-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 523 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

มะพร้าวใหญ่




หน้า: 1/2


                            มะพร้าวใหญ่                        



       ลักษณะทางธรรมชาติ                        

     * เป็นไม้ผลยืนต้นอายุนับร้อยปี ปลูกได้ในทุกภาค ทุกพื้นที่ และทุกฤดูกาล แต่พื้นที่ลุ่มมีน้ำบริบูรณ์จะ
เจริญเติบโตเร็วและดีกว่าในพื้นที่ดอนมีน้ำน้อย ชอบดินเหนียวร่วนมีอินทรีย์วัตถุมากๆ ทนต่อน้ำท่วมขังค้างนานได้
นานนับเดือน แม้ระหว่างถูกน้ำท่วมก็ยังออกดอกติดผลได้ ดังนั้นในพื้นที่ลุ่มมีน้ำท่วมแล้วขังค้างนานบ่อยๆจึงควร
เลือกปลูกมะพร้าวเป็นพืชหลัก...เทคนิคการจัดแปลงปลูกแบบ "ยกร่อง-น้ำหล่อ" จึงเหมทาะสมกับมะพร้าว
อย่างมาก
                        
     * ไม่ชอบการตัดแต่งกิ่ง (ทาง) แต่ให้ปล่อยกิ่งหรือทางไว้บนต้นจนแก่แล้วแห้งคาต้นจึงนำลงมา ถ้าตัด
กิ่งหรือทางลงมาจะกระทบกระเทือนต่อการพัฒนาของดอกผล
                        

     * ตอบสนองต่อ น้ำ-ปุ๋ย ข้ามปี กล่าวคือ การให้น้ำอย่างเพียงพอและให้ปุ๋ยในเดือนใดของปีนี้ ต้นนั้นจะ
สมบูรณ์แล้วออกจั่นติดผลในเดือนเดียวกันของปีรุ่งขึ้นเสมอ
                        

     * ปีใดให้ผลผลิตน้อยในช่วงหน้าแล้ง แสดงว่าช่วงหน้าแล้งของปีที่แล้ว มะพร้าวต้นนั้นขาดการบำรุงโดย
เฉพาะน้ำอย่างถูกต้องและเพียงพอนั่นเอง......หรือการที่มะพร้าวให้ผลผลิตดีช่วงหน้าฝนแสดงว่ามะพร้าวต้น
นั้นได้รับน้ำซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนจากเมื่อปีที่ผ่านมานั่นเอง
                        

     * ทุกสายพันธุ์ที่ได้รับการบำรุงอย่างถูกต้องสม่ำเสมอจะออกจั่นติดผลได้ตลอดปีหรือออกจั่นทุก 20 วัน
หรือ 18 จั่น/ปี จากลักษณะทางธรรมชาติการออกจั่นติดผลแบบนี้ทำให้มะพร้าวมีทั้ง  ดอก ผลเล็ก ผล
กลาง และผลใหญ่ใกล้เก็บเกี่ยวอยู่ในต้นเดียวกันตลอดปี
                        

     * จั่นหรือดอกเมื่อออกมามักติดเป็นผลได้ง่ายแม้ไม่มีการบำรุงใดๆ เพียงให้ต้นได้รับสารอาหารและน้ำ
บ้าง ดอกที่ออกมาจะสมบูรณ์ การติดผลก็มากขึ้น แต่หากต้นไม่สมบูรณ์หรือไม่ได้รับน้ำและสารอาหารเลย จั่นหรือ
ดอกที่ออกมาไม่สมบูรณ์จึงไม่สามารถพัฒนาเป็นผลได้
                            

     * ในต้นที่มีทั้งดอกตูม ดอกบาน ผลเล็ก ผลกลาง ผลใหญ่ และผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยวออกไล่ลำดับกันมา
นั้นให้บำรุงด้วยฮอร์โมนฮอร์โมนสมส่วนสูตรซุปเปอร์ (น้ำคั้นไชเท้า. น้ำคั้นเมล็ดเริ่มงอก. น้ำคั้นหัวกวาวเครือ
ขาว. ฮอร์โมนไข่. กลูโคส. และธาตุรอง/ธาตุเสริม)โดยฉีดพ่นทางใบให้โชกทั้งใต้ใบบนใบลงถึงพื้น ทุก
20-30 วัน นอกจากจะช่วยให้ออกดอกติดผลดีแล้วยังทำให้คุณภาพของผลผลิตดีและต้นไม่โทรมอีกด้วย

     * ชอบน้ำแบบลักจืดลักเค็ม (น้ำทะเลขึ้นถึง)หรือบริเวณน้ำกร่อยตามธรรมชาติ พื้นที่ปลูกที่ไม่มีน้ำแบบ
ลักจืดลักเค็มหรือไม่มีน้ำกร่อยให้ใส่เกลือแกงโคนต้น ½-1 กก./ต้น (ให้ผลผลิตแล้ว)/ปี หรือให้กากน้ำปลา/
กากปลาร้าที่คั้นน้ำออกหมดแล้วผสมกับปุ๋ยคอก 1:10 อัตรา 10-20 กก./ต้น (ให้ผลผลิตแล้ว)/
ปี......การบำรุงโดยฝังปลาทะเลบริเวณโคนต้นเขตทรงพุ่มปีละครั้ง ในปลาทะเลมีโซเดียมและอะมิโนสูงกว่า
ปลาน้ำจืดจะส่งผลให้มะพร้าวสมบูรณ์ดีขึ้น
                          

     * มะพร้าวทุกสายพันธุ์ออกดอกทุก 20 วัน ตลอดปี หรือมี 18 ทะลายบนต้นเสมอ  มาตรการบำรุง
แบบให้มีสารอาหารในดินกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องหลายๆปีติดต่อกันนอกจากช่วยให้ออกดอกติดผลดกดีแล้วยัง
คุณภาพดีอีกด้วย

     * ต้นโตอายุให้ผลผลิตแล้วมีรากประมาณ 3,000 ราก ยาวกว่ารัศมีทรงพุ่ม 1 ใน 4 แต่ถ้ามีน้ำอยู่
ห่างออกไปรากมะพร้าวก็สามารถเจริญยาวไปถึงได้...สวนที่มีคันล้อมป้องกันน้ำท่วมไม่ควรปลูกมะพร้าวบนคัน
ล้อมเพราะรากมะพร้าวจะชอนไชดินทำให้น้ำซึมเข้ามาในสวนได้ นอกจากนี้บนคันล้อมซึ่งมีความสูงกว่าปกติอยู่แล้ว
เมื่อต้นมะพร้าวโตขึ้นจะต้านลม
                        

     * ทุกสายพันธุ์เหมาะสมอย่างมากสำหรับการปลูกแบบสวนยกร่องน้ำหล่อ เพราะต้นต้องได้รับน้ำตลอด
เวลาซึ่งจะส่งผลให้ออกจั่นติดผลได้ตลอดปี ส่วนสวนพื้นราบเรียบหรือพื้นราบยกร่องแห้งลูกฟูกก็พอได้แต่ต้องถึงน้ำ
จริงๆ....ที่ก้นร่องน้ำ ใส่เศษซากพืช ปุ๋ยคอก จุลินทรีย์ ฯลฯ แล้วปล่อยให้หมักอยู่ใต้น้ำก้นร่องอย่างนั้น จากนั้น
จึงลอกเลนก้นร่องขึ้นพูนโคนต้นหรือสันแปลงปีละ 1-2 ครั้งก็จะได้ปุ๋ยบำรุงมะพร้าวอย่างดีโดยไม่ต้องพึ่งพาปุ๋ย
เคมีแม้แต่เม็ดเดียว
                              

     * บำรุงต้นโดยใส่ เกลือแกง + ปุ๋ยอินทรีย์ ครั้งแรกหลังหมดฝนหรือก่อนเข้าสู่หน้าหนาวต่อ  ครั้นเมื่อ
ถึงหน้าแล้งให้ด้วย น้ำ + ปุ๋ยน้ำชีวภาพ + ธาตุหลัก + ธาตุรอง/ธาตุเสริม + ฮอร์โมน + สารสกัด
สมุนไพร ทั้งทางรากและทางใบอย่างสม่ำเสมอ นอกจากจะช่วยให้มะพร้าวออกจั่นติดผลดีในช่วงหน้าแล้งแล้วยัง
ออกจั่นติดผลตลอดปีไปจนถึงช่วงหน้าแล้งของปีถัดไปอีกด้วย
                        

     * ปุ๋ยอินทรีย์ที่ดีสำหรับมะพร้าว คือ ขี้เถ้าหรือถ่านทางมะพร้าว ใบมะพร้าว. เกลือแกง.กากปลาที่
เหลือจากการทำน้ำปลา. กากปลาร้า. พุงปลาทะเลสดบดละเอียดผสมน้ำราดโคนต้นทั่วพื้นที่ทรงพุ่ม หรือ ฝัง
เศษซากปลาทะเลโคนต้น 4-5 หลุม. ทั้งนี้ ในอินทรีย์วัตถุดังกล่าวมีสารโซเดียมซึ่งในซากสัตว์น้ำจืดไม่มี

     * การติดสปริงเกอร์เหนือทรงพุ่มใช้เป็นเครื่องทุ่นแรงได้เป็นอย่างดี นอกจากช่วยให้ประหยัดเวลาและ
แรงงานแล้ว ยังใช้ฉีดพ่นสารอาหารบำรุงต้นรวมทั้งฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรได้ทุกช่วงเวลาตามต้องการอีกด้วย

     * การพรวนดินบริเวณชายพุ่ม 2-3 ปี/ครั้ง เพื่อตัดแต่งราก แล้วบำรุงด้วยฮอร์โมนบำรุงรากต้นก็จะ
สร้างรากใหม่ขึ้นมาดีและมากกว่ารากเดิม  ช่วยให้ต้นสมบูรณ์ ให้ผลดกและดี
                          

     * ปลูกมะพร้าวริมคลองที่เรือผ่านบ่อยๆหรือมะพร้าวริมถนนที่รถแล่นผ่านบ่อยๆ ไอเสียจากเรือและรถจะ
ช่วยให้มะพร้าวต้นนั้นออกดอกติดผลดกดีขึ้น
                              

     * มะพร้าวต้นใหญ่ อายุมากๆ ให้ผลผลิตแล้ว สามารถย้ายปลูกได้ด้วยวิธี ล้อม และการปลูกมะพร้าวต้น
ใหญ่ที่ล้อมมาอย่าปลูกลึกหรือปลูกลึกเพียงมิดเหง้าแล้วบำรุงด้วยฮอร์โมนเร่งรากสม่ำเสมอจะช่วยให้แตกราก
ใหม่ ตัดทางเก่าทิ้งเหลือแต่ใบอ่อน 2-3 ใบเพื่อลดการคายน้ำก็จะช่วยแตกยอดใหม่ได้เร็ว
                        

     * จั่นหรือดอกมีกาบหุ้มไว้ เมื่อก้านจั่นเจริญยาวออกมาจนดอกบานแล้วกาบหุ้มจั่นเปิดไม่เต็มที่ให้แกะ
กาบหุ้มออกบ้างเพื่อให้ลมพัดละอองเกสรทั้งในดอกเดียวกันหรือต่างดอกต่างต้นเข้ามาผสมด้วยก็จะส่งผลให้มีผล
ดกขึ้น

     * ในน้ำมะพร้าวอ่อนมีฮอร์โมนจิ๊บเบอเรลลิน.ในน้ำมะพร้าวแก่มีโฮโมนไซโตคินนิน.แคลเซียม.โปแตส
เซียม. แม็กเนเซียม. อะมิโน. เอสโตรเจน.และกลูโคส. ที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที

     * ผลเล็กร่วงสาเหตุมาจากไนโตรเจน (จากน้ำหรือปุ๋ย) มากเกิน แก้ไขโดยให้ธาตุรอง/ธาตุเสริมทาง
ใบหรือทางรากจะสามารถช่วยแก้อาการผลเล็กร่วงได้
                         

