-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 507 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เห็ด17







การทำเชื้อเห็ดหูหนู
            
โดยทั่ว ๆ  ไป  การเพาะ เห็ดหูหนู ในท่อนไม้จะให้ผลผลิตสูง  เชื้อเห็ดที่ใส่ลงในท่อนไม้ไม่นิยมใช้หัวเชื้อ
ทั้งนี้เพราะอาหารบนหัวเชื้อดีกว่าในไม้  เส้นใยเห็ดจะไม่ยอมเดินลงไม้  นอกจากนี้หัวเชื้อทำมาจากเมล็ดธัญพืช 
มักมีปัญหาเรื่อง  มด  หนู  และรา  ดังนั้นเชื้อเห็ดหูหนูควรทำมาจากขี้เลื่อย  หรือขุยมะพร้าว  เพราะว่าวัสดุเหล่านี้มีธาตุอาหารใกล้เคียงกับท่อนไม้ที่ใช้เพาะ

การทำเชื้อเห็ดโดยนำขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน  ถ้าเป็นขี้เลื่อยไม้เนื้อแข็งต้องผ่านการหมักเสียก่อน 
มาผสมกับธาตุอาหารต่าง ๆ  ที่เห็ดต้องการ  ถ้าเป็นเชื้อเห็ดที่จะนำไปเพาะในท่อนไม้  ไม่ควรเติมธาตุอาหารลงไป
มากนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งดีเกลือควรงดเสีย  เพราะจะทำให้เส้นใยรวมตัวกันเป็นดอกก่อนที่จะเจริญเข้าไปในเนื้อไม้


สูตรอาหารที่แนะนำให้ใช้โดยทั่วไปจะประกอบด้วย
ขี้เลื่อยแห้ง 100 กิโลกรัม
รำละเอียด 3-5 กิโลกรัม
ข้าวโพดป่น 3-5 กิโลกรัม
แป้งข้าวสาลีหรือน้ำตาลทราย 1-2 กิโลกรัม
หินปูน 0.5-1 กิโลกรัม (ไม่ใส่ก็ได้)

(ถ้าทำเพื่อเปิดให้ออกดอกในถุงใส่ดีเหลืออีก  0.3  กิโลกรัม)

ผสมขี้เลื่อย  รำละเอียด  ข้าวโพดป่น  แป้งข้าวสาลีหรือน้ำตาลทรายและหินปูนให้เข้ากัน  ใส่น้ำลงไปทีละน้อยคลุกจนเปียกพอดีโดยลองกำดู  ถ้ามีความรู้สึกว่าชื้นที่มือ  เมื่อแบมือออกขี้เลื่อยจับกันเป็นก้อนแสดงว่าใช้ได้แล้ว  แต่เมื่อบีบดูแล้วน้ำไหลออกจากง่ามน้ำมือมาก ๆ แสดงว่าเปียกเกินไป  ถ้ากำดูแล้วไม่มีน้ำซึมออกมาเลยและเวลาแบมือออกขี้เลื่อยจะหลุดเป็นผงก็แสดงว่าแห้งเกินไปให้ค่อย ๆ  เติมน้ำอีก  และทดสอบจนได้ความชื้นเปียกพอดี เมื่อผสมคลุกเคล้าธาตุอาหารและน้ำให้เข้ากันได้แล้วนำมาบรรจุลงขวดแบน  โดยใช้กรวดช่วยใช้ไม้แท่งเล็ก  แหย่กระทุ้งลงไปให้แน่นสม่ำเสมอจนถึงคอขวด  ใช้ไม้เล็ก ๆ  ขนาดเข้าปากขวดได้หลวม  เจาะอาหารลงไปจนถึงก้นขวดให้สะอาดก่อนที่จะอุดจุกสำลี  และหุ้มด้วยกระดาษหนา ๆ  อีกชั้นหนึ่ง  รดยาง  นำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันที่ความดัน  17-20  ปอนด์ต่อตารางนิ้ว  นาน  1  ชั่วโมง
นอกจากบรรจุขวดแล้ว  อาจบรรจุในถุงพลาสติกทนร้อนขนาด  6 ? x 15  นิ้ว  หนา       0.10  มม. 
  หรือ  7 x 11  นิ้ว  หนา  0.10  มม.  ก็ได้  ก่อนบรรจุอาหารพับก้นถุงให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมก่อนแล้ว จึงบรรลุอาหาร
  ผสมลงไปประมาณ  1  กิโลกรัม  บรรจุให้แน่นพอประมาณ  1  กิโลกรัม  บรรจุให้แน่นพอประมาณ  พยายามใส่
  อาหารผสมให้ทับทั้งสี่มุมเพื่อให้ถุงคงรูปอยู่เวลาตั้งจะได้ไม่ล้มเมื่อบรรจุจนเกือบ
  ถึงบริเวณที่จะใส่คอขวดพลาสติกอัดให้แน่น  แล้วจึงสวมคอขวดพร้อมกับดึงถุงพลาสติกพับกลับทับคอขวด 
  รัดยางให้แน่นจากนั้นใช้ไม้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  2  ซม.  แทงลงไปจนเกือบถึงก้นถุง  อุดด้วยสำลี
  หุ้มด้วยถุงพลาสติกทนร้อนขนาด  3 x 4   นิ้ว  รัดยางอีกชั้นหนึ่ง  ถ้าใช้กระดาษปิดสำลีมักจะเปียก  เสร็จแล้วนำ
  ไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันที่ความดัน  17-20  ปอนด์ต่อตารางนิ้ว  นาน  2  ชั่งโมงถ้าเป็นหม้อนึ่งแบบ
  ลูกทุ่งนับตั้งแต่ไอน้ำพุ่งออกจากรูที่เจาะตรงกลางฝา  แรงสม่ำเสมอนานประมาณ  2-3  ชั่วโมง  ทิ้งไว้ให้เย็นต่อ
  จากนั้นนำหัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่างที่เตรียมไว้เขย่าให้เมล็ดข้าวฟ่างร่อนตัว ลนปากขวดหัวเชื้อเห็ดด้วยตะเกียง
  แอลอฮอล์  เทเมล็ดหัวเชื้อประมาณ  10-15  เมล็ดลงในขวดหรือถุงที่เตรียมไว้ทำเชื้อเห็ดหลังจากใส่เชื้อแล้วนำ
  ไปเก็บไว้ในห้องบ่มเชื้อที่มืด  อุณหภูมิธรรมดาและมีอากาศถ่ายเทพอประมาณหลังจากที่ใส่หัวเชื้อลงไปแล้ว
  เส้นใยเห็ดจะเดินเต็มขวดแบนในเวลา  20-30  วัน  หรือในถุงพลาสติกในเวลา  30-45  วัน

