-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 176 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ไม้เศรษฐกิจ9




หน้า: 3/3





ตารางการดูแลและใส่ปุ๋ยแปลงปลูกไผ่ตงศรีปราจีนในช่วง 1 ปี หลังการปลูก

อายุของต้นไผ่หลังปลูก

การใส่ปุ๋ย

อายุ 1 เดือน

- ใส่ปุ ๋ ยเคมี (สูตร 25-7-7) 1 กำมือโรยห่างโคนกอ 20 ซม. รดนํ ้าตามและ โรยทับด้วยมูลไก่ประมาณ ½ กระสอบ แล้วคลุมโคนกอด้วยฟางข้าวหรือ หญ้าแห้ง

อายุ 2 เดือน

- ใส่ปุ๋ยเคมี (สูตร 25-7-7) 2 กำมือโรยห่างโคนกอ 30 ซม. รดน้ำตามแล้ว คลุมโคนกอด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้ง (ต้นไผ่บางกอเริ่มให้หน่อบ้างแล้ว)

อายุ 3 เดือน

- ใส่ปุ๋ยเคมี (สูตร 25-7-7) 3 กำมือโรยห่างโคนกอ 30 ซม. รดนํ้าตามและ โรยทับด้วยมูลไก่ประมาณ 1 กระสอบ แล้วคลุมโคนกอด้วยฟางข้าวหรือ หญ้าแห้ง

อายุ 4-5 เดือน

- ใส่ปุ๋ยเคมี (สูตร 25-7-7) 4-5 กำมือโรยห่างโคนกอ 30 ซม. รดนํ้าตาม แล้วคลุมโคนกอด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้ง

อายุ 6 เดือน

- ใส่ปุ๋ยเคมี (สูตร 25-7-7) 6 กำมือโรยห่างโคนกอ 50 ซม. รดนํ้าตามและ โรยทับด้วยมูลไก่ประมาณ 1-2 กระสอบ แล้วคลุมโคนกอด้วยฟางข้าวหรือ หญ้าแห้ง

อายุ 7-8 เดือน

- ใส่ปุ๋ยเคมี (สูตร 25-7-7) 7-8 กำมือโรยห่างโคนกอ 50 ซม. รดน้ำตาม แล้วคลุมโคนกอด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้ง

อายุ 9 เดือน

- ใส่ปุ๋ยเคมี (สูตร 25-7-7) 9 กำมือโรยห่างโคนกอ 50 ซม. รดนํ้าตามและ โรยทับด้วยมูลไก่ประมาณ 1-2 กระสอบ แล้วคลุมโคนกอด้วยฟางข้าวหรือ หญ้าแห้ง

อายุ 10-12 เดือน

- ใส่ปุ๋ยเคมี (สูตร 25-7-7)10 กำมือโรยห่างโคนกอ 50 ซม. รดน้ำตาม แล้วคลุมโคนกอด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้ง




  ข้อมูล  :   นายสาโรจน์ วัฒนสุขสกุล  นักวิชาการป่าไม้ 8 สถานีวนวัฒนวิจัยงาว อ..งาว จ.ลำปาง
 



การปลูกไผ่ใช้สอย

*
สมชัย เบญจชย**

 
ความรู้ทั่วไปในเรื่องของไผ่               
ไผ่เป็นพืชสีเขียวตลอดปี ไผ่เป็นหญ้าชนิดหนึ่งที่สูงที่สุดในโลก พบทั่วไปทุกสภาพอากาศ ตั้งแต่ภูเขาที่หนาวเย็นถึงเขตร้อนชื้นของโลก แต่ไม่พบไผ่ตามธรรมชาติในยุโรป อาฟริกาเหนือ เอเชียตะวันตก ตอนเหนือของอเมริกาเหนือ และทั้งหมดของออสเตรเลียและแอนตาร์คติกา               

ไผ่อาจสูงเพียงไม่กี่เซนติเมตรจนถึง 40 เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 1 มิลลิเมตรจนถึง 30 เซนติเมตร ไผ่มีข้อและปล้อง ที่ข้อมีใบหนึ่งใบและอาจมีหนึ่งหรือหลายกิ่งแขนง ในหนึ่งกอไผ่อาจมีไผ่นับพันลำ ไผ่ไม่ใช่เนื้อไม้ เพราะไผ่เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเช่นเดียวกับพวกปาล์ม แต่ทั่วไปมักเรียกว่า ไม้ไผ่               

ไผ่ปกติจะโต 30 เซนติเมตรในหนึ่งวัน แต่บางชนิดอาจโต 1 เมตรต่อวัน ไผ่โตเต็มที่ภายในหนึ่งปี แต่อยู่ได้หลายๆ ปี และแตกลำรอบกอไผ่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไผ่มีอายุประมาณ 10-100 ปี หรือมากกว่านี้ หลังจากออกดอกและพัฒนาเป็นเมล็ดแล้ว กอไผ่นั้นจะแห้งตายไป โดยไผ่ชนิดเดียวกันจะออกดอกพร้อมกัน ซึ่งไม่มีใครสามารถพยากรณ์ได้ว่าเมื่อไหร่               

ไผ่จากป่าหลายชนิดคนนิยมนำมาปลูกริมรั้วบ้านหรือเป็นสวนไผ่แปลงใหญ่ๆ ซึ่งต้องมีการจัดการดูแล บำรุง รักษา เพื่อให้รากขยายกระจายไปใต้ดินเกิดหน่อใหม่เป็นหน่อไผ่ หรือปล่อยให้โตขึ้นเป็นลำไผ่นำไปใช้สอยสารพัดอย่าง รวมทั้งผลิตเป็นกระดาษได้ด้วย โดยคนจีนเป็นชาติแรกที่คิดประดิษฐ์ขึ้น ซึ่งทำด้วยมือมีคุณภาพสูงแต่ได้จำนวนน้อย ปัจจุบันยังคงผลิตกระดาษไหว้เจ้าจากไผ่เพื่อใช้อยู่ในวัฒนธรรมของจีน               

ไผ่มีอายุยืนชาวจีนจึงถือว่าไผ่เป็นสัญลักษณ์ของการมีชีวิตที่ยืนยาว ขณะที่อินเดียถือว่าไผ่เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นเพื่อน เพราะออกดอกยาก และหากออกดอกจะถือเป็นสัญญาณว่าความอดอยากกำลังจะมาถึง ในวัฒนธรรมของชาวเอเชียรวมถึงหมู่เกาะอันดามันเชื่อว่ามนุษย์เกิดมาจากกอไผ่ ในตำนานของชาวมาเลเซียมีชายคนหนึ่งนอนฝันเห็นหญิงสาวสวยในกอไผ่เมื่อเขาตื่นขึ้นไปค้นหาและพบหญิงนั้นในกอไผ่ ในฟิลิปปินส์ชาวนาถือว่าไผ่ไขว่กันทำให้ดูมีเสน่ห์ ในญี่ปุ่นถือว่าป่าไผ่รอบๆ ศาลเจ้าจะช่วยป้องกันภูตผีปีศาจ ถือว่าเป็นไม้ที่สำคัญอันดับสองรองจากไม้สน ด้วยเหตุนี้ชาวญี่ปุ่นจึงนิยมใช้ไผ่ตกแต่งในห้องอาหารหรือห้องรับรองแขก
  

*เสนอโครงการสร้างเครือข่ายการถ่ายทอดความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เพื่อผลิตสื่อสำหรับครูอาสาสมัครเดินสอน ศศช.

**เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 7 สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (กรกฎาคม 2551)


ชนิดของไผ่
               
ไผ่ในโลกมีทั้งหมด 1,250 ชนิด ในประเทศไทยมีไผ่ 82 ชนิด ไผ่ที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์มีไผ่ตง ไผ่รวก ไผ่สีสุก ไผ่เลี้ยง ไผ่ซาง (ไผ่นวล ไผ่ปล้อง หรือไผ่สีนวล) ไผ่บงหวาน ไผ่ข้าวหลาม ไผ่ไร่ ไผ่รวกดำ และไผ่ป่า (ไผ่หนาม)               

ชนิดไผ่ที่พบมากในภาคเหนือมี 28 ชนิด ได้แก่ ไผ่บง ไผ่ป่า ไผ่ลำมะลอก ไผ่เหลือง ไผ่หอบ ไผ่เลี้ยง ไผ่สีสุก ไผ่น้ำเต้า ไผ่ผิว ไผ่บง ไผ่ไล่ลอ ไผ่ข้าวหลาม ไผ่เฮียะ ไผ่ซาง ไผ่เซิม ไผ่หก ไผ่เป๊าะ ไผ่ซางดำ ไผ่ซางนวล ไผ่บงใหญ่ ไผ่ไร่ ไผ่ผากมัน ไผ่บงคาย ไผ่หางช้าง ไผ่เกรียบ ไผ่บงเลื้อย และ ไผ่รวกดำ               

การจำแนกพันธุ์ไผ่อาศัยลักษณะของการเจริญเติบโตของเหง้า รูปลักษณะของกาบหุ้มลำและส่วนต่างๆ ของดอกเป็นเกณฑ์  ที่สำคัญคือเหง้าซึ่งเป็นส่วนของลำต้นที่อยู่ใต้ดิน มีหน้าที่เก็บสะสมอาหารและส่งอาหารไปเลี้ยงลำไผ่ ตาข้ออยู่ข้างๆ เหง้าจะพัฒนาเป็นหน่อและลำไผ่ในที่สุด โดยมีการจำแนกไผ่ตามการเจริญเติบโตของเหง้า 3 ลักษณะ คือ               

1. ระบบเหง้ากอ หน่ออ่อนจะแทงยอดออกมาจากตาเหง้าที่มีอยู่หลายตา แต่จะมีเพียงหน่อเดียวที่เจริญเติบโตต่อไป เหง้าใต้ดินจะมีขนาดใหญ่และสั้น หน่ออ่อนที่แทงออกมาจะเบียดกันด้านนอกกอที่แน่นทึบโดยมีลำแก่อยู่ข้างในกอ               
2. ระบบเหง้าลำเดี่ยว ลำอ่อนแตกมาจากตาของเหง้าใต้ดินเพียงบางตา ตรงส่วนของปลายเหง้าที่เจริญออกเป็นหน่อใหม่ เหง้ามีระยะยาว แตกออกเป็นลำใหม่ในปีต่อไปเรื่อยๆ เหง้าและลำจึงไม่อยู่ร่วมกัน               
3. ระบบเหง้าผสม ในระบบนี้จะมีทั้ง 2 แบบ ดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพความผันแปรของสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก


การปลูกไผ่
               
-การขยายพันธุ์
               
ไผ่ขยายพันธุ์ได้ 5 วิธี จากเมล็ด เหง้า ลำ กิ่งแขนง และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งแต่ละวิธีทำดังนี้

1. การขยายพันธุ์จากเมล็ด
ไผ่เมื่อหมดอายุขัยจะออกดอกและตาย ให้นำเมล็ดไผ่ที่ได้ไปปลูก โดยเก็บเมล็ดไผ่ที่แก่จัด ซึ่งร่วงหล่นบนพื้นหรือเก็บจากต้น นำมาฝัดด้วยกระด้งคัดเลือกเมล็ดที่สมบูรณ์ แล้วนวดเอาเปลือกออกโดยใช้พื้นรองเท้าแตะฟองน้ำ ขัดนวดเมล็ดบนกระด้ง และฝัดเอาเปลือกออก เพื่อให้เมล็ดงอกเร็วและเติบโตอย่างสม่ำเสมอ นำเมล็ดที่ได้ไปผึ่งแดด 1 แดด ก่อนนำไปเพาะเพื่อป้องกันแมลง โดยให้เพาะภายใน 1 เดือน เพื่อมีอัตราการงอกสูง ให้แช่น้ำเมล็ดไผ่ 2 คืน หรือแช่น้ำอุ่น 2 ชั่วโมงแล้วแช่น้ำอีก 1 คืน จากนั้นห่อเมล็ดด้วยผ้า รดน้ำให้ชื้นอยู่เสมอ 2 คืน เมล็ดจะเริ่มงอก นำไปลงแปลงเพาะที่มีขี้เถ้าแกลบผสมดินและทรายรองพื้นหนาประมาณ 4 นิ้ว หว่านเมล็ดแล้วกลบด้วยดินหนา 1 เซนติเมตร คลุมแปลงด้วยวัสดุคลุมดิน เช่น หญ้าแห้ง และฟางข้าว ทิ้งไว้ 15 วัน กล้าไผ่จะงอกสูง 2-3 นิ้ว ให้ ย้ายกล้าที่แข็งแรงลงถุงเพาะ ไว้ในเรือนเพาะชำหรือที่ร่มรำไร 6-8 เดือน ก่อนนำไปปลูกต่อไป

2. การขยายพันธุ์จากเหง้า
ขุดเหง้าที่อายุ 1-2 ปี ตัดตอสูง 50-80 เซนติเมตร ระวังอย่าให้ตาที่คอเหง้าแตกเสียหาย เพราะตานี้จะแตกเป็นหน่อต่อไป เหง้าจะมีอาหารสะสมอยู่มากจึงมีอัตราการรอดตายสูง ทำให้หน่อแข็งแรงและได้หน่อเร็วกว่าวิธีขยายพันธุ์โดยใช้กิ่งแขนงหรือลำ และได้พันธุ์ตรงกับสายพันธุ์เดิม

3. การขยายพันธุ์จากลำ
ใช้ลำไผ่ที่มีอายุ 1 ปี ตัดเป็นท่อนๆ โดยให้แต่ละท่อนมี 1 ข้อ ให้รอยตัดทั้งสองข้างห่างจากข้อ 1 คืบ และเป็นลำที่มีแขนงให้ตัดแขนงเหลือยาว 1 คืบ จากนั้นนำไปชำในแปลงเพาะชำ โดยวางให้ข้ออยู่ระดับดินและให้ตาหงายขึ้น ระวังอย่าให้ตาได้รับอันตราย แล้วใส่น้ำลงในปล้องไผ่ให้เต็ม และหมั่นรดน้ำให้ความชุ่มชื้นอยู่เสมอ หลังจากนั้น 2-4 สัปดาห์จะพบหน่อและรากแตกออกมา เมื่อหน่อแทงรากแข็งแรงเต็มที่ 6-12 เดือน จึงย้ายไปปลูกได้ นอกจากนี้มีการขยายพันธุ์จากทั้งลำไผ่ เช่น ไผ่ซางหม่น อายุ 1-2 ปี ให้ลิดกิ่งแขนงเหลือยาว 10-15 เซนติเมตร อย่าให้แขนงฉีกขาด เพราะรากจะงอกที่โคนแขนง ใช้มีดฟันกลางปล้องไผ่เป็นช่องเพื่อใส่น้ำ เสร็จแล้วนำไปฝังดินที่ขุดเป็นร่องลึก 25 เซนติเมตร กว้าง 30 เซนติเมตร ยาวสุดลำไผ่ ก่อนฝังกลบให้เติมน้ำที่ปล้องไผ่จนเต็มแล้วนำฝาไผ่ที่เปิดไว้ปิดอย่างเดิม ให้รดน้ำจนชุ่มทุกวัน ประมาณ 5-6 เดือน ไผ่จะแตกแขนงขึ้น แล้วขุดตัดแยกใส่ถุงกล้าไผ่ เมื่อแตกใบอ่อนจึงนำไปขายหรือปลูกได้

4. การขยายพันธุ์จากกิ่งแขนง
กิ่งแขนง คือ กิ่งที่แยกออกจากลำต้นไผ่บริเวณข้อ ให้เลือกกิ่งแขนงที่ใบยอดคลี่และกาบหุ้มตาหลุดหมดแล้ว โคนกิ่งแขนงมีรากงอกสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเหลืองและมีรากฝอยแตกจากรากแขนงแล้ว ซึ่งมีอายุ 4-6 เดือน ถ้าเป็นกิ่งค้างปียิ่งดี เริ่มจากตัดแยกกิ่งแขนงออกจากลำไผ่ แล้วตัดปลายกิ่งเหลือยาว 80-100 เซนติเมตร ควรทำในปลายฤดูฝนหรือเดือนกันยายน-ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีกิ่งแขนงมาก การเตรียมดินให้ไถพรวนตากดินทิ้งไว้ 2 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น ให้ย่อยดินและปรับพื้นที่ให้เสมอสำหรับที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง แต่ถ้าเป็นที่ลุ่มให้ยกร่องเพื่อระบายน้ำได้ ขุดเป็นร่องลึก 15 เซนติเมตร จากนั้นนำกิ่งแขนงปักชำลงในร่องห่างกัน 15-20 เซนติเมตร กลบดินแล้วใช้เท้าเหยียบให้แน่น รดน้ำทันที พร้อมทำหลังคาบังแดดด้วยทางมะพร้าว รดน้ำทุกวันหรือวันเว้นวัน หรืออาจปักชำกิ่งแขนงในถุงพลาสติกสีดำขนาด 8x10 นิ้ว หลังจากนั้น 6-8 เดือน กิ่งแขนงจะแตกแขนงใบและรากที่แข็งแรงพร้อมที่จะย้ายลงปลูกในแปลงได้

5. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ใช้กล้าไผ่ที่เพาะจากเมล็ดมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นการนำต้นกล้ามาขยายพันธุ์ให้ได้ปริมาณมากๆ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนต้นพันธุ์ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาต้นพันธุ์ที่มาจากการเพาะชำกิ่งแขนงออกดอกและตาย เพราะกิ่งแขนงที่นำมาจากต้นแม่ที่มีอายุมากพร้อมที่จะออกดอกกิ่งแขนงนั้นจะมีอายุเท่ากับต้นแม่ ฉะนั้นเมื่อต้นแม่ออกดอก กิ่งแขนงที่นำไปปลูกจะออกดอกตายด้วยเช่นกัน                 

- การปลูกและการจัดการ
               
ปัจจัยในการปลูกและการจัดการไผ่ ได้แก่ การเตรียมพื้นที่ปลูก ฤดูกาลที่ปลูก ระยะที่ปลูก การเตรียมหลุมปลูก และการปลูก ดังนี้               

1) การเตรียมพื้นที่ ควรเตรียมพื้นที่ไว้ตั้งแต่ฤดูแล้ง ซึ่งจะทำงานได้สะดวกสามารถลงมือปลูกได้ทันในต้นฤดูฝน โดยในพื้นที่ที่เป็นแอ่ง ที่ลุ่มน้ำขัง มีเนิน หรือมีตออยู่ในพื้นที่ต้องไถบุกเบิก กำจัดตอออกให้หมด ปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ราบอยู่แล้ว แค่ไถพรวนกำจัดวัชพืชเท่านั้น
2) ฤดูปลูก ควรปลูกตั้งแต่ฝนเริ่มตก จนถึงปลายเดือนมิถุนายน หากฝนทิ้งช่วง ควรให้น้ำช่วย แต่ในแหล่งที่สามารถให้น้ำได้ตลอดทั้งปี สามารถปลูกไผ่ได้ตลอดปี
3) ระยะปลูก ที่เหมาะสมระหว่างต้น X ระหว่างแถว ขึ้นอยู่กับขนาดของไผ่และสภาพของดิน เช่น ไผ่ตง ระยะปลูก คือ 6-8 X 6-8 เมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกไผ่ตงได้ 25-45 ต้น ถ้าสภาพดินเลว ไผ่ไม่ค่อยเจริญเติบโต ควรใช้ระยะปลูกที่ถี่กว่าสภาพดินดี
4) การเตรียมหลุมปลูก หลุมที่ปลูกไผ่ควรมีขนาด กว้าง X ยาว X ลึก ขึ้นอยู่กับชนิดของไผ่ เช่น ไผ่ตง ขนาดหลุมไม่น้อยกว่า 50 X 50 X 50 เซนติเมตร พร้อมทั้งใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟต 1 กระป๋องนม (300-500 กรัม) ต่อหลุม ผสมปุ๋ยคอกเก่าที่สลายตัวแล้ว 1 บุ้งกี๋ (1 กิโลกรัม) และยาฆ่าแมลงฟูราดาน 1-1.5 ช้อนแกง (10-15 กรัม) คลุกเคล้ากับดินบนให้ทั่วแล้วกลบกลับคืนลงไปในหลุม ให้ระดับดินสูงกว่าเดิมเล็กน้อยสำหรับดินยุบตัวภายหลัง
) การปลูก ให้นำต้นกล้าไผ่ปลูกตรงกลางหลุมที่เตรียมไว้ ปลูกให้ลึกเท่ากับระดับดินเดิมแล้วพูนดินบริเวณโคนต้นให้เป็นเนินสูงขึ้นเล็กน้อย ใช้ไม้ปักเป็นหลักผูกยึดกล้าไผ่เพื่อป้องกันลมโยก แล้วรดน้ำตามทันทีเพื่อช่วยให้เม็ดดินกระชับราก นอกจากนี้ต้นไผ่ที่เพิ่งปลูกจะไม่ทนต่อแสงแดด และความร้อนสูง ต้องใช้ทางมะพร้าวหรือวัสดุอื่น ช่วยพรางแสงแดด จนกว่าต้นกล้าจะมีใบใหม่และตั้งตัวได้แล้ว จึงค่อยปลดออก สำหรับกล้าไผ่ที่ได้จากการชำกิ่งแขนง ให้พิจารณาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางและความสูงตามชนิดไผ่ ซึ่งมีสภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจากการทำลายของโรคและแมลง ส่วนกล้าไผ่ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ควรเป็นต้นกล้าที่มีความสมบูรณ์ มีระบบรากฝอยแผ่กระจายและสมบูรณ์ไม่ขดม้วนงออยู่ก้นถุง  

ตัวอย่างการบริหารจัดการสวนไผ่
1. สวนไผ่เลี้ยงมีการปลูกระยะห่างระหว่างต้น 2.5 เมตร ระหว่างแถว 3 เมตร จะได้ 300 กอต่อไร่ การให้น้ำจะปล่อยตามร่องที่ขุดผ่านกลางกอไผ่ทุก 7 วัน ในช่วงฤดูแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ปลูกเพียง 6 เดือน ไผ่เลี้ยงจะให้หน่อแล้ว ให้แก่ละกอคงลำไผ่ไว้ 4-5 ลำ และเน้นการให้ปุ๋ยคอกปีละ 1-2 ครั้ง ช่วงปลายฝนเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ต้องปล่อยให้หน่อโตเป็นลำไผ่ และตัดแต่งกอ ใส่ปุ๋ยคอก เสริมด้วยปุ๋ยเคมี และให้น้ำอย่างเต็มที่

2. ตามทฤษฎีใหม่ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยประยุกต์ทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง คือ พื้นที่ทำนา 30% พื้นที่กักเก็บน้ำ 30% ปลูกไม้ใช้สอยหรือพืชทำรายได้หมุนเวียน 30% และที่อยู่อาศัย 10% มีการเลี้ยงสัตว์ผสมไปด้วย เช่น แหล่งน้ำเลี้ยงปลาและเป็ด พื้นที่ทำนาเมื่อหมดหน้านาก็เลี้ยงวัว 5 ตัว บริเวณบ้านเลี้ยงไก่และแม่หมูผลิตลูกหมูขาย พื้นที่ปลูกพืชหมุนเวียนมีเห็ด ผักพื้นบ้าน เช่น ผักชะอม ผลไม้พวกมะม่วง กระท้อน และไผ่ตง เป็นต้น สำหรับไผ่ตงเป็นพันธุ์ศรีปราจีน 500 ต้น ปลูกไผ่ตง 250 หลุ่มๆ ละ 2 ต้น ระยะแถวห่างกัน 3 เมตร ทำร่องน้ำ และขุดร่องพักน้ำไว้ในสวนไผ่ นอกจากนั้นต่อสายระบบน้ำหยดไปทุกต้น ทำถังพักน้ำ ลงทุนปลูกไผ่ตงเป็นเงิน 27,000 บาท เมื่อปลูกได้เพียง 1 ปีก็เห็นผล เดือนกุมภาพันธ์ 2544 เก็บหน่อไผ่ตงขายได้แล้ว แม้ว่าหน่อยังไม่ใหญ่มีน้ำหนักหน่อละ 0.5-1.5 กิโลกรัม จำหน่ายราคา 50 บาทต่อกิโลกรัม แรกๆ มีรายได้วันละ 500 บาท ต่อมามากขึ้นโดยเฉลี่ยเดือนละ 30,000 บาท นอกจากนี้ยังมีรายได้พิเศษจากการขยายพันธุ์ไผ่ตงโดยขายกิ่งละ 25 บาท  

