-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 455 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ไม้เศรษฐกิจ9




หน้า: 2/3




การเตรียมพื้นที่ปลูก
การเตรียมพื้นที่่ปลูกไม้ไผ่มีวัตถุประสงค์คือช่วยให้เกิดความสะดวกในการปลูกและ บำรุงรักษา รวมถึงการจัดการสวนไผ่ในอนาคตด้วย ในการเตรียมพื้นที่่ปลูกนั้นมีหลักการว่าต้องให้เหลือ วัชพืชหรือไม้อื่นให้น้อยที่สุด เช่นเดียวกันกับการเตรียมพื้นที่ทางการเกษตรทั่วไป โดยการปรับพื้นที่ด้วย แรงงานคนหรือรถไถก็ได้ ถ้าใช้รถไถควรไถพรวนดิน 2 ครั้ง โดยการไถดะหรือใช้จานไถ 3 ผานเพื่อผลิต ดินก้อนโตๆ และเป็นการทำลายรากวัชพืชด้วย หลังจากนั้นตากดินไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนทำการไถ แปรหรือใช้จานไถ 7 ผานเพื่อพรวนดินให้ละเอียดขึ้น เพื่อสะดวกในการปลูกต่อไปในพื้นที ่ลุ่มหรือน้ำท่ว ขังได้ควรทำการยกร่องด้วยรถไถยกร่องกลับไปกลับมาข้างละ 2 ครั้ง โดยให้ระยะห่างของร่องเท่ากับระยะ แถวที่จะปลูก  ฤดูกาลที่่เหมาะสมในการเตรียมพื้นที่คือ ก่อนเข้าช่วงฤดูฝนประมาณ 1-2 เดือน หรือ ประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม เนื่องจากถ้าทำการเตรียมพื้นที่ไว้นานเกินวัชพืชก็อาจจะขึ้นมาได้อีก แต่ถ้าเตรียมพื้นที่ใกล้ฤดูฝนเกินไปก็จะมีเวลาตากดินน้อยวัชพืชหรือเมล็ดวัชพืชยังไม่ตายดีก็สามารถขึ้นได้ เร็วในช่วงฤดูฝน



การเตรียมหลุมปลูก
มีความสำคัญเช่นเดียวกันกับการเตรียมพื้นที่ปลูก การเตรียมหลุม ปลูกให้ดีจะช่วยให้กล้าไม้ไผ่เจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในช่วงปี แรก ก่อนทำการปลูกจึงควรเตรียมหลุม และดินให้พร้อม โดยขุดหลุมกว้าง ยาว
30-50 ซม. แล้วแต่ขนาดถุง ลึก 30 ซม. ทำการผสมดินกับปุ๋ย ต่างๆให้เข้ากันโดยใช้ฟูราดาน รองก้นหลุมเพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืชเช่นไส้เดือนฝอย และปลวก ส่วนดินที่ขุดจากหลุมนำมาผสมปุ๋ยคอก (มูลไก่) 2 บุ้งกี๋กับปุ๋ยรองพื้น (ร๊อคฟอสเฟต) 1-2 กระป๋องนม และปุ๋ย วิทยาศาสตร์ (สูตร 15-15-15) 1 ช้อน เพื่อเพิ่มอัตราการรอดตายและการเจริญเติบโตที่ดีขึ้นของกล้าไม้ในช่วงปี แรก



การปลูกและระยะปลูกที่แนะนำ


1.
ปลูกเป็นแปลง
การปลูกไม้ไผ่ในเชิงพาณิชย์โดยปกติแล้วนิยมปลูกไม้ไผ่ชนิดเดียวล้วนๆ ไผ่ที่นิยมปลูกมากที่สุดในขณะนี้คือ ไผ่ตง ซึ่งมีปลูกไผ่เลี้ยงและไผ่รวก รวมถึงไผ่ไต้หวันเช่นไผ่หม่าจู๋  ไผ่ลิ่ว  จู๋บ้าง แต่ยังเป็นพื้นที่ขนาดเล็ก สำหรับระยะปลูกไม้ไผ่ที่่เหมาะสมนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดของไม้ไผ่แต่ละชนิด รวมถึงสภาพดินด้วย กล่าวคือ ถ้าเป็นพื้นที่ดินค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ดีและไม้ไผ่ที่ต้องการปลูกมีขนาดของ ลำหนา กอมีขนาดใหญ่ ก็ไม่ควรปลูกให้ถี่จนเกินไปนัก โดยคำนึงถึงหลักที่ว่าดินเลวปลูกถี่ ดินดีปลูกห่าง โดยชนิดไผ่ที่่มีขนาดใหญ่เช่น ไผ่ป่า  ไผ่สีสุก  ไผ่บงใหญ่  รวมถึงไผ่ตง ไผ่หม่าจู๋  เป็นต้น  

