-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 448 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ปาล์มน้ำมัน3





....... ฐานข้อมูลปาล์มน้ำมัน .........



พฤกษศาสตร์ทั่วไป

วงศ์ (Family): Palmae หรือ Recaceae
จีนัส (Genus): Elaeis
สปีชีส์ (Species): guineensis
ชื่อสามัญ (Common name): oilpalm
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Elaeis guineensis Jacq.

ราก
       
 เป็นระบบรากฝอย (fibrous root system) รากของปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่กระจายอยู่บริเวณผิวดินลึกไม่เกิน 45 เซนติเมตร มีความหนาแน่นมากในบริเวณโคนและระยะ 1.5-2.0 เมตรจากลำต้น แต่ในกรณีที่ดินมีการถ่ายเทอากาศดี และระดับน้ำใต้ดินไม่สูงอย่างถาวร อาจมีรากบางส่วนเจริญลึกลงถึง 5 เมตร ซึ่งจะช่วยยึดลำต้นไว้ไม่ให้ล้มง่าย การแตกแขนงของรากเริ่มจาก primary root, secondary root, tertiary root และ quaternary root ตามลำดับ โดย quaternary root จะทำหน้าที่ดูดธาตุอาหาร เนื่องจากธาตุชนิดนี้ไม่มีลิกนินเหมือนรากชนิดอื่นที่มีสารนี้ในส่วนของเนื้อเยื่อ hypodermis ปาล์มน้ำมันไม่มีขนอ่อน นอกจากนี้ hydathodes ที่เกิดจากเนื้อเยือชั้น cortex ของราก โผล่เหนือพื้นดินไว้ช่วยในการหายใจในกรณีที่มีน้ำท่วม

ลำต้น
         
จุดเจริญของปาล์มน้ำมันมีจุดเดียวคือตายอด ในระยะแรกลำต้นจะเจริญทางด้านกว้าง จนมีขนาดเต็มที่ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3 ปี ได้เป็นลำต้นใต้ดิน (bole) จากนั้นเป็นการเจริญด้านความสูงเป็นลำต้นเหนือดิน (trunk) ที่มีกาบใบห่อหุ้มอยู่ กาบใบติดอยู่ที่ลำต้นอย่างน้อย 12 ปี ดังนั้นต้นปาล์มน้ำมันที่มีอายุไม่เกิน 12 ปี จะมีใบคลุมถึงโคนต้น ถ้าอายุมากขึ้นกาบใบที่ส่วนโคนจะทยอยร่วง ต่างจากมะพร้าวซึ่งเมื่อใบร่วงจะหลุดหมดโดยไม่ทิ้งกาบใบไว้เลย ปาล์มน้ำมันไม่มีเนื้อเยื่อเจริญทางด้านข้าง ดังนั้นเมื่อมีแผลที่ลำต้นจะไม่สามารถซ่อมแซมได้ อัตราการยืดตัวของลำต้นขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและพันธุกรรม ในสภาพการปลูกปกติซึ่งมีต้นลักษณะต่างกัน จะมีการเพิ่มความสูง 25-50 เซนติเมตรต่อปี การปลูกหนาแน่นเกินไปจะทำให้ลำต้นเจริญเร็วและมีขนาดเล็ก ถ้าในสภาพที่มีการบังแสงอย่างมาก ลำต้นและใบจะมีการเจริญช้ามาก ต้นปาล์มน้ำมันที่เจริญเต็มที่แล้ว มีส่วนของเนื้อเยื่อเจริญขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-12 เซนติเมตร ลึก 2.5-4.0 เซนติเมตร อยู่ที่ส่วนกลางของส่วนยอด (crown) โดยมีจุดกำเนิดใบ ใบอ่อน และฐานของใบหุ้มอยู่ การจัดเรียงใบบนลำต้นมีลักษณะเป็นเกลียวบนลำต้น โดยที่รอบหนึ่งจะมี 8 ใบรอบต่อไปจะมี 13 ใบสลับกัน การเวียนจะมีทั้งซ้ายและขวา ปาล์มน้ำมันที่ปลูกจะมีต้นที่เวียนซ้ายหรือเวียนขวาในปริมาณใกล้เคียงกัน ความสูงโดยทั่วไป 15-18 เมตร

ใบ
         
ในระยะแรกของต้นกล้ามี plumular sheath 2 ใบ หลังจากนั้นจะมีใบจริงใบแรกรูปร่างแบบ lanceolate มีเส้นกลางแยกออกเป็นสองทาง แต่ใบย่อยยังคงติดกันอยู่ ใบถัดมามีใบย่อยแยกออกจากกัน ใบจริงที่มีลักษณะนี้จะถูกสร้างขึ้นเดือนละ 1 ใบ จนกระทั่ง 6 เดือน ใบประกอบด้วยก้านใบที่อาจยางถึง 7.5 เมตร แบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ ส่วนปลายเป็นส่วนที่รองรับใบย่อย 250-300 ใบ และส่วนก้านที่ติดกับลำต้น ซึ่งเป็นส่วนที่มีหนามแข็ง ในระยะแรกใบจะเจริญเป็นเนื้อเยื่อบางๆ ห่อหุ้มตายอด ซึ่งมี 45-50 ใบ แต่ละใบจะห่อหุ้มตายอดเป็นเวลาประมาณ 2 ปี ต่อมามีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว กลายเป็นใบที่แหลมเหมือนหอก ซึ่งใบย่อยยังไม่คลี่ออก ในสภาพแวดล้อมที่แห้งใบยังไม่คลี่จนกระทั่งได้รับฝน ดังนั้นในช่วงฤดูแล้งจะพบว่า มีใบที่มีลักษณะแหลมมากกว่าในฤดูฝน ในสภาพปกติในระยะ 5-6 ปีแรก จะมีใบที่ติดกับยอดประมาณ 25-35 ใบ แต่ต่อมาจะมีจำนวนใบลดลงเหลือ 18-25 ใบ ในสภาพการปลูกที่หนาแน่นจะมีใบน้อยกว่า ใบที่คลี่แล้วจะมีอายุประมาณ 2 ปี และแต่ละเดือนจะมีใบคลี่ประมาณ 2 ใบ ปาล์มน้ำมันเป็นพืชประเภทกึ่ง xerophye มี cuticle หนา และมีเนื้อเยื่อที่มีลิกนิน มีเซลล์ปากใบประมาณ 145 เซลล์ต่อตารางมิลลิลิตร ในส่วนของ guard cell มีผนังบางๆ และในสภาพขาดน้ำปากใบจะปิดในช่วงเที่ยงวัน

ช่อดอกและดอก
       
จุดกำเนิดช่อดอกคือบริเวณมุมใบของต้นที่มีอายุ 2 ปีขึ้นไป โดยที่ตาจะพัฒนาเป็นช่อดอกเมื่อเป็นใบแหลมได้ 9-10 เดือน ปาล์มน้ำมันเป็นพวก monoecious plant คือมีทั้งช่อดอกตัวผู้ (male inflorescences) และช่อดอกตัวเมีย (female inflorescences) อยู่บนต้นเดียวกัน ลักษณะการเกิดช่อดอกจะเป็นชนิดใดชนิดหนึ่งในช่วงระยะเวลา 4-5 เดือน จำนวนช่อดอกที่สร้างในแต่ละช่วงมี 8-10 ช่อ
             ในระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงจากช่อดอกเพศหนึ่งไปเป็นอีกเพศหนึ่ง จะเกิดช่อดอกที่มีทั้ง 2 เพศ (hermaphroditic inflorescences) โดยเฉพาะในปาล์มน้ำมันที่ยังมีอายุน้อย โดยมีดอกตัวเมียอยู่ล่าง ดอกตัวผู้อยู่ส่วนบน และจะไม่ค่อยพบดอกชนิดสมบูรณ์เพศ ช่อดอกเป็นแบบ compound spike หรือ spadix แกนกลางแบ่งเป็นก้านช่อดอก และส่วนที่ดอกติดอยู่ (rachis) ดอกเป็นชนิดไม่มีก้านดอก เรียงเป็นเกลียว มีส่วนที่ห่อหุ้มช่อดอกเหมือนมะพร้าวเรียกว่า spathe โดยมี 2 แผ่น คือ outer และ inner spathe ในขณะที่มะพร้าวมีแผ่นเดียว ช่อดอกตัวผู้มีช่อดอกย่อยเป็นช่อยาวทรงกระบอกสีเหลือง ยื่นออกมาจาก rachis จำนวนมากคล้ายนิ้วมือแต่ละดอกมีเกสรตัวผู้ปกติและมีเกสรตัวเมียเป็นหมัน ช่อดอกตัวเมียมีลักษณะของดอกอวบหนา แต่ละดอกมี bract ลักษณะเป็นหนามแหลม มีเปอร์เซ็นต์การติดผล 60-65 เปอร์เซ็นต์

