-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 501 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เห็ด12








 

การเพาะเห็ดเห็ดในท่อนไม้


สพอ
. / ฝพส.


โดยธรรมชาติในอากาศจะมีเชื้อจุรินทรีย์ มากมายล่องลอยอยู่ เชื้อราเห็ดก็เป็นจุริน ทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในอากาศ เมื่อเชื้อราเห็ดในอากาศตกสัมผัสกับเปลือกไม้ ก็จะเจริญอยู่ภายนอกเปลือก เมื่อต้นไม้ต้นนั้นตายลงเชื้อราเห็ดก็จะเจริญเข้าไปในเนื้อไม้ต้นนั้น จนเกิดดอกเป็นเห็ดในที่สุด
การเพาะเห็ดในท่อนไม้ เป็นการเรียนแบบธรรมชาติ ซึ่งเราสามารถเลือก ชนิดเชื้อราเห็ด โดยเจาะใส่เชื้อราเห็ดในเนื้อไม้นั้นโดยตรง ไม้ที่ใช้ควรเป็นต้นไม้ที่ไม่ให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจแล้ว เช่น ต้นไม้ที่ให้ผลิตน้อย หรือต้นไม้ที่ขึ้นผิดที่ หรือเป็นส่วนของกิ่งที่ต้องการตัดทิ้ง ไม่แนะนำให้ไปตัดไม้จากป่าซึ่งจะเป็นการทำลายทรัพยากร ธรรมชาติ


วัสดุอุปกรณ์

1. ท่อนไม้

2. หัวเชื้อราเห็ด 

3. สว่านไฟฟ้าหรือ เหล็กตอก ( ตุ๊ดตู่ ) 

4. ปูนซีเมนต์ + ทรายละเอียด + น้ำสะอาด  1 : 1 : 1 หรือ ฝาจีบโซดา

5. ดอกสว่าน 5–6 หุน
6. ถังน้ำพลาสติก
7. ถุงมือยาง

การคัดเลือกไม้ที่เอามาเพาะเห็ด

ไม้ที่จะนำมาเพาะเห็ดจะต้องเป็นไม้สด ตัดมาใหม่ๆ หรือตัดมาไม่เกิน 1 สัปดาห์ มีลักษณ์ เปลือกหนา เมื่อแห้งเปลือกจะ ไม่ล่อนออกจากเนื้อไม้ ขนาดของไม้มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 5 เซนติเมตร จนกระทั่งถึงขนาดโตที่สุดของไม้ แต่ไม้ที่มีขนาดเหมาะ สมที่สุดคือ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-15 เซนติเมตร ตัดเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 80 – 100 เซนติเมตร อายุของไม้ที่ใช้ ถ้าไม้อายุน้อยจะให้ผลผลิตเร็ว แต่ก็ผุเร็ว ถ้าหากเป็นไม้แก่ เชื้อเห็ดจะเจริญได้ช้า ออกดอกช้า แต่เก็บผลผลิตได้นาน อายุของไม้ที่พอเหมาะสำหรับ ไม้เนื้ออ่อนควรอยู่ระหว่าง 3-5 ปี การเลือก ไม้ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อราเห็ดด้วย คือ

 

