-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 458 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ปศุสัตว์11




หน้า: 1/2


นกเขาชวา      


นกเขาชนิดนี้เป็นนกเขาที่มีขนาดเล็ก จะมีเสียงขันไพเราะเป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วไป นอกจากนี้ยังเชื่อถือกันว่า นกเขาชวา เป็นนกที่นำโชคลาภมาให้แก่ผู้เลี้ยงอีกด้วย
 

ชื่อวงศ์

Columbidae

ชื่ออื่น

นกเขาเล็ก Merbok/Ketitir (Malay) ; Perkutut (Indonesia)

ชื่อสามัญ

Zebra Dove ; Barred ground Dove ; Javanese striated Ground Dove

Peaceful Dove

ชื่อวิทยาศาสตร์

Geopelia striata (Linnaeus)


ถิ่นกำเนิด : มีอาศัยอยู่ในประเทศแถบเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ พบมากในแถบภาคกลางภาคใต้ของไทย ปัจจุบันถูกนำมาเลี้ยงในประเทศและแพร่พันธุ์ได้ดีไปทุกภาค พบได้ในทุ่งโล่ง และป่าละเมาะ นกเขาชวา ยังพบในฟิลิปปินส์ และออสเตรเลียด้วย

รูปร่างลักษณะ : ตัวเล็กกว่านกเขาชนิดอื่น ๆ ขนปกคลุมตัวสีน้ำตาลหัวสีเทา หรือมีสีที่หัวเป็นสีน้ำเงิน ด้านข้างคอมีแถบสีดำสลับกับแถบขาวเป็นลายตามขวาง ด้านหลังสีเข้มมีขีดขวาง คล้ายกับลายของม้าลาย ในต่างประเทศจึงเรียก นกเขาชวา ว่า "ม้าลาย"  ด้านท้องสีจาง ใต้ลำตัวเป็นสีขาวมีขีดขวางเล็ก ขอบท้ายของขนหางสีขาว

อุปนิสัย : นกเขาชวา ชอบอาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง ป่าละเมาะชายทุ่งและบริเวณที่ทำการเพาะปลูก ชอบอยู่กันเป็นคู่ บางทีก็เห็นอยู่เดี่ยวแต่ไม่ ชอบหากินอยู่เป็นฝูงใหญ่ มักขันบ่อย ๆ ในยามเช้าและยามเย็น เป็นนกที่เชื่องคนง่าย  

การขยายพันธุ์ : เป็นนกที่มีผัวเดียว เมียเดียว เมื่อเกี้ยวพาราสี นกตัวผู้จะขันและก้มหัวเป็นจังหวะและแพนหางออก วางไข่ครั้งละ1-2ฟอง ลูกนกจะเติบโตอย่างรวดเร็ว มีขนงอกออกมาเต็มตัวภายใน 14วัน เมื่อลูกนกลงรังแล้ว พ่อแม่นกจะเริ่มวางไข่อีกครั้ง นกเขาเป็นนกที่อายุยืน บางตัวอายุมากถึง 20 ปี  

การสร้างรัง : เป็นรังที่เกิดจากการสานกิ่งไม้แบบหยาบๆ ประกอบด้วยหญ้า รากไม้ กิ่งไม้ ทำรังในพุ่มไม้ที่อยู่ระดับสูงจากพื้นดิน รังกว่างประมาณ 8-10 ซ.ม. และ ลึก2-3ซ.ม. ระยะเวลาฟักไข่ประมาณ 14วัน พ่อและแม่นกจะช่วยกันป้อนอาหารลูกนก ระยะแรกๆจะขยอกของเหลวคล้ายน้ำนมจากลำคอเพื่อป้อนลูกนก และระยะต่อมาจะขย้อนอาหารที่เป็นเมล็ดพืชที่ย่อยบ้างแล้วจากกระเพาะพักอาหารป้อนลูกนกจนหัดกินอาหารเองได้





นกเขาชวา

 

