-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 507 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เห็ด9




หน้า: 2/2



เห็ดโคนน้อย Bean Mushroomข้อมูลเห็ด :
เห็ดโคนน้อย
น่าจะเป็นเห็ดคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทยมาก่อนเห็ดอื่นใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรที่อยู่ทางภาคเหนือ หรือภาคอีสานตอนบน เนื่องจากเห็ดโคนน้อยชนิดนี้ ถูกทำการเพาะด้วยวิธีง่ายๆ ไม่ต้องอาศัยหลักวิชาการอะไรที่ยุ่งยาก ไม่ต้องใส่เชื้อเห็ด ก็สามารถเพาะเห็ดชนิดนี้ได้ โดยเกษตรกรที่ปลูกถั่วต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นถั่วลิสง ถั่วเหลือง หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว นำเอาต้นถั่วกองสุมกันไว้กลางแจ้ง หรือที่ร่มใต้ต้นไม้ ให้สูงประมาณ 80-100 ซม. คลุมด้วยใบไม้ เช่น ทางมะพร้าว รดน้ำทุกวัน หากจะให้ดี รดด้วยน้ำซาวข้าวเข้าไปด้วย ประมาณ 10-15 วันต้นถั่วก็จะเริ่มเน่า ก็จะมีเห็ดโคนน้อยเกิดขึ้น และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทุกเย็นเป็นเวลาติดต่อกันนานนับเดือน

เห็ดโคนน้อยที่เพาะทางภาคเหนือด้วยถั่วลิสง มักจะเรียก เห็ดถั่วดิน หากใช้ต้นถั่วเหลือง ดอกเห็ดจะโตกว่า เรียก เห็ดถั่วเหลือง หรือเห็ดถั่วเน่า อจ. อานนท์ เอื้อตระกูล ผู้ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่บ้านร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ และมีการเพาะเห็ดชนิดนี้กันมากทุกปี เมื่อ ครั้งที่อาจารย์อานนท์ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้ทำการศึกษาทดลอง หาวิธีการเพาะให้ได้ผลที่แน่นอน พบว่า สามารถทำเชื้อเห็ดบริสุทธิ์ของเห็ดนี้ได้ และสามารถเพาะได้ในวัสดุหลากหลายมากกว่าเห็ด ที่สำคัญที่สุด คือ ใช้เวลาแค่ 5-6 วันเท่านั้น ก็จะมีดอกเห็ดให้เก็บเกี่ยวได้

ผลสำเร็จของงานวิจัยดังกล่าว ได้เขียนลงเผยแพร่ทางวิชาการ ในหนังสือพิมพ์กสิกร อันเป็นหนังสือพิมพ์ทางวิชาการของกรมวิชาการเกษตร เมื่อ ปี พ.ศ. 2517 อย่างไรก็ตาม เห็ดนี้ก็ไม่เป็นที่นิยมทำการเพาะกัน ทั้งนี้เนื่องจากทางภาคกลางมักจะเหมารวมเรียกว่า เห็ดขี้ม้า อันเป็นชื่อ อัปมงคล จนกระทั่งปลายปี พ.ศ. 2540 หลังจากเศรษฐกิจฟองสบู่ แตก ผู้คนระส่ำระสายจากการตกงาน สถาบันการเงิน และบริษัทห้างร้านรายใหญ่เลิกล้มกิจการ คนจึงหันเข้ามาหาอาชีพการเกษตร การเพาะเห็ดโคนน้อยจึงได้รับความตื่นตัวอย่างจริงจังนับแต่นั้นมา ประกอบกับ การใช้สารเคมีเกินความพอดี มีการตัดไม้ทำลายป่า บุกรุกพื้นที่ป่า ที่ปกติแต่ละปีมักจะมีเห็ดป่า เห็ดโคนเกิดขึ้น แต่เมื่อธรรมชาติถูกเบียดเบียน เห็ดป่า เห็ดธรรมชาติ รวมทั้งเห็ดโคน ก็หายากเป็นเงาตามตัว ในเมื่อเห็ดโคนน้อย เพาะได้ง่าย ใช้เวลาเพาะไม่นานเพียง 5-6 วัน รสชาติและรูปร่างคล้ายคลึงกับเห็ดโคนมาก ขณะที่เห็ดโคนแท้ที่แปรรูปใส่ขวดขนาด 15 ออนซ์ ราคาขวดละประมาณ 350-400 บาท แต่ต้นทุนการผลิตเห็ดโคนน้อยเพียงขวดละประมาณ 40-50 บาทเท่านั้น

