัดมาชำในการตอนกิ่งเพื่อการค้า  มักจะเริ่มตอนกิ่งในเดือนพฤษภาคม ซึ่งกิ่งตอนชุดนี้จะสามารถนำไปปลูกได้ในกลาง ๆ ฤดูฝนของปีเดียวกัน                


การชำกิ่งตอนลำไย
  มีขั้นตอนดังนี้
1. เลือกกิ่งที่มีรากสีขาว  สังเกตว่าปริมาณรากมากพอสมควรทำการตัดกิ่งตอนจากนั้นให้ทำการริดกิ่งและใบบางส่วนออกเพื่อลดการคายน้ำ

2. แกะพลาสติกที่หุ้มกระเปาะออก ควรทำด้วยความระมัดระวังเพราะจะทำให้กระเปาะแตก

3. นำกิ่งตอนลงชำโดยทั่วไปเกษตรกรชาวสวนมักใช้ตะกร้าไม้ไผ่สานหรือที่เรียกกันทางเหนือว่า “เป๊าะ” สำหรับวัสดุชำใช้ดินผสมขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 2:1 จากนั้นนำกิ่งบรรจุลงในเป๊าะใช้ตอกมัด นำกิ่งที่ทำเสร็จแล้วไปเก็บไว้ในร่ม โดยนอนกิ่งตอนให้เอียงประมาณ 45 องศา

4. ประมาณ 7 วันค่อยนำกิ่งตอนตั้งขึ้นประมาณ 1 เดือน ก็สามารถนำไปปลูกในแปลงได้อย่างไรก็ตามวิธีการใช้เป๊าะเป็นภาชนะปลูกมีข้อเสียคือ ปลวกมักจะเข้าทำลายกัดกินไม้ทำให้ผุง่าย  นอกจากนั้นเมื่อเก็บกิ่งตอนลำไยทิ้งไว้นาน ๆ จะมีรากโผล่ออกจากเป๊าะ เมื่อโดนแสงแดดรากอาจได้รับอันตราย  มีวิธีการหลีกเลี่ยงปัญหานี้ในกรณีที่เก็บกิ่งตอนไว้นาน ๆ ควรใช้ถุงพลาสติกสีดำขนาด 8*10 นิ้วเป็นภาชนะ 

3. การเสียบกิ่ง
               
การปลูกลำไยในปัจจุบันชาวสวนลำไยมักปลูกลำไยด้วยกิ่งตอน  จึงทำให้เกิดปัญหาโค่นล้มเนื่องจากลมพายุ  ทั้งนี้เนื่องจากระบบรากของลำไยที่ได้จากการตอนกิ่งเป็นระบบรากพิเศษ ระบบรากแบบนี้จะแผ่กว้างไปในแนวนอน  จากการสังเกตรากของลำไยจะน้อยกว่า รากของลิ้นจี่ ประกอบกับลำไยมีทรงพุ่มทึบ และกว้างในปีที่ลำไยติดผลมาก ๆ เมื่อเกิดลมพายุจึงมักจะโค่นล้ม พบว่าปีหนึ่ง ๆ ลำไยถูกพายุโค่นล้มเป็นจำนวนมาก วิธีการที่น่าจะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ คือการปลูกกิ่งพันธุ์ลำไยที่ขยายพันธุ์โดยวิธีการเสียบยอด โดยใช้ต้นตอที่เพาะจากเมล็ด ซึ่งจะมีระบบรากแก้วที่สามารถหยั่งลึกลงไปในดิน ซึ่งวิธีการขยายพันธุ์แบบนี้ได้รับความนิยมในประเทศออสเตรเลีย แต่อย่างไรก็ตามการเสียบกิ่งจำเป็นที่จะต้องอาศัยเทคนิคต่าง ๆ ในการทำจึงจะประสบผลสำเร็จ ซึ่ง พาวิน (2537)ได้แนะนำดังนี้
 

การเตรียมต้นตอ
               
ต้นตอที่จะใช้ในการเสียบกิ่งควรมีอายุประมาณ 1 ปี หรือมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5– 1.0 เซนติเมตร               

การเตรียมยอดพันธุ์ดี
               
ยอดลำไยที่ใช้ในการเสียบกิ่งควรเป็นกิ่งกระโดง  กิ่งกึ่งอ่อนกึ่งแก่ ปราศจากโรคโดยเฉพาะโรคพุ่มไม้กวาด ขนาดของกิ่งควรมีความยาวประมาณ 6–8 นิ้ว ทำการริดใบออกให้เหลือใบไว้ 2–3 ใบรวม (compound  leaves) มีใบย่อย 2–3 คู่