      นกเขาชนิดพันธุ์นี้เป็นนกเขาที่มีขนาดเล็กมากที่สุดเป็นนกที่มีเสียงขันไพเราะเป็น ที่ชื่นชอบของคนทั่วไป นอกจากนี้ยังเชื่อถือกันว่าเป็นนกที่นำโชคลาภมาให้แก่ผู้เลี้ยงอีกด้วย


ชื่อวงศ์  Columbidae
ชื่ออื่น  นกเขาเล็ก นกเขาแขก
ชื่อสามัญ Zebra Dove or Barrec ground Dove or Javanese striated Ground Dove
ชื่อวิทยาศาสตร์  Geopelia striata striara (Linnaeus)


ถิ่นกำเนิด


พบมีอาศัยอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย (ชวา) มาเลเซีย ในไทยนั้นพบมากทางภาคใต้เมื่อ 70ปีก่อนซึ่งปัจจุบันถูกนำมาเลี้ยงในประเทศและแพร่พันธุ์ได้ดีไปทุกภาคจนกลายเป็นนกประจำถิ่น พบได้ในทุ่งโล่ง และป่าละเมาะ และมีพบในฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย


รูปร่างลักษณะ


ตัวเล็กกว่านกเขาไฟ ตัวเล็กกว่านกเขาชนิดอื่น ๆ ขนปกคลุมตัวสีน้ำตาลหัวสีเทา หรือมีสีที่หัวเป็นสีน้ำเงิน ด้านข้างคอมีแถบสีดำสลับกับแถบขาวเป็นลาตามขวาง ด้านหลังสีเข้มมีขีดขวาง คล้ายกับลายของม้าลายในต่างประเทศ จึงเรียกนกเขา "ม้าลาย"ด้านท้องสีจาง ใต้ลำตัวเป็นสีขาวมีขีดขวางเล็ก ขอบท้ายของขนหางสีขาว


อุปนิสัย


ชอบอาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง ป่าละเมาะชายทุ่งและบริเวณที่ทำการเพาะปลูก ชอบอยู่กันเป็นคู่ บางทีก็เห็นอยู่เดี่ยวแต่ไม่ ชอบหากินอยู่เป็นฝูงใหญ่ มักขันบ่อย ๆ ในยามเช้าและยามเย็น เป็นนกที่เชื่องคนง่าย


ลักษณะที่ดี

ปากงอเหมือนขอช้าง
มีสร้อยรอบคอ,ขนที่คอสีหมึกดำ
อกนูน
ขนสีดำมีสีขาวแซมที่ปีกหรือขนขาวทั้งตัว
หน้าผากขาว
ขนขาวรอบขอบตา,ขอบตากว้าง
ขนหางยาวยื่นออกเป็นเส้นเดียว
เท้าสีขาวเขียว ฝ่าเท้าดำ


สร้างโดย: 
ด.ญ.ธัญญรัตน์ ชลภัทรอภิวิชญ์ ม.1/8 เลขที่ 34




ลักษณะนกเขาที่ดี

นักเลี้ยงนกเขามีความเชื่อว่าลักษณะลีลาการขันของนกเขาแต่ละตัวจะเป็นไปตามรูปร่างลักษณะพิเศษของนกเขาตัวนั้นๆลักษณะของนกเขาจึงเป็นเครื่องทำนายเสียงนกได้ด้วยดังนี้

1.นกตัวใดปากยาวเสียงขันยาว

2.นกตัวใดจมูกดังนกพิราบ เสียงดูเป็นกังวาน

3.นกตัวใดมีเส้นเป็นร่องเข็มขัด นกตัวนั้นเสียงขัน "กุก" หายจะมีแต่เสียง "ค"

4.นกที่มีปากล่างไม่เรียว เสียงขันจะกุกพอง กุกเพราะ และเบา ถ้าปลายปากเรียวแหลม จะกุกแห้งและหนัก