เห็ดหูหนู

ไม้เนื้ออ่อน ถึง

กึ่งแข็งกึ่งอ่อน

มะเดื่อ งิ้ว มะม่วง ไคร้น้ำ ฯลฯ

เห็ดปลอก เห็ดลม เห็ดขอนขาว เห็ดนางฟ้า เห็ดหอม

ไม้กึ่งแข็งกึ่งอ่อน ถึง

ไม้เนื้อแข็ง

มะม่วง ไคร้น้ำ เต็ง รัง ตะเคียน ก่อ ฯลฯ




การเลือกหัวเชื้อข้าวฟ่างหรือขี้เลื่อย
หัวเชื้อข้าวฟ่างหรือขี้เลื่อย ที่เหมาะสมต่อการใช้งานมากที่สุด คือ เมื่อเส้นใยเริ่มเจริญเต็มขวดหรือถุงใหม่ๆ สามารถเขย่าหรือยุ่ยให้ร่วนได้ง่าย เหมาะต่อการเทเชื้อลงในรูที่เจาะได้ ซึ่งถ้าทิ้งไว้นานเกินไปจนเส้นใยแก่ เส้นใยจะสานกันแน่น เขย่าไม่ร่วน เทเชื้อไม่ได้ หากจำเป็น หรือ ต้องการยืดอายุเชื้อข้าวฟ่างที่เจริญเต็มที่แล้วออกไป อาจทำได้โดยการเขย่าให้ร่วนทุกวัน แต่คุณภาพของเชื้อจะ ไม่ดีเท่าระยะที่เพิ่งเจริญเต็มขวดใหม่ๆ หรือทุบขวดให้แตกใช้มือยุ่ยหัวเชื้อข้าวฟ่างให้ละเอียดแล้วยัดลงในรูที่เจาะ


การเจาะรูใส่เชื้อเห็ด
การเพาะเห็ดในท่อนไม้จะต้องใส่เชื้อเห็ดลงไปในท่อนไม้ ดังนั้นจะต้องเจาะรูสำหรับ ใส่เชื้อ เท่าที่ปฏิบัติกันมามีหลายวิธี เช่น ใช้เหล็กตอกปะเก็น (ตุ๊ดตู่) ฆ้อนสำหรับเจาะรูใส่เชื้อโดยเฉพาะ หรือสว่านไฟฟ้า โดยใช้ดอกขนาด 5-6 หุน

วิธีเจาะรู จับตัวสว่านให้แน่นเจาะลงไปจังหวะเดียว ให้ลึกประมาณ 2-3 เซนติเมตร การเจาะรูให้เริ่มทางด้านใดด้านหนึ่งของท่อนไม้ โดยให้ห่างจากปลายไม้ประมาณ 2-3 เซนติเมตร เจาะเป็นแนวตรงมีระยะห่างประมาณ 10 เซนติเมตร สำหรับแถวถัดไปห่างจากแถวแรกประมาณ 10 เซนติเมตร และควรเจาะในลักษณะสับหว่างกลางของแถวแรก หรือแบบสลับฟันปลา สำหรับการใช้เหล็กตอกประเก็น หรือค้อนเจาะรูใส่เชื้อเห็ดก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน


วิธีการใส่เชื้อเห็ด
ควรเขย่าเมล็ดข้าวฟ่างให้แตกร่วน ถ้าเป็นเชื้อที่ทำจากขี้เลื่อยให้ใช้มือบีบถุงให้ขี้เลื่อยแตกก่อน จากนั้นเทใส่ลงในไม้ทางรูที่เจาะ ใช้ไม้ตะเกียบกระทุ้งให้เชื้อเห็ดลงไปในรูค่อนข้างแน่น ใส่จนเต็มรูที่เจาะไว้ ใช้ฝาจีบโซดาครอบ รูแล้วใช้ค้อนตอกให้จมลงในเนื้อไม้ หรือใส่เชื้อลงไป 2 ใน 3 ส่วนของรูที่เจาะไว้ จากนั้นใช้ปูนซีเมนต์ผสมทรายละเอียด อัตรา 1 ต่อ 1 เติม ด้วยน้ำสะอาดคนให้เหนียวข้น ปิดทับลงในรูให้เต็ม


การบ่มเชื้อ
วิธีการพักไม้ หลังจากใส่เชื้อเห็ดลงไปแล้ว นำไปวางไว้ในที่ร่มใต้ต้นไม้ หรือจะสร้างเฉพาะหลังคาแสลนกันแดดก็ได้ การวางไม้ควรจะมีอิฐบล็อก รองพื้นเพื่อไม่ให้ท่อนไม้สัมผัสดินเพื่อป้องกันแมลงและเชื้อจุรินทรีย์จากดินโดยตรง การวางควรวางแบบหมอนรถไฟ มีระยะห่างไม้ประมาณ 1-2 เซนติเมตร ทั้งนี้เพราะต้องการให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก

ระยะเวลาในการพักไม้ของเห็ดแต่ละชนิดจะไม่เท่ากันเช่น เห็ดหูหนูให้พักไว้ประมาณ 2-3 เดือน เห็ดลม เห็ดขอนขาว เห็ดปลอก พักไว้ประมาณ 4-6 เดือน เห็ดหอมพักไว้ประมาณ 6-8 เดือนเป็นต้น


การทำให้เกิดดอก
ตามธรรมชาติแล้วเมื่อเชื้อราเห็ดกินเต็มท่อนไม้และสภาพแวดล้อมเหมาะสมก็จะออกดอกเห็ด แต่ใช้เวลานาน การสร้างโรงเรือนสำหรับเปิดดอกจะสามารถควบการออกดอกเห็ดได้ โรงเรือนมีลักษณะคล้ายกับ โรงเรือนเปิดดอกเห็ดในถุงพลาสติก ภายในโรงเรือนปูด้วยทราย อิฐหักหรือเทคอนกรีต ไม่มีชั้นวาง มีเฉพาะราวไม้สำหรับพาดท่อนไม้ ราวไม้แต่ละแถวห่างกันประมาณ 1.5 เมตร นำไม้ที่พักไว้ครบตามกำหนดระยะเวลาแล้ว ไปแช่น้ำประมาณ 12–24 ชั่วโมง และถ้าน้ำที่ใช้แช่ไม้นั้นมีอุณหภูมิประมาณ 13–18 องศาเซลเซียส ก็จะกระตุ้นให้เห็ดออกดอกเร็วยิ่งขึ้น การแช่นั้นควรหาของหนักทับไม้ให้จม หากจมน้ำไม่หมดต้องมีการกลับท่อนไม้ ซึ่งการแช่น้ำนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ


1.
ทำให้ไม้ที่แห้งซึ่งมีความชื้นอยู่น้อย ให้มีความชื้นเพียงพอต่อการเจริญเติบ โตของดอกเห็ด

2. ต้องการกระตุ้นเส้นใยที่หยุดพักการเจริญและสะสมอาหารอยู่นั้น ตื่นตัวอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งทำการรวมตัวกันเพื่อเป็นดอกเห็ด

3. เป็นการทำลายสัตว์เล็ก ๆ เช่น แมลงหรือตัวไรที่ติดเข้าไปในไม้ ทั้งนี้แมลงเหล่านี้จะขาดอากาศในขณะที่ไม้แช่น้ำอยู่


การดูแลรักษาไม้ในโรงเรือน นำไม้ที่แช่น้ำเข้าโรงเรือน โดยวางพาดกับราวแบบเผาข้าวหลาม ทำมุมกับพื้น
20–40 องศา เมื่อนำไปวางในโรงเรือนแล้วใช้ผ้าพลาสติก หุ้มให้เกิดความอุ่นในกองไม้หลังจากแช่น้ำแล้วการคลุมพลาสติกอาจคลุมไว้ 3–4 วัน หรือจนกระทั่งออกดอกก็ได้ แต่โดยปกตินิยมคลุมไว้เพียง 1–2 วันแล้วเปิดพลาสติก
ดอกเห็ดจะเกิดขึ้นหลังจากเอาไม้เข้าไปในโรงเรือนแล้วประมาณ 4–5 วัน และผลผลิตจะเก็บได้หลังจากนั้นไปอีกประมาณ 4–5 วัน ระยะเวลาการเก็บ ได้เรื่อย ๆ ประมาณ 10–12 วัน หรืออาจเกินกว่านั้น


การรดน้ำ
จะต้องรดน้ำทุกวัน วันละ
2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ในเวลากลางคืนควรเปิดประตูหน้าต่างทิ้งไว้ เพราะจะได้อากาศบริสุทธิ์จากข้างนอกเข้าไปกระตุ้นให้เห็ดเจริญเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น


