-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 514 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ละมุด




หน้า: 3/3



"ละมุดยักษ์มาเลย์" คือ ซีเอ็ม.19 

ผู้ อ่านไทยรัฐ จำนวนมากที่ชื่นชอบปลูกไม้ผลกินได้ โดยเฉพาะละมุด สงสัยว่า "ละมุดยักษ์มาเลย์" คือละมุดอะไร ซึ่งความจริงแล้ว ละมุดดังกล่าวก็คือ "ละมุด ซีเอ็ม.19" ที่เคยแนะนำในคอลัมน์ไปแล้ว เป็นละมุดของประเทศมาเลเซีย ที่ "สถาบันวิจัยและพัฒนา การเกษตรมาเลเซีย" หรือ (MARDI) ได้ใช้ความพยายามนานถึง 12 ปี ทำการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ ละมุดชนิดต่างๆ จำนวนกว่า 30 สายพันธุ์ จนในที่สุดก็ได้พันธุ์ "ซีเอ็ม.19" หรือ "ละมุดยักษ์มาเลย์" มี ชื่อเฉพาะว่า (CIRA MEGA) มีลักษณะพิเศษคือ ผล มีขนาดใหญ่มาก เมื่อผลโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ยถึง 594 กรัมต่อผล เนื้อผลมีรสชาติหวานหอมอร่อยมาก ไม่เละแม้เนื้อจะสุกเต็มที่ และ เปลือกผลสามารถรับประทานได้พร้อมกับเนื้อไม่ต้องเสียเวลาปอกเปลือก รสชาติยังคงหวานหอม ไม่มีรสขมหรือฝาดเจือปนเลย จึงทำให้ "ละมุดยักษ์ มาเลย์" เป็นที่นิยมปลูกและนิยมรับประทานอย่างกว้างขวางในประเทศไทยเวลานี้ เนื่องจากเป็นละมุดที่มีผลดก ปลูกแล้วคุ้มค่า ทั้งปลูกเก็บผลรับประทานในครัวเรือนและปลูกหลายๆต้นเพื่อเก็บผลขาย


อย่าง ไรก็ตาม มีผู้ปลูกจำนวนมากแยกแยะไม่ออกระหว่าง "ละมุดยักษ์มาเลย์" กับละมุดสาลี่ เวียดนาม เพราะมีลักษณะผลและขนาดใกล้เคียงกันมาก จึงขอชี้ข้อแตกต่างให้ทราบดังนี้คือ ขอบใบของ "ละมุดยักษ์มาเลย์" จะเรียบ ส่วนของเวียดนามเป็นคลื่น เมล็ดของ "ละมุดยักษ์ มาเลย์" มี 1 เมล็ด ต่อ 1 ผล ของเวียดนามมี 2-4 เมล็ดต่อผล ผลของละมุดเวียดนามค่อนข้างกลม ส่วนผลของ "ละมุดยักษ์ มาเลย์" มี 2 รูปแบบคือ รูปกลม แต่จะมีขนาดใหญ่กว่า และรูปรีต่างกันชัดเจน ที่สำคัญเนื้อของ "ละมุดยักษ์มาเลย์" จะมีความละเอียดกว่า ไม่เป็นทราย รสหวานจัดมาก หากนำผลสุกเก็บในตู้เย็นจะเก็บได้นานกว่า 10 วัน รสชาติยังเหมือนเดิม


ละมุด ยักษ์มาเลย์ เป็นไม้ ยืนต้น สูง 3-5 เมตร แตกกิ่งก้านแน่น ปลูกได้ในดินทั่วไปของประเทศไทย เป็นสายพันธุ์ที่ทนต่อความแห้งแล้งดีมาก ติดผลดกทั้งต้น ในหนึ่งต้นจะมีผล 2 รูปทรงคือ กลม และกลมรี หลังปลูก 3-4 ปี จะติดผลชุดแรก และติดผลดกสม่ำเสมอ นิยมขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและเสียบยอด ใครต้องการกิ่งพันธุ์ไปปลูก และ ดูต้นจริงจำนวนมาก ไปชมและติดต่อได้ที่สวนของ "คุณประ-ภาส สุภาผล" เลขที่ 33/4 หมู่ 7 ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี หรือโทร.  08-0646-4699  ราคาและวิธีปลูกให้ได้ผลผลิตดีสอบถามกันเองครับ.


