-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 595 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ยางพารา16







โรคและแมลงศัตรูยางพารา 



1. โรครากขาว
 
เป็นโรคร้ายแรงโรคหนึ่งที่เกิดจากเชื้อรา เกิดขึ้นได้กับยางทั่วไปทั้งยางอ่อนและยางแก่ 
ลักษณะอาการ 
จะสังเกตเห็นพุ่มใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมส้ม ใบร่วงหมดทั้งต้น ขอบใบม้วนเข้าด้านใน ถ้าตรวจดูที่รากจะเห็นเส้นใยของเชื้อราแตกสาขาเป็นร่างแหจับติดแน่นและแผ่คลุมผิวรากที่เป็นโรค ลักษณะของเส้นใย มีสีขาวปลายแบน เมื่อเส้นใยอายุมากขึ้นจะนูนกลมและกลายเป็นสีเหลืองจนถึงสีน้ำตาลแห้งซีด ในช่วงที่มีฝนตกจะมีดอกเห็ดเกิดขึ้นตรงบริเวณโคนต้นหรือส่วนรากที่โผล่พ้นดิน ลักษณะดอกเห็ดจะซ้อนกันหลายชั้น ผิวบนสีเหลืองแกมส้ม ขอบสีขาว ส่วนผิวล่างมีสีส้มแดงหรือน้ำตาล ถ้าตัดดอกเห็นตามขวางจะเห็นชั้นบนเป็นสีขาวและชั้นล่างเป็นสีน้ำตาลแดงชัดเจน 
การป้องกันและรักษา 
1. การเตรียมพื้นที่ปลูกยางจะต้องทำการถอนรากและเผาทำลายตอไม้ ท่อนไม้ให้หมด เพื่อทำลายเชื้อราอันอาจทำให้เกิด 
โรครากขาวได้ 
2. หลังจากปลูกยางไปแล้วประมาณ 1 ปี หมั่นตรวจดูต้นที่เป็นโรค หากไม่พบต้นที่เป็นโรคให้ป้องกันด้วยการทาสารเคมีพีซีเอ็นบี (PCNB) 20% เคลือบไว้ที่โคนต้นตรงคอดิน รากแก้ว และฐานของรากแขนงแขนง 
3. หากพบต้นที่เป็นโรคบริเวณโคนต้น โคนรากและรากแขนงให้ตัดหรือเฉือนทิ้ง แล้วทาด้วยสารเคมีพีซีเอ็นบี (PCNB) 20% ผสมน้ำและควรทำการตรวจซ้ำในปีต่อไป 
4. ถ้าพบโรครากขาวในต้นยางอายุน้อยให้ทำการขดรากที่เป็นโรคขึ้นมาเผาทำลาย 



2. โรคเส้นดำ 
เกิดจากเชื้อราไฟทอปโทร่า เป็นโรคที่ทำอันตรายต่อหน้ากรีดยางมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตที่มีความชื้นสูง ทำให้เปลือกงอกใหม่เสียหายรุนแรงจนกรีดซ้ำหน้าเดิมไม่ได้ ต้นยางจึงให้ผลผลิตสั้นลงโดยอาจกรีดได้เพียง 8-16 ปีเท่านั้น 
ลักษณะอาการ 
จะปรากฏอาการเหนือรอยกรีด โดยในระยะแรกเปลือกจะซ้ำมีสีผิดปกติ ต่อมารอยช้ำจะเปลี่ยนเป็นรอยบุ๋มสีดำ ขยายตัวในแนวตั้ง ถ้าเฉือนเปลือกออกดูจะพบลายเส้นดำบนเนื้อไม้ อาการในขั้นรุนแรงจะทำให้เปลือกบริเวณนั้นปริและมีน้ำยางไหลตลอดเวลา เปลือกจะเน่าหลุดไปในที่สุด เปลือกงอกใหม่จะมีลักษณะเป็นตะปุ่มตะป่า ทำให้กรีดยางต่อไปไม่ได้ 
การป้องกัน 
1. อย่าเปิดหน้ายางหรือขึ้นหน้ายางใหม่ในระหว่างฤดูฝน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีฝนตก และอย่ากรีดลึกจนถึงเนื้อไม้เพราะจะทำให้หน้ายางเสียหาย โอกาสที่เชื้อจะเข้าทำลายมีมากขึ้น 
2. ตัดแต่งกิ่งยางและปราบวัชพืชให้สวนยางโปร่ง มีอากาศถ่ายเทสะดวก จะช่วยให้หน้ายางแห้งเร็วขึ้น และเป็นการลดความรุนแรงของโรคได้ 
3. การกรีดยางในฤดูฝนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่มีโรคใบร่วงระบาด ควรทาหน้ายางด้วยสารเคมีชนิดเดียวกับที่ใช้รักษา 
การรักษา  
เมื่อพบหน้ากรีดยางเริ่มแสดงอาการให้ใช้สารเมตาแลคซิลอัตรา 7-14 กรัม (1/2 - 1ช้อนแกง) ต่อน้ำ 1 ลิตร ผสมสารแผ่กระจายและจับติด จำนวน 2 ซี.ซี. ( ฝ  ช้อนชา) ใช้สารอย่างใดอย่างหนึ่งทาหน้ากรีดยางทุก 7 วัน ประมาณ 3-4 ครั้ง จะสามารถป้องกันกำจัดโรคนี้ได้แต่ถ้าหากฝนตกชุกติดต่อกันควรทาสารเคมีต่อไปอีกจนกว่าโรคนี้จะหาย 