การเก็บผลิต
การเก็บผลผลิต เก็บเช่นเดียวกับการเก็บผลผลิตเห็ดจากถุงพลาสติก คือ ดูที่หมวกดอก จะต้องบานประมาณ 50% และเมื่อเห็นว่าจำนวนเห็ดน้อยลง หรือมีแต่ดอกเล็ก ๆ ให้ลูบหรือเด็ดดอกเห็ดดอกเล็กทิ้ง การพักไม้ให้งดรดน้ำโดยเด็ดขาดให้ดูแลถึงความสะอาดของท่อนไม้ พักทิ้งไว้ประมาณ 20–25 วัน จึงนำมาแช่น้ำใหม่ ทั้งนี้เพราะต้องการให้เชื้อเห็ดพักตัวหลังจากที่ส่งอาหารไปเลี้ยงดอกเห็ดจำนวนมากแล้ว และเป็นการรักษาเปลือกไม้ไม่ให้ล่อนเร็วด้วย ในการเพาะเห็ดถ้าสามารถรักษาเปลือกไม้ไว้ได้นานก็จะให้ผลผลิตมากกว่า ที่จะไม่มีเปลือกไม้ สำหรับไม้บางชนิดที่เปลือกล่อนหรือหลุดง่ายต้องรีบแกะออกทันที เพราะถ้าไม่แกะออกเปลือกจะเน่า แล้วทำให้ท่อนไม้ทั้งท่อนเสียหาย หลังจากแกะเปลือกออกแล้วควรล้างน้ำเอาส่วนที่สกปรกออกทิ้ง อย่าใช้แปรงทองเหลืองขัดเป็นอันขาดเพราะถ้าใช้แปรงขัดไม้แล้ว จะทำให้ผิวของท่อนไม้แห้ง เกลี้ยง ไม่ดูดความชื้น


หลังจากที่เก็บผลผลิตแล้วควรพักไม้ไว้ก่อนแล้วปฏิบัติ เช่นเดียวกันจนกว่าไม้จะผุ ซึ่งถ้าทำถูกวิธีแล้วไม้ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ
10–15 เซนติเมตร ยาว 1 เมตร อาจจะเก็บผลผลิตได้ประมาณ 5–8 กิโลกรัมต่อท่อน ดอกเห็ดที่ได้ก็ไม่เเข็งกระด้าง


ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น
1. ดอกเห็ดออกดอกน้อยและออกไม่ทั่วท่อนไม้

- เชื้อเห็ดเดินยังไม่ทั่วทั้งท่อน

- มีเชื้อจุรินทรีย์ทำลายเชื้อเห็ดก่อน ต้องดูแลความสะอาดของท่อนไม้

- มีเชื้อเห็ดอื่นเข้าแย่งอาหาร

- ท่อนไม้ไม่ได้พักช่วงการออกดอก

- ความชื่นในอากาศหรือในโรงเรือนไม่พอ


2.
มีแมลง และราอื่นรบกวน
เชื้อบาซิลัส ธูรินจิเอนสิท(บีที)ใช้ฆ่าหนอน บาซิลัส ไซโตฟากัส ใช้กำจัดไรเห็ด เชื้อบาซิลลัส ซับติลิส พลายแก้ว ใช้ยับยั้งเชื้อรา เชื้อเหล่านี้เริ่มสร้างสปอร์แบบเอ็นโดสปอร์ตั้งแต่อายุ 14-16 ชั่วโมง ขึ้นไป สปอร์นี้ทนความร้อน 90- 100 องศาเซลเซียส


การเลี้ยงขยายพันธุ์เชื้อ ใช้ บาซิลัส แต่ละชนิด
(แยกเลี้ยง)5 กรัม หรือ 1 ช้อนชา เลี้ยงในน้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผล 24 ชั่วโมง(ไม่เกิน 48 ชั่วโมง)นำมาผสมน้ำ 10 ลิตร รดบนขี้เลื่อย 100 กิโลกรัม ถ้าความชื้นไม่พอเพิ่มด้วยน้ำเปล่าจนพอ ส่วนอาหารเสริมต่างๆเติมตามปกติ คลุกเคล้าเข้ากันดีแล้วบรรจุถุงพลาสติก หรือใช้ฉีดพ่นหน้าก้อนเห็ดทุก 5-7
วัน ป้องกันกำจัดได้ดี


www.rubber.co.th/knowledge/pdf/hed.pdf










สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1832 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©