-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 114 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เห็ด3




หน้า: 4/7



การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน


อุปกรณ์และขั้นตอนในการเพาะ

  • โรงเรือนหรือห้องเพาะ  แต่ละหลังขนาดไม่ต่ำกว่า กว้าง X ยาว X สูง = 4 x 6 X 3.5 เมตร มีประตูหัวท้ายหน้าต่าง แบบเปิด-ปิดเพื่อระบายอากาศร้อนและอากาศเสียในโรงเรือนหรือห้องเพาะ
  • ในโรงเรือนบุด้วยผ้าพลาสติกทั้งหมด  ซึ่งผ้าพลาสติกยาติดผนังห้องด้วยกาวยางหรือเย็บให้ติดกันด้วยเครื่องรีดพลาสติก เพื่อให้เก็บไอน้ำร้อนสำหรับอบปุ๋ยหมักและเก็บความชื้นขณะเพาะ
  • ชั้นเพาะในโรงเรือน   มี 2 แถว ๆ ละ 4 ชิ้น แต่ละชั้นมีความกว้างประมาณ 1-1.25 เมตร ยาวประมาณ 5 เมตรและสูง ห่างกัน ประมาณ 50 เซนติเมตร พื้นของชั้นปูด้วยไม้รวกหรือตะแกรงโลหะหรือตะแกรงพลาสติก
  • เครื่องกำเนิดไอน้ำร้อน   มีทั้งชนิดใช้ไฟฟ้าซึ่งราคาสูงและชนิดที่ประกอบด้วยอิฐก้อนหม้อต้มน้ำที่ประดิษฐ์ขึ้นจากแผ่นเหล็ก หรือจะใช้ถังน้ำมัน 200 ลิตร จำนวน 2-3 ใบ แป๊บน้ำต่อจากหม้อต้มน้ำ ผ่านเข้าไปภายในห้องเพาะวางไว้ที่พื้นใต้ชั้นเพาะของแต่ละแถว แป๊บน้ำส่วนนี้จะเจาะรูเล็ก ๆ ห่างกันประมาณ 10 ซม. วางไปตามแนวยาวใต้ชั้นเพาะ
  • ไอน้ำร้อนภายในโรงเรือนขณะอบปุ๋ยหมัก   ควรควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 60-65 องศาเซลเซียส นาน 3- 4 ชั่วโมง
  • สูตรปุ๋ยหมักและขั้นตอนการหมักได้แก่

    สูตรที่ 1   ฟางข้าว (ชานอ้อยหรือขี้เลื่อย) ผสมกับขี้ฝ้าย รำข้าว ปูนขาวในปริมาณ 50, 45, (5-10) และ 5 กก.


     

    วิธีการหมัก   นำฟางข้าวสับให้สั้นขนาด 2 นิ้ว และขี้ฝ้ายแช่น้ำจนอิ่มตัวแล้วใส่พิมพ์ไม้ซึ่งมีขนาด 1.5 X 1.5 X 1 เมตร โดยใส่ฟางและขี้ฝ้ายสลับกันเป็นชั้น ๆ โรยตามด้วยรำข้าวทำเป็นชั้น ๆ จนหมดจึงคลุม ด้วยผ้าพลาสติก กองในลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม 2 วัน แล้วกลับกองเป็นรูปสามเหลี่ยมอีก 2 ครั้ง จึงกลับกองใส่ ปูนขาวดีเป็น แปลงสี่เหลี่ยมผื่นผ้ายาวขนาดความสูงของกองประมาณ 50 ซม. และรักษาอุณหภูมิในกองให้อยู่ในช่วง 45-50 องศาเซลเซียส นาน 2 วัน แล้วจึงนำขึ้นชั้นในโรงเรือน นำหนักวัสดุแห้งที่ใช้หมักในห้องขนาด 4 X 6 เมตร ประมาณ 400 กก. ต่อห้องหรือโรงเรือน  


  • สูตรที่ 2   ขี้ฝ้าย รำ ปูนขาว ในอัตราส่วน 100 : (5-10) : 5 กก.