5.นกที่มีขนเคราใต้ปากมากกว่าธรรมดาจะมีเสียงอ่อนหวาน เสียงขรมดี

6.นกที่มีรูจมูกยาวและรูจมูกไม่ปิดจะมีเสียงขันและเสียงขันอ่างขรมดี

7.นกที่คอยาว คอเรียว ลักษณะเสียงขันจะใหญ่พองถ้าคอพองและยาวตลอดไม่

เรียบ เสียงใหญ่และแข็ง

8.นกที่มีลำคอสั้นเสียงจะเล็ก

9.นกที่ลายขนเรียงเป็นแถวตามขวางนกนั้นจะขันกุกไม่ซ้ำถ้าลายซ้ำซ้อนจะขันกุกซ้ำ

10.นกตัวใดลิ้นเล็กสั้นจะเสียงใหญ่ ถ้าลิ้นใหญ่เสียงสั้น



การเลี้ยงนกเขาชวา
ลูกนกที่ออกจากไข่นานประมาณ ๑/๒ - ๑ วัน จะเริ่มหัดบิน ครั้นเวลาล่วงมานานประมาณ ๒๐ - ๒๕ วัน แม่นกจะเริ่มออกไข่ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ในระยะนี้พ่อนกจะไล่จิกตีลูกนก โดยปกติประมาณ ๒๐ วัน หลังจากที่ลูกนกออกจากไข่ควรจะแยกเอาลูกนกไปใส่กรงเล็กทันที เป็นการป้องกันพ่อนกที่จะจิกตีลูกนกจนตาย ในระยะแรกที่ลูกนกต้องจากอกพ่อนกแม่นก ลูกนกอาจกินอาหารเองไม่เป็น เจ้าของจะต้องเอาถั่วเขียวบดพอแหลกป้อนให้กิน จนกว่าลูกนกกินอาหารเองได้เอง จึงค่อยนำลูกนกไปปล่อยในกรงใหญ่ เพื่อให้ลูกนกหัดบินออกกำลังประมาณ ๓– ๖ เดือน แล้วจึงค่อนนำมาเลี้ยงในกรงเล็กใหม่ แต่ถ้านกเขาเพศเมียยังไม่ออกไข่ใหม่ เจ้าของก็อาจไม่ต้องแยกลูกนก จากพ่อแม่ก่อนก็ได้ เพียงแต่เจ้าของนก ต้องค่อยหมั่นเติมอาหารจำพวกเมล็ดดอกหญ้าเล็ก ๆ ข้างฟ่างและถั่วเขียวบดในถ้วยอาหารที่อยู่ในกรงเสมอ ๆ อย่าให้ขาด ในช่วงนี้พ่อนกจะเป็นผู้คอยป้อนอาหารให้ลูกนกเอง


เมื่อลูกนกเริ่มโตขึ้นก็จะต้องเปลี่ยนอาหารเป็นข้าวเปลือกเมล็ดสั้น และให้อาหารเสริมพวกดอกหญ้า ข้าวฟ่าง ข้าวเหนียวดำ ปัจจุบันบางคนก็ให้นกเขากินตั๊กแตนด้วย เป็นการเสริมธาตุนก ทำให้นกมีกำลังขัน แต่ก็ต้องระวังอย่าให้นกกินตั๊กแตนที่มีสีน้ำตาลดำ เพราะทำให้นกเขาตายได้ ตั๊กแตนที่เสริมกำลังควรเป็นตั๊กแตนที่มีสีเขียวตัวอ่อนที่มีลักษณะป้อม ๆโดยต้องเด็ดเขาตั๊กแตนทิ้งให้หมด ให้เลือกแต่ลำตัว และปีกอ่อน ๆ เท่านั้น ให้กินครั้งละ ๓ ตัว เดือนหนึ่งให้กินประมาณ ๒ ครั้ง แต่นกเขาที่แข็งแรงแล้วไม่จำเป็นต้องให้ตั๊กแตนอีก และจะต้องหมั่นเปลี่ยนน้ำให้สะอาดอยู่เสมอ


