-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 427 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

มังคุด




หน้า: 3/5




1. สภาพการผลิตมังคุดของสมาชิกกลุ่ม
ปรับปรุงคุณภาพมังคุดในภาคตะวันออก


ชื่อผู้แต่ง: นางสาววรนุช สีแดง , 
ปีที่รายงาน 2548
แหล่งค้นเรื่องเต็ม ห้องสมุดกรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ
      
จุดมุ่งหมายของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกร สภาพการผลิตมังคุดโดยทั่วไปของเกษตรกร รวมทั้งปัจจัยการผลิตมังคุดตลอดจนความต้องการสำหรับประชากรที่ทำการศึกษา คือ สมาชิกกลุ่มปรับปรุงคุณภาพมังคุด จำนวน 103 คน จาก 12 อำเภอ 3 จังหวัด ได้แก่จังหวัดระยอง จันทบุรีและตราด ได้ทำการรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยปรากฏว่า
สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 45.27 ปี และส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.34 คน จำนวนแรงงานเกษตรที่ช่วยทำสวนมังคุด เฉลี่ย 2.73 คน สมาชิกมีอาชีพทำสวนผลไม้เป็นอาชีพหลัก ส่วนอาชีพรองส่วนมากสมาชิกมีอาชีพเลี้ยงสัตว์


พื้นที่ปลูกมังคุดโดยเฉลี่ย 15.32 ไร่ และเป็นพื้นที่ของตนเองทั้งหมด มังคุดให้ผลผลิตมาแล้วเฉลี่ย 11.38 ปี สมาชิกร้อยละ 58.83 เป็นลูกค้าของสหกรณ์การเกษตร
สภาพการผลิตมังคุดโดยทั่วไปของสมาชิกกลุ่มปรับปรุงคุณภาพมังคุด พบว่าร้อยละ 73.79 ของสมาชิกมีน้ำใช้ในการผลิตมังคุดเพียงตลอดปี ร้อยละ 77.67 ใช้ระบบสปริงเกอร์/หัวเหวี่ยง ลักษณะของดินในสวนมังคุดร้อยละ 38.84 เป็นดินร่วน สภาพของดินที่เป็นปัญหา คือ ดินขาดธาตุอาหารร้อยละ 40.78 และดินเป็นดินเปรี้ยวหรือดินกรดร้อยละ 28.16 สมาชิกได้รับความรู้และมีการวิเคราะห์ดินโดยเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร สมาชิกร้อยละ 87.38 มีการตัดแต่งกิ่งมังคุดและร้อยละ 73.79 มีการชักนำการออกดอกของมังคุดโดยการควบคุมการให้น้ำ ร้อยละ 98.06 ใช้ปุ๋ยเคมีในสวนมังคุดโดยวิธีหว่านรอบทรงพุ่มแล้วรดน้ำตาม สูตรปุ๋ยเคมีที่นิยมใช้ของสมาชิก ร้อยละ 90.10 ใช้สูตร 16-16-16 และร้อยละ 77.23 ใช้สูตร 8-24-24 โรคที่พบการระบาดในสวนมังคุด คือ ร้อยละ 28.57เป็นโรคใบร่วงและโรคใบจุด แต่ยังไม่เป็นปัญหาในระดับความเสียหายทางเศรษฐกิจ แมลงที่พบมีการระบาดร้อยละ 100.00 คือ เพลี้ยไฟ การจำหน่ายผลผลิตของสมาชิกร้อยละ 85.44 จะไม่มีการจำหน่ายผลผลิตล่วงหน้าและร้อยละ 68.93 ไม่มีตลาดคู่ค้าประจำ ปัญหาของสมาชิกที่เป็นปัญหาในระดับมาก คือ ปัญหาเรื่องปัจจัยการผลิตมีราคาแพง ราคาผลผลิตตกต่ำ ตลาดส่งออกมีน้อย ตลาดรับซื้อไม่นอน และปัญหาการระบาดของโรคและแมลง
 

ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะจากปัญหาของสมาชิกที่พบ คือ ควรมีการจัดอบรมให้กับสมาชิกกลุ่มปรับปรุงคุณภาพมังคุด โดยเน้นถึงประเด็นในเรื่องขั้นตอนการผลิตมังคุดให้มีคุณภาพ และปลอดภัยทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค การตรวจวิเคราะห์ดินโดยนำกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรไม้ผลมาใช้ในการถ่ายทอดความรู้ ซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร 


