-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 301 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เห็ด3




หน้า: 3/7




วิธีการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย

การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย เป็นวิธีการที่ได้ประยุกต์มาจากการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง ข้อดีของการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยก็คือ สามารถจะใช้วัสดุเพาะได้หลายอย่าง เช่น ฟาง ผักตบชวา ต้นถั่ว ต้นกล้วย ขี้เลื่อยที่ผุแล้ว ชานอ้อย เหล่านี้เป็นต้น เป็นการเพาะที่ใช้วัสดุน้อยแต่ได้ผลผลิตดอกเห็ดได้สูง แต่เมื่อเห็ดออกดอกแล้วใช้เวลาการเก็บผลผลิตทั้งหมดได้ในระยะเวลาสั้นมาก สามารถรู้ผลผลิตค่อนข้างแน่นอน และเหมาะในการเพาะเป็นอาชีพหรือทำไว้เพื่อใช้กินเองในครัวเรือน เนื่องจากการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยนี้ขนาดกองเล็กมาก ดังนั้นเพื่อสะดวกในการเพาะจึงนิยมทำไม้แบบเพื่อจะอัดวัสดุที่จะเพาะให้เป็นรูปกองเล็ก ๆ ไดh

ขั้นตอนในการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย
1. เตรียมดินให้เรียบ พลิกหน้าดินตากแดดไว้ 3-4 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรค

2. การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยใช้ได้ทั้งตอซังและปลายฟางถ้าเป็นตอซังแช่น้ำพออ่อนตัวก็นำมาเพาะได้ ปกติประมาณ 1 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นปลายฟางแข็ง ๆ ควรแช่น้ำประมาณ 1-2 วัน หรือจุ่มน้ำแล้วนำมากองสุมกันไวhประมาณ 1 คืน ให้อิ่มตัวนิ่มดีเสียก่อนจึงจะใช้ได้ดี ถ้าเป็นผักตบชวาหรือต้นกล้วยจะสับหรือไม่สับก็ได้ แต่ต้องแช่น้ำพอนิ่ม ปกติแช่น้ำประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วนำมาใช้กองได้เลย

3. หลังจากแช่น้ำวัสดุที่จะใช้เพาะได้ที่แล้ว ให้นำวัสดุที่ใช้เพาะนั้น ใส่ลงในกะบะไม้ที่วางเอาด้านกว้างซึ่งมีลักษณะป้านลงสัมผัสพื้น ให้ด้านแคบอยู่ข้างบนใส่ให้สูงประมาณ 4-6 นิ้ว ถ้าเป็นตอซังให้วางโคนตอซังหันออกด้านนอก ส่วนปลายอยู่ด้านในใช้มือกดฟางให้แน่นพอสมควร แต่ถ้าเป็นปลายฟางควรขึ้นไปย่ำพร้อมทั้งรดน้ำให้ชุ่ม ข้อควรระวังอย่าให้แฉะหรือแห้งจนเกินไป

4. นำอาหารเสริมที่ชุบน้ำแล้วโรยเป็นแถบกว้างประมาณ 2 นิ้ว รอบ ๆ ด้านทั้งสี่ด้านหนาประมาณ 1 นิ้ว

5. แบ่งเชื้อเห็ดฟางจากถุงซึ่งปกติเชื้อเห็ดฟาง 1 ถุง หนักประมาณ 200 กรัม ออกเป็น 3-4 ส่วน เท่า ๆ กันจากนั้นโรยเชื้อเห็ดฟาง 1 ส่วน โดยโรยลงบนอาหารเสริมให้ทั่วและชิดกับขอบของแบบไม้ทั้งสี่ด้านก็เป็นการเสร็จชั้นที่ 1


6. ทำชั้นที่ 2 และ 3 หรือ 4 ต่อไปก็ทำเช่นเดียวกับชั้นที่ 1 ทุกอย่าง เมื่อทำมาถึงขั้นสุดท้าย ให้โรยอาหารเสริมและเชื้อเห็ดให้เต็มทั่วหลังแปลง