  • วิธีการหมัก   หมักขี้ฝ้ายกับน้ำในตอนเช้าและบ่ายหมักผสมกับรำ กองเป็นรูปสี่เหลี่ยม 2 วัน แล้วกลับกองเป็นรูปสามเหลี่ยม 2 วัน เติมปูนขาวแล้วจึงกลับกองตีเป็นแปลงสี่เหลี่ยมยาวขนาดความสูงของกองประมาณ50 ซม. และรักษาอุณหภูมิในกองให้อยู่ในช่วง 45-50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 วัน แล้วจึงนำขึ้นชั้นในโรงเรือน น้ำหนักวัสดุแห้งที่ใช้หมักในห้องขนาด 4 X 6 เมตร ประมาณ 400 กก. ต่อห้องหรือโรงเรือนการนำขึ้นชั้น ปุ๋ยที่ใช้หมักแล้วจะนำมาวางบนชั้น ซึ่งปูด้วยฟางที่ผ่านการแช่น้ำจนอิ่มตัวหรือผ้าพลาสติก (ที่เจาะรู) ปริมาณของ ปุ๋ย จะกองบนชั้นมีความหนาประมาณฝ่ามือหรือประมาณ 4 นิ้ว ต้มน้ำปล่อยไอน้ำร้อนเข้าในห้องเพาะ ควบคุม อุณหภูมิภายในห้องเพาะอยู่ในช่วง 60-65 องศาเซลเซียส จึงโรยเชื้อเห็ดฟาง
  • เชื้อเห็ด   คัดเลือกเชื้อเห็ดที่ดี โดยไม่มีเชื้อราดำ ราขาว ราเขียวปนเปื้อน เส้นใยเจริญบนปุ๋ยยาวต่อเนื่องกัน ก้อนเชื้อเห็ด รวมตัวกันจับแล้วไม่หลุดร่วงกระจายมีกลิ่นหอมของเห็ดฟางจากก้อนเชื้อชัดเจนนำมาโรยบนผิวหน้าปุ๋ยหมักที่อบไอน้ำ แล้วใช้เชื้อเห็ดฟางประมาณ 2-2.5 เปอร์เซ็นต์ ต่อวัสดุหมักแห้ง
  • การดูแลรักษา   ในช่วง 1-5 วัน เป็นระยะเจริญเติบโตของเส้นใยซึ่งต้องการอุณหภูมิสูงจึงต้องรักษาอุณหภูมิในโรงเรือน ไว้ให้ไม่ต่ำกว่า 32 องศาเซลเซียส แต่ไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส และความชื้นในห้องไม่ควร ต่ำกว่า80% โดยให้ ความชื้นใต้ชั้นเพาะและรอบๆผนังห้องถ้าหน้าปุ๋ยแห้งควรให้น้ำเป็นละอองฝอยจนเส้นใยเริ่มจับเป็นตุ่มดอกเล็ก ในวันที่ 4-6 ต้องการอุณหภูมิที่ต่ำจึงลดความร้อนในห้องเพาะลงโดยควบคุมให้อยู่ระหว่าง 28-32 องศาเซลเซียส โดยระบายความร้อน และอากาศเสียออก ด้วยการเปิดประตูหน้าต่างออกให้หมดแล้วโชยน้ำให้รอบ ๆ ผนังและบริเวณพื้นใต้ชื้นรวมทั้งผิวหน้า ปุ๋ยหมักบาง ๆ จะทำให้ความร้อนลดลงได้ และเป็นการให้แสงสว่างรวมั้งอากาศบริสุทธิ์เข้ามา เพื่อส่งเสริมการเจริญ เป็นดอกเห็ด ดังนั้นในช่วงดอกจำเป็นต้องควบคุมอุณหภูมิให้ดีโดยหมั่นให้น้ำกับพื้นแล้วกวาดออกหมุนเวียนเอาอากาศ บริสุทธิ์ เข้ามาทำเช่นนี้ก็พอจะลดอุณหภูมิในห้องได้
  • การสุขาภิบาล   จำเป็นต้องรักษาพื้นที่หมักปุ๋ยและโรงเรือนให้สะอาดอยู่ตลอดเวลา มีร่องน้ำสำหรับระบายน้ำเสีย ซึ่งเกิดจาก การหมักปุ๋ย ให้ออกไปจากบริเวณปฏิบัติการเพาะ เศษปุ๋ยหมักและปุ๋ยหมักที้เพาะ แล้วต้องนำไปไว้ที่อื่นเพื่อป้องกันไม่ให้มี เชื้อโรค แมลงศัตรูเห็ดสะสมในบริเวณนั้น ปุ๋ยหมักที่ใช้แล้วสามารถนำไปปรุงแต่งใหม่เพื่อใช้เพาะเห็ดถุงหรือใช้เป็น ปุ๋ยหมักบำรุงดินพืชต่อไปได้เป็นอย่างดี


ที่มา : http://www.kasetesarn.com/techno/mushroom-fang4.html
จัดทำโดย : นางสาวธัญฐิติ มาแสง








ต้นทุนการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือน



ต้นทุนขั้นแรก



1. โรงเรือน (สร้างด้วยอิฐบล๊อค)

=

8,000

บาท

(กว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร สูง 2 1/2 เมตร)




2. ชั้นวางเพาะเห็ด (ทำด้วยไม้ไผ่)