ที่มา  :  กรมส่งเสริมการเกษตร 



2. ยืดอายุมังคุดหลังเก็บเกี่ยวด้วย “ไคโตซาน” สดนานกว่าเดิม 3 เท่า

“มังคุด” สินค้าเกษตร ได้รับสมญานามว่าเป็น “ราชินีแห่งผลไม้ (Queen of the Fruit) ในปัจจุบันยังคงมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ โดยมีมูลค่าการตลาดภายในประเทศโดยรวมปีละหลายพันล้านบาท เนื่องจากมังคุดมีรสชาติพอเหมาะและกลิ่นหอมน่ารับประทาน และยังสามารถสร้างรายได้ในการส่งออกต่างประเทศได้อย่างดีหลายประเทศ

         
แต่ปัญหาการส่งออกมังคุดที่สำคัญในการเน่าเสียและมีอายุการวางขายในตลาดสั้นโดยเฉลี่ย เพียง 5-6 วัน นั้นเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้คุณภาพของมังคุดต่ำลง ส่งผลถึงราคา เนื่องจากต้องใช้เวลายาวนานในการขนส่ง ครั้นส่งไปทางเครื่องบินก็ทำให้ค่าระวางเป็นตัวเพิ่มต้นทุนที่นับว่าอยู่ในระดับสูง แต่เพื่อให้ต้นทุนต่ำลงจึงจำเป็นต้องมีการขนส่งทางเรือง ซึ่งต้องใช้เวลานาน ส่งผลกระทบถึงความสดของมังคุด 

         
ตอนนี้ทางกรมประมงได้มีการค้นพบวิธีการยืดอายุความสดของมังคุดจากสารสกัดที่ได้จาดสัตว์น้ำ โดย นายประสิทธิ บุณยรัตผลิน อธิบดีกรมประมง ได้กล่าวว่า กรมประมงได้ประสบความสำเร็จในการผลิตไคซานจากเปลือกหรือกระดองของสัตว์น้ำ เช่น เปือกกุ้ง กระดองปู กระดองหมึก ซึ่งเป็นวัสดุเศษเหลือทิ้งหรือจำหน่ายในราคาถูก นำมาสกัดเป็นไคโตซานที่กรมประมงค้นพบ สามารถยืดอายุผลไม้หลังการเก็บเกี่ยวเพื่อเพิ่มมูลค้าของผลไม้ โดยเฉพาะมังคุด เพราะไคโตซานที่กรมประมงค้นพบ สามารถยืดอายุความสดของมังคุดจาก 10 วัน เป็น 30 วัน และมังคุดเป็นผลไม้ไทยที่ตลาดต่างประเทศต้องการ การยืดอายุความสดของผลไม้ด้วยไคโตซานไม่มีอันตรายเพระผลิตจากธรรมชาติ 

         
ส่วนผู้วิจัยจนประสบความสำเร็จในการผลิตไคโตซานดังกล่าวคือ ดร. อัธยา กังสุวรรณ หัวหน้ากลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและคณะ กองพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง ดร. อัธยา กังสุวรรณ กล่าวว่า ไคโตซานเป็นอนุพันธ์ของไคตินที่เป็นองค์ประกอบหลักของเปลือกสัตว์น้ำพวกข้อปล้อง เช่น กุ้ง ปู และกระดองหมึก มีคุณสมบัติทางเคมีเป็นสารประกบน้ำตลโมเลกุลยาว ละลายในกรดอินทรีย์ เช่น กรดน้ำส้ม กรดเล็กติก เป็นต้น ปัจจุบันมีการนำมาใช้ประโยชน์ทั้งการเกษตร การแพทย์ และเครื่องสำอาง โดยก่อนหน้าที่ทางกรมประมงได้มีการทดลองยืดอายุการเก็บรักษาสัตว์น้ำมาแล้ว เช่น ปลาสลิด ที่สามารถเก็บรักษาที่ทอดเป็นเวลานานถึง 2 เดือน โดยไม่เกิดเชื้อรา