ตัวอย่างการบริหารจัดการป่าไผ่ธรรมชาติ
1. กรณีกลุ่มจักสานเข่งไผ่ อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ไผ่รวกที่ใช้มีอายุประมาณ 5 ปี จากป่าธรรมชาติทิศตะวันตกของลำห้วยคอกหมูแนวเขตเทือกเขาตะนาวศรี ซึ่งไผ่รวกขึ้นกระจายทั่วไปในพื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่ ได้แบ่งพื้นที่ป่าออกเป็น 3 แปลง ตัดไผ่เป็นรอบหมุนเวียนปีละแปลง เพื่อให้ไผ่แตกหน่อฟื้นตัวกลับคืน โดยแต่ละครอบครัวตัดไผ่ได้ 70 ลำ/ครั้ง ในรอบปีตัดประมาณ 15 ครั้ง โดยเฉลี่ยใช้ไผ่รวก 1,100 ลำ/ครัวเรือน/ปี ทั้งหมดนำมาสานเข่งไผ่มี 79 ครัวเรือน จึงใช้ไผ่รวมจำนวนประมาณ 86,900 ลำ/ปี นอกจากนี้หน่อไผ่กำหนดให้ชาวบ้านเก็บกินได้แต่ห้ามนำไปขาย

2. กรณีกลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนห้วยแม่หิน อำเภองาว จังหวัดลำปาง ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เป็นสมาคมพัฒนาป่าต้นแบบงาว ซึ่งมีกิจกรรมปลูกป่า ป้องกันไฟป่า และบวชป่า ได้ขอใช้พื้นที่ 1,500 ไร่ ใน 2 ปีแรกห้ามตัดไม้และขุดหน่อไผ่โดยเด็ดขาด เริ่มตัดไผ่ได้ในปีที่ 3 เฉพาะลำที่คณะกรรมการทำเครื่องหมายไว้เท่านั้นในพื้นที่ 500 ไร่ต่อปี หมุนวนไปสามปี เริ่มต้นขายไผ่ได้ลำละ 8 บาท แบ่งให้ผู้ตัด 4 บาท คนขนเข้าโรงงาน 4 บาท โรงงานคืนเข้ากองทุนสมาคม 1 บาท เพื่อเป็นค่าตอบแทนกรรมการ 40% อีก 60% สะสมเป็นเงินกองทุน (ปัจจุบันมีโรงงานตะเกียบ 13 โรง รับซื้อไผ่ลำละ 12 บาท) ในอนาคตจะขยายพื้นที่ดูแลเพิ่มเป็น 3,500 ไร่                

3. กรณีกลุ่มแปรรูปหน่อไผ่ดอยตุง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เป็นชุมชน 10 หมู่บ้าน ภายใต้โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มี หจก.เชียงใหม่ส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตร (CC.) สนับสนุน ชาวบ้านจะเก็บหน่อไผ่จากพื้นที่ป่ามาขาย ณ จุดแปรรูป 2 แห่ง ที่บ้านห้วยปูใหม่ และบ้านสามัคคีใหม่ ซึ่งจะได้มาตรฐานส่งออกต่างประเทศ ตั้งแต่การเก็บ การคัดแยก การต้ม การตัดซอย และการไสหน่อ แล้วขนส่งเข้าโรงงานที่เชียงใหม่เพื่อบรรจุกระป๋อง ซึ่งจะพัฒนาให้มีการบรรจุกระป๋องในพื้นที่ต่อไป รายได้ส่วนหนึ่งจะหักเข้ากองกลาง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์พัฒนาชุมชน การดำเนินงานเป็นวิสาหกิจชุมชนแล้วตั้งแต่ปี 2549 มีการระดมทุนเป็นเรือนหุ้น สมาชิกโครงการเท่านั้นที่มีสิทธิเก็บหน่อไผ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้วขึ้นไป เปลือกหน่อไผ่ที่ปอกต้องไม่ทิ้งไว้ข้างถนน มีการควบคุมขึ้นทะเบียนรถยนต์ที่ขนส่งหน่อไผ่ ห้ามรับซื้อหน่อไผ่นอกเขตพื้นที่เด็ดขาด ให้เก็บหน่อไผ่ระหว่าง 15 กรกฎาคม – 15 กันยายน เป็นช่วงที่หน่อไผ่ขึ้นมากแล้ว ส่วนต้นและปลายฤดูฝนปล่อยให้ไผ่ขึ้นลำใหม่ หยุดเอาหน่อเสาร์-อาทิตย์ เพื่อให้หน่อไผ่เติบโตได้ขนาด และหลังหยุดเก็บหน่อไผ่แล้ว ระหว่างเดือนธันวาคม-มกราคม ชาวบ้านจะน้องนับปริมาณลำที่เกิดใหม่ การตัดลำไผ่ไปใช้จะต้องไม่เกินลำใหม่ที่เกิดขึ้น และต้องตัดแต่งกอไผ่โดยตัดลำที่หักด้วน ลำที่ตาย สูงจากพื้นดิน 50 เซนติเมตร เฉพาะไผ่ซางอายุ 3 ปีขึ้นไป เพื่อทำหัตถกรรม และตัดลำเว้นลำเป็นช่องว่างให้เกิดหน่อและลำใหม่ได้ สำหรับไม้ฟืนต้มหน่อไผ่ใช้ไผ่ลำหักและลำด้วน ส่วนฟืนไม้จริงจะซื้อจากนอกพื้นที่ นอกจากนี้จะมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำทุกเดือนเพื่อติดตามและป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย  

การใช้ประโยชน์
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ ทรงพระราชดำริเกี่ยวกับเรื่องการอนุรักษ์และขยายพันธุ์ไผ่หลายครั้งที่เสด็จฯ เยี่ยมราษฎร อาทิ “ให้ปลูกไผ่สีสุก ซึ่งเป็นไม้ท้องถิ่นที่มีลำต้นโต สามารถนำมาทำเฟอร์นิเจอร์และสร้างที่อยู่อาศัยได้ให้เพิ่มมากขึ้น” (26 มกราคม 2548

– โครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงบ้านปางขอน จังหวัดเชียงราย) “ความจริงน่าจะสอนราษฎรให้ปลูกต้นไม้ พวกไผ่ จะได้ยึดน้ำไว้ใต้ดิน” และพระราชเสาวนีย์ให้ “ขยายการปลูกไผ่ให้มากขึ้น” (31 มกราคม 2548
-โครงการพัฒนาบ้านกอก-บ้านจูน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดน่าน) เป็นต้น
     
          

ไผ่เป็นของป่าชนิดหนึ่ง หน่อไผ่เป็นอาหารพื้นบ้าน ลำไผ่นำมาสร้างที่อยู่อาศัย ทำเป็นแนวรั้วป้องกันสัตว์เลี้ยง ทำเสาโป๊ะล้อมจับปลาในทะเล ทำที่ค้างผักและผลไม้ ใช้ในงานด้านก่อสร้าง อุตสาหกรรมกระดาษและอุตสาหกรรมไหมเทียม หรือจักสานใช้สอยในครัวเรือนในชีวิตประจำวัน  สามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวในระดับท้องถิ่นได้ ใบใช้เป็นภาชนะห่อของและมุงหลังคา เป็นต้น               

ในเชิงเศรษฐกิจไผ่และหน่อไผ่หรือหน่อไม้สามารถสร้างงานในการปลูก เก็บเกี่ยว การผลิต และการขนส่ง เป็นสินค้าสินค้าส่งออกทำรายได้ให้แก่ประเทศ และโดยภาพรวมช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ ตั้งแต่ระบบรากที่สานกันอย่างเหนียวแน่นช่วยยึดดินตามไหล่เขาและริมห้วยไว้ไม่ให้พังทลาย ดินขุยไผ่มีลักษณะร่วนโปร่งเบาเหมาะกับการปลูกพืชพิเศษบางชนิด 
               

-การกินหน่อ
               
ในธรรมชาติหน่อไผ่อ่อน ลำไผ่ และใบเป็นอาหารหลักที่สำคัญของสัตว์ป่าหลายชนิด ที่สำคัญมีช้าง หมีแพนด้ายักษ์ของจีน และลิงแมงมุมในอาฟริกา เป็นต้น สำหรับมนุษย์นำหน่อไผ่มาปรุงอาหาร โดยการต้มหรือตากแห้งหรือหมักดอง ซึ่งเป็นการถนอมอาหารเพื่อขายหรือเก็บไว้บริโภคได้นานๆ โดยหั่นเป็นชิ้นบางๆ หรือเป็นเส้นๆ บางชนิดต้องล้างหรือต้มด้วยน้ำ เพื่อละลายสารพิษทิ้งไปบ้าง                