จากสาเหตุดังกล่าว ทำให้การเพาะ
เห็ดโคนน้อย จึงได้รับความสนใจอย่างมาก และทางศูนย์ฯถือเป็นไฮไลท์ของเห็ดที่เร่งทำการส่งเสริม จึงจัดให้มีการฝึกอบรมทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง การอบรมนั้น จะเน้นพิเศษมากกว่าเห็ดอื่นๆในเรื่อง การแปรรูป และทางศูนย์ฯยังรับประกันซื้อผลิตภัณฑ์จากสมาชิกได้อีกเป็นจำนวนมาก



เพาะเห็ดระบบคอนโด นวัตกรรมใหม่ฝีมือคนไทย




       ปัจจุบันแม้ว่าการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่ จะก้าวหน้าไปไกลแสนไกลแล้วก็ตาม แต่ภูมิปัญญาของชาวบ้านในท้องถิ่น ใช่ว่าจะเป็นเรื่องที่ล้าสมัยเสียทีเดียว หากแต่หลายสิ่งหลายอย่างที่ชาวบ้านคิดค้นขึ้นมา อาจมีคุณภาพดีกว่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงเสียอีก


อย่างวิธี "การเพาะเห็ดระบบคอนโดมิเนียม" ถือเป็นอีกนวัตกรรมหนึ่ง ที่ "ศุภโชค แสงดี" เกษตรกรหนุ่มใหญ่ วัย 37 ปี เจ้าของร้านขายไม้ดอก-ไม้ประดับ ย่านคลอง 12 ต.บึงน้ำรักษ์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี ได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้กล่องพลาสติกและลังกระดาษที่เหลือใช้ นำมาเพาะเห็ดฟาง-เห็ดโคนน้อย แทนโรงเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญการเพาะเห็ดวิธีดังกล่าวเหมาะสำหรับคนที่มีพื้นที่อาศัยน้อย อย่าง ทาวน์เฮ้าส์ คอนโดมิเนียม แฟลต และอพาร์ตเมนต์ ใช้พื้นที่เพียง 1 ตารางเมตร ก็สามารถเพาะเห็ดได้นับสิบๆ กิโลกรัม

ศุภโชค บอกว่า เขาเรียนจบด้านเกษตรจากวิทยาเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี หลังจากเป็นลูกจ้างบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง จึงกลับมาเปิดร้านขายต้นไม้ที่บ้านเกิด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ทำได้ 2 ปี เกิดน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2538 ทำให้ขาดทุนหลายหมื่นบาท ต่อมาย้ายไปเช่าที่คลอง 12 ติดถนนรังสิต-นครนายก เปิดร้านขายต้นไม้อีก คราวนี้เน้นไม้ดอกไม้ประดับ


ในระหว่างที่เปิดร้านขายต้นไม้ เขามักใช้เวลาว่างคิดค้นทำกระถางต้นไม้ ทำไม้ดัด ค้นคว้าสูตรทำดินปุ๋ย หรือปุ๋ยอินทรีย์ ปัจจุบันติดยี่ห้อ "ตราต้นไม้ยิ้ม" ล่าสุดค้นพบวิธีเพาะเห็ดแบบใหม่ใช้ลังแทนโรงเรือน และใช้ผักตบชวาแทนฟาง ผลจากการทดลองพบว่า ผลผลิตที่ออกมาเห็ดมีดอกโตกว่าใช้ฟางเสียอีก การที่เรียกว่าเห็ดระบบคอนโด เพราะว่านำลังที่เพาะเห็ดมาเรียงซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ ดูแล้วคล้ายกับอาคารชุดหรือคอนโดมิเนียมนั่นเอง