     * มะพร้าว นั่งทาง หมายถึง ทะลายของมะพร้าวตั้งอยู่บนส่วนโคนทางพอดี การมีทางช่วยรับน้ำหนักทั้ง
ทะลายไว้ไม่ปล่อยให้ห้อยลงมานั้นทำให้งวงทะลายไม่หักงอ ถ้างวงทะลายหักงอจะทำให้ไม่สามารถส่งน้ำเลี้ยง
ไปยังผลได้.....มะพร้าวต้นใดที่ทะลายผลไม่นั่งอยู่บนโคนทาง แก้ไขโดยการใช้เชือกรั้งจั่นตั้งแต่เริ่มออก
ใหม่ๆให้อยู่ตรงกับโคนทาง เมื่อจั่นกลายเป็นผลก็จะตั้งอยู่บนโคนทางได้ หรือใช้เชือกรั้งตั้งแต่ยังเป็นทะลายผล
ขนาดเล็กก็ได้

     * ล้างคอ  หมายถึง การทำความสะอาดบริเวณคอมะพร้าวโดยการนำกาบจั่นแห้งออกเพื่อให้บริเวณคอ
โปร่ง ลมพัดผ่านสะดวกและไม่เป็นแหล่งสะสมโรคและแมลง
                         

     * ถีบทาง หมายถึง การขึ้นไปคอมะพร้าว ยืนบนทางแล้วขย่มด้วยน้ำหนักตัวให้โคนทางถ่างกางออกเล็ก
น้อย เพื่อช่วยให้จั่นแทงออกมาได้สะดวก                        

     * ดอกตัวผู้กับดอกตัวเมียอยู่ในจั่นเดียวกันแต่แยกกันอยู่คนละดอก ในมะพร้าวแกงนั้น เกสรตัวผู้จะเกิด
และพร้อมผสมก่อนเกสรตัวเมีย ส่วนเกสรตัวเมียเกิดทีหลังและพร้อมรับการผสมได้หลังจากที่ดอกและเกสรตัวผู้ร่วง
หมดแล้ว ทำให้โอกาสจะผสมกันเองด้วยเกสรตัวผู้และตัวเมียในต้นเดียวกันมีน้อยมาก จำเป็นต้องอาศัยเกสรตัวผู้
จากต่างดอกหรือต่างต้นเป็นหลัก ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีแมลงหรือสายลมช่วยพัดพาละอองเกสรตัวผู้เข้า
ผสมกับเกสรตัวเมีย
                           

      ดูความแก่อ่อนของมะพร้าว                           
   1. ดูสีของเปลือกบริเวณปลายขอบหมวก ถ้าเป็นขอบสีขาวกว้างมากๆ แสดงว่าอ่อนมาก เนื้อในอ่อนนิ่มเป็น
น้ำวุ้น ถ้าขอบสีขาวแคบแสดงว่าแก่ปานกลาง เนื้อในกรุบๆ แต่ถ้าขอบเป็นสีเขียวเข้มสีเดียวกันทั้งผลแสดงว่าเป็น
ผลแก่เนื้อในแข็ง
                                                                    
   2. ดูความแห้งของหางหนูหรือขั้วผล ถ้าปลายหางหนูไหม้ (แห้ง) จากปลายเข้ามายาวน้อยกว่า 1 ใน 4
ของความยาวทั้งหางแสดงว่าอ่อนมาก เนื้อในเหลวเป็นวุ้น ถ้าหางหนูแห้งครึ่งหนึ่งของความยาวทั้งหางแสดงว่าแก่
ปานกลาง เนื้อในกรุบ และถ้าหางหนูแห้งตลอดหาง แสดงว่าแก่มาก เนื้อในแข็งแล้ว
                         



      สายพันธุ์                        
      พันธุ์ต้นเตี้ย :
                       
      เป็นสายพันธุ์ที่มีดอกสมบูรณ์เพศ มีการผสมตัวเองได้ดีมากทำให้มีผลดกและไม่ค่อยกลายพันธุ์  นิยม
ใช้รับประทานผลอ่อนหรือช่วงอายุผลประมาณ 8 เดือน ลักษณะเนื้อนุ่ม น้ำมีรสหวานและกลิ่นหอม ต้นขนาดเตี้ย
โตเต็มที่สูงไม่เกิน 12 ม. ลำต้นเล็ก ไม่มีสะโพก ทางใบสั้น เริ่มให้ผลผลิตเมื่ออายุต้น 3-4 ปีหลังปลูก 
ให้ผลผลิตนาน 35-40 ปี  นิยมปลูกเพื่อรับประทานผลสด
                          
      ในกลุ่มมะพร้าวต้นเตี้ยด้วยกันมีหลายสายพันธุ์แต่ละสายพันธุ์ก็ต่างกัน  เช่น  พันธุ์เปลือกผลสีเขียว
เหลืองนวล (สีงาช้าง)  น้ำตาลแดงหรือสีส้ม  น้ำมีรสหวาน  กลิ่นหอม   ขนาดผลเล็ก  ผลแก่มีเนื้อบาง
และน้อย  ได้แก่พันธุ์นกคุ่ม.  หมูสีเขียว.  หมูสีเหลืองหรือนาฬิเก.  มะพร้าวเตี้ย. มะพร้าวน้ำ
หอม. มะพร้าวน้ำหวาน. พวงทอง.  และมะพร้าวไฟ  เป็นต้น
                        
      พันธุ์ต้นสูง :                       
      เป็นมะพร้าวต้นสูง มีการผสมข้ามพันธุ์ค่อนข้างมากเนื่องจากปัญหาดอกตัวผู้กับดอกตัวเมียในต้นเดียวกัน
พร้อมผสมไม่พร้อมกัน ลำต้นสูงใหญ่โตเต็มที่สูงถึง 20 ม. สะโพกใหญ่ ทางใบใหญ่และยาว ขนาดผลใหญ่
เนื้อมาก หนา และน้ำมันมาก ให้ผลผลิตเมื่ออายุ 5-6 ปีหลังปลูกและอายุยืนให้ผลผลิตนานถึง 80 ปี
    
ในกลุ่มมะพร้าวพันธุ์ต้นสูงมีหลายสายพันธุ์แต่ละสายพันธุ์ก็ต่างกัน เช่น ผลขนาดใหญ่-กลาง-เล็ก ผลรี-
กลม ได้แก่พันธุ์กะโหลก มะพร้าวใหญ่หรือมะพร้าวแกง. ทะเลบ้า. ปากจก. พวงร้อยหรือทะลายร้อย. 
เปลือกหวาน. และมะแพร้ว. เป็นต้น
                        
      พันธุ์ลูกผสม :                       
      เป็นมะพร้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มีลักษณะผลใหญ่ ผลดกและดี ทนต่อสภาพแห้งแล้งมาผสมกับสายพันธุ์ต่าง
ประเทศที่มีข้อดีเช่นกัน  เช่น พันธุ์สวีลูกผสม-1  ให้ผลผลิตเร็วเพียงอายุ 4 ปีหลังปลูก  ผลขนาดใหญ่ 
ผลผลิตเฉลี่ย 2,780 ผล/ไร่หรือได้นำหนักเนื้อแห้ง 628 กก./ไร่ ให้น้ำมัน 64 เปอร์เซ็นต์  เหมาะ
สำหรับอุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าว ........พันธุ์ชุมพรลูกผสม 60-1  ขนาดผลเล็กกว่าแต่เนื้อหนากว่า
พันธุ์สวี-1  อายุให้ผลผลิต 4 ปีหลังปลูก  ผลผลิตเฉลี่ย  2,260 ผล/ไร่หรือได้น้ำหมักเนื้อแห้ง 630
กก./ไร่ ให้น้ำมัน 63 เปอร์เซ็นต์  เหมาะสำหรับทั้งรับประทานผลสดและอุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าว
                     
     
      ไม่ควรนำผลของพันธุ์ลูกผสมไปเพาะขยายพันธุ์ เพราะจะได้ผลคุณภาพไม่ดีเนื่องจากข้อด้อยทางพันธุ
กรรมของต้นพ่อหรือแม่จะแสดงอาการเด่นชัดมาก
                         

     การขยายพันธุ์                        
     ลักษณะต้นแม่พันธุ์ที่ดี  
                       
   - อายุต้นมากกว่า 10 ปีขึ้นไป  ยิ่งอายุมากยิ่งดี                         
   - ลักษณะข้อหรือปล้องบนลำต้นห่างหรือถี่เท่ากันตลอดลำต้น
                        
   - ให้ผลดกและคุณภาพดี ออกจั่นตลอดปีหรือทุก 20 วัน ในต้นต้องมีจั่น 18 จั่นเสมอ ก้านจั่นขนาดใหญ่
และสั้น                        
   - มีจั่นออกมาจากซอกหรือโคนทางทุกทาง                        
   - เป็นมะพร้าวนั่งทางทุกทะลาย  โคนทางใหญ่สามารถรับน้ำหนักลูกทั้งทะลายได้ดี
   - ทางหรือก้านใหญ่ยาว ชี้ออกรอบทิศทางสม่ำเสมอตลอดทรงพุ่ม เมื่อมองจากไกลๆเห็นเป็นวงกลมดีจาก
ทุกด้านที่มอง                       
   - เนื่องจากมะพร้าวขยายพันธุ์จากผลหรือลูกมะพร้าวเอง เท่ากับขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดเหมือนกับไม้ผลทั่วๆไป
จึงทำให้โอกาสที่ต้นใหม่เกิดอาการกลายพันธุ์ย่อมมีความเป็นไปได้สูง ดังนั้นเมื่อตัดสินใจปลูกมะพร้าวแล้วจะต้อง
ทำใจรับกับมะพร้าวกลายพันธุ์ไว้ล่วงหน้าเสมอ
                           
     ลักษณะต้นกล้าพันธุ์ที่ดี                         
   - ได้จากผลแก่จัดคาต้น  รูปทรงลักษณะทรงผลสมบูรณ์ได้สัดส่วนตามธรรมชาติ
   - เป็นผลที่นำลงจากต้นแม่โดยการใช้เชือกผูกทะลายแล้วหย่อนลงมาที่พื้น ไม่ควรใช้ผลที่ตัดแล้วร่วงตก
กระแทกพื้นจนกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง                         
   - เป็นต้นกล้าเกิดจากผลที่เกิดจากทะลายที่ให้ผลดกแต่มีการซอยผลออกบ้าง เพื่อให้ทุกผลได้รับน้ำเลี้ยง
อย่างเต็มที่จริงๆ                       
   - ลำต้นตั้งตรงแข็งแรง รูปทรงเรียวคล้ายต้นกล้วยจากโคนถึงปลาย ไม่ควรเลือกต้นโคนป่องเป็นกระเปาะ
   - ความสูงไม่มาก ไม่ควรเกิน 50 ซม. ก้านหรือทางขนาดใหญ่ยังชี้ตั้ง ใบยังไม่แผ่กาง ไม่ควรเลือกต้น
กล้าที่ก้านหรือทางลู่ลงและใบแผ่กางแล้ว  สรุปก็คือ ต้นกล้าอ่อนดีกว่าต้นกล้าแก
   - มีรากบางส่วนแทงยาวออกมานอกเปลือก สมบูรณ์แข็งแรง
   - เลือกต้นพันธุ์จากสวนขนาดใหญ่ มีมะพร้าวหลายๆร้อยต้น ทุกต้นเป็นพันธุ์เดียวกันทั้งหมด  เพราะแม้ว่า
ผลที่เกิดจากเกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียต่างต้นกันแต่เป็นพันธุ์เดียวกันเมื่อผสมกันแล้วย่อมเป็นพันธุ์เดียวกัน คือ ไม่
กลายพันธุ์หรือกลายพันธุ์น้อยมาก ทั้งนี้ เนื่องจากดอกตัวผู้กับดอกตัวเมียอยู่คนละดอกแต่อยู่ในต้นเดียวกัน
เกสรดอกตัวผู้เกิดก่อนและพร้อมผสมก่อนเกสรดอกตัวเมีย วันที่ดอกตัวผู้ดอกสุดท้ายโรยแล้วดอกตัวเมียจึงพร้อม
ผสม ทำให้ไม่มีโอกาสได้ผสมกัน ดังนั้น เกสรดอกตัวเมียจำเป็นต้องได้รับการผสมจากเกสรตัวผู้จากต้นอื่น  นี่คือ
สาเหตุสำคัญที่ทำให้มะพร้าวเกิดอาการกลายพันธุ์
                        