7. นำฟางที่แช่น้ำมาปิดทับให้หนา 1-2 นิ้ว แล้วเอาแบบไม้ออกโดยใช้มือข้างหนึ่งกดกองฟางไว้และทำกองอื่นต่อ ๆ ไป


8. ทำกองอื่น ๆ ต่อไปให้ขนานกบกองแรก โดยเว้นระยะห่างประมาณ 6-12 นิ้ว

9. ช่องว่างระหว่างกองแต่ละกองสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเพิ่มผลผลิตได้อีก โดยอาจจะโรยเชื้อเห็ดฟางลงไปบนช่องว่างระหว่างกอง เพราะบริเวณนี้ก็สามารถทำให้เกิดดอกเห็ดได้ จากนั้น รดน้ำดินรอบ ๆ กองให้เปียกชื้น

10. คลุมกองฟางด้วยผ้าพลาสติก โดยใช้ 2 ผืนเกยทับกันตรงกลางคลุมให้สูงกว่ากองฟางเล็กน้อยโดยคลุมเป็นแถว ๆ ถ้าอากาศร้อน ให้คลุมห่าง อากาศเย็นให้คลุมชิดหรืออาจคลุมติดกองเลย ในกรณี อากาศเย็นจัด การคลุมพลาสติกเป็นเรื่องสำคัญที่แต่ละแห่งในแต่ละ ฤดูจะต้องดัดแปลงไปตามความต้องการของเห็ด คือ ช่วงระยะแรก ราววันที่ 1-2 เชื้อเห็ดต้องการอุณหภูมิประมาณ 35-38 ํซ. และ ในวันต่อ ๆ มาต้องการอุณหภูมต่ำลงเรื่อย ๆ จนราววันที่ 8-10 ซึ่ง เป็นวันที่เก็บผลผลิตนั้นต้องการอุณหภูมิราว 30 องศาเซลเซียส


11. นำฟางแห้งมาคลุม ทับผ้าพลาสติกอีกครั้งหนึ่งจนมิดเพื่อป้องกันแสงแดด แล้วใช้ของหนัก ๆ ทับปลายผ้าให้ติดพื้นกันลมตี





เพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์ม

อาชีพเสริมทำเงิน ของ”สฤษดิ์ วิเศษมาก”

ci5bgkia767e89jika7b7 เพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์ม อาชีพเสริมทำเงิน ของสฤษดิ์ วิเศษมาก ปาล์มน้ำมันพืชเศรษฐกิจของ จ.กระบี่ ที่วันนี้ไม่ใช่มีราคาแค่เมล็ดเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานอุตสาหกรรม เท่านั้น แต่ยังมีส่วนอื่นๆ ของปาล์มที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพิ่มมูลค่าให้แก่เกษตรกรเจ้าของ สวนปาล์มได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะทะลายปาล์ม ที่เมื่อก่อนมองดูเป็นสิ่งที่ไร้ค่า แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นสิ่งที่มีราคา เป็นที่ต้องการของเกษตรกรที่ยึดอาชีพเพาะเห็ดฟางอย่างมาก


หลังจากที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก) จ.กระบี่ ร่วมกับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่ จัดหลักสูตรอบรมการใช้ประโยชน์จากปาล์มน้ำมันแก่เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มในเขต พื้นที่ปฏิรูปที่ดิน ภายใต้โครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ให้มีความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เข้าถึงองค์ความรู้และจัดการเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการ ประกอบอาชีพเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน

สฤษดิ์ วิเศษมาก เกษตรกรชาวสวนปาล์ม วัย 30 ปีเศษ อยู่บ้านเลขที่ 100 หมู่ 5 ต.โคกยาง อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ หนึ่งในผู้สำเร็จจากการอบรมในหลักสูตรดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันได้หันมายึดอาชีพเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์มอย่างเป็นล่ำเป็นสัน มีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตเดือนละไม่ต่ำกว่า 10,000-15,000 บาท โดยมีตลาดหลักอยู่ที่กรุงเทพฯ ทั้งตลาดไทและสี่มุมเมือง

