-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 518 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ไม้เศรษฐกิจ10






เทพทาโร


ข้อมูลพื้นฐานของไม้เทพทาโร

1. ชื่อพันธุ์ไม้ เทพทาโร

2. ชื่อสามัญ(ไทย) จวง จวงหอม (ภาคใต้) จะไค้ต้น จะไค้หอม (ภาคเหนือ) ตะไคร้ต้น (ภาคะวันออกเฉียงเหนือ) เทพทาโร(ภาคกลาง จันทบุรี สุราษฎร์ธานี) พลูต้นขาว(เชียงใหม่) มือแดกะมางิง(มาเลเซีย ปัตตานี)การบูร (หนองคาย) (บาลี) เทวทารุนารท (อังกฤษ) Citronella laurel, True laurel.

3. ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum porrectum (Roxb.)Kosterm. และมีชื่อพ้องทางวิทยาศาสตร์ คือ Cinnamomum parthenoxylon Meissn. และ Cinnamomum glanduliferum Nees

4. ชื่อวงศ์ Lauraceae (Laurel)

5. การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ เทพทาโร เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานที่สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถได้ทรงโปรดพระราชทานกล้าไม้มงคลให้กับจังหวัดพังงา เพื่อนำไปปลูกเป็นสิริมงคล มีเขตการกระจายพันธุ์แถบเอเชียเขตร้อน นับตั้งแต่เทือกเขาตะนาวศรีในพม่า ไทย มลายู จนถึงแถบคาบสมุทรอินโดจีนและสุมาตรา ไม้ชนิดนี้ชอบขึ้นบนพื้นที่สูง มีลักษณะคล้ายกับ C. neesianum Meissn ซึ่งเป็นไม้ที่พบการกระจายพันธุ์อยู่แถบจีนตอนใต้และตังเกี๋ย ในประเทศไทยจะพบเทพทาโรขึ้นอยู่ห่างๆกันบนเขาในป่าดงดิบทั่วประเทศ แต่จะพบมากที่สุดทางภาคใต้ เทพทาโรเป็นไม้พื้นเมืองที่เก่าแก่ของไทย พบหลักฐานการอ้างถึงครั้งแรกในสมัยสุโขทัย ดังปรากฏในไตรภูมิพระร่วง เมื่อ พ.ศ.1888 กล่าวถึงพรรณพืชหอม ใน อุตตรกุรุทวีป จะประกอบด้วย จวง จันทน์ กฤษณา คันธา เป็นต้น 
 


6. ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา เทพทาโร เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ (10-30 เมตร) ไม่ผลัดใบ ต้องการน้ำค่อนข้างมาก เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มรำไร (แสงแดด 50 %) เรือนยอดเป็นพุ่มทึบสีเขียวเข้ม เปลือกแตกเป็นสะเก็ดหรือเป็นร่องยาวตามลำต้นสีน้ำตาลอมเขียว ลำต้นไม่มีพูพอน เมื่อถากเปลือกออกจะมีกลิ่นหอม กิ่งมีลักษณะอ่อนเรียว เกลี้ยงและมักมีคราบสีขาวติดอยู่

ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน เป็นใบรูปรีแกมรูปไข่หรือ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบเกลี้ยง ท้องใบมีคราบขาว ปลายใบแหลม โคนใบแหลมและกลม ยาวประมาณ 7-20 ซม. ก้านใบเรียวเล็ก 2.5- 3.5 ซม.