     วิธีขยายพันธุ์มะพร้าว                         
   - เลือกมะพร้าวผลแก่จัดคาต้นเปลือกเริ่มแห้งบางส่วนแล้ว โดยการตัดทั้งทะลายแล้วผูกเชือกหย่อนลงมา
หรือทิ้งลงน้ำอย่าให้ผลกระแทกพื้นแข็งเด็ดขาด นำลงมาแล้วใช้เฉพาะผลแรกกับผลที่สองที่โคนทะลายสำหรับนำ
ไปขยายพันธุ์  ถ้าไม่ตัดลงมาพร้อมกันทั้งทะลายก็ให้นำลงมาเฉพาะผลแรกกับผลที่สองก็ได้
   - ได้ผลมะพร้าวพันธุ์ตามต้องการแล้วนำลงลอยน้ำ  สังเกตส่วนไหนของผลอยู่เหนือผิวน้ำ  นำขึ้นจากน้ำ
แล้วใช้มีดคมๆเฉือนเปลือกส่วนที่อยู่เหนือผิวน้ำนั้นออกจนถึงกาบแต่ไม่ถึงกะลาเพื่อให้น้ำซึมเข้าไปสร้างชุ่มชื้นจะ
ช่วยให้แตกหน่อใหม่ได้เร็ว                       
   - นำผลมะพร้าวที่เฉือนเปลือกแล้วฝังในแกลบดำลึกประมาณ ¾ ผล  คลุมทับด้านบนด้วยฟางหรือทาง
มะพร้าวแห้งเพื่อไม่ให้แกลบแห้งจนเกินไป การเฉือนเปลือกออกก่อนจะช่วยให้หน่อแทงขึ้นมาง่ายซึ่งหน่อจะแทง
ขึ้นมา ณ จุดที่เฉือนเปลือกนั้น                       
   - รดน้ำทุก 2-3 วัน จนกว่าจะงอกแล้วบำรุงต่อไปตามปกติ
   - หน่อสูงประมาณ 30-50 ซม.จึงย้ายไปปลูกในแปลงจริงหรือใส่ในถุงดำเพื่อจำหน่าย

     หมายเหตุ :                       
   - มะพร้าวพันธุ์บางผลเพาะแล้วมีหน่อแทงขึ้นมา 2-3 หน่อ เมื่อนำลงปลูกแล้ว ถ้าบำรุงให้ต้นสมบูรณ์
เต็มที่หน่อทั้งหมดที่แทงออกมาจะโตตามปกติแล้วกลายเป็นมะพร้าวหลายต้นในหลุมเดียวกัน แต่ถ้าบำรุงไม่เต็มที่
หน่อเล็กกว่าจะตายไปเหลือแต่หน่อโตกว่าเท่านั้น
                       

     วิธีผสมพันธุ์มะพร้าวไม่ให้กลายพันธุ์                         
   1.เลือกต้นที่ตรงตามสายพันธุ์และแทงจั่นออกมาพร้อมๆกัน  บำรุงจั่นให้สมบูรณ์ด้วยฮอร์โมน เอ็นเอเอ.
1-2 รอบ ห่างกับรอบละ 10-15 วัน                        

   2.เด็ดก้านเกสรตัวผู้ของต้นที่ตรงตามสายพันธุ์ 1 ต้น (ต้นแม่)ทิ้งไปให้เหลือแต่เกสรตัวเมีย รอไว้ 7 วัน

   3.ครบกำหนด 7 วันให้นำเกสรตัวผู้จากอีกต้นหนึ่ง (ต้นพ่อ) ที่เป็นพันธุ์แท้เหมือนกันมาผสมให้กับเกสร
ตัวเมียของต้นที่ถูกเด็ดก้านเกสรตัวผู้ทิ้งไปก่อนแล้ว  ด้วยการใช้ก้านเกสรตัวผู้ลูบเบาๆกับก้านเกสรตัวเมีย  ช่วง
เวลา 09.00-10.00 น.สภาพอากาศเปิด
                              
   4.ผสมเกสรแล้วห่อก้านเกสรตัวเมีย (จั่น) ด้วยถุงใยสังเคราะห์  เพื่อป้องกันเกสรตัวผู้จากต้นอื่นมาผสม
ทับ เมื่อดอกติดเป็นผลแน่นอนแล้วให้ถอดถุงออก จากนั้นบำรุงตามปกติจนกระทั่งผลแก่จึงนำลงมาเพาะ  ต้นที่ได้
จะตรงตามสายพันธุ์ของต้นพ่อ (เกสรตัวผู้) และต้นแม่ (เกสรตัวเมีย) ค่อนข้างแน่นอน

     มะพร้าวกะทิ                          
   1.เลือกผลมะพร้าวแก่จัดที่ไม่เป็นมะพร้าวกะทิจากต้นที่มีประวัติผลเป็นกะทิเป็นประจำ เคยให้ผลเป็นกะทิมา
แล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี  ถ้าเป็นต้นที่อยู่ท่ามกลางสวนมะพร้าวกะทิแปลงขนาดใหญ่ได้จะดีมาก  เพราะสามารถ
ประกันความแน่ใจว่าไม่มีการผสมข้ามพันธุ์
                        
   2.เฉือนเปลือก ณ จุดที่หน่อจะงอกก่อนแล้วเฉือนด้านตรงข้ามให้ถึงกะลา  เปิดกะลาเทน้ำออกแล้วใส่ข้าว
เหนียวนึ่งหรือดินเหนียวโคนต้นของเขาเอง หรือใช้ทั้งข้าวเหนียวนึ่งและดินเหนียวโคนต้น อย่างละเท่าๆกันใส่เข้าใน
ลูกให้เต็มแล้วนำไปเพาะในแกลบดำจนเป็นต้นกล้าด้วยวิธีตามปกติ
                          
   3.กล้ามะพร้าวต้นนี้เมื่อโตขึ้น  ผลส่วนหนึ่งจะเป็นมะพร้าวกะทิตามต้นแม่
                        

     หมายเหตุ :                         
   - ขยายพันธุ์มะพร้าวกะทิด้วยวิธีเพาะเนื้อเยื่อจะได้ต้นพันธุ์เป็นมะพร้าวกะทิค่อนข้างสูง  นั่นหมายความ
ว่า แม้แต่วิธีเพาะเนื้อเยื่อก็ไม่อาจทำให้เป็นมะพร้าวกะทิได้ทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์
   - ไม่ควรปลูกมะพร้าวต้นไม่เป็นกะทิใกล้กับต้นเป็นกะทิ เพื่อป้องกันการผสมข้ามสายพันธุ์ ในขณะเดียวกัน
ถ้ามีการช่วยผสมเกสรด้วยมือแก่ต้นกะทิก็จะช่วยให้เปอร์เซ็นต์ของความเป็นกะทิสูงขึ้น

     เทคนิคการปลูกมะพร้าว                       
   - ปลูกแบบฝังลึกครึ่งกะลา (ครึ่งผล) เมื่อต้นโตขึ้นจะได้ลำต้นที่มีโคนใหญ่  แต่ถ้าปลูกแบบฝังมิดกะลา
(มิดทั้งผล) เมื่อต้นโตขึ้นจะได้ลำต้นที่โคนเรียวปกติ........ทั้งการปลูกแบบครึ่งกะลาและมิดกะลาไม่มีผล
ต่ออายุต้นให้ผลผลิต  หรือให้อายุต้นให้ผลผลิตเท่าๆกัน
   - การปลูกแบบขุดหลุม  50 X 50 X 50  ซม.   มีข้อเสียมากกว่าข้อดี  กล่าวคือ  เมื่อฝน
ตกน้ำมากจะกลายเป็นหลุมขังน้ำทำให้รากเน่าได้.....ต้นเกิดอาการรากวนในหลุมเนื่องจากรากจะไม่ชอนออก
นอกหลุมเพราะนอกหลุมไม่มีสารอาหารทำให้ต้นนั่งหลุมตายหรือเจริญเติบโตช้า.....หลังจากนำต้นกล้าลงปลูก
แล้วยึดต้นกับหลักจนแน่น ครั้นเมื่อดินในหลุมปลูกยุบตัวต้นกล้าไม่สามารถยุบตามลงไปด้วยได้จึงถูกแขวนไว้กับ
หลักยึดจนรากลอย
   - การปลูกแบบวิธีพูนดินเป็นโคกให้สูงขึ้นจากพื้นระดับปกติ 30-50 ซม. กว้าง 1-2 ม. ปรับปรุงดิน
ปลูกด้วยอินทรีย์วัตถุ คลุมหน้าดินด้วยเศษหญ้าแห้งหนา รดด้วยปุ๋ยน้ำชีวภาพประจำ  หมักนาน 1-3 เดือนเพื่อ
ให้เวลาจุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรียวัตถุให้เป็นปุ๋ยก่อน จากนั้นจึงนำต้นกล้าพันธุ์ลงปลูกที่ผิวหน้าดินที่พูนเป็นโคกไว้
ด้วยเทคนิคการปลูกแบบครึ่งกะลาหรือมิดกะลาก็ได้  ปลูกแล้วทำไม้สี่เหลี่ยมล้อมต้นเพื่อป้องกันการโยกเอนทาง
ข้างเนื่องจากถูกลมพัด ไม่ควรผูกมัดลำต้นติดกับหลักยึด  เพื่อปล่อยให้ลำต้นมีโอกาสยุบตัวตามดินปลูกที่ยุบตัว
ใช้เศษหญ้าแห้งหรือฟางคลุมโคนต้นหนาๆ ยิ่งหนายิ่งดีเพื่อป้องกันแดดเผาหน้าดินและช่วยรักษาหน้าดินให้ชุ่มชื้น
อยู่เสมอ การปลูกต้นกล้าที่หน้าดินตื้นแบบนี้ทำให้รากหาอาหารซึ่งจะเจริญพัฒนาก่อนแผ่กระจายยาวออกไปตาม
ผิวหน้าดินรอบตัวได้อย่างอิสระ หลังจากนั้นรากยึดลำต้นจึงจะเจริญพัฒนาหยั่งลึกลงพื้นดินล่างเอง แบบนี้จะช่วยให้
ต้นเจริญพัฒนาดีและเร็ว                       

      เทคนิคพิเศษการปลูกมะพร้าว                         
    - ปลูกมะพร้าวแบบหลุมเดียว 3 หรือ 4 ต้น ระยะห่างระหว่างต้น 1-1.5 ม. แล้วบำรุงตามปกติ เมื่อ
ต้นทั้งหมดในหลุมเดียวกันโตขึ้น ยอดของแต่ละต้นจะชี้ออกจากกันเองด้วยทิศทางที่เท่าๆกันเพื่อหาแสงแดด แบบนี้
นอกจากทำให้ประหยัดเนื้อที่แล้วยังได้มุมมองของธรรมชาติที่สวยแปลกอีกด้วย
    - นักวิชาการอินเดียตอนมะพร้าวด้วยวิธีการตอนต้นไม้ธรรมดาๆ  ออกรากดีแล้วตัดลงมาปลูก  มะพร้าว
ตอนต้นนั้นนอกจากจะออกจั่นให้ผลต่อเนื่องได้เลยแล้วยังต้นเตี้ยอีกด้วย
   - มะพร้าวต้นเดียว  6 ยอดให้ผลผลิตดีทุกยอด อยู่ที่บ้านหลวง หมู่ 1 ต.แม่ตื่น อ.อมก๋อย จ.
เชียงใหม่
                         

      เตรียมแปลง                       
      จัดแปลงแบบสวนยกร่องน้ำหล่อ สันร่องกว้าง 6-8 ม. สูงจากผิวพื้นระดับ 80 ซม.-1 ม.โค้ง
หลังเต่า ร่องน้ำกว้างผิวน้ำ 1-1.20 ม. ลึก 1-1.5 ม. ก้นสอบ 50 ซม.  หรือจัดแปลงแบบสวนยก
ร่องแห้งลูกฟูก  โดยความกว้าง ความสูงของสันแปลง และร่องระหว่างแปลงเท่ากันกับสวนแบบยกร่องน้ำหล่อแต่
ในร่องระหว่างแปลงไม่มีน้ำ                           