“ผมเป็นคนสุราษฎร์มาอยู่กระบี่ได้ 4-5 ปีแล้ว มาแต่งงานมีครอบครัวที่นี่ มีสวนปาล์มอยู่ 15 ไร่ แต่ไม่ค่อยสนใจมากนัก เพราะอาชีพที่ทำรายได้หลักผมทุกวันนี้ก็คือการเพาะเห็ดฟางขาย”

สฤษดิ์บอกว่าการเพาะเห็ดฟางของเขาจะต่างจากที่อื่นๆ ที่ต้องลงทุนสร้างโรงเรือนขนาดใหญ่หรือใช้อุปกรณ์ในการเพาะ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูง ในขณะที่ตนเองนั้นจะใช้ทะลายปาล์ม ซึ่งเป็นเศษวัสดุเหลือใช้ที่หาได้ง่ายในพื้นที่มาใช้เป็นอุปกรณ์ในการเพาะ เห็ด โดยเมื่อก่อนจะใช้ทะลายปาล์มจากสวนของตนเอง แต่หลังจากได้ขยายพื้นที่การเพาะเห็ดเพิ่มขึ้น จึงต้อง

jchaabag6ieb9c9i9ida8 เพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์ม อาชีพเสริมทำเงิน ของสฤษดิ์ วิเศษมาก

ไปหาซื้อจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มในราคาตันละ 400 บาท
“ตอนนี้ที่บ้านทำอยู่ประมาณ 100 ร่อง แต่ละร่องจะยาว 4 เมตร กว้าง 80 เซนติเมตร และจะใช้ทะลายปาล์ม 3 หัวเรียงติดต่อกัน ผลผลิตแต่ละร่องจะเก็บได้ประมาณ 5-6 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งทุกวันนี้ผลผลิตที่เก็บได้เฉลี่ยอยู่ที่ 60 กิโล/วัน โดยจะส่งให้พ่อค้าที่กรุงเทพฯ ทั้งที่ตลาดไทและตลาดสี่มุมเมือง ในราคา 38-40 บาทต่อกิโลกรัม โดยจะไปส่งที่สนามบินกระบี่ทุกวัน”


สฤษดิ์ยอมรับว่าอาชีพการเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์มใน จ.กระบี่ ขณะนี้เริ่มมีผู้สนใจกันมากขึ้น เกษตรกรชาวสวนปาล์มใน จ.กระบี่ ส่วนใหญ่ได้หันมาเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์มกันมากขึ้น เนื่องจากเป็นอาชีพที่ทำรายได้ดีและไม่มีปัญหาในเรื่องตลาด บางพื้นที่ก็มีการรวมกลุ่มทำกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ซึ่งที่ผ่านมาก็เป็นที่น่ายินดีที่หน่วยงานภาครัฐได้ให้ความa7hg7bdcf786hc7hhbaek เพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์ม อาชีพเสริมทำเงิน ของสฤษดิ์ วิเศษมากสำคัญ มีโครงการต่างๆ จัดอบรมถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรชาวสวนปาล์มมากขึ้น

“อย่างเมื่อก่อนการเพาะเห็ดของผมจะทำแบบง่ายๆ ไม่มีความรู้ทางวิชาการเข้ามาจับ ทำให้บางครั้งก็เกิดปัญหาผลผลิตเสียหายมาก มีโรคระบาดเกิดขึ้น ไม่รู้จะทำอย่างไรก็ต้องทำลายทิ้ง  ต้องเป็นหนี้เป็นสินต่อ ส่วนทะลายปาล์มที่หมดสภาพจากการเพาะเห็ดเขาก็แนะนำให้นำไปทำปุ๋ยอินทรีย์ หลังจากที่เมื่อก่อนทิ้งอย่างเดียว” สฤษดิ์ย้ำชัด

นับเป็นอีกก้าวความสำเร็จของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มอย่าง “สฤษดิ์ วิเศษมาก” ที่สามารถนำวัสดุที่เหลือใช้อย่างทะลายปาล์มมาประยุกต์เป็นโรงเรือนสำหรับ เพาะเห็ดฟางเพื่อเสริมรายได้อีกทางหนึ่ง