         
“ไคโตซาน เป็นสารละลายที่สามารถจับตัวเป็นไฟเบอร์หรือเป็นเยื่อบาง ๆ มีประจุบวกที่สามารถเคลือบติดกับผิวของเปลือกได้ มีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้หลายชนิด และสามารถป้องกันการระเหยของน้ำทำให้มังคุดชุ่มชื้น และยังสามารถป้องกันการทำปฏิกิริยาโดยตรงกับออกซิเจนในอากาศกับเปลือกมังคุด ซึ่งสามารถรักษาสีของมังคุดไม่ให้ซีดจางไป และเป็นสารธรรมชาติซึ่งไม่มีผลข้างเคียงกับทั้งสิ่งแวดล้อมและผู้ใช้ถึงแม้มีการเคลือบสารตัวนี้ไปแล้ว สามารถล้างออกได้ด้วยน้ำเปล่าหรือไม่ล้างก็ไม่มีผลกระทบต่อร่างกาย แต่ไคโตซานในแต่ละชนิดทั้งกุ้ง ปู และปลาหมึก จะเหมาะกับวัตถุประสงค์ต่างกัน เช่น ต้องการนำสารละลายนำไปเคลือบหรือฉีดพ่น นำไปลดหรือนำไปดักจับโลหะหนักในการผลิตน้ำผลไม้ หรือไวน์ให้บริสุทธิ์ เราจึงต้องเร่งศึกษาเรื่องนี้” ดร. อัธยา กล่าวเสริม 

         
จากการศึกษาพบว่า ไคโตซานไม่ว่าจะแช่เย็นหรืออยู่ในอุณหภูมิห้องก็มีคุณสมบัติเหมือนกัน เพียงแต่ว่าสภาพการเก็บรักษาจะมีผลทางอ้อมกับตัวมังคุดเอง ซึ่งไคโตซานอาจคล้ายกับตัวช่วยในการเก็บรักษาให้ยาวขึ้นโดยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาบางอย่างที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เมื่อนำไคโตซานไปเคลือบแล้ว สามารถป้องกันได้ทั้งเชื้อราหรือพวกปฏิกิริยาที่เรียกกันว่า การเติมออกซิเจนจากอากาศที่เรียกสารเคมีตัวนี้ว่า ออกซิเดชั่น เป็นสารที่ทำให้สีของมังคุดซีดจาง แต่ไคโตซานจะสามารถป้องกันได้ระดับหนึ่ง และเมื่อเคลือบเสร็จแล้วถ้านำไปแช่เย็นก็ยิ่งจะเคลือบไว้ได้นานขึ้น หากนำไว้ในที่อุณหภูมิห้องก็ยังสามารถยืดอายุได้แต่อาจน้อยกว่าการแช่เย็น ซึ่งเป็นเรื่องของสภาพการเก็บรักษา และยังสามารถป้องกันการระเหยของน้ำได้ระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นอีกจุดหนึ่งที่สามารถเก็บรักษามังคุดได้ในระยะเวลาที่นานกว่าปกติ



ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน                 






3. ธาตุสังกะสีต่อมังคุด

ธาตุสังกะสี เป็นหนึ่งในธาตุอาหารจำเป็นของพืช แต่วันนี้ "มังคุด" ที่ได้ชื่อว่าเป็นราชินีผลไม้ของไทย กำลังประสบกับภาวะขาดแคลนธาตุสังกะสีอย่างรุนแรง จนส่งผลกระทบต่อผลผลิตมังคุดส่งออก
       
เมื่อปี 2540 รศ.ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม นักวิจัยสาขาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโน
โลยีการเกษตรเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สถาบัน จล.) เริ่มสังเกตพบว่า สวนผลไม้ในภาคตะวันออกของไทยส่วนใหญ่ ขาดธาตุสังกะสี โดยเฉพาะมังคุดและทุเรียน ที่แสดงอาการขาดธาตุสังกะสีให้เห็นมากกว่าผลไม้ชนิดอื่นๆ จึงเริ่มศึกษาวิจัยเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
       