ที่มา  http://kaewpanya.rmutl.ac.th/2552/index.php?option=com_content&view=article&id=852:qq--19&catid=13:2009-07-22-
02-38-10&Itemid=18

                   **************************************


มนตรี แสนสุข


ละมุดมะกอกใหญ่ (หวานสุก) นงลักษณ์ ทองศรีสมบูรณ์

อดีตผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2 ต.ดอนไผ่ อ.ดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี แนะทำละมุดนอกฤดูขาย ได้ราคาดี


ละมุด ผลไม้รสหวานหอม นิยมบริโภคกันทั่วไป พื้นที่ปลูกแหล่งใหญ่อยู่ในเขตอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี มีแพร่หลายอยู่ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์มะกอกใหญ่ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า พันธุ์หวานสุก กับอีกพันธุ์หนึ่งคือ "พันธุ์มาเลย์" หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "พันธุ์กระสวย" รูปลักษณะทรงผลจะเป็นทรงรีคล้ายไข่ไก่ ส่วนพันธุ์หวานสุกผลจะออกกลมป้อมๆ ละมุดเป็นพืชชอบน้ำ ปลูกได้ทั้งในระบบพื้นที่ราบหรือยกร่องสวน


คุณนงลักษณ์ ทองศรีสมบูรณ์ เกษตรกรหญิงคนเก่งแห่งบ้านหมู่ที่ 2 ตำบลดอนไผ่ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 ที่เพิ่งจะวางมือจากการดูแลลูกบ้านเมื่อไม่นานมานี้เอง สืบเนื่องจากหมดวาระการดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านมา 5 ปี และอายุเกิน 60 ปี จึงหมดสิทธิ์ต่อการเข้ามาแข่งขันเป็นผู้ใหญ่บ้านอีกครั้งหนึ่ง ทุกวันนี้ อดีตผู้ใหญ่นงลักษณ์จึงอยู่กับบ้านช่วยลูกชายและหลานๆ ทำสวนในที่สวนของตนเอง เนื้อที่ 14 ไร่เศษ


คุณนงลักษณ์ บอกว่า ปลูกละมุดเต็มพื้นที่ 14 ไร่ มีละมุดอยู่ราว 500 ต้น ส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์มะกอกใหญ่ หรือพันธ์หวานสุก ละมุดแต่ละต้นอายุราว 12 ปี ปลูกมาแล้วรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 2 ทุกต้นให้ผลผลิตดี


"ละมุดที่สวนจะทำให้เก็บผลได้ในช่วงเดือนกันยายน จะได้ราคาดีกว่าละมุดที่ติดตามฤดูกาล เก็บขายในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ซึ่งในช่วงนั้นจะมีละมุดออกมาพร้อมๆ กันมากมาย ส่งผลให้ราคาตกต่ำ ซึ่ง 2-3 ปี ที่ผ่านมา ราคาขายหน้าสวนถึงกับขาดทุนเลยทีเดียว"


คุณนงลักษณ์ กล่าวและว่า สำหรับที่สวนจะหนีไม่ให้ผลผลิตออกช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน โดยทำให้เก็บผลละมุดได้ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ซึ่งทำได้ไม่ยุ่งยากอะไรเลย


คุณนงลักษณ์ แนะนำต่อไปอีกว่า ก่อนอื่นช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม อากาศกำลังหนาว เป็นช่วงที่ละมุดพักต้น ระหว่างนี้ต้องทำให้ต้นเบาก่อน คือเก็บผลละมุดผลเล็กผลน้อยออกให้หมด จากนั้นก็บำรุงต้นให้ต้นสะสมอาหารให้เต็มที่ ใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 ให้แตกใบอ่อนครั้งหนึ่ง


