-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 504 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

มังคุด




หน้า: 2/5





                 ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อมังคุด

       
      1. เรียกใบอ่อน               
         ทางใบ  :               
       - ให้น้ำ 100 ล.+ 25-5-5(200 กรัม)หรือ 46-0-0(200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี 2-3 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ
       - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
         ทางราก :               
       - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7 (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
       - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน               

         หมายเหตุ :               
       - ลงมือปฏิบัติทันทีหลังตัดแต่งกิ่งและตัดแต่งรากเสร็จ
                
       - มังคุดแตกใบอ่อนค่อนข้างช้ากว่าไม่ผลอื่นๆ  บางครั้งอาจต้องใช้เวลานานถึง 20-30 วัน จึงจะมีใบอ่อนออกมา  ดังนั้นการเรียกอ่อนชุดแรกต่อด้วยชุด 2 นั้น  ต้องกะช่วงเวลาให้ใบอ่อนชุด 2 ออกมาตรงกับช่วงเดือน ก.ค. ให้ได้ จึงจะส่งผลไปถึงช่วงงดน้ำที่ตรงกับเดือน ต.ค.-พ.ย. พอดี....การให้ “ฮิวมิค แอซิดและ กลูโคส”  ร่วมด้วยในรูปแบบอาหาร “ทางด่วน” จะช่วยให้การแตกใบอ่อนเร็วขึ้น
       - มังคุดต้องการใบอ่อน 2 ชุดต่อ  1 รุ่นการผลิต  ต้นที่สมบูรณ์ดีจะแตกใบอ่อนชุดแรกจำนวนมาก เมื่อใบอ่อนชุดแรกออกมามากแล้วจะไม่แตกใบอ่อนชุดที่ 2 อีก จึงให้บำรุงตามขั้นตอนต่อไปได้เลย  แต่ถ้าหลังจากเรียกใบอ่อนไปแล้ว 5-7 วัน  ต้นแตกใบอ่อนน้อยให้ฉีดพ่นทางใบซ้ำอีกรอบพร้อมกับให้ปุ๋ยทางรากอีก  1 รอบ......กรณีต้นที่ไม่สมบูรณ์จริง การเรียกใบอ่อนชุด 2 ในมังคุดเป็นเรื่องค่อนข้างยาก หากมังคุดแตกใบอ่อนชุดเดียวก็จำเป็นต้องเอาชุดเดียว เพราะหลังจากใบอ่อนชุดแรกออกมาแล้วอายุเกิน 9 สัปดาห์
       - ในเขตภาคตะวันออก หากบำรุงให้มังคุดแตกใบอ่อนได้ในช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย. แล้วเปิดตาดอกได้ในเดือน ธ.ค.- ม.ค.  จากนั้นบำรุงตามขั้นตอนต่อไปเรื่อยๆจะได้ผลผลิตแก่เก็บเกี่ยวในช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. ซึ่งตรงกับช่วงแล้ง  ผลมังคุดจะมีคุณภาพดีมาก      

    2. เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่               
       ทางใบ :               
     - ให้น้ำ 100 + 0-21-74 (200 กรัม) หรือ 0-39-39 (200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
       ทางราก :               
     - ให้น้ำตามปกติ  ทุก 2-3 วัน               

       หมายเหตุ :               
     - ลงมือปฏิบัติเมื่อใบเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้               
     - วัตถุประสงค์เพื่อเร่งใบชุดใหม่ให้สามารถสังเคราะห์อาหารได้ และเร่งระยะเวลาเรียกใบอ่อนชุดต่อไปได้เร็วขึ้น  กับทั้งเพื่อให้ใบอ่อนรอดพ้นจากทำลายของแมลงปากกัดปากดูด
     - สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส.และโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่แล้วยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้ด้วย
     - ต้นที่สะสมความสมบูรณ์เต็มที่มานานหลายปีติดต่อกันใบอ่อนจะออกเร็วและจำนวนมาก
          

