-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 241 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

มะละกอ




หน้า: 4/4



มะละกอแขกดำ กลับมาแล้ว
โดย...สุธน สุขพิศิษฐ์
เพราะว่าติดนิสัยกินมื้อเช้าต้องกินหนัก จากกาแฟที่รสชาติเดียวไม่เปลี่ยน ขนมปัง แซนด์วิชหมุนเวียนไปเรื่อยๆ ที่ไม่ขาดต้องมีผลไม้ 23 อย่าง มะละกอเป็นอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้ เหตุผลคือ ปอกง่าย กินง่าย มีให้ซื้อตลอดทั้งปี ผลไม้นอกจากนั้นก็หมุนเวียนไปเรื่อยๆ


ฉะนั้น จึงค่อนข้างชำนาญกับการซื้อมะละกอ เมื่อ 10 ปีที่แล้วจะซื้อมะละกอแขกดำจากราชบุรีที่ตลาดคลองเตย ถึงจะเป็นเจ้าประจำ บางทีก็ไม่มีหรือสุกเต็มที่ทั้งกอง ไม่มีแบบทยอยกิน จึงซื้อได้ 12 ลูกเท่านั้น จะเอามาหลายลูกจะเละเน่าเสีย ไม่คุ้มค่า
มาเปลี่ยนเป็นซื้อในห้าง มะละกอแขกดำในห้างนั้นผมว่ามันแปลกๆ ไม่เหมือนแขกดำราชบุรีที่รู้จัก ลูกมันยาวเกือบเท่าแขน เท่ากับมะละกอตำส้มตำ แถมที่เขาผ่าโชว์นั้น เนื้อซีดๆ เหลืองๆ ถึงราคาถูกมาก ก็ไม่แน่ใจว่าจะกินได้หรือเอามาทิ้ง และตอนนั้นมีมะละกอฮอลแลนด์ออกมาใหม่ๆ จึงกินมะละกอฮอลแลนด์ ลูกใหญ่ เนื้อแน่นดี บางครั้งหวานใช้ได้ และบางครั้งมีมะละกอฮาวายขาย ใช้ได้เลย หวาน หอม แต่ลูกเล็กมาก กลวงตรงกลาง มีเม็ดมากกว่าเนื้อ ต้องใช้อย่างน้อยสามลูกถึงจะพอกับความต้องการ และความที่ลูกเล็กๆ ปอกยากเสียเวลา บางทีก็มี บางทีก็หายจ้อยไปเลย จึงเฉยๆ ก็ทนกินมะละกอฮอลแลนด์มาเรื่อย ระยะหลังๆ ชักไม่ได้เรื่อง ขนาดว่าแน่เลือกเก่งแล้วเอาผิวแบบทยอยกิน แต่ปรากฏว่าเป็นมะละกออ่อน ยังไม่ถึงกำหนดเก็บ ส่วนลูกเหลืองๆ ที่กินได้นั้นรสเริ่มจืดลงทุกวัน แล้วสงสัยว่า ทำไมมะละกอในห้างส่วนใหญ่ทั้งกองจึงเหลืองเท่ากันหมด เหมือนมะม่วงบ่มแก๊ส รสจึงไม่ได้เรื่อง อีกอย่างราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ อยู่ระหว่าง 40-60 บาท เผอิญเมื่อ 56 ปีที่แล้วไปนครชัยศรี ไปบังเอิญรู้จักนายปรุง ป้อมเกิด ซึ่งปลูกมะละกอแขกดำ รูปร่างมะละกอสีสันไม่เหมือนมะละกอในห้าง ของนายปรุงนั้นลูกสั้นกว่า และเวลาแก่แต้มสีแดงสีส้มชัดเจนกว่า การปลูกของนายปรุงก็แปลกเข้าท่า เพราะตรงคอต้นมะละกอที่มีลูกเกาะอยู่เต็มคอนั้นผูกผ้าขาวนิ่มๆ ปลิวได้ เลยเรียกว่ามะละกอนุ่งผ้า นายปรุงบอกว่าเพื่อป้องกันแมลงและไม่ให้แดดเลีย เพราะมันจะสุกไม่เท่ากัน ดูเข้าใจคิดดี แถมเวลาส่งขายติดสติกเกอร์ทุกลูกว่า มะละกอนายปรุง แสดงว่ารับรองคุณภาพ ซื้อมากินอร่อยมาก เนื้อแน่น หอม หวาน และเลือกแบบทยอยกินได้ไม่ผิดหวัง