ที่มา  :  คม ชัด ลึก   www.komchadluek.net/ -




เพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก

"เห็ดฟาง" เป็นเห็ดที่คนไทยรู้จักดีและนิยมบริโภคมากที่สุดชนิดหนึ่ง เป็นเห็ดที่มีการวางขายกันทั่วประเทศและมีตลอดทั้งปี วิธีการเพาะเห็ดฟางในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันได้มีรูปแบบในการเพาะมากมายหลายวิธีจนถึงรูปแบบอุตสาหกรรม เช่น การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนเพื่อส่งผลผลิตเข้าแปรรูปเป็นเห็ดฟางกระป๋องเพื่อการส่งออก ที่ผ่านมาการเพาะเห็ดแบบนี้ส่วนใหญ่จะล้มเหลวและพบกับสภาวะขาดทุน เนื่องจากเป็นวิธีการเพาะที่ใช้ต้นทุนในการผลิตสูงและมีเทคโนโลยีค่อนข้างซับซ้อน ในขณะที่วิธีการเพาะเห็ดฟางแบบชาวบ้านส่วนใหญ่จะเพาะแบบกองเตี้ย ถึงแม้วิธีการนี้จะเป็นรูปแบบการเพาะที่ต้นทุนต่ำก็จริง แต่จะพบข้อเสียอยู่บ้างตรงที่ทำแล้วจะต้องทำอีก

อาจารย์สำเนาว์ ฤทธิ์นุช อาจารย์จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยนาท อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ได้ประยุกต์วิธีการเพาะเห็ดแบบกองเตี้ยเข้ากับวิธีการเพาะเห็ดแบบโรงเรือนมาเป็น วิธีการเพาะเห็ดในตะกร้าพลาสติก ประสบผลสำเร็จได้ผลผลิตเห็ดฟางดีและลงทุนน้อย นับเป็นนวัตกรรมใหม่ของการเพาะเห็ดฟางเนื่องจากปฏิบัติได้ง่ายและปลอดสารพิษ นับเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่กำลังได้รับความสนใจมากในขณะนี้

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพาะ
อาจารย์สำเนาว์บอกว่า ในการเริ่มต้นการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติกคือ เตรียมพื้นที่ในการเพาะซึ่งจะอยู่ในสภาพกลางแจ้งหรือใต้ร่มไม้ใหญ่ก็ได้ วิธีการสร้างโรงเรือนเน้นในเรื่องการพรางแสงแดด ป้องกันลมแรงและสัตว์เลี้ยงได้ ก่อนเพาะจะต้องกำจัดแมลง เช่น ปลวก มด ฯลฯ ควรจะโรยปูนขาวให้ทั่วก่อนที่จะเพาะเห็ด 2-3 วัน สภาพพื้นดินจะต้องมีความชุ่มชื้น เป็นที่สังเกตว่าบริเวณพื้นที่เพาะเห็ดฟางที่เป็นพื้นดินจะให้ผลผลิตเห็ดสูงกว่าที่พื้นเป็นคอนกรีต เนื่องจากพื้นดินสามารถรักษาความชุ่มชื้นและอุณหภูมิภายในได้สม่ำเสมอดีกว่านั่นเอง