ดอก ออกเป็นช่อ สีขาวหรือเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ออกดอกตาม ปลายกิ่งเป็นกระจุกยาว 2.5- .5 ซม. ก้านช่อดอกจะเรียวยาว และเล็กมาก


ผล มีขนาดเล็กและกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 7 มม. ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีม่วงดำ ก้านผลเรียว ยาวประมาณ 3 - 5 ซม. (กรมป่าไม้, 2486) ลักษณะเนื้อไม้ มีสีเทาแกมน้ำตาล มีกลุ่มหอมฉุน มีริ้วสีเขียวแกมเหลือง เนื้อไม้ เป็นมันเลื่อม เสี้ยนตรง หรือสับสน เป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย เหนียว แข็งพอประมาณ เลื่อย ไส้กบ ตบแต่งง่าย (กรมป่าไม้, 2486)


สารสาคัญในเนื้อไม้ จะพบ d - camphor ที่ใช้แทน sassafras ได้ดีให้น้ำมัน ที่มีสารหอม คือ safrol และ cinnamic aldehyde และยังพบ safrol ในเปลือก ต้นและใบ(ลีนา, 2537)


7. การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์ไม้เทพทาโรที่นิยมปฏิบัติกันคือ การขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ 
 


8. การปลูก
การเจริญเติบโต และการปรับปรุงพันธุ์ ต้นเทพทาโรเป็นไม้หอมที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ จึงสมควรที่จะปลูกสร้างสวนป่าไม้เทพทาโรขึ้นในที่ที่มีความ ชุ่มชื่นเพียงพอ เพราะเทพทาโรจะชอบขึ้นอยู่บนเขาในป่าดงดิบ พบมากที่สุดทางภาคใต้ อาจจะปลูกใต้ร่มไม้อื่นหรือปลูกเป็นไม้แซมสวนป่า น่าจะเจริญเติบโตดีกว่าปลูกเป็นไม้เบิกนำในที่โล่งแจ้ง

9. วนวัฒนวิธีและการจัดการ
เมื่อได้ต้นกล้าของเทพทาโรมาแล้ว ควรปลูกระยะห่างต้นละ 5 เมตร อาจปลูกแซมสวนป่า หรือปลูกพืชจำพวกกล้วยน้ำว้า เป็นพืชพี่เลี้ยงแซมลงไปเพื่อให้มีรายได้ในช่วง 2-3 ปีแรก การใส่ปุ๋ยทำเช่นเดียวกับไม้ยืนต้นทั่วไป

