-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 611 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

พืชสมุนไพร1




หน้า: 1/3




า ร จำ แ น ก พื ช ส มุ น ไ พ ร


การจำแนกพืชสมุนไพรสามารถจำแนกได้หลายวิธี ซึ่งเอกสารนี้จะทำการจำแนกพืชสมุนไพรพอสังเขป ดังนี้


1
. การจำแนกตามลักษณะการใช้ประโยชน์

1.1 Essential oil (น้ำมันหอมระเหย) พืชสมุนไพรหลายชนิดสามารถนำมาสกัด น้ำมันหอมระเหยได้โดยวิธีการกลั่น ซึ่งจะได้น้ำมันหอมระเหยมีกลิ่นหอมแตกต่างกันไปตามชนิดของพืชสมุนไพร น้ำมันหอมระเหยนี้มีสารสำคัญที่สกัดออกมาซึ่งจะใช้ประโยชน์ได้ตรงตามวัตถุประสงค์มากกว่า รวมทั้งการใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับการนำพืชสมุนไพรมาใช้ในรูปอื่น ตัวอย่างของพืชสมุนไพรที่นำมาสกัดน้ำมันหอมระเหย เช่น


พลู

Piper betel Linn.

- น้ำมันตะไคร้หอม ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตสบู่ แชมพู น้ำหอมหรือใช้ทำสารไล่แมลง

- น้ำมันไพล ใช้ในผลิตภัณฑ์ครีมทาภายนอก ลดอาการอักเสบจากการฟกช้ำ

- น้ำมันกระวาน ใช้แต่งกลิ่นเหล้า เครื่องดื่มต่าง ๆ รวมทั้งใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอม

- น้ำมันพลู ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์ หรือใช้เป็นเจลทาภายนอกแก้คัน


1.2 ยารับประทาน พืชสมุนไพรหลายชนิด สามารถนำมาใช้รับประทานเพื่อรักษาอาการของโรคได้ อาจใช้สมุนไพรชนิดเดียว หรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสารสำคัญที่มีอยู่ในพืชสมุนไพรชนิดนั้น ๆ ที่ออกฤทธิ์เพื่อการบำบัดรักษา เช่น




บอระเพ็ด

Tinospora tuberculata Beumee.

- แก้ไข้ : บอระเพ็ด ฟ้าทะลายโจร

- แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ : กระเพรา ไพล ขิง

- ระงับประสาท : ขี้เหล็ก ไมยราพ

- ลดไขมันในเส้นเลือด : คำฝอย กระเจี๊ยบแดง กระเทียม


1.3 ยาสำหรับใช้ภายนอก เป็นพืชสมุนไพรที่สามารถนำมาบำบัดโรคที่เกิดขึ้นตามผิวหนัง แผลที่เกิดขึ้นตามร่างกายรวมทั้งแผลในปาก อาจใช้สมุนไพรชนิดเดียวหรือหลายชนิดรวมกันก็ได้ ลักษณะของการนำมาใช้มีหลายลักษณะมีทั้งใช้สด บดเป็นผง ครีม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสารสำคัญที่มีอยู่ในพืชสมุนไพร และความสะดวกในการนำมาใช้ ตัวอย่างของพืชสมุนไพรที่นำมาใช้เป็นยาสำหรับใช้ภายนอก เช่น

- รักษาแผลในปาก : บัวบก หว้า โทงเทง

- ระงับกลิ่นปาก : ฝั่ง กานพลู

- แก้แพ้ : ผักบุ้งทะเล เสลดพังพอน เท้ายายม่อม ตำลึง

- รักษาแผลน้ำร้อนลวก : บัวบก ยาสูบ ว่านหางจระเข้

- แก้งูสวัด : ตำลึง พุดตาน ว่านมหากาฬ เสลดพังพอน



ผักบุ้งทะเล

Ipomoea pes-caprae (Linn.) Sweet.


1.4 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องดื่ม พืชสมุนไพรหลายชนิดสามารถนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ผู้บริโภคจึงรู้สึกปลอดภัยในการนำมารับประทาน เช่น

- ดูดจับไขมันจากเส้นเลือด ลดน้ำหนัก : บุก

- เปลี่ยนไขมันเป็นพลังงาน ลดน้ำหนัก : ส้มแขก

- เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ : หญ้าหนวดแมว คำฝอยหญ้าหวาน

บุกเนื้อทราย

Amorphophallus campanulatus Blume.