ผมก็ผูกกินมะละกอนายปรุงมาตลอด บางครั้งไปถึงนครชัยศรีไม่ได้ เจอที่ตลาดอ.ต.ก. ก็ซื้อ ถึงจะแพงเอาเรื่องก็ยอม แต่สำหรับมะละกอนายปรุงนี้ เมื่อจะไปซื้อ ต้องโทรศัพท์ไปถามก่อนว่า มีไหม บางทีเป็นเดือนๆ ไม่มี เพราะยังแก่ไม่ได้ที่ เคยบางครั้งผ่านไปทางนั้น ก็แวะเข้าไปหา ปรากฏว่าแปลงปลูกมะละกอที่เคยเห็นต้นเต็มแปลงนั้น ไม่เหลือแม้แต่ตอ นายปรุงบอกว่าตัดทิ้งเพื่อปลูกใหม่ทั้งแปลง ถึงส่วนใหญ่จะปลูกแบบแปลงไล่เวลาเก็บ มีแปลงที่ต้นแก่จัดกำลังให้ลูกแล้ว มีแปลงที่กำลังจะให้ลูกตามมา และมีต้นใหม่กำลังโตขึ้น แต่เผอิญโรคมะละกอระบาด นายปรุงตัดทิ้งเกลี้ยงทั้งหมด และทิ้งระยะ ปรับดิน ไม่ให้โรคเหลือเชื้อ ปลูกใหม่นั้นกว่าชุดแรกจะให้ลูกก็ 8-9 เดือน นับว่าใจถึงจริงๆ ที่ขาดรายได้เพื่อรักษาชื่อความเป็นมะละกอนายปรุง และเมื่อปีที่แล้วทั้งปีผมต้องไปศาลายา ผ่านไปสวนนายปรุงบ่อย ก็ยังไม่เห็นต้นมะละกอ
จนเมื่อ 2 อาทิตย์ที่แล้ว กินมะละกอฮอลแลนด์ห้าง ซื้อมาให้สุกที่บ้าน พอผิวมันสุกนั้นข้างในเละ เพราะเก็บมาตอนยังไม่แก่จัด ส่วนที่กินได้ก็จืดสนิท เสียดายเงิน เลยโทร.ไปหานายปรุง ซึ่งกำลังมีพอดี แต่ยังน้อยอยู่ จะค่อยๆ ทยอยออกมาเรื่อยๆ ภายใน 2 เดือนนี้


เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาก็นัดจะไปซื้อ แต่ของกินแถวศาลายาไม่มีอะไรมากเลย จะกินก๋วยเตี๋ยวหมูสมพงษ์ที่คลองมหาสวัสดิ์ หรือก๋วยเตี๋ยวเรือที่คลองแยกเล็กๆ แยกจากคลองทวีวัฒนา ใกล้ศาลายา ทั้งสองร้านต้องนั่งราบกับพื้น เป็นปัญหาสำหรับผมอีก ไหนๆ มีเวลาก็ไปกินร้านเอี๊ยะ เซี๊ยะ ฮวด ที่สามโคก ปทุมธานี กะว่ากินเสร็จขับรถดูวิวจากถนนชัยพฤกษ์ ปทุมธานี มาพุทธมณฑล แล้วเข้าศาลายา


กินที่เอี๊ยะ เซี๊ยะ ฮวด ไม่เคยผิดหวัง ที่ไม่ขาดคือเป็ดพะโล้ และครั้งนี้สั่งปลากะพงนึ่งซีอิ๊ว และมะระผัดไข่ใส่แหนม ปลานึ่งอร่อยดี ส่วนมะระผัดไข่นั้นผมชอบแบบนั้นที่เนื้อมะระยังแข็งๆ ซึ่งอาจจะขมหน่อย แต่กินมะระก็คือกินความขมของมันนั่นเอง ไปเอี๊ยะ เซี๊ยะ ฮวด ต้องซื้อบ๊ะจ่างกลับบ้านทุกครั้ง อร่อยและถูก ลูกละ 20 บาทเท่านั้น
แล้วไปสวนนายปรุง ได้มะละกอตามต้องการแล้วก็เลยนั่งคุยกัน ทั้งนายปรุงและภรรยาก็เล่าว่า มะละกอแขกดำในห้างก็เป็นแขกดำจริงๆ แต่เป็นอีกพันธุ์หนึ่ง จะปลูกแถวจันทบุรี ระยอง ปราจีนบุรี เนื้อสีไม่สวยและไม่ค่อยหวานแต่ถูก

ส่วนมะละกอฮอลแลนด์นั้นปลูกกันมากขึ้น เรียกว่ากำลังจะแซงหน้ามะละกอแขกดำแล้ว และแต่ละพื้นที่ส่วนใหญ่กำลังจะกลายพันธุ์ เพราะคนปลูกใหม่ๆ ก็ไม่รู้ว่าพันธุ์ดั้งเดิมแท้ๆ นั้นรสชาติเป็นอย่างไร ได้อย่างไรเอาอย่างนั้น มันเริ่มห่างจากสายพันธุ์แท้ๆ ที่มาจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย ซึ่งดั้งเดิมแท้ๆ เนื้อแน่นและรสอร่อยใช้ได้