10. การใช้ประโยชน์
ปรากฏหลักฐานการใช้ประโยชน์ของเทพทาโรหรือจวงหอมมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย  ดังปรากฏในไตรภูมิพระร่วง พ.ศ.1888 กล่าวถึงการบูชาจักรรัตนะ ผู้คนจะแต่งตัว ทากระแจะจวงจันทน์น้ำหอมและนำเอา  “ ข้าวตอกแลดอกไม้ บุปผชาติเทียนแลธูปวาสะชวาลาแลกระแจะจวงจันทน์น้ำมันหอม มาไว้มานบคำรพวันทนาการบูชาแก่กงจักรแก้วนั้น” หรือในตอนกล่าวถึงแผ่นดิน อุตตรกุรุทวีป มักจะใช้กระแจจวงจันทน์ตกแต่งศพ ดังความว่า “ เขาจิงเอาศพนั้นอาบน้ำแลแต่งแง่ หากระแจะแลจวงจันทน์ น้ำมันอันหอม แลนุ่งผ้าห่มผ้าให้ ” หรือตอนพระญาจักรพรรดิราชสวรรคต ก็จะ“ ชโลมด้วยกระแจจวงจันทน์ และจิงเอาผ้าขาวอันเนื้อละเอียดนั้น มาตราสังศพพระญาจักรพรรดิราชนั้น” ตอนกล่าวถึงการบูชาพระญาจักรพรรดิราช พระนามพระญาศรีธรรมาโศกราช พรรณนาว่า “นาคราชลางจำพวกเอากระแจะจวงจันทน์คันธรสอันประเสริฐอันดีมาถวายทุกเมื่อ” หรือพระญาศรีธรรมาโศกราชก็จะ “ บูชาพระสงฆ์เจ้าด้วยธูปแลเทียนข้าวตอกดอกไม้แลกระแจะจวงจันทน์ทั้งหลาย ” ตอนพรรณนาดาวดึงส์สวรรค์ของพระอินทร์ กล่าวว่า “ หอมกระแจะจวงจันทน์อีกพรรณดอกไม้อันขจรทุกแห่ง แต่งพัดเข้าเร้าเถิงพระอินทร์หอมฟุ้งทุกแห่ง พระอินทร์จิงไปเหล้นที่สวนนั้นสนุกนิ์นัก” และได้กล่าวถึงเทพยดาคือคนธัพพเทวบุตรตกแต่งอาภรณ์ด้วยแก้วแหวนเงินทองและทาตัวด้วยกระแจะแลจวงจันทน์ ดังได้พรรณนาไว้ว่า “ อันว่ากระแจะแลจวงจันทน์อันเทพยดาทาตัวนั้น ถ้าแลว่าจะขูดออกใส่ตุ่มแลไหได้ 9 ตุ่มแล ” ความนิยมในเครื่องหอมกระแจจวงจันทน์ มีสืบเนื่องมาถึงสมัยอยุธยาตอนต้นดังปรากฏในกฎหมายพิสูจน์ดำน้ำลุยเพลิง พ.ศ. 1899 สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ว่า “น้ำมันกระแจะจวงจันทน์” และมีการกล่าวถึงต่อมาในมหาชาติคำหวง สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเมื่อ พ.ศ.2025 ดังกล่าวไว้ในกัณฑ์มหาพนว่า “กรักขีพงเทพทารูก็มี” ในสมัยอยุธยาตอนกลาง ตำราพระโอสถสมัยพระนารายณ์ พ.ศ.2202 กล่าวถึงการใช้ประโยชน์ของเทพทาโรในทางยาว่า เป็นยาจำเริญพระธาตุ ดังนี้คือ “จำเริญพระธาตุ ให้เอาใบรักแห้ง บอระเพ็ดแห้ง แห้วหมู ดอกชรากากี ผลมะตูมอ่อน รากมะตูม โกฐหัวบัว เทพทาโร สมอเทศ เทียนแดง เชือกเขาพรวน ขิงแห้ง ดีปลี กระเทียมทอก รากชะพลู เกลือสินเธาว์ เสมอภาค ทำเป็นจุณ บดด้วยน้ำผึ้งรวง น้ำสุรา ระคนกันเป็นลูกกอน เสวยหนักสลึง 1 แก้พระวาตะ เสมหะ โลหิตกำเริบอันทุพล แก้พระเส้นอันทพฤก อันกระด้างตึงแต่พระชงฆ์ขึ้นไป ตราบเท่าถึงบั้นพระองค์ ให้พระเส้นนั้นอ่อน ให้เสวยพระกระยาหารเสวยได้ ให้จำเริญพระสกลธาตุเป็นอันยิ่ง ข้าพระพุทธเจ้าออกขุนทิพจักร