วัสดุเพาะหลักคือ ขี้เลื่อยใหม่หรือขี้เลื่อยเก่าจากก้อนเห็ดที่ผ่านการเพาะมา โดยควรเลือกก้อนเชื้อเห็ดเก่าที่ดูสะอาด ก็นำมาใช้เป็นวัสดุเพาะได้ดี หรือ "ฟางข้าว" เกษตรกรควรจะเลือกฟางจากแปลงนาที่ไม่มีการใช้สารเคมีฉีดพ่นป้องกันแมลงและโรคศัตรูพืชมาก่อน โดยเฉพาะสารเคมีในกลุ่มยากันราชนิดต่างๆ เพราะจะมีผลต่อการเจริญของเส้นใยเห็ด เปลือกถั่วเหลือง เปลือกถั่วเขียว ชานอ้อย กากมันสำปะหลัง นำมาใช้เพาะได้ทั้งสิ้น แต่วัสดุเพาะดังกล่าวทั้งหมด อาจารย์สำเนาว์บอกว่า จะต้องนำมาแช่น้ำก่อนที่จะเพาะ 1 คืน ในส่วนของอาหารเสริมที่นิยมและหาง่ายที่สุดก็คือ ผักตบชวา (ผักตบชวาที่ขึ้นอยู่ในน้ำไหลจะเพาะเห็ดฟางได้ดีกว่าที่อยู่ในน้ำนิ่ง) สำหรับเกษตรกรที่ใช้ไส้นุ่นเป็นอาหารเสริม ก่อนใช้ควรจะนำมาแช่น้ำพอชุ่มนานประมาณ 15 นาที (ไส้นุ่นที่ไม่ได้เอาเมล็ดออกจะมีข้อเสียคือ เมล็ดมักจะงอกเป็นต้นอ่อน จะต้องคอยถอนต้นอ่อนตลอด มีบางคนใช้ขี้ไก่แห้งอบผสมดินร่วนเป็นอาหารเสริมก็มี โดยใช้ขี้ไก่แห้งอัตรา 1 ส่วน ต่อดินร่วนอัตรา 3 ส่วน คลุกเคล้ากันให้ดี ในส่วนของอาหารเสริมข้นจะใช้แป้งสาลีหรือแป้งข้าวเหนียวหรือแป้งข้าวโพดก็ได้ "น้ำ" ที่จะใช้ในการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติกนั้น อาจารย์สำเนาว์จะย้ำเป็นพิเศษว่าควรเป็นน้ำที่สะอาดที่ได้จากบ่อน้ำ คลอง หนอง บึง หรือน้ำบาดาลก็ได้ สำหรับน้ำประปาไม่แนะนำเพราะคลอรีนมีส่วนในการทำลายเส้นใยเห็ดฟางได้

ตะกร้าพลาสติกที่ใช้เพาะ

ควรจะเป็นตะกร้าทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 18 นิ้ว สูงประมาณ 11 นิ้ว มีตาห่างขนาด 1.5X1.5 นิ้ว มีจำนวนช่องเป็นแถวจากล่างขึ้นบน 7 ช่อง ก้นตะกร้าจะต้องไม่ทึบ ถ้าเป็นตะกร้าที่ซื้อใหม่สามารถนำมาใช้เพาะได้เลย สำหรับตะกร้าที่เคยใช้เพาะมาแล้วจะต้องทำความสะอาดและตากแดดฆ่าเชื้อโรคก่อน ตากแดดไว้สักครึ่งวัน หรือ 1 วัน ก่อนที่จะนำมาเพาะ

ข้อควรระวังในการเตรียมเชื้อเห็ดฟาง อาจารย์สำเนาว์ย้ำว่าห้ามนำเชื้อเห็ดฟางไปเก็บรักษาไว้ในตู้เย็นอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้เชื้อเห็ดฟางเป็นหมัน โดยปกติเกษตรกรจะนิยมใช้เชื้อเห็ดฟางแบบอีแปะ ใช้อัตรา 1 ถุง ต่อ 1 ตะกร้าพลาสติก (เชื้ออีแปะ คือ เชื้อที่ได้จากการถ่ายเชื้อแม่มาเลี้ยงในวัสดุเลี้ยงที่บรรจุถุงขนาด 300-350 กรัม ต่อถุง บางคนอาจจะเรียกว่า "เชื้อต่อ") ในขณะนี้มีข้อมูลใหม่พบว่าถ้าใส่เชื้อเห็ดมากกว่าปกติ 1 เท่าตัว ต่อตะกร้า หรือใช้จำนวน 2 ถุง ต่อตะกร้า สามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้นและคุ้มต่อการลงทุน