สาเหตุการกลายพันธุ์อย่างหนึ่งคือเกษตรกรชอบปลูกแบบผสม เกสรที่ถูกลมพัดบ้างแมลงพาไปบ้าง มันผสมปนเป รส ชาติมันถึงเปลี่ยน จะเริ่มจืดขึ้น อีกอย่างเมื่อส่งขายห้างต้องรีบเก็บ เพราะต้องเผื่อเวลาการเดินทางและต้องบ่มเพื่อให้ผิวสวยน่าซื้อ


ส่วนมะละกอแขกดำของเขานั้น เป็นแขกดำสายพันธุ์โบราณ และอาศัยที่ทำสายพันธุ์นี้มามากกว่า 20 ปี พยายามรักษาสายพันธุ์ดั้งเดิมไว้ บางทีมันไปทางพ่อ บางทีมันไปทางแม่ เขาจะเก็บเม็ดสายพันธุ์ที่ดีที่สุด ถูกต้องที่สุด ข้อสำคัญที่ยังรักษาสายพันธุ์ได้ เพราะทำกันเองไม่เคยมีลูกจ้าง มะละกอทุกลูกต้องผ่านมือตัวเอง มีเกษตรกรอื่นๆ จากจังหวัดอื่นๆ มาเอาทั้งเม็ดพันธุ์และต้นเล็กๆ ไปปลูก ไม่ค่อยได้ผล เพราะเกษตรกรหรือเจ้าของสวนไม่ได้ลงมืออยู่ในสวนด้วยตัวเอง ใช้ลูกจ้าง หรือมีต้นมะละกอพันธุ์อื่นๆ ปลูกผสมอยู่ด้วย มันก็กลายพันธุ์

ที่จริงเป็นมะละกอที่ปลูกไม่ยาก เพียงแต่ต้องดูแลเอาใจใส่มันมากหน่อยเท่านั้น และตอนนี้ถือว่ามะละกอแขกดำสายพันธุ์โบราณนี้มีที่เขาคนเดียว
ก็นี่แหละครับ ที่ยกเอาเรื่องมะละกอมานี้ เพราะมีที่มาที่ไปเยอะเหมือนกัน ที่พูดถึงมะละกอแขกดำนายปรุงนี่ไม่ใช่ว่าได้ซื้อมากินเท่านั้น ความสำคัญอยู่ที่ตัวนายปรุงคือ ความเป็นเกษตรกรที่เอาจริงเอาจัง แม่นยำรู้จริงในการปลูก ใจถึง ยอมเสียรายได้ไม่ยอมเสียชื่อ สุดท้ายคือเขาเป็นผู้รักษามะละกอแขกดำเอาไว้ได้ครับ


ทางไปสวนนายปรุง ไปทางพุทธมณฑล เข้าศาลายา ผ่านมหาวิทยาลัยมหิดล ไปเส้นศาลายานครชัยศรี จะถัดจากโรงงานตะติยะก็ถึง ทางเข้าเดียวกันกับร้านอู่ข้าวอู่ปลา โทร. 089-547-1807


ที่มา  :  โพสต์ ทูเดย์



ทำไม ? คนฮาวายไม่เอามะละกอ จีเอ็มโอ
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

มะละกอเป็นพืชผลส่งออกสำคัญของเกาะฮาวาย แต่ล่าสุดเกษตรกรฮาวายได้ส่งสัญญาณเตือนคนไทยว่าอย่าคิดปลูกมะละกอจีเอ็มโอจะดีกว่า เพราะที่ฮาวายต้องหมดตัวเพราะหลงเชื่อบริษัทขายเมล็ดพันธุ์ จีเอ็มโอ มาแล้ว

กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้จัดงานสัมมนาเรื่อง “มะละกอ จีเอ็มโอ บทเรียนจากฮาวายสู่เกษตรกรไทย”  เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2546 โดยได้เชิญเมลานี บอนเดอรา เกษตรกรที่ทำการเกษตรยั่งยืนและสมาชิกเครือข่ายรณรงค์ต่อต้านจีเอ็มโอของฮาวาย (ไฮ-ยีน) มาเล่าถึงสถานการณ์ปลูกมะละกอ จีเอ็มโอ ในฮาวาย  ซึ่งเป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ว่าตอนที่เริ่มมีมะละกอจีเอ็มโอในฮาวายเมื่อ 5 ปีที่แล้ว เขาโฆษณาว่าเป็น “วิธีแก้” ปัญหาไวรัสจุดด่างวงแหวน แต่จริงๆ แล้ว กลับสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาเศรษฐกิจ หลังจากมะละกอ จีเอ็มโอ ออกสู่ท้องตลาดครั้งแรกเมื่อปี 2542 ตลาดในต่างประเทศหลายแห่งปฏิเสธไม่ซื้อมะละกอ จีเอ็มโอ ทำให้เกษตรกรฮาวายประสบหายนะ ราคาของมะละกอจีเอ็มโอในท้องตลาดต่ำกว่าราคาทุนถึง 30–40 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ ยังต่ำกว่ามะละกออินทรีย์ซึ่งปลูกโดยไม่ใช้สารเคมีและ จีเอ็มโอ ถึง 600 เปอร์เซ็นต์ 