ประกอบทูลเกล้าฯ ถวาย ” หนังสือไม้เทศเมืองไทย กล่าวถึงประโยชน์ทางยาของเทพทาโรไว้ว่า ตามชนบทต่าง ๆ ใช้ปรุงเป็นยาหอม แก้ลมจุกเสียดแน่น แน่นเฟ้อ แก้อาการปวดท้อง ขับผายลมได้ดี ขับลมในลำไส้และกระเพาะอาหาร ให้เรอ เป็นยาบำรุงธาตุ ในเปลือกมีน้ำมันระเหย 1 ถึง 2% และแทนนิน นอกจากนั้นยังกล่าวถึงประโยชน์อย่างอื่นของเทพทาโร คือ เนื้อไม้ สีขาว จะมีกลิ่นหอมฉุนเหมือนกลิ่นการบูร อาจกลั่นเอาน้ำมันระเหยออกจากเนื้อไม้นี้ได้ และอาจดัดแปลงทางเคมีให้เป็นการบูรได้ ส่วนใบมีกลิ่นหอม ใช้เป็นเครื่องเทศ ตามร้านขายสมุนไพรในประเทศไทย จะใช้ใบเทพทาโรแทนใบกระวาน สำหรับใส่เครื่องแกงสะระหมั่น ส่วนใบกระวานจริง ๆ ที่มีลักษณะเหมือนใบข่า จะไม่นิยมใช้กัน (จากหนังสือสรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด โดยเภสัชกรหญิงสุนทรี สิงหบุตรา) ตามหนังสือไม้เทศเมืองไทยยังระบุว่าต้นเทพทาโร มีมากทางภาคเหนือ ชาวพายัพเรียกว่าปูต้นหรือไม้การบูร แต่อาจมีทางกาญจนบุรีบ้าง (เสงี่ยม, 2519) ส่วนเมล็ดของเทพทาโร จะให้น้ำมัน ใช้เป็นยาทาถูนวด แก้ปวด รูมาติซึ่ม (ลีนา, 2537) เปลือกเป็นยาบำรุงธาตุอย่างดี โดยเฉพาะสำหรับหญิงสาวรุ่น ต้มกินแก้เสียดท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ประโยชน์อย่างอื่นของเทพทาโร คือ ไม้ ใช้ในการแกะสลักบางอย่าง ทำเตียงนอน ทำตู้ และหีบใส่เสื้อผ้าที่กันมอดและแมลงอื่น ๆ ได้ ทำเครื่องเรือนและไม้บุผนังที่สวยงาม ทำแจวพาย กรรเชียง กระเบื้องไม้ เป็นต้น (กรมป่าไม้, 2486)


การใช้ประโยชน์ไม้เทพทาโรในเชิงเศรษฐกิจ
ปัจจุบัน ต้นเทพทาโรกลับมีจำนวนลดลง ถูกโค่นทิ้งเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน และพืชเศรษฐกิจอื่นๆ เพิ่มขึ้น เหลือเพียงตอและรากของต้นเทพทาโรที่ฝังอยู่ในดิน ซึ่งส่วนที่เหลือเหล่านี้อาจจะดูไร้ค่าในสายตาของคนทั่วไปที่พบเห็น แต่สำหรับชาวบ้านในตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ได้เล็งเห็นคุณค่าของพืชท้องถิ่นชนิดนี้ ด้วยการนำรากไม้เทพทาโรมาแกะสลักเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับตกแต่งบ้าน และเป็นสินค้าที่ระลึก ด้วยฝีมือที่ประณีต สะท้อนเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ทำให้ผลิตภัณฑ์จากไม้เทพทาโรสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดตรังเป็นอย่างมาก สำหรับกลุ่มหัตถกรรมการแกะสลักไม้เทพทาโรที่มีชื่อเสียงในจังหวัดตรัง ได้แก่ กลุ่มเยาวชนต่อต้านยาเสพติด ตำบลเขากอบ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง และยังได้รับการคัดสรรเป็นสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ประเภทศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึก ระดับ 4 ดาวของจังหวัดตรังอีกด้วย