3. โรคเปลือกเน่า  
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา ระบาดรุนแรงมากในฤดูฝน ทำให้เปลือกงอกใหม่เสียหายรุ่นแรงจนกรีดซ้ำไม่ได้ 
ลักษณะอาการ 
ระยะแรกจะเป็นรอยบุ๋มสีจางบนเปลือกงอกใหม่เหนือรอยกรีดต่อมาแผลนั้นจะมีเส้นใยของเชื้อราสีเทา ขึ้นปกคลุม และขยายลุกลามเป็นแถบขนานไปกับรอยกรีด ทำให้เปลือกบริเวณดังกล่าวนี้เน่าหลุดเป็นแว่น เหลือแต่เนื้อไม้สีดำ 
การป้องกัน  
1. เนื่องจากโรคนี้มักเกิดในแหล่งปลูกยางที่มีความชื้นสูงมาก ๆ ดังนั้นจึงควรมีการตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชในสวนยางเป็นประจำเพื่อให้สวนยางโปร่ง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ความชื้นในแปลงยางจะได้ลดลง 
2. ถ้าพบว่าต้นยางเป็นโรคเปลือกเน่า ควรหยุดกรีดยางประมาณ 2-3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันมิให้เชื้อแพร่ไปติดต้นอื่น 


4. โรคเปลือกแห้ง  
สาเหตุสำคัญเกิดจากสวนยางขาดการบำรุงรักษา และการกรีดเอาน้ำยางออกมากเกินไป จึงทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นมีอาหารไม่พอเลี้ยงเปลือกยางบริเวณนั้นจึงแห้งตาย นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการผิดปกติภายในทอน้ำยางเองด้วย 
ลักษณะอาการ  
หลังจากกรีดยางแล้ว น้ำยางจะแห้งเป็นจุดๆ ค้างอยู่บนรอยกรีดเปลือกยางมีสีน้ำตาลอ่อน ถ้ายังกรีดต่อไปอีก เปลือกยางจะแห้งสนิทไม่มีน้ำยางไหล เปลือกใต้รอยกรีดจะแตกขยายบริเวณมากขึ้นจนถึงพื้นดินและ หลุดออก เนื่องจากเปลือกงอกใหม่ภายในดันออกมา 
การป้องกันและรักษา  
โรคนี้มักจะเกิดบนรอยกรีด ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่มีการดูแลรักษาจะลุกลามทำให้หน้ากรีดเสียหายหมด ดังนั้นวิธีการลดและควบคุมโรคกับต้นยางที่เปิดยางแล้ว จึงใช้วิธีทำร่องแยกส่วนที่เป็นโรคออกจากกันและเมื่อตรวจพบยางต้นใดที่เป็นโรคนี้เพียงบางส่วน จะต้องทำร่องโดยการใช้สิ่วเซาะร่องให้ลึกถึงเนื้อไม้โดยรอบบริเวณที่เป็นโรค โดยให้ร่องที่ทำนี้ห่างจากบริเวณที่เป็นโรคประมาณ 2 เซนติเมตร หลังจากนั้นก็สามารถเปิดกรีดต่อไปได้ตามปกติ แต่ในการกรีดต้องเปิดกรีดต่ำลงมาจากบริเวณที่เป็นโรค เปลี่ยนระบบกรีดใหม่ให้ถูกต้องและหยุดกรีดในช่วงผลัดใบ 

การเอาใจใส่บำรุงรักษาสวนยางให้สมบูรณ์แข็งแรงตั้งแต่เริ่มปลูกใส่ปุ๋ยถูกต้องตามจำนวน และระยะเวลาที่ทางวิชาการแนะนำ ใช้ระบบกรีดให้ถูกต้อง จะช่วยป้องกันมิให้ยาวเป็นโรคเปลือก แห้งได้มาก 

 




