-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 114 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เห็ด3




หน้า: 1/7




เพาะเห็ดฟางในตะกร้า  


"เห็ดฟาง" พืชอาหารโปรตีนที่ทุกคนนิยมบริโภคนี้ เป็นพืชชนิดหนึ่งที่ให้ผลผลิตเร็วคือ ภายใน 2 สัปดาห์ เท่านั้น
มีวิธีการเพาะหลายวิธี เช่น เพาะแบบกองเตี้ย เพาะแบบกองสูง เพาะในโรงเรือน และการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

วัสดุ อุปกรณ

             ตะกร้าพลาสติกสูงประมาณ 1 ฟุต ตาห่างประมาณ 1 ตารางนิ้ว
             เชื้อเห็ดฟาง
             ขี้เลื่อย
             อาหารเสริม (มูลสัตว์ผสมรำ อัตรา 1: 1)
             แป้งข้าวสาลี

ขั้นตอนการเพาะ
เริ่มจากนำขี้เลื่อยมาใส่ในตะกร้าพลาสติกสูงประมาณ 2-3 นิ้ว ใช้มือหรือไม้กดให้แน่น จากนั้น นำเอาอาหารเสริมโรยชิดด้านในของตะกร้าเป็นวงกลม กว้างประมาณ 1 ฝ่ามือ ซึ่งใช้ประมาณ 1 ลิตร ต่อชั้น แล้วนำเชื้อเห็ดฟางออกจากถุง นำไปคลุกกับแป้งข้าวสาลีพอติดผิวนอก เพื่อเป็นอาหารเสริมระยะแรกที่ช่วยกระตุ้นให้เชื้อเห็ดเจริญได้ดี แล้วโรยทับอาหารเสริมอีกชั้นหนึ่ง ทำเป็นชั้นๆ ลักษณะนี้จนเต็มตะกร้าพลาสติก รดน้ำให้ชุ่ม(หากก้อนเชื้อเห็ดที่นำมาเพาะยังชุ่มอยู่ก็ไม่ต้องรดน้ำ แต่หากแห้งก็รดน้ำให้ชุ่ม) จากนั้น ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมสำหรับการเกิดดอกเห็ดโดยการปิดโรงเรือนให้มิดชิด เช่น ด้านล่างควรใช้อิฐทับผ้าพลาสติกไว้ เพื่อป้องกันพลาสติกเปิดออก ภายในโรงเรือนควรติดเทอร์โมมิเตอร์ สำหรับวัดอุณหภูมิ ในช่วงวันที่ 1 ถึง 4 วันแรกต้องควบคุมอุณหภูมิในกระโจมหรือในโรงเรือนให้อยู่ในระดับ 37-40 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิสูงเกินไปให้เปิดช่องระบายอากาศด้านบนของโรงเรือนออก โดยใช้วัสดุพรางแสงคลุมหรือรดน้ำรอบๆ โรงเรือนเมื่อครบกำหนด 4 วันแล้ว ให้เปิดผ้าพลาสติกหรือประตูโรงเรือนอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศ (ออกซิเจน) เพื่อให้เส้นใยเห็ดฟางสร้างจุดกำเนิดออก ถ้าวัสดุแห้งเกินไปให้รดน้ำหรือที่เรียกว่าการตัดใยเห็ดในระหว่าง วันที่ 5-8 ต้องควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนให้อยู่ระหว่าง 28-32 องศาเซลเซียส ซึ่งในช่วงนี้จะมีการรวมตัวของเส้นใยเป็นดอกเล็กๆ จำนวนมาก เมื่ออายุได้ 9-12 วัน ก็เก็บดอกเห็ดได้




ต้นทุนการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า/ตะกร้า


วัสดุ

ราคา (บาท)