ไม้เทพทาโร เรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า "ไม้จวงหอม" เป็นไม้ป่าชนิดหนึ่งซึ่งมีอยู่ทั่วไปตามเชิงควน ในอดีตมีคุณสมบัติพิเศษคือ กลิ่นหอม ปัจจุบันนี้มีเพียงซากไม้ฝังดินอยู่ในบริเวณสวนยางพารา ที่พบมากได้แก่บริเวณตำบลหนองปรือ อ.รัษฎา จ.ตรัง และบริเวณใกล้เคียง สรรพคุณและคุณประโยชน์ อดีตชาวบ้านมักตัดไม้มาแปรรูปสร้างบ้าน สามารถป้องกันตัวเรือด ตัวไร มด มอด ปลวก และแมลงต่างๆ ได้ หรือทำหมอนรถไฟ แกะพระพุทธรูป นอกจากนี้ยังเป็นพืชสมุนไพร เปลือกและเนื้อไม้ต้มกินแก้ลม อาเจียนลงท้อง ท้องร่วง อหิวาต์ ไข้ป่า ยอดอ่อนทำผักจิ้ม ช่วยระบาย
ได้ดี ส่วนท่อนไม้ รมควันไล่ยุง แมลง ได้เป็นอย่างดี ชื่อไม้เทพทาโรเป็นนามพระราชทานจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เป็นไม้ลักษณะเด่น คือ มีกลิ่นหอม มีสรรพคุณทางยา เป็นไม้เนื้ออ่อน สามารถแกะสลักเป็นรูปร่างต่างๆได้ไม้เทพทาโร ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า "ไม้จวงหอม" เป็นไม้ยืนต้นประเภทเนื้ออ่อน ลำต้นตั้งตรงมีขนาดใหญ่ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีแก่นที่แข็งและกลิ่นหอม คนสมัยก่อนนิยมนำส่วนต่าง ๆ มาเป็นสมุนไพร ปัจจุบันไม้เทพทาโรค่อย ๆ หมดไป คงเหลือไว้เพียงพอซึ่งเป็นแก่นไม้ฝังกลบอยู่ใต้ผิวดิน ต่อมาชาวบ้านได้มีความคิดนำแก่นไม้มาแกะสลักเป็นรูปต่าง ๆ ไม้เทพทาโร" เป็นไม้ป่าขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ถามว่ากี่ปีถึงจะนำมาแกะสลักได้ ..

เมื่อต้นโตพอก็แกะสลักได้แต่....ความหอมของไม้มันอยู่ที่แก่น เช่นเดียวกับต้น "กฤษณา" นั่นหละ กว่าจะได้ขนาดแก่นที่จะแกะสลักได้คิดว่า30 ปี คงจะยังน้อยไป .. กลุ่มที่เเกะสลักไม้เทพทาโรจำหน่ายในจังหวัดตรังมี 5 กลุ่ม คือ กลุ่มตำบลเขากอบ กลุ่มตำบลหนองปรือ กลุ่มตำบลเขาไพร และกลุ่มนาท่อม



1. กลุ่มตาบลหนองปรือ ที่ตั้ง บ้านคลองมวล 58 หมู่ 1 ตำบลหนองปรือ อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง โทร.075-294009,01-3884148 เชือบ ชุมดี ผู้บุกเบิกงานแกะสลักไม้เทพทาโร วิเชษฐ์ ชุมดี ทายาท หัวหน้าศูนย์ผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน



2. กลุ่มตาบลเขากอบ ที่ตั้ง 78/2 หมู่1 ต.เขากอบ อ.ห้วยยอด จ.ตรัง โทร.075-233082,09-0336610,09-1583454 e-mail : deg_khaokob@hotmail.com ได้รับรางวัล OTOP ผลิตภัณฑ์คัดสรรสุดยอดดีเด่นอันดับ1 ประเภท ศิลปะประดิษฐ์และตกแต่งของจังหวัดตรัง ประธานกลุ่ม อ.สุภาพ พลการ หรือติดต่อ อ.คนึงสุข พลการ



3. กลุ่มตาบลเขาไพร 1 6/1 ม1.ต.เขาไพร อ.รัษฎา จ.ตรัง 92160 หรือศูนย์จำหน่ายสินค้า OTOP 14/1 ถ.ควนคีรี ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง 92000 โทร.075-210349,06-2722299 โดยกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเขาไพร หัวหน้ากลุ่ม คุณสมพร เรียบร้อย



4. กลุ่มตาบลเขาไพร 2 84 หมู่1 ต.เขาไพร อ.รัษฎา จ.ตรัง โทร.06-2829223 ได้รับรางวัลประเภทศิลปะประดิษฐ์และของ ที่ระลึก ระดับ 4 ดาว ประธานกลุ่ม คุณลอบ เอียดใหญ่



5. กลุ่มนาท่อม (ตรงข้ามถ้ำเล เขากอบ) 33 หมู่ 9 บ้านนาท่อม ต.เขากอบ อ.ห้วยยอด จ.ตรัง โทร.01-0854765,07-2173607 คุณลาภ เอียดใหญ่ ประธานกลุ่ม



ผลิตภัณฑ์แกะสลักไม้เทพทาโร คือ สุดยอดผลิตภัณฑ์ otop ของจังหวัดตรัง ในปี 2549

จตุคามรามเทพ - เสด็จกรมหลวงชุมพรฯ เนื้อไม้เทพทาโรฝังหัวนอโม ขนาด 5 ซม.