ผลและเมล็ด
        
ผลเป็นแบบ drupe เหมือนมะพร้าว ส่วนของ pericarp ซึ่งเป็นส่วนเปลือกของผลแบ่งออกเป็น 3 ส่วนอย่างชัดเจน คือ exocarp อยู่ด้านนอกสุด ผิวเป็นมันและแข็ง mesocarp (pulp) เป็นส่วนที่อยู่ถัดไปที่เป็นเส้นใย เป็นส่วนทีมีน้ำมันสูง นำไปสกัดเป็นน้ำมันปาล์ม (palm oil) และ endocarp (กะลา, shell) เป็นเปลือกแข็งสีดำ เมื่อสกัดน้ำมันจาก mesocarp ออกไป จะเหลือส่วนนี้ซึ่งห่อหุ้มเมล็ดอยู่ ส่งไปขายหรือสกัดที่โรงงานต่อไป เพื่อสกัดเอาน้ำมันปาล์มจากเมล็ด (palm kernel oil) ถัดจากส่วนของ endocarp เป็นส่วนของเมล็ดซึ่งมีเยื่อหุ้มเมล็ดสีน้ำตาลหุ้มเอนโดเสปิร์มที่แข็งและแน่น มีน้ำมันสูง มีสีเทาหรือขาว พบส่วนของคัพภะบริเวณตาของผล (germ pore)




 

พันธุ์ปาล์มน้ำมัน


           
พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจในปัจจุบันแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ซึ่งสามารถแยกความแตกต่างของพันธุ์เหล่านี้ โดยพิจารณาความหนากะลาของผลปาล์มเป็นสำคัญ
            1. พันธุ์ดูรา (Dura) เป็นพันธุ์ที่มีกะลาหนาประมาณ 2-8 มิลลิเมตร มีชั้นเปลือกนอกที่ให้น้ำมัน (mesocarp) ประมาณ 35-60% ของน้ำหนักผลปาล์ม พันธุ์ดูราที่มีกะลาหนามาก ๆ เรียกว่ามาโครคายา (macrocarya) คือกะลาหนาประมาณ 6-8 มิลลิเมตร พันธุ์ดูรานี้พบมากแถบตะวันออกไกล เช่น พันธุ์เดลีดูรา (Deli dura) ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง ปัจจุบันพันธุ์ดูรา มักใช้เป็นต้นแม่สำหรับปรับปรุงพันธุ์เพื่อผลิตลูกผสมเป็นการค้า

            2. พันธุ์ฟิสิเฟอรา (Pisifera) เป็นพันธุ์ที่มีกะลาบางมาก หรือบางครั้งไม่มีกะลา เมล็ดในเล็ก ขนาดผลเล็ก ช่อดอกตัวเมียมักเป็นหมัน ผลผลิตทะลายต่อต้นต่ำ ไม่เหมาะที่จะปลูกเป็นการค้า นิยมใช้พันธุ์ฟิสิเฟอราเป็นต้นพ่อสำหรับผลิตพันธุ์ลูกผสม

            3. พันธุ์เทเนอรา (Tenera) เป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์แม่ดูราและพันธุ์พ่อฟิสิเฟอรา เป็นพันธุ์ที่มีกะลาบางประมาณ 0.5-4 มิลลิเมตร มีปริมาณของ mesocarp 60-90% ของน้ำหนักผลผลผลิตทะลายสูง จึงนิยมปลูกเป็นการค้าในปัจจุบัน

ตาราง ลักษณะพันธุ์ปาล์มน้ำมัน

ลักษณะ
ดูรา
เทเนอรา
ฟิสิเฟอรา
1. ความหนากะลา (มิลลิเมตร)
2-8
0.5-4
บางมาก
2. เส้นใยรอบกะลา
ไม่มี
มี
มี
3. ผล/ทะลาย (%)
60
60
มักเป็นหมัน
4. เปลือกนอก/ผล (%)
60-65
60-90
92-97
5. กะลา/ผล (%)
25-30
8-15
บางมาก
6. เนื้อใน/ผล (%)
4-20
3-28
3-8
7. น้ำมัน/เปลือกนอก (%)
50
50
30
8. น้ำมัน/ทะลาย
18-19.5
22.5-25.5
25-30



สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ปริมาณน้ำฝน อุณหภูม สภาพดินที่เหมาะสม ปริมาณแสงแดด การขนส่ง สภาพแวดล้อม


                 ปริมาณน้ำฝน ปาล์มน้ำมันชอบสภาพภูมิอากาศที่มีฝนตกชุกและสม่ำเสมอตลอดปี ความชื้นสูง แสงแดดจัด พื้นที่ทางภาคใต้ส่วนใหญ่จึงเหมาะสมเนื่องจากมีการกระจายของน้ำฝนสม่ำเสมอ ประมาณ 1,800 – 2,000 มิลลิเมตร/ ปี และจะต้องไม่มีสภาพแล้งเกิน 3 เดือน ปัจจัยที่สำคัญในการเลือกพื้นที่ปลูกต้องคำนึงถึงสภาพภูมิอากาศ สภาพดิน และการขนส่งด้วย


                อุณหภูม อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 25 -28 0 ซ ปริมาณแสงแดดอย่างน้อย วันละ 5 ชั่วโมง และมีความชื้นสัมพันธ์ของอากาศในรอบปี ไม่ต่ำกว่า 75%

                สภาพดินที่เหมาะสม คือ ดินร่วนเหนียวถึงดินเหนียว มีความลึกของชั้นหน้าดินมากกว่า 75 เซนติเมตร อุ้มน้ำได้ดี มีธาตุอาหารสูงมีความเป็นกรดอ่อน pH 4.0 – 6.5 สูงกว่า ระดับน้ำทะเลไม่เกิน 500 เมตรมีความลาดชันไม่เกิน 12%


                ปริมาณแสงแดด โดยทั่วไปปาล์มน้ำมันต้องการแสงแดดอย่างน้อย 5 ชั่วโมง หรือประมาณ 18,000 ชั่วโมงต่อปี ถ้าปลูกปาล์มในสถานที่มีร่มเงา หรือปลูกในสภาพชิดกันเกินไป จะทำให้การสะสมน้ำหนักและการผลิตช่อดอกเพศเมียลดลง ทำให้ผลผลิตลดลง


                การขนส่ง การขนส่งผลผลิตทะลายปาล์มน้ำมันสู่โรงงานมีความสำคัญไม่น้อย ผลผลิตทะลายปาล์มน้ำมันอย่างรวดเร็ว (ไม่ควรเกิน 24 เซนติเมตร) ควรมีพื้นที่ปลูกปาล์มห่างจากโรงงานสกัดไม่เกิน 120 กิโลเมตร และมีพื้นที่ทำการขนส่งได้สะดวก


                สภาพแวดล้อม เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การปลูกปาล์มน้ำมันได้รับผลสำเร็จ เมื่อพิจารณาสภาพภูมิอากาศข้างต้นแล้ว เกษตรกรควรพิจารณาศักยภาพของพื้นที่เหมาะสม โดยการตรวจสอบพื้นที่ก่อนปลูก ปาล์มน้ำมันเสียก่อนโดยสอบถามจากสำนักงานเกษตรจังหวัดและสำนักงานเกษตรอำเภอ ในพื้นที่ที่ปลูกปาล์มน้ำมันว่าเหมาะสมหรือไม่ เมื่อพื้นที่เหมาะสมควรปลูกปาล์มน้ำมันทันที หากพื้นที่ไม่เหมาะสมควรปลูกปาล์มน้ำมันทันที หากพื้นที่ไม่เหมาะสมควรปลูกพืชชนิดอื่น หากปลูกปาล์มน้ำมันไปแล้ว ควรพิจารณาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หรือเปลี่ยนชนิดของพืชในลำต้นต่อไป


การเตรียมพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน

     1. การบุกเบิกพื้นที่และการปรับสภาพพื้นที่ โดยทำการโค่นต้นไม้ใหญ่ เคลื่อนย้ายมากองรวมกันปล่อยให้แห้งโดยทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือนแล้วทำการเผา หลังจากนั้นทำการไถพื้นที่และปรับสภาพพื้นที่
         2. การทำถนน และทางระบายน้ำ การสร้างถนนในสวนปาล์ม นับว่ามีความจำเป็นมากเพื่อการปฏิบัติงาน และการขนส่งหลังจากทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ลักษณะถนนมี 2 แบบคือ ถนนใหญ่ เป็นเส้นทางการขนส่งผลผลิต ความกว้างของถนนประมาณ 6 เมตร จะมีกี่สายขึ้นอยู่กับขนาดของแปลง ลักษณะภูมิประเทศและเงินทุน อีกแบบหนึ่งเรียกว่าถนนย่อยหรือถนนเข้าแปลงโดยเชื่อมกับถนนใหญ่ควรมีขนาดความกว้างประมาณ 4 เมตร ระยะห่างของถนนย่อยควรห่างกันประมาณ 500 เมตร ในขณะที่ถนนใหญ่แต่ละเส้นควรอยู่ห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตร ถ้าพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันมีสภาพเป็นพื้นที่ลุ่ม การทำร่องระบายน้ำนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
         3. การวางแนวในการปลูกปาล์มน้ำมัน หลังการเตรียมพื้นที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงทำการวางแนวการปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งปกติการปลูกปาล์มน้ำมันนิยมปลูกเป็นแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะปลูกตั้งแต่ 8 x 8 เมตร ถึง 10 x 10 เมตร
         4. การปลูกพืชคลุมดิน ในขณะที่ต้นปาล์มมีขนาดเล็ก ระยะห่างระหว่างต้นมีพื้นที่มาก ปัญหาที่ตามมาคือการแก่งแย่งของวัชพืช การปลูกพืชคลุมจึงนับว่ามีความจำเป็นเพราะนอกเหนือจากป้องกันการขึ้นแข่งขันของวัชพืชแล้ว ยังสามารถรักษาความชุ่มชื้นของดินให้คงอยู่ได้นาน ป้องกันการพังทะลายของหน้าดินในกรณีที่พื้นที่เป็นที่ลาดชัน รวมไปถึงการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ดินโดยการเพิ่มอินทรียวัตถุและการตรึงไนโตรเจนจากอากาศ การปลูกพืชคลุมควรห่างจากแถวปาล์มอย่างน้อย 1.5 เมตร ชนิดของพืชคลุมที่ใช้ เช่น Calogoponium mucunoides, Pueraria phaseoloides, Centrocema pubescens โดยแนะนำให้ปลูกร่วมกันทั้ง 3 ชนิด
การเตรียมพื้นที่ควรเริ่มทำตั้งแต่เดือนธันวาคม และเริ่มการปลูกปาล์มน้ำมันตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกรกฎาคม เพื่อที่จะเสร็จทันฤดูฝนในแต่ละปี



วัสดุปลูก

         การปลูกปาล์มน้ำมันในปัจจุบันทำโดยการเพาะเมล็ดเกือบทั้งสิ้นแม้ว่าจะมีเทคโนโลยีใหม่ เช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อขยายพันธุ์ปาล์มน้ำมันก็ตาม แก่เกษตรกรก็นิยมปลูกด้วยเมล็ด จากการที่เมล็ดปาล์มน้ำมันมีการพักตัวนาน ดังนั้นจึงต้องมีวิธีการทำลายการพักตัวก่อนจึงทำให้เมล็ดงอกได้ วิธีการทำให้เมล็ดงอกที่ทำเป็นการค้าคือ วิธี dry heat treatment โดยการนำเมล็ดไปอบที่อุณหภูมิ 38-40?ซ ในระดับความชื้นที่เหมาะสม เป็นเวลานาน 80 วัน แล้วจึงนำไปเพาะ วิธีการดังกล่าวนี้ทำให้เมล็ดงอกประมาณ 85-90%

ขั้นตอนในการปฏิบัติ

        นำผลจากทะลายปาล์มแช่น้ำประมาณ 5-7 วัน เพื่อให้เปลือกหรือส่วน mesocarp ยุ่ยง่ายต่อการแยกออกจากส่วนของเมล็ด ทำการแยกส่วนของเปลือกออกจากเมล็ด

        แช่น้ำเพื่อให้เมล็ดมีความชื้น

      ผึ่งให้แห้งให้ได้ระดับความชื้น 17%

     บรรจุเมล็ดในถุงพลาสติก ปิดปากถุงให้แน่น นำไปวางในตู้อบที่ปรับอุณหภูมิประมาณ 39-40?ซ อบเป็นเวลา 50-80 วัน แช่เมล็ดในยากันราประมาณ 20 นาที นำเมล็ดมาเพาะ โดยรักษาระดับความชื้นให้ได้ประมาณ 22% เมล็ดจะค่อย ๆ งอกในระยะเวลาต่อมาภายใน 15-20 วัน เมื่อเมล็ดงอกให้เห็นยอดอ่อน และรากอ่อนชัดเจนแล้วจึงนำไปเพาะในกะบะทราย หรือเพาะในถุงพลาสติกที่บรรจุดินผสม ซึ่งปัจจุบันนิยมเพาะในถุงพลาสติก เมื่อต้นกล้าเจริญเติบโตตามต้องการจึงทำการย้ายลงแปลงปลูกต่อไป



การอนุบาลต้นกล้า

การอนุบาลต้นกล้าสามารถแยกเป็น 2 ระยะสำคัญคือ

1. ระยะ prenursery
            การเลี้ยงต้นอ่อนระยะแรกต้องทำอย่างระมัดระวัง มีการบังร่มเงาในระยะแรกหากเพาะในกะบะทราย ควรทำร่มเงาเป็น สูงประมาณ 2 เมตร โดยมุงกับใบมะพร้าวหรือวัสดุที่พอหาได้ ดูแลแมลงศัตรูและทำการคัดต้นที่ผิดปกติและเป็นโรคทิ้ง ทำการป้องกันโรคและแมลงด้วยสารเคมีในการเพาะเมล็ด การวางเมล็ดปลูก ถ้าเป็นกะบะทรายต้องวางเมล็ดเป็นแถวเป็นแนวเพื่อสะดวกในการดูแลรักษา ระยะระหว่างต้นและแถวประมาณ 5 เซนติเมตร แต่ถ้าปลูกในถุงพลาสติกขนาดเล็กก็ใช้ 1 เมล็ดต่อ 1 ถุง วิธีวางเมล็ดต้องวางให้ส่วนของยอดอ่อนชี้ตั้งตรง และส่วนรากอยู่ข้างล่าง ไม่ควรฝังลึกมากนัก พอท่วมยอด หรือให้ยอดโผล่เหนือดินเล็กน้อย
            ถ้าเพาะในกะบะทรายเมื่ออายุประมาณ 1 เดือน หรือมีใบ 2 ใบ จึงทำการย้ายไปยังถุงพลาสติกขนาดใหญ่ แต่ถ้าเป็นการเพาะในถุงพลาสติกขนาดเล็กอาจเลี้ยงไว้ประมาณ 2-4 เดือน จึงทำการย้ายลงถุงพลาสติกขนาดใหญ่
            การให้ปุ๋ย ระยะแรกของการเจริญเติบโต อาจจะยังไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ย เนื่องจากจะใช้อาหารสำรองภายในเมล็ด แต่เมื่ออาหารสำรองในเมล็ดหมดก็จำเป็นต้องใส่ปุ๋ย ปุ๋ยที่ใช้เป็นปุ๋ยสูตร 15-15-6-4 ให้ทุกอาทิตย์ หลังจากต้นกล้าอายุประมาณ 1 เดือน ใช้อัตรา 7 กรัมผสมน้ำ 5 ลิตร ฉีดพ่นแก่ต้นกล้า
            การให้น้ำ ระยะนี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากต้นกล้าปาล์มยังเล็กจะต้องการความชื้นอย่างเพียงพอต่อกากรเจริญเติบโต ถ้าขาดน้ำทำให้การเจริญเติบโตช้า มีรูปร่างผิดปกติ และอ่อนแอต่อการทำลายของโรค ปกติต้องให้น้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น