หน่อไผ่มีต้นทุนการผลิตต่ำ ปลอดสารพิษ จะมีมากราคาถูกในฤดูฝน จึงมีการแปรรูปด้วยการนึ่งหรือดองเพื่อรอขายช่วงฤดูแล้ง สำหรับไผ่เลี้ยงจะเก็บหน่อได้ทุกวัน วันละ 20-40 กิโลกรัมต่อไร่ ขายส่งราคา 3 บาทต่อกิโลกรัม แต่หลังเดือนกันยายน จะได้ราคา 15 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับผู้บริโภคจะสูงถึง 30-50 บาทต่อกิโลกรัม               

การนึ่งหน่อไผ่ ให้แกะเปลือกออก ใช้มีดตัดแต่งให้สวยงาม ใส่ถุงพลาสติก 1 กิโลกรัม มัดปากถุงให้แน่น แล้วเข้าเตานึ่งที่อาจประยุกต์จากถังน้ำมัน 200 ลิตร โดยเปิดด้านข้างถังน้ำมันนาน 4 ชั่วโมง สังเกตในถุงจะมีน้ำสีเหลืองใสออกมาจากหน่อไผ่ สำหรับหน่อไผ่เลี้ยงขายได้ราคา 20-30 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับการบริโภคให้ต้มน้ำทิ้งหนึ่งครั้งก่อนประกอบอาหารได้เหมือนหน่อไผ่ทั่วไป                

สำหรับการดองหน่อไผ่ ให้ปอกเปลือกแล้วสับเป็นเส้นๆ หรือฝานเป็นแผ่นยาว นำไปหมักในโอ่งมังกรได้ 120 กิโลกรัม ในน้ำเกลือ 6 ปี๊บ ซึ่งผสมจากเกลือเม็ด 2 กิโลกรัมละลายน้ำ 6 ปี๊บ แช่นาน 1 คืน รุ่งขึ้นต้องย้ายลงในโอ่งใหม่ที่มีน้ำเกลือ 6 ปี๊บเช่นกัน แต่เข้มข้นขึ้นเท่าตัวคือผสมเกลือเม็ด 4 กิโลกรัมละลายในน้ำ 6 ปี๊บ หมักไว้นาน 3 วัน สำหรับหน่อไผ่เลี้ยงดองขายได้ในราคา 15-20 บาทต่อกิโลกรัม               

ไผ่ที่ให้หน่อเพื่อบริโภคหรือการค้าได้ดีในภาคเหนือ ได้แก่ ไผ่เป๊าะ ไผ่ซางหวาน ไผ่ซางหม่น ไผ่ซางหลวง ไผ่หม่าจู ไผ่สีสุก ไผ่บงหวาน ไผ่ตง และไผ่ไร่                

-การใช้ลำ
               
การใช้ลำไผ่ต้องคัดเลือกไผ่ที่มีอายุหลายปีเพื่อให้ได้เนื้อไม้ ลำไผ่มีความแข็งแกร่งมากโดยเฉพาะเมื่อผ่านการอบแห้งอัดน้ำรักษาเนื้อไม้แล้ว สามารถนำมาสร้างบ้าน ทำรั้ว ทำสะพานเดิน เครื่องเรือน ของเด็กเล่น นั่งร้านก่อสร้าง หมวก เครื่องดนตรีพื้นบ้านหลายชนิด  ชนิดไผ่ที่ควรปลูกไว้ใช้สอย ได้แก่ ไผ่สีสุก ไผ่รวก ไผ่เลี้ยง ไผ่ซางชนิดต่างๆ ไผ่หก ไผ่บง และไผ่ไร่โดยธรรมชาติลำไผ่จะกลม แต่เราสามารถบังคับลำไผ่ให้เป็นเหลี่ยมได้ด้วยการครอบท่อเหลี่ยมบังคับโดยค่อยๆ เลื่อนขึ้นไปตามลำไผ่ที่โตหรือสูงขึ้น
                

การใช้ลำไผ่ในเชิงอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่
1. อุตสาหกรรมจักสานการจักสานถือเป็นศิลปะพื้นบ้าน เพื่อใช้สอยในครัวเรือนของชีวิตประจำวัน เช่น กระด้งฝัดข้าว ตะแกรงร่อนข้าว ฝาชี กระบุง ตะกร้า กระจาด กระเป๋า ครุ เป็นต้น ปัจจุบันเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนแล้วพัฒนาเป็นรัฐวิสาหกิจชุมชนผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์หรือโอท๊อป (OTOP) ที่มีชื่อเสียงฝีมือประณีต คือ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี และอำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ไผ่ที่นิยมใช้ ได้แก่ ไผ่สีสุก ไผ่นวล ไผ่ข้าวหลาม ไผ่เฮียะ ไผ่บง ไผ่ซาง ไผ่เลี้ยง และไผ่รวก ไผ่สีสุกเป็นไผ่ที่นิยมใช้จักสานมากที่สุด โดยเลือกอายุ 2-3 ปี ซึ่งไม่แก่และอ่อนเกินไป จักตอกได้ง่ายไม่หักและใช้ทนทาน สำหรับไผ่รวกและไผ่นวลมีความเหนียวสานเป็นเข่งไผ่ใส่พืชผักในการขนส่งได้ดี

2. อุตสาหกรรมศิลปประดิษฐ์ศิลปินได้นำส่วนต่างๆ ของไผ่มาประยุกต์ใช้เชิงการค้าเป็นศิลปประดิษฐ์ ได้แก่ เหง้าและรากฝอยของไผ่แกะสลักเป็นรูปหน้าคนพร้อมนวดเครา ตุ๊กตา และพระพุทธรูป เป็นต้น ปล้องไผ่พร้อมข้อแขนงไผ่ตัดแต่งเป็นถ้วยน้ำและอาจวาดภาพตกแต่งด้วย ลำไผ่ทั้งลำหรือผ่าซีกจักสานประดิษฐ์เป็นโคมไฟทั้งตั้งโต๊ะ ตั้งพื้น และโคมระย้า เป็นต้น ไผ่ทุกชนิดสามารถนำมาใช้ได้ตามรูปลักษณ์ของชิ้นงานนั้นๆ นอกจากนี้ยังมีการประดิษฐเครื่องดนตรีจากไผ่อย่างหลากหลายตามท้องถิ่นและวัฒนธรรม ตั้งแต่ครั้งอดีตและยังคงพัฒนาต่อไป เช่น ขลุ่ย อังกะลุง แคน ไม้สีสล้อหรือซอ แซ็กโซโฟนไผ่ เป็นต้น ตลอดจนของเล่นเด็กๆ เช่น ว่าว กังหันลม ใบพัด แมลงปอ (กำบี้) ลูกข่าง กบกระโดด งูไม้ไผ่ และแบบจำลองต่างๆ ที่ทำจากไผ่ เป็นต้น

3. อุตสาหกรรมตะเกียบ ไม้เสียบอาหาร ไม้จิ้มฟัน และมู่ลี่ โรงงานอุตสาหกรรมต้องการไผ่ซาง ไผ่บง และไผ่รวกแดง ที่มีอายุตั้งแต่ปีครึ่งขึ้นไป ซึ่งจะให้คุณภาพดีในเรื่องสี ความแข็ง ความเรียบมัน และไม่เกิดเชื้อราได้ง่าย ในภาคเหนือมีการผลิตที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำปาง ตาก แพร่ น่าน สุโขทัย และอุตรดิตถ์

4. อุตสาหกรรมแผ่นไผ่ประสานแผ่นไผ่ประสาน ได้แก่ แผ่นไผ่อัด โดยนำเสื่อลำแพนมาอัดด้วยกาว ใช้ตกแต่งผนังห้องหรือฝ้าเพดาน หรือใช้ผลิตเครื่องเรือนต่างๆ หรือใช้ทดแทนไม้แบบก่อสร้าง ซึ่งมีคุณสมบัติที่ดีคือเมื่อแห้งแล้วไม่ดูดน้ำสามารถใช้ซ้ำได้อีก 6-8 ครั้ง มากกว่าไม้แบบเดิมซึ่งใช้ได้เพียง 2 ครั้งเท่านั้น ในประเทศไทยมีการผลิตที่จังหวัดกาญจนบุรี ลำพูน และกรุงเทพมหานคร ชนิดไผ่ที่ใช้ ได้แก่ ไผ่ซางนวล ไผ่ตง ไผ่ข้าวหลาม และไผ่เฮียะ นอกจากนี้แผ่นไผ่ประสาน อาจมีลักษณะไม้ปาร์เก้ โดยการเลื่อยไสไผ่เป็นชิ้นๆ กว้างประมาณ 1 นิ้ว ยาวเท่าที่เป็นไปได้แล้วนำมาประกบด้านข้างด้วยกาวต่อกันเป็นแผ่นที่กว้างใหญ่ขึ้น หรือการตีแผ่ลำไผ่เป็นฝ้าแล้วทากาวประกบติดแผ่นไม้อัดทำเป็นแผ่นพื้นหรือผนังเพดานตกแต่งก็ได้