ระยะห่างระหว่างกอ ที่่เหมาะสมที่สุดคือ ระยะ 5x5, 6x6 และ 8x8 เมตร ส่วนไผ่ที่มีลำขนาดเล็กและกอไม่ใหญ่มากนัก เช่น  ไผ่รวก  ไผ่เลี้ยง หรือไผ่ลิ่วจู๋  เป็นต้น  ก็ควรจะปลูกระยะ 2 x 2, 3 x 3 และ 4 x 4
เมตร โดยคำนึงถึงความกว้าง ของกอไม้ไผ่ชนิดนั้นๆ และความอุดมสมบูรณ์ของดิน รวมถึงสภาพภูมิอากาศเป็นหลัก

นอกจากนี้การ กำหนดระยะปลูกอาจขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ด้วยเช่น การปลูกไม้ไผ่เพื่อผลผลิตหน่ออาจกำหนดระยะปลูกให้แคบกว่าปกติทั่วไปได้เนื่องจากต้องมีการตัดหน่อออกทุกปี ส่วนการปลูกไม้ไผ่เพื่อผลผลิตลำนั้น จำเป็นต้องปลูกระยะกว้างกว่าการปลูกเพื่อผลผลิตหน่อเนื่องจากต้องเหลือจำนวนหน่อให้เติบโตเป็นลำ มากกว่า ทำให้มีการขยายของกอออกไปทุกปี


ข้อแนะนำโดยสรุปแล้ว การปลูกไม้ไผ่ขนาดใหญ่ควรใช้ระยะปลูก
5 x 5 เมตร ขึ้นไป ส่วน การปลูกไม้ไผ่ขนาดเล็กควรใช้ระยะปลูก 4 x 4 เมตรลงมา ทั้งนี้การนำพืชเกษตรมาปลูกควบในแปลงปลูก ไม้ไผ่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืช รวมถึงเป็นการเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งด้วย


2.
ปลูกเป็นรายต้น
ไม้ไผ่บางชนิดมีรูปทรงของกอและลำสวยงามบางชนิดมีสีเหลือง สลับเขียวซึ่งมักใช้ปลูกประดับตกแต่งสวนหรือปลูกเป็นแนวรั้ว เป็นแนวป้องกันลมและแนวเขตเป็นอย่างดี เช่น ไผ่สีทอง (Schizostachyum brachycladum
)ไผ่เหลือง (Bambusa vulgaris), ไผ่เลี้ยง (Bambusa nana) และไผ่รวก (Thyrsostachys siamensis) เป็นต้น ไม้ไผ่บางชนิดมีลักษณะกอขนาดใหญ่  มีระบบรากแน่น  สามารถปลูกตามแนวชายตลิ่งเพื่อป้องกันการพังทลายของตลิ่งริมแม่น้ำได้ดีเช่น ไผ่บ้าน (Bambusa bambos) และไผ่สีสุก (Bambusa blumeana) เป็นต้น ระยะปลูกในการปลูกเป็นรายต้นจึงมักกำหนดตามวัตถุประสงค์ หรือตามความเหมาะสมสวยงามในแต่ละพื้นที ่เป็นหลัก


ข้อแนะนำในการกำหนดระยะปลูกไม้ไผ่เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ตามสวนสุขภาพ สวนรุกขชาติประจำจังหวัด ตามวัด ตามหน่วยงานสถานที่่ราชการ โรงเรียน สวนสาธารณะทั่วไป ควรปลูก ไม้ไผ่ขนาดเล็ก กลาง ระยะห่างระหว่างต้นตั้งแต่
4 เมตรขึ้นไป ส่วนการปลูกเป็นแนวริมตลิ่งป้ องกันดิน พังทะลาย แนวรั้วหรือแนวกันลม และเพื่อประโยชน์ใช้สอยในครัวเรือน ก็ควรจะปลูกไม้ไผ่ขนาดกลาง ใหญ่  ที่มีระยะห่างระหว่างต้นไม่เกิน 5 เมตร