      ระยะปลูก                       
    - ระยะปกติ  8 X 8 ม.หรือ  8 X 10 ม.                       
    - ระยะชิด   6 X 6 ม. 
      หมายเหตุ :
      มะพร้าวที่ปลูกห่างจนมีช่องว่างระหว่างต้น 1-2 ม.จะให้ผลผลิตดีกว่าทั้งปริมาณและคุณภาพเมื่อ
เปรียบเทียบกับต้นมะพร้าวที่ปลูกถี่หรือชิดกันจนกระทั่งปลายทางเกยทับซ้อนกัน  ทั้งนี้  ต้นที่ห่างกันมีช่องว่าง
ระหว่างต้นมากๆ  จะช่วยให้ได้แสงแดดเต็มที่  ลมพัดผ่านสดวกช่วยพัดพาละอองเกสร กับทั้งไม่เป็นแหล่ง
สะสมโรคและแมลงอีกด้วย                           

      เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ                         
    - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
    - ใส่ขี้แดดนาเกลือง  ปีละ 2 ครั้ง
    - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง                       
    - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง
    - ให้ขี้แดดนาเกลือ  ปีละ 1-2 ครั้ง                          
    - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม  ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง (เน้น...ปลาทะเล)หรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง

      หมายเหตุ :                       
    - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขต
ทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อ
เนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน
    - สวนยกร่องน้ำหล่อ แนะนำให้ใส่อินทรีย์วัตถุลงไปในน้ำ  แช่ทิ้งไว้ข้ามปี  แล้วลอกเลน
ก้นร่องขึ้นคลุมโคนต้นปีละ 1 ครั้ง  จะช่วยบำรุงต้นได้เป็นอย่างดี
    - ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์ จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพ
ความสมบูรณ์สูง    



                       ************************** 
[--PAGEBREAK--]

มะพร้าวแกงซุปเปอร์แชมป์ ตระกูลเต็กสงวน กวาดรางวัลมาแล้วทั่วฟ้าเมืองไทย ใครมีของดี ส่งประชันได้


มะพร้าวใหญ่ หรือมะพร้าวแกง ของตระกูล "เต็กสงวน" แห่งคลองจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม


ประกวดคราใดไม่เป็นสองรองใคร สมกับฉายา ซุปเปอร์แชมป์! ปลูกแล้วสร้างรายได้เสริมอีกหนึ่งช่องทางใครที่
เป็นแฟนนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านอย่าพลาดเรื่องนี้เป็นอันขาด ถ้าไม่ได้อ่านแล้วท่านจะเสียใจที่ไม่ได้รู้ว่า
มะพร้าวใหญ่ที่ใครๆ ต่างก็รู้จักถึงคุณประโยชน์ที่หลากหลาย โดยส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์เริ่มตั้งแต่รากนำมาปรุง
เป็นยา ลำต้นนำมาทำเป็นโต๊ะนั่ง เรือพายก็ดี กาบใช้เป็นปุ๋ยบำรุงดิน ใบนำมาสานเป็นตั๊กแตน ทำไว้ประดับบ้าน
หากทำขายก็เสริมรายได้อีกทางหรือนำมาใช้ทำขันหมากเบ็งเพื่อใช้ในพิธีบายศรีสู่ขวัญก็ได้ ก้านใบทำเป็นไม้กวาด
ทางมะพร้าวหรืองานจักสาน

ส่วนผลมะพร้าว เริ่มจากเปลือกมะพร้าว ชาวบ้านในแถบชนบทนิยมใช้สุมไฟเพื่อป้องกันยุงให้วัว ควาย กะลาใช้ทำ
เป็นของเล่น แปรรูปเป็นเครื่องประดับสวยงาม เนื้อในหรือชาวสวนนิยมเรียกกันว่า ก้าม ใช้ทำกะทิ (คำว่า "ก้าม"
เป็นศัพท์ที่ชาวสวนใช้กัน) น้ำมะพร้าวก็สามารถนำมาดื่มกินได้โดยเฉพาะสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ มีความเชื่อเรื่องการ
ดื่มน้ำมะพร้าวทำให้เด็กที่อยู่ในครรภ์มารดาเวลาคลอดออกมาตัวเด็กจะไม่เป็นไขมาก

ที่สำคัญประเพณีไทยแต่โบราณกาลจะนำน้ำมะพร้าวมาล้างหน้าศพก่อนที่จะเผาเพื่อชำระล้างสิ่งสกปรกทั้งหลาย
ทั้งปวง
นอกจากนี้ ลูกมะพร้าวทั้งผลยังสามารถนำมาซึ่งความสนุก เพลิดเพลินใจ และท้าทายบรรดาชาวสวน
มะพร้าวเหมือนกับเป็นการสร้างแรงกระตุ้นเพื่อพัฒนาสายพันธุ์มะพร้าวใหม่ๆ ขึ้นอีกทาง โดยจัดการประกวดมะพร้าว
ผลใหญ่ที่มีลักษณะผลใหญ่สวยงาม ซึ่งเป็นที่มาของการพัฒนาสายพันธุ์มะพร้าวใหญ่นั้นเอง เฉกเช่น คุณพรสินธุ์
เต็กสงวน ผู้ซึ่งมีความชื่นชอบ รักการประกวดมะพร้าวเป็นชีวิตจิตใจ แม้ปัจจุบันจะมีอายุย่างเข้าสู่ปีที่ 64 แล้วก็
ตาม แต่ด้วยสุขภาพ ร่างกายที่แข็งแรงสมกับเป็นลูกชาวสวน

คุณพรสินธุ์ก็ยังมีความสนใจที่เข้าร่วมงานประกวดมะพร้าวใหญ่อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ทั้งในอดีตจวบจนปัจจุบัน

มะพร้าวใหญ่ของคุณพรสินธุ์ ก็ยังเป็นที่ต้องตา ตรึงใจคณะกรรมการอยู่เสมอๆ เนื่องด้วยว่ามะพร้าวของคุณพรสินธุ์
ผ่านการพัฒนาสายพันธุ์อยู่ทุกสมัย


เริ่มสะสมจากงานประกวด
ในปี พ.ศ. 2520 คุณพรสินธุ์ ได้ไปดูการประกวดมะพร้าวที่วัดปรีดาราม ตำบลคลองจินดา อำเภอสามพราน
จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นละแวกเดียวกันกับที่ตนอาศัยอยู่ โดยพักอาศัยบ้านเลขที่ 52/2 หมู่ที่ 1 ตำบลคลอง
จินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เช่นกัน ตนรู้สึกชอบการประกวดมะพร้าว เพราะมันสนุกดี เลยซื้อพันธุ์ที่
ประกวดได้อันดับที่ 1, 2 และ 3 มาปลูกที่สวน ตั้งแต่นั้นมาอีกประมาณ 7-8 ปี ก็เริ่มออกผล มะพร้าวที่ตน
ปลูกก็สามารถส่งเข้าประกวดได้ ซึ่งมะพร้าวใหญ่ 1 ต้น จะมี 2 ทะลาย ทะลายหนึ่งมี 5-12 ลูก หากเป็น
มะพร้าวขนาดกลาง ทะลายหนึ่งจะมีประมาณ 10 ลูก

คุณพรสินธุ์บอกว่า บริเวณสวนของตนก็ปลูกมะพร้าวใหญ่เหมือนกันแต่เป็นสายพันธุ์เก่า เวลาประกวดสู้คู่แข่งไม่ได้
เลยต้องโค่นทิ้งแล้วปลูกสายพันธุ์ใหม่ ตนจำไม่ได้ว่าเป็นสายพันธุ์อะไร ไม่แน่อาจจะกลายเป็นสายพันธุ์เต็กสงวน
ไปแล้วก็เป็นได้

ที่นำมาแซมตามคันล้อมสวน ปลูกทั้งมะพร้าวใหญ่ และมะพร้าวน้ำหอม แต่รายได้หลักของครอบครัวมาจากการทำ
สวนมะนาวบนพื้นที่ทั้งหมด 15 ไร่ การปลูกมะพร้าวจึงต้องปลูกบนพื้นที่เหลือของสวนแห่งนี้ พันธุ์มะนาวที่ปลูกคือ
พันธุ์แป้น เก็บขายทุกเดือน ส่งขาย 100 ลัง บรรจุลังละ 500 ลูก ช่วงนี้จะเป็นปีทองของผู้ปลูกมะนาว ผลผลิต
จากการขายมะนาวได้ราคาดี

สำหรับพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมนั้น คุณพรสินธุ์ บอกว่า เป็นพันธุ์ดั้งเดิมของรุ่นพ่อแม่ของตน
คุณพรสินธุ์เล่าต่อไปว่า พ่อ
ชื่อ ตี๋ แม่ของตนมีชื่อว่า สาย เต็กสงวน พักอาศัยอยู่ละแวกเดียวกันแถวคลองจินดา ตนคัดพันธุ์มะพร้าวน้ำหอมมา
จากสวนของพ่อและแม่ ซึ่งคุณสมบัติของพันธุ์น้ำหอมตูดจีบ

น้ำมะพร้าวพันธุ์ตูดจีบ จะมีรสชาติ หวาน และกลิ่นหอม รุ่นแรกที่นำมาปลูกอายุต้น 20 ปีแล้ว พันธุ์ที่ตนคัดมานี้จะ
แตกต่างจากมะพร้าวน้ำหอมทั่วไป คือในช่วงหน้าแล้งจะให้ผลดกกว่าพันธุ์อื่นๆ ทะลายหนึ่งมีมะพร้าว 10-15 ลูก
 
การดูแลรักษาไม่ต้องดูแลอะไรมากมาย ปล่อยไปตามธรรมชาติ ในแต่ละปีทาง อบต. จะเข้ามาลอกเลนให้ฟรี ต้น
มะพร้าวก็จะได้รับปุ๋ยจากเลนที่ลอกขึ้นมา และจากการหว่านปุ๋ยให้มะนาวด้วย

ในส่วนเรื่องราคามะพร้าวนั้น คุณพรสินธุ์เล่าว่า ตนปลูกมะพร้าวเพื่อเป็นรายได้เสริม ตนจะมีรายได้จากการขาย
มะพร้าวใหญ่และมะพร้าวน้ำหอม เฉลี่ยเดือนละ 2,000 บาท ถ้าใช้แบบพอเพียงก็พออยู่ได้ ตนใช้เงินที่ได้จาก
การขายมะพร้าวเพื่อสำหรับไว้ใช้จ่ายในครัวเรือน ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์บ้าง ตนจะเก็บมะพร้าวน้ำหอมเดือน
ละครั้งโดยจะมีพ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อที่สวน ส่วนมะพร้าวใหญ่เก็บทุก 2 เดือน

ราคาดีกว่ามะพร้าวทั่วไป 2 บาท
มะพร้าวใหญ่ที่มีขนาดใหญ่ จะขายลูกละ 7 บาท ลูกค้าจะเป็นพ่อค้าแม่ค้าตลาดสดมารับซื้อที่สวนเอง ถ้าเป็น
มะพร้าวของคนอื่น จะขายในราคาลูกละ 5 บาท หากเป็นมะพร้าวใหญ่ลูกเล็ก จะขายในราคา ลูกละ 3.50 บาท
มะพร้าวน้ำหอมก็ขายในราคาเดียวกัน

มาดูขนาดกันดีกว่าว่าแบบไหนถึงจะเรียกว่าใหญ่จริง
มะพร้าวใหญ่ที่มีขนาดใหญ่สุด วัดความยาวเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 25 นิ้ว ส่วนมะพร้าวขนาดกลางวัดความยาว
เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 25 นิ้ว ส่วนเรื่องน้ำหนัก มะพร้าวขนาดใหญ่ของสวนคุณพรสินธุ์ จะมีน้ำหนักโดยเฉลี่ย
3 กิโลกรัมครึ่ง

มะพร้าวผลดกโดยทั่วไปน้ำหนักจะอยู่ที่ 3 กิโลกรัม หากขูดเนื้อมะพร้าวมาชั่งน้ำหนักได้ประมาณ 1 กิโลกรัม
มะพร้าวขนาดกลางมีน้ำหนักเฉลี่ย 2 กิโลกรัม ขูดเนื้อมะพร้าวได้น้ำหนัก 7 ขีด

มะพร้าวใหญ่เขาประกวดกันยังไงหว่า
คุณลักษณะที่ดีของมะพร้าวใหญ่ที่จะส่งเข้าประกวดคือ ผลใหญ่ กลมแป้น เปลือกบาง ก้ามหนาหรือเนื้อในหนา
คุณสมบัติข้อที่สำคัญซึ่งเป็นเทคนิคในการสังเกตว่ามะพร้าวลูกไหนใหญ่จริง ให้นำมะพร้าวไปลอยน้ำ ลูกมะพร้าวที่
จมน้ำลงไปค่อนลูกจะเป็นมะพร้าวที่มีขนาดใหญ่เนื้อหนาหรือเรียกได้ว่ามีลักษณะดี เป็นมะพร้าวที่มีขนาดใหญ่