เกษตรกรฮาวายยังพบอีกว่ามะละกอ จีเอ็มโอ ของฮาวายที่ได้ชื่อว่า พันธุ์ซันอัพ ติดเชื้อราและโรคอื่นๆ เช่น เชื้อราจุดดำ ได้ง่ายกว่ามะละกอที่ไม่ใช่ จีเอ็มโอ  การค้นพบนี้เกิดขึ้น 5 ปีหลังจากมะละกอ จีเอ็มโอ ได้รับอนุมัติให้ปลูกเพื่อการค้าแล้ว ปัจจุบันเกษตรกรต้องฉีดสารเคมีกำจัดเชื้อราให้กับมะละกอ จีเอ็มโอ ทุกๆ 10 วัน

ตั้งแต่ต้นปี 2546 เป็นต้นมา ฮาวายเป็นสถานที่เดียวในโลกที่ปลูกมะละกอ จีเอ็มโอ เพื่อการค้า และในขณะนี้ กรมวิชาการเกษตร และหน่วยงานไบโอเทคของไทยก็ได้ออกมาโฆษณาความสำเร็จของมะละกอ จีเอ็มโอ ในไทยซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากนักวิทยาศาสตร์คนเดียวกันและหน่วยงานหน่วยงานเดียวกับที่ผลิตมะละกอ จีเอ็มโอ ในฮาวาย โดยมีบริษัทมอนซานโต เป็นเจ้าของสิทธิบัตรหลายสิทธิบัตรอยู่


มีการคาดการณ์กันว่าผลกระทบที่จะเกิดจากการปลูกมะละกอ จีเอ็มโอ ในไทยนั้น อาจน่ากลัวกว่าฮาวาย เนื่องจากคนไทยไม่เพียงทานส้มตำเป็นอาหารประจำวัน ต้นมะละกอยังขึ้นอยู่ทุกหนทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นในเรือกสวนไร่นา ในสนามหญ้าของโรงเรียน หรือในสวนหลังบ้าน



มะละกอต้านไวรัส : โจทย์ข้อแรกของพืช จีเอ็มโอ ในประเทศไทย
ส้มตำเป็นอาหารที่หลายคนชื่นชอบ มาวันนี้เราเห็นว่ามะละกอในจานส้มตำมีจำนวนเส้นน้อยลง ซึ่งไม่ได้เป็นเพราะ การแข็งของค่าเงินบาท หรือราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงลิ่ว แต่เป็นเพราะความหายากของมะละกอ อันเนื่องจากการระบาดของไวรัสใบด่างจุดวงแหวนในมะละกอนั่นเอง 


แม่ค้าส้มตำดินแดนเสียงแคน ดอกคูณ เล่าให้ฟังว่า “ราคามะละกอแพงขึ้นเกือบเท่าตัว และบางช่วงมะละกอขาดตลาด ทั้งๆ ที่ก่อนปี พ.ศ. 2546 มะละกอที่ปลูกไว้หลังบ้านมีให้ผลพอทำส้มตำขาย  แต่มาวันนี้กลับต้องซื้อมะละกอจากตลาด” ซึ่งไม่ต่างจากแม่ค้าส้มตำในตลาด กรุงเทพฯ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหานี้เช่นกัน


โรคไวรัสใบด่างจุดวงแหวนเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ Papaya ringspot virus (PRSV) พบในไทยครั้งแรกที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อปีพ.ศ. 2518 ในตอนนั้นไม่เฉพาะประเทศไทยที่พบปัญหาการระบาดของไวรัสชนิดนี้ ประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะละแวกเดียวกันอย่างไต้หวัน หรือข้ามทวีปไปยังฮาวาย ประเทศสหรัฐฯ ต่างประสบปัญหาการระบาดของโรคนี้ทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าจะผ่านมา 30 กว่าปีแล้ว แต่การระบาดของไวรัสใบด่างจุดวงแหวนก็ยังไม่ลดลง ดังเห็นได้จากการสำรวจการปลูกมะละกอในจังหวัดขอนแก่น พบว่าในปีพ.ศ. 2548–มกราคม 2550 เกือบทุกอำเภอพบการระบาดของโรคใบด่างจุดวงแหวน โดยบางหมู่บ้านพบมะละกอที่ปลูกเป็นโรคทุกต้น เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิด เฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่พบการระบาดของโรคอีกในหลายพื้นที่ทั้ง จังหวัดราชบุรี สมุทรสาคร นครปฐม และชุมพร