www.sakorn601.ob.tc/u5.html -



การเพาะเห็ดหูหนูบนท่อนไม้

อุปกรณ์

  • ฆ้อนเจาะรูท่อนไม้
  • ฝาหรือจุกพลาสติกปิดรูที่เจาะ
  • ท่อนไม้ เช่น ไม้ยางพารา ไม้กระถิน ไม้แค ไม้ข่อย ไม้งิ้ว ไม้นุ่น ไม้ไทร ไม้มะม่วง ไม้ขนุน และไม้ก้ามปู
  • เชื้อเห็ดหูหนู

การเตรียมท่อนไม้
ท่อนไม้ที่จะนำมาเพาะเห็ดควรมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-12 ซม. และมีความยาวประมาณ 1 เมตร ควรเป็นท่อนไม้ที่ตัดมาใหม่ ๆ และไม่มียาง ถ้าเป็นท่อนไม้ยางพาราควรทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้ยางแห้ง
 

การเจาะรูบนท่อนไม้
โดยทั่วไปใช้วิธีการเจาะ 2 แบบ คือ แบบใช้เหล็กตอกปะเก็นหรือฆ้อนสำหรับเจาะรูเห็ดหูหนู กับการใช้สว่านไฟฟ้าขนาดดอกสว่านที่ใช้ 4-5 หุน ควรเจาะท่อนไม้ให้ลึกพอประมาณและให้รอยเจาะอยู่ห่างกัน 8-10 ซม. ให้เป็นแถวโดยแต่ละแถวห่างกัน 6-8 ซม. เจาะให้มีลักษณะเป็นแถวสลับแบบฟันปลา


การใส่เชื้อในท่อนไม้

ใช้ลวดแข็ง ๆ ที่สะอาดและเผาไฟฆ่าเชื้อแล้วตีเชื้อเห็ดที่เจริญบนขี้เลื่อยให้ละเอียด พร้อมกับค่อนเทใส่รูที่เจาะบนท่อนไม้ จากนั้นให้ใช้ตะเกียบที่สะอาดลนไฟฆ่าเชื้อ แล้วกระทุ้งเชื้อเห็ดที่ใส่ในรูให้เชื้ออัดค่อนข้างแน่น แล้วอุดจุกด้วยยางสำเร็จรูป และใช้ฆ้อนทุบจุกกยางให้แน่นหลังจากนั้นให้อุดด้วยขี้ผึ้งไม่ให้น้ำเข้าไปถูกเชื้อเห็ด
 

