-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 422 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ยางพารา11





การจัดการสวนยางพารา ช่วงหน้าฝน และหลังน้ำท่วม


ในช่วงฤดูฝนของทุกปี อุทกภัยที่เกิดขึ้นจากฝนตกหนักติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะทางภาคใต้นั้น มักจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนอยู่เสมอ และก่อให้เกิดปัญหาแก่เจ้าของสวนยางสวนยางพาราของพี่น้องชาวสวนยางก็เช่นกัน ในแต่ละปีก็มักจะได้รับผลกระทบที่เกิดจากภาวะน้ำท่วมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และขณะนี้ก็เป็นช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกหนักติดต่อกันบ่อยครั้ง ซึ่งอาจจะเป็นเหตุให้เกิดภาวะน้ำท่วมขึ้นมาได้ นอกจากจะไม่สามารถกรีดยางได้แล้ว การระบาดของโรคยางก็เป็นปัญหาสำคัญโรคที่มักจะเกิดกับต้นยางในช่วงฤดูฝน ถึงแม้จะไม่รุนแรงจนทำให้ต้นยางตายแต่มีผลทำให้ต้นยางแคระแกร็น ผลผลิตลดลงได้และในขณะเดียวกันการเกิดสภาวะน้ำท่วมก็อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ต้นยางได้เช่นกัน

yangpapra.com จะได้นำความรู้เกี่ยวกับการจัดการสวนยางหลังจากประสบกับภาวะน้ำท่วมมาฝากชาวสวนยาง
ในกรณีที่เกิดภาวะน้ำท่วม เมื่อหลังน้ำท่วมผ่านไปชาวสวนยางควรทำประการแรก คือ ให้เกษตรกรทำการสำรวจสภาพทั่วไปของสวนยางของท่าน ถ้าหากยังมีน้ำท่วมขัง ให้ทำการระบายน้ำออกไปจากสวนยาง ในกรณีที่ไม่สามารถระบายน้ำออกไปจากสวนยางได้ เนื่องจากบริเวณรอบสวนยางมีสภาพพื้นที่สูงกว่า ขอให้เกษตรกรขุดร่องน้ำกึ่งกลางระหว่างแถวยาง เพื่อให้น้ำระบายไปอยู่ในร่องน้ำที่ขุดไว้ ไม่ควรใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ในการขุดร่องน้ำ เพราะจะทำให้โครงสร้างดินเสียหาย และอาจทำให้กระทบกระเทือนต่อระบบรากเป็นอันตรายต่อต้นยางได้ ควรใช้แรงงานหรือเครื่องจักรขนาดเล็กได้ตามความเหมาะสมของสวนยางแต่ละแห่ง

ถ้าหากเกิดความเสียหายขึ้นกับต้นยางอายุน้อยกว่า 1 ปี ในกรณีที่ต้นยางได้รับความเสียหายมากหรือตายไปให้รอปลูกซ่อมด้วยยางชำถุงในปีถัดไป โดยปลูกซ่อมให้เร็วที่สุดเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม สำหรับต้นที่กิ่งกระโดงได้รับความเสียหาย ให้ตัดกิ่งกระโดงส่วนที่ได้รับความเสียหายทิ้งไป เพื่อป้องกันการตายจากยอดลงมา แล้วทาด้วยสารเคมีป้องกันเชื้อราเข้าทำลายที่อาจก่อให้เกิดอาการเน่าของบาดแผล โดยใช้สารเคมีเบนเลทผสมน้ำให้มีความเข้มข้น 5 % ทาให้ทั่วบาดแผลที่ตัดแต่งไว้

จากนั้นรอการแตกแขนงใหม่ตามวิธีบำรุงรักษาต้นยางปกติต่อไป โดยให้เหลือกิ่งกระโดงกิ่งเดียวเพื่อเจริญเป็นลำต้นที่สมบูรณ์ตามปกติ ในกรณีที่ต้นยางอยู่ในสภาพตั้งตรงแล้วควรระมัดระวังอย่าให้เป็นอันตรายต่อรากต้นยางด้วย

กรณี ต้นยางที่อายุุ 1-2 ปี ซึ่งเป็นต้นยางที่ยังไม่มีทรงพุ่มใบ หรือมีการแตกกิ่งบ้างเพียงเล็กน้อย ให้รีบช่วยเหลือต้นยางที่ล้มเอนเอียงให้ตั้งตรงในขณะดินเปียกชื้น แล้วใช้ไม้ค้ำยันให้มั่นคงอันดินที่โคนต้นให้แน่น ระวังอย่าให้เป็นอันตรายกับรากยาง ในกรณีที่ยอดหักเสียหายให้ตัดทิ้ง แล้วทาด้วยเบนเลทผสมน้ำเข้มข้น 5 % เช่นกัน คอยตัดแต่งกิ่งที่แตกออกมาให้เหลือเพียงกิ่งเดียว เพื่อเป็นลำต้นหรือยอดต่อไป