ไวรัสใบด่างจุดวงแหวนมีความน่ากลัวมีอยู่หลายประการ ประการแรกคือ ความสามารถในการเข้าทำลายมะละกอได้ทุกระยะของการเจริญเติบโต โดยมีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะ ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับสภาพและอายุของมะละกอ อาการเกิดได้ในทุกส่วนของต้น แต่จะเห็นชัดในส่วนของใบและผล โดยเฉพาะใบจะด่างเหลือง บิดเบี้ยว หงิกงอ เหมือนหางหนู ถ้าติดเชื้อรุนแรงใบจะเหลือแต่เส้นใบเหมือนเส้นด้าย บริเวณก้านมีจุดฉ่ำน้ำและเส้นประ ส่วนผลมะละกอจะสังเกตเห็นวงเล็กๆ ทั่วทั้งผล เป็นอาการที่เรียกว่า “วงแหวน” บริเวณที่เป็นจุดจะมีลักษณะเป็นไตแข็ง ผิวขรุขระ ยิ่งผลใกล้สุกจะยิ่งเห็นชัดเจน ความเสียหายจากการระบาดของไวรัสใบด่างจุดวงแหวน อาจถึงขั้นมะละกอนั้นไม่สามารถเก็บผลผลิตได้ และตายในที่สุด


ความน่ากลัวประการที่สองของไวรัสใบด่างจุดวงแหวนคือ เป็นโรคพืชที่ไม่สามารถแก้ไขได้โดยใช้สารเคมี วิธีแก้ปัญหาที่ทำได้คือต้องทำลายทิ้ง หรือใช้วิธีปลูกแบบกลางมุ้งให้มะละกอเพื่อป้องกันเพลี้ยอ่อนซึ่งเป็นพาหะนำ โรคไม่ให้เข้าไปได้  หรือใช้วิธีย้ายแหล่งปลูกไปเรื่อยๆ เมื่อมีการระบาดของมะละกอในพื้นที่หนึ่ง ก็ทำการย้ายไปยังพื้นที่อื่นๆ ดังนั้น หากพิจารณาถึงพื้นที่รวมทั้งหมดของมะละกอและผลผลิตในแต่ละปีแล้ว พบว่าไม่ได้ลดลงอย่างชัดเจน ทั้งนี้เกิดจากการย้ายพื้นที่ใหม่ในแต่ละปี ปัญหาที่สำคัญคือ เมื่อไวรัสระบาดไปในทุกพื้นที่จนไม่สามารถย้ายไปได้แล้ว จะมีที่ปลอดการ ระบาดของไวรัสใบด่างจุดวงแหวนให้เราปลูกมะละกออยู่อีกหรือไม่


เกษตรกรผู้ปลูกมะละกอจากชุมพร ยึดอาชีพการปลูกมะละกอมากว่า 20 ปี เล่าให้ฟังว่าการปลูกมะละกอทำได้ยาก ขึ้น จากที่เคยเก็บได้ 2 รอบเมื่อก่อนปี พ.ศ. 2530 มาวันนี้เก็บได้เพียงรอบเดียว ผลผลิตที่ได้น้อยลงมาก บางต้นก็ไม่ให้ผล แม้ว่าจะลองใช้วิธีปลูกพืชอื่นสลับ ก็ยังไม่ได้ผล ทำให้ 2 ปีที่ผ่านมาขาดทุน ถ้ามีวิธีที่ที่ดีกว่าก็อยากจะลอง

หากย้อนดูตัวเลขพื้นที่การปลูกมะละกอ พบว่าลดลงจาก 150,000 ไร่ในปี พ.ศ.2546 เหลือต่ำกว่า 100,000 ไร่ในปี พ.ศ. 2549 ผลผลิตมะละกอรวมของประเทศลดลงกว่าครึ่ง แม้ว่าผลผลิตปี พ.ศ. 2549 เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2548 แต่เกิดจากการย้ายพื้นที่ปลูกไปยังแหล่งใหม่ เช่นที่จังหวัดจันทบุรี และฉะเชิงเทรา ในขณะที่พื้นที่เดิมต้องเว้นช่วง ไม่สามารถปลูกมะละกอได้


นับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสใบด่างจุดวงแหวน นักวิจัยได้พยายามหา วิธีป้องกันกำจัดโดยใช้เทคนิคและวิธีการต่างๆ หลายวิธี เช่น 


การกำจัดเพลี้ยอ่อนที่นำโรคมายังมะละกอ แต่วิธีนี้ใช้ไม่ได้ผล เพราะเพลี้ยอ่อนไม่ได้อาศัยอยู่บนต้นมะละกอ และยังใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาทีก็ทำให้มะละกอเป็นโรคได้

การขุดรากถอนโคนทำลายต้นเป็นโรค วิธีนี้ได้ผลดีเฉพาะพื้นที่ปลูกที่ห่างไกลจากแหล่งปลูกมะละกอ หรือมีพืชกำบังเพื่อป้องกันไม่ให้เพลี้ยอ่อนจากนอกพื้นที่เข้ามาเท่านั้น