การเลี้ยงนกเขาไว้ในบ้านเพื่อประดับบ้าน หรือเลี้ยงไว้ฟังเสียงเพื่อความสุขใจ หรือจะเลี้ยงเพื่อเป็นการค้า หรือจะเลี้ยงเพื่ออะไรก็แล้วแต่ ควรจะเลี้ยงมากกว่า ๑ ตัวเสมอ เพราะนกเขาจะได้มีความสุขไม่หงอยเหงา อย่างน้อยที่สุดควรเลี้ยง ๑ คู่ และควรเป็นคู่ต่างเพศจะได้เป็นเพื่อนคู่ขัน ประชันกันแก้เหงา โดยจะเลี้ยงไว้กรงละตัว หรือ ๒ ตัว รวมกันไว้ในกรงค่อนข้างใหญ่ก็ได้


นักเล่นนกทางภาคใต้นิยมเลี้ยงนกเขาชวาแบบฝึกตลอดเวลา พยายามที่จะนำไปโยงตากแดดตอนเช้าก่อนไปทำงาน เพื่อให้นกเขาได้ขันออกเสียงเต็มที่ เหมือนนกที่อยู่ในป่า ยิ่งถ้าเป็นชาวบ้านก็แทบจะหิ้วกรงนกเขาติดตัวตลอดเวลา เวลาไปกรีดยางหรือทำสวนจะเอาไว้กับต้นไม้ใกล้ตัว ทำงานไปฟังเสียงนกเขาขันไปด้วย แม้แต่เวลพักผ่อนจะเข้าร้านน้ำชากาแฟก็ยังหิ้วกรงนกเขาเข้าไปในร้านด้วย วิธีการเช่นนี้ช่วยให้นกเขาเชื่อง ไม่ตื่นกลัวคน ไม่ตกใจง่าย เวลาอยู่ในบ้านก็คอยดีดนิ้วร้องเรียกให้นกเขาขันคูช่วยให้นกเขาคุ้นกับคน


การแขวนกรงนกเขาให้ถูกที่เป็นเรื่องสำคัญมาก ที่ใดแขวนแล้วนกไม่ชอบ นกเขาจะดิ้น ซึ่งอาจจะเป็นเพราะกลัวอะไรสักอย่างหนึ่งก็ได้ สถานที่แขวนกรงนกจะต้องอยู่ห่างจากศัตรูของนกเขา เช่น แมว หนู ตุ๊กแก แมลงสาบ ค้างคาวที่ชอบบินผ่านกรง แม้แต่สถานที่สีฉูดฉาดก็อาจทำให้นกเขาตื่นตกใจได้ ที่ใดแขวนแล้วนกเขาขันบ่อย ๆ ก็ควรจะแขวนไว้ที่นั่นประจำ เพราะจะทำให้ชินต่อสถานที่ นกเขาจะหมดกังวลกับสิ่งหวาดกลัว และถ้ามีสถานที่กว้างขวางพอก็ควรจะแขวนกรงนกเขา ให้มีระยะห่างกันพอสมควร ถ้าห่างกัน ขนาดนกเขามองไม่เห็นซึ่งกันและกันได้ยิ่งดี เพราะนกเขาจะได้ตะเบ็งเสียงดังเต็มที่ เป็นการขันโดยไม่ออมเสียง ทำให้คนฟังได้รู้เสียงขันที่แท้จริงของนกเขานั้น


สถานที่ที่ดีที่สุด คือ ชายคาบ้านหรือสถานที่ใกล้หน้าต่าง เพราะนกเขาจะได้มองเห็นท้องฟ้า เห็นทิวทัศน์ธรรมชาติ และตัวอาคารของบ้านด้วย ช่วยให้นกเขาเกิดความเคยชินกับบ้าน