ตะกร้า
เชื้อเห็ด
ขี้เลื่อย
อาหารเสริม/แป้งข้าวสาลี

35
6
3
3


ผลผลิตการเพาะเห็ดในตะกร้า 0.5 - 1 กิโลกรัม/ตะกร้า ราคากิโลกรัมละ 50 บาท



ที่มา : http://www.fisheries.go.th/cf-kung_krabaen/agricul2.htm





เพาะเห็ดฟางในถุง

ฉบับนี้ยาวหน่อยนะครับ แต่น่าสนใจมากที่เดียว  เพราะเห็ดฟางเป็นเห็ดที่มีคุณค่าคู่ครัวคนไทยมาเนิ่นนาน เพราะมีคุณสมบัติดีที่รสชาติอร่อย นำไปประกอบอาหารได้หลายชนิดทั้งผัด  ต้ม  ยำ และแกง พร้อมสรรพไปด้วยคุณค่าทางอาหารที่มีมากทั้งโปรตีนและเกลือแร่  คือความชื้น 88.9 %  โปรตีน 3.4 % ไขมัน 1.8 % คาร์โบไฮเดรต 3.9 %  กากใย 1.4 %  พลังงาน 44  แคลอรี่  และธาตุแคลเซียม 0.08 %  แต่ด้วยความยุ่งยากสำหรับการเพาะ ตั้งแต่การเตรียมวัสดุและการจัดการใน โรงเรือนที่ยุ่งยากจึงทำให้เกษตรกรไม่ให้ความสนใจในการเพาะเห็ดฟาง  แต่สำหรับอาจารย์สำเนาว์ ฤทธิ์นุช  คิดค้นดัดแปลงวัสดุและวิธีการเพาะเพื่อให้เกิดความสะดวก  เพื่อให้สามารถที่จะเพาะเพื่อบริโภคในครัวเรือน หรือจะทำในเชิงธุรกิจก็คงจะไม่ผิดหวังถ้ามีความตั้งใจที่แท้จริง

อาจารย์สำเนาว์
   ฤทธิ์นุช  อาจารย์  3  ระดับ  8  ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยนาท  ผู้คิดค้นวิธีการเพาะเห็ดฟางดังกล่าว  กล่าวว่า   การเพาะเห็ดฟางในถุง ซึ่งสามารถเพาะใต้ร่มไม้ชายคาหรือเพาะในใต้ถุนบ้าน สามารถขนย้ายได้  วัสดุอุปกรณ์เพาะหาซื้อได้ง่าย  ถ้าเกิดโรคและศัตรูจะระบาดเฉพาะถุง  มีระยะเวลาใน การเพาะ 8 – 10 วัน แต่ยังคงมีข้อจำกัดคือการผลิตแต่ละครั้งจะเก็บผลผลิตได้เพียง 1 – 2 ครั้งเท่านั้น และต้องนำวัสดุเพาะเห็ดฟางมาหมักก่อนนำมาใช้เพาะเห็ดฟางในถุง เช่นนำขี้เลื่อยที่ผ่านการเพาะเห็ดนางรม หรือเห็ดนางฟ้า เมื่อจะนำมาใช้เพาะเห็ดฟางต้องนำมาหมักก่อนด้วยอีเอ็มหรือจุลินทรีย์

ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางในถุง คือเตรียมวัสดุ(จำนวนที่ใช้ต่อ 1 ถุง) ดังนี้  ก้อนขี้เลื่อยที่ผ่านการเพาะเห็ดในถุงพลาสติกมาแล้ว 12-15  ก้อน เชื้ออีเอ็ม (หัวเชื้อ) 20–40 ซีซี  น้ำสะอาด 20  ลิตร  แป้งข้าวเหนียวหรือแป้งสาลี 1 ช้อนชา  เชื้อเห็ดฟางที่ดี 1 ถุง ผักตบชวาสดหั่น (อาหารเสริมที่ใช้ในขั้นตอนการเพาะ) 1 กิโลกรัม