5. อุตสาหกรรมกระดาษไผ่
ไผ่ให้เส้นใยที่ยาวมากจึงเหมาะสมต่อการทำกระดาษ มีโรงงานที่จังหวัดขอนแก่น กาญจนบุรี และพิษณุโลก ไผ่ทุกชนิดนำมาผลิตกระดาษได้ แต่ที่นิยมคือไผ่รวกและไผ่ป่า นอกจากนี้เศษไผ่ที่เหลือจากอุตสาหกรรมอื่นๆ สามารถนำมาใช้ได้ด้วย โรงงานผลิตเยื่อกระดาษขนาดเล็กจะใช้ไผ่ถึงวันละ 10 คันรถหรือจากเนื้อที่ปลูก 50 ไร่/วัน หากเป็นโรงงานขนาดใหญ่ก็จะใช้มากขึ้น โดยภาพรวมสามารถส่งเสริมการปลูกไผ่เพื่อผลิตกระดาษได้นับแสนไร่

6. อุตสาหกรรมหลักไผ่หลักเลี้ยงหอยแมลงภู่นิยมใช้ไผ่รวกหรือไผ่รวกแดง เพราะมีข้อสั้น เนื้อแน่นแข็งทนต่อการกัดแทะของหอย และลำยาวเลี้ยงหอยได้มาก สำหรับไผ่ตง ไผ่ซาง และไผ่ที่มีลำโตจะใช้ทำโครงโป๊ะเลี้ยงหอย มีการซื้อไผ่รวกเหมาสวนเฉลี่ยลำละ 10 บาท หากตัดส่งถึงรถบรรทุกจะขายเมตรละ 1 บาท ซึ่งราคาขายส่งถึงตลาดชายทะเลสูงถึงลำละ 30-40 บาทสำหรับการส่งออกมีไผ่รวกดัด โดยนำไผ่รวกมาอาบน้ำยาป้องกันมอดและแมลง ในราคาลำละ 0.70-1.50 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดและความยาว ไผ่รวกที่เหมาะสมควรมีอายุ 1 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่นำไปใช้ประโยชน์ด้านเกษตร สร้างบ้านเรือน เต้นท์ทหาร และกระโจมที่พัก เป็นต้นนอกจากลำไผ่ยังมีการผ่าซีกไผ่เรียกไผ่ผ่าซีก หรือไม้สะลาบ (ลำปาง) เพื่อทำคอกสัตว์ ไม้เสียบไก่ย่าง ไม้เสียบดอกไม้ เป็นต้น โดยเริ่มจากตัดซอยไผ่ตามยาว 1-2.5 เมตร แล้วผ่าเป็น 8-10 ซีก มัดรวมกัน 50 ซีก หนึ่งมัดใช้ไผ่ 2 ลำ ไผ่ผ่าซีกนี้หากตัดสั้นลงจะนำไปใช้ในอุตสาหกรรมตะเกียบ ไม้เสียบอาหาร และไม้จิ้มฟันได้ดังกล่าวแล้ว7. อุตสาหกรรมเผาถ่านการเผาถ่านไผ่อาจใช้ลำไผ่โดยตรงหรือนำเศษเหลือไผ่จากอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น ข้อไผ่ มาเผาเป็นถ่าน และอาจบดแล้วอัดเป็นถ่านอัดแท่งจำหน่ายได้ทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้การเผาถ่านจะได้น้ำส้มควันไม้ ใช้ทดแทนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้ดี 8. อุตสาหกรรมเครื่องเรือนเครื่องเรือนจากไผ่มีการผลิตเกือบทุกจังหวัด ไผ่ที่นิยมใช้ต้องมีเนื้อหนา ลำตรง เหนียวทนทานไม่แตกหักง่าย ได้แก่ ไผ่ซาง ไผ่เลี้ยง ไผ่รวก ไผ่บง ไผ่ตง ไผ่หก ตัวอย่างการผลิตเครื่องเรือนส่งออกที่เชียงใหม่ ใช้ไผ่ซางหม่นซึ่งมีลำต้นตรงเปลา ปล้องยาว 30-50 เซนติเมตร มีกิ่งแขนงน้อย ไม่มีหนาม ราคาลำไผ่ละ 100-300 บาท เลือกไผ่ลำอายุ 4 ปีขึ้นไป ซึ่งยาวไม่ต่ำกว่า 21 เมตร นำมาตัดเป็นท่อนๆ แช่น้ำยากันมอด 2 วัน แล้ววางชั้นผึ่งลม จากนั้นเข้าเตาอบ เสร็จแล้วนำมาประกอบโดยใช้สว่านเจาะรูใช้สลักไผ่เป็นโต๊ะวางแจกัน โคมไผ่ เตียงนอน เตียงพักผ่อน ชุดรับแขก ฯลฯ สำหรับชุดรับแขกที่มีคุณภาพสูงจะได้ราคาสูงนับหมื่นบาทจากนั้นขัดด้วยกระดาษทรายก่อนลงสีเป็นขั้นตอนสุดท้าย                 สำหรับไผ่เลี้ยงมีการนำมาทำเก้าอี้ชายหาดปรับเอนได้ โดยใช้ลำไผ่อายุไม่ต่ำกว่า 2 ปี จะมีความเหนียวและลำตัน เพิ่มความนิยมด้วยการรมควันดำ นอกจากนี้เศษไผ่นำไปเป็นเชื้อเพลิง ขี้เถ้านำมาใส่เป็นปุ๋ยในแปลงไผ่เลี้ยง หรือเก็บน้ำส้มควันไม้จากการเผาถ่านไผ่ ซึ่งใช้ประโยชน์ในการฉีดพ่นป้องกันและกำจัดแมลง มด และปลวกได้ เป็นส่วนผสมของยาหม่อง หรือใช้ถูนวดก็ได้ สำหรับถ่านไผ่ช่วยดูดกลิ่นต่างๆ ในรถยนต์ ในตู้เย็น และกลิ่นจากรองเท้าได้ดี                การใช้ประโยชน์ไผ่จากการกินหน่อไผ่และลำไผ่แล้ว สำหรับการค้าเกษตรกรอาจเพาะกล้าไผ่ขาย ซึ่งราคาต่อกล้าขึ้นอยู่กับชนิดและวัตถุประสงค์มีตั้งแต่กล้าละ 10 บาทขึ้นไปสำหรับการเกษตร จนถึงกว่า 1,000 บาทสำหรับไผ่ประดับตกแต่ง นอกจากนี้ยังมีแนวคิดนำกาบไผ่มาทำเป็นบรรจุภัณฑ์ หมวก รากไผ่นำมาตัดเป็นชิ้นเล็กๆ เป็นวัสดุปลูกไม้กระถางได้ดีด้วยลักษณะโปร่งมีช่องว่างระบายน้ำดีไม่อุ้มน้ำมากเกินไป เป็นต้น               