1.5 เครื่องสำอางค์ เป็นการนำพืชสมุนไพรมาใช้อักลักษณะหนึ่ง การนำพืชสมุนไพรมาใช้เป็นเครื่องสำอางค์มีมานานแล้ว และในปัจจุบันได้รับการยอมรับมากขึ้น เนื่องจากปลอดภัยกว่าการใช้สารสังเคราะห์ทางเคมี ทำให้มีผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นโดยมีส่วนผสมของพืชสมุนไพรเกิดขึ้นมากมาย เช่น แชมพู ครีมนวดผม สบู่ โลชั่น ตัวอย่างพืชสมุนไพรที่นำมาใช้เป็นเครื่องสำอางค์ เช่น อัญชัน ว่านหางจระเข้ มะคำดีควาย เห็ดหลินจือ เป็นต้น

1.6 ผลิตภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เบื่อเมาหรือมีรสขม ซึ่งมีคุณสมบัติในการปราบหรือควบคุมปริมาณการระบาดของแมลงศัตรูพืช โดยไม่มีพิษตกค้างในผลผลิต ไม่มีพิษต่อผู้ใช้และสภาพแวดล้อม ตัวอย่างพืชสมุนไพรที่ใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืช เช่น สะเดา ยาสูบ ตะไคร้หอม ฟ้าทะลายโจร ไพล เป็นต้น



อัญชัน

*****orea ternatea Linn.




2. การจำแนกตามลักษณะภายนอกของพืช

2.1 ไม้ยืนต้น (tree) เป็นต้นไม้ที่มีลำต้นใหญ่ ลำต้นเดี่ยว สูงมากกว่า 6 เมตร เจริญเติบโตตั้งตรงขึ้นไป

2.2 ไม้พุ่ม (shrub) เป็นต้นไม้ที่มีเนื้อไม้ขนาดและเตี้ยมีหลายลำต้นที่แยกจากดินหรือลำต้นจะแตกกิ่งก้านใกล้โคนต้น หรือมีลำต้นเล็ก ๆ หลายต้นจากโคนเดียวกัน ทำให้ดูเป็นกอหรือเป็นพุ่ม

2.3 ไม้ล้มลุก (herb) เป็นพืชที่มีลำต้นอ่อน ไม่มีเนื้อไม้ หักง่าย มีอายุ 1 ปี หรือ หลายปี

2.4 ไม้เลื้อยหือไม้เถา (climber) เป็นพืชที่มีลำต้นยาว ไม่สามารถตั้งตรงได้ต้องอาศัยสิ่งยึดเกาะตามกิ่งไม้ อาศัยส่วนของพืชเกาะ อาจเป็นลำต้น หนวดหรือหนามก็ได้

ส้มแขก

Garcinia atroviridis Griff.


เนระพูสีไทย

Tacca chantrieri Andre.

สะค้าน

Piper sp.


ส้มแขก

Garcinia atroviridis Griff.




การจำแนกพืชสมุนไพรตามลักษณะภายนอกของพืช

ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก ไม้เถา
ขี้เหล็ก หญ้าหนวดแมว ฟ้าทะลายโจร ดีปลี
สะเดา ขลู่ ขมิ้น มะแว้งเครือ
ส้มแขก ทองพันชั่ง ไพล หางไหลแดง
การบูน ชุมเห็ดเทศ ขิง บอระเพ็ด
กานพลู มะแว้งต้น เปราะหอม บัวบก
จันทน์เทศ กระเจี๊ยบแดง แมงลัก พลู
ฝาง เจตมูลเพลิง เร่ว อัญชัน
ฝรั่ง พิมเสนต้น ลำโพง กวาวเครือ
เพกา ระย่อม ว่านน้ำ ข้าวเย็นเหนือข้าวเย็นใต้
มะคำดีควาย ส้มป่อย โสมไทย โคคลาน
มะขามแขก พญายอ หญ้าปักกิ่ง เถาวัลย์เปรียง
สมอภิเภก เสลดพังพอนตัวผู้ หย้าหวาน บอระเพ็ดพุงช้าง
อบเชย หนุมานประสานกาย ว่านหางจระเข้ รางจืด
สะเดา   กระวาน หนอนตายหยาก
พุงทะลาย   เนระพูสีไทย สะค้าน
สำโรง     เพชรสังฆาต