อัตราการเจริญเติบโตรายปี
ไม้ไผ่เป็นพันธุ์ไม้ที่่มีการเจริญเติบโตของลำภายในปีเดียว โดยหลังจากที่หน่อไม้ไผ่เริ่มแทงขึ้น เหนือพื้นดินในช่วงฤดูฝนแล้วจะพัฒนาไปเป็นลำเมื่อหมดฤดูฝน การเจริญเติบโตทางความสูงก็จะไม่เพิ่มขึ้นอีก แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านอื่น เช่น การแตกกิ่ง แขนงและใบ เพื่อเตรียมสะสมอาหารต่อไป หน่อไม้ ไผ่มีการเจริญเติบโตเร็วมาก

จากการตรวจเอกสารพบว่าไม้ไผ่ในเขตร้อนที่่มีระบบเหง้ากอ สามารถพุ่งตัว สูงสุดได้ถึง
91 ซม./วัน (ประสาน, 2512) แต่จากการศึกษาการเจริญเติบโตของหน่อไม้ไผ่ตงและไผ่เลี้ยง ที่สถานีวนวัฒนวิจัยหินลับ อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี ซึ ่ งพื้นที ่อยู่ในเขตแห้งแล้งปริมาณนํ ้าฝนเฉลี ่1,000 มม./ปี และหน้าดินตื้น ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่า พบว่าการเจริญเติบโตของหน่อไม้ไผ่ทั้ง 2 ชนิดดังกล่าวมีค่าเฉลี่ยเพียง 11.52 ซม./วัน เท่านั้น (สุทัศน์,2548) แสดงว่าอิทธิพลของสภาพแวดล้อม ภายนอกมีผลต่อการเจริญเติบโตของหน่อไม้ไผ่อย่างมาก การเจริญเติบโตจากหน่อเป็นลำที่สมบูรณ์จะใช้ เวลาประมาณ 6 เดือน หลังจากนั้นจะเข้าช่วงฤดูแล้งซึ่งไม้ไผ่จะใช้เวลาในการพักตัวสะสมอาหารและพัฒนา ตาเหง้าใต้ดินจนถึงช่วงฤดูฝนปี หน้าเหง้าก็จะแทงหน่อออกมาเป็นวัฎจักรต่อไปทุกปี ความสูงของลำไม้ไผ่ ที่พบในพื้นที่แห้งแล้งตั้งแต่ 6-12 เมตร ส่วนในพื้นที่ชื้นดินดีสามารถพบไม้ไผ่ชนิดเดียวกันสูงได้ถึง 20 เมตรทีเดียว ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงอัตราการเจริญเติบโตรายปี ของไม้ไผ่ก็จำเป็นที่จะต้องวัดเป็นปริมาณ ผลผลิตจำนวนหน่อ/กอ หรือจำนวนลำ/กอ เป็นหลัก ซึ่งแตกต่างกับอัตราการเจริญเติบโตของไม้ป่ายืนต้น ทั่วๆไป


