-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 580 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ยางพารา19






ข้อจำกัดของการเพิ่มผลผลิตน้ำยาง
โดยใช้ฮอร์โมนเอทธิลีน  


แม้ว่าการใช้แก๊สหรือฮอร์โมนเอทธิลีนจะสามารถเพิ่มผลผลิตน้ำยางได้มากอย่างน่าอัศจรรย์ แต่การใช้ฮอร์โมนเอทธิลีนก็มีข้อจำกัดหรือข้อด้อยด้วยเช่นกัน เช่น เหมาะสำหรับสวนยางที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป(หากเป็นพันธุ์ RRIM 600 สามารถทำได้ตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป และต้องเป็นต้นยางที่มีขนาดลำต้นใหญ่หรือมีเส้นรอบลำต้นตั้งแต่ 60 ซม.ขึ้นไปและสภาพสวนยางต้องสมบูรณ์ (ต้นเล็กน้ำยางไม่เพิ่มขึ้น)


ประการต่อมา สวนยางพาราที่จะใช้ฮอร์โมนเอทธิลีน จะต้องอยู่ในเขตที่มีความชื้นสูงเพียงพอ คือภาคใต้หรือภาคตะวันออก หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณที่ติดต่อกับเขตป่าดิบชื้นของเขมร ส่วนในเขตแห้งแล้ง ไม่เหมาะสมที่จะใช้ฮอร์โมนนี้


ประการต่อมา ก็ควรเลือกแบบที่ติดตั้งได้ง่าย และพึ่งตนเองให้มากที่สุด อุปกรณ์ที่ติดควรมีอายุนานพอสมควร และในกรณีที่มีการรั่วของฮอร์โมน เราก็ควรทำการซ่อมแซมเองได้(ในสภาพความเป็นจริง หลังจากติดตั้งอุปกรณ์ให้ฮอร์โมนเอทธิลีนไปแล้ว ประมาณ 2-4 เดือน จะพบว่ามีการรั่วของฮอร์โมนมากพอสมควรซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องทำการซ่อมแซมตามรูปแบบของแต่ละอุปกรณ์ให้ฮอร์โมน


ประการต่อมา การกรีดยางต้องกรีด 1 วันและหยุด 2 วัน หากกรีดบ่อยกว่านี้เช่น วันเว้นวัน ซึ่งถือว่าเป็นการกรีดที่หักโหมมากเกินไปสำหรับต้นยางที่อัดฮอร์โมน ก็อาจส่งผลให้น้ำยางที่ได้มีเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งที่ต่ำมาก และในระยะต่อมาก็อาจส่งผลให้ต้นยางมีอาการเปลือกแห้งได้เช่นกัน


ประการต่อมา หากไม่แน่ใจว่าจะปลอดฝนตลอดทั้งคืนหรือไม่ ก็ให้เก็บน้ำยาง 1 ครั้ง ก่อนเที่ยงคืนหรือก่อนฝนจะตก เก็บรักษาน้ำยางไว้ด้วยสารละลายแอมโมเนีย


ประการต่อมา  เนื่องจากได้ปริมาณน้ำยางเยอะมาก จึงต้องตกลงอัตราการแบ่งผลประโยชน์กับคนงานกรีดให้เหมาะสมและเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย เช่น อาจจะแบ่งแบบ 50:50 และแต่ละฝ่ายต้องจ่ายค่ากำจัดวัชพืชและค่าปุ๋ยบำรุงเท่า ๆ กัน หรืออาจจะแบ่งแบบ 70:30 โดยเจ้าของสวนยางต้องแบ่งเงินร้อยละ 20 มาเป็นค่าการจัดการสวนยางเองทั้งหมด


ประการต่อมา การกรีดยางที่อัดฮอร์โมนเอทธิลีน จะทำให้ต้นยางพาราเสียน้ำไปกับน้ำยางมากถึงร้อยละ 23 (โดยประมาณ) ดังนั้น หากตัดไม้ขายในทันทีทันใด น้ำหนักไม้ก็จะน้อยกว่าต้นยางปกติ (ซึ่งหากเว้นระยะไว้สัก 1-2 สัปดาห์ แล้วจึงโค่นขายไม้ ก็สามารถแก้ปัญหานี้ได้แบบง่าย ๆ)


นอกจากนี้ ก็อาจมีปัญหาอื่น ๆ บ้าง เช่น หากเป็นพื้นที่ที่มีขโมยชุกชุม และสวนยางอยู่ไกลตาเกินกว่าจะดูแลได้ ก็ไม่ควรใช้ฮอร์โมน หรือหากว่ามีสวนยางแปลงเดียว หากมีเวลาว่าง 2 วัน แล้วเป็นปัญหา ก็ไม่ควรใช้ฮอร์โมน เช่นกัน