ส ภ า พ แ ว ด ล้ อ ม ที่ ต้ อ ง ก า ร

การปลูกพืชสมุนไพรเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากในอดีตการใช้สมุนไพรเป็นการเก็บจากธรรมชาติแต่ไม่มีการปลูกทดแทน ทำห้พืชสมุนไพรมีจำนวนลดลง ปัจจุบันเริ่มมีการนำเอาพืชสมุนไพรมาใช้ประโยชน์มากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการปลูกให้ได้จำนวนมากขึ้นให้เพียงพอกับความต้องการ ดังนั้นเพื่อให้พืชเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ จึงต้องคำนึงถึงสิ่งสำคัญต่อไปนี้


พื้นที่

การเลือกสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมกับการปลูกพืชสมุนไพรแต่ละชนิดเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากพืชสมุนไพรเป็นพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ละพื้นที่เหมาะที่พืชสมุนไพรจะขึ้นแตกต่างกัน การเลือกพื้นที่ให้เหมาะสมจะช่วยให้พืชนั้น ๆ เจริญเติบโตดี ผลผลิตสูงและมีคุณภาพ ทั้งยังลดค่าใช้จ่ายในการจัดการและการดูแลรักษา


แสง

มีความสำคัญในการสังเคราะห์แสงของพืช ความต้องการในปริมาณของแสงเพื่อนำไปใช้ขึ้นแยู่กับพืชแต่ละชนิด พืชสมุนไพรบางชนิดสามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตดีเมื่อปลูกในสภาพกลางแจ้ง แต่บางชนิดต้องการแสงน้อย จึงต้องมีการดูแลให้เหมาะสม เพื่อให้พืชมีการเจริญเติบโตเต็มที่ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณสารสำคัญอีกด้วย


อุณหภูมิ

การที่พืชได้รับอุณหภูมิที่เหมาะสม มีผลต่อการเจริญเติบโตแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช บางชนิดชอบร้อน แห้งแล้ง บางชนิดชอบอากาศหนาว นอกจากนี้ยังรวมถึงความร้อนเย็นของดินและบรรยากาศรอบ ๆ ต้นพืชสมุนไพรด้วย เช่น พืชเขตร้อนทั่วไป อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต คือ 18 - 35 องศาเซลเซียส ถ้าพืชได้รับอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม จะทำให้ชะงักการเจริญเติบโต


น้ำ

เป็นปัจจัยสำคัญในการเจริญเติบโตของพืช ช่วยให้ต้นพืชดูดแร่ธาติอาหารจากดินได้ ช่วยการสังเคราะห์แสงและการหายใจของพืช นอกจากความชุ่มชื้นในดินแล้ว ความชุ่มชื้นในอากาศก็จำเป็น ช้วยให้ต้นไม้สดชื่นไม่เหี่ยวเฉา ดังนั้นถ้าพืชขาดน้ำจะเกิดอาการเหี่ยวเฉา ถ้ารุนแรงก็อาจตายได้ พืชบางชนิดต้องการความชื้นสูง เช่น กระวาน กานพลู เป็นต้น


 

เพชรฆาต

Cissus quadrangularis Linn.




สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูกพืชสมุนไพรบางชนิด

พืช แหล่งที่พบ ความต้องการแสง อุณหภูมิ ความชื้น
กระเจี๊ยบแดง ทุกภาคของประเทศ

กระเทียม ภาคเหนือ

ขมิ้นชัน ภาคใต้

ขี้เหล็ก ทุกภาคของประเทศ

ดีปลี ภาคกลาง

ตะไคร้หอม ทุกภาคของประเทศ

พญายอ ทุกภาคของประเทศ

ฟ้าทะลายโจร ทุกภาคของประเทศ

มะแว้ง ทุกภาคของประเทศ

ส้มแขก ภาคใต้ตอนล่าง

บุก ภาคเหนือและภาคตะวันตก

คำฝอย ภาคเหนือ

ไพล ทุกภาคของประเทศ

ชุมเห็ดเทศ ทุกภาคโดยเฉพาะภาคกลาง

ว่านหางจระเข้ ทุกภาคของประเทศ






ก า ร ป ลู ก พื ช ส มุ น ไ พ ร

1. ในการเตรียมดินของพืชสมุนไพร มีขั้นตอนดังนี้

1.1 การไถพรวน เพื่อกำจัดวัชพืชและทำให้ดินร่วนซุย

1.2 ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก

1.3 กำหนดระยะปลูกที่เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด

กรณีที่ปลูกพืชสมุนไพรเพื่อใช้ราก หัว ลำต้นใต้ดินหรือเหง้าจำเป็นต้องเตรียมดินให้ร่วนซุยเป็นพิเศษโดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชที่ใช้รากอาจตัดปลูกในภาชนะที่นำเอารากออกมาภายหลังได้


2.
วิธีการปลูกมีหลายวิธีขึ้นแยู่กับส่วนของพืชที่นำมาปลูกและชนิดของพืช

2.1 การปลูกด้วยเมล็ด สามารถทำให้โดยการหว่านลงแปลง แล้วใช้ดินร่วนหรือทรายหยาบ โรยทับบาง ๆ แล้วรดน้ำให้ชื้นตลอดทั้งวัน เมื่อเมล็ดงอกเป็นต้นอ่อน ถอนต้นที่อ่อนแอออก ให้มีระยะห่างระหว่างต้นพอสมควร ส่วนการหยอดลงหลุมโดยตรงมักใช้กับพืชที่มีเมล็ดใหญ่ โดยหยอดเมล็ดให้มีจำนวนมากกว่าที่ต้องการและถอนออกภายหลัง

การยกแปลงปลูก


2.2 การปลูกด้วยกิ่งชำหรือกิ่งตอน ปลูกโดยการนำเอากิ่งชำมาปลูกในถุงพลาสติกให้แข็งแรงดีก่อน แล้วจึงย้ายไปปลูกในพื้นที่ที่ต้องการ เตรียมหลุมปลูกให้มีขนาดกว้างกว่าถุงพลาสติกเล็กน้อย เมื่อนำต้นอ่อนลงปลูกแล้ว กลบด้วยดินร่วนหรือดินปนทราย กดดินให้แน่นพอประมาณ คลุมด้วยเศษฟางหรือหญ้าแห้งเพื่อรักษาความชุ่มชื้น

2.3 การปลูกด้วยหัว ควรปลูกในที่ระบายน้ำดี ปลูกโดยฝังหัวให้ลึกพอประมาณ กดดินให้แน่นพอสมควร คลุมแปลงปลูกด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง

2.4 การปลูกด้วยหน่อหรือเหง้า ในกรณีที่มีต้นพันธุ์อยู่แล้วทำการแยกหน่อที่แข็งแรง โดยตัดแยกหน่อจากต้นแม่ นำหน่อที่ได่มาตัดรากที่ช้ำหรือใบที่มากเกินไปออกบ้าง แล้วจึงนำไปปลูกในดินที่เตรียมไว้ กดดินให้แน่นและรดน้ำให้ชุ่ม ควรบังร่มเงาให้จนกว่าต้นจะแข็งแรง

2.5 การปลูกด้วยไหล ปกตินิยมเอาส่วนของไหลมาชำไว้ก่อน แล้วจึงย้ายปลูกในพื้นที่อีกครั้ง

การทำค้างให้พืชเถาเลื้อย



พืชสมุนไพรบางชนิดที่ปลูกโดยการเพาะเมล็ด


พืช ระยะปลูก (ต้น X แถว) อัตราการใช้พันธุ์ การเพาะเมล็ด

กระเจี๊ยบแดง

1 X 1.2 ม.

ใช้เมล็ด 300 กรัม / ไร่

หยอดหลุมละ 3 - 5 เมล็ด แล้วถอนแยกเมื่อต้นสูง 20 - 25 ซม.