ลักษณะโรงเรือนจะทำแบบถาวรโดยใช้โครงเหล็กหรือใช้ไม้ไผ่ทำเป็นโครงแบบสุ่มไก่ก็ได้ แต่พลาสติกคลุมโครงเหล็กหรือคลุมกระโจมเพื่อควบคุมอุณหภูมิและความชื้นนั้น อาจารย์สำเนาว์พบว่า สีของพลาสติกที่ใช้คลุมนั้นจะมีผลต่อสีของดอกเห็ดฟางที่เพาะได้ ถ้าใช้พลาสติกสีชมพูจะได้ดอกเห็ดที่มีสีขาวปนเทา (ตลาดจะชอบดอกเห็ดสีนี้มากที่สุด) ถ้าใช้พลาสติกสีขาวใสจะได้ดอกเห็ดที่มีสีดำและใช้พลาสติกสีน้ำเงินหรือสีดำจะได้ดอกเห็ดที่มีสีขาวเหมือนสำลี

ขั้นตอนและเทคนิคในการเพาะเห็ด

ในตะกร้าพลาสติก

อาจารย์สำเนาว์ได้อธิบายถึงขั้นตอนในการเพาะ จะเริ่มจากการตักขี้เลื่อยใส่ลงในตะกร้า แล้วใช้มือกดขี้เลื่อยให้แน่นมีความหนาประมาณ 2 นิ้ว (ขี้เลื่อยใหม่ดีกว่าขี้เลื่อยที่ผ่านการใช้มาแล้ว) ถ้าหากขี้เลื่อยไม่ได้จะใช้วัสดุอื่นแทนก็ได้ เช่น ฟางข้าว เปลือกข้าวโพด เปลือกถั่วเหลือง เปลือกถั่วเขียว ต้นกล้วย ฯลฯ

อาจารย์สำเนาว์แนะนำเทคนิคการนำขี้เลื่อยใหม่มาใช้นั้น ควรจะนำมาหมักโดยใช้เชื้อ อีเอ็ม อัตรา 250 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร รดบนขี้เลื่อยจำนวน 20 กิโลกรัม คลุกเคล้าให้ทั่วและมีความชื้นประมาณ 60% หมักทิ้งไว้ประมาณ 10 วัน จึงนำมาเพาะ จากการเพาะพบว่า เมื่อใช้ขี้เลื่อยใหม่จะเก็บเห็ดได้ถึง 2 รุ่น ในแต่ละรุ่นจะเก็บเห็ดได้ 3-5 วัน หลังจากที่เก็บเห็ดรุ่นแรกไปแล้วเพียงแต่เราทิ้งไว้เฉยๆ เส้นใยเห็ดจะเจริญขึ้นมาใหม่ และนับไปอีก 4 วัน รดน้ำใหม่เพื่อตัดเส้นใยจะได้เห็ดในรุ่นที่ 2

โรยอาหารเสริมบนขี้เลื่อย ถ้าใช้ผักตบชวาให้ใส่ประมาณ 1 กิโลกรัม ต่อ 1 ชั้น โดยโรยข้างๆ ขอบตะกร้าให้หนาประมาณ 1 นิ้ว ที่ขอบไม่ควรใส่อาหารเสริมมากเกินไป อาจจะทำให้เกิดการเน่าเสียได้ จากที่ได้กล่าวมาแล้ว จะใช้ขี้ไก่พื้นบ้านผสมดินร่วนอัตราส่วน 1 : 1 ก็ได้ แต่ควรจะใส่ในปริมาณที่น้อยกว่าผักตบชวา (สูตรขี้ไก่จะได้ดอกเห็ดที่ใหญ่) หลังจากนั้น นำเชื้อเห็ดฟางแบบอีแปะถุงเล็กมาแยกเป็นชิ้นเล็กๆ ขนาด 1-2 เซนติเมตร ใช้แป้งสาลีใส่ผสมลงไปกับเชื้อเห็ดฟางในอัตรา 2 ช้อนแกง ต่อเชื้อเห็ด 1 ถุง คลุกเคล้าพอแป้งสาลีติดเป็นการกระตุ้นให้เชื้อเห็ดเจริญเติบโต แบ่งเชื้อเห็ดออกเป็น 2 ส่วน เท่าๆ กัน นำส่วนที่ 1 โรยบนอาหารเสริมโดยรอบ ถ้าจับวางได้จะเป็นการดี พยายามวางเชื้อให้กระจายรอบๆ บนอาหารเสริม ถือเป็นการเสร็จในขั้นที่ 1 ใส่วัสดุเพาะ (ขี้เลื่อย) เพื่อทำเหมือนเดิมในชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 เมื่อทำครบ 3 ชั้น วัสดุที่ใส่ลงไปในตะกร้าจะมีความสูง 3 ใน 4 ของตะกร้า ให้ตักขี้เลื่อยหรือวัสดุเพาะทับบนชั้นที่ 3 ให้หนาประมาณ 1 นิ้ว อาจารย์สำเนาว์แนะนำให้ระมัดระวังในการใส่ปริมาณวัสดุเพาะทั้ง 3 ชั้น อย่าใส่ให้ล้นปากตะกร้าเพราะจะไม่เหลือพื้นที่ด้านบนให้ดอกเห็ดเกิด