"ผมเป็นคนชอบคิดโน่น คิดนี่ อย่างวิธีเพาะเห็ดระบบคอนโด ผมเห็นคนอื่นเพาะเห็ดในโรงเรือนมีการใช้ฟาง พอดีในคลองสิบสองมีกอสวะหรือผักตบชวาจำนวนมาก คิดว่าน่าจะใช้ประโยชน์ได้ จึงนำผักตบส่วนหนึ่งมาทำปุ๋ยหมัก อีกส่วนลองมาสับเป็นชิ้นเล็กยาว 1-3 นิ้ว มาตากแห้ง 3-5 วัน ลองนำมาใช้ในการเพาะเห็ดในโรงเรือนดู ปรากฏว่าใช้ได้" ศุภโชค กล่าว


การนำลังมาแทนโรงเรือนนั้น ศุภโชค บอกว่า มีความมิดชิดคล้ายกับโรงเรือนเพาะเห็ด คิดว่าน่าจะเพาะเห็ดฟางและเห็ดโคนน้อยได้ ถือเป็นการจำลองโรงเรือนให้เล็กลง จากนั้นนำลังพลาสติกขนาด 60X 60 ซม.ทำตามขั้นตอนเดียวกันกับการเพาะเห็ดในโรงเรือน จนครบเวลา 20 วันเปิดดู พบว่าใน 1 ลัง จะได้เห็ด 2- 4 กก. ต่อมาลองนำกล่องกระดาษหรือลังเบียร์ โดยเอาพลาสติกบางๆ มารองพื้นลังกันน้ำซึม ปรากฏว่าได้ผลเช่นกัน


"หลังจากทดลองทำหลายครั้งจนมั่นใจว่าเป็นกรรมวิธีเพาะเห็ดแบบใหม่ที่ได้ผล เขาจึงไปจดลิขสิทธิ์ไว้เรียบร้อยแล้ว เมื่อเดือนมีนาคม 2547 ที่ผ่านมา และการจดลิขสิทธิ์ดังกล่าว ไม่ได้แปลว่าไม่ให้คนอื่นมาเลียนแบบ เพียงต้องการให้โลกรู้ว่า การเพาะเห็ดวิธีนี้ผมเป็นคนคิดค้นขึ้นมา หากเกษตรกรจะนำไปปลูกกินหรือปลูกขายก็ได้ ผมไม่ห่วง แต่ถ้านำไปปลูกเพื่อการค้าในแบบของบริษัท ผมยอมไม่ได้ เพราะผมต้องการให้เป็นวิทยาทานแก่เกษตรกรเท่านั้น" ศุภโชค กล่าว


สำหรับการเพาะเห็ดระบบคอนโดนั้น ศุภโชค บอกว่า เหมาะสำหรับคนมีพื้นที่ใช้สอยน้อย เพียงมีพื้นที่ 1 ตารางเมตร วางลังกระดาษได้ 4 ลัง และทับซ้อนกันได้อีกถึง 4 ชั้น เท่ากับพื้นที่ 1 ตารางเมตร เพาะเห็ดได้ 16 ลัง จะได้เห็ดถึง 32-48 กก.


หากใครสนใจที่จะเรียนรู้การเพาะเห็ดฟาง-เห็ดโคนน้อย ระบบคอนโด "ศุภโชค แสงดี" เจ้าตำรับเพาะเห็ดระบบนี้ ยินดีจะสอนให้ในโครงการ "คม ชัด ลึก ฝึกอาชีพ" ในวันเสาร์ที่ 7 สิงหาคมนี้ เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ที่สนใจที่จะนำไปประกอบอาชีพได้ สนใจสอบถามที่ ศูนย์บริการลูกค้าเนชั่น กรุ๊ป โทร .0-2325-5555 ต่อ 2476-7