กานพลู

4.5 X 6 ม.

จำนวน 60 ต้น / ไร่

เลือกเมล็ดสุกซึ่งมีสีดำ เพาะเมล็ดทันทีเพราะจะสูญเสียอัตรางอกภายใน 1 สัปดาห์

กระเพราแดง

5 X 15 ซม.

ใช้เมล็ด 2 กก. / ไร่

ใช้วิธีหว่าน

ขี้เหล็ก

2 X 2 ม.

จำนวน 400 ต้น / ไร่

แช่เมล็ดในน้ำอุ่น 50 องศาเซลเซียส 3 - 5 นาที

คำฝอย

30 X 30 - 50 ซม.

ใช้เมล็ด 2 - 2.5 กก. / ไร่

ต้องการความชื้น แต่อย่าให้แฉะเมล็ดจะเน่า

ชุมเห็ดเทศ

3 X 4 ม.

จำนวน 130 ต้น / ไร่

เพาะเมล็ดจากฝักแก่จัด เมล็ดสีเทาอมน้ำตาล

มะขามแขก

50 X 100 ซม.

จำนวน 3,000 ต้น / ไร่

หยอดหลุมละ 2 - 3 เมล็ด แล้วถอนออกให้เหลือหลุมละต้น

ฟ้าทะลายโจร

15 X 20 ซม.

ใช้เมล็ด 400 กรัม / ไร่

เลือกเมล็ดแก่สีน้ำตาลแดงแช่น้ำอุ่น 3 - 5 นาที โรยเมล็ดบาง ๆ ให้น้ำในแปลงเพาะอย่างสม่ำเสมอ

มะแว้งเครือ

1 X 1 ม.

จำนวน 1,600 ต้น / ไร่

แช่เมล็ดในน้ำอุ่น 50 องศาเซลเซียส 3 - 5 นาที เพาะในกระบะ 1 เดือน จึงย้ายปลูก

ส้มแขก

9 X 9 ม.

จำนวน 20 ต้น / ไร่

มีทั้งต้นตัวผู้และตัวเมีย จึงควรเสียบยอดพันธุ์ดีของต้นตัวเมียบนต้นตอที่เพาะจากเมล็ดอีกครั้งหนึ่ง





การปลูกพืชบางชนิด


พืช วิธีปลูก ระยะปลูก(ต้น X แถว) อัตราพันธุ์ที่ใช้ต่อไร่ การเตรียมพันธุ์ปลูก

ดีปลี

ปักชำ

1 X 1 ม.

1,600 ต้น / ไร่

ตัดเถายาว 4 - 6 ข้อ เพาะชำในถุง 60 วัน

พริกไทย

ปักชำ

2 X 2 ม.

400 ต้น / ไร่

ใช้ยอดหรือส่วนที่ไม่แก่จัด อายุ 1 - 2 ปี ตัดเป็นท่อน 5 - 7 ข้อ

พลู

ปักชำ

1.5 X 1.5 ม.

700 ต้น / ไร่

ตัดเถาเป็นท่อนให้มีใบ 3 - 5 ข้อ

พญายอ

ปักชำ

50 X 50 ซม.

4,000 ต้น / ไร่

ตัดกิ่งพันธุ์ 6 - 8 นิ้ว มีตา 3 ตา ใบยอด 1/3 ของกิ่งพันธุ์

เจตมูลเพลิง

ปักชำ

50 X 50 ซม.

4,000 ต้น / ไร่

ใช้กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนปักชำ

อบเชย

กิ่งตอน

2 X 2 ซม.

400 ต้น / ไร่

-

ฝรั่ง

กิ่งตอน

4 X 4 ม.

100 ต้น / ไร่

-

ขมิ้นชัน

เหง้า

30 x 30 ซม.

10,000 ต้น / ไร่

เหง้าอายุ 7 - 9 เดือน แบ่งให้มีตาอย่างน้อย 3 - 5 ตา

ตะไคร้หอม

เหง้า

1.5 X 1.5 ม.

600 หลุม / ไร่

ตัดแบ่งให้มีข้อ 2 - 3 ข้อ ตัดปลายใบออกปลูก 3 ต้น / หลุม

ไพล

เหง้า

50 X 50 ซม.

4,000 ต้น / ไร่

เหง้าอายุมากกว่า 1 ปี มีตาสมบูรณ์ 3 - 5 ตา

บุก

หัว

40 x 40 ซม.