เมื่อใส่วัสดุเสร็จทุกขั้นตอน นำน้ำสะอาดประมาณ 2 ลิตร (ห้ามใช้น้ำคลอรีน) ใส่บัวรดน้ำ รดลงวัสดุเพาะให้ชุ่มก่อนที่จะนำเข้าไปในโรงเรือน

การดูแลรักษาเห็ดฟาง
ในตะกร้าพลาสติก

หลังจากนำตะกร้าเห็ดเข้าไปไว้ในโรงเรือน (โครงเหล็กหรือกระโจม) ในช่วง 1-4 วันแรก ของการเพาะในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน อยู่ในช่วงที่เส้นใยจะเจริญเติบโต การรักษาระดับอุณหภูมิในโรงเรือนเป็นเรื่องที่มีความจำเป็น ควรจะติดเทอร์โมมิเตอร์แขวนไว้ในโรงเรือนให้สูงประมาณครึ่งหนึ่งของโรงเรือน แต่ถ้าเพาะในช่วงฤดูหนาวการเจริญเติบโตของเส้นใยจะช้าออกไปอาจจะถึง 7 วัน อุณหภูมิเหมาะสมในโรงเรือนเฉลี่ยอยู่ที่ 37-40 องศาเซลเซียส ไม่ควรเกินกว่านี้เพราะจะทำให้เส้นใยฟูมาก แต่ถ้าอุณหภูมิสูงแบบควบคุมไม่ได้ อาจารย์สำเนาว์ให้เปิดช่องระบายอากาศด้านบนของโรงเรือน ในทางกลับกันถ้าอุณหภูมิลดต่ำลงมากให้ตรวจสอบว่าพลาสติกของโรงเรือนปิดมิดชิดหรือไม่ การเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติกในช่วงฤดูหนาวมีเกษตรกรหลายรายใช้หลอดไฟขนาด 100 วัตต์ ห้อยไว้ในโรงเรือนบริเวณใต้ตะกร้าพลาสติก ห่างจากใต้ตะกร้าประมาณ 1 คืบ ความชื้นสัมพัทธ์ในโรงเรือนควรอยู่ในระดับ 80 เปอร์เซ็นต์