5. โรคใบร่วงและผลเน่าที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปโทร่า  
ลักษณะอาการ  
ผลที่ถูกทำลายจะเน่าดำค้างอยู่บนต้น ส่วนอาการที่ใบจะพบว่าใบร่วงทั้ง ๆ ที่ยังมีสีเขียวมีรอยช้ำสีดำอยู่ที่ก้านใบและตรงกลางรอยช้ำมีหยดน้ำยางเกาะติดอยู่ด้วย ถ้านำใบยางที่ร่วงมาสลัดเบาๆ ใบย่อยจะหลุดทันที โรคนี้จะสัมพันธุ์กับโรคเส้นดำด้วย เนื่องจากเกิดจากเชื้อชนิดเดียวกัน เมื่อเกิดโรคนี้จะทำให้ใบร่วงโกร๋นทั้งสวน ผลผลิตยางจะลดลงแต่ก็ไม่ทำให้ต้นยางตาย 
การป้องกันและรักษา   
ควรเลือกปลูกพันธุ์ยางที่ต้านทานโรคนี้ ถ้าเป็นยางพันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม 600 ซึ่งอ่อนแอต่อโรคใบร่วงควรติดตาเปลี่ยนยอดด้วยพันธุ์ทีจี 1 และในสวนยางที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี ให้ใช้แคปตาโฟล 80% ในอัตรา 2 กรัม ผสมน้ำ 1 ลิตร ฉีดพุ่มใบทุกสัปดาห์ในระหว่างที่โรคกำลังระบาด ส่วนในสวนยางที่มีต้นยางขนาดใหญ่การใช้สารเคมีป้องกันจะไม่คุ้มค่าใช้จ่าย จึงไม่แนะนำให้ทำแต่จะแนะนำให้ใช้วิธีป้องกันรักษาโรคเส้นดำที่บริเวณหน้ากรีดแทน และหยุดกรีดระหว่างที่เกิดโรคระบาดเท่านั้น 


6. ปลวก  
จะทำลายต้นยางโดยการกัดกินส่วนรากและภายในลำต้นจนเป็นโพรง ทำให้ต้นยางยืนต้นตายโดยไม่สามารถสังเกตเห็นจากภายนอกได้จนกว่าจะขุดรากดู 
การป้องกันและรักษา  
ใช้สารเคมีกำจังแมลง ได้แก่ ออลดริน ดีลดริน เฮพตาคลอ หรือ คลอเดนในรูปของเหลว ราดที่โคนต้นให้ทั่วบริเวณรากของต้นที่ถูกทำลายและต้นข้างเคียง 


7.   หนอนทราย  
เป็นหนอนของด้วงชนิดหนึ่งลักษณะลำตัวสั้นป้อม ใหญ่ขนาดนิ้วชี้  สีขาวนวล มีจุดเป็นแถวข้างลำตัว เมื่อนำมาวางบนพื้นดินตัวหนอนจะงอคล้ายเบ็ดตกปลา หนอนทรายจะเริ่มทำลายรากต้นยางขนาดเล็ก มีพุ่มใบ 1-2 ฉัตร ทำให้พุ่มใบมีสีเหลืองเพราะระบบรากถูกทำลายเมื่อขุดต้นยางต้นนั้นมาดูจะพบตัวหนอนทราย 


8. โคนต้นไหม้  
เป็นอาการผิดปกติที่เกิดจากสภาพแวดล้อม เนื่องจากสภาพอากาศแห้งแล้งจัดและถูกแสงแดดเผา ทำให้โคนต้นยางตรงรอยติดตาทางทิศตะวันตกมีอาการไหม้ เปลือกไหม้ เปลือกแห้ง อาการจะลุกลามไปทางส่วนบนและขยายบริเวณไปรอบๆ ต้น จนแห้งตาย 
การป้องกันและรักษา  
ควรปลูกยางเป็นแถวในแนวทิศตะวันออกและทิศตะวันตกก่อนเข้าฤดูแล้งให้ใช้ปูนขาวทารอบโคนต้น จากระดับ พื้นดินสูงขึ้นไปจนถึงระดับ 1 เมตร แล้วใช้วัสดุคลุมดินรอบโคนต้นและใช้สีน้ำมันทารอยแผล 


9. อาการตายจากยอด  
อาการตายจากยอดมักเกิดกับยางอายุระหว่าง 1-6 ปี หลังจากประสบกับปัญหาสภาพอากาศแห้งแล้งจัดเป็นเวลานานติดต่อกัน นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากความร้อนระอุของพื้นดิน ตลอดจนพิษตกค้างของสารเคมีในดิน เช่น สารเคมีปราบวัชพืช สารกำจัดตอ หรือใส่ปุ๋ยมากเกินไป ฯลฯ ในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น มีชั้นของหินแข็งหรือดินดานอยู่ใต้ดินอาการตายจากยอดจะปรากฏให้เห็นได้ชัดเจนหลังจากปลูกยางไปแล้ว 3 ปี 
ลักษณะอาการ  
กิ่ง ก้าน ยอด จะแห้งตายจากปลายกิ่ง ปลายยอด แล้วลุกลามลงมาทีละน้อย ๆ จนถึงโคนต้น และยืนต้นตายในที่สุด แต่ถ้าผ่านสภาวะแห้งแล้งไปแล้วต้นยังไม่ตาย ลำต้นหรือส่วนที่ยังไม่ตายจะแตกกิ่งแขนงออกมาใหม่ สำหรับส่วนที่แห้งตายไปแล้ว เปลือกจะล่อนออกถ้าแกะดูจะปรากฏเชื้อราเกิดขึ้นซ้ำทั่วบริเวณเปลือกด้านใน 
การป้องกันและรักษา  
ถ้าสภาพดินเลวและแห้งแล้งจัดอาจให้น้ำช่วยตามความจำเป็น หรือใช้วัสดุคลุมโคนต้นจะช่วยรักษาความชุ่มชื้นและลดความรุนแรงของอาการตายจากยอดได้ ควรให้ปุ๋ยตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด 
 