เตรียมต้นให้สมบูรณ์จนกระทั่งเดือนมีนาคมดูว่าต้นสมบูรณ์เต็มที่ ใบเขียวเข้มเป็นมันดีแล้ว งดการให้น้ำ ตากดินให้แห้ง ให้ต้นอดน้ำไม่เกิน 20 วัน ดูใบจะสลดเพราะขาดน้ำ ถึงตอนนั้นให้ใส่ปุ๋ยทางดิน สูตรเสมอ อัตราส่วน 1 ต้น ประมาณครึ่งกิโลฯ ไม่ต้องมาก พอหว่านปุ๋ยเสร็จให้ขึ้นน้ำทันทีจนดินชุ่ม แล้วเว้นระยะ 2 วัน ขึ้นน้ำที ใบจะสดใสขึ้นมา ไม่ช้าต้นก็จะแตกใบและติดตาดอกให้เห็น ก่อนดอกบานฉีดยาป้องกันแมลงหวี่ขาว ยาควบคุมหนอน และป้องกันเชื้อรา ผสมฉีดให้ทั่ว ประมาณ 2 ครั้ง หลังดอกบานงดการใช้ยา จนกระทั่งละมุดติดผลเล็กๆ คราวนี้ต้องฉีดยาครอบจักรวาลคุมหนอนคุมแมลงทุก 7 วัน ไปเรื่อยๆ


จนกระทั่งผลใหญ่ขนาดผลมะยม จึงค่อยๆ ห่างยา แต่ก็ต้องคุมเป็นระยะ ป้องกันไม่ให้หนอนหรือแมลงลงเจาะผล จนกระทั่งผลใหญ่ขนาดหัวแม่มือจึงจะปลอดภัย

สำหรับฮอร์โมนบำรุงดอก บำรุงผล ก็ต้องให้ทุกระยะของการเจริญเติบโต ทางดินต้องเปลี่ยนสูตรปุ๋ยตามการเจริญเติบโต พอผลโตก็ให้ปุ๋ยหว่านครั้งหรือสองครั้งก่อนเก็บ หากมีฝนตกฉีดฮอร์โมนไม่สะดวกก็ให้ปุ๋ยเกล็ดบ้าง


"เกษตรกรดำเนินสะดวก เป็นนักเคมีกันทุกคน มีอะไรๆ ผสมปนเปกันไปหมด หากจะถามว่าต้องใช้ยาสูตรอะไรบ้าง คงบอกไม่ได้ เพราะว่าลูกชายฉันเขาเป็นนักเคมี ผสมโน่นผสมนี่ เอายาสูตรนั้นสูตรนี้มาผสมปนเปกัน แล้วฉีดป้องกันแมลงศัตรูทำลายทั้งดอก ทั้งผล แถมด้วยฮอร์โมนสูตรต่างๆ อีก ก็เลยบอกไม่ได้ว่าเป็นสูตรอะไร เพราะมันผสมปนเปกัน"

คุณนงลักษณ์ กล่าวอย่างอารมณ์ดี พร้อมกับบอกต่ออีกว่า ลูกชายฉันเขาก็เป็นนักเคมี เที่ยวไปคุยกับเพื่อนบ้านที่ทำสวนด้วยกัน แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน เกษตรกรย่านนี้ดีหน่อยที่ไม่ปิดบังเรื่องของการใช้ยา ใช้ปุ๋ย เราจึงสามารถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันนำมาใช้ในสวนได้ อีกทั้งตัวเองก็ต้องมีการประยุกต์ใช้กับสวนของเราด้วย


สำหรับการปลูกละมุดนั้นไม่ยุ่งยากเลย ใช้กิ่งตอนปลูกจะเหมาะกว่า คุณนงลักษณ์ บอกว่า ขุดหลุมให้ใหญ่สักหน่อย รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก เอากิ่งพันธุ์ลงปลูก รดน้ำสม่ำเสมอ พอต้นแข็งแรงใส่ปุ๋ยทางดินน้อยๆ ใช้สูตรเสมอก็ได้สะดวกดี ให้ปุ๋ย 3 เดือนครั้ง จนกระทั่งต้นเติบโตเต็มที่