หาพันธุ์ต้านทานโรคในธรรมชาติ หรือปรับปรุงพันธุ์ต้านทานโดยวิธีผสมเกสร ซึ่งเป็นวิธีที่ดี แต่ยังไม่สามารถพัฒนาพันธุ์ที่ต้านทานโรคได้


การทำมะละกอ จีเอ็มโอ ซึ่งเป็นวิธีสุดท้าย และเป็นที่ยอมรับของหลายประเทศ และถือเป็นความหวังหนึ่งของเกษตรกรที่กำลังประสบปัญหาการระบาดของไวรัสใบ ด่างจุดวงแหวนอยู่

การทำมะละกอจีเอ็มเป็นการเลียนแบบการทำวัคซีนให้กับมะละกอ แต่ใส่เฉพาะยีนของโปรตีนที่ห่อหุ้มไวรัสเท่านั้น โดยใช้เทคโนโลยีทางพันธุวิศวกรรม การพัฒนามะละกอจีเอ็มนี้มีในหลายประเทศรวม ทั้งประเทศไทยด้วย สำหรับการพัฒนามะละกอ จีเอ็มโอ ในประเทศไทยอยู่ในระหว่างการ รอทดสอบในแปลงปลูกหรือการทดสอบภาคสนาม ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการทดสอบความปลอดภัยเพื่อให้มีข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่ ชี้ว่ามะละกอ จีเอ็มโอ ปลอดภัยกับระบบนิเวศจริงหรือไม่
 
ถ้าเรายอมแพ้ต่อเชื้อโรคนี้ คงไม่มีพื้นที่ปลูกมะละกอเหลือรอดให้ได้เก็บผล ส้มตำมะละกอคงหายไปจากเมนูอาหารยอดนิยมของคนไทย  เราจะหยุดหรือเดินต่อ ……


ข้อมูลโดย ... ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

Tags: พืชจีเอ็มโอ  มะละกอต้านไวรัส  ไวรัสใบด่างจุดแหวน  Papaya  GMO  BIOTEC


มะละกอทนแล้ง
มะละกอทนแล้งหรือมะละกอพันธุ์หนองหญ้าปล้องเป็นมะละกอพันธุ์ผสมระหว่างมะละกอแขกดำกับมะละกอสายน้ำผึ้ง ทำให้มีลักษณะเด่นคือ มีรสชาติหวาน สีสวย เนื้อแน่น และให้ผลผลิตสูง

การปลูกและการดูแลมะละกอทนแล้ง

หากดินที่ใช้ปลูกมะละกอทนแล้งมีลักษณะเป็นลูกรัง ที่ลาดเนินเขา ควรเว้นระยะประมาณ 2×2.5 เมตร ขุดหลุมให้ลึกพอแค่ให้มิดถุงต้นพันธุ์ จึงทำการปลูกได้


การให้น้ำมะละกอทนแล้ง
จะให้น้ำมะละกอที่ปลูกใหม่จนต้นมะละกอตั้งตัวได้ โดยให้น้ำประมาณวันละ 2-3 ครั้ง ส่วนในช่วงที่มะละกอติดดอกและผลต้องให้น้ำมะละกออย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้ามะละกอขาดน้ำจะทห้ผลมะละที่ติดไม่สมบูรณ์และอาจจะทำให้ดอกและผลร่วงได้


การให้ปุ๋ยมะละกอทนแล้ง
มะละกอในระยะต้นอ่อนจนถึงก่อนออกดอก ต้องมีการให้ปุ๋ยมะละกอเพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตของกิ่งก้านและใบ โดยใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจน เช่น สูตร 24-12-12 หรือ 16-20-0 อัตรา 1ช้อนชาต่อมะละกอ 1 ต้น (ใส่ครั้งแรกหลังจากปลูกมะละกอ 14 วัน และหลังจากนั้นให้ใส่ทุก ๆ 20 วัน) เมื่อมะละกอเริ่มติดดอกให้ใสปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนชาต่อมะละกอ 1 ต้น


การไว้ลูกมะละกอทนแล้ง
จะต้องแบ่งมะละกอที่ปลูกเป็น 2 โซน คือโซนที่ขายสุก และโซนที่ขายดิบ หากพบว่าลูกไหนเน่าเสียให้ทำการสอยทิ้งได้เลย เพื่อป้องกันโรคระบาดในมะละกอที่ยังดีอยู่