หากนำลูกมะพร้าวไปลอยน้ำแล้วตะแคงข้างหนึ่ง แสดงว่ามะพร้าวลูกนั้นมีขนาดเล็กไม่เหมาะสำหรับเวทีประกวด

มะพร้าวที่คุณพรสินธุ์ส่งเข้าประกวด ลักษณะสีผลมีสีก้ามปูหรือสีเหลืองนิดๆ เหมาะที่จะขึ้นเวทีที่สุด เพราะเป็น
มะพร้าวที่แก่จัด ถ้าหากเป็นผลแห้ง เนื้อในมะพร้าวจะมีลักษณะเหี่ยว ถ้าเป็นผลตอนไม่แก่ ผลจะมีสีเขียวใบตอง สี
ไม่เข้ม ซึ่งทั้ง 2 ลักษณะหลังนี้ไม่เหมาะที่จะส่งเข้าประกวด ถ้าส่งเข้าประกวดรู้เลยว่าตกรอบตั้งแต่ยังไม่ขึ้นเวที

หากพูดถึงเรื่องความมันแล้วละก็ มะพร้าวใหญ่ของเต็กสงวนก็ไม่แพ้ใครเหมือนกัน มีลูกค้าโทร.มาสั่งจองล่วงหน้า
ก่อนที่จะมารับที่สวน เพราะมะพร้าวมีจำนวนไม่มากนัก แหม! ทั้งใหญ่ทั้งมันขนาดนี้คงต้องขายดีเป็นแน่ คุณพร
สินธุ์บอกว่า มะพร้าวที่มีความมันมากๆ สังเกตได้ความเข้มข้นของน้ำกะทิที่ได้จากการคั้นกะทิ น้ำที่คั้นจะมีความเข้ม
ข้นมาก แต่กะทิที่มีความมันน้อย น้ำที่คั้นจะมีสีใสจาง

เล่ามาตั้งนานยังไม่เข้าเรื่องการประกวดเลย
ทั้งที่เรื่องก็บอกอยู่แล้วว่าซุปเปอร์แชมป์ ทีนี้มาเข้าเรื่องกันดีกว่า คุณพรสินธุ์กล่าวว่า ก่อนที่จะส่งมะพร้าวเข้า
ประกวด ตนไม่ต้องเตรียมตัวอะไรมากมาย หากเป็นมะพร้าวน้ำหอม ตนจะนำผ้าไปผูกที่ต้นไว้เป็นการทำตำหนิว่าไม่
ให้ตัดมะพร้าวต้นนี้ เพื่อเก็บไว้ส่งไปประกวดในวันงาน ส่วนเรื่องการดูแล บำรุงรักษา ตนไม่ได้ดูแลอะไรมาก ปล่อย
ไปตามธรรมชาติมากกว่า มะพร้าวใหญ่ก็เช่นกัน ตนจะคัดเลือกต้นไว้ก่อนที่จะถึงเวลาประกวด

แหล่งข่าวจะบอกว่ามีการจัดงานประกวดที่ไหน
จะทราบข่าวจากทางสำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด เข้ามาบอกที่บ้านเลยว่าจะมีงานประกวด
มะพร้าวที่ไหน ตนก็จะนำมะพร้าวที่เตรียมไว้ขึ้นรถกระบะไป พอไปถึงงานก็ไปแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อลงทะเบียน เจ้า
หน้าที่ก็จะให้หมายเลขมา ตนก็จะนำไปติดไว้กับมะพร้าวของตนเอง เรื่องการประกวดไม่ได้ยุ่งยากอะไรมากมาย ต่อ
จากนั้นจะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการที่จะคัดเลือกต่อไป

เรื่องรางวัล ท่านผู้อ่านนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านคงต้องดูที่รูปภาพกันเอง ผู้เขียนไม่รู้ว่าจะบรรยายอย่างไรดี
มะพร้าวใหญ่ "เต็กสงวน" ไปประกวดที่ไหนไม่เคยตกอันดับเลย อยู่ที่อันดับต้นๆ ตลอด ไม่ว่าจะเป็นเหนือ อีสาน
กลาง ใต้ ก็ไปคว้ารางวัลมาหมดแล้ว รางวัลที่ได้รับพระราชทานก็มี รวมทั้งโล่ ถ้วยรางวัล และเกียรติบัตร เยอะมากๆ
นับกันไม่ถ้วน


ผู้เขียนเองเมื่อเห็นครั้งแรกก็ทึ่งในความสามารถของคุณพรสินธุ์เช่นกัน นอกจากมะพร้าวที่ส่งเข้าประกวดแล้ว ยังมี
ผลไม้ชนิดอื่นอีก อาทิ กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า ฝรั่ง ฯลฯ

ปัจจุบัน การประกวดมะพร้าวใหญ่ไม่ค่อยมีกันแล้ว สาเหตุเนื่องจากพันธุ์ที่จะส่งเข้าประกวดหายาก อีกเรื่องคือ
ลำบากในเรื่องการเลื่อยมะพร้าวผลใหญ่ จะเลื่อยยาก ส่วนในเรื่องการสืบทอดการประกวดมะพร้าวใหญ่สวยงาม
"เต็กสงวน" นั้น คุณพรสินธุ์ กล่าวว่า ลูกๆ ของตนไม่สนใจเรื่องนี้ ลูกผู้หญิงก็แต่งงานมีครอบครัวไปแล้ว ส่วนลูก
ชายก็ช่วยตนทำสวนมะนาวแต่ไม่ได้ชื่นชอบการประกวดมะพร้าวแต่อย่างใด สำหรับตนเองสุขภาพร่างกายยังแข็ง
แรงอยู่ สามารถส่งมะพร้าวเข้าประกวดได้ หากทราบข่าวว่ามีการจัดงานที่ไหน ทางผู้จัดบอกรายละเอียดมา ตนก็ไป
เข้าร่วมงานประกวดมะพร้าวเช่นกัน

ผลไม้ไทยหลายอย่างก็สามารถส่งผลผลิตเข้าประกวดได้ สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดและประเทศไทยเป็นอย่าง
มาก ดังเช่น มะพร้าวใหญ่ของ "เต็กสงวน" ซุปเปอร์แชมป์ หากใครสนใจอยากสอบถามรายละเอียดการประกวด
มะพร้าว ต้องการพันธุ์มะพร้าวใหญ่หรือมะพร้าวน้ำหอม สามารถโทร.ไปสั่งจองได้ที่เบอร์ (089) 412-
0806, (034) 307-937




ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน







น้ำมันมะพร้าว

คนไทยคุ้นเคยกับมะพร้าวมาเป็นเวลานานและใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของมะพร้าว เช่นผลอ่อน
ใช้รับประทานสด (น้ำและเนื้อ) เนื้อมะพร้าวจากผลแก่นำไปปรุงอาหารและขนมหลาย ชนิด และ
ใช้สกัดน้ำมัน กากที่เหลือใช้เลี้ยงสัตว์น้ำมันมะพร้าวใช้ประกอบอาหาร เนยเทียม และ
สบู่ เปลือกมะพร้าวนำไปแยกเอาเส้นใยใช้ทำเชือก วัสดุ ทำเบาะและที่นอน ขุยมะพร้าวใช้ทำ
วัสดุเพาะชำต้นไม้ กะลาใช้ทำภาชนะตักตวงของเหลว(กระจ่า กระบวย ฯลฯ) ทำกระดุม เครื่อง
ประดับเครื่องดนตรี (ซออู้) ทำเชื้อเพลิง และถ่านกัมมันต์(มีคุณสมบัติในการดูดซับสูง) ใบ
มะพร้าวทั้งอ่อนและแก่ ตลอดจนก้านใบใช้มุงหลังคาเครื่องจักสาน ไม้กวาดทางมะพร้าว ใช้ทำ
รั้วและเชื้อเพลิง ลำต้นแก่ใช้ในการก่อสร้างประดิษฐ์เครื่องเรือน ยอดอ่อนใช้เป็นอาหาร จั่น (ช่อ
ดอก) มีน้ำหวานรองมาดื่มเป็นน้ำผลไม้หรือทำน้ำตาล หมักทำเหล้าและน้ำส้ม รากใช้ทำยา สี
ย้อมผ้า และเชื้อเพลิง แต่อย่างไรก็ตามการปลูกมะพร้าวโดยทั่วไปก็เพื่อนำเอาเนื้อมะพร้าว
ไป
ประกอบอาหารและสกัดเอาน้ำมันเช่นเดียวกับปาล์ม
          
ไม่มีหลักฐานแน่ชัดระบุถึงถิ่นกำเนิดของมะพร้าว แต่ยอมรับกันว่าอยู่ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย
หรือหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ต่อมา จึงแพร่กระจายออกไปทั่วทุกภูมิภาคในเขตร้อนและกึ่ง
ร้อน โดยอาจจะกระจาย (ลอยน้ำ) ไปเองและคนนำเอาไปปลูก มะพร้าวอยู่ในวงศ์ปาล์ม (Family
Palmaceae) มะพร้าวที่ใช้บริโภคมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cocos nucifera  (Linn.)
         
มีการปลูกมะพร้าวในทุกภาคทั่วประเทศไทยแต่สวนขนาดใหญ่อยู่ในภาคใต้และจังหวัดชายทะเล
รอบอ่าวไทย ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ มีพื้นที่ปลูก มะพร้าวประมาณ ๒,๕๐๐,๐๐๐ ไร่  ได้ผลิตผล
๑,๓๐๐,๐๐๐ ตัน คิดเป็นมูลค่าที่เกษตรกรได้รับ ๒,๗๐๐ ล้านบาท ใช้บริโภคในรูปต่าง ๆ
ประมาณ ๙๐๐,๐๐๐ ตัน ใช้สกัดน้ำมัน ๔๐๐,๐๐๐ ตันและส่งเป็นสินค้าออก ๓,๐๐๐ ตัน เนื่องจาก
พื้นที่
เพาะปลูกมีจำกัด ขยายออกไปอีกไม่ได้ ดังนั้นจึงมุ่งในทางเพิ่มผลิตผลต่อพื้นที่ให้สูงขึ้น
โดยเปลี่ยนสวนมะพร้าวเก่าที่เป็นพันธุ์พื้นเมืองมีอายุ มากและให้ผลิตผลต่ำเป็นสวนปลูกใหม่ ใช้
พันธุ์มะพร้าวลูกผสมที่ให้ผลิตผลสูง และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรโดยปลูกพืชแซม เช่น
โกโก้ พริกไทย สมุนไพร หรือเลี้ยงสัตว์ เช่น โคเนื้อ หรือโคนม ในสวนมะพร้าว
         
มะพร้าวเป็นพืชปลูกกันมาเป็นเวลานานทั่วเขตร้อนของโลก จึงมีความแตกต่างกันในรูปทรง และ
ลักษณะอื่น ๆ อย่างหลากหลาย มีนักพฤกษศาสตร์หลายท่านพยายามจำแนกพันธุ์มะพร้าวที่
ปลูกกันออกเป็นหมวดหมู่ แต่ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป การจำแนกพันธุ์มะพร้าวในประเทศ
ไทยอาศัยทั้งความสูง และอายุการตกผล

         
การแบ่งพันธุ์มะพร้าวโดยอาศัยความสูงออกเป็น ๒ พันธุ์ คือ

๑. ต้นเตี้ย แยกออกตามสีของผล ได้แก่หมูสีเขียว หมูสีเหลือง นกคุ่ม น้ำหอม มะพร้าวไฟ
นาฬิเก เป็นต้น

๒. ต้นสูง ได้แก่ พันธุ์มะพร้าวใหญ่มะพร้าวกลาง ร้อยทะลาย ปากจก  (ผลยาว)กะโหลก  (ใหญ่
พิเศษ) เปลือกหวาน และมะแพร้ว เป็นต้น

         
ส่วนการจำแนกโดยอาศัยอายุการติดผลแบ่งออกเป็น ๓ พันธุ์ คือ
๑. มะพร้าวพันธุ์เบา โดยออกผลหลังจากปลูกได้ ๓ - ๔ ปี
๒. มะพร้าวกลาง ออกผลหลังจากปลูกได้ ๕ - ๖ ปี
๓. มะพร้าวหนัก ออกผลหลังจากปลูกได้๗ - ๘ ปี
         