=

2,000

บาท

3. พลาสติกเคลือบ

=

3,000

บาท

4. เครื่องกำเนิดไอน้ำ (ใช้ถังน้ำมัน

=

3,000

บาท

200 ลิตร 2 ใบ พร้อมการก่อสร้างเตา)




5. บ่อหมักไส้ฝ้าย

=

200

บาท

6. วัสดุอื่น ๆ เช่น สายยาง แป๊บน้ำ

=

4,000

บาท

ข้อต่อต่าง ๆ ฯลฯ




รวม

=

19,200

บาท

ต้นทุนขั้นที่ 2 เป็นค่าใช้จ่ายในการเพาะแต่ละครั้ง


1. ค่าไส้ฝ้าย 100 กก.ๆ ละ 4 บาท

=

400

บาท

2. เชื้อเห็ดฟาง 60 ถุงๆ ละ 2 บาท

=

120

บาท

3. ปูนขาว ยิปซั่มและอาหารเสริม

=

100

บาท

4. ค่าเชื้อเพลิง

=

100

บาท

รวม

=

720

บาท


หมายเหตุ
: ราคาวัสดุเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละท้องถิ่น


ผลตอบแทน

ในการเพาะเห็ดฟางแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 12-17 วัน (หรือ 20 วัน ถ้าต้องการเก็บดอกเห็ดรุ่นที่ 2) ผลผลิตที่ได้ควรอยู่ระหว่าง 80-100 กิโลกรัม/ห้อง เมื่อหักค่าใช้จ่ายในการเพาะแล้วก็จะได้กำไรพอสมควร

หมายเหตุ
: 1 ปี สามารถเพาะเห็ดได้ 15 รุ่น ราคาดอกเห็ดก็เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30-35 บาท






 

    

           เห็ดฟางขี้เรื่อยผักตบชวา
                  
             วัสดุเพาะ
1 ขี้เลื่อยที่เพาะเห็ดในถุงพลาสติกหมดอายุแล้ว 150  ก้อน
2 ผักตบชวาสดหั่น 10  กิโลกรัม
3 แป้งข้าวเหนียวหรือแป้งสาลี 50  กรัม
4 เชื้อเห็ดฟางอายุ 10 วัน 10  ถุง


วิธีปฏิบัติ
 1. นำก้อนเชื้อที่เพาะเห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดเป๋าฮื้อหรือเห็ดที่เพาะในถุงพลาสติกอื่น ๆ  ที่หมดอายุแล้ว เลือกก้อนเชื้อที่ไม่มีเชื้อราปนเปื้อน เช่น ไม่มีราเขียว ราดำ ราเหลือง ราสีชมพู และราขาวนวล ก้อนเชื้อควรผ่านการเปิดดอกมาแล้วในระยะเวลา ประมาณ 3-4 เดือน ไม่มีกลิ่นเน่าหรือแฉะน้ำ และไม่มีโรคแมลงทำลาย
                                
2. นำก้อนเชื้อมาบดให้แตกออกหยาบ ๆ โดยบางส่วนอาจมีความละเอียดบ้างเล็กน้อย ตรวจสอบความชื้น ให้มีความชื้นหมาด ๆ หรือใช้มือกำดูพอชื้นมือชื้นมือ  หรือมีความชื้นประมาณ 60% 
                                 
3. ดำเนินการเพาะเห็ดฟางตามกรรมวิธีการเพาะเห็ดฟางในตระกร้า จะได้เห็ดฟางจำนวน 10 ตะกร้า ผลผลิตเฉลี่ย 1.6 กิโลกรัม / 1 ตะกร้า โดยใช้เวลาในการเก็บผลผลิตประมาณ 6 วัน


ข้อสังเกต
 1. ฤดูกาลเพาะเห็ดฟางควรเป็นฤดูร้อนหรือฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม)
 2. สถานที่เพาะควรมีความชุ่มชื้นและมีร่มเงาจากต้นไม้
 3. ขนาดดอกเห็ดฟางใหญ่มาก บางดอกมีน้ำหนักถึง 100 กรัม
 4. ก้อนเชื้อเห็ดที่ใช้เพาะเป็นเห็ดนางรม และเห็ดภูฐาน
 5. เก็บได้นาน 6 ครั้ง (6 วัน)
 6. วิธีเก็บให้ใช้มีดคัตเตอร์ตัดโคนดอกเห็ด ห้ามใช้มือบิดดอกเห็ด
 7. ดอกเห็ดฟางมีคุณภาพดีมาก มีโครงสร้างที่แข็งกรอบ น้ำหนักมากมีความสมบูรณ์มาก สะอาด มีความน่ารับประทานมาก


                                          


       





หน้าก่อน หน้าก่อน (3/7) - หน้าถัดไป (5/7) หน้าถัดไป


Content ©