การดำเนินงานโดยใช้ อีเอ็ม (หัวเชื้อ) และขี้วัวแห้งหรือดินร่วน ร่วมหมักขี้เลื่อยที่ผ่านการเพาะเห็ดในถุงพลาสติกมาแล้ว ประมาณ 3 เดือน ไม่มีเชื้อราปนไม่มีกลิ่นเน่าหรือแฉะน้ำ และไม่มีโรคแมลงทำลายก้อนขี้เลื่อย นำมาทุบให้แตกออกหยาบๆ โดยบางส่วนอาจมีความละเอียดบ้างเล็กน้อย ตรวจสอบความชื้น ให้มีความชื้นหมาดๆ หรือมีความชื้นในระดับที่เมื่อใช้มือกำขี้เลื่อยนั้นแรงๆ จะมีน้ำซึมออกมาจากซอกนิ้วเพียงเล็กน้อยเท่านั้นจึงจะถือว่าพอเหมาะ (มีความชื้นประมาณ 60 % ใช้เพาะเห็ดฟางในถุงได้ผลดี) นำขี้เลื่อนมากองบนพื้นซีเมนต์ ใช้อีเอ็ม (หัวเชื้อ) จำนวน 20–40 ซีซี ผสมกับน้ำสะอาด 20 ลิตร ราดน้ำที่ผสมอีเอ็มนั้นลงในขี้เลื่อยผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ตรวจสอบความชื้นของวัสดุเพาะนั้นปรับให้มีความชื้น 60–65 %   กองขี้เลื่อยเป็นกองสามเหลี่ยมคลุมด้วยพลาสติกให้มิดชิด  กลับกองขี้เลื่อยทุก 2 วันครั้ง หรือวันเว้นวัน  หมักขี้เลื่อยไว้ 10 วัน

เมื่อได้วัสดุต่างๆแล้วดำเนินการเพาะเห็ดฟางตามกรรมวิธีการเพาะเห็ดฟางในถุง นำวัสดุเพาะผสมกันบรรจุลงในถุง โดยมีส่วนผสม 3 อย่าง คือ วัสดุเพาะ  อาหารเสริมหรือผักตบชวาสดหั่น และ เชื้อเห็ดฟาง นำส่วนผสมทั้ง 3 อย่างมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน ก่อนนำมากองลงพื้น เกลี่ยแผ่กองวัสดุเพาะเห็ดฟางออกหนาประมาณ 2–3 นิ้ว นำเชื้อเห็ดฟางที่เตรียมไว้แล้ว ผสมคลุกเคล้าเข้ากับวัสดุเพาะเห็ดฟางให้ทั่วถึง  จึงบรรจุลงในถุงๆ ละประมาณ 5 กิโลกรัม ยกถุงกระแทกกับพื้นหรือใช้มือกดให้วัสดุเพาะเห็ดฟางแน่นพอสมควร กดจากภายนอกถุงเพาะให้วัสดุเพาะเห็ดฟางมีความหนาประมาณ 20 เซนติเมตร  จับและรวบปากถุงเป็นจีบเข้าหากัน แล้วมัดปากถุงด้วยเชือกให้แน่น โดยมัดในจุดที่สูงสุดของปากถุง เพื่อให้ถุงมีลักษณะเป็นกระโจม ซึ่งเมื่อฝนตกลงมามาก ต้องพับปากถุงลงมา เพื่อป้องกันน้ำฝนเข้าภายในถุง พับตรงระดับที่ 50–70 เซนติเมตรจากก้นถุง ให้ปากถุงที่มัดห้อยลงด้านล่าง หรือด้านข้างของถุงนั้น และนำถุงบรรจุวัสดุเพาะเห็ดฟางไปตั้งไว้ในสถานที่เพาะหรือแขวนไว้ในที่ที่มีความชุ่มชื้น เช่น ในร่มเงาต่างๆ หรือใต้ร่มไม้ก็ได้ ตั้งไว้เช่นนั้นนานประมาณ 8 – 10 วัน ดอกเห็ดฟางจะเกิดขึ้นบนผิวของวัสดุเพาะเห็ดฟางภายในถุงนั้น รอจนได้ขนาดเหมาะสมกับการเก็บเกี่ยวผลผลิต  การเก็บเกี่ยวผลผลิต จะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในวันที่ 8 หรือ 9 โดยมีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 1-2 วันต่อรุ่นต่อถุง