ราคา 3,500 ฿ http://www.be2hand.com/scripts/shop.php?user=fee50&do=view&id=15180


ไม้เทพทาโร (โถข้าว) ขนาดกว้าง เส้นผ่าศูนย์กลาง 14 ซม. สูง 24.5 เซนติเมตร น้าหนัก 1210 กรัม กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้เทพทาโรถ้ำเล Price : 3,000 ฿


ชุดโถเบญจรงค์ 3 ใบ พร้อมฐาน แกะสลักจากไม้เทพทาโร เป็นสินค้าคัดสรร ฟรีเมี่ยมระดับ A ปี 2547, 2548 (171248) กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้เทพทาโรถ้ำเล


ชุดเชี่ยนหมาก ขนาดกลาง พร้อมตัวลูกผอบ 4 ใบ แกะสลักจากไม้เทพทาโร (171248) ขนาดกว้างเส้นผ่าศูนย์กลาง 24.5 ซม. สูง 22.5 เซนติเมตร น้าหนัก 3035 กรัม กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้เทพทาโรถ้ำเล Price: 5640 Sale : 4,700 ฿


โถเบญจรงค์ไม้ ลายลูกแก้ว พร้อมฐาน ขนาดกลาง แกะสลักจากไม้เทพทาโร (171248) ขนาดว้าง 10.5 เซนติเมตร สูง17 เซนติเมตร น้าหนัก 310 กรัม กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้เทพทาโรถ้ำเล Price: 1080Sale : 900 ฿

ชุดกาน้า พร้อมแก้ว 5 ใบ ขนาดกลาง แกะสลักจากไม้เทพทาโรสมุนไพร (171248) ขนาดกว้างเส้นผ่าศูนย์กลาง 19.5 ซม. สูง 14 เซนติเมตร น้าหนัก 1025 กรัม กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้เทพทาโรถ้ำเล Price: 3120Sale : 2,600 ฿





ที่มา  : 

http://www.freethailand.com/indexsite.php?cat=3911&act=mc&username=jamai&page=2 ขอขอบคุณข้อมูลจาก สานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดตรัง รวมทั้งรูปภาพสวยๆจาก www.thaitambon.com http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=otop-mania&month=09-2006&date=04&group=2&gblog=1



ราคาจาหน่ายไม้เทพทาโร สาหรับสร้างพระ

 ต้นเล็ก80 บาทต้นใหญ่150 บาท

 แบบเป็นท่อนกิโลกรัมละ200 บาท

 แบบบดหยาบกิโลกรัมละ350 บาท

 แบบบดละเอียดกิโลกรัมละ400 บาทติดต่อนันธิยาวงค์ษา081 3965202 (ไม้เทพทาโรที่นามาเป็นไม้ส่วนโคนต้นกลิ่นหอมแรง)

สนใจติดต่อคุณ: นันธิยาe-mail : nuntiya-ning@hotmail.com โทรศัพท์: 081-3965202 โทรศัพท์เคลื่อนที่: 081-3965202 อื่นๆ: 076-292719 จังหวัดภูเก็ตระยะเวลาลงประกาศ2007-07-17 12:58:31 จนถึง2007-07-24 12:58:31 แก้ไขครั้งล่าสุด2007-07-17 12:58:31 IP ADDRESS : 124.157.223.189 , http://www.be2hand.com/scripts/view









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (2559 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©