 
โรคต้นยางพารา

บทที่ 4 โรคและศัตรูพืชที่สำคัญของยางพารา



โรคตายยอด
(Die Back)
สาเหตุการเกิดโค
1. เกิดจากเชื้อรา

2. เกิดจากปลูกในพื้นที่ที่สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของ ธาตุอาหารมีน้อย หรือมากเกินไป หรือมีสารพิษตกค้างในดิน หรือปลูกในสภาพที่เหมาะสมแก่การเกิดโรค


ลักษณะอาการของโรคที่เกิด
กิ่งก้าน หรือยอดแห้งตายจากปลายกิ่ง หรือยอดเข้าหาส่วนโคนทีละน้อยแล้วลุกลามไปจนถึงโคน

ต้น ในที่สุดต้นยางจะยืนต้นตาย ถ้าอาการรุนแรงต้นยางจะแห้งตายตลอดทั้งต้น เปลือกล่อนออกจากเนื้อไม้ มีเส้นใยและสปอร์ของเชื้อราสีดำ หรือเชื้อราสีขาว เกิดขึ้นบริเวณเปลือกด้านใน นอกจากนี้มีแบคทีเรียและ ไส้เดือนฝอยอาศัยอยู่ทั่วไป ถ้าอาการไม่รุนแรงต้นยางมักแห้งหรือตายเฉพาะกิ่งยอด ส่วนของลำต้นหรือกิ่ง ก้านที่ยังไม่ตายจะแตกแขนงออกมาใหม่


ช่วงเวลาและพื้นที่ที่เชื้อแพร่ระบาด
การแพร่ระบาดของโรคเป็นได้ตลอดปีหากสภาพเหมาะสมต่อการเกิดโรค โรคนี้มักเกิดขึ้นมาก

หลังเกิดสภาวะแห้งแล้ง หรือภายหลังเกิดโรคต่าง ๆ ระบาดอย่างรุนแรง หรือพบในสวนยางที่ปลูกในพื้น ที่ดินทราย หรือบนพื้นที่ตามไหล่เขาที่เป็นโรคมักเกิดกับต้นยางเล็กจนถึงยางที่เปิดกรีดแล้ว


การป้องกันกำจัด
1. หากเกิดจากการระบาดของโรค ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของโรคนั้น ๆ และหมั่นบำรุงรักษาต้นยาง ให้แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอ

2. หากเกิดจากสภาพสิ่งแวดล้อม เช่น กรณีที่สภาพดินเลวและแล้งจัด ให้รดน้ำตามความจำเป็น

แล้วใช้วัสดุคลุมโคนต้นเพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้น

3. การใช้ปุ๋ยและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

4. กรณีที่กิ่งหรือยอดแห้งตายลงมา ให้ตัดกิ่งหรือยอดที่ตายออก โดยให้ตัดต่ำกว่ารอยแผลลงมา

ประมาณ 1-2 นิ้ว แล้วทาสารเคมีป้องกันเชื้อราที่รอยแผล




อาการเปลือกแห้ง
สาเหตุ
เกิดจากการกรีดเอาน้ำยางมากเกินไป ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณเปลือกที่ถูกกรีดมีธาตุอาหารมาหล่อเลี้ยง ไม่เพียงพอ จนทำให้เปลือกยางบริเวณนั้นแห้งตาย


ลักษณะอาการที่เกิด
อาการระยะแรก สังเกตได้จากการที่ความเข้มข้นของน้ำยางจางลงหลังการกรีดเปลือกยางจะแห้ง

เป็นจุด ๆ อยู่ตามรอยกรีด ระยะต่อมาเปลือกที่ยังไม่ได้กรีดจะแตกแยกเป็นรอยและล่อนออก ถ้ากรีดต่อไป เปลือกยางจะแห้งสนิทไม่มีน้ำยางไหลออกมา


การป้องกันรักษา
1. หยุดกรีดยางนั้นประมาณ 6-12 เดือน จึงทำการเปิดกรีดหน้าใหม่ทางด้านตรงข้าม หรือเปิดกรีดหน้าสูง

2. อย่ากรีดยางหักโหม ควรกรีดยางตามคำแนะนำ




โรคใบร่วงและฝักเน่าจากเชื้อไฟทอปโทรา
(Phytophthora Leaf Fall and Pod Rot)
สาเหตุการเกิดโรค
เกิดจากเชื้อรา


ลักษณะอาการของโรคที่เกิด
ใบยางร่วงพร้อมก้านทั้งที่ยังมีสีเขียวสด มีรอยช้ำดำขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน อยู่บริเวณก้านใบ