และในกรณีที่เปลือกลำต้นได้รับความเสียหาย อาจจะต้องขูดส่วนที่เสียหายทิ้งไปบ้าง แล้วควรทาปูนขาวผสมน้ำเข้มข้น 10-20 % เพื่อป้องกันการคายน้ำและแดดเผาไหม้ ซึ่งอาจจะทำให้ต้นยางแห้งตายได้ในเวลาต่อมา ต้นยางเหล่านี้จะแตกแขนงออกมาภายใน 3-4 สัปดาห์ ต้องตัดแต่งออกให้หมดให้เหลือส่วนที่อยู่เหนือพื้นดิน 2.0-2.5 เมตรขึ้นไป เพื่อให้เจริญเติบโตเป็นทรงพุ่มและพัฒนาเป็นลำต้นที่สมบูรณ์ตามปกติต่อไป

กรณีต้นยางที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมมีอายุ 2-3 ปีแล้ว สภาพปกติต้นยางอายุ 2-3 ปี จะเริ่มสร้างทรงพุ่มที่มีขนาดเล็กถึงปานกลาง ต้นยางที่ล้มเอนจะมีส่วนที่กิ่งก้านฉีดขาดไปบ้างบางส่วน ถ้าลำต้นยังอยู่ในสภาพปกติและรากแก้วสมบูรณ์ ให้รีบตัดกิ่งก้านพุ่มใบทิ้งให้สูงจากพื้นดิน 2.5 เมตร แล้วใช้เชือกดึงลำต้นขึ้นตั้งตรงพร้อมกับใช้ไม้ค้ำยันให้มั่นคงจากนั้นกลบดินโคนต้นอัดให้แน่นแล้วทาปูนขาวที่ผสมน้ำเข้มข้น 10-20 % ส่วนลำต้น เพื่อป้องกันแดดเผาไหม้เสียหาย ขั้นต่อไปคอยตัดแต่งกิ่งแขนงตลอดลำต้นทิ้งออกไปให้หมด โดยพยายามตัดให้ชิดลำต้นมากที่สุด เหลือไว้เฉพาะส่วนยอดลำต้นที่ระดับ 2.0-2.5 เมตร เพื่อพัฒนาเป็นทรงพุ่มปกติต่อไป

กรณีต้นยางใหญ่ที่กรีดได้แล้ว มักจะได้รับผลกระทบน้อยกว่าต้นยางเล็ก ต้นยางเปิดกรีดที่ยังอยู่ในสภาพปกติ ขอให้งดการกรีดยางไปก่อนจนกว่าสภาพดินจะแห้งปกติ เพราะในสภาพน้ำท่วมขังรากยางบางส่วนจะได้รับความกระทบกระเทือนเสียหาย จะไม่สามารถใช้ธาตุอาหารได้ การกรีดยางอาจจะเกิดความเสียหายให้กับหน้ากรีดได้ นอกจากนั้นควรทาหน้ากรีดด้วยสารเคมีเพื่อป้องกันโรคเส้นดำ เช่นสารเคมีเมทาแลคซิล เป็นต้น

การจัดการน้ำท่วมขังสวนยาง
นอกจากปัญหาเรื่องโรคยางแล้ว เจ้าของสวนยังต้องเฝ้าระวัง ผลกระทบต่อสวนยาง จากภาวะน้ำท่วม ก็อาจจะเป็นปัญหาที่ตามมาอีก ถ้าหากเกิดน้ำท่วมขังในบริเวณสวนยาง มีแนวทางการจัดการดังนี้

ควรทำำการระบายน้ำออก ถ้าไม่สามารถทำได้เนื่องจากบริเวณรอบสวนมีสภาพพื้นที่สูงกว่า ขอให้ทำการขุดร่องน้ำกึ่งกลางระหว่างแถว เพื่อให้น้ำระบายไปอยู่ในคูที่ขุดไว้ต้นยางที่อายุน้อยกว่า 1 ปี ที่เสียหายมากหรือตายไป ให้ปลูกซ่อมด้วยต้นยาง ชำถุงให้เร็วที่สุด เมื่อมีสภาพแวดล้อมเหมาะสม สำหรับต้นยางเล็กอายุ 1-2 ปี ถ้าหากเอนล้มให้ทำการยกตั้งให้ตรง ใช้ไม้ค้ำยันให้มั่นคง อัดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น ในกรณีที่ยอดหักหรือเกิดความเสียหาย ให้ตัดทิ้งแล้วทาด้วยสารเบนเลท เข้มข้น 5% หมั่นคอยตัดแต่งกิ่งให้เจริญเติบโตไปตามปกติต่อไป.





ที่มา  : WWW.YANGPARA.CO,










สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1553 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©