อาหารที่จำเป็นสำหรับใช้เลี้ยงนกเขาชวา
เนื่องจากนกเขาชวาเดิมอยู่ในป่า อาหารที่นกเขาชวาชอบกินมักจะเป็นเมล็ดข้าวเปลือกนา ดอกหญ้า ดิน ทราย ฯลฯ เมื่อคนนำนกเขาชวามาเลี้ยง จึงจำเป็นต้องหาอาหารให้คล้ายกับอาหารที่นกเขาเคยกิน

อาหารนกเขาชวาที่จำเป็น ได้แก่

ข้าวเปลือกเมล็ดสั้น ไม่นิยมเลี้ยงนกเขาด้วยข้าวเปลือกเมล็ดยาวแบบข้าวเปลือกที่ใช้เลี้ยงไก่ ทั้งนี้เพราะถ้าเมล็ดยาวอาจจะทำให้ข้าวเปลือกติดคอ เพราะนกเขาคอเล็กกว่าไก่อาจทำให้นกเขาชวาตายได้ แต่ทั้งนี้ก่อนจะให้เป็นอาหารของนกเขาชวา จะต้องเอาข้างเปลือกเมล็ดสั้นนั้นมาล้างน้ำ เพื่อให้ฝุ่นละอองที่ติดตามเมล็ข้าวเปลือกออกให้หมดก่อนแล้วจึงนำตากแดดให้แห้งสนิท

ข้างฟ่าง ข้าวฟ่างใช้เลี้ยงนกเขาชวามี ๓ สี คือ สีแดง สีเหลือง และสีดำ

ดอกสมุทรโคดม เป็นข้าวที่มีลักษณะเป็นเมล็ดกลมขนาดเมล็ดถั่วเขียว

ดอกหญ้าปากควาย ปกตินกเขาชวาชอบกินดอกหญ้าปากควายมาก แต่ไม่ควรให้มากเกินไป เพราะจะทำให้นกผอมและเสียงแห้ง

เมล็ดผักเสี้ยน ช่วยเป็นยาระบายอ่อน ๆ ของนกเขาชวา

ลูกเซ่ง เป็นหญ้าชนิดหนึ่งขึ้นปะปนกับต้นข้าวในนา

งาดำ งาดำเปลือกเป็นยา ดีกว่างาขาว

ถั่วเขียว ก่อนให้เป็นอาหารนกเขาขวา ควรตำเล็กน้อย พอให้เปลือกแตก แต่อย่าให้ละเอียดนัก ถั่วเขียวจำเป็นต้องให้แก่นกที่กำลังผสมพันธุ์อย่างมาก เพื่อช่วยบำรุงร่างกาย

ทรายและเปลือกหอยป่น ช่วยบำรุงกระดูกของนกเขาชวา และช่วยย่อยอาหารโดยเฉพาะเปลือกหอยป่น มีแคลเซียม และช่วยบำรุงกำลังให้นก ส่วนทรายทะเลช่วยให้ระบบย่อยอาหารของนกดีขึ้น

ดินลูกรัง นกเขาชวาชอบกินดินลูกรังที่ได้จากภูเขา ดินลูกรังให้ธาตุเหล็กแก่นก

ดินดำ เป็นดินปลวกดำ นกชอบ

น้ำสะอาด ต้องมีไว้อย่าให้ขาด

ข้าวไร่ นกเขาชอบกินแต่ไม่ควรให้บ่อย เพราะจะทำให้นกน้ำหนักเบา และขันเสียงตก

อาหารทุกอย่างที่กล่าวมาทั้งหมด ยกเว้นข้าวเปลือก น้ำสะอาด และทราย ก่อนจะให้เป็นอาหารนก จะต้องนำมาคลุกเคล้าผสมกัน ซึ่งในปัจจุบันอาจไม่มีครบทุกอย่าง แต่ก็มีผู้ผสมอาหารสำเร็จรูปสำหรับเลี้ยงนกเขาชวาโดยเฉพาะ ซึ่งจะหาซื้อได้ทั่วไป หรือจะซื้อแต่ละชนิดมาผสมเองก็ได้