2. ระยะ main mursery
            การเลือกพื้นที่สำหรับอนุบาลต้นกล้าในระยะนี้มีความสำคัญ พื้นที่ต้องเป็นที่ราบสม่ำเสมอทั่วแปลง มีทางระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง ควรเป็นพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับเรือนเพาะชำ เพื่อสะดวกในการขนย้ายกล้าลงปลูก
          ทำการบรรจุดินลงถุงดำขนาด 15 x 18 นิ้ว ที่เจาะรูระบายน้ำไว้ด้านล่าง และด้านข้างของถุง ทำการย้ายกล้าลงปลูกในถุงที่เตรียมไว้ หลังจากนั้นวางถุงพลาสติกที่ปลูกต้นปาล์มเรียบร้อยแล้วไปวางไว้ในพื้นที่ดังกล่าวโดยวางถุงเป็นรูป 3 เหลี่ยม ระยะห่างกัน 90 x 90 x 90 เซนติเมตร อาจเว้นทางเดินสำหรับรดน้ำหรือติดระบบน้ำขนาด 1-1.2 ม. ทุก ๆ ระยะ 15-20 เมตร ตามความกว้างของแปลง

            การให้ปุ๋ย ปุ๋ยที่ใช้ ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-6-4 สลับกับปุ๋ยสูตร 12-12-17-2 ในอัตราดังแสดงในตารางข้างล่าง การให้ปุ๋ยใช้วิธีหว่านรอบ ๆ โคนต้น ไม่ให้ปุ๋ยถูกใบปาล์ม
ตาราง การใส่ปุ๋ยใน Main-mursery

อายุต้นกล้า (เดือน)
ชนิดของปุ๋ย
อัตรา (กรัม/ต้น)
4
15-15-6-4
10
5
12-12-17-2
10
6
15-15-6-4
15
7
12-12-17-2
15
8
15-15-6-4
20
9
12-12-17-2
20
10
15-15-6-4
25
11
12-12-17-2
30
12
15-15-6-4
35
13
12-12-17-2
35
14
15-15-6-4
35
15

12-12-17-2

35

            ทำการอนุบาลต้นกล้าจนกระทั่งต้นกล้ามีขนาดโตพอสมควร หรือมีอายุประมาณ 12-14 เดือน จึงสามารถย้ายต้นกล้าลงปลูกในแปลงที่เตรียมไว้



ระยะปลูก

ระยะปลูกที่เหมาะสมสำหรับพันธุ์ลูกผสมที่ได้จากพ่อพันธุ์กลุ่มต่าง ๆ

พันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสม
ปลูกแบบสามเหลี่ยมด้านเท่าระยะปลูก (ม.)
จำนวนต้น/ไร่
Dell Dura x AVROS
9.00
22
Dell Dura x Ekona
8.75
24
Dell Dura x Ghana
8.50
25
Dell Dura x La Me' 9.00
9.00
22


การปฏิบัติ และบำรุงรักษาสวนปาล์มน้ำมัน

1. การป้องกันและการกำจัดวัชพืช
           วัชพืชในสวนปาล์มน้ำมัน ในช่วงฤดูแล้ง ไม่ควรกำจัดวัชพืชเพราะทำให้ดินขาดความชุ่มชื่น
2. การใส่ปุ๋ย
           ควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่น ปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินเดิม ความต้องการของปาล์มน้ำมันในระยะต่าง ๆ สภาพแวดล้อมลมฟ้าอากาศ ชนิดของปุ๋ยอัตราการใช้
3. การป้องกันกำจัดโรคแมลง
           ไม่ควรพ่นสารเคมีทันที เมื่อพบศัตรูพืชเพราะนอกจากจะเสียค่าใช้จ่ายสูงแล้ว ยังทำลายศัตรูธรรมชาติที่เป็นประโยชน์อีกด้วย ควรสุ่มตัวอย่าง เช่น ตัดทางใบที่ 17 ตรวจนับหนอนร่าน ถ้าพบมีมากกว่า 5 ตัว ต่อทางใบโดยเฉลี่ย จึงควรป้องกันกำจัดโดยพ่นสารเคมี
4. การตัดช่อดอก
           ในระยะเริ่มการเจริญเติบโต การตัดช่อดอกตัวผู้และตัวเมีย ทิ้งในระยะแรก มีผลทำให้ต้นปาล์มเจริญเติบโตเร็ว แข็งแรง และมีขนาดใหญ่ เพราะอาหารที่ได้รับจะเสริมส่วนของลำต้น แทนการเลี้ยงช่อดอกและผลผลิต เมื่อถึงระยะให้ผลผลิตที่ต้องการ ผลผลิตจะมีขนาดใหญ่ และสม่ำเสมอ ถ้าไม่ตัดปล่อยทิ้งไว้ไม่เก็บเกี่ยว อาจเป็นแหล่งของเชื้อโรค โดยเฉพาะโรคทะลายเน่าได้



การตัดแต่งทางใบ (Pruning)

            การตัดแต่งทางใบปาล์มน้ำมันมีวัตถุประสงค์เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงาน เช่น การกำจัดวัชพืช การให้ปุ๋ย การเก็บเกี่ยว เป็นต้น ในทางทฤษฎีต้องการตัดทางใบออกให้น้อยที่สุด เพื่อช่วยในการปรุงอาหาร ปาล์มขนาดเล็กที่ยังไม่ให้ผลผลิตควรตัดทางใบล่างสุดโดยรอบออกก่อน เพื่อง่ายต่อการกำจัดวัชพืชบริเวณรอบโคนต้น หลังจากนั้นจึงค่อยตัดทางใบที่เหนือขึ้นมา ส่วนในปาล์มที่โตแล้วมักนิยมตัดทางใบให้เหลือรองรับทะลายปาล์มเพียง 2 ทาง เพื่อสะดวกในการเก็บเกี่ยว ทางใบที่ถูกตัดควรวางเรียงกระจายไว้รอบโคนต้น หรือวางเรียงซ้อน 2-3 ชั้น เป็นแถวในระหว่างแถวปาล์มจะเป็นการช่วยเพิ่มอินทรีย์วัตถุให้แก่ดิน และสามารถรักษาความชุ่มชื้นของดินได้อีกทางหนึ่งด้วย



การตัดช่อดอกทิ้งในระยะแรก
(disbudding, ablation)

               ปาล์มน้ำมันเริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุประมาณ 3 ปีหลังปลูก มีการแนะนำให้ทำการตัดช่อดอกที่เกิดขึ้นในระยะแรกทิ้ง เพื่อให้การเจริญเติบโตของต้นสมบูรณ์เต็มที่ แทนที่จะต้องใช้อาหารส่วนหนึ่งไปเลี้ยงผล ซึ่งในระยะแรกมักมีขนาดเล็กไม่สมบูรณ์ เปอร์เซ็นต์น้ำมันต่ำไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ บางครั้งการเกิดช่อดอกในระยะแรกจะให้ช่อดอกกระเทยคือ มีส่วนของดอกตัวผู้และตัวเมียอยู่ในช่อดอกเดียวกัน ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่ดี ควรทำการตัดทิ้ง
               การตัดช่อดอกทิ้งมักเริ่มทำตั้งแต่ต้นปาล์มอายุ 14 เดือนหลังย้ายปลูกจนถึง 26 เดือน หลังจากนั้นจึงปล่อยให้ช่อดอกเจริญเติบโตเป็นผลที่สมบูรณ์



การช่วยผสมเกสร (Assisted pollination)

              ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่มีช่อดอกตัวผู้และช่อดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน แต่แยกกันอยู่คนละช่อ เนื่องจากเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียในต้นมีช่วงการบานไม่พร้อมกัน ปาล์มน้ำมันจึงจัดเป็นพืชผสมข้าม การผสมเกสรระหว่างต้นเกิดขึ้นโดยลม หรือแมลงเป็นตัวนำ ในระยะแรกของการติดผลมีการสร้างช่อดอกน้อย ละอองเกสรจึงอาจมีไม่เพียงพอ ทำให้การติดผลค่อนข้างต่ำ รวมไปถึงสภาพอากาศ เช่น ในช่วงที่มีฝนตกชุก การผสมเกสรอาจต่ำกว่าปกติ ดังนั้นการช่วยผสมเกสรในระยะแรกจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมันในบางพื้นที่
            วิธีการทำโดยตัดช่อดอกตัวผู้ที่บานแล้วนำมาเคาะให้ละอองเกสรหลุดร่วงในถุงกระดาษ ถ้าจะทำการช่วยผสมในวันถัดมาต้องนำละอองเกสรผึ่งแดดให้แห้ง นำมาผสมใน discator หลังจากเก็บละอองเกสรมาแล้วจึงนำไปผสมกับผง talcum ในอัตราส่วนละอองเกสร ; ผง talcum 1:5 แล้วนำไปผสมกับช่อดอกตัวเมียที่พร้อมรับการผสม เนื่องจากวิธีการดังกล่าวนี้ต้องใช้แรงงานคนช่วย โดยเฉพาะในพื้นที่ขนาดใหญ่ทำให้สิ้นเปลืองแรงงาน ได้มีผู้นำด้วงชนิดหนึ่งมาจากอัฟริกา เรียกว่า ด้วงงวงดอกปาล์มน้ำมัน (Elaeidobius karumericus) นำมาปล่อยในสวนปาล์มเพื่อช่วยในการผสมเกสร ด้วงชนิดนี้ขยายพันธุ์ได้รวดเร็วและไม่ทำอันตรายต่อต้นปาล์ม พบว่าให้ผลเป็นที่น่าพอใจ