มะพร้าวแต่ละประเภท ยังมีความแตกต่างกันในเรื่องขนาดและทรงต้น จำนวนและลักษณะของ
ใบ ขนาดรูปร่างและสีของผล ในระยะหลังมีการนำเชื้อพันธุ์มะพร้าวจากทวีปแอฟริกา อเมริกา
กลาง และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกเข้ามาเพื่อใช้ในการปรับปรุงพันธุ์อีกเป็นจำนวนมากทำ
ให้การจำแนกประเภทและพันธุ์มะพร้าวยุ่งยากยิ่งขึ้น
         
กรมวิชาการเกษตรแนะนำพันธุ์มะพร้าวอยู่ ๒ พันธุ์ คือ พันธุ์ลูกผสมสวี 1  และพันธุ์ลูกผสมสวี 2
         
มะพร้าวเจริญเติบโตและติดผลได้ดีในแหล่งที่มีปริมาณน้ำฝนมากกว่า ๑,๕๐๐ มิลลิเมตรและตก
อย่างสม่ำเสมอตลอดปี ถ้ามีช่วงฝนแล้งนานกว่า ๓ เดือน การออกดอกและติดผลลดต่ำลง
มะพร้าวชอบดินร่วนปนทราย หรือดินตะกอนตามบริเวณปากแม่น้ำซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์สูง
และอุ้มน้ำได้ดี ในที่ลุ่มซึ่งมีน้ำ    ท่วมขังควรจะยกแปลงปลูกให้สูงพ้นระดับน้ำสำหรับดินดอน
ต้องมีหน้าดินลึกกว่า ๑ เมตร

         
การเตรียมพื้นที่ขนาดใหญ่ ควรปรับหน้าดินให้เรียบ มีการตัดแบ่งแปลงและทำถนนภายในสวน
พื้นที่ที่ลาดชันมากควรปรับเป็นขั้นบันได และปลูกพืชคลุมดินป้องกันการชะล้างและพังทะลาย
ของดิน จัดเตรียมหลุมปลูกไว้ล่วงหน้าโดยวางแนวเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมด้านเท่า
สำหรับมะพร้าวเล็กระยะระหว่างต้นห่างกัน ๖ - ๗ เมตร (ในหนึ่งไร่จะปลูกได้ ๓๗ - ๕๑ ต้น) ส่วน
มะพร้าวใหญ่ขยายระยะระหว่างต้นเป็น ๘ - ๙ เมตร (ในหนึ่งไร่ปลูกได้ ๒๒ - ๒๕ ต้น) ขุดหลุม
ปลูกขนาดกว้าง ๑ x ยาว ๑ x  ลึก ๑ เมตร นำเศษพืช ปุ๋ยคอก และหินฟอสเฟต (อัตราหลุมละ
ครึ่งกิโลกรัม)  คลุกดินรองก้นหลุม
         
ควรเพาะผลมะพร้าวให้งอกไว้ล่วงหน้าเป็นเวลา ๘ เดือน - ๑ ปี (มีใบ ๓ - ๔ ใบ) และควรเริ่ม
ปลูกในต้นหรือกลางฤดูฝน สำหรับที่ดอนให้ขุดหลุมวางหน่อมะพร้าวให้เสมอหรือต่ำกว่าระดับดิน
แต่ในที่ลุ่มให้วางหน่อมะพร้าวเสมอหรือสูงกว่าระดับดิน จัดหน่อให้หันไปในทิศทางเดียวกัน
ระยะแรกอาจใช้น้ำช่วยเมื่อมี
ช่วงฝนแล้งนาน ไถพรวนหน้าดินในระหว่าง ต้นมะพร้าวเป็นครั้ง
คราวเพื่อป้องกันกำจัดวัชพืชและไฟป่า ปลูกพืชคลุมหน้าดิน ออกสำรวจการระบาดทำลายของ
โรคและแมลงศัตรูมะพร้าวและ  ป้องกันกำจัดตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร
         
ต้นมะพร้าวจะเติบโตขยายตัวทางด้านข้างในระยะ ๓ ปีแรก หลังจากนั้นลำต้นจะยืดตัวทาง ด้าน
สูง เริ่มออกดอกติดจั่นและติดผล (ตามอายุของพันธุ์) ติดต่อกันไปเป็นเวลานานถึง ๘๐ - ๑๐๐ ปี

          
การเจริญเติบโตของต้นมะพร้าวและผลิตผลขึ้นอยู่กับความชุ่มชื้นและความอุดมสมบูรณ์ของดิน
เมื่อมะพร้าวติดผลแล้วควรให้ปุ๋ยเกรด 13-13-21 หรือ 12-12-17-2 (แมกนีเซียม) ในจำนวนตาม
คำแนะนำ โดยทั่วไปมะพร้าวจะแตกใบใหม่ออกมาปีละ ๑๒ - ๑๕ ใบ และที่มุมใบจะมีช่อดอก
หรือจั่นแทงออกมา โดยเฉลี่ยแล้วมะพร้าวให้ผล ๕๐๐ - ๘๐๐ ผล/ไร่/ปี แต่ถ้ามีการบำรุงรักษาที่
ดี อาจให้ผลสูง ๘๐๐-๑,๐๐๐ ผล/ไร่/ปี
   




"มะพร้าว...พืชที่รับใช้คนไทยมานาน"

บรรยายโดย อาจารย์ประทีป กุณาศล

อาจารย์ ประทีป กุณาศล นักวิชาการเกษตรอิสระผู้รอบรู้ด้านงานเกษตรหลายสาขา คือวิทยากร
ท่านแรกที่จะพูดคุยในเรื่องของมะพร้าวผ่านประสบการณ์ ทั้งในฐานะ "ลูกชาวสวน" และ "นัก
วิชาการเกษตร"

อาจารย์ประทีป : สำหรับผมเองนั้นเป็นลูกเจ้าของสวนและสวนที่บ้านก็ได้ปลูกมะพร้าวน้ำ
หอมอยู่ ด้วย ซึ่งอยู่ที่บ้านแผ้ว สมุทรสาคร และก็ยังเป็นคนหนึ่งที่พยายามผลักดันให้มะพร้าวได้
ส่งออกไปยังต่างประเทศมาก ที่สุด ตลอดจนได้มีโอกาสเข้าไปร่วมงานกับบริษัทที่ส่งมะพร้าว
อ่อนหรือมะพร้าวน้ำหอม ไปที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งก็เป็นเจ้าใหญ่ ซึ่งปีหนึ่งก็ส่งประมาณ 300 ตู้
คอนเทนเนอร์ ตู้ละ 20,000 ลูก ก็ได้ทำเงินให้กับประเทศชาติจำนวนไม่น้อยเลย

เท่าที่ตรวจสอบดูจาก ฝ่ายลงทะเบียนทราบว่าผู้ที่มาเข้าร่วมงานในครั้งนี้เป็นเจ้าของสวน
มะพร้าว อยู่หลายท่าน ดังนั้น การที่ท่านมาสัมมนาในครั้งนี้ ท่านก็จะได้รับประโยชน์ที่เกี่ยวกับ
ความรู้ด้านพันธุ์มะพร้าว การเพิ่มมูลค่าของมะพร้าว นอกจากนั้น ยังจะดูว่าโอกาสของมะพร้าว
กะทิ ซึ่ง คุณสมชาย วัฒนโยธิน จากสถาบันวิจัยพืชสวนก็จะมาเล่าให้ฟังและยังแถมด้วยพันธุ์
มะพร้าวหิ้วกลับ บ้านไปด้วย เพราะว่ามะพร้าวกะทิลูกผสมที่ทางสถาบันวิจัยพืชสวนได้นำออก
มาเผยแพร่เมื่อ 1-2 ปี มานี้ ถือได้ว่าเป็นพันธุ์มะพร้าวกะทิที่ดี และราคาถูกด้วย ราคาเพียงลูกละ
35 บาท

ผมอยู่ในวงการมะพร้าวมานาน และก็ยังเคยเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของนิสิตปริญญาโทของ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ทำเรื่องของต้นทุนการผลิตมะพร้าวน้ำหอม เมื่อปี 2533 ซึ่งตอนนั้น
ค่าแรงในสวน คิดวันละ 50 บาท แต่ในปัจจุบันค่าแรงวันละ 200-250 บาท ซึ่งเป็นการเพิ่มถึง 5
เท่า ค่าปุ๋ยเพิ่มขึ้น 4 เท่า คราวนี้มาดูว่าราคาผลมะพร้าวอ่อนจากสวนที่บ้านของผมที่ลูกค้ามา
เก็บเองมี ราคา 3.50 บาท แต่เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ราคา 1-1.50 บาท ซึ่งก็เป็นการเพิ่มขึ้น 4 เท่า
เช่นกัน ผมเองก็มาพิจารณาดูว่าจะทำไหวหรือไม่ แต่เมื่อมามองดูตลาดในอนาคตแล้วว่าช่วงนี้
ถ้ามะพร้าวซื้อจากสวนโดยที่มาเก็บ เอง จะอยู่ที่ราคา 4 บาท ถ้า 1 ไร่ มีมะพร้าวประมาณ
3,000 ลูก ก็จะเป็นเงิน 12,000 บาท ก็ยังถือว่าเป็นพืชที่ดูแลรักษาง่าย ค่าปุ๋ย ค่ายา ไม่มาก ก็
คิดว่าน่าจะทำได้ แต่ก็ต้องดูอีกว่าทำที่ไหนถึงจะมีกำไร ตลาดส่งออกตอนนี้ที่กรุงเทพฯ ก็ถือว่า
เป็นแหล่งรวบรวม ซึ่งบ้านแผ้ว สมุทรสาคร ที่ดำเนินสะดวก หรือที่ติดกันในเขตนั้นก็จะเป็นแหล่ง
ใหญ่ที่สุดที่จะมีพ่อค้ามารับซื้อแล้ว ก็ส่งออกไปยังต่างประเทศ

การปลูกมะพร้าวถ้าไปปลูกในสถานที่ที่จะต้อง ใช้เรือเพื่อการขนถ่าย เสร็จแล้วนำมาขึ้นใส่รถ
บรรทุกอีก ถ้าทำอย่างนั้นขาดทุนแน่นอน หรือหากมีการแนะนำให้ปลูกมะพร้าวในสถานที่ที่อยู่
ห่างไกล ก็อาจจะขาดทุนเช่นกัน เพราะมะพร้าวหนักและขนลำบาก เว้นเสียแต่ว่าท่านมีสวน
มะพร้าวอยู่ใกล้ถนน แล้วถนนนั้นก็อยู่ใกล้กับตลาด ใครปลูกมะพร้าวอยู่ใกล้ตลาด อ.ต.ก. ใคร
ปลูกมะพร้าวอยู่ใกล้กับบึงแก่นนคร ที่ขอนแก่น ที่ตรงนั้นมีน้ำดีก็จะปลูกมะพร้าวได้ผลดี ดังนั้น
การปลูกมะพร้าวจะต้องเริ่มต้นด้วยการมองที่ตลาดก่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ก็อยากจะ
บอกว่าที่ลุ่มริมแม่น้ำ ซึ่งแม่น้ำสายหลักของเราก็มี แม่น้ำท่าจีน แม่กลอง บางปะกง ที่น้ำทะเล
ขึ้นถึง ซึ่งดินตรงที่ว่านั้นจะเป็นดินที่ดีมีโพแทสเซียมสูง เหมาะสำหรับปลูกมะพร้าวมาก

มะพร้าวที่ปลูกอยู่ที่บ้านแผ้ว และดำเนินสะดวก เป็นพันธุ์เดียวกันคือ พันธุ์ก้นจีบ แต่ที่บ้านแผ้วมี
แคลเซียมในดินน้อย แต่มะพร้าวที่ดำเนินสะดวกตั้งแต่หลักห้า เป็นต้นไป ลูกจะใหญ่กว่า เพราะ
ฉะนั้นมะพร้าวที่ส่งออกตอนนี้ต้องมีน้ำหนักลูกละ 1 กิโลกรัม หากต่ำกว่า 1 กิโลกรัม พ่อค้าจะ
กำหนดให้ควบ 2 ลูก เป็น 1 ลูก หรือว่าอาจจะต้องนำส่งขายในตลาดบ้านเราเท่านั้น ตอนนี้ผม
กำลังคุยกับพ่อค้าส่งออกว่าควรจะทำขนาดลูกเล็กๆ ที่น้อยกว่า 1 กิโลกรัม ด้วย0ซึ่งก็จะทำให้
คนบ้านแผ้วจะได้ขายเพิ่มขึ้น ไม่ต้องมีการควบหรือนำไปทำมะพร้าวเผา