หน่อไม้ไผ่โดยเฉลี่ยในปี ที ่
1 จะเริ่มแตกหน่อได้ประมาณ 3-4 หน่อและจะพัฒนาไปเป็นลำ  ปีที่ 1 จำนวน 3-4 ลำเช่นกัน เมื่อกออายุ 2 ปี จะเริ่มแทงหน่อเพิ่มขึ้นมาอีก 5-6 หน่อ และพัฒนาไป เป็นลำได้จำนวน 8-10 ลำ ในปีที่ ่3 ถ้ามีการสางกอ โดยลำแก (อายุ 3 ปี) ออกบ้างจะสามารถให้หน่อได้
ทุกปี ๆ ละ 10-20 หน่อ/กอ ซึ่งถ้ามีการจัดการตัดหน่อออกเพื่อขายและเหลือลำใหม่ไว้ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อการเจริญเติบโตของเหง้าในปีถัดไป หรือการเหลือหน่อเพื่อขายลำออกในปริมาณที่่เหมาะสม ก็จะช่วยให้มีผลผลิตอย่างต่อเนื่องและสม่าเสมอ แต่ถ้าไม่มีการตัดออกมาใช้ประโยชน์เลยขนาดของหน่อใหญ่แต่ปริมาณหน่อจะน้อย และถ้ามีการตัดออกมาใช้ประโยชน์มากเกินไปหรือเป็นการตัดล้างกอแล้ว จำนวนหน่อก็ยังคงมีปริมาณปานกลางแต่ขนาดของหน่อและลำจะเล็กลงจนไม่สามารถจะนำไปใช้ประโยชน์ ได้ตามที่ต้องการ ทั้งยังมีแนวโน้มว่ากอจะเสื่่อมโทรมลงและแห้งตายในที ่สุด



การดูแลรักษา การกำจัดวัชพืช
โดยทั่วไปวัชพืชในสวนไม้ไผ่จะมีปัญหาเฉพาะในช่วง 1-3 ปี แรกเท่านั้น หลังจากไม้ไผ่ พัฒนาการแตกกอและเรือนยอดแผ่ขยายออกเต็มที่เบียดชิดกัน ทำให้แสงแดดผ่านลงได้น้อย ทั้งใบไผ่ จำนวนมากที ่หล่นร่วงลงสู่พื้นดินจะช่วยคลุมดินทำให้พืชอื่นขึ้นได้น้อยลง ดังนั้นการกำจัดวัชพืชควรจะทำ ในช่วงต้นฤดูฝนจนถึงปลายฤดูฝน 2-3 ครั้ง หรือมากกว่านี้ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนด้วย การปลูกพืชเกษต ควบกับการปลูกไม้ไผ่ระหว่างแถวในช่วง 2-3 ปี แรก ช่วยทำให้วัชพืชไม่สามารถขึ้นได้ ประหยัดแรงงาน และค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ยพืชเกษตรก็มีผลทำให้การเจริญเติบโตของไม้ไผ่ดีขึ้น รวมถึงเป็น การเพิ่มรายได้จากพืชเกษตรก่อนที ่จะได้ผลผลิตจากไม้ไผ่อีก ทางหนึ่งด้วย การกำจัดวัชพืชในสวนไม้ไผ่ นิยมใช้แรงงานคนหรือเครื่องทุ่นแรงขนาดเล็กเช่นเครื่องตัดหญ้าแบบสะพายหลังมากกว่าเครื่องจักรขนาด ใหญ่ เช่น รถไถ เนื่องจากจะกระทบกระเทือนระบบรากของไม้ไผ่น้อยกว่า



การใส่ปุ๋ย
กอไผ่จะทำให้ปริมาณผลผลิตของหน่อเพิ่มมากขึ้นในช่วงฤดูฝน ฤดูกาลที่เหมาะสมในการใส่ปุ๋ยคือ ในช่วงต้นฤดูฝนหรือประมาณเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม โดยใส่ปุ๋ยคอก (ปุ๋ยมูล ไก่หรือมูลวัว) ให้กอไม้ไผ่โดยตรงประมาณ 1.5-2.0 ต้น/ไร่ (ประมาณ 25-30 กิโลกรัม/กอ) และหว่าน ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ประมาณ 30-40 กิโลกรัม/ไร่ (ประมาณ ½ กิโลกรัม/กอ) โดยหว่านรอบๆกอ ในรัศมี 1 เมตร และควรพรวนดินให้กับระบบเรือนรากด้วย เมื่อใส่ปุ๋ยแล้ว ให้คลุมรอบโคนกอด้วยฟาง ข้าวหรือหญ้าแห้งเพื่อรักษาความชื้นและป้ องกันฝนชะหน้าดิน ส่วนในการดูแลสวนไม้ไผ่เพื่อการผลิตหน่ออย่างปราณีต (intensive) นั้นจะต้องมีการ กำหนดแผนการใส่ปุ๋ยอย่างต่อเนื่อง ดังตารางต่อไปนี




หน้าก่อน หน้าก่อน (1/3) - หน้าถัดไป (3/3) หน้าถัดไป


Content ©