การให้น้ำ

           ในสภาพพื้นที่ที่ช่วงฤดูแล้งยาวนาน หรือสภาพพื้นที่ที่มีการขาดน้ำมากกว่า 250 มิลลิเมตร/ปี ถ้ามีแหล่งน้ำเพียงพอควรมีการให้น้ำเสริมในฤดูแล้ง ในปริมาณ 150-200 ลิตร/ต้น/วัน


การใส่้ปุ๋ย

การใส่ปุ๋ยเคมีปาล์มน้ำมัน : การใส่ปุ๋ยเดี่ยวของปาล์มอายุ 5 ปีขึ้นไป

1. ระยะเวลา และการแบ่งใส่
           ใส่ปุ๋ยเมื่อดินมีความชื้นเพียงพอ หลีกเลี่ยงการใส่เมื่อแล้งจัดหรือฝนตกหนัก ในปีแรกหลังจากปลูกควรใส่ปุ๋ย 4-5 ครั้ง ตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไป ควรใส่ปุ๋ย 3 ครั้ง/ปี ช่วงที่เหมาะสมในการใส่คือ ต้นฝน กลางฝน และปลายฝน ตั้งแต่ปีที่ 5 ขึ้นไป อาจพิจารณาใส่ปุ๋ยเพียงปีละ 2 ครั้ง ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมบ่งใส่ปุ๋ย (ตามอัตราที่แนะนำ) เมื่อแบ่งใส 3 ครั้ง/ปี แนะนำให้ใช้สัดส่วน 50:25:25% สำหรับการใส่ปุ๋ย ต้นฝน กลางฝน และปลายฝน และเมื่อแบ่งใส่ 2 ครั้ง/ปี ใช้สัดส่วน 60:40% ระยะต้นฝนและก่อนปลายฝน ตามลำดับ
ช่วงต้นฝน คือ ประมาณเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน
ช่วงกลางฝน คือ ประมาณเดือนกรกฎาคม - กันยายน
ช่วงหลายฝน คือ ประมาณเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน


2. วิธีการใส่ปุ๋ย

         ปีที่ 1 : เมื่อย้ายกล้าปลูก (กล้าปาล์มอายุ 10 - 12 เดือน) ใส่ร็อกฟอสเฟตรองก้นหลุมประมาณ 250 กรัมต่อหลุม เนื่องจากปุ๋ยนี้จะตกค้างเป็นประโยชน์ได้ 2 - 3 ปี จึงไม่จำเป็นต้องใส่ทุกปี
                หลังจากปลูกแล้วทุก 3 เดือน ใส่ปุ๋ย 21 -11 - 11+ 1.2 Mgo ต้นละ 200 - 300 กรัมและใส่อีกครั้งเมื่อปลูกได้ 6 เดือน ในอัตราเดิม และใส่อีกครั้งเมื่ออายุได้ 9 เดือน ในอัตราเดิม
        ปีที่ 2 : เมื่ออายุได้ 18 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 14 - 9 - 20 + 2 Mgo อัตราต้นละ 400 - 500 กรัม เมื่ออายุได้ 24 เดือนเต็ม ใช้ปุ๋ยเดิม คือ 14 - 9 - 20 + 2 Mgo อัตราต้นละ 0.5 ก.ก. ร่วมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (สูตร 0 - 0 - 60) อัตราต้นละ 0.5 กก.
       ปีที่ 3 : เมื่ออายุปาล์มได้ 30 เดือน ใช้ปุ๋ยสูตร 14 - 9 - 20 + 2 Mgo อัตราต้นละ 800 กรัม และเมื่อปาล์มอายุได้ 36 เดือน ใช้ปุ๋ยสูตร14 - 14 - 21 อัตราต้นละ 1 กก.
       ปีที่ 4 : เมื่ออายุปาล์มได้ 42 เดือน ใช้ปุ๋ยสูตร 14 - 9 - 20 + 2 Mgo อัตราต้นละ 1.5 กก. ร่วมกับปุ๋ยร็อกฟอสเฟต อีกอัตราต้นละ 1 กก. (สูตร 0 - 3 - 0) และปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์อัตราต้นละ 1.5 กก. (สูตร 0 - 0 - 60)
       ปีที่ 5 : ใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้ปุ๋ยสูตร 14 - 9 - 20 - 2 Mgo อัตราต้นละ 2 กก. ร่วมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (สูตร 0 - 0 - 60) อัตราต้นละ 1.5 กก.
ครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ยสูตร 14 - 14 - 21 อัตราต้นละ 2 กก.
       ปีที่ 6 : ใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ใช้ปุ๋ยสูตรเดิม คือ ครั้งแรกปุ๋ยสูตร 14 - 19 - 20 - 2 Mgo อัตราต้นละ 2 กก. ร่วมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (สูตร 0 - 0 - 60) อัตราต้นละ 1.5 กก.
ครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ยสูตร 14 - 14 - 21 อัตราต้นละ 2 กก.
       ปีที่ 7 : ใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้ปุ๋ยสูตร 14 - 9 - 20 - 2 Mgo อัตราต้นละ 2 กก. ร่วมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (สูตร 0 - 0 - 60) อัตราต้นละ 1.5 กก.
ครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ยสูตร 14 - 14 - 21 อัตราต้นละ 2.5 กก.
       ปีที่ 8 : ใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้ปุ๋ยสูตร 14 - 9 - 20 - 2 Mgo อัตราต้นละ 2.5 กก. ร่วมกับปุ๋ยโปแทสเซียมคลอไรด์ (สูตร 0 - 0 - 60) อัตราต้นละ 2 กก.และปุ๋ยร็อกฟอสเฟตอัตราต้นละ 2 กก.
ครั้งที่ 2 ใช้ปุ๋ยสูตร 14 - 14 - 21 อัตราต้นละ 2.5 กก.
       ปีที่ 9 : การใส่ปุ๋ยตั้งแต่ปีที่ 9 เป็นต้นไป ต้องใช้ปุ๋ยร็อกฟอสเฟต เพราะปุ๋ยร็อกฟอสเฟตใส่ 3 ปี ต่อครั้ง ไม่ต้องใส่ทุกปีส่วนปุ๋ยสูตรอื่น ๆ ยังคงใส่เหมือนเดิมทุกปี
          1. ปุ๋ยสูตร 20 - 11 - 11 + 1.2 Mgo เป็นปุ๋ยหลักที่ใส่ให้กับปาล์มที่ปลูกในปีแรก
          2. ปุ๋ยสูตร 14 - 9 - 20 - 2 Mgo เป็นสูตรปุ๋ยที่ใช้ใส่ต้นปาล์มทุกปี
          3. ปุ๋ยสูตร 0 - 0 - 60 หรือ ปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ โดยใช้ร่วมกับปุ๋ยสูตร 14 - 9 - 20 - 2 Mgo ปุ๋ยทั้ง 2 สูตรนี้ ใส่ให้ต้นปาล์มครั้งแรกของทุกปี
          4. ปุ๋ยสูตร 14 - 14 - 21 (หรือปุ๋ยสูตรตัวท้ายอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงกัน) เป็นปุ๋ยที่ใส่ให้ต้นปาล์มทุกปี ๆ ละ 1 ครั้ง (ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2)
          5. ปุ๋ยร็อกฟอสเฟตใส่ทุก ๆ 2 ปี ทุก ๆ 3 ปี ก็ได้ ประมาณ 2 กก. / ต้น

          การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้ว ควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้ปุ๋ยสูตร 14 - 9 - 20 - 2 Mgo ผสมกับปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์ (สูตร 0 - 0 - 60) หรือบางปีอาจร่วมกับปุ๋ยร็อกฟอสเฟตด้วย เมื่อจำเป็น