ประโยชน์ของการใช้เอทธิลีนเพิ่มผลผลิตน้ำยางพารา

การใช้ฮอร์โมนเอทธิลีน(Ethัylene) เพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำยางมีจุดกำเนิดในประเทศมาเลเซีย มานานนับกว่า 10 ปี และได้แพร่หลายไปในหลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย,ไทย, เวียดนาม,กัมพูชา และบางประเทศในแอฟริกา จึงทำให้ประเทศเหล่านั้นสามารถเพิ่มผลผลิตยางพารามากขึ้น ๆ ในบางปี ก็มีอัตราที่มากกว่าการเพิ่มขึ้นของประเทศไทย ในบางครั้งดูเหมือนมีการเรียกหาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่จะมาช่วยเพิ่มผลผลิตน้ำยาง บางครั้งเสียงเรียกร้องก็มาจากเกษตรกรชาวสวนยางพาราเอง โดยเฉพาะในช่วงที่ราคายางตกต่ำ ดังเช่นทุกวันนี้


แม้ว่าขณะนี้ชาวสวนยางพารากำลังเจอวิกฤตราคายางพาราอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก กระนั้น หนทางที่จะอยู่รอดชนิดดีกว่าเดิมก็พร้อมอ้าแขนรับสำหรับชาวสวนยางที่มองเห็นคุณค่าและประโยชน์ของนวัตกรรมใหม่ที่พร้อมให้ทดลองใช้กันแล้วในวันนี้  ขอเพียงให้พยายามทำใจไม่กลัวเมื่อเห็นน้ำยางไหลมากว่าเดิม ตั้งแต่ 3-10 เท่า ในแต่ละครั้งที่กรีด และไม่ตกอยู่ภายใต้คำเล่าลือที่ชนิด "พูดเอามัน" ว่าไม้ยางพาราที่มาจากการอัดแก็สเสียหายจนไม่อาจขายได้ราคาดีเหมือนต้นยางปกติ??


เมื่อ สกย.ได้จัดทำโครงการเพิ่มผลผลิตน้ำยางจากสวนยางที่มีอยู่เดิมโดยใช้สารเร่ง "แก๊สหรือฮอร์โมนเอทธลีน"  โดยได้จัดทำแปลงสาธิต ในทุกอำเภอของสกย.เฉพาะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้ง 4 อำเภอของสกย.จังหวัดสงขลาเขต 2 คือ สกย.อ.จะนะ, เทพา, นาทวี และ สะบ้าย้อย เพื่อศึกษาขั้นตอนและวิธีการอย่างใก้ลชิดในการเพิ่มผลผลิตน้ำยางด้วยฮอร์โมนเอทธิลีน เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 เดือนก่อนที่จะจัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องนี้ จากโครงการฯดังกล่าว จึงทำให้พนักงานของสกย.และเกษตรกรชาวสวนยางมองเห็นประโยชน์ของการใช้ฮอร์โมนเอทธิลีนในการเพิ่มปริมาณน้ำยางต่อครอบครัวของชาวสวนยางเองและต่อประเทศชาติ ซึ่งสรุปได้ดังนี้

  • ทำให้ได้ผลผลิตน้ำยางเพิ่ม 3-10 เท่าต่อครั้งกรีด หรือโดยเฉลี่ย 2.5-4.5 เท่าต่อเดือน ส่งผลให้มีรายรับมากกว่าการกรีดแบบธรรมดามากกว่า 30,000-45,000 บาท/ไร่/ปี
  • การกรีดยาง ใช้ระบบกรีดหน้าสั้นเพียง 4 นิ้ว ทำให้ประหยัดหน้ากรีด จนสามารถกรีดยางได้นาน 40-50 ปี หรืออาจมากกว่า
  • เหมาะสำหรับเจ้าของสวนยางพาราทุกขนาดโดยเฉพาะเจ้าของสวนยางขนาดเล็ก
  • กรีดยางในตอนเย็นและเก็บน้ำยางในตอนเช้า ใช้ระบบการกรีด 1 วัน และหยุดกรีด 2 วัน จำนวนวันกรีดยางจึงเหลือเพียงเดือนละ 10 วัน ทำให้มีเวลาเหลือที่จะไปทำอย่างอื่น หรือกรีดยางได้ถึง 3 แปลง
  • เพิ่มผลผลิตยางเป็น 4.5 ล้านตันต่อปี โดยไม่ต้องเพิ่มเนื้อที่ เป็นประโยชน์ สกย.และประเทศชาติอย่างมหาศาล (ประเทศไทยมีสวนยาง เปิดกรีดได้แล้วประมาณ 10 ล้านไร่ ได้ผลผลิต 3 ล้านตัน/ปี และสวนยางอายุ มากกว่า 15 ปี มีประมาณร้อยละ 50 หรือ 5 ล้านไร่ ซึ่งคิดเป็นผลผลิตยางได้ 1.5 ล้านตัน/ปี หากมีการใช้ฮอร์โมนเอทธิลีน ผลผลิตเพิ่มเป็น 2 เท่า ดังนั้น สวนยาง 5 ล้านไร่ ผลผลิตจะป็น 3 ล้านตัน/ปี สุดท้านก็จะได้ผลผลิตเพิ่มเป็น 4.5 ล้านตัน/ปีโดยไม่ต้องเพิ่มพื้นที่ปลูก)





 










สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (2321 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©