อาจารย์สำเนาว์
 ฤทธิ์นุช  ฝากบอกถึงผู้อ่านว่า  ฤดูกาลเพาะเห็ดฟางในถุงควรเป็นฤดูร้อนหรือฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม) จะได้ผลผลิตสูง  สถานที่เพาะควรมีความชุ่มชื้นและมีร่มเงาโดยเฉพาะจากต้นไม้ ขนาดดอกเห็ดฟางที่ได้รับมีขนาดใหญ่มาก บางดอกมีน้ำหนักถึง 100 กรัม  ผลผลิตเห็ดฟางที่ได้รับ  0.58-9.00 กิโลกรัม/ ถุง  เก็บเกี่ยวผลผลิตได้  3-5  ครั้งต่อรุ่นต่อถุง และการเพาะเห็ดฟางในถุงมีอีกหลายสูตรที่ใช้วัสดุเหลือใช้จากการเกษตร สามารถให้ผลผลิตใกล้เคียงกับสูตรที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  ผู้อ่านสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม  หรือเข้าฝึกการเพาะเห็ด และการเกษตรอื่น ๆ  ติดต่อได้ที่  01–9532507  ยินดีต้อนรับทุก ๆ ท่านด้วยความยินดีครับชัด  ขำเอี่ยม/รายงาน  chinchainat@hotmail.com


หมวดหมู่:
เกษตรกรรม อุตสาหกรรม ธุรกิจการค้า
สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ 
สร้าง: พ. 31 ต.ค. 2550 @ 11:49 แก้ไข: อ. 06 พ.ย. 2550 @ 16:13







เห็ดฟางในกระถาง
รูปภาพของ sothorn
เขียนโดย sothorn เมื่อ 27 มี.ค. 2009 - 8:24:13 Tags:

เรื่องของการเพาะเห็ด ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผมใฝ่ฝันอยากจะทำ ก่อนหน้านี้ก็ได้แต่คิด ได้แต่อ่านหนังสือ แล้วก็ไม่ได้ทำ เพราะไม่รู้แหล่งซื้อเชื้อเห็ด เมื่อเวลาจะได้ทำมันก็ได้ทำ  เนื่องจากได้เล่าให้อาจารย์ที่รู้จักกันท่านหนึ่งฟัง ว่าผมอยากเพาะเห็ดฟาง อาจารย์ก็บอกว่าเดี๋ยวจะไปซื้อเชื้อเห็ดฟางมาให้ลองเพาะดู  หลังจากนั้นสองสามวันอาจารย์ก็ซื้อเชื้อเห็ดมาให้ 4 ถุง แถมยังไม่เอาเงินผมอีก แถมยังบอกวิธีการเพาะมาให้ ได้เชื้อเห็ดมาแล้วทำไงต่อล่ะคราวนี้    ประกอบกับเชื้อเห็ดยังเดินไม่เต็มที่ก็เลยมีเวลาคิด สองสามวัน จะเอายังไงดีเนี่ย ถ้าจะเพาะแบบกองเหมือนร่องผักเชื้อเห็ดก็น้อยเกินไป ไหนต้องทำที่สำหรับอัดฟางอีก ไม่เอาดีกว่า ดูในหนังสือมีวิธีการเพาะเห็ดฟางในกระถางเขาใช้สารเคมี 2 ตัว ไม่รู้ซื้อที่ไหน  ถ้าเพาะในกระถางต้องเสียเงินซื้อกระถางอีก เอาไงดีหว่า สุดท้ายหาเหตุผลเข้าขางตัวเอง ซื้อกระถางก็ซื้อ เห็ดไม่งอกก็เอากระถางมาใช้ต่อได้ ตัดสินใจซื้อกระถางพลาสติก ขนาด 12 นิ้ว 8 ใบ ราคาใบละ 25 บ.  เป็นเงิน 200 บ. สารเคมีที่เขาใช้ ผมไม่ใช้ลองดูว่าเห็ดมันจะงอกมั๊ยได้เวลาลงมือทำ