    3. สะสมอาหารเพื่อการออกดอก                 
       ทางใบ :                
     - ให้น้ำ 100 ล. + 0-42-56 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วัน ติดต่อกัน 2-3 รอบ ติดต่อกัน 1-2 เดือน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ  จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์เต็มที่                 
       ทางราก :               
     - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24 (1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
     - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน               

       หมายเหตุ :               
     - เริ่มปฏิบัติเมื่อใบชุด 2 เพสลาด               
     - บำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเท่าที่จะมากได้โดยใช้ระยะเวลาบำรุง 2-2 เดือนครึ่ง.....การให้กลูโคสผงหรือนมสัตว์สดเสริมโดยให้รอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุงและให้รอบสองห่างจากรอบแรก 20-30 วันจะช่วยให้การสะสมอาหารเพื่อการออกดอกดีขึ้น
     - ช่วงหน้าฝน แนะนำให้บำรุงทางใบด้วยสูตรสะสมอาหารปกติโดยให้ก่อนฝนตก 1 ชม.  หรือให้ทันทีหลังฝนหยุดใบแห้ง ให้บ่อยๆได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งหรือช่วงระยะเวลาให้
     - เพื่อให้ต้นได้มีการสะสมอาหารเพื่อการออดอกมากยิ่งขึ้น  ให้ใส่มูลค้างคาว 100-200 กรัม/ต้นทรงพุ่ม 5 ม. ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณชายพุ่มจะเป็นการดียิ่งขึ้น.......ใช้มูลค้างคาวด้วยความระมัดระวังเพราะในมูลค้างคาวมีสารอาหารสร้างเมล็ด  อาจมีผลกระทบช่วงบำรุงผลกลาง (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ) ได้
     - เพื่อให้ต้นได้สะสมอาหารเต็มที่ทันต่อการปรับ ซี/เอ็น เรโช. ในเดือน ต.ค. อาจจะพิจารณาให้ทางใบถี่ขึ้นจาก 5-7 วันเป็น 3-5 วันก็ได้  แต่กลูโคสกับนมสัตว์สดยังให้ 2 ครั้งเท่าเดิม                 
     - ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้งเรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่   ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่วทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช.ต่อไปได้เลย  แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อนชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช.
ทั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง 
     - ถ้ามังคุดออกดอกยาก จะด้วยเหตุผลทางสายพันธุ์ (พันธุ์หนัก) หรือสภาพอากาศ (อุณหภูมิ) ไม่อำนวยก็สุดแท้.... ให้สะสมคตาดอกด้วย 13-0-46 + 0-52-35 อัตราส่วน 1 : 3 แล้วเปิดตาดอกด้วย 13-0-46 + 0-52-34 อัตราส่วน 3 : 1 

       
    4. ปรับ ซี/เอ็น เรโช               
       ทางใบ :               
     - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ระวังอย่าให้ลงพื้น
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
       ทางราก :               
       งดน้ำ  เปิดหน้าดินโคนต้น                 

       หมายเหตุ :               
     - เริ่มปฏิบัติเมื่อใบอ่อนชุดสุดที่สองแก่จัด               
     - ก่อนเริ่มลงมือปฏิบัติจะต้องตรวจสอบข่าวสภาพอากาศให้รู้แน่ว่าช่วง 20-30 วันข้างหน้าจะมีฝนหรือไม่ จากนั้นจึงเริ่มงดน้ำหรือเลื่อนการปรับ ซี/เอ็น เรโช.ออกไป
                
     - สภาพอากาศมีผลต่อการปรับ ซี/เอ็น เรโช.อย่างมาก  กล่าวคือ สภาพอากาศต้องเปิด (แล้งหรือไม่มีฝน)  หากสภาพอากาศปิด (ครึ้มฟ้าครึ้มฝนหรือฝนตก) จะทำให้เกิดความล้มเหลวจนใบไม่สลดหรือใบสลดก็เปิดตาดอกไม่ออก
                
     - ระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการปรับ ซี/เอ็น เรโช.หรืองดน้ำสำหรับต้นที่ผ่านการสะสมอาหารเพื่อการออกดอกมาแล้วอย่างสมบูรณ์แบบควรอยู่ระหว่าง 20-30 วัน
                
     - ช่วงที่ ซี/เอ็น เรโช. แม้สภาพอากาศจะเอื้ออำนวยจนสามารถทำให้ใบสลดได้ภายในกำหนด  แต่ถ้าสภาพต้นที่ไม่สมบูรณ์จริงจะเปิดตาดอกไม่ออก
     - งดน้ำจนต้นเกิดอาการใบสลด  จากนั้นจึงลงมือระดมให้น้ำพร้อมกับเริ่มเปิดตาดอกได้  ซึ่งหลังจากระดมให้น้ำแล้วถ้าต้นมีความสนมบูรณ์สูงจะแตกใบอ่อนพร้อมกับมีดอกตามออกมาด้วย.....ถ้างดน้ำจนใบสลดแล้วระดมให้น้ำพร้อมกับเปิดตาดอก  ภายใน 1-2 อาทิตย์ ปรากฏว่าดอกไม่ออก ให้เริ่มงดน้ำใหม่เป็นรอบที่สอง  งดน้ำจนกว่าใบจะสลดเหมือนครั้งแรก  เมื่อใบสลดแล้วก็ให้ระดมให้น้ำพร้อมกับเปิดตาดอกอีกครั้ง  คราวนี้ถ้าต้นมีความสมบูรณ์  ต้นก็จะแตกใบอ่อนพร้อมกับมีดอกออกมาด้วย.....ช่วงระหว่างงดน้ำ  ทั้งครั้งแรกและครั้งที่สอง  ควรมีการให้อาหารกลุ่ม ซี.ทางใบสม่ำเสมอ  ให้พอสัมผัสใบ  ไม่ควรให้จนโชกลงถึงพื้นดินเพราะจะกลายเป็นการให้น้ำ  ซึ่งอาจจะส่งผลให้มาตรการงดน้ำไม่ได้ผล         

    5. เปิดตาดอก               
       ทางใบ :               
     - ให้น้ำ 100 ล.+ 13-0-46(500 กรัม)+ 0-52-34(100 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. หรือฮอร์โมนไข่ 250 ซีซี.(สูตรใดสูตรหนึ่ง)หรือ ใช้ทั้ง 2 สูตร สลับกัน) ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรช่วงค่ำ ทุก 2-3 วัน                   
       ทางราก :              
     - ให้ 8-24-24(½ กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.                 
     - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น                
     - ให้น้ำพอหน้าดินชื้น               

       หมายเหตุ :                
     - ในกรณีงดน้ำจนต้นใบสลดแล้วเปิดตาดอกไม่ออก ซึ่งเป็นผลมาจากความสมบูรณ์ของต้นไม่เพียงพอนั้น แก้ไขโดยการระดมให้ “น้ำ + ปุ๋ย” ทางราก และให้ “ธาตุรอง/ธาตุเสริม” ทางใบ  ต่ออีก3-4 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน โดยไม่ต้องเรียกใบอ่อนชุดใหม่ จากนั้นให้สำรวจความสมบูรณ์พร้อมต่อการเปิดตาดอก (อั้นตาดอก) ถ้าต้นสมบูรณ์ดีเห็นได้ชัดก็ให้งดน้ำอีกครั้ง จากนั้นจึงลงมือเปิดตาดอก
     - ถ้ามังคุดออกดอกยาก จะด้วยเหตุผลทางสายพันธุ์ (พันธุ์หนัก) หรือสภาพอากาศ (อุณหภูมิ) ไม่อำนวยก็สุดแท้.... ให้สะสมคตาดอกด้วย 13-0-46 + 0-52-35 อัตราส่วน 1:3 แล้วเปิดตาดอกด้วย 13-0-46 + 0-52-34 อัตราส่วน 3:1 

        
    6. บำรุงดอก               
       ทางใบ :               
     - ให้น้ำ 100 ล.+ 15-45-15(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ. 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรช่วงค่ำ ทุก 2-3 วัน               
      