6,000 หัว / ไร่

หัวขนาดประมาณ 200 กรัม ฝังลึกจากผิวดิน 3 - 5 ซม.

หางไหล

ไหล

1.5 X 1.5 ม.

700 ต้น / ไร่

เลือกขนาดกิ่ง 0.7 - 1 ซม. มีข้อ 3 - 4 ข้อ

เร่ว

หน่อ

1 X 1 ม.

1,600 ต้น / ไร่

ตัดแยกหน่อจากต้นเดิมให้มีลำต้นติดมาด้วย

ว่านหางจระเข้

หน่อ

50 X 70 ซม.

4,500 ต้น / ไร่

แยกหน่อขนาดสูง 10 - 15 ซม.



 

ก า ร ดู แ ล รั ก ษ า พื ช ส มุ น ไ พ ร


การพรางแสง

พืชสมุนไพรหลายชนิดต้องการแสงน้อย จึงต้องมีการพรางแสงให้ตลอดเวลา การพรางแสงอาจใช้ตาข่ายพรางแสง หรืออาจปลูกร่วมกับพืชอื่นที่มีร่มเงา ปลูกบริเวณเชิงเขาหรือปลุกในฤดูฝนซึ่งมีช่วงแสงไม่เข้มนัก เช่น บุกฟ้าทะลายโจร เร่ว หญ้าหนวดแมว เป็นต้น สำหรับพืชสมุนไพรทั่วไปที่อ่อนแออยู่ ก็ควรพรางแสงให้ชั่วระยะหนึ่งจนพืชนั้นตั้งตัวได้ จึงให้แสงตามปกติ

การทำให้ค้างในพืชเถาต่าง ๆ ควรทำค้างเพื่อสะดวกในการเก็บผลผลิต การดูแลรักษาและการเจริญเติบโตของพืช เช่น พริกไทย พลู มะแว้งเครือ อัญชัน เป็นต้น


การให้น้ำ

ควรให้น้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมโดยพิจารณาลักาณะของพืชแต่ละชนิดว่าต้องการน้ำมากหรือ้อย โดยปกติควรให้น้ำอย่างน้อยวันละครั้ง แต่หากเห็นว่าแฉะเกินไปก็เว้นช่วงได้ หรือแห้งเกินไปก็ให้น้ำเพิ่มเติม จึงต้องคอยสังเกตเนื่องจากแต่ละพื้นที่มีสภาพดินและภูมิอากาศแตกต่างกัน การให้น้ำควรให้จนกว่าพืชจะตั้งตัวได้


การพรวนดิน

เป็นการทำให้ดินร่วนซุย ระบายน้ำดีขึ้น ทั้งยังช่วยกำจัดวัชพืชอีกด้วย จึงควรมีการพรวนดินบ้างเป็นครั้งคราว โดยพรวนในขณะที่ดินแห้งพอสมควร และไม่ควรให้กระทบกระเทือนรากมาก


การใส่ปุ๋ย

โดยปกติจะให้ก่อนการปลูก โดยรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ในการให้ปุ๋ยกับพืชสมุนไพรแนะนำให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพราะปุ๋ยจะค่อย ๆ ย่อยสลายและปล่อยแร่ธาตุที่มีประโยชน์ให้พืชอย่างช้า ๆ และสม่ำเสมอ และยังช่วยให้ดินอุ้มน้ำได้ดี การให้ปุ๋ยควรให้อย่างสม่ำเสมอประมาณ 1 - 2 เดือนต่อครั้ง โดยอาจใส่แบบเป็นแถวระหว่างพืชหรือใส่รอบ ๆ โคนต้นบริเวณทรงพุ่มก็ได้