  1. สับฟางให้สั้นๆ
  2. แช่ฟางในน้ำ 4 ชั่วโมง
  3. เอาฟางมาบีบเอาน้ำออกพอหมาดๆ แล้วใส่ลงในกระถางให้แน่นจนเต็ม
  4. โรยเชื้อเห็ดบางๆ จนเต็มพื้นที่ (เชื้อเห็ด 1 ก้อน ได้ 2 กระถาง)
  5. เอาถุงพลาสติกมาคลุม เก็บเอาไว้ในที่ร่มไม่ให้โดนแสงแดด
  6. แล้วก็รอๆ ตามหนังสือเขาบอกว่าพอถึงวันที่ 3 ให้ดึงถุงที่คลุมให้สูงขึ้นเพื่อเพิ่มออกซิเจน

ผมเพาะเห็ดฟางมาตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม ก็รอลุ้นมาตลอดว่ามันจะมีเห็ดมาให้เชยชมหรือเปล่า ก่อนหน้านี้ก็ใจชื้นขึ้นบ้างแล้วเพราะเห็นมีเม็ดเล็กๆ ที่คาดว่าน่าจะเป็นเห็ดฟาง วันนี้ก็ลองไปเปิดดู โอ้โอ! มันใหญ่ขึ้นแล้ว ดีใจครับ สำเร็จ ดังภาพครับ




ถ้ามานั่งคิดว่าลงทุน 200 บาท ได้เห็ดฟางแค่นี้มันก็คงไม่คุ้ม ซื้อเห็ดฟาง 200 บ. ได้มากกว่านี้ตั้งเยอะ คิดแบบนี้ก็ถูก แต่การลงทุนครั้งนี้ถือว่าคุ้มครับ

  • ได้ทำในสิ่งที่ใฝ่ฝัน
  • ได้ความรู้
  • ได้ความสุขในสิ่งที่ทำ
  • ได้ความตื่นเต้นเมื่อเห็นเห็ดงอก
  • ได้ความสุขเมื่อสำเร็จ

แล้ว 200 บ. มันจะไม่คุ้มได้อย่างไร

ปล. พยายามหาวัสดุอื่นแทนกระถางโดยไม่ต้องซื้อ แต่หาไม่ได้ ก็เลยต้องซื้อกระถาง








เพาะเห็ดฟางในกระสอบ ทางเลือกใหม่ของการเพาะเห็ดฟาง


เห็ดฟาง


ปัจจุบันวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเกษตรในแต่ละปีในประเทศไทยมีจำนวนมาก และหาได้ง่ายในแต่ละท้องถิ่น ถ้าซื้อก็มีราคาถูก อาทิ ฟางข้าว เศษขี้ฝ้ายกากหรือเปลือกมันสำปะหลัง ชานอ้อย เปลือกถั่วเขียว เปลือกถั่วเหลืองและทะลายปาล์มน้ำมัน เป็นต้น เมื่อมีการนำวัสดุเหล่านี้มาเพาะเห็ดฟางจะสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกร นอกจากนั้นยังมีส่วนช่วยรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ วัสดุที่เหลือจากการเพาะเห็ดฟางยังสามารถมาทำปุ๋ยใส่ให้กับต้นไม้ได้อีก การพัฒนาวิธีการเพาะเห็ดฟางมาหลากหลายรูปแบบที่มีชื่อเสียงที่สุดคือวิธีการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก มาถึงขณะนี้ได้ค้นหาวิธีการเพาะเห็ดฟางรูปแบบใหม่ประหยัดต้นทุนและทำได้ง่าย โดยนำก้อนขี้เลื่อยเก่าที่ผ่านการเพาะเห็ดถุงพลาสติก (เช่น เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า ฯลฯ) นำกลับมาเพาะเห็ดฟางในกระสอบได้