กลางรอยช้ำมีหยดน้ำยางเกาะติดอยู่ เมื่อนำใบยางที่เป็นโรคมาสะบัดเบา ๆ ใบย่อยจะหลุดจากก้านใบทันที ส่วนใบที่ถูกเชื้อเข้าทำลายที่ยังไม่ร่วงจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมส้ม แล้วแห้งคาต้นก่อนที่จะร่วง ฝักยางที่ถูก ทำลายเปลือกเป็นรอยช้ำฉ่ำน้ำ ต่อมาจะเน่าดำค้างอยู่บนต้นไม่แตกและไม่ร่วงหล่นตามธรรมชาติ กรณีที่เกิด กับต้นยางอ่อนเชื้อราจะเข้าทำลายบริเวณยอดอ่อนก่อน ทำให้ยอดเน่า แล้วจึงลุกลามเข้าทำลายก้านใบและ แผ่นใบ ทำให้ต้นยางยืนต้นตาย


ช่วงเวลาและพื้นที่ที่เชื้อแพร่ระบาด
ส่วนใหญ่การแพร่ระบาดของโรคอยู่ในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม โรคนี้มัก

ระบาดมากในสภาพอากาศเย็น ฝนตกชุกความชื้นสูง หรือพื้นที่ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลลมมรสุม พบในภาคใต้ ฝั่งตะวันตกบางพื้นที่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี พัทลุง สงขลา นราธิวาส จันทบุรี และตราด โรคนี้แพร่กระจายโดยลมฝน และน้ำฝน มักเกิดกับต้นยางเล็กจนถึงยางใหญ่


การป้องกันกำจัด
1. ไม่ควรปลูกพืชอาศัยของเชื้อรา เช่น ทุเรียน ส้ม และพริกไทย แซมในสวนยาง

2. กำจัดวัชพืชและตัดแต่งกิ่งในสวนยาง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก เป็นการลดความชื้นใน

สวนยาง

3. ต้นยางอ่อนอายุน้อยกว่า 2 ปี ฉีดพ่นพุ่มใบยางด้วยยาเอพรอน หรืออาลีเอท ในอัตรา 40 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ก่อนฤดูกาลโรคระบาดทุก 7 วัน

4. ต้นยางใหญ่ การใช้สารเคมีป้องกันไม่คุ้มค่าใช้จ่าย จึงแนะนำให้หยุดกรีดยางระหว่างที่เกิดโรค

ระบาด แล้วใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางให้สมบูรณ์




โรคเส้นดำ
(Black Stripe)
สาเหตุการเกิดโรค
เกิดจากเชื้อรา


ลักษณะอาการของโรคที่เกิด
บริเวณเหนือรอยกรีดในระยะแรกเปลือกจะเป็นรอยช้ำ ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นรอยบุ๋มสีดำหรือสี

น้ำตาล ขยายขึ้นลงเป็นเส้นตามแนวยืนของลำต้นเมื่อเฉือนเปลือกออกดูจะพบรอยบุ๋มสีดำนั้นเป็นลายเส้นดำ บนเนื้อไม้อาการขั้นรุนแรงทำให้เปลือกของหน้ากรีดบริเวณที่เป็นโรคปริ เน่า มีน้ำยางไหลตลอดเวลา จนเปลือกเน่าหลุดไปในที่สุด เปลือกงอกใหม่เสียหายกรีดซ้ำไม่ได้ อายุการให้ผลผลิตลดลงเหลือ 8-16 ปี ถ้าการเข้าทำลายของเชื้อไม่รุนแรง เปลือกจะเป็นปุ่มปม


ช่วงเวลาและพื้นที่ที่เชื้อแพร่ระบาด

โรคนี้แพร่ระบาดมากในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม ระบาดในสวนยางที่เปิดกรีดแล้วใน

สภาพพื้นที่ที่อากาศมีความชื้นสูง ฝนตกชุกโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคใบร่วงและฝักเน่าอย่างรุนแรง พบทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกและตะวันออก ได้แก่ ระนอง ภูเก็ต พังงา กระบี่

สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สตูล ตรัง พัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส และในจังหวัดทางภาคตะวันออก ได้แก่ ระยอง จันทบุรี และตราด เนื่องจากมีลมมรสมพัดผ่านและมีฝนตกชุกในพื้นที่ดังกล่าว


การป้องกันกำจัด

1. ไม่ควรปลูกพืชอาศัยของเชื้อราเป็นพืชร่วมหรือแซมยาง เช่น ทุเรียน มะพร้าว โกโก้ ส้ม

มะละกอ พริกไทย และยาสูบ

2. ใช้ยาอาลีเอท อัตราการใช้5 กรัม ผสมน้ำ1 ลิตร พ่นหรือทาหน้ากรีดยางทุก 2-4 วัน 6-8 ครั้ง หรือใช้ยาเอพรอน อัตราการใช้14 กรัม ผสมน้ำ1 ลิตร พ่นหรือทาหน้ากรีดยางทุก 7 วัน 4-8 ครั้ง




โรคเปลือกเน่า
(Mouldy Rot)