การพักท่อนเชื้อ (การบ่มเชื้อ)
การบ่มหรือพักท่อนเชื้อให้บ่มในที่ร่ม โดยวางท่อนไม้แบบการวางหมอนรถไฟ ให้แต่ละท่อนห่างกกัน 1-2 ซม. หรือจะวางซ้อนกันก็ได้ ในระยะที่บ่มท่อนเชื้อต้องคอยระมัดระวังด้านความสะอาด ความชื้น โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวจำเป็นต้องรดน้ำให้กับท่อนเชื้อบ้าง และควรมีการกลับท่อนเชื้อ โดยนำท่อนเชื้ออยู่ข้างล่างขึ้นข้างบน และท่อนเชื้อที่อยู่ข้างบนลงล่าง หลังบ่มท่อนเชื้อได้ 30-45 วัน เส้นใยจะเจริญเต็มท่อนไม้ ขั้นตอนต่อไปหลังจากการบ่มเชื้อแล้วก็คือ


การทำให้เกิดดอก

โดยย้ายไม้เข้าโรงเรือนเปิดดอก ซึ่งภายในโรงเรือนจะมีราวไม้สำหรับพาดท่อนไม้ ราวไม้แต่ละแถวห่างกันประมาณ 1.5 เมตร นำไม้ที่ผ่านระยะบ่มเชื้อแล้วมาแช่น้ำประมาณ 12-20 ชั่วโมง น้ำที่ใช้แช่ไม่ควรมีอุณหภูมิประมาณ 13-18 องศาเซลเซียส เพื่อกระตุ้นให้เห็ดออกดอกเร็วขึ้น และจะทำให้ไม้อ่อนตัวลง หลังจากแช่น้ำแล้วใช้ค้อนทุบตรงหัวไม้เรือนเปิดดอก ใช้ผาพลาสติกคลุมกองไม้ไว้ 3-4 วัน หรือจนกระทั่งออกดอกแต่บางแห่งนิยมคลุมไว้เพียง 1-2 วัน แล้วจึงเปิดพลาสติกออก ดอกเห็ดจะเกิดขึ้นหลังจากเอาไม้เข้าไปในโรงเรือนแล้วประมาณ 4-5 วัน รดน้ำวันละ 2 ครั้ง และผลผลิตจะเก็บได้หลังจากนั้นไปอีกประมาณ 4-5 วัน ระยะเวลาในการเก็บจะเก็บได้เรื่อย ๆ ประมาณ 10-12 วัน และเมื่อสังเกตว่าดอกเห็ดมีน้อยลงหรือมีแต่ดอกเล็ก ๆ ให้เริ่มต้นขั้นตอนการพักไม้หรือบ่มเชื้อไม้ ทำเช่นนี้เรื่อยไปจนกว่าไม้จะผุ ซึ่งถ้าปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างถูกวิธีแล้ว ไม้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10-15 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร จะเก็บผลผลิตได้ประมาณ 6-10 กิโลกรัม


การเก็บดอกเห็ดหูหนูที่เพาะจากท่อนไม้

ให้เลือกเก็บเมื่อดอกเห็ดโตเต็มที่แต่ยังไม่สร้างสปอร์ จะได้น้ำหนักเห็ดดีที่สุด ทำการเก็บเห็ดออกจากท่อนไม้มาทั้งกระจุก เพื่อที่จะให้ดอกเห็ดรุ่นต่อไปเจริญออกมาใหม่ได้ และสามารถเก็บดอกเห็ดได้ประมาณ 5-6 เดือน ดอกเห็ดก็จะเริ่มหมด แต่ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดดอกเห็ดอีก โดยใช้ฆ้อนทุบด้านบนของท่อนไม้ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เส้นใยเจริญเติบโตใหม่



การปฏิบัติหลังการเก็บดอกเห็ดหูหนู

  • การล้างทำความสะอาดดอกเห็ดหูหนู
  • การนำดอกเห็ดแช่น้ำ 3-4 ชั่วโมง
  • นำดอกเห็ดมาผึ่งลมบนตะแกรงให้สะเด็ดน้ำ 30-45 นาที
  • การบรรจุเห็ดหูหนูสดเพื่อรอการจำหน่าย

ที่มา : http://www.kasetesarn.com/techno/mushroom-hoonoo.html
จัดทำโดย : นางสาวธัญฐิติ มาแสง

http://www.doae.go.th/library/html/detail/vegetable/hedhunu_index.html









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1912 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©