ถุงเห็ดฟาง


อุปกรณ์ที่จะใช้เพาะเห็ดฟางในกระสอบ จะใช้ถุงปุ๋ย ถุงข้าวสารหรือถุงอาหารสัตว์ก็ได้ หาซื้อง่ายและมีราคาถูก (ราคาถุงละ 2-5 บาท) สามารถนำมาใช้เพาะได้ถึง 5-6 ครั้ง ขั้นตอนในการเพาะจะใช้ก้อนขี้เลื่อยเก่าจากการเพาะเห็ดนางรมหรือเห็ดนางฟ้า ประมาณ 15 ก้อน โดยแบ่งทำเป็น 2 ชุด คือ ชุดแรกนำก้อนขี้เลื่อยเก่า จำนวน 10 ก้อน ใส่ลงไปในกระสอบ ใช้ไม้ทุบหรือใช้เท้าเหยียบกระสอบให้ก้อนขี้เลื่อยแตกแบบหยาบ ๆ ให้มีส่วนที่แตกละเอียดบ้าง อีกส่วนหนึ่งเป็นก้อนเท่ากับผลมะนาว จากนั้นรดด้วยน้ำสะอาดให้ก้อนขี้เลื่อยมีความชื้นหมาด ๆ ทดสอบด้วยการใช้มือกำขี้เลื่อยแน่น ๆ ถ้าพบว่ามีน้ำซึมออกมาจากซอกนิ้วมือเล็กน้อยเป็นว่าใช้ได้ หลังจากนั้นให้ทุบก้อนขี้เลื่อยที่เหลืออีก 5 ก้อนให้ละเอียดเพื่อใช้คลุกเคล้ากับเชื้อเห็ดฟาง


แบ่งเชื้อเห็ดฟาง 1 ก้อน (แบบสปอน) ออกเป็น 3 ส่วน ในการเพาะแต่ละกระสอบจะใช้เชื้อเห็ดฟางเพียง 1 ส่วน นำเชื้อเห็ดฟางมายีออกจากกันในถังหรือภาชนะที่สะอาดและนำมาคลุกกับแป้งข้าวเหนียวอัตรา 1 ช้อนชา คลุกเคล้าให้ทั่ว และนำไปคลุกรวมกับก้อนขี้เลื่อย 5 ก้อน นำผักตบชวาน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม มาหั่นเฉียงคลุกเคล้าลงไปกับก้อนขี้เลื่อย 5 ก้อนนั้น ให้นำกองขี้เลื่อยที่คลุกเชื้อ เห็ดฟางและผักตบชวาใส่ลงไปในกระสอบที่ก้นกระสอบมีก้อนขี้เลื่อยทุบรองอยู่แล้ว 10 ก้อน ใช้มือกดให้แน่นและเรียบ ใช้เชือกมัดปากกระสอบให้แน่น ถ้าเป็นการเพาะในช่วงฤดูฝนควรหักปากกระสอบลงเพื่อป้องกันน้ำเข้า นำกระสอบไปแขวนกับต้นไม้หรือราวไม้ไผ่ แขวนให้ปลายกระสอบตั้งขึ้นและให้ก้นกระสอบลอยสูงจากพื้น (ป้องกันปลวกไม่ให้เข้าไปกัดกิน)


เห็ดฟางในกระสอบ


หลังจากเพาะไปได้ประมาณ 10 วัน จะเก็บเห็ดฟางในกระสอบรับประทานหรือนำมาจำหน่ายได้ ในแต่ละกระสอบจะเก็บเห็ดฟางได้ 1-2 ครั้งต่อการเพาะ 1 รุ่น และได้น้ำหนักเห็ดประมาณ 0.5-1 กิโลกรัม นับเป็นวิธีการหนึ่งของการเพาะเห็ดฟางที่นำวัสดุเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด



ที่มา:
http://ibc.rid.go.th/

VN:F [1.8.8_1072]






หน้าถัดไป (2/7) หน้าถัดไป


Content ©