          เมื่อผสมทั้ง 3 สูตรนี้เข้าด้วยกันแล้วต้องรีบใส่ให้ต้นปาล์มทันที ในสวนปาล์มส่วนใหญ่ ค่าปุ๋ยจะเป็นค่าใช้จ่ายที่มากที่สุด แต่ในบางครั้งอาจจะได้รับผลตอบแทนไม่คุ้มค่า หรือเกิดการสูญเปล่า ดังนั้นในสวนปาล์มขนาดใหญ่ จึงควรตระหนักเกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิต การใช้ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพ โดยอาจจะพิจารณาผลการวิเคราะห์ดินใบปาล์มน้ำมัน อัตราปุ๋ยและชนิดปุ๋ย ทั้งนี้เพื่อจะลดการสูญเสีย เนื่องจากขาดความเอาใจใส่ในการใส่ปุ๋ยให้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม ความผิดพลาดต่างๆ ที่มักพบโดยทั่วไป คือ

       ใส่ปุ๋ยผิดวิธี การใส่ปุ๋ยเป็นบริเวณแคบๆ หรือกองไว้เป็นจุด ๆ แทนที่จะหว่านให้ทั่วนั้น อาจจะเป็นอันตรายกับราก และทำให้เกิดการสูญเสียเนื่องจากการชะล้างและไหลบ่าได้

          เวลาใส่ปุ๋ยไม่เหมาะสม การใส่ปุ๋ยในขณะที่ดินแห้ง หรือเปียกเกินไป จะมีผลต่อการสูญเสียไนโตรเจนมากที่สุด

       ปริมาณใส่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในปาล์มเล็ก

          ความไม่สมดุลระหว่างธาตุอาหารที่ใส่

       ใส่ไม่ถูกต้อง (ใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือไม่เหมาะสม)



โรคใบไหม้ (Curvularia Seedling Blight)

เป็นโรคที่พบมากในระยะกล้าโดยจะทำความเสียหายมากในแปลงเพาะกล้าโดยทั่วๆ ไปจะเกิดอาการกับใบอ่อนส่วนมาก นอกจากนี้ยังพบว่าสามารถ จะเกิดกับต้นปาล์มน้ำมันที่ปลูกในแปลงในช่วงระยะปีแรก ๆ

เชื้อสาเหตุ

         เกิดจากเชื้อรา Curvularia sp.

ลักษณะอาการ :          พบอาการของโรคบนใบอ่อนโดยเฉพาะใบยอดที่ยังไม่คลี่โดยในระยะแรกจะเกิดจุดเล็ก ๆ ลักษณะโปร่งใสกระจายอยู่ทั่วไป เมื่อแผลขยายเต็มที่จะมีลักษณะบุ๋มสีน้ำตาลแดง มีลักษณะบาง ขอบแผนนูน ลักษณะฉ่ำน้ำ มีวงสีเหลืองล้อมรอบแผล แผลมีลักษณะรูปร่างกลมรี ความยาวของแผลอาจถึง 7 - 8 เซนติเมตร เมื่อเกิดระบาดรุนแรงแผล ขยายตัวร่วมกันทำให้ใบไหม้ม้วนงอและฉีกขาด การเจริญเติบโตของต้นกล้าชะงักไม่เหมาะในการนำไปปลูก ในกรณีระบาดรุนแรงต้นกล้าถึงตายได้

การป้องกันกำจัด

         เผาทำลายใบและต้นที่เป็นโรค พ่นด้วยสารเคมีที่ไม่มีทองแดงเป็นองค์ประกอบ เช่น ไทแรม แคปแทน อัตรา 50 กรัม / น้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 5 - 7 วัน ในระยะที่เริ่มมีการระบาด



โรคใบจุด (Helminthosporium Leaf Spot)

         เป็นโรคในระยะกล้าที่พบในช่วงอายุตั้งแต่ 5 เดือนขึ้นไป โรคนี้พบว่ามีความรุนแรงน้อยกว่าโรคใบไหม้ และพบมาก ในสภาพที่มีอากาศแล้งจัดและความชื้นน้อย

เชื้อสาเหตุ

         เกิดจาก Drechslera halodes

ลักษณะอาการ

         เกิดจุดแผลสีเหลืองจำนวนมากบนใบอ่อนที่เริ่มคลี่ โดยมากจะเกิดในลักษณะเป็นกลุ่มบริเวณปลายฝน ต่อมาจุดแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาดำเมื่อใบที่เกิดกลุ่มแผลจะมีสีเหลืองรวมเป็นบริเวณกว้าง โรคจะระบาดโดยเริ่มจากแผลเหล่านี้ขยายกว้างออกไป ปลายฝนเริ่มแห้งและตายไปในที่สุด

การป้องกันกำจัด

         แยกต้นที่เป็นโรคและเผาทำลาย พ่นด้วยสารเคมีฆ่าเชื้อรา เช่น แคปแทน หรือไทแรม การพ่นสารเคมีต้องพ่นทั้งบนใบและใต้ใบ



โรคก้านทางใบบิด (Crown Disease)


         
พบมากกับปาล์มน้ำมันในแปลงปลูกอายุ 1 - 3 ปี เป็นโรคที่พบเสมอ

เชื้อสาเหตุ

         ยังไม่ทราบแน่ชัดเข้าใจว่าเกิดจากความไม่สมดุลย์ของธาตุอาหารโดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน และแมกนีเซียม

ลักษณะอาการ

         เกิดแผลเน่าบริเวณใบยอด เมื่อยอดเจริญทางยอดคลี่ออกบริเวณที่เคยเป็นแผล เน่าใบย่อยจะแห้งฉีกขาดไป ก้านทางบริเวณนี้จะเหลือแต่ตอก้านทางส่วนนี้จะหักโค้งลง เมื่อต้นปาล์มน้ำมัน สร้างดอกใหม่ก็จะแสดงอาการเช่นนี้จนเป็นทั้งคราว (Crown) บางครั้งทางจะหักล้มโดยไม่แสดงอาการเน่าก่อน



โรคก้านทางใบเน่า


          
พบครั้งแรกกับต้นปาล์มน้ำมันอายุประมาณ 2 ปี

เชื้อสาเหตุ

          ยังไม่ทราบแน่ชัด

ลักษณะอาการ

          ใบย่อยจะมีสีเขียวเข้มลักษณะผิวใบจะด้าน ไม่มันปลายทางใบจะบิด เมื่อเป็นมากก้านทางจะเกิดรอยแตกสีน้ำตาลอมม่วง ตามความยาวของทาง เมื่อฉีกดูจะพบภายในเน่าสีน้ำตาล เริ่มจาก ปลายทางไปหาโคนทางใบ

การป้องกันกำจัด

          ตัดส่วนที่เป็นโรคออกเผาทำลาย และราดบริเวณรอยตัดด้วยสารเคมี




โรคยอดเน่า (Spere Rot)


           
ระบาดมากในช่วงฤดูฝน ส่วนมากจะพบกับปาล์มน้ำมัน อายุ 1 - 3 ปี ในสภาพน้ำขังจะพบโรคนี้มาก

เชื้อสาเหตุ

           ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่จากการแยกหาเชื้อ สาเหตุจะพบเชื้อรา Fusarium sp. และแบคทีเรีย Erwinia sp.

ลักษณะอาการ

           โคนยอดจะเกิดเน่าระยะแรกแผลมีสีน้ำตาลต่อมาแผลจะขยายทำให้ใบยอดเน่าแห้งสามารถดึงหลุดออกได้

การป้องกันกำจัด

           ป้องกันแมลงอย่าให้มากัดกินบริเวณยอด ถ้าพบโรคในระยะแรกตัดส่วนที่เป็นโรคออกให้หมด แล้วฉีดพ่นด้วยยาฆ่าเชื้อรา เช่น ไทแรม อาลีแอท



โรคตาเน่า – ใบเล็ก (Bud Rot – Little Leaf Disease)


        
 เป็นโรคที่พบกับปาล์มน้ำมันอายุตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไประบาดมากในช่วงฤดูฝน

เชื้อสาเหตุ

         ยังไม่ทราบแน่ชัด

ลักษณะอาการ

         ใบยอดจะเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองและเกิดการเน่าบริเวณกลางใบยอด จนกระทั่งเน่าแห้งทั้งใบสามารถดึงหลุดออกมาได้ ทางใบถัดไปจะเริ่มเหลืองอาการเน่าลุกลามถึงตาทำให้ตาเน่าไม่มีการแทงยอดใหม่ต้นปาล์มน้ำมันจะตาย แต่ถ้าสภาพไม่เหมาะสมเชื้อทำลายไม่ถึงตา จะมีการแทงยอดมใหม่ออกมา แต่จะมีลักษณะผิดปกติ คือทางใบสั้น ปลายกุด มักจะพบลักษณะ 1 - 4 ทาง แล้วจึงเกิดทางปกติ ขึ้นกับความรุนแรงของโรค

การป้องกันกำจัด

         ป้องกันแมลงอย่าให้มากัดกินบริเวณยอด ถ้าพบโรคในระยะแรกตัดส่วนที่เป็นโรคออกให้หมด แล้วฉีดพ่นด้วยยาฆ่าเชื้อรา เช่น ไทแรม อาลีแอท



โรคทะลายเน่า (Marasmius Bunch Rot)

เชื้อสาเหตุ

         เกิดจากเชื้อเห็ด Marasmius sp.