สาเหตุการเกิดโรค

เกิดจากเชื้อรา


ลักษณะอาการของโรคที่เกิด

เกิดเฉพาะบนหน้ากรีดเท่านั้น อาการระยะแรก เปลือกเหนือรอยกรีด มีลักษณะฉ่ำน้ำเป็นรอยช้ำสี

หม่น ต่อมากลายเป็นรอยบุ๋ม ปรากฏเส้นใยของเชื้อราสีขาวเทาขึ้นปกคลุมตรงรอยแผล เมื่ออาการรุนแรงขึ้น เชื้อราจะขยายลุกลามเป็นแถบขนานกับรอยกรีดยางอย่างรวดเร็ว ทำให้เปลือกบริเวณดังกล่าวเน่าหลุดเป็นแอ่งเหลือแต่เนื้อไม้สีดำ และไม่สามารถกรีดซ้ำหน้าเดิมได้อีก เมื่อเฉือนเปลือกบริเวณข้างเคียงรอยแผลออกดู จะไม่พบอาการเน่าลุกลามออกไป ซึ่งต่างจากโรคเส้นดำ จะมีลายเส้นดำขยายขึ้นไปและลุกลามลงใต้รอย กรีด


ช่วงเวลาและพื้นที่ที่เชื้อระบาด

พบระบาดในสวนยางที่เปิดกรีดแล้วในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่

อากาศมีความชุ่มชื้นสูงและฝนตกชุก พบระบาดรุนแรงในบางพื้นที่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี โรคนี้แพร่

ระบาดโดยลมและมีแมลงเป็นพาหะ


การป้องกันกำจัด

1. ไม่ควรปลูกพืชอาศัยเป็นพืชร่วมหรือพืชแซมยาง เช่น กาแฟ โกโก้ มะม่วง มะพร้าว และมันฝรั่ง

2. ตัดแต่งกิ่งยาง กำจัดพืชในสวนให้โล่งเตียนและอย่าปลูกยางให้หนาแน่นเกินไปเพื่อลดความชื้นในสวนยาง

3. เมื่อต้นยางเป็นโรคให้เฉือนหรือขูดเอาบริเวณที่เป็นโรคออกแล้วใช้สารเคมี เช่น เบนเลท ใน

อัตรา 20 กรัม ผสมน้ำ1 ลิตร หรือเอพรอน ในอัตรา 14 กรัม ผสมน้ำ1 ลิตร พ่นหรือทาหน้ากรีดยางทุก 7 วัน 4-8 ครั้ง




โรคราแป้ง หรือโรคใบที่เกิดจากเชื้อออยเดียม
(Powdery mildew or Oidium Leaf Disease)

สาเหตุการเกิดโรค

เกิดจากเชื้อรา


ลักษณะอาการของโรคที่เกิด

ใบอ่อนปลายใบจะบิดงอ มีสีดำ ร่วงหล่นจากต้น ในใบเพสลาดเห็นปุยเส้นใยสีขาวเทาใต้แผ่นใบ

เมื่อเจริญต่อไปเห็นรอยแผลสีเหลืองซีด แล้วเปลี่ยนเป็นรอยไหม้สีน้ำตาล ขนาดและรูปร่างของแผล
ไม่
แน่นอน นอกจากนี้เชื้อยังเข้าทำลายที่ดอกยาง โดยเชื้อราปกคลุมดอกก่อนที่จะดำแล้วร่วง


ช่วงเวลาและพื้นที่ที่เชื้อแพร่ระบาด

อยู่ในช่วงต้นยางผลิใบใหม่ตามธรรมชาติในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน โรคนี้ระบาด

มากในพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมกลางวันร้อน กลางคืนเย็นและชื้น ตอนเช้ามีหมอก พบในพื้นที่ภาค

ตะวันออกเฉียงเหนือ และบางพื้นที่ของจังหวัดนราธิวาส สงขลา และฉะเชิงเทรา โรคนี้แพร่กระจายโดยลมและแมลงจำพวกไรที่ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน


การป้องกันกำจัด

1. ปรับปุ๋ยยางให้มีธาตุไนโตรเจนมากขึ้น และใส่ในช่วงที่ต้นยางผลิใบอ่อน เพื่อเร่งให้ใบยางแตก

ใบใหม่และแก่เร็ว ให้พ้นระยะที่อ่อนแอต่อการทำลายของเชื้อ

2. พ่นด้วยผงกำมะถันอัตราไร่ละ 1.5-5 กิโลกรัม ทุก 5-7 วัน พ่นประมาณ 5-6 ครั้ง เพื่อป้องกันการระบาดของโรค




โรคใบไหม้ลาตินอเมริกัน
(South American Leaf Blight)