ฤดูกาลในการเสียบยอด
               
ควรทำการเสียบยอด สามารถทำได้ทุกฤดู                

ขั้นตอนในการเสียบกิ่ง 
ใช้วิธีการแบบเสียบลิ่มซึ่งได้ผลถึง 0 กว่าเปอร์เซ็นต์

- ตัดยอดต้นตอสูงจากพื้น 3–4 นิ้ว ผ่าต้นตอให้ยาวประมาณ 1 นิ้ว
- เฉือนโคนกิ่งพันธุ์ดีเป็นรูปลิ่มยาวประมาณ  1  นิ้ว
- เผยอรอยผ่าบนต้นตอออกแล้วสอดโคนกิ่งพันธุ์ดี จัดแนวเนื้อเยื่อเจริญให้ชิดกัน
- พันด้วยผ้าพลาสติก จากนั้นนำไปใส่ในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ นำไปเก็บไว้ในร่มประมาณ 40–50 วัน จึงเปิดถุง การเปิดถุงให้เปิดวันละนิด เพื่อให้ต้นลำไยปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมภายนอก 

4. การทาบกิ่ง
               
การเตรียมต้นตอ
               
เลือกต้นตออายุประมาณ 1–2 ปี เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.4–0.6 มิลลิเมตร นำต้นตอมาล้างรากและตัดรากบางส่วนออก นำไปจุ่มในสารเร่งราก IBA ความเข้มข้น 8,000–10,000 ส่วนต่อล้าน  นาน 5 วินาที  หุ้มด้วยขุยมะพร้าวซึ่งบรรจุในถุงขนาด 4X6 นิ้ว  พบว่ากิ่งทาบออกรากได้ถึง 95 เปอร์เซ็นต์  ในขณะที่กิ่งไม่ได้ใช้สารออกรากเพียง 65 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังมีการทดลองใช้  NAA ความเข้มข้น 2,000 ส่วนต่อล้านสามารถชักนำให้กิ่งทาบเกิดรากได้ถึง 92 เปอร์เซ็นต์ 

การเตรียมกิ่งพันธุ์ที่ดี
               
เลือกกิ่งกระโดงที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใกล้เคียงกับต้นตอ ความยาวประมาณ 20 นิ้ว ควรเป็นกิ่งที่ได้รับแสงแดด               

วิธีการทาบกิ่ง
               
ใช้วิธีการทาบกิ่งแบบไซด์วีเนีย เช่นเดียวกับการทาบกิ่งมะม่วง 

5. การเสริมราก
               
วิธีการเสริมรากลำไยในปัจจุบันยังไม่ได้มีการศึกษาอย่างแน่ชัด แต่อย่างไรก็ตามมีผู้กล่าวถึงการเสริมรากลำไยว่า หลังจากเสริมรากไประยะหนึ่งปรากฏว่า ต้นตอดันกิ่งตอนให้ลอยขึ้นจากพื้น ดังนั้นจึงน่าจะเลือกใช้วิธีการทาบกิ่งและการเสียบกิ่งแทนการเสริมราก






คำแนะนำสำหรับการใช้สารกลุ่มคลอเรต
เร่งการออกดอกลำไยอย่างปลอดภัย

(เฉพาะโซเดียมคลอเรตและโพแทสเซียมคลอเรต) 

1.   คุณสมบัติของสารกลุ่มคลอเรต               
1.1 เมื่อผสมกับกรดกำมะถันจะเกิดอันตรายและสามารถระเบิดได้             
1.2 สารบริสุทธิ์เป็นผลึกใสหรือผงสีขาว มีคุณสมบัติไม่ติดไฟแต่จะช่วยให้สารอื่นเกิด การลุกไหม้ได้ดีขึ้น               
1.3 เป็นส่วนผสมในการผลิตวัตถุระเบิด พลุ และไม้ขีดไฟ             
1.4 ละลายได้ในน้ำและในสารละลายอื่นเช่น แอลกฮอล์อัลคาไลน์(ด่าง)และกลีเซอรอล เป็นต้น 