ละมุดถ้าได้น้ำสม่ำเสมอ ได้ปุ๋ยบำรุงเต็มที่ ต้นจะโตเร็วมาก เพียงแค่ 3 ปี ก็ให้ผลผลิตแล้ว แต่ยังไม่เต็มที่ เข้าปีที่ 4 ละมุดจะเริ่มติดดกขึ้น จะไปให้ผลผลิตดีก็ช่วงปีที่ 5-6 ถึงคราวนี้ต้องบำรุงต้นก่อนติดดอกออกผล หลังเก็บผลผลิตแล้ว ตัดแต่งกิ่งใส่ปุ๋ย พักต้นให้ต้นสะสมอาหารจนเต็มที่จึงรดน้ำ แล้วก็ขึ้นน้ำอีกที ละมุดก็จะติดดอกออกผลอีกรุ่นหนึ่ง หากจะให้ละมุดติดผลนอกฤดูก็ให้เตรียมต้นช่วงวันเวลาดังกล่าวข้างต้น


คุณนงลักษณ์ กล่าวต่อไปอีกว่า พอเก็บผลลงมาจากต้น ก็ยังต้องมาผ่านพิธีการล้างผลกันก่อน โดยการนำผลมาใส่ใน "กร๊อ" ภาชนะทรงกลมทำด้วยตาข่ายหรือไม้ตีแนวขวางโดยรอบ ติดตั้งแช่ไว้ในน้ำครึ่งหนึ่ง เอาผลละมุดใส่ลงไปในกร๊อ ติดเครื่องมอเตอร์ ให้มอร์เตอร์หมุนกร๊อ ละมุดที่อยู่ในกร๊อจะกลิ้งหมุนล้างน้ำจนสะอาด ในกร๊อสามารถใส่ละมุดล้างได้ประมาณ 200 กิโลกรัม หมุนกร๊อในน้ำประมาณ 5 นาที จึงเอาผลละมุดที่ล้างน้ำแล้วออกมา ย้อมสีโดยตักละมุดในกร๊อออกมาด้วยสวิงตาข่ายหนาจุ่มในน้ำผสมสีย้อมละมุด แล้วนำลงในรางไม้เพื่อคัดละมุด


จากนั้นก็ใช้มือคัดแยกละมุดใส่ตระกร้าส่งขาย ละมุดที่เก็บออกมานี้ยังสุกไม่เต็มที่ จะต้องบ่มอีก 2 คืน จึงจะใช้ได้


คุณนงลักษณ์ บอกว่า ลูกชายอีกคนหนึ่งมีแผงขายผลไม้ที่กรุงเทพฯ เขามีลูกค้ามารับซื้อต่ออีกช่วงหนึ่ง ลูกค้าบางรายก็ต้องการละมุดดิบๆ อย่างนี้ เขาจะเอาไปบ่มเองหรือขาย ก็จะบอกลูกค้าว่าจะต้องบ่มต่อ หรือบางรายก็ต้องการละมุดบ่มสามารถรับประทานได้เลย เราก็จะแยกเอาไว้บ่มก่อน ขายตรงนี้อยู่ที่ผู้ซื้อว่าต้องการละมุดดิบหรือบ่มสุกแล้ว


ละมุดจากสวนจะส่งขายไปทั่วประเทศ ส่วนเรื่องของราคาละมุดนั้น คุณนงลักษณ์ บอกว่า หากทำให้เก็บผลได้ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมนี้ ก็ไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไร ปีนี้ราคาพอไปได้ แต่ 2-3 ปี ที่ผ่านมา ละมุดช่วงฤดูกาลคือ เก็บผลตอนเดือน เมษายน-พฤษภาคม ราคาตกถึงกับขาดทุน ละมุดถ้าขายต่ำกว่ากิโลกรัมละ 4 บาท จากหน้าสวน ก็ขาดทุนแล้ว ที่ผ่านๆ มาชาวสวนแย่ไปตามๆ กัน สาเหตุหนึ่งก็คือ ราคาปุ๋ย ราคายาเคมีแพงมาก