สาเหตุการเกิดโรค

เกิดจากเชื้อรา


ลักษณะอาการของโรคที่เกิด

เชื้อราเข้าทำลายใบยางหรือเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ในขณะที่ยังอ่อน เช่น ดอกยาง ฝัก กิ่งอ่อน ถ้าใบอ่อน อายุไม่เกิน 1 สัปดาห์ รอยแผลเป็นสีเทาดำ เห็นปุยสีเขียวมะกอกด้านใต้ใบ ใบยางม้วนและบิดย่นแล้วร่วง ในใบเพสลาดแผลจะลุกลามขึ้นด้านบนใบ ใบยางจะหดย่นเปลี่ยนเป็นสีม่วงและใบย่อยร่วงในใบแก่พบกลุ่มสปอร์สีดำบริเวณขอบแผลด้านบนใบ ต่อมาเนื้อเยื่อตรงแผลจะหลุดเกิดเป็นช่องโหว่ตามรอยแผล


การแพร่ระบาดของเชื้อ

เชื้อราติดไปกับส่วนขยายพันธุ์ยางพาราที่เป็นโรค หรือสปอร์ปนเปื้อนมาจากพืชชนิดอื่นที่นำมา

จากแหล่งที่มีโรค หรือสปอร์ปนเปื้อนมากับเสื้อผ้า สัมภาระ เครื่องมือการเกษตร ของผู้ที่เข้าไปในสวนยางที่เป็นโรค โรคนี้พบในพื้นที่ปลูกยางเฉพาะกลุ่มประเทศแถบอเมริกากลาง อเมริกาใต้ และหมู่เกาะคาริบเบียน เขตระหว่างเส้นรุ้งที่ 24 องศาใต้ในประเทศบราซิล ถึง 18 องศาเหนือในประเทศเม็กซิโก โรคนี้ยังไม่พบเกิดขึ้นในประเทศไทย


การป้องกันกำจัด

1. คัดเลือกพันธุ์ยางที่มีความต้านทานโรคสูงมาปลูก

2. เมื่อยางผลัดใบ ต้องทำลายใบยางที่ร่วงลงพื้นอยู่เสมอ

3. ถ้าพบโรคที่น่าสงสัยให้นำตัวอย่างไปติดต่อกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ใกล้ที่สุด เช่น สถานีทดลองยาง ศูนย์วิจัยยาง กองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร และกองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร




โรครากขาว
( White Root Disease )

สาเหตุการเกิดโรค

เกิดจากเชื้อรา


ลักษณะอาการของโรคที่เกิด

พุ่มใบแสดงอาการใบเหลืองผิดปกติ 1-2 กิ่ง หรือทั้งต้น ถ้าเป็นยางเล็กใบจะเหี่ยวเฉา ขอบใบม้วน

งอลงด้านล่างแล้วร่วง ก่อนที่จะยืนต้นตาย บริเวณรากที่ถูกเชื้อเข้าทำลาย มีร่างแหเส้นใยสีขาวแผ่คลุมเกาะติดผิวราก เมื่อเส้นใยอายุมากขึ้นจะกลายเป็นเส้นกลมนูนสีเหลืองซีด เนื้อไม้ของรากที่เป็นโรคใหม่ ๆ จะแข็งกระด้างเป็นสีน้ำตาลซีด ในระยะรุนแรงจะเป็นสีขาวหรือสีครีม ถ้าอยู่ในที่ชื้นแฉะจะอ่อนนิ่ม บริเวณโคนต้นหรือรากที่โผล่พ้นดิน จะปรากฏดอกเห็ดขนาดไม่แน่นอน มีลักษณะเป็นแผ่นแข็งครึ่งวงกลมแผ่นเดียว หรือซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ผิวด้านบนเป็นสีเหลืองส้ม โดยมีสีเข้มและอ่อนเรียงสลับกันเป็นวง ผิวด้านล่างเป็นสีส้มแดงหรือสีน้ำตาลขอบดอกเห็ดมีสีขาว


ช่วงเวลาและพื้นที่ที่เชื้อแพร่ระบาด

อยู่ในช่วงฤดูฝนโดยเฉพาะเดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม ระบาดรวดเร็ว เนื่องจากฝนตกชุก

ความชื้นสูง พบในพื้นที่ปลูกยางบนพื้นที่ของจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา พัทลุง ตรัง กระบี่ พังงา และ สุราษฎร์ธานี การแพร่ระบาดของโรคเกิดได้ 2 ทาง คือ โดยการสัมผัสของรากที่เป็นโรคกับรากของต้นที่สมบูรณ์ และสปอร์จากดอกเห็ดปลิวตามลมไปตกลงบนรอยหักหรือหน้าตัดของตอยาง เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมสปอร์จะงอกเจริญไปยังโคนต้นและราก


การป้องกันกำจัด

1. ปลูกยางในพื้นที่ปลอดโรค และควรเตรียมพื้นที่ปลูกให้ปลอดโรค โดยการขุดทำลายตอยางเก่า

ที่อาจจะเป็นแหล่งก่อให้เกิดโรค

2. ในพื้นที่ที่มีการระบาดไม่ควรปลูกพืชอาศัยของโรค เช่น ส้ม โกโก้ กาแฟ มะพร้าว ไผ่ พริกขี้หนู มะเขือเปราะ มันเทศ มันสำปะหลัง น้อยหน่า ลองกอง สะตอ จำปาดะ สะเดาเทียม ทัง ทุเรียน และเนียงนก