โรคท้องเสีย 
นกเขามักจะเป็นโรคท้องเสีย สังเกตได้เมื่อเห็นว่านกเขาถ่ายเป็นน้ำ หรือถ่ายมูลค่อนข้างเหลว และถ่ายบ่อย ๆ เมื่อนกเขามีอาการเช่นนี้แสดงว่านกเขากำลังมีธาตุไม่ดี หรืออาจสังเกตได้ที่ก้นนกเขา ถ้าบริเวณก้นนกเขามีมูลดำเปื้อนเปรอะติดรัง ก็แสดงว่านกเขากำลังเป็นโรคท้องเสีย

ยาที่ใช้รักษา

ใช้ต้นตะไคร้สดตัดเป็นท่อนเล็ก ๆ แล้วทุบให้ช้ำ ๆ หรือหั่นบาง ๆ ใส่ลงในถ้วยน้ำในกรงนกเขาชวา ให้นกเขากินโดยต้องเปลี่ยนน้ำและตะไคร้บ่อย ๆ และสังเกตอาการถ่ายของนกเขา ซึ่งจะพบว่ามูลนกจะค่อย ๆ เริ่มแข็งขึ้นหรือไม่ ถ้าเห็นว่าเริ่มเป็นปกติ จนถึงระยะที่ปกติ ก็ต้องหยุดและให้น้ำธรรมดาแทน

ถ้าไม่ใช้น้ำตะไคร้ อาจจะใช้เปลือกมังคุดตากแห้งชื้นเล็ก ๆ ฝนกับน้ำปูนใส ๒ ช้อนโต๊ะ จนน้ำค่อนข้างขัน แล้วตักเพียง ๑ ช้อนกาแฟ มากรองใส่ปากนกเขา สังเกตดูหลังจากกินยาแล้วประมาณ ๓ ชั่วโมง อาการดีขึ้นหรือไม่ ถ้ายังท้องเสียอยู่ก็ต้องให้ยาอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงให้อาหารตามปกติ หลังจากให้ยาครั้งหลังประมาณ ๓ ชั่วโมง นกเขาก็จะมีอาการดีขึ้นตามลำดับ

โรคหวัดธรรมดา 

ถ้านกเขาชวามีอาการสะบัดหัวบ่อย ๆ และมีน้ำเปียกบริเวณจมูกจะต้องคอยระวังอย่าให้นกเขาชวาถูกความเย็นมากเกินไป หรืออย่าให้นกเขาถูกลมโกรกมาก เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้นกเขาเป็นหวัดได้ง่าย เมื่อนกเขาเป็นหวัดอย่าปล่อยทิ้งไว้แม้จะเป็นหวัดธรรมดาที่ไม่ร้ายแรงก็ตาม ต้องรีบรักษา มิฉะนั้นจะเป็นบ่อเกิดของโรคปอดบวม อันอาจจะทำให้นกเขาตายได้

ยาที่ใช้รักษา ใช้หัวหอมแดงหัวใหญ่ ๆ ปอกเปลือกทุบทั้งหัวพอให้แตก อย่าให้ละเอียดนัก แล้วเอาผ้าขาวบางห่อหัวหอมนั้น แล้วนำไปแขวนไว้ในกรงติดกับซี่กรงในระดับเดียวกับจมูกนกขณะที่นกเขาเกาะที่คอน โดยต้องเปลี่ยนหัวหอมทุบใหม่ ๆ ทุก ๒ - ๓ วัน หรือจะใช้สำลีชุบยูคาลิปตัสห่อผ้าขาวบางแขวนไว้แบบเดียวกันก็ได้ แต่บางทีนกเขาก็ไม่ชอบกลิ่นยูคาลิปตัส จึงต้องคอยสังเกตให้ดีด้วย แต่ปรากฏว่าปัจจุบันจะให้ยาที่หาซื้อง่ายแบบยูคาลิบตัสมากกว่า