คุณนงลักษณ์ บอกว่า ละมุดสามารถปลูกได้ทั่วไป แต่ต้องมีข้อแม้ว่าดินต้องดี มีน้ำอุดมสมบูรณ์ สามารถบังคับน้ำได้ ก็สามารถปลูกละมุดให้ผลดีได้ ปลูกละมุดต้องใกล้แหล่งน้ำ หากปลูกระบบไร่ผลผลิตที่ออกมาจะต่างไปจากละมุดสวนแถบดำเนินสะดวก ละมุดจากสวนดำเนินฯสะดวกเนื้อจะละเอียดหวานหอม และกรอบ ส่วนละมุดจากพื้นที่ไร่เนื้อจะออกหยาบเป็นเนื้อทราย ทั้งๆ ที่เป็นละมุดพันธุ์เดียวกัน แต่พื้นที่ปลูกต่างกัน เนื้อละมุดจะออกมาไม่เหมือนกัน


คุณนงลักษณ์ กล่าวอีกว่า ใครๆ มักถามว่า ทำไม ต้องย้อมสีละมุดด้วย เกษตรกรชาวสวนละมุดก็สงสัยเหมือนกันว่าผู้บริโภคทำไมไม่ยอมรับละมุดที่ไม่ย้อมสี เกษตรกรเองไม่อยากเสียเงินไปซื้อสีย้อมละมุดมาย้อมหรอก ราคาค่าสีย้อมละมุดหนึ่งกิโลฯ ราคาพันกว่าบาทแล้ว ไม่ใช่ถูกๆ


ละมุดที่ไม่ย้อมสีผิวเปลือก ผลจะออกสีน้ำตาลขาว ดูไม่สวย ถ้านำมาวางคู่กับละมุดย้อมสี ผู้คนร้อยทั้งร้อยจะเลือกละมุดสวยที่ย้อมสี ในเมื่อผู้บริโภคต้องการละมุดสวย ผู้ขายก็ต้องทำละมุดสวยๆ ขายเช่นกัน ดังนั้น เกษตรกรจึงต้องผลิตละมุดสวยย้อมสีออกขายด้วยเหตุฉะนี้

สำหรับเกษตรกรรายใดสนใจในเรื่องของละมุด หรือจะซื้อไปขาย ไปดูงาน เชิญโทร. คุยกับ คุณนงลักษณ์ ได้ที่ โทร (081) 704-4194 เจ้าตัวบอกยินดีต้อนรับทุกท่าน...เชิญนะ เจ้าคะ


ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน






ละมุดยักษ์จากมาเลเซีย หนักกว่าครึ่งกิโลกรัมต่อผล
ปลูกได้ในเมืองไทย


ถึงแม้ละมุดจะมีช่องทางการตลาดไม่เท่ากับไม้ผลเศรษฐกิจอื่น ๆ แต่ที่ผ่านมาละมุดยังรักษาระดับราคาในท้องตลาด ได้ดีและไม่ตกต่ำ ถ้าเกษตรกรไทยได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ละมุดที่มีขนาดผลใหญ่และรสชาติดี ขายผลผลิตเป็นผลไม้แปลกและหายากจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการปลูกไม้ผลของเกษตรกรไทย

อย่างกรณีของ คุณประภาส สุภาผล บ้านเลขที่ 33/4 หมู่ 7 ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี 20260 โทร. 0-3823-7662 ได้ละมุดสายพันธุ์ใหม่มาจากประเทศมาเลเซียที่มีขนาดของผลใหญ่มาก เนื้อมีรสชาติหวานอร่อยไม่แพ้ละมุดสายพันธุ์อื่น น้ำหนักผลหนักที่สุดมีน้ำหนักผลถึง 594 กรัม (ประมาณ 6 ขีด) คาดว่าเป็นสายพันธุ์ละมุดที่มีขนาดผลใหญ่ที่สุดในโลก สถาบันวิจัยและพัฒนาการเกษตรมาเลเซีย (Mardi) ได้ใช้ความพยายามเป็นเวลานานถึง 12 ปี ที่ทำการวิจัยและพัฒนาจนได้ละมุดยักษ์สายพันธุ์นี้และใช้ชื่อพันธุ์ว่า CM 19