ปัจจุบันไผ่ในตลาดอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ได้จากป่า ซึ่งนับวันจะหายาก ปริมาณและคุณภาพไม่แน่นอนและสม่ำเสมอ มีปัญหาในการนำออกจากป่าช่วงฤดูฝน ไผ่จากสวนปลูกในพื้นที่เกษตรกรจะเข้าถึงได้ง่ายกว่าเป็นแหล่งผลิตทดแทนจากป่าได้ดีต่อไป ประกอบกับไผ่เป็นพืชที่ปลูกได้ง่าย ขึ้นได้แทบทุกท้องถิ่น ไผ่ซางปลูกได้ตั้งแต่พื้นที่ราบถึงระดับภูเขาสูง ไผ่รวก ไผ่เลี้ยง ปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ ยกเว้นไผ่หก ไผ่ข้าวหลาม ไผ่เฮียะ ต้องปลูกในที่ชื้นและเย็นจึงจะได้ลำใหญ่โตได้เต็มที่  ตัวอย่างผลตอบแทนจากการปลูกไผ่ซาง 100 กอต่อไร่ ผลผลิตขั้นต่ำ 5 ลำต่อกอ หรือ 500 ลำต่อไร่ ราคาขั้นต่ำ 10 บาท จะมีรายได้ 5,000 บาทต่อไร่ต่อปี นับเป็นรายได้ที่ดีกว่าการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวไร่ หรือพืชไร่อื่นๆ การปลูกไผ่ทั่วไปจะเริ่มให้ผลผลิตเมื่อปีที่ 3 กรณีไผ่ซางมีอายุให้ตัดฟันได้ไม่ต่ำกว่า 20 ปี จึงจะตายขุย (เฉลี่ยออกดอกแล้วตาย 30 ปี) นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์จากไผ่และผลพลอยได้อื่นๆ สามารถเพิ่มรายได้เป็นจำนวนมาก  บทสรุปไผ่เป็นที่ยอมรับของสังคม วัฒนธรรม และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สินค้าจากไผ่ใช้ประโยชน์ได้ดีแฝงด้วยคุณค่าทางศิลป สามารถปลูกเป็นไม้ประดับได้ หากปลูกในป่าจะก่อให้เกิดห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่จุลินทรีย์ในดิน พืชอื่นๆ และสัตว์ป่า รากช่วยจับยึดน้ำจากฝนและยึดเกาะดินป้องกันการชะล้างพังทลาย รวมถึงซากใบเกิดเป็นดินขุยไผ่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นป่าต้นน้ำลำธารได้ดี ไผ่สามารถปลูกทดแทนในพื้นที่ไร่เลื่อนลอยได้ เพราะเกิดเป็นป่าได้เร็ว เป็นป่าไผ่ที่มีอาหาร มีไผ่ใช้สอย และที่สำคัญก่อเกิดเป็นรายได้เป็นอาชีพที่มั่นคงได้ไผ่เป็นพืชที่เหมาะสมอย่างยิ่งในระบบเศรษฐกิจพอเพียง เพราะเป็นสัญลักษณ์ของการพึ่งพาตนเองทั้งอาหาร ที่อยู่อาศัย รวมถึงยาและเครื่องนุ่งห่ม เนื่องจากมีการผลิตผ้าจากใยไผ่ได้ด้วยแล้ว ไผ่เป็นพืชที่ช่วยให้เกิดภูมิคุ้มกันทั้งด้านเศรษฐกิจ สามารถเป็นอาหารยามยากได้และทดแทนไม้ใช้สอยได้ ทางด้านสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดป่าช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ เป็นห่วงโซ่อาหารในธรรมชาติ และไผ่สามารถพัฒนาเป็นอาชีพจากระดับพอมีพอกินให้เป็นระดับอยู่ดีมีสุขในรูปแบบอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี เอกสารอ้างอิงกรมป่าไม้. 2541. การใช้ประโยชน์ไม้ขั้นพื้นฐาน. 168 น.กรมป่าไม้. 2544. กิจการชุมชน…กับการใช้ประโยชน์ไม้และของป่า. 212 น.กรมป่าไม้. 2534. ความรู้สำหรับประชาชนเกี่ยวกับกฎหมายป่าไม้. 24 น.           กิสณะ ตันเจริญ และสุพล ธนูรักษ์. 2548. ไผ่ตง. http://web.ku.ac.th/agri/paitong/ topic3.htm.โกวิทย์ สมบุญ และคณะ. (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์). การปลูกและการจัดการไผ่. กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. 56 น.คมชัดลึก. 2550. สมจิต มณีรัตน์ ผู้บุกเบิกปลูกไผ่ซางหม่น. หนังสือพิมพ์รายวัน วันที่ 26 กันยายน 2550. น. 8.เทคโนโลยีชาวบ้าน. 2550. กลุ่มไผ่สีทอง รวมกลุ่มปลูกไผ่เลี้ยงทำรายได้ดีที่ไทรงาม. นิตยสารปีที่ 13 ฉบับที่ 415 : 15 กันยายน 2550. น.14-16.ปกรณ์ จริงสูงเนิน, เสมอ ลิ้มชูวงศ์ และ ชัยรัตน์ จงก้องเกียรติ. 2539. การจัดทำแผนงานพัฒนาป่าชุมชนแนวใหม่ ภาคเหนือ. (ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์). 27 น.ประเสริฐ ดอยลอม. 2551. แนวทางส่งเสริมการปลูกไผ่. 15 น.วนิดา สุบรรณเสณี. 2539. ของป่าในประเทศไทย. กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. 188 น.วิมล กิจวานิชขจร. 2543. พ่ออุ้ยแม่อุ๊ยสุขสันต์ชุมชนล้านนาสุขสม. นสพ.มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 13 เมษายน 2543. น.12.มติชน. 2543. เบลเยี่ยมทึ่งแซ็กโซโฟน ‘ไม้ไผ่ไทย’ ทำขายทั่วโลก. ฉบับวันที่ 20 มกราคม 2543.ไทยรัฐ. 2543. แซ็กโซโฟนทำจากไม้ไผ่ออกตีตลาด. ฉบับวันที่ 21 มกราคม 2543.สมยศ แสงนิล. 2536. การใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมในการประมาณหาผลผลิตของไม้ไผ่ในภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.สมโรจน์ สำราญชลาลักษณ์. 2545. ‘ปลูกไผ่ตง’ ชีวิตสุขอย่างมั่นคง. หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 26 มิถุนายน 2545. น.23.สุทัศน์ เล้าสกุล. 2545. ไผ่เศรษฐกิจที่น่าสนใจในประเทศไทย, น.205-214. ใน รายงานการสัมมนาทางวนวัฒนวิทยา ครั้งที่ 7. กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.www.encyclpedia.thefreedictionary.com/bamboo. 2005.


www.thai-folksy.com/ELearning/Research/Way/06-PAR.html. 2005.
 