"สังกะสีเป็น 1 ใน 16 ธาตุอาหารจำเป็นของพืชที่ต้องได้รับ หากขาดไปจะทำให้พืชจะเจริญเติบโตได้ไม่ครบวงจรชีวิต เช่น อาจไม่มีดอก ไม่ออกผล หรือหากได้รับธาตุสังกะสีไม่เพียงพอ พืชจะแสดงอาการผิดปกติออกมา ได้แก่ ใบเล็กและแข็ง ข้อใบสั้น ทำให้ใบรวมกันเป็นกระจุก ส่งผลให้พืชทำการสังเคราะห์ด้วยแสงได้ไม่เต็มที่ ทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก อ่อนแอ และเป็นโรคง่าย ซึ่งพบในพืชผลหลายชนิดในภาคตะวันออก โดยเฉพาะมังคุดและทุเรียนที่พบมากกว่าผลไม้อื่น" รศ.ดร.สุมิตรา อธิบายแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ และสื่อมวลชนระหว่างเข้าเยี่ยมชมสวนมังคุดส่งออกของเกษตรกรใน จ.จันทบุรี ที่จัดโดยบริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด เมื่อวันที่ 27 พ.ค. ที่ผ่านมา
       
นักวิจัย สจล. กล่าวต่อว่า จากการศึกษาวิจัยพบว่า [b]ขาดธาตุการสังกะสีของพืชในภาคตะวันออกเกิดส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสมากเกินไปเป็นเวลายาวนาน[/b]จากความไม่รู้ของเกษตรกร เนื่องจากเชื่อว่าการใส่ปุ๋ยเอ็น-พี-เค (N-P-K) ตามปกตินันเพียงพออยู่แล้ว และเมื่อใช้ปุ๋ยสูตรดังกล่าวมากเกินไปจะทำให้มีฟอสฟอรัส (P) ในดินสูง ซึ่งฟอสฟอรัสในดินจำนวนมากนั้นจะไปขัดขวางการดูดซับธาตุสังกะสีในดินของพืช ส่งผลให้พืชที่เจริญเติบโตบริเวณนั้นขาดธาตุสังกะสีได้
       
การแก้ปัญหาพืชขาดธาตุสังกะสีสามารถทำได้โดยการให้ปุ๋ยสังกะสีเพิ่มในดิน แต่เนื่องจากสวนผลไม้ในภาคตะวันออกมีฟอสฟอรัสในดินสูงมาก การให้ปุ๋ยสังกะสีในดินจึงไม่มีผลใดๆ และอาจต้องใช้เวลายาวนานหลายสิบปีจึงจะทำให้ฟอสฟอรัสในดินลดลงจนหลือปริมาณที่เหมาะสมโดยที่ไม่ต้องใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสเพิ่มเข้าไปอีก 
       
ฉะนั้นต้องให้ปุ๋ยสังกะสีโดยวิธีฉีดพ่นทางใบแทนโดยให้ฉีดพ่นปุ๋ยสังกะสีทุกครั้งเมื่อมังคุดเริ่มแตกใบอ่อนจะสามารถช่วยให้ใบใหม่ไม่ขาดธาตุสังกะสี  พืชแข็งแรง ออกดอกสม่ำเสมอ ผลใหญ่ เปลือกมีผิวสวย เรียบเนียน และไม่มีคราบน้ำยางเกาะติดที่ผิวเปลือก
       
รศ.ดร.สุมิตรา เผยอีกว่ายังมีปัญหาสำคัญที่ยังพบมากในผลผลิตมังคุดคือ มังคุดเป็นเนื้อแก้ว และยางไหล ซึ่งเกิดจากมังคุดได้รับน้ำฝนมากเกินไปจนทำให้เซลล์ของเนื้อมังคุดแตกและกลายเป็นเนื้อแก้ว ส่วนปัญหายางไหลเกิดจากท่อน้ำยางแตกเมื่อมีแรงดันมากเกินไป ซึ่งวิธีแก้ปัญหาคือเกษตรกรต้องเก็บเกี่ยวมังคุดให้ได้ก่อนเริ่มเข้าฤดูฝน แต่เมื่อไม่สามารถทำดังนั้นได้ จึงจำเป็นต้องทำให้มังคุดมีความแข็งแรงพอที่จะทนทานต่อสภาวะดังกล่าวได้
       