2. ข้อควรระวังในการใช้สารกลุ่มคลอเรต
               
2.1 เป็นวัตถุอันตรายชนิดวัตถุระเบิด อาจเกิดระเบิดได้เมื่อได้รับความร้อนสูง      
2.2 อาจเป็นอันตรายต่อพืช  ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด              2.3 เก็บรักษาไว้ให้ห่างจากวัตถุไวไฟ ประกายไฟ และหลีกเลี่ยงการใช้ผสมกับสารอินทรีย์ทุกชนิด เช่น กำมะถัน ผงถ่านปุ๋ยยูเรีย น้ำตาลทราย สารกลุ่มซัลเฟตและเกลือแอมโมเนียเกือบทุกชนิด เช่น แอมโมเนียมคลอไรด์ และแอมโมเนียมซัลเฟต เป็นต้น เพราะจะทำให้ง่ายต่อการติดไฟและอาจเกิดระเบิดอย่างรุนแรงขึ้นได้  
2.4 ไม่ควรทุบ บด กระแทกสาร หรือทำให้สารเกิดการเสียดสีโดยเด็ดขาด เพราะแรงเสียดทานจะทำให้สารเกิดระเบิดได้  
2.5 ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและตา ทำลายเม็ดโลหิตแดง เป็นอันตรายต่อไตและกล้ามเนื้อหัวใจ จึงควรทำความสะอาดร่างกายทันทีหลังการใช้สาร
      
ข้อควรคำนึงก่อนใช้สาร

1. ไม่ควรใช้สารในช่วงเวลาที่ลำไยมีใบอ่อน
2. ต้นลำไยที่จะใช้สารควรเป็นต้นที่สมบูรณ์เท่านั้น
3. ควรมีแหล่งน้ำในสวนลำไย
4. ควรใช้สารตามอัตราที่กำหนดในรูปของสารบริสุทธิ์  

ห้ามผสม
กับสารอื่นใด
       










3. วิธีการใช้สาร
               
3.1 วิธีการราดลงดิน               
3.2 วิธีการพ่นสารทางใบ               
3.3 วิธีการฉีดเข้ากิ่ง 

3.1 วิธีการราดลงดิน
                  
1. หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตควรดูแลรักษาต้นลำไย โดยการตัดแต่งกิ่ง ให้ปุ๋ยและพ่นยาป้องกันกำจัดศัตรูพืชบำรุงต้นให้สมบูรณ์ โดยให้ต้นลำไยมีการแตกใบใหม่อย่างน้อย 1-2 ชุดขึ้นไป และช่วงเวลาให้สารควรอยู่ในระยะใบแก่หรืออย่างต่ำต้องอยู่ในระยะใบเพสลาดขึ้นไป       

2. ก่อนการให้สารถ้าเป็นไปได้ให้งด หรือลดการให้น้ำลงเพื่อให้ต้นลำไยได้พักตัว และลดการดูดธาตุไนโตรเจนมากลำไยอาจแตกใบอ่อน หรืออาจแตกช่อเพียงพอที่ไม่ทำให้ต้นลำไยเหี่ยวเฉาเท่านั้น                 

3. ทำความสะอาดบริเวณทรงพุ่ม โดยกำจัดวัชพืช และกวาดวัสดุคลุมดินออกไปจากโคนต้น ไม่จำเป็นต้องสับหรือพรวนดิน ถ้าดินแห้งเกินไปควรรดน้ำให้ชุ่มก่อนราดสาร                

4. อัตราการใช้สาร ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์หรือความเข้มข้นของเนื้อสาร ชนิดของดิน ขนาดของทรงพุ่มและระยะเวลา ควรใช้สารที่มีความเข้มข้นของเนื้อสารไม่ต่ำกว่า 95% โดยมีอัตราการใช้สารดังนี้
- ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของทรงพุ่มต้นลำไย 4-5 เมตร ใช้สาร 100-200 กรัมต่อต้น   
- ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของทรงพุ่มต้นลำไย 5-7 เมตร ใช้สาร 200-400 กรัมต่อต้น
-  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของทรงพุ่มต้นลำไย มากกว่า 7 เมตร ใช้สาร 500 กรัมต่อต้น 

5. ใช้สารคลอเรตในอัตราที่กำหนดตามขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของทรงพุ่มต้นลำไย ผสมกับน้ำ  80 ลิตร ใช้ไม้คนให้ทั่วจนสารละลายเป็นเนื้อเดียวกัน บรรจุสารละลายในภาชนะที่ปิดมิดชิดขณะนำไปราด               