เพราะฉะนั้นแหล่งที่ปลูก มะพร้าวจึงถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ จะต้องเป็นดินดี ดินที่มีน้ำไหลทราย
มูล และหากเป็นที่มีน้ำทะเลขึ้นถึงด้วยก็ยิ่งดีมาก ที่สำคัญคือต้องอยู่ไม่ไกลจากตลาด ส่วนตลาด
ที่ใหญ่ที่สุดในต่างประเทศขณะนี้คือที่สหรัฐอเมริกา รองลงมาก็ที่จีน และต่อไปอาจมีการส่งไปที่
จีนเพิ่มมากขึ้น เพราะคนจีนถือว่าน้ำมะพร้าวเป็นน้ำที่บริสุทธิ์ เมื่อดื่มแล้วจะช่วยแก้ร้อนใน คน
ไต้หวันกับคนจีนจะมีความเชื่อเรื่องนี้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนจีนแผ่นดินใหญ่จะชอบน้ำ
มะพร้าวอ่อนและมะพร้าวแก่ มะพร้าวที่ประเทศจีนจะมีอยู่ที่มณฑลไหหลำ ซึ่งเป็นเกาะอยู่เหนือ
เวียดนามเล็กน้อย ถ้าคนจีนมาเที่ยวที่ไหหลำเวลากลับจะหิ้วมะพร้าวแก่และมะพร้าวอ่อนขึ้น
เครื่องบินนำกลับมาฝากญาติ ถ้าญาติมาจากปักกิ่ง เพราะที่ปักกิ่งไม่รู้จักมะพร้าว และก็รับ
ประทานไม่เป็นด้วย ซึ่งถือเป็นของแปลกและหายาก ดังนั้น ประเทศจีนซึ่งต่อไปคิดว่าจะเป็น
ตลาดมะพร้าวที่ใหญ่ ซึ่งผมก็ได้หารือกับท่านรองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ว่ามีโอกาสผลักดัน
สินค้า ที่มีอยู่หลายอย่างในภาคอีสานที่สามารถส่งไปขายได้ที่จีนทางรถยนต์ และมะม่วงของเรา
ก็ต้องส่งไปขายที่จีนโดยทางรถยนต์ เพราะมะม่วงของเรามีผลผลิตออกก่อนจีน ซึ่งก็เป็นจุดแข็ง
ของเรา เพราะฉะนั้นพันธุ์มะม่วงหลายพันธุ์ที่คนจีนสนใจและชื่นชอบก็นำมาปลูกไว้ทาง ภาค
อีสานของเรา ท่านเชื่อไหมว่า กล้วยไข่ ที่ปลูกที่จังหวัดจันทบุรีนั้น ต่อไปก็จะนำไปขายที่
ประเทศจีนเหมือนกัน โดยใช้เส้นทางรถยนต์

คราวนี้ กลับมาเรื่องมะพร้าวกันต่อว่า พันธุ์มะพร้าวที่ดีที่สุดนั้นก็น่าจะเป็นพันธุ์ก้นจีบ เพราะมีรส
ชาติหวาน หอม แต่ควรจะไปดูที่สวนด้วยว่ามีสะโพกเล็กน้อย ซึ่งแต่เดิมกำหนดว่ามะพร้าวน้ำ
หอมจะไม่มีสะโพก แต่ตอนนี้บางพันธุ์มีสะโพกเล็กน้อย แต่ลูกใหญ่ซึ่งทางต่างประเทศเขาก็ต้อง
การ ซึ่งก็จะต้องเป็นไปตามนั้น

เรื่อง ต่อมาที่อยากจะคุยคือ เรื่องการทำสวนมะพร้าว ซึ่งวันนี้มีวิทยากรที่เชี่ยวชาญและชำนาญ
กว่าผม แต่สำหรับผมก็จะพูดในเรื่องกว้างๆ แต่อาจมีเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ มาเล่าให้พวกเราฟังว่า
การทำสวนมะพร้าวที่สวนของผมเมื่อก่อนใช้ยาฆ่าหญ้า แต่เดี๋ยวนี้เลิกใช้แล้ว เพราะมีผลตกค้าง
มาก ดังนั้น สำหรับมะพร้าวแล้วต้องระวังเรื่องยาฆ่าหญ้า พอหญ้าขึ้นมาแล้วเราก็ใช้เครื่องตัด
หญ้าแบบสะพายตัด หรือเดี๋ยวนี้ได้มีการพัฒนาเครื่องตัดหญ้าแบบที่นั่งตัดได้ แต่หากเป็นสวน
ยกร่องก็อาจจะทำลำบากหน่อยก็จะมีอาจารย์ศิวลักษณ์ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพง
แสน ท่านคิดทำเครื่องตัดหญ้าดังกล่าวขึ้นไว้เพื่อใช้กับสวนมะพร้าว พอตัดหญ้าแล้ว ซึ่งหญ้าเอง
ก็สามารถทำเป็นปุ๋ยได้ แต่ที่ดีและพิเศษกว่านั้นคือว่ามะพร้าวนั้นต้องการซิลิกอน ซึ่งธาตุซิลิ
กอนมาจากทราย แต่พืชดูดทรายไม่ได้ ทำอย่างไร ให้ซิลิกอนสามารถละลายได้ ซึ่งวิธีที่ดีทีสุด
คือ มีหญ้าบางชนิดดูดซิลิกอนได้ง่าย เพราะว่ามีเชื้อแบคทีเรียตัวหนึ่งที่ชื่อ ซิลิเกท เป็น
แบคทีเรียที่มีคุณสมบัติช่วยละลายซิลิกอนแล้วหญ้าก็ดูดขึ้นไป ให้สังเกตว่าหญ้าที่มีลักษณะ
แข็งๆ นั้น เพราะว่าดูดซิลิกอนไว้มาก ข้าวที่ดูดซิลิกอนไว้มากๆ จากปุ๋ยที่มีซิลิกอนแล้ว ข้าวชนิด
นั้นๆ จะทนต่อโรคและแมลง ซึ่งเรื่องนี้มีงานวิจัยมากมายว่าพืชที่เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น ข้าว
อ้อย จะมีลักษณะดังกล่าว เมื่อหญ้าดูดซิลิกอน เพราะที่รากหญ้ามีจุลินทรีย์ตัวหนึ่งที่สามารถ
ละลายซิลิกอนในดินได้ มันก็จะดูดขึ้นไป หรืออีกตัวหนึ่งคือ ขี้ค้างคาว ก็จะมีจุลินทรีย์และอะมิโน
เอซิด ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยทำให้ซิลิกอนละลายได้แล้วก็ดูดขึ้นไป

ดังนั้น เมื่อใส่ขี้ค้างคาว องุ่น หรือฝรั่ง ซึ่งฝรั่งก็จะหวานกรอบ ทั้งหมดนี้คือบทบาทของซิลิกอน
เพราะฉะนั้นก็จะเป็นเทคนิคง่ายๆ เลยที่สามารถนำไปทำเองได้ อย่างไรก็ตาม มะพร้าวนั้นมี
โพแทสเซียมมาก มีแคลเซียมมาก และก็มีแมกนีเซียม เพราะฉะนั้นเวลาจะให้ปุ๋ยควรจะให้อะไร
และมะพร้าวเป็นพืชที่ให้น้ำมันมาก ดังนั้น ควรใส่แมกนีเซียมมากหน่อย สูตรที่จะแนะนำก็คือ12-
12-17-2 แต่ว่าค่อนข้างหายากในตลาดบ้านเรา จึงต้องมีการปรับมาใช้สูตร 13-13-21 หรือ สูตร
15-15-15 แล้วก็เติมด้วย 0-0-60 แล้วตามด้วยปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 ส่วนระยะเวลาใส่ก็ต้นละ
2-3 ครั้ง ต่อปี อีกอย่างหนึ่งสำหรับขี้หมูคือว่าถ้าจะให้ดีควรหมักไว้ก่อน แล้วขี้หมูที่นำไปทำไบ
โอแก๊สแล้วจะเป็นการหมักโดยอัตโนมัติ เพราะในขี้หมูมีเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ช่วยในการ
สังเคราะห์แสง มันก็จะสร้างฮอร์โมนตัวหนึ่งที่ชื่อ ALA ซึ่งเป็นฮอร์โมนตัวใหม่ที่ทางญี่ปุ่นขายชื่อ
เพนตาดีฟ มีราคาแพงมาก เป็นฮอร์โมนที่ช่วยในการสังเคราะห์แสงของพืช ดังนั้น ถ้านำน้ำขี้หมู
หมักไปพ่นหรือไปรด บรรดาพืชที่ให้แป้งทั้งหลายก็จะทำให้เกิดการงอกงามดี และให้ผลผลิตสูง


นอก จากนั้นแล้ว การใส่ปุ๋ยยังทำให้มะพร้าวให้จั่นถึงปีละ 16 จั่น ถ้าเราพูดถึงมะพร้าวน้ำหอมนั้น
จะเก็บทุกๆ 20 วัน จากสวน สมมุติว่าเราได้ 4 บาท คนเก็บอาจจะได้สัก 1 บาท ทั้งเก็บและขน
ไปให้ล้ง ล้งก็นำมาตัดแต่ง เฉือนให้มีรูปทรงเหลี่ยม และก็จุ่มน้ำยา หุ้มด้วยพลาสติค อยากจะ
บอกผู้ร่วมสัมมนาว่าในครั้งนี้มีบุคคลที่เก่งและชำนาญด้านวิชาการหลัง การเก็บเกี่ยว ไม่ว่าจะ
เป็นมะพร้าวน้ำหอม ทุเรียน ส้ม หรือกล้วย ผมอยากจะแนะนำให้รู้จักกับท่านอาจารย์ ศ.ดร.จริง
แท้ ศิริพานิช ท่านเป็นอาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผลไม้ ภาควิชาพืชสวน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน และท่านก็ได้มาร่วมงานสัมมนาในครั้งนี้ด้วย ซึ่งอีกสัก
ครู่จะเชิญท่านมาพูดคุย ตลอดจนให้ความรู้ในแง่มุมต่างๆ ของมะพร้าว

ส่วนตลาดของมะพร้าวน้ำหอมก็ยังมีโอกาสอีกมากมายในช่วงนี้ เพราะดูจากตลาดแล้ว สหรัฐ
อเมริกา ที่ตะวันออกกลางก็กำลังเริ่ม ที่ไต้หวันก็มีอยู่และราคาแพงมาก ตกลูกละ 120 บาท
เพราะที่ไต้หวันปลูกมะพร้าวได้น้อย ผมมีข้อมูลด้านมะพร้าวมาก มีข้อมูลจากที่อินเดีย และที่
บราซิล และน้ำมะพร้าวก็มีข้อดีหลายอย่าง น้ำมะพร้าวมีโพแทสเซียมสูง ยิ่งถ้าเหนื่อยๆ มาแล้ว
มาดื่มน้ำมะพร้าวจะรู้สึกสดชื่นทันที แต่ท่านที่เป็นเบาหวานอยู่ก็ไม่ควรดื่มมาก แต่เหมาะสำหรับ
ท่านสุภาพสตรีที่อยู่ในวัยทองจะช่วยได้มาก เพราะน้ำมะพร้าวมีฮอร์โมนเพศเมื่อดื่มแล้วผิว
พรรณจะดี