"ธาตุสังกะสีช่วยให้พืชมีความสมบูรณ์แข็งแรงได้ในระดับภาพรวม แต่จากการศึกษาพบว่าธาตุแคลเซียมสามารถช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับเซลล์เนื้อมังคุดและท่อน้ำยางได้ โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการวิจัยการเพิ่มแคลเซียมให้มังคุดในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อลดปัญหาเนื้อแก้วและยางไหล ซึ่งจะทำให้มังคุดมีคุณภาพดียิ่งขึ้น" รศ.ดร.สุมิตรา เผย ซึ่งนักวิจัยได้รับทุนวิจัยต่อเนื่องจาก คณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล. และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยในการศึกษาความต้องการธาตุอาหารของพืชในสวนมังคุด ทุเรียน และสละ ตั้งแต่ปี 2541 ถึงปัจจุบัน
       
ด้านนางสงวน บุญญฤทธิ์ เกษตรกรเจ้าของสวนมังคุดรายหนึ่งใน จ.จันทบุรี ที่ครอบครัวทำสวนมังคุดมายาวนานร่วม 50 ปี บนพื้นที่ราว 150 ไร่ และเป็นเกษตรกรรายแรกๆ ที่เริ่มหันมาสนใจการเพิ่มธาตุสังกะสีให้มังคุด เปิดเผยว่า ก่อนหน้าที่ รศ.ดร.สุมิตราจะเข้ามาทำวิจัย ผลผลิตมังคุดเริ่มไม่ค่อยดี
       
แต่หลังจากทดลองฉีดพ่นปุ๋ยสังกะสีให้มังคุดตามคำแนะนำของนักวิจัยก็พบว่าผลผลิตมังคุดเริ่มมีคุณภาพดีขึ้น ผลใหญ่ขนาดตั้งแต่ 70-90 กรัมขึ้นไป ผิวมัน เปลือกบาง ไม่เป็นกระ เนื้อขาวสวย รสชาติหวาน ไม่ค่อยพบเนื้อแก้วหรือยางไหลมากเหมือนแต่ก่อน 
       
จากเดิมที่สามารถส่งออกได้เพียงประมาณ 30% ปัจจุบันส่งออกมังคุดได้มากกว่า 70% โดยตลาดส่วนใหญ่อยู่ในจีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และยุโรป แต่กว่าจะประสบผลสำเร็จได้ขนาดนี้ ต้องใช้เวลานานประมาณ 6 ปี
       
อย่างไรก็ตาม อุปสรรคสำคัญในการแก้ปัญหามังคุดขาดธาตุสังกะสี ที่นักวิจัยต้องเผชิญคือ ความไม่เชื่อถือจากเกษตรกร เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่มักเชื่อตามความรู้สึกของตนเอง เชื่อตามวิธีเดิมที่ปฏิบัติมาเป็นเวลานาน
       
รศ.ดร.สุมิตรา จึงแนะนำว่า สิ่งที่เกษตรกรควรทำคือนำตัวอย่างดินไปวิเคราะห์อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้รู้ปริมาณธาตุอาหารที่ควรเติมลงในดิน และนำตัวอย่างใบมังคุดวิเคราะห์เพื่อให้รู้ว่าพืชขาดธาตุอาหารใดบ้าง จะได้ให้ปุ๋ยพืชที่มีธาตุอาหารเหมาะสมและครบถ้วน      
      
นอกจากนั้น รศ.ดร.สุมิตรา ยังให้ความรู้เพิ่มเติมว่า สังกะสีเป็นธาตุอาหารจำเป็นต่อพืช และเป็นธาตุอาหารจำเป็นต่อมนุษย์เช่นกัน และมีรายงานวิจัยว่าการขาดธาตุสังกะสีและวิตามินเอจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์มากที่สุด โดยผู้ที่ขาดธาตุสังกะสีจะมีร่างกายแคระแกร็น ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ป่วยเป็นโรคง่าย และมีผลต่อระบบการทำงานในสมอง
       
ดังนั้นการบริโภคอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสีในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ซึ่งธาตุสังกะสีพบมากในเนื้อสัตว์ ปลา ข้าว ธัญพืช รวมทั้งผักสีเขียว และการให้ปุ๋ยสังกะสีในมังคุดหรือพืชอาหารอื่นๆ ยังช่วยลดอาการขาดธาตุสังกะสีในมนุษย์ได้ด้วยเช่นกัน


ที่มา http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000079440 




หน้าก่อน หน้าก่อน (2/5) - หน้าถัดไป (4/5) หน้าถัดไป


Content ©