6. ราดสารละลายที่ผสมแล้วลงดินบริเวณชายพุ่มเป็นแนววงแหวนกว้างประมาณครึ่งเมตร เนื่องจาก
บริเวณชายพุ่มเป็นบริเวณที่ลำไยมีรากฝอยที่กำลังเจริญเติบโตจึงสามารถดูดซึมสารละลายคลอเรตเข้าสู่ลำต้นได้อย่างรวดเร็ว   

7. ในช่วง 10 วันแรกหลังราดสาร ต้องรดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ เพื่อให้ปริมาณสารละลายคลอเรตเคลื่อนที่เข้าสู่ระบบรากของลำไยได้ดีและเร็วขึ้น ลดการเกิดพิษภัยกับต้นลำไยและสารสะสมในดิน  
8. หลังจากราดสารประมาณ 20-30 วัน ลำไยเริ่มออกดอก ควรให้น้ำแก่ลำไยให้ชุ่มชื้นสม่ำเสมอ เพื่อให้การพัฒนาของดอกเป็นไปอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ควรดูแลป้องกันกำจัดโรคและแมลงตามความจำเป็น   

9. สวนลำไยที่จะราดสารต้องมีแหล่งน้ำ เพื่อให้น้ำแก่ต้นลำไยหลังราดสาร และตลอดฤดูกาลติดผลของลำไยโดยเฉพาะการบังคับลำไยออกดอกนอกฤดูในช่วงที่ลำไยติดผล จะต้องให้น้ำแก่ลำไยอย่างเพียงพอเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี              

10. ต้นลำไยที่บังคับให้ออกดอกโดยการราดสารคลอเรตในปีที่ 1 แล้วในปีต่อไป ควรเว้นเพื่อบำรุงต้นลำไยให้มีความสมบูรณ์เต็มที่ ไม่ให้ต้นทรุดโทรม ดังนั้นควรแบ่งลำไยออกเป็น 2 แปลงและทำสลับปีเว้นปี 

11. ควรใช้สารคลอเรตตามอัตรากำหนด หากใช้มากไปจะมีผลทำให้ต้นลำไยโทรมเร็วขึ้น
 

3.2 
วิธีการพ่นสารทางใบ(เฉพาะสารโพแทสเซียมคลอเรต)การปฏิบัติในการพ่นสารทางใบ
1. ต้นลำไยต้องสมบูรณ์
2. การพ่นสารทางใบสามารถใช้ได้กับลำไยทุกพันธุ์
3. ควรพ่นสารในช่วงทีลำไยมีใบแก่เท่านั้น(ระยะ 4-8 สัปดาห์หลังจากแตกใบอ่อน)เพราะหากพ่นในระยะที่ลำไยมีใบอ่อนอาจออกดอกไม่ดี หรืออาจทำให้ช่อดอกสั้น
4. หลังจากพ่นสารพ่นแล้ว 25-30 วัน ลำไยจะเริ่มแทงช่อดอก 


วิธีการพ่นสาร
1. ผสมสารให้มีความเข้มข้นในอัตราส่วนผสมสาร 2 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร โดยคนสารให้ละลายในน้ำให้หมดก่อนแล้วจึงเทใส่ถังพ่นยา
2. ควรพ่นในตอนเช้า หรือช่วงอากาศไม่ร้อยแต่ถ้ามีฝนตกในระยะ 1-2 วันหลังจากพ่นแล้วควรพ่นสารซ้ำอีกครั้ง               

ข้อควรระวัง
1. ไม่ควรใช้สารในปริมาณสูงกว่าคำแนะนำ เพราะหากใช้ในอัตราสูงอาจทำให้ลำไยใบไหม้และใบร่วงได้
2. การพ่นควรพ่นให้โดนส่วนของปลายยอดลำไยให้มากที่สุดเพราะจะเป็นจุดที่มีการออกดอก3. ให้คำนึงเสมอว่าสารที่ใช่พ่นเป็นอันตราย ต้องระมัดระวังและต้องทำความสะอาดชุดที่สวมใส่ทันทีหลังจากพ่นแล้ว 