คุณประภาสปลูกละมุดยักษ์พันธุ์ CM 19 จำนวน 3 ต้น ปัจจุบันมีอายุต้นมากกว่า 2 ปี ต้นละมุดออกดอกและติดผลได้ดีเหมือนกับที่ปลูกในประเทศมาเลเซีย ที่สำคัญคือได้ผลละมุดที่มีขนาดผลใหญ่และรสชาติหวานอร่อยไม่แพ้กันจึงได้ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มโดยใช้ระยะปลูก 4x4 เมตร ถ้ามี พื้นที่มากจะใช้ระยะปลูก 6 x 6 เมตรก็ได้

โดยปกติแล้วละมุดจัดเป็นไม้ผลที่มีการดูแลรักษาไม่มากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับไม้ผลเศรษฐกิจชนิดอื่น มีหนอนม้วนใบและหนอนกินใบบ้าง ปัญหาสำคัญที่ควรระวังคือหนอนเจาะเปลือกเจาะต้น จัดเป็นไม้ผลที่ทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดีพอสมควร เนื่องจากละมุดยักษ์สายพันธุ์นี้มีการติดผลค่อนข้างดก การให้ปุ๋ยจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากต้นละมุดยักษ์จะเริ่มให้ผลผลิตในเชิงพาณิชย์เมื่อต้นมีอายุได้ประมาณ 2 ปี จะมีการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-16 ประจำทุกเดือน และช่วงที่ออกดอกจะเปลี่ยนมาใช้สูตร 8-24-24 อายุการเก็บเกี่ยวเหมือนกับละมุดบ้านเราคือหลังจากออกดอกจนถึง 7 เดือนโดยประมาณ
 
หลายคนอาจจะสับสนและเข้าใจว่าละมุดยักษ์มาเลเซียพันธุ์ CM 19 เป็นละมุดสายพันธุ์เดียวกับพันธุ์สาลี่ที่นำเข้ามาจากประเทศเวียดนามหรือไม่ (พันธุ์สาลี่จัดเป็นละมุดยักษ์ของเวียดนาม) ละมุดทั้งสองสายพันธุ์นี้จะมีข้อแตกต่างกัน 2 ประการ คือ ลักษณะของใบพันธุ์ CM 19 จะมีขอบใบเรียบ ใบของพันธุ์สาลี่จะมีขอบใบเป็นคลื่น ลักษณะของผลพันธุ์ CM 19 จะมีทรงผลยาวและขนาดใหญ่กว่า พันธุ์สาลี่ผลจะกลมและสั้น ในการขยายพันธุ์ละมุดยักษ์จะใช้วิธีการตอนกิ่งก็ได้แต่รากจะออกช้ามาก วิธีการขยายพันธุ์ที่ดีที่สุดควรจะใช้วิธีการเสียบยอดหรือทาบกิ่งก็ได้
 
เป็นที่พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าละมุดยักษ์พันธุ์ CM 19 จากประเทศมาเลเซียสามารถนำมาปลูกและเจริญเติบโตได้ดีในเกือบทุกพื้นที่ของประเทศไทย ในอนาคตเมื่อมีผลผลิตออกมาสู่ตลาดมากจะเป็นไม้ผลอีกหนึ่งทางเลือกของคนไทยและพัฒนาเป็นไม้ผลส่งออกได้




ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ 
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Columnid=40347&NewsType=2&Template=1

http://www.phtnet.org/news/view-news.asp?nID=394










หน้าก่อน หน้าก่อน (2/3)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (26623 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©