ผลผลิตและการตลาด
หลังจากที่ปลูกมะละกอได้ 6 เดือน มะละกอก็จะเริ่มมีผลผลิตออกมา และเมื่อมะละมีอายุได้ 9 เดือน ก็สามารถเก็บผลผลิตทางการเกษตรสำหรับขายสุกได้ โดยสังเกตง่าย ๆ คือ ให้สังเกตตรง แต้ม ที่อยู่ตรงส่วนปลายผลมะละกอเป็นหลัก ในหนึ่งปีจะสามารถเก็บผลมะละกอสุกขายได้สองครั้ง สำหรับราคาก็ขึ้นอยู่กับปริมาณมะละกอในแต่ละปี ถ้ามะละกอมากราคาก็จะลดลง แต่ถ้ามะละกอน้อยราคาที่ขายก็จะลูก โดยเฉลี่ยมะละกอสุกอยู่ที่ 9-12 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนมะละกอดิบจะอยู่ที่ประมาณกิโลละ 2 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด



หนักเอาเบาสู้ : "สุรชาติ จิตรศิริพานิช" เจ้าพ่อมะละกอเงินล้าน
จริงอยู่ที่ตลาดมะละกอฮาวายเปิดกว้าง แต่ "สุรชาติ จิตรศิริพานิช" เจ้าของสวนเพชรกาญจนา หรือ P.K.FARM ที่ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี มองว่า เกษตรกรผู้ปลูกมะละกอต้องเผชิญกับฝันร้ายเรื่องโรคใบด่างจุดวงแหวนรบกวนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้หากเกิดการระบาดของเชื้อไวรัสชนิดนี้ เกษตรกรต้องทำลายต้นมะละกอทิ้งทันที เพื่อสกัดการลุกลามของโรคที่จะแพร่ไปยังต้นอื่นๆ


"ปัญหามันอยู่ที่ว่า ผมปลูกนับร้อยไร่ ทำให้ไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง โรคใบด่างจุดวงแหวนจึงระบาดจากต้นสู่ต้นไปอย่างรวดเร็ว สร้างความเสียหายมหาศาล ผมจึงต้องขยายพื้นที่ปลูกแห่งใหม่ 2 แปลง ที่ อ.ศรีสวัสดิ์ และ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี แห่งละร้อยกว่าไร่" สุรชาติ กล่าว


เจ้าของสวนเพชรกาญจนา บอกอีกว่า ได้สร้างเครือข่ายกับเกษตรกรจำนวน 30 ราย โดยกำหนดให้สมาชิกปลูกมะละกอฮาวายรายละ 10-20 ไร่ เพราะต้องการให้เป็นแปลงขนาดเล็ก เกษตรกรสามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง ซึ่งช่วยป้องกันการระบาดของโรคได้ในระดับหนึ่ง จากนั้นเขาจะรับซื้อผลผลิตทั้งหมด แล้วส่งออกต่างประเทศต่อไป


เมื่อสามารถป้องกันโรคได้ ปัญหาต่างๆ ก็เริ่มเบาบางลง การส่งออกผลมะละกอสุกพันธุ์ฮาวายของสุรชาติก็กระเตื้องขึ้นตามลำดับ ปัจจุบันส่งออกปีละ 2,000 ตัน แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ฮ่องกง 80 เปอร์เซ็นต์ และประเทศในแถบตะวันออกกลาง 20 เปอร์เซ็นต์ โดยแบ่งราคาออกเป็น 3 เกรด ได้แก่ เบอร์หนึ่ง ขนาดผลละ 750 กรัม ขึ้นไป ราคา 18 บาทต่อ กก., เบอร์สอง ขนาดผลละ 400-750 กรัม ราคา 16 บาทต่อ กก. และเบอร์สาม ขนาดผลละ 300-400 กรัม ราคา 14 บาทต่อ กก.


"จุดเด่นของมะละกอฮาวาย รสชาติหวาน กลิ่นหอม เนื้อแน่น สีสันน่ารับประทาน เราผลิตมะละกอพันธุ์ฮาวายส่งนอกมีเท่าไรตลาดรับหมด ผมประเมินว่าการขยายตัวของตลาดส่งออกมะละกอสุกนั้นสามารถขยายตัวได้สูงกว่าปัจจุบันประมาณ 5 เท่าตัว หากเป็นไปได้ตามนี้ มูลค่ารวมของการส่งออกไม่ต่ำกว่า 150 ล้านบาท" สุรชาติ ประเมินสถานการณ์


ในส่วนของตลาดในประเทศ เขาเปิดเผยว่า จำหน่ายได้ราคาสูงกว่าการส่งออกอย่างมะละกอสุกเบอร์สอง ที่ขายในห้างสรรพสินค้า ราคา 25 บาทต่อ กก. แต่ตลาดในบ้านเรามีแนวโน้มการเติบโตช้า จากการวิเคราะห์ตลาดครั้งล่าสุด คนไทยรับประทานมะละกอฮาวายเพียงวันละ 1 ตันเท่านั้น


แม้ว่าครั้งหนึ่ง "สุรชาติ จิตรศิริพานิช" เคยประเมินสถานการณ์เพาะปลูกไม้ผลผิดพลาด กระทั่งสูญเงินทองแทบหมดตัว แต่เขาก็ไม่เคยยอมแพ้ต่อโชคชะตา จึงสามารถหยัดยืนได้ด้วยลำแข้งของตัวเองอย่างภาคภูมิในปัจจุบัน