ในประเทศไทย เราได้มีการส่งน้ำมะพร้าวอ่อนไปขายที่ไต้หวัน เกาหลี มะพร้าวแก่ก็ทำได้เหมือน
กัน แต่จะต้องทำการปรุงรสชาติเพิ่มเติมเล็กน้อย คราวนี้ลองมาดูว่าน้ำมะพร้าวแก่สามารถนำไป
ทำอะไรได้อีก ก็ขอบอกว่าในน้ำมะพร้าวแก่นั้นมีฮอร์โมนและน้ำตาล ฮอร์โมนที่มีก็เป็นฮอร์โมน
คนและพืช ในประเทศฟิลิปปินส์ได้มีการสกัดฮอร์โมนออกมา ส่วนในไทยก็นำน้ำมะพร้าวแก่มา
หมัก เอาจุลินทรีย์ที่ใช้ เช่น พด.6 ผสมขี้ค้างคาวเล็กน้อย แล้วนำไปพ่นใส่ต้นไม้ก็จะได้ผลดี
หรือถ้าอยากให้ผลไม้หวานก็เติมโพแทสเซียมไนเตรต สูตร 13-0-46 ลงไปเล็กน้อย ก็จะเป็น
การเสริม นอกจากนั้น ยังเป็นการทำปุ๋ยชีวภาพใช้เองด้วย

ดัง นั้น น้ำมะพร้าวเป็นของที่เป็นประโยชน์มากจริงๆ ในวงการเกษตรจะนำน้ำมะพร้าวอ่อนมา
เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพราะในน้ำมะพร้าวอ่อนมีไซโตไคนิน และก่อนที่ผมจะจบการบรรยายในช่วง
แรก ก็อยากจะเรียนเชิญท่าน ศ.ดร.จริงแท้ ศิริพานิช กรุณามาให้ความรู้ด้านมะพร้าว พร้อม
กรุณาตอบข้อซักถามด้วย

คำถามจาก ผู้เข้าร่วมสัมมนา : จะเรียนถามเกี่ยวกับการที่จะเก็บหรือรักษามะพร้าว เพื่อนำไป
จำหน่ายที่สหรัฐอเมริกา ขอให้ช่วยขยายความเป็นขั้นตอนตั้งแต่การเก็บไปจนถึงการนำส่งไป
ขายปลายทาง

ศ.ดร.จริงแท้ : จากคำถามก็อยากจะตอบว่า ขั้นตอนทุกอย่างที่จะพูดต่อไปนี้เป็นขั้นตอนที่ทำ
กันอยู่เป็นประจำปกติ และก็ไม่ได้เป็นความลับแต่อย่างใด ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่เริ่มต้น
โดยการเก็บมะพร้าวตามอายุที่เหมาะสม ถ้าจะส่งไปที่อเมริกาเขาดื่มแต่น้ำ ไม่รับประทานเนื้อ
มะพร้าว ก็จะใช้มะพร้าว 2 ชั้น ถ้าเป็นของเราก็ใช้ชั้นครึ่ง เพราะเรารับประทานเนื้อด้วย เริ่มต้น
โดยใช้มะพร้าว 2 ชั้น ปอกเปลือกเป็นรูปทรงตามที่วางขาย ต่อจากนั้นให้นำไปจุ่มน้ำยาซึ่งเป็น
น้ำยาฟอกขาว ที่มีขนาดความเข้มข้น 1-3 เปอร์เซ็นต์ แต่ทั่วๆ ไป จะใส่เกินกว่านี้และแถมยังใส่
ยากันเชื้อราเข้าไปด้วย ระยะเวลาการแช่ไว้ก็ประมาณ 3 นาที เสร็จแล้วนำไปห่อหุ้มด้วยพลาส
ติคที่ใช้สำหรับห่อผลไม้ จากนั้นก็นำไปบรรจุลงกล่อง ซึ่งกล่องที่บรรจุจะต้องเก็บรักษาอุณหภูมิ
ที่ประมาณ 2-4 องศา ก็จะสามารถอยู่ได้ 3-4 สัปดาห์ ซึ่งวิธีที่กล่าวมาข้างต้น เป็นวิธีที่ทำอยู่ทั่ว
ไปที่ได้มาตรฐาน

แต่เท่าที่ได้ศึกษามาและมี การไปสังเกตการปฏิบัติก็พบว่า มีการทำเกินไปกว่านี้ โดยใช้ทั้งสาร
ฟอกสีและยากันเชื้อรา ซึ่งข้อเท็จจริงนั้นยากันราไม่จำเป็นต้องใช้ เพราะสารฟอกสีอย่างเดียวก็
เพียงพอแล้ว เพียงแต่ว่าเวลาท่านปฏิบัติขอให้ละเอียดเล็กน้อย เวลาไปดูบางโรงงานก็ไม่ได้ทำ
อย่างที่กำหนด ตัวอย่าง เวลาจุ่มน้ำยาที่มีการกำหนดไว้ 3 นาที แต่ผู้ปฏิบัติมีการจุ่มแช่ไว้ตั้งแต่
1 วินาที จนบางครั้งถึง 15 นาที ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะเวลาคนปอกเมื่อปอกเสร็จก็ใส่ที่แช่น้ำยา
แล้วจากนั้นก็จะมีคนมายกมะพร้าวที่แช่น้ำยานำไปห่อ คราวนี้เมื่อคนปอกเสร็จแล้วไปแช่น้ำยา
ซึ่งมะพร้าวแต่ละลูกจะแช่ไม่พร้อมกัน บางลูกเพิ่งแช่ บางลูกแช่ไว้นานแล้ว หากหยิบลูกที่เพิ่ง
แช่ไปห่อแล้วก็จะทำให้น้ำยายังไม่ซึมก็จะมีผลต่อการเกิด เชื้อราในภายหลัง หรือบางครั้งคนยก
ก็ไปนั่งพักทำให้มะพร้าวที่แช่อยู่ในน้ำยานานเกินไป จนทำให้น้ำยาซึมเข้าไปในเนื้อและน้ำ ซึ่ง
เมื่อส่งไปที่อเมริกาและได้มีการตรวจพบก็จะเสียชื่อ เพราะมีสารตกค้างเกิน ซึ่งในอนาคตอาจถูก
พิจารณาห้ามนำส่งเข้าก็ได้ ซึ่งผู้ส่งออกเองก็ไม่สบายใจในเรื่องดังกล่าว

เพราะฉะนั้นจึงต้องมี การเข้มงวดให้ละเอียดว่า ควรแช่ตามมาตรฐานที่กำหนดก็พอแล้ว แต่เมื่อ
ได้ทำการศึกษาอย่างละเอียดแล้วไม่จำเป็นต้องถึง 3 เปอร์เซ็นต์ ก็ได้ เพียงแค่ 1 เปอร์เซ็นต์ ก็
เพียงพอ เพราะหากใช้มากโอกาสที่จะตกค้างก็มีสูง อันที่จริงสัก 1 เปอร์เซ็นต์ แล้วใส่เกลือลง
ไปสัก 4 เปอร์เซ็นต์ ก็จะทำงานใกล้เคียงกัน อาจจะด้อยกว่าเล็กน้อยก็ไม่เป็นไร ก็จะสามารถลด
การเกิดเชื้อราได้ และก็ไม่ต้องใช้ยากันเชื้อรา

คราวนี้ถ้าหากเราไม่ต้องการสารที่อาจ เป็นพิษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวต่างประเทศแถบอเมริกา
เพราะเป็นชนชาติที่แพ้สารดังกล่าวได้ง่าย ดังนั้น ควรจะใช้อย่างอื่นแทนซิตริกแอซิด หรือกรด
มะนาว สัก 2.5 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับวิตามินซี สัก 2-3.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเปอร์เซ็นต์ที่เป็นสัดส่วน
อาจมีการปรับเองตามความเหมาะสม แต่หลักๆ ก็ควรอย่างละ 2.5 เปอร์เซ็นต์ ก็สามารถช่วยลด
การเกิดสีน้ำตาลและการเกิดเชื้อราบนมะพร้าวได้ แต่ทั้งสองตัวอาจช่วยในเรื่องการลดสีน้ำตาล
แต่การควบคุมโรคอาจไม่ค่อยดี ซึ่งถ้าหากไม่ใช้เวลาเดินทางนานนักก็คงไม่เกิดโรค

อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ก็พยายามที่จะลดสารเคมีให้มากที่สุด นอกจากนั้นแล้ว บางคนก็ไม่ใช้สาร
เคมีเลยก็มี ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะเดี๋ยวนี้นิยมหันไปหาธรรมชาติกันมาก วิธีการทำได้คือ
การทำมะพร้าวให้แห้ง เพราะมะพร้าวถ้าหากชื้นแล้วมันก็จะเป็นราได้ ทำอย่างไร ไม่ให้เกิดเชื้อ
ราก็ต้องทำให้แห้ง และสามารถทำโดยปอกมะพร้าวออกให้หมดให้เหลือแต่กะลา ที่ตรงจุกก็ให้
เหลือน้อยที่สุด และที่ตรงจุกที่เป็นตาสามตาจะเป็นที่เกิดเชื้อโรคเข้าได้ง่าย จึงต้องทำบริเวณนั้น
ให้แห้งเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราเข้าและเจริญเติบโต เข้าโดยง่าย ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะหา
วิธีเอง จึงขอย้ำว่าจุดอ่อนก็อยู่ตรงที่ตาสามตา ต้องหาวิธีป้องกันไม่ให้ความชื้นเข้า

แต่ทุกวันนี้เวลาปอกมะพร้าว บริเวณที่แหลมๆ คือ ก้น ซึ่งไม่มีตา ส่วนฐานที่วางอยู่กับพื้นที่มีตา
สามตาซึ่งเชื้อราก็จะเกิดที่ฐาน ก็มีคำถามว่า จะกลับหัวได้ไหม? คำตอบคือ หนึ่ง มันปอกยาก
และสองมันจะมีรูหรือมีโพรงอยู่บริเวณนั้น ซึ่งถ้าหากปอกตรงที่หัวแหลมที่มีโพรงอยู่ก็อาจจะดูไม่
สวย แล้วเวลามันสูญเสียน้ำแล้วมันจะแห้งไปก็อาจจะเห็นเป็นโพรงๆ ดูไม่สวย แต่ถ้าทำอย่างนั้น
แล้วคงไม่มีเชื้อรา อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ยังไม่ได้มีการพิสูจน์อย่างเป็นรูปธรรม เพียงแต่เป็น
การเล่าให้ฟังหรือเป็นแนวทางของการที่พยายามจะคิดนอกกรอบเท่า นั้น


คำถามจากผู้เข้าร่วมสัมมนา :
1. ขี้เกลือ หรือขี้แดด นำมาใช้กับมะพร้าวได้หรือไม่ จะมีประโยชน์มาก/น้อยเพียงใด รวมถึง
อัตราส่วน ควรเป็นเท่าไร

2. ถ้าหากปลูกมะพร้าวแต่อยู่ห่างแหล่งน้ำ เช่น คลอง หรือบ่อ ควรจะให้น้ำอย่างไร จึงจะเหมาะสม

อาจาร์ยประทีป :
เรื่องขี้แดดนาเกลือ หรือที่เรียกว่าหนังหมา แต่เดิมขายจากนาเกลือ กิโลกรัมละ 3 บาท ซึ่งเดิมที
เขาทิ้งกัน ปรากฏว่าในนั้นมีส่วนประกอบของแมกนีเซียม.และโพแทสเซียม.ส่วนหนึ่ง และมีพวก
สาหร่าย. ซึ่งให้ฮอร์โมนไซโตไคนิน.อยู่ส่วนหนึ่ง ทีนี้ในเขตสมุทรสงคราม สมุทรสาคร ก็นำไป
ขาย ถ้ามีใครที่สนใจจะหาซื้อง่ายๆ ก็จะมีอยู่ที่สันติอโศก ที่นครปฐม

ใช้ได้ดีกับพืชชนิดใดบ้าง ก็จะมีมะพร้าว ส้มโอ เพราะมีเกลืออยู่บ้างเล็กน้อย ซึ่งพืชชนิดดัง
กล่าวชอบเกลือ สำหรับอัตราส่วนนั้นใส่ต้นละประมาณ 3 กิโลกรัม แต่ราคาขณะนี้ล่าสุดอยู่ที่ 8
บาท ต่อกิโลกรัม ส่วนอีกคำถาม ขอตอบว่า มะพร้าวเป็นพืชที่ชอบน้ำ ซึ่งหากนำไปปลูกที่ดอน
และขาดน้ำก็จะให้ลูกยาก มีให้แต่จั่น แต่ไม่ติดลูก ก็จะเห็นแต่ใบมะพร้าว

ในช่วงแรกนี้ อาจารย์ประทีปขอจบการบรรยายและการซักถามไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อน
โปรดติดตามรายละเอียดได้ต่อในฉบับหน้า


Content ©