ทางราก :
     - ให้ 8-24-24 (½ กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
                  
     - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น                
     - ให้น้ำพอหน้าดินชื้น 
                           
       หมายเหตุ :               
     - นิสัยมังคุดเมื่อออกดอกมักมีใบอ่อนตามมาด้วย ถ้าใบอ่อนออกมามากแล้วมีดอกออกมาน้อยกรณีนี้แก้ไขด้วยการให้ทางใบด้วยสูตรเปิดตาดอกต่อ 1-2 รอบ  สารอาหารสูตรนี้นอกจากจะช่วยทำให้ดอกชุดใหม่ออกมาอีกแล้วยังช่วยกดใบอ่อนไม่ให้ออกมาจนมากเกินจำเป็นได้อีกด้วย..มังคุดที่ระหว่างออกดอกหรือติดผลเล็กแล้วแตกใบอ่อนจะไม่ทิ้งดอกและผลตรงกันข้ามกลับทำให้มีใบสำหรับสังเคราะห์อาหารบำรุงต้นและผลมากขึ้น
     - กรณีที่เปิดตาดอกแล้วดอกออกไม่พร้อมกันทั้งต้นแต่ทยอยออกตามกันมาเรื่อยๆ แก้ไขโดยเมื่อดอกออกมาได้ปริมาณ 10-25 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนยอดทั้งหมดของต้น  ให้ฉีดพ่นทางใบด้วย “น้ำ 100 ล.+ 0-52-34(500 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ สาหร่ายทะเล 100 กรัม” 2-3 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน  พร้อมกับให้น้ำทุกวัน  นอจากช่วยกดไม่ให้ใบอ่อนชุดใหม่ออกมาอีกได้แล้วยังช่วยเปิดตาดอกที่ยังไม่ออกให้ออกมาได้อีกด้วย                  
     - ช่วงดอกตั้งแต่เริ่มแทงออกมาให้เห็น (ก้านดอกยาว 1-2 ซม.)หรือระยะดอกตูมบำรุงด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ. 1-2 รอบ จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมต่อการผสม การให้ฮอร์โมน เอ็นเอเอ. ต้องใช้ด้วยระมัดระวังเพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้อ่อนเกินไปก็จะไม่ได้ผล
     - ให้จิ๊บเบอเรลลิน 30-40  ซีซี./น้ำ 100 ล.  ฉีดพ่นช่วงหลังดอกบาน 50 เปอร์เซ็นต์  จะช่วยให้การติดเป็นผลดีขึ้น  ทั้งนี้จิ๊บเบอเรลลินจะไม่ส่งผลต่อการขยายขนาดผลและคุณภาพผลแต่อย่างใด
     - ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน.  1 รอบ  จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี
     - ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก  ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่งทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้
     - บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น  “สังกะสี และ แคลเซียม โบรอน”  โดยให้เมื่อดอกออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก  ให้แบบเดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุอาหารอื่นๆก็ได้               
     - ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วงดอกบานหรือผสมติดเป็นผล
     - ดอกมังคุดที่ออกมาตรงกับช่วงฝนชุกหรือฝนแล้งไม่ค่อยมีปัญหา  เพราะเกสรอยู่ภายในดอกจึงไม่มีโอกาสสัมผัสกับสภาพอากาศภายนอก
                      

    7. บำรุงผลเล็ก               
       ทางใบ :               
     - ให้น้ำ 100 ล. + 21-7-14 (200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี. + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี. + ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.    ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ทุก 5-7 วัน
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
       ทางราก :               
     - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 21-7-14 (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
     - นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นพร้อมกับเสริมยิบซั่มธรรมชาติ อัตรา 1 ใน 10 ส่วนของครั้งที่ใส่เมื่อช่วงเตรียมดิน                
     - ให้น้ำแบบค่อยๆเพิ่มปริมาณน้ำทีละน้อยๆของการให้น้ำ 3-4 รอบเพื่อให้ต้นรู้ตัว
                