ที่มา :
  คม ชัด ลึก











การขยายเชื่อเห็ดโคนป่าจากจาวปลวก

ในระบบนิเวศน์หนึ่งๆประกอบด้วยผู้ผลิตผู้บริโภคและผู้ย่อยสลายซึ่งมีความสัมพันธ์เกื้อกูลในลักษณะของห่วงโซ่อาหารและสายใยอาหารตามพื้นผิวของระบบนิเวศน์เอง ก็มีอาณาจักรแห่งผู้ย่อยสลายในธรรมชาติซึ่งประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ๆ ชนิดต่างๆ มากมาย ต่างทำหน้าที่ในการย่อยสลายซากพืช ซากสัตว์ เพื่อการหมุนเวียนพลังงาน ในระบบนิเวศ ประกอบด้วย ปลวก จุลินทรีย์ เห็ด รา สัตว์หน้าดินและสัตว์ในดิน การย่อยสลายเป็นปัจจัยหนึ่งในห่วงโซ่อาหาร (Food Chain) และสายใยอาหาร (Food Web) สัตว์ย่อยสลายชนิดต่างๆมีบทบาทสำคัญในฐานะผู้ย่อย "ขยะธรรมชาติ" เช่นซากพืช ซากสัตว์ ให้ผุพังและเปลี่ยนแปลงเป็นฮิวมัส หรืออินทรีย์วัตถุภายในดินกลายเป็นธาตุอาหารของพืชและสัตว์ชนิดอื่นๆ ทำให้เกิดการถ่ายทอดและหมุนเวียนพลังงานสร้างความอุดมสมบูรณ์ก่อให้เกิดความสมดุลในระบบนิเวศน์

ปลวก เป็นแมลงสังคมที่มีความสำคัญอยู่ในระบบนิเวศ ป่าไม้ คือ เป็นทั้งผู้สร้างและผู้ทำลาย โดยปลวกทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลาย (decomposer) พวกอินทรียวัตถุต่างๆ ที่อยู่ในป่าธรรมชาติเช่น ซากพืช เศษไม้ ใบไม้ หรือท่อนไม้ที่หักทับถมกันอยู่ให้เปลี่ยนเป็นฮิวมัสและก่อให้เกิดการหมุนเวียนอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องของธาตุอาหารในดินสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินในป่าธรรมชาติ ปลวก ยังมีบทบาทเกี่ยวพันเป็นลูกโซ่อาหารที่ซับซ้อนอยู่ในระบบนิเวศ นอกจากนี้รังปลวก ขนาดใหญ่ที่สร้างรังขึ้นมาบนดิน พืช หรือสัตว์ชนิดต่างๆ สามารถใช้เป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยได้อีกด้วย ความสามารถในการย่อยสลายอินทรียวัตถุและเซลลูโลสในไม้ของปลวกชนิดต่างๆ พบว่ามีความสัมพันธ์กับชนิดของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของปลวก ซึ่งจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิด ของปลวกและสภาพแวดล้อม ปลวก ในประเทศไทยมีหลายชนิดทุกชนิดจะกัดกินไม้ทั้งนั้นบางชนิดมีจุลินทรีย์ ช่วยย่อยเซลลูโลสอยู่ในระบบทางเดินระบบอาหาร แต่บางชนิดมีการย่อยไม้นอกตัวปลวกโดยการสร้างจาวปลวก หรือ fungus garden ในฤดูกาลที่เหมาะสมจะเกิดเห็ดปลวก หรือเห็ดโคนขึ้น ซึ่งเราเก็บมารับประทานได้ เห็ดปลวกปัจจุบันนับว่าน้อยลง และราคาแพงขึ้น เป็นการกระตุ้นนักวิชาการให้ศึกษาวิจัยเห็ดนี้ ซึ่งปัจจุบันมีผลการศึกษาในระดับหนึ่ง ปลวก เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญต่อการเกิดของเห็ดโคนมาก เพราะหากไม่มีปลวกอาศัยอยู่ใน จอมปลวกแล้ว เห็ดโคนก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ ส่วนการหาเห็ดโคนนั้นภูมิปัญญาท้องถิ่นก็ยังมีเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ ด้วยว่า หาก จะหาเห็ดโคนให้เจอง่ายๆ แล้วต้องหาตอนกลางคืนเท่านั้น เพราะใต้ต้นเห็ดโคนจะมีสารเรืองแสงอ่อนๆ คือธาตุฟอสฟอรัสอยู่ การหาเห็ดโคนตอนกลางคืนจึงหาเจอได้ง่ายกว่าหาตอนกลางวันมาก