 การสนับสนุนส่งเสริมเพื่อปลูกไผ่ใช้สอยของส่วนราชการ

ส่วนราชการตระหนักถึงความสำคัญของไผ่ โดยกำหนดให้ไผ่เป็นไม้ชนิดหนึ่งของโครงการพัฒนาป่าชุมชน สำหรับการจัดการป่าไม้ในระบบวนเกษตร กล่าวคือไผ่นั้นเหมาะสมต่อการนำไปส่งเสริม เพื่อให้ชุมชนในท้องถิ่นได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้ในระยะสั้น ไผ่เป็นที่คุ้นเคยและมีการนำมาใช้ประโยชน์กันเป็นอย่างดีแล้วในท้องถิ่น ทำให้เกิดแรงจูงใจและความร่วมมือเมื่อมีการเข้าไปพัฒนาและ ส่งเสริมป่าชุมชน โดยชุมชนให้การยอมรับได้ง่ายเพราะมิได้เป็นการเปลี่ยนทัศนคติวิถีการดำรงหรือโครงสร้างของท้องถิ่นอย่างทันที ส่วนราชการได้เห็นความสำคัญและประโยชน์อย่างมากมายของไผ่ได้มีการส่งเสริมการปลูกไผ่และให้มีการใช้ประโยชน์กว้างขวางยิ่งขึ้น ชนิดพันธุ์ไผ่ที่ส่งเสริมส่วนใหญ่เป็นพันธุ์มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมีการใช้ประโยชน์กว้างขวางและสามารถขยายพันธุ์สู่เกษตรกรได้ คือ ไผ่ตง ไผ่รวก ไผ่เลี้ยง เป็นต้น มีการจัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการปลูกไผ่โดยกรมวิชาการเกษตรให้การส่งเสริมปลูกไผ่ควบคู่กับไม้ผลยืนต้น กรมพัฒนาที่ดินได้จัดไผ่ไว้ในโครงการปรับปรุงดิน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย มีแนวทางสนับสนุนการปลูกไผ่ของราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะในท้องที่จังหวัดขอนแก่นและบริเวณใกล้เคียง เพื่อจัดจำหน่ายให้แก่โรงงานกระดาษ เป็นการส่งเสริมรายได้ให้แก่ราษฎรพร้อมทั้งเป็นไม้ใช้สอยในครัวเรือนควบคู่กันไปด้วย ในส่วนของกรมป่าไม้ได้มีการค้นคว้าศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับไผ่ จัดตั้งศูนย์รวบรวมพันธุ์ไผ่ จัดหาแหล่งพันธุ์ไผ่และเก็บรวบรวมไว้สำหรับแจกจ่ายให้แก่หน่วยงานกรมป่าไม้ เช่น ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ทั่วประเทศ เพื่อนำไปเพาะแจกจ่ายแก่ราษฎร นอกจากนี้ยังได้แจกจ่ายเมล็ดและกล้าไผ่ให้แก่หน่วยงานราชการอื่นๆ และเอกชนที่สนใจด้วย
  การเก็บหาไผ่ในป่าพวกไผ่ หน่อไผ่ เห็ด กลอย และมัน หากจะตัดหรือเก็บหาเพื่อใช้สอยในครัวเรือนในป่าที่มิใช่ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาต เพราะไผ่ หน่อไผ่ เห็ด กลอย และมัน มิใช่ไม้หรือของป่าหวงห้าม แต่ถ้าเป็นการตัดหรือเก็บหาในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ต้องตรวจสอบประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดท้องที่ก่อน ว่ามีประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศอนุญาตให้ทำหรือเก็บหาได้หรือไม่ ถ้ามี ก็มีสิทธิทำหรือเก็บหาได้โดยไม่ต้องขออนุญาตอีก ไผ่กับกฎหมายป่าไม้ไผ่ทุกชนิดถือเป็น ”ไม้” ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ตามมาตรา 4(2) และตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ตามมาตรา 4ไผ่เป็นทั้งไม้ที่มิใช่ไม้หวงห้ามและของป่าไม่หวงห้าม แต่เดิมมีพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2520 ได้กำหนดไผ่ 12 ชนิด ในท้องที่ อ.ทองผาภูมิ อ.ศรีสวัสดิ์ และ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก เพื่อให้การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรไผ่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ปัจจุบันพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ.2530 และพระราชฎีกากำหนดของป่าหวงห้าม พ.ศ.2530 ไม่ได้กำหนดให้ไผ่เป็นไม้หวงห้ามหรือของป่าหวงห้ามแต่อย่างใด แต่กฎหมายว่าด้วยป่าไม้กำหนดหลักเกณฑ์ในการควบคุมไผ่ไว้ดังนี้ คือ1. การทำไผ่การทำไผ่ซึ่งเป็นไม้ที่มิใช่ไม้หวงห้ามในป่าๆ ทั่วไป ไม่ต้องขอรับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 11 ไม่ต้องชำระค่าภาคหลวงตามมาตรา 9 และ 14 และไม่ต้องชำระค่าบำรุงป่าหรือปลูกสร้างสวนป่าตามมาตรา 58 ทวิ 2. การนำไผ่เคลื่อนที่การทำไผ่ออกจากป่าผ่านด่านป่าไม้ด่านแรกผู้นำเคลื่อนที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละสองของราคาในท้องที่ โดยเฉลี่ยจากราคาของไผ่นั้นตามมาตรา 25 และ 26 และประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมนำไม้ที่มิใช่ไม้หวงห้ามเข้าเขตด่านป่าไม้ ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2518 เว้นแต่นำไปเพื่อใช้สอยส่วนตัวภายในเขตท้องที่ที่จังหวัดที่ทำไผ่นั้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด และในกรณีต้องนำไผ่เข้าเขตด่านหลายด่านให้เสียค่าธรรมเนียมด่านแรกด่านเดียวการนำไผ่เคลื่อนที่จากด่านป่าไม้ด่านแรกไปเพื่อการค้าหรือออกนอกเขตท้องที่จังหวัดที่นำไผ่นั้นต้องมีใบเบิกทางกำกับด้วยทุกครั้งตามมาตรา 38(2) และ 39 และต้องแจ้งเข้าเขตด่านป่าไม้หรือแจ้งผ่านด่านป่าไม้ ตามที่ระบุไว้ในใบเบิกทางด้วยตามมาตรา 40 และ 413. การแปรรูปไผ่การแปรรูปไผ่ไม่ต้องขออนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 50(4) ซึ่งเป็นบทยกเว้นมาตรา 48 แต่ถ้าการแปรรูปนั้นเข้าลักษณะของโรงงานแปรรูปไม้ ดังนี้ต้องขอรับอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้จากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 48 ซึ่งต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา 49 และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วต้องปฏิบัติตามมาตรา 49 ทวิ, 51, 52 และ 53 ตลอดจนกฎกระทรวงและข้อกำหนดว่าด้วยการควบคุมการแปรรูปไม้ด้วยสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไผ่ไม่อยู่ในข่ายควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ จึงไม่ต้องขอรับใบอนุญาตค้าหรือมีไว้ครอบครองเพื่อการค้าซึ่งสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้ หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามตามมาตรา 53 ตรี แต่อย่างใด4.  การค้าไผ่ ไผ่ที่ยังมิได้แปรรูปสามารถค้าได้โดยเสรี ส่วนไผ่แปรรูปสามารถค้าได้โดยไม่ต้องขอรับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ถ้าการค้านั้นเข้าลักษณะโรงค้าไม้แปรรูปต้องขอรับอนุญาตตั้งโรงค้าไม้แปรรูปจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 48สำหรับไผ่ที่ขึ้นอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ การทำออกจะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งกรมป่าไม้ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติไว้แล้ว ตามระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการอนุญาตทำไผ่ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2529 มีสาระสำคัญพอสรุปได้ดังนี้1.       การยื่นคำขอให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งอำเภอท้องที่หรือกิ่งอำเภอท้องที่ที่ป่านั้นตั้งอยู่ตามแบบกำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 1,106 (พ.ศ.2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ว่าด้วยการทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ 2.       ภายในเดือนมกราคมของทุกปี จังหวัดจะประกาศให้ประชาชนทราบว่าจะมีการเปิดให้มีการทำไผ่ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าใดบ้าง หากผู้ใดประสงค์จะขออนุญาตทำไผ่ในป่าใด ไผ่ชนิดใด จำนวนเท่าใด ให้ยื่นคำขอตามแบบฟอร์มดังกล่าวภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ของแต่ละปี ให้เมื่อจังหวัดได้รับคำขอจากอำเภอหรือกิ่งอำเภอแล้ว จะต้องทำความเห็นประกอบและส่งเรื่องให้ป่าไม้เขต ท้องที่ภายใน 30 พฤษภาคม เพื่อให้ป่าไม้เขตทำการสำรวจหากำลังผลิตให้แล้วเสร็จและแจ้งปริมาณไผ่ให้จังหวัดภายในวันที่ 30 กันยายน เพื่อพิจารณาอนุญาตต่อไป3.       การอนุญาตให้ดำเนินการได้ไม่เกินปริมาณไม้ไผ่ที่สำรวจได้ ดังนี้-ให้อนุญาตเพื่อการใช้สอยส่วนตัวและการกุศลสาธารณประโยชน์เป็นอันดับแรก โดยนายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอท้องที่ อนุญาตได้ตามความจำเป็น แต่รวมทุกชนิดแล้วต้องไม่เกินรายละปีละ 500 ลำ ถ้าเกินจำนวนนี้ให้เสนอขออนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งจะอนุญาตได้รวมทุกชนิดต้องไม่เกินรายละปีละ 1,000 ลำ-ไผ่ที่เหลือจากการอนุญาตเพื่อการใช้สอยส่วนตัวหรือเพื่อการกุศลสาธารณประโยชน์ให้อนุญาตเพื่อการค้าได้โดยนายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอท้องที่อนุญาตได้รวมทุกชนิดไม่เกินรายละปีละ 1,000 ลำ ถ้าเกินจำนวนนี้ให้เสนอเรื่องขออนุมัติผู้ว่าราชการจังหวัดก่อน ซึ่งจะอนุญาตได้ไม่เกินรายละปีละ 5,000 ลำ-หากมีการอนุญาตเกินกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ข้างต้นจะเสนอให้กรมป่าไม้พิจารณาสั่งการเป็นราย ๆ ไป-การชำระเงินค่าภาคหลวงและค่าบำรุง ผู้รับอนุญาตต้องชำระตามอัตราที่กำหนดไว้ในฎกระทรวง ฉบับที่ 1,221 (พ.ศ.2531) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ซึ่งกำหนดอัตราร้อยละสิบของราคาตลาดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดท้องที่ประกาศกำหนดและต้องชำระค่าบำรุงป่าอีกสองเท่าค่าภาคหลวงด้วย การทำไผ่ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติเพื่อใช้สอยในครัวเรือนแห่งตนที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตตามกำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 1,106 (พ.ศ.2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศขออนุญาตไว้เป็นคราวๆ ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติแห่งหนึ่งแห่งใดโดยเฉพาะ สำหรับไผ่ที่ขึ้นอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตอุทยานแห่งชาติไม่มีการอนุญาตให้ทำออก

www.dnp.go.th/fca16/file/aro0qb1piz1pun9.doc -







หน้าก่อน หน้าก่อน (2/3)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (7182 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©