โรคท้องผูก 

บางครั้งนกเขาชวาอาจเป็นโรคท้องผูกได้ เช่นเดียวกับเป็นโรคท้องเดิน สังเกตได้เมื่อนกเขาถ่ายมูลเป็นก้อนแข็ง และกินอาหารน้อยลง มีอาการซึมในตอนเย็น ๆ แสดงว่านกเขากำลังเป็นโรคท้องผูก

ยาที่ใช้รักษา ใช้ดีเกลือผสมน้ำให้รสอ่อน ๆ กรอกปากนกเขาประมาณ ๒ ช้อนชา หรือใช้น้ำมะนาว ๑ ผล กรองให้สะอาดกรอกปากนกเขา แล้วใช้น้ำสะอาดกรอกปากนกเขาครั้งละ ๒ ช้อนชาทุก ๓ ชั่วโมง จนกว่านกเขาจะมีอาการดีขึ้น หรือไม่ก็ใช้เมล็ดพริกขี้หนูแช่น้ำปลาอย่างดี ๑ คืน ป้อนให้นกกินครั้งละ ๔ -๕ เมล็ด หรือไม่ก็ใช้ต้นเหงือกปลาหมอที่ยังสด ย่อยเป็นชิ้นเล็ก ๆ แช่น้ำปลาอย่างดี ๑ คืน ป้อนให้นกกิน ๒ - ๕ ชิ้นต่อครั้ง

โรคกระออบน้ำ 

โรคนี้เกิดจากการลืมให้น้ำนกเขาชวาเกินกว่า ๑ ชั่วโมง ถ้านกเขาเป็นโรคนี้อย่ารีบร้อนเทน้ำใส่ถ้วยน้ำมาก ๆ เพราะนกเขาจะกินน้ำมากจนจุก แล้วยิ่งกระออบน้ำมากขึ้น บางครั้งนกเขาอาจสำลักน้ำจนตายได้ ดังนั้น จึงควรเทให้นกเขากินเพียง ๒ - ๓ หยดก่อน

ยาที่ใช้รักษา ใช้ใบชุมเห็ดสด ๆ ๑ ใบ บดเคล้ากับน้ำปูนใส (ปูนกินหมาก) แล้วนำมากรองให้สะอาดใส่แทนน้ำธรรมดาให้กินประมาณ ๒ - ๓ วัน นกเขาชวาก็จะหายจากโรคกระออบน้ำ

โรคตาเจ็บ 

ถ้านกเขาชวามีตาข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างแฉะ มีน้ำเยิ้ม และมีขี้ตารอบ ๆ ดวงตา ยิ่งมีขี้ตามากก็แสดงว่า นกเขาเป็นโรคตาเจ็บมาก

ยาที่ใช้รักษา ใช้เถาตำลึงขนาดนิ้วก้อยที่ตัดมาใหม่ ๆ ๒ ท่อน ยาวประมาณท่อนละ ๕ - ๖ นิ้ว แล้วป่าเถาตำลึงนั้นให้นำในเถาตำลึงออกมาเป็นฟองเข้าในตาของนกเขา โดยต้องจ่อปลายเถาตำลึงให้อยู่ใกล้ตาของนกเขามากที่สุด แต่อย่าให้ถูกตานกเขา เถาตำลึง ๒ ท่อนใช้สำหรับตา ๒ ข้าง โดยต้องเป่าเถาตำลึงแต่ละท่อนเรื่อยไป จนกว่าน้ำในเถาจะหมด แต่ต้องระวังอย่าให้น้ำถูกหัวนกเขาจนเปียก แม้ตาจะเจ็บเพียงข้างเดียวก็ตามก็ได้ ซึ่งปกติทางภาคใต้จะนิยมรักษาโรคตานกเขาชวาด้วยเถาตำลึง