       หมายเหตุ :               
     - เริ่มบำรุงเมื่อผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว หรือหลังกลีบดอกร่วง 
     - ช่วงผลเล็กเริ่มโชว์รูปทรงผลแล้วให้  “น้ำ 100 ล. + จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม”   ฉีดพ่น 1 รอบพอเปียกใบจะช่วยบำรุงผลไม่ให้เกิดอาการผลแตกผลร่วงตลอดอายุผลได้ดี
     - หลังจากที่ดอกในต้นพัฒนาเป็นผลแล้วและแน่ใจว่าจะไม่มีดอกชุดหลังออกตามมาอีก  การบำรุงขั้นตอนนี้จะต้องระวังการแตกใบอ่อน เพราะถ้ามีการแตกใบอ่อนอีกต้นจะสลัดผลเล็กทิ้ง
       
   8. บำรุงผลกลาง               
      ทางใบ :                
    - ในรอบ 7 วันให้น้ำ 100 ล. + 21-7-14(200 กรัม) + ธาตุรอง/ธาตุเสริม(100 ซีซี.) + ไคโตซาน 100 ซีซี.+ แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สาร
สกัดสมุนไพร 250 ซีซี.
ทุก 7-10 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 3-5 วัน              
      ทางราก :               
    - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 21-7-14 (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
    - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน                

      หมายเหตุ :              
    - เริ่มบำรุงเมื่อเปลือกหุ้มเมล็ดเริ่มแข็ง (เข้าไคล)               
    - วัตถุประสงค์เพื่อขยายขนาดผลและลดขนาดเมล็ด (หยุดเมล็ด-สร้างเนื้อ)
    - ให้กลูโคสหรือนมสัตว์สด 1 รอบ (ไม่ควรมากกว่านี้) เมื่ออายุผลได้ 50 เปอร์เซ็นต์แล้ว
    - ให้ทางใบด้วยฮอร์โมนสมส่วน + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 2-3 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดช่วงผลกลางจะช่วยบำรุงขยายขนาดผลให้ใหญ่และเนื้อแน่นขึ้นแต่เมล็ดมีขนาดเท่าเดิม
    - ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ 1-2 รอบ โดยแบ่งให้ตลอดระยะผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก                
    - ให้ปุ๋ยทางใบด้วยสูตรบำรุงผล  (ขยายขนาด - หยุดเมล็ด - สร้างเนื้อ) โดยตรง  ทุก 7-10 วัน นอกจากช่วยให้ผลมีขนาดใหญ่ขึ้นแล้ว  คุณภาพผลยังดีอีกด้วย
  
   9. บำรุงผลแก่               
      ทางใบ :               
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-0-50(200 กรัม)หรือ 0-21-74(200 กรัม) สูตรใดสูตรหนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. หรือ น้ำ 100 ล.+ มูลค้างคาวสกัด 100 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วัน ฉีดพ่นทางใบพอเปียกใบ
                
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร ทุก 2-3 วัน               
      ทางราก :               
    - ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (½-1 กก./ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
    - ให้น้ำเพื่อละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำเด็ดขาด               

      หมายเหตุ :               
    - เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน 1-2 รอบห่างกันรอบละ 5-7 วัน
    - การให้ 13-13-21 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลรุ่นเดียวกันทั้งต้น  แต่หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วต้นมักโทรมจึงต้องเร่งบำรุงฟื้นฟูความสมบูรณ์ของต้น (เรียกใบอ่อน) กลับคืนมาโดยเร็วแล้วจึงเข้าสู่วงรอบการบำรุงใหม่
    - การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกันซึ่งนอกจากหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตจนหมดต้นแล้วต้นไม่โทรม  ช่วยบำรุงผลรุ่นหลังต่อและทำให้ต้นมีความสมบูรณ์พร้อมสำหรับให้ผลผลิตรุ่นปีต่อไปอีกด้วย 
 




หน้าก่อน หน้าก่อน (1/5) - หน้าถัดไป (3/5) หน้าถัดไป


Content ©