การกำจัดศัตรูพืช

ควรใช้วิธีธรรมชาติ เช่น

ปลูกพืชหลายชนิดบริเวณเดียวกัน และควรปลูกสมุนไพรที่มีกลิ่นฉุน และมีฤทธิ์ในการรบกวนแมลงแทรกอยู่ด้วย เช่น ดาวเรือง ตะไคร้หอม กระเพรา เสี้ยนดอกม่วง เป็นต้น

อาศัยธรรมชาติจัดสมดุลกันเอง ไม่ควรทำลายแมลงทุกชนิด เพราะบางชนิดเป็นประโยชน์ จะช่วยควบคุมและกำจัดแมลงที่เป็นศัตรูพืชให้ลดลง

ใช้สารจากธรรมชาติ โดยใช้พืชที่มีสารประกอบที่มีฤทธิ์ต่อแมลงที่เป็นศัตรูพืชมากำจัด โดยที่แต่ละพืชจะมีสารประกอบที่ออกฤทธิ์กับแมลงต่างชนิดกัน เช่น
 

สารสกัดจากสะเดา : ด้วง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดด

ยาสูบ : เพลี้ยอ่อน ไรแดง โรครา

หางไหลแดง : เพลี้ย ด้วง เป็นต้น


การบำรุงรักษาพืชสมุนไพร คววรเลือกวิธีดูแลรักษาให้เป็นไปตามธรรมชาติมากที่สุด และควรหลีกเลี่ยงสารเคมีไม่ว่าด้านการให้ปุ๋ย การกำจัดวัชพืชหรือศัตรูพืช เนื่องจากอาจมีพิษตกค้างในพืชและยังมีผลกับคุณภาพและปริมาณสารสำคัญในพืชอีกด้วย



ก า ร เ ก็ บ เ กี่ ย ว พื ช ส มุ น ไ พ ร

1. เก็บเกี่ยวถูกระยะเวลา
ที่มีปริมาณสารสำคัญสูงสุด การนำพืชสุมนไพรไปใช้ประโยชน์ให้ได้สูงสุดนั้น ในพืชจะต้องมีปริมาณสารสำคัญมากที่สุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาที่เก็บเกี่ยวพืชสมุนไพร ดังนั้นการเก็บเกี่ยวสมุนไพรจึงต้องคำนึงถึงทั้งอายุเก็บเกี่ยวและช่วงระยะเวลาที่พืชให้สารสำคัญสูงสุดด้วย


2
. เก็บเกี่ยวถูกวิธี
โดยทั่วไปการเก็บส่วนของพืชสมุนไพร แบ่งออกตามส่วนที่ใช้เป็นยา ดังนี้

2.1 ประเภทรากหรือหัว เก็บในช่วงที่พืชหยุดการเจริญเติบโต ใบและดอกร่วงหมด หรือในช่วงต้นฤดูหนาวถึงปลายฤดูรอน ซึ่งเป็นช่วงที่รากและหัวมีการสะสมปริมาณสารสำคัญไว้ค่อนข้างสูง

วิธีเก็บ ใช้วิธีขุดอย่างระมัดระวัง ตัดรากฝอยออก

2.2 การเก็บเปลือกรากหรือเปลือกต้น จะเก็บในช่วงระหว่างฤดูร้อนถึงฤดูฝน ซึ่งมีปริมาณสารสำคัญในพืชสูง และเปลือกลอกออกง่าย ส่วนเปลือกรากเก็บในช่วงต้นฤดูฝนเหมาะสมที่สุด

วิธีเก็บ การลอกเปลือกต้นอย่าลอกออกรอบทั้งต้นควรลอกออกจากส่วนกิ่งหรือแขนงย่อยหรือใช้วิธีลอกออกในลักษณะครึ่งวงกลมก็ได้ เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อระบบการลำเลียงอาหารของพืช และไม่ควรลอกส่วนลำต้นใหญ่ของต้น

2.3 ประเภทใบหรือเก็บทั้งต้น ควรเก็บในช่วงที่พืชเจริญเติบโตมากที่สุด บางชนิดจะระบุช่วงเวลาที่เก็บ ซึ่งช่วงเวลานั้นใบมีสารสำคัญมากที่สุด เช่น เก็บใบแก่ หรือใบไม่อ่อนไม่แก่เกินไป (ใบเพสลาด) เป็นต้น

วิธีเก็บ ใช้