เห็ดโคน
เป็นเห็ดป่าเติบโตได้ดีในสภาพธรรมชาติ ความชื้นและอุณหภูมิที่พอเหมาะ มีรูปร่างเหมือนเห็ดทั่วไปคือมีก้านเห็ดและหมวกเห็ด ดอกใหญ่ โคนอวบหนา มีกลิ่นเฉพาะตัว มักเกิดตามจอมปลวก จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เห็ดปลวก มีการอพยพของปลวกที่เราเรียกว่า แมลงเม่า ออกจากรังปลวกเดิม เพื่อสร้างรังใหม่ การที่ฝนตกชุกจนมีความชุ่มชื้นเหมาะสม เมื่อปลวกในรังปลวกมีปริมาณลดลง ตุ่มดอกเห็ดเล็กๆ สามารถมีโอกาสที่จะเจริญเติบโตเป็นดอกเห็ดที่มีความชุ่มชื้นออกมาได้คนไทยเรา รู้จักเห็ดชนิดนี้มานานและรู้ว่าสามารถนำมาทำอาหารได้หลากหลายชนิด ประกอบกับการที่เห็ดโคนเองมีรสชาติที่น่ารับประทาน จึงจัดเป็นเห็ดหายากจะต้องหาตามป่าเขาห่างไกล ความเจริญ ซึ่งเห็ดโคนนั้นมีรสหวานอร่อยกว่าเห็ดอื่นๆ ปรุงง่ายเพียงต้มกับเกลือก็ได้น้ำต้มเห็ดรสหวานตามธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้บิด แก้คลื่นไส้ อาเจียน แก้ไอละลายเสมหะ การทดลองทางเภสัชศาสตร์พบว่าน้ำที่สกัดจากเห็ดโคนสามารถยับยั้งเชื้อโรคบางชนิดเช่น เชื้อไทฟอยด์ได้ จึงเป็นที่นิยมกันมาก ซึ่งเห็ดโคนจะมีวางขายเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น

วิธีการเก็บเห็ดโคน ต้องใช้มือถอน ไม่ให้ใช้มีด จอบ หรือไม้ปลายแหลมที่อาจไปทำลายสวนเห็ดรา (fungus garden) ของปลวกซึ่งเป็นจุดกำเนิดที่ทำให้เห็ดโคนเกิดขึ้นมาได้ และเพื่อป้องกันไม่ให้รบกวนช่องรูพรุนๆ ภายในสวนเห็ดราหรือโนดูล (nodule) ที่อยู่ในรังปลวก เวลาเด็ดเห็ดโคนไปก็ให้เด็ดให้เหลือก้านติดอยู่ที่เดิม ไม่ให้ถอนส่วนที่เป็นสวนเห็ดราออกมาด้วย"

เห็ดโคน จึงจัดว่าเป็นเห็ดที่นิยมบริโภคถึงแม้ว่าจะมีราคาแพง และก็มีหลายหน่วยงานที่ทดลอง วิจัยเพาะพันธุ์ผสมสูตรอาหารทางเคมีและเทคนิควิธีมากมาย ในการเพาะพันธ์เห็ดโคน แต่ก็ยังไม่สามารถประสบความสำเร็จจนถึงการเพาะเป็นอาชีพได้ ประโยชน์ของเชื้อเห็ดโคนป่าจากจาวปลวก (fungus garden) ที่มีต่อเกษตรกรและชุมชน๑.ใช้สำหรับย่อยสลายฟางข้าวใ


http://www.moac-info.net/modules/news/news_view.php?province_c=66&joomla=1&News_id=140610







หน้าก่อน หน้าก่อน (1/2)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (6722 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©