หลังจากผ่าน 4-5 วัน จากการเพาะ จะเป็นระยะที่เส้นใยจะเจริญอย่างเห็นได้ชัด จะเห็นเส้นใยมีลักษณะฟูคล้ายกับใยแมงมุมขึ้นเป็นสีขาวๆ เต็มพื้นตะกร้า ให้เปิดเพื่อระบายอากาศในโรงเรือนโดยเปิดที่ประตูโรงเรือนสะดวกที่สุด เปิดอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง จะช่วยกระตุ้นให้เกิดจุดกำเนิดดอกเห็ดได้มากขึ้น อาจารย์สำเนาว์แนะนำให้เปิดวันละ 1 ครั้ง ในช่วงตอนเย็น เพราะจะไม่ถูกแสงแดดจัด ขณะเดียวกันหมั่นสังเกตวัสดุเพาะในตะกร้าด้วยว่าวัสดุเพาะอยู่ในสภาวะที่แห้งเกินไปหรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้นให้รดน้ำตัดเส้นใยได้เล็กน้อย (ใช้กลูโคส 1 ช้อนกาแฟ ผสมน้ำสะอาด 1 ลิตร รดโดยใส่บัวฝอยชนิดละเอียด รดบางๆ อย่าให้มากเกินไป แต่ถ้าสังเกตดูแล้ววัสดุในตะกร้ายังมีความชื้นอยู่อย่ารดน้ำอย่างเด็ดขาด) ในช่วงที่ปิดประตูโรงเรือนหลังจากที่เปิดระบายความร้อนไปแล้วนั้น อุณหภูมิภายในโรงเรือนควรจะลดลงมาอยู่ระหว่าง 28-32 องศาเซลเซียส จะได้ดอกเห็ดสีขาวเพราะเห็ดที่ออกมาไม่ถูกแสง อาจารย์สำเนาว์ย้ำว่าไม่ควรเปิดโรงเรือนบ่อยครั้ง จะทำให้ดอกเห็ดฝ่อได้ และที่สำคัญในช่วงเวลานี้ (วันที่ 6, 7, 8 ของวันเพาะ) ห้ามรดน้ำอย่างเด็ดขาด จะทำให้ได้เห็ดฟางที่มีดอกขนาดเล็ก

อาจารย์สำเนาว์บอกว่าในวันที่ 8-9 สำหรับการเพาะในช่วงฤดูร้อน (ถ้าเป็นหน้าหนาวช่วงวันที่ 14-15) เป็นช่วงที่เริ่มเก็บเห็ด จะเห็นดอกเห็ดหลายขนาด ควรจะเลือกเก็บเฉพาะดอกที่เก็บได้ ตลาดจะนิยมเก็บเฉพาะดอกที่ตูมและควรจะมีความประณีตในการเก็บด้วยการใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จับดอกเห็ดแล้วหมุนเล็กน้อย ดอกจะหลุดออกมาโดยง่ายหรืออาจจะใช้มีดคมๆ ตัดดอกเห็ดก็ได้ การเก็บเห็ดฟางในแต่ละครั้งควรจะเก็บในตอนเช้ามืด เกษตรกรจะเก็บเห็ดฟางได้หลายรุ่นจนหมด แล้วจึงนำวัสดุในตะกร้าไปทำเป็นปุ๋ยหมักหรือใส่โคนต้นไม้เป็นปุ๋ยก็ได้ ทำความสะอาดตะกร้าให้สะอาดและตากแดดให้แห้ง นำไปเพาะใหม่ได้จนตะกร้าหมดอายุการใช้งาน

จากการศึกษาและทดลองเปรียบเทียบข้อดีของการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติกเปรียบเทียบกับการเพาะวิธีอื่น พอที่จะสรุปข้อดีได้หลายประการ อาทิ ใช้พื้นที่ในการเพาะน้อยและไม่จำเป็นจะต้องย้ายพื้นที่บ่อยๆ เพาะได้ทั้งกลางแจ้ง ใต้ร่มไม้ใหญ่ ฯลฯ วัสดุที่ใช้เพาะหาได้ง่ายในท้องถิ่นแล้วแต่จะประยุกต์ใช้ ถ้าเกิดความเสียหายจากการระบาดของโรคและแมลงจะเสียหายเฉพาะในตะกร้านั้น ไม่ค่อยลามไปยังตะกร้าอื่น การเพาะเห็ดในตะกร้าพลาสติกใช้เงินลงทุนต่ำ ใช้แรงงานน้อย และมีวิธีการเพาะที่ไม่ยุ่งยาก "การเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก" จึงเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ควรส่งเสริมให้เกษตรกรได้ปฏิบัติกันต่อ
ไป


โดย นาบิน-หลก
Content ©