ลักษณะอาการ

         บนทะลายปาล์มน้ำมันก่อนจะสุกจะพบเส้นใยสีขาวของเชื้อขึ้นระหว่างผลจะเจริญเข้าไปในผลทำให้เปอร์เซ็นต์กรดไขมันอิสระเพิ่มขึ้น ผลเน่าเป็นสีน้ำตาลดำมีลักษณะนุ่มถ้ามีสภาพเหมาะสมความชื้น มากเชื้อจะสร้างดอกเห็ดบนทะลาย

การป้องกันกำจัด

         ตัดทะลายที่แสดงอาการออกให้หมดรวมทั้งช่อดอกตัวเมียที่ผสมไม่ดี เศษซากเกสรตัวผู้ที่แห้ง ฉีดพ่นด้วยสารเคมีหลังจากตัดส่วนที่เป็นโรคแล้วด้วยสารเคมีเช่น antigro terzan,vitavax หรือ antracol



โรคผลเน่า (Fruit Rot)


เชื้อสาเหตุ

        เกิดจากเชื้อรา Fusaium sp. Collecioirichum sp. Peni*****lium sp. Votryodiplodia sp.

ลักษณะอาการ

        เปลือกนอกของผลจะอ่อนนุ่มสีดำ โดยจะเริ่มจากโคนหรือปลายผลเข้ามา โดยมากจะเกิดกับผลที่สุกแก่



โรคลำต้นส่วนบนเน่า


เชื้อสาเหตุ

          รายงานจากต่างประเทศว่าเกิดจากเชื้อเห็ด Phillinus sp. ร่วมกับ Ganedema sp.

ลักษณะอาการ

          พบว่าส่วนบนของลำต้นจากยอดประมาณ 0.5 เมตร จะหัก พบครั้งแรกกับต้นอายุ 9 ปี เมื่อผ่าดูพบว่าเชื้อจะเข้าทางฐานของก้านทางทำให้เกิดอาการเน่าบริเวณลำต้น ในขณะที่ตาดและรากแสดงอาการปกติ

การป้องกันกำจัด

          เผาทำลายต้นปาล์มน้ำมันที่เป็นโรค อย่าเคลื่อนย้ายต้นปาล์มน้ำมันที่เป็น โรคผ่านไปในแปลงที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ในกรณีที่พบอาการใหม่ ๆ ถากส่วนที่เป็นโรคออกแล้วทาบริเวณแผล ด้วยสารป้องกันและกำจัดโรคพืช



แมลงศัตรูที่สำคัญ
     
1. หนอนหน้าแมว กัดทำลายใบจนเหลือแต่ก้านใบ ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ควรสำรวจแมลงในพื้นที่เป็นประจำ
         2. ด้วงกุหลาบ กัดทำลายใบของต้นปาล์มน้ำมัน ขนาดเล็กที่เพิ่งปลูกใหม่
         3. ด้วงแรด กัดเจาะโคนทางใบ ทำให้ทางใบหักง่าย และยังกัดเจาะทำลายยอดอ่อน ทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็น ริ้วๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม ถ้ารุนแรงจะทำให้ต้นตายได้


สัตว์ศัตรูที่สำคัญ
  
       -  ระยะตั้งแต่ปลูกจนถึงระยะเริ่มให้ผลผลิต (อายุ 1-3 ปี) มักพบ เม่น หมูป่า หนู และอีเห็น เข้ามากัดโคนต้นอ่อน และทางใบปาล์มส่วนที่ติดกับพื้นดิน
         -  ระยะให้ผลผลิตศัตรูที่สำคัญ คือ หนู ซึ่งที่พบในสวนปาล์ม ได้แก่ หนูนาใหญ่ หนูท้องขาวทั้งชนิดที่เป็น หนูป่ามาเลย์ และหนูบ้านมาเลย์ หนูพุก หนูฟันขาวใหญ่ หนูท้องขาวสิงคโปร์ นอกจากนี้ยังพอ เม่น กระแต หมูบ้า และอีเห็น



การป้องกันกำจัด
1. โดยไม่ใช้สารเคมี
        - การล้อมรั้วกับปาล์มที่มีอายุ 1 - 3 ปี ที่มีปัญหาจากเม่น ควรล้อมโคนต้นประมาณ 15 เซนติเมตร
        - การล้อมดี ใช้คนหลายคนช่วยกัน วิธีนี้ช่วยลดปริมาณหนูลงระยะหนึ่ง ถ้าจะให้ผลดีจะต้องทำบ่อย ๆ ครั้ง
        - การดัก เช่น กรงดัก กับกัด หรือเครื่องมือดักหนูจะให้ผลดีในเนื้อที่จำกัดเหยื่อดักควรคำนึงสัตว์ชนิดที่ต้องการดักมีความคุ้นเคยหรือต้องการอาหารชนิดใดมีมากน้อยเพียงใด
        - การเขตกรรม โดยหมั่นถางหญ้าบริเวณต้นปาล์มอย่าให้มีหญ้าขึ้นรกเพราะเป็นที่หลบอาศัยที่ดีของสัตว์ศัตรูปาล์ม
        - การยิง ใช้ในกรณีสัตว์ศัตรูปาล์มเป็นสัตว์ใหญ่ เช่น หมูป่า เม่น ช้างป่า
        - การอนุรักษ์สัตว์ศัตรูธรรมชาติ เช่น ศัตรูธรรมชาติของหนู คือ งูสิง งูแมวเซา งูแสงอาทิตย์ งูเห่า งูหางมะพร้าว พังพอน เหยี่ยว จำเป็นต้องสงวนปริมาณให้สมดุลกับธรรมชาติ

2. โดยใช้สารเคมี
         การใช้สารฆ่าหนูเป็นวิธีการลดจำนวนประชากรหนูอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด สารฆ่าหนูที่ออกฤทธิ์เฉียบพลัน ได้แก่
               - ชิงค์ฟอสไฟด์ เป็นผงสีดำ กลิ่นฉุนคล้ายกระเทียม ความเข้มพอเหมาะ หนู เดินเข้าไปจะตายภายใน 12 ชั่วโมง โดยใช้อัตรา 1 : 100 ส่วนโดยน้ำหนัก นำไปวางไว้ตามรอยทางเดิน
               - ซัลมูริน ในท้องตลาดจำหน่ายในรูปซัลมูริน 1% ผสมกับเหยื่ออัตรา 1 : 19 ส่วน ยานี้จะทำลายระบบประสาท ทำให้หนูเป็นอัมพาตและตายภายใน 1 วัน
         นอกจากนี้ การกำจัดแมลงศัตรูปาล์มน้ำมัน ซึ่งได้แก่ หนอนหน้าแมว หนอน ดราน่า ด้วงกุหลาบ หนอนเขาสัตว์ หนอนกินใบ หนอนร่านโพนีตา ให้ใช้สารเคมี ประเภทคาร์บาริล เซฟวิน 80 % และวิธีจับทำลายโดยตรง