*ไม่ควรผสมสารใดๆ  ในสารที่ใช้พ่น* 


3.3 การฉีดเข้ากิ่ง
                    
1. เลือกต้นลำไยที่มีใบแก่เต็มที่ เลือกกิ่งที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-15 ซม.
2. ใช้สว่านเจาะกิ่งลึก 1-1.5 นิ้ว                    
3. นำปลอกพลาสติกที่นิยมใช้กับต้นทุเรียนตอกลงไปในรูให้แน่น                
4. ละลายสารคลอเรต อัตรา 0.25 กรัมต่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่ง 1 เซนติเมตร ละลาย
น้ำ 4 ซีซี.                  
5. จากนั้นใช้หลอดฉีดยาขนาด 60 ซีซี.ดูดสารละลานที่ผสมจนหมดและดูดอากาศเข้าไปอีกประมาณ 10 ซีซี. เพื่อเป็นตัวดันสารละลานอีกทางหนึ่ง แล้วฉีดเข้าไปในกิ่งโดยผ่านทางปลอกพลาสติก                 
6. อัดสารละลายเข้าไปโดยใช้ลวดแข็งหรือตะปูสอดบริเวณรูของหลอดและด้านฉีดที่เจาะไว้ให้ยึดติดกับกระบอกหลอดฉีดยาเพื่อป้องกันแรงอัดดีดตัวก้านฉีดออกมาจากนั้นรอจนสารละลายหมดดึงหลอดฉีดยาและปลอกออกเพื่อใช้งานต่อไป 


การปฏิบัติดูแลรักษาหลังจากใช้สาร
1. ต้องปฏิบัติและดูแลรักษาต้นลำไยตามคำแนะนำการผลิตลำไยอย่างถูกต้องและเหมาะสม(GAP)
ของกรมวิชาการเกษตร            
2. ในช่วงการเจริญและพัฒนาของช่อดอกและผล ต้องมีการให้น้ำและปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ มิฉะนั้นจะทำให้ได้ผลผลิตที่ไม่มีคุณภาพและต้นโทรมได้            
3. ถ้าลำไยติดผลมากเกินไป อาจต้องช่วยลดปริมาณผลลงโดยการตัดช่อผลออกให้เหลือ 60-70 ผลต่อช่อ
4. การให้ปุ๋ยทางดิน ระยะที่ผลลำไยขยายตัว ใช้ปุ๋ยไนโตรเจน : ฟอสฟอรัส : โพแทสเซียม  อัตราส่วน 3 : 1 : 2 หรือ 4 : 1 : 2 หรือใกล้เคียง และช่วงก่อนเก็บเกี่ยวควรให้ปุ๋ยอัตราส่วน 1 : 2 : 4 หรือ 1 : 2 : 5 หรือใกล้เคียง โดยใส่ก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือนครึ่ง
5. ควรตรวจการระบาดของแมลง เช่น หนอนวักใยกินดอกลำไย และหนอนเจาะผลลำไยขณะที่ผลอ่อน 

การเก็บรักษาสารกลุ่มคลอเรต
               
ต้องเป็นไปตามข้อแนะนำในข้อมูลความปลอดภัย               
1. ต้องไม่ให้สัมผัสกับอินทรีย์วัตถุ เช่น  ปุ๋ยคอก  ปุ๋ยยูเรีย  ถ่าน             2. ต้องไม่ผสมกับสารกำมะถัน  ผงถ่าน  ขี้เลื่อย  ปุ๋ยคอก  ปุ๋ยยูเรีย  สารฆ่าแมลง  อาหารสัตว์  น้ำมันเชื้อเพลิง  ผ้า  กระดาษ  เศษไม้แห้ง  เพราะเมื่อได้รับความร้อนอาจทำให้เกิดลุกไหม้หรือระเบิดได้               
3. เก็บไว้ในที่เย็น  และแห้ง  อากาศถ่ายเทได้ดี               
4. เก็บให้พ้นจากมือเด็ก 

เมื่อเกิดเพลิงไหม้
1. ต้องอพยพผู้คนให้ห่างออกไปอย่างน้อย 1,000 เมตรโดยรอบ
2. ให้ใช้น้ำเท่านั้นดับเพลิง 