ที่มา :  คม ชัด ลึก




ปลูกแขกดำศรีสะเกษ เพื่อหลีกเลี่ยงโรคจุดวงแหวน

หลายคนก็ทราบดีว่าปัญหาหลักของการปลูกมะละกอ ในประเทศไทยคือ โรคไวรัสจุดวงแหวน หรือบางคนเรียกสั้น ๆ ว่า “โรคจุดวงแหวน” ซึ่งปัจจุบันนี้มีการระบาดไปทุกพื้นที่ของการปลูกมะละกอ
   
และนี่เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้พื้นที่การปลูกมะละกอในประเทศไทยลดลงเป็นลำดับ ในทางวิชาการต่างก็ทราบดีว่าเมื่อมะละกอ เป็นโรคจุดวงแหวนแล้วไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคนี้อย่างรุนแรง ต้นมะละกอจะเป็นโรคนี้ตายก่อนที่ต้นมะละกอจะออกดอกและติดผลด้วยซ้ำไป มะละกอทุกสายพันธุ์ที่ปลูกกันอยู่ในขณะนี้  มีโอกาสเป็นโรคจุดวงแหวนได้ทุกสายพันธุ์ แม้แต่พันธุ์แขกดำศรีสะเกษ ก็ไม่ต้านทานต่อโรคนี้เช่นกัน
   
ในการแก้ปัญหาโรคจุดวงแหวนในมะละกอแบบยั่งยืน จะต้องใช้วิธีเทคโนโลยีการตัดต่อยีนหรือวิธีการพันธุ วิศวกรรม ซึ่งขณะนี้งานวิจัยมะละกอตัดต่อยีนที่กรมวิชาการเกษตรทำไว้ประสบผลสำเร็จและเสร็จสิ้นลง แล้วในส่วนของการหาพันธุ์ต้านทานโรคจุด  วงแหวน
   
ผศ.ดร.วิชัย โฆสิตรัตน์ จากมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ได้ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยว กับโรคจุดวงแหวนในมะละกอว่า ไวรัสจุดวงแหวนเป็นไวรัสทำลายผลผลิตมะละกอเป็นส่วนมากและยังรวมถึงแตงด้วย โดยมีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะ เพลี้ยอ่อนไม่ใช่ศัตรูสำคัญของมะละกอ เป็นแมลงที่หาอาหารด้วยการดูด ชิมต้นอื่นอีก โดยใช้เวลาเพียงน้อยนิดใน  การดูดชิมจากต้นหนึ่งไปสู่อีกต้นหนึ่งและ ถ่ายเชื้อไวรัส ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของชาวสวนที่มักปลูกพืชตระกูลแตงร่วมในแปลงมะละกอ ซึ่งเป็นพืชที่เป็นบ้านของไวรัส  ชนิดเดียวกันทำให้การควบคุมโรคยิ่งยาก  เข้าไปอีก
   
ในขณะที่ รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี จากภาควิชาพืชสวน  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน กลับมองต่างมุมออกไปเกี่ยวกับปัญหาโรคจุดวงแหวนในมะละกอไม่น่าจะใช่เรื่องสำคัญที่สุด  ถ้าเกษตรกรมีการจัดการบำรุงรักษาต้นมะละกอให้แข็งแรง  และสมบูรณ์ จะทนทานต่อโรคได้ดีระดับหนึ่ง แต่กลับห่วงปัญหาเรื่องการใช้ยาฆ่าหญ้าในแปลงปลูกมะละกอ ไม่ว่าจะเป็นสารฆ่าหญ้าในกลุ่มไกลโฟเสท และสาร 2, 4-ดี โดยเฉพาะสาร 2, 4-ดี ละอองยาสามารถ  ฟุ้งกระจายไปไกลได้นับร้อยเมตร เมื่อต้น มะละกอได้สัมผัสสารฆ่าหญ้าจะทำให้ใบหงิก และมีลักษณะอาการเหมือนกับโรคไวรัสจุด  วงแหวน
   
ทำให้เกษตรกรหลายรายเข้าใจผิดว่ามะละกอที่ปลูกเป็นโรคจุดวงแหวน แต่ความจริงแล้วเกิดจากละอองของยาฆ่าหญ้า ทำให้ใบหงิกงอและชะงักการเจริญเติบโต ดังนั้นเกษตรกรที่ปลูกมะละกอจะต้องตระหนักเป็นพิเศษ ไม่ควรฉีดพ่นสารฆ่าหญ้าในแปลง ปลูกมะละกอ.

ทวีศักดิ์  ชัยเรืองยศ
 

http://www.dailynews.co.th/web/index.cfm?page=content&categoryID=482&contentID=87846









หน้าก่อน หน้าก่อน (3/4)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (19837 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©