3. ใช้กำมะถันในอัตราต้นละ 240 กรัม ใส่ในหลุมปลูกก่อนปลูกยางจะช่วยปรับสภาพดิน ทำให้ไม่เหมาะกับการเจริญของเชื้อ

4. เมื่อพบต้นที่เป็นโรคให้เฉือนส่วนที่เป็นโรคทิ้ง แล้วทาสารเคมี เช่น ทิลท์250 อีซี อัตรา 7.5 % หลังจากนั้นขุดดินรอบโคนต้นเป็นร่องกว้าง และลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร ราดสารเคมี เช่น ทิลท์ 250 อีซี.ในอัตราต้นละ 30 ซีซี.ผสมน้ำ3 ลิตร หรือเบเร่ต์400 ในอัตราต้นละ 10-15 กรัม ผสมน้ำ3 ลิตร ลงในร่องรอบ ๆ โคนต้น โดยไม่ต้องกลบดินทุก 6 เดือน

5. เก็บต้นหรือรากไม้ที่เป็นโรคเผาทำลายทิ้งให้หมด โดยเฉพาะเศษรากไม้ที่มีเส้นใยสีขาวของเชื้อราติดอยู่ เพื่อลดแหล่งเชื้อ




ปลวก
(termites)

ลักษณะและการทำลาย

ปลวกมี2 ชนิด คือ ชนิดที่กินเนื้อไม้ที่ตายแล้ว ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อต้นยาง และชนิดกินเนื้อไม้สด

ซึ่งจะกัดกินรากและภายในลำต้นจนเป็นโพรง ทำให้พุ่มใบยางมีสีเหลืองผิดปกติ ต้นยางเสียหายถึงตายได้


การป้องกันกำจัด

ใช้สารเคมีคลอเดนในอัตรา 125-175 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ราดรอบต้นยางที่ถูกปลวกทำลายและต้นยางข้างเคียงต้นละ 1-2 ลิตร




หนอนทราย

ลักษณะการทำลาย

หนอนทรายเป็นตัวอ่อนของด้วงชนิดหนึ่ง รูปร่างเหมือนตัวซี (C) ขนาดลำตัวยาวประมาณ 3-5

เซนติเมตร สีขาว หนอนทรายกัดกินรากยางจนรากไม่สามารถดูดหาอาหารเลี้ยงลำต้นได้ ทำให้พุ่มใบยางมีสีเหลืองผิดปกติ ต้นยางตายเป็นหย่อม ๆ พบมากในแปลงต้นกล้ายางที่ปลูกในดินทราย


การป้องกันกำจัด

ใช้วิธีเขตกรรมและวิธีกล โดยปลูกพืชล่อแมลง เช่น ตะไคร้ มันเทศ และข้าวโพด รอบต้นกล้ายางที่

ปลูกใหม่ แมลงจะออกมาทำลายพืชล่อหลังจากนั้นให้ขุดพืชล่อจับแมลงมาทำลาย หรือใช้สารเคมี เอ็นโดซัลแฟน + บีพีเอ็มซี(4.5% จี) ในอัตราไร่ละ 5 กิโลกรัม โรยรอบ ๆ ข้างต้นยางแล้วกลบดิน หรือใช้คลอเดนในอัตรา 40-80 ซีซี. ผสมน้ำ20 ลิตร ราดรอบต้นยางที่ถูกหนอนทรายกัดกิน และต้นยางข้างเคียงต้นละ 1-2 ลิตร

       


วิธีแก้ไขและป้องกันโรคต้นยางพารา แบบหมดความกงวล ซึ่ง ดร.คาร์โดโซ (Dr.Cardoso)

ซึ่งเป็นนักวิชาการของกระทรวงเกษตรแห่งชาติบราซิล ได้วิจัยค้นคว้าหาวิธีอยู่ 15 ปี จึงได้รู้วิธี

ฆ่าเชื้อราและไล่ปลวกได้พร้อมกัน ซึ่งก็คือ ยางต้นไม้อะราบีกา จากประเทศแอฟริกาใต้ รวมกับเปลือกไม้และผลไม้ที่มีธาตุ NPK จึงได้ปุ๋ยชีวภาพ NHP นาโน หากใครได้ลองใช้รับรองติดใจ




คำค้นหา : ปุ๋ย NHP นาโน,ยางพารา,วิธีใส่ปุ๋ยยาง,การปลูกยาง,พันธ์ยาง,การเพิ่มน้ำยาง,อัดแก๊ส,ริมโฟลว์,โรครากขาว,โรคใบร่วง,ยางไม่ออก,ยางหน้าตาย,ปลวก,ราคาปุ๋ยเคมี,หัววัวคันไถ,ม้าเงา,ยาทาหน้ายาง,จอกยาง,เกษตร,ปุ๋ยชีวภาพ


http://yangpara.igetweb.com/index.php?mo=3&art=565777









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (2082 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©