โรคพยาธิ 
สังเกตนกเขาที่มีอาการเป็นโรคพยาธิได้เมื่อนกเขาถ่ายมูลออกมาโดยมีพยาธิออกมาด้วย กินอาหารจุแต่กลับผอมลง มีอาการเซื่องซึม ถ้าปล่อยให้เป็นจนเรื้อรังโดยไม่รีบปรึกษา นกเขาจะตายในที่สุด

          ยาที่ใช้รักษา ให้นำใบกำเม็งสดมาตำให้ยุ่ยละเอียด แล้วนำมาคลุกกับกะปิอย่าให้มากนัก พอมีรสเค็ม ปั้นเป็นเม็ดยายาว ๆ ขนาดเม็ดพริกขี้หนู ป้อนให้นกกินประมาณ ๒ - ๓ เม็ด ตามอายุอ่อนแก่ของนก หรือจะใช้ดีเกลือผสมน้ำรสอ่อน ๆ กรอกปากนกประมาณ ๒ ช้อนชา วันละ ๓ ครั้ง จนกว่านกจะถ่ายมูลออกมาพร้อมกับพยาธิ ทำเช่นนี้วันรุ่งขึ้นนกเขาก็จะถ่ายมูลออกมาพร้อมกับพยาธิ จากนั้นต้องหยุดยาอีก ๑๐ วัน หลังจาก ๑๐ วันแล้วจึงให้ยาเพื่อถ่ายพยาธิอีก ทำเช่นนี้จนกว่าจะแน่ใจว่ากำจัดพยาธิได้หมดแล้วจึงหยุดให้ยา

โรคเหงาหงอย 
เวลานกเขามีอาการขันไม่ค่อยปกติ ยืนนิ่งแล้วซึมเป็นเวลาค่อนข้างนาน แสดงว่านกเขาเป็นโรคเหงาหงอย
ยาที่ใช้รักษา ใช้พริกขี้หนูสดตำให้ละเอียดคลุกกับข้าวสาร ควรใช้ปลายข้าวเพราะเมล็ดเล็กและสั้น แล้วจึงนำมาตากแดดให้หมาด ๆ แล้วเอามาคลุกไข่แดง เพื่อให้ไข่แดงช่วยเคลือบความเผ็ดร้อนของพริก นำไปตากแดดอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นเก็บไว้ในขวด อย่าให้ชื้นแล้วจึงป้อนนกเขาทุกเช้า ครั้งละ ๓– ๕ เมล็ด จนครบ ๗ วัน จากนั้นจึงป้อน ๓ หรือ ๗ วันต่อครั้ง เมื่อนกเขาเริ่มขยันขัน นั่นคือนกเขาหายหงอยเหงา จึงค่อยป้อนให้ ๑๕ วันต่อครั้ง
โรคตาเป็นฝี 
นกเขาที่มีอาการบวมเป็นเม็ดคล้ายสิวที่ขอบตา และมีหัวอย่างฝี มีสีขาวหรือเหลือง ข้างที่จะเป็นฝีจะหรี่เล็กลงแบบครึ่งหลับครึ่งตื่น มีน้ำเยิ้ม แสดงว่านกเขาชวาเป็นฝีตา
ยาที่ใช้รักษา ใช้ใบเสือหมอบอ่อน ๆ ๓ - ๔ ใบ ใส่ในฝ่ามือทั้ง ๒ ข้าง แล้วขยี้ให้ละเอียด ใส่ปูนแดงขนาดนิ้วหัวแม่มือผสมกันจนจนใบเสือหมอบกับปูนกลายเป็นฟองจากนั้นใช้นิ้วหัวแม่มือปาดฟองไปป้ายที่หัวฝีบริเวณขอบตานก แต่อย่าให้ฟองนั้นเข้าตานกทำแบบนี้เพียงครั้งเดียวก็พอ นกเขาก็จะมีอาการดีขึ้นตามลำดับ หรือจะใช้ยาที่ซื้อจากสัตวแพทย์ก็ได้




หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©