การเก็บเกี่ยวผลปาล์มน้ำมัน

การเก็บเกี่ยว

      การเก็บเกี่ยวผลปาล์มสดรวมถึงการรวมผลปาล์มส่งโรงงาน มีขั้นตอนโดยทั่วไปดังนี้
              1. ก่อนอื่นจะต้องแต่งช่อทางลำเลียงแถวปาล์มในแต่ละแปลงให้เรียบร้อยสะดวกกับการลำเลียง และการตรวจสอบทะลายปาล์มที่ตัดแล้ว เพื่อรวบรวมต่อไป
              2. คัดเลือกทะลายปาล์มสุกโดยยึดมาตรฐานจากการดูสีของผล ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีส้มและจำนวนผลสุกที่ร่วงหล่นลงบนดินประมาณ 10 – 12 ผล ผลให้ถือเป็นผลปาล์มสุกที่ใช้ได้
              3. หากปรากฏว่าทะลายปาล์มสุกที่จะตัดมีขนาดใหญ่ ที่ติดแน่นกับลำต้นมากไม่สะดวกกับการใช้เสียมแทงเพราะจะทำ ให้ผลร่วงมาก ก็ใช้มีดขอหรือมีดด้ามยาวธรรมดา ตัดแชะขั้วทะลายกันเสียก่อน แล้วจึงใช้เสียมแทงทะลายกันเสียก่อน แล้วจึงใช้เสียมแทงทะลายปาล์มก็จะหลุดออกคอต้นปาล์มได้ง่ายขึ้น
              4. ให้ตัดแต่งขั้วทะลายปาล์มที่ตัดออกมาแล้วให้สั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อสะดวกในการขนส่ง หรือเมื่อถึงโรงงาน ทางโรงงานก็จะบรรลุลงในถังต้นลูกปาล์มได้สะดวก
              5. รวบรวมผลปาล์มทั้งที่เป็นทะลายย่อยและลูกร่วงไว้เป็นกองในที่ว่างโคนต้น เก็บผลปาล์มร่วงใส่ตะกร้าหรือเข่ง กรณีต้นปาล์มมีอายุน้อย ทางใบปาล์มอาจรบกวนทำให้เก็บยาก
              6.  สำหรับกองทางใบที่ตัดแล้วอย่าให้กีดขวางทางเดิน หรือปิดกั้นทางระบายน้ำจะทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ระบายน้ำที่ขังตามทางเดิน
              7. รวบรวมผลปาล์มทั้งทะลายสดและผลปาล์มร่วงไปยังศูนย์รวมผลปาล์มในกองย่อย เช่น ในการกระบะบรรทุกที่ลากด้วยแทรกเตอร์หรือรถอีแต๋น
              8. การเก็บเกี่ยวผลปาล์ม ฝ่ายสวนจะต้องสนับสนุนให้ผู้เก็บเกี่ยวร่วมทำงานกันเป็นทีม ในทีมก็แยกให้เข้าคู่กัน 2 คนคนหนึ่งตัดหรือแทงปาล์มอีกคนเก็บรวมรวมผลปาล์ม
              9. การเก็บรวมรวมผลปาล์ม พยายามลดจำนวนครั้งในการถ่ายเทย่อย ๆ เมื่อผลปาล์มชอกช้ำมี บาดแผลปริมาณของกรดไขมันอิสระจะเพิ่มมากขึ้น การส่งปาล์มออกจากสวนควรมีการตรวจสอบลงทะเบียนมีตาข่าย คลุมเพื่อไม่ให้ผลปาล์มร่วงระหว่างทาง

ข้อควรปฏิบัติในการเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มน้ำมัน มีดังนี้
              1. ตัดทะลายปาล์มน้ำมันที่สุดที่พอดี คือทะลายปาล์มเริ่มมีผลร่วง ไม่ควรตัดทะลายยังดิบอยู่เพราะใน ผลปาล์มดิบยังมีสภาพเป็นน้ำและแป้งอยู่ ยังไม่แปรสภาพเป็นน้ำมัน ส่วนทะลายที่สุกเกินไปจะมีกรดไขมัน อิสระสุก และผลปาล์มสดอาจมีสารบางชนิดอยู่ อาจเป็นอันตรายกับผู้บริโภคได้
              2.  รอบของการเก็บเกี่ยวในช่วงผลปาล์มออกชุกควรจะอยู่ในช่วง 7 – 10 วัน
              3.  ผลปาล์มลูกร่วงที่อยู่บริเวณโคนปาล์มน้ำมัน และที่ค้างในกาบต้นควรเก็บออกมาให้หมด
              4.  ก้านทะลายควรตัดให้สั้นโดยต้องให้ติดกับทะลาย
              5.  พยายามให้ทะลายปาล์มชอกช้ำน้อยที่สุด

ข้อควรคำนึง

                       1.  ผลปาล์มที่ตัดแล้วควรส่งถึงโรงงานภายใน 24 ชั่วโมง
             2.  ทะลายปาล์มสุกที่มีมาตรฐานคือลูกปาล์มชั้นนอกสุดของทะลายหลุดร่วงจากทะลาย
             3.  ลูกปาล์มเต็มทะลายและเห็นได้ชัดว่าได้รับการดูแลรักษาอย่างดี
             4.  ไม่มีทะลายที่ชอกช้ำและเสียหายอย่างรุนแรง
             5.  ไม่มีทะลายเป็นโรคใด ๆ หรือเน่าเสีย
             6.  ไม่มีทะลายที่สัตว์กินหรือทำความเสียหายแก่ผลปาล์ม
             7.  ไม่มีสิ่งสกปรกเจือปน เช่น ดิน หิน ทราย ไม้กาบหุ้มทะลาย เป็นต้น
             8.  ไม่มีทะลายเปล่าเจือปน
             9.  ความยาวของก้านทะลายควรไว้เก็บประมาณ 2 นิ้ว



มาตรฐานในการเก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมัน

      1.  จะต้องไม่ตัดผลปาล์มดิบไปขายเพราะจะถูกตัดราคา
           2.  จะต้องไม่ปล่อยให้ผลสุกคาต้นเกินไป
           3.  ต้องเก็บผลปาล์มร่วงบนพื้นให้หมด
           4.  ต้องไม่ทำให้ผลปาล์มที่เก็บเกี่ยวมีบาดแผล
           5.  ต้องคัดเลือกทะลายปาล์มหรือเขย่าผลที่มีอยู่น้อยออกแล้วทิ้งทะลายเปล่าไป
           6.  ตัดขั้วทะลายให้สั้นเท่าที่จะทำได้
           7.  ต้องทำความสะดวกผลปาล์มที่เปื้อนดิน อย่าให้มีเศษหินดินปน
           8.  ต้องรีบส่งผลปาล์มไปยังโรงงาน ภายใน 24 ชั่วโมง

การกำหนดคุณภาพของผลปาล์มสดทั้งทะลายที่มีคุณภาพดี

ความสด เป็นผลปาล์มสดที่ตัดส่งถึงโรงงานภายใน 24 ชั่วโมง
ความสุก ทะลายปาล์มที่สุกมาตรฐาน คือลูกปาล์มชั้นนอกสุดของทะลาย ร่วงหลุดจากทะลายประมาณ 10-30 ผล เมื่อส่งถึงโรงงาน
ความสมบูรณ์ ลูกปาล์มเต็มทะลายและเห็นได้ชัดว่าได้รับการบำรุงรักษาอย่างดี
ความบอบช้ำ ไม่มีทะลายที่มีความบอบช้ำ และเสียหายรุนแรง
ทะลายเป็นโรค ไม่มีทะลายเป็นโรคใด ๆ หรือเน่าเสีย
ทะลายสัตว์กิน ไม่มีทะลายสัตว์กินหรือความเสียหายแก่ลูกปาล์ม
ความสกปรก ไม่มีสิ่งสกปรกเจือปน เช่น หิน ดิน ทราย ไม้ กาบหุ้มทะลาย ฯลฯ
ทะลายเปล่า ไม่มีทะลายเปล่าเจือปน
ก้านทะลาย ความยาวของก้านทะลายไม่เกิน 2 นิ้ว


วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว

         ทะลายผลปาล์มสดจะถูกนำมารวมกองไว้ข้างถนนซอย โดยใช้แรงงานคนแบก รถเข็นล้อเลื่อนแรงงานจากสัตว์ และรถแทรกเตอร์ โดยจะต้องมีการวางแผนการเก็บเกี่ยวให้สอดคล้องกับการบรรทุกส่งโรงงาน ทั้งนี้ต้องเสร็จภายในวันเดียว และต้องไม่มีทะลายปาล์มเหลืออยู่ในสวนปาล์ม ถ้าวันต่อไปเป็นวันหยุดงาน


©ข้อมูลจาก®

พืชไร่เศรษฐกิจ. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

กรมวิชาการเกษตร (http://www.doa.go.th)











สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (2754 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©