ข้อควรปฏิบัติในการใช้สารกลุ่มคลอเรต
1. ภาชนะบรรจุสารต้องมีฝาปิดมิดชิด
2. เก็บไว้ในอาคารที่มีการถ่านเทอากาศที่ดีและต้องมีพื้นที่ว่างเหลือไว้โดยรอบ เก็บให้ห่างจากอาหาร เครื่องดื่มและอาหารสัตว์ ห้ามว่างบนพื้นไม้และต้องจัดว่างสารไม่ให้สูงเกิน 3 เมตร
3. ควรใช้สารนี้ในรูปของเหลว โดยผสมกับน้ำ
4. สวมใส่ชุดป้องกันที่ทำด้วยใยสังเคราะห์ไวนิล นีโอพรีน หรือ พีวีซี
5. สวมรองเท้าบู๊ตที่ทำด้วยใยสังเคราะห์ไวนิล หรือนีโอพรีน
6. สวมแว่นตาชนิดที่กระชับลูกตา
7. สวมถุงมือยางและสวมหมวก
8. ห้ามสูบบุหรี่ขณะราดสารละลายกลุ่มคลอเรตและต้องระวังอย่าให้สารสัมผัสกับผิวหนังหรืออวัยวะต่างๆโดยตรง
9. หลังราดสารแล้วต้องทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำสะอาดทุกครั้ง
10. ระวังสัตว์เลี้ยงประเภทวัว ควาย อย่าให้มากินหญ้าบริเวณที่ใช้สาร เพราะอาจทำให้เป็นอันตรายถึงตายได้
11. การใช้สารกลุ่มคลอเรตเพื่อทำให้ลำไยออกดอก ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างถูกต้อง 


ข้อควรปฏิบัติเมื่อได้รับสารพิษในกลุ่มคลอเรต
               
สารในกลุ่มคลอเรตเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายในระคายเคืองต่อผิวหนังและตา และหากสะสมในร่างกายในปริมาณมากอาจมีผลต่อไตและเม็ดเลือดแดงได้ ดังนั้น หากร่างกายได้รับสารดังกล่าวควรปฏิบัติดังนี้

1. หากสารสัมผัสผิวหนังหรือเข้าตา ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 15 นาที
2. ถ้าสูดหายในเอาก๊าซพิษที่เกิดจากการสลายตัวของสารนี้เข้าไป ให้ย้ายผู้ป่วยไปในที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ให้ออกซิเจน และนำส่งแพทย์ทันที
3. หากกลืนเข้าไปรีบทำให้อาเจียนทันทีและดื่มน้ำมาก ๆ ถ้ามีอาการรุนแรงควรให้ออกซิเจนและนำส่งแพทย์
4. หากผู้ป่วยหมดสติ ห้ามปฐมพยาบาลโดยวิธีผายปอดแบบปากต่อปาก 


พิษของสารคลอเรตและการแก้พิษ
อาการพิษ
1. ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ซีด เนื่องจากโลหิตจาง ถ้าเป็นมากทำให้ไตวายได้ มีอาการปัสสาวะไม่ออกและมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางอาจทำให้ชัก อาการที่เห็นเด่นชัดและสังเกตได้ง่ายที่สุดคืออาเจียนและตัวเขียว
2. หากได้รับสารคลอเรตเข้าร่างกายในปริมาณ 15-30 กรัมสำหรับผู้ใหญ่และ 7 กรัมสำหรับ
เด็ก ทำให้เสียชีวิตได้ แต่ยังไม่เคยมีรายงานการเสียชีวิตเนื่องจากสารนี้มาก่อน 

การแก้พิษ
1. ทำให้ผู้ป่วยอาเจียนโดยเร็ว โดยการล้วงคอหรือให้ยาช่วยอาเจียนหรือให้กลืนผงถ่านเข้าไปเพื่อช่วยดูดซับสารคลอเรตในกระเพาะ ลดการดูดซึมเข้าสู่เส้นเลือดและให้ดื่มน้ำมาก ๆ ถ้ามีอาการรุนแรงควรให้ออกซิเจนและนำส่งแพทย์
2. ให้ดื่มสารละลาย ซึ่งประกอบด้วยโซเดียมไธโอซัลเฟต 2-3 กรัม ผสมกับ โซเดียมไบคาร์บอเนต ความเข้มข้น 5% จำนวน 200 ซีซี. จะสามารถทำลายฤทธิ์ของคลอเรตได้ หรือให้แพทย์ทำการล้างสารออกจากเลือด
3. ให้ดื่มนมเพื่อลดการระคายเคืองต่อกระเพาะ
4. ทำให้ร่างกายผู้ป่วยอบอุ่นและอยู่นิ่ง ๆ จนอาการเขียวค่อยๆ ลดลง
5. หากอาการต่างๆ ค่อยๆ ลดลงภายใน 12 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะสามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้6. หากได้สัมผัสสารละลาย ให้รีบล้างออกทันทีด้วยน้ำสะอาดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 15 นาที7. ถ้าสูดหายใจเอาก๊าซพิษที่เกิดจากการสลายตัวของสารนี้เข้าไปให้ย้ายผู้ป่วยไปในที่มีอากาศถ่ายเทได้
8. หากผู้ป่วยหมดสติ ห้ามปฐมพยาลบาลโดยวิธีผายปอดแบบปากต่อปาก



                                               

เอกสารอ้างอิง
 กรมส่งเสริมการเกษตร. 2542. ปัญหาลำไยนอกฤดูกับโพแทสเซียมคลอเรต  (KCIO3). เอกสารประกอบการสัมมนา วันที่ 12 มีนาคม 2542 ณ  ห้องประชุมสุธรรม   อารีกุล อาคารสารนิเทศ 50 ปี  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมควบคุมมลพิษ  กระทรวงวิทยาซาสตร์  เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม  2542.  ข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีเรื่องแนวทางปฏิบัติในการใช้และเก็บรักษาสารโปแตสเซียมคลออย่างปลอดภัย.  เอกสารแผยแพร่ ชิติ  และคณะ.  2542.  ผลของสารโพแทสเซียมคลอเรต   (KCIO3)   ต่อการออกดอกนอกฤดูของลำไยพันธุ์ดอ.   รายงานการสัมมนาฮอร์โมนพืชเพื่อการผลิตไม้ผลนอกฤดูกาล.  วันที่  9-11  มิถุนายน  2542  ณ  โรงแรมเค  พี  แกรนด์  สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ   ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งประเทศไทย,  จันทบุรี.  หน้า  30-37.ประทีป   กุณาศล.   2542.   การผลิตลำไยนอกฤดู.   เอกสารโรเนียว.   สถาบันวิจัยพืชสวน   กรมวิชาการเกษตร.  4  หน้า. พงศ์พันธุ์   จึงอยู่สุข.  2542.   การใช้โพแทสเซียมคลอเรต  (KCIO3)   บังคับให้ลำไยออกดอก.   เอกสารโรเนียว.   สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร  เขตที่  1  จังหวัดเชียงใหม่.  4  หน้า ยุทธนา   และคณะ.  2542.  ผลของสารโพแทสเซียมคลอเรตทางใบ  ทางเลือกที่ดีกว่าของชาวสวนลำไย.   วารสารเคหการเกษตร  ฉบับเดือน  กันยายน  2542. รวี   เสรฐภักดี.   2542.   การออกดอกของลำไยและการใช้สารบังคับ.  เอกสารโรเนียว.   สถาบันวิจัยและพัฒนา  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 5 หน้า. วินัย วิริยะอลงกรณ์  วรินทร์ สุทนต์  พาวิน มะโนชัย   นภดล  จรัสัมฤทธิ์  แลเสกสันต์  อุชสหตานนท์.   2542.  

การศึกษาเบื้องต้นของวิธีการฉีดสารโพแทสเซียมคลอเตรเข้าทางกิ่งต่อการออกดอกติดผลของลำไยพันธ์ชมพู. รายงานการสัมมนาฮอร์โมนพืชเพื่อการผลิตไม้ผลนอกฤดูกาล. วันที่ 9-11  มิถุนายน 2542 ณ โรงแรม เคพี แกรนด์ สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ  ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งประเทศไทย,  จันทบุรี.  หน้า  15-20. วีระวรรณ  เรืองยุทธการณ์. พิษคลอเรต. เอกสารโรเนียว.   หน่วยพิษวิทยา
                       
ภาควิชานิติเวชศาสตร์   คณะแพทย์ศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.  2  หน้า. ฝ่ายส่งเสริมการเกษตรสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตรมหาวิทยาลัยแม่โจ้  จ. เชียงใหม่
50290
โทร.  0-53873938 , 0-53873939


http://www.it.mju.ac.th/dbresearch/organize/extention/book-fruit/fruit041.htm 






การทำให้ลำไยออกดอกเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม

1) หลังเก็บเกี่ยวลำไยในเดือนสิงหาคม ให้ตัดแต่งกิ่งลำไย โดยการตัดกิ่งทั้งแนวนอนและแนวตั้งของทรงพุ่ม ให้เหลือความยาวเพียง 3 เมตรเป็นอย่างมาก พร้อมทั้ง เปิดทรงพุ่มตรงกลางทรงพุ่มให้แสงแดดส่องถึง

2) ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ผสมกับปุ๋ยยูเรียหรือแอมโมเนียมซัลเฟต ในอัตรา 1:1 โรยหรือหว่านปุ๋ยบริเวณชายพุ่มของทรงต้นลำไย ต้นละ 1-2 กิโลกรัม จากนั้นรดน้ำทุก 3 วันโดยรดน้ำครั้งละประมาณ 150-250 ลิตร/ต้น ถ้าวันใดฝนตกก็งดไปแต่ต้องให้ต้นลำไยได้น้ำทุก 3 วัน

3) ประมาณ 30-40 วัน หลังการรดน้ำและใส่ปุ๋ย ต้นลำไยจะแตกใบอ่อนชุดที่ 1(ราวเดือนกันยายน)ให้ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 เหมือนการใส่ปุ๋ยครั้งแรก ลำไยจะออกใบอ่อนชุดที่ 2 ในราวกลางเดือนตุลาคม

4) ราวกลางเดือนตุลาคมให้ใส่ปุ๋ยสูตร 0-46-0 ผสมกับปุ๋ยสูตร 0-0-60 อัตรา 1:1 โดยใส่ปุ๋ยต้นละ 2-3 กิโลกรัม  เพื่อให้ลำไยพักตัวและสะสมอาหาร พร้อมทั้งลดปริมาณการให้น้ำเหลือเพียงครั้งละ 100 ลิตร/ต้น

5) ควรฉีดพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34 ในอัตรา 150 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร จะช่วยให้ใบอ่อนของลำไยแก่เร็วขึ้น และช่วยยับยั้งการแตกใบอ่อนชุดใหม่อีกด้วย โดยควรฉีดพ่นราวกลางเดือนตุลาคม

6) ในกลางเดือนตุลาคม ใบอ่อนชุดแรกจะแก่และมีสีเขียวเข้ม ให้สังเกตเส้นกลางใบจะมีสีอมเหลืองเล็กน้อย จับใบขยำดูจะรู้สึกว่าใบกรอบและหนาดี จังหวะนี้คือ ช่วงสำคัญที่จะต้องเลือกเพื่อใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตอย่างเหมาะสม ขอแนะนำว่า ถ้าเป็นลำไยต้นอ่อนอายุ 4-5 ปี ควรฉีดพ่นทางใบในอัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วทรงพุ่มจากนั้นประมาณ 50-55 วัน ต้นลำไยจะออกดอกเอง และในกรณีที่ลำไยมีอายุมากกว่า 6 ปีไปแล้ว  แนะนำให้ใช้โพแทสเซียมคลอเรต ในอัตรา 10 กรัมต่อพื้นที่ใต้ทรงพุ่ม 1 ตารางเมตร โดยผสมน้ำรดให้ทั่วใต้ทรงพุ่มของต้นลำไย (กรณีที่เป็นดินเหนียวมากอาจจะต้องเพิ่มอัตราใช้เป็น 15 กรัม)จากนั้นประมาณ 45-50 วัน ต้นลำไยจะออกดอกเอง

การนำเอาสารเคมีอื่นๆ มาประกอบใช้ในการฉีดพ่นทางใบอื่นๆ เช่น ปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรท ไธโอยูเรีย สารสกัดจากสาหร่าย หรือแม้กระทั่งสารปลดปล่อยแก็สเอทธีลีน (อีเทฟอน) จำเป็นต้องคำนึงถึงความพร้อม คือ อายุของใบอ่อนชุดแรก และพิจารณาถึงการสะสมอาหารของต้นลำไยด้วย ซึ่งอาจเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย

อย่างไรก็ดีการฉีดพ่นช่อดอกลำไย ก่อนติดผลด้วยสารอะมิโน ซีเนกอน 2000 และฉีดพ่นสาร ไซฟา
มินบีเค หลังติดผลแล้วพบว่าจะช่วยเรื่องคุณภาพของช่อดอก และการติดผลได้ดีขึ้น ส่วนการป้องกันโรคและแมลงศัตรูลำไยในช่วงติดผลให้ดำเนินการดังนี้


http://www.erawanagri.com/htm/whatnew03.htm





หน้าก่อน หน้าก่อน (4/6) - หน้าถัดไป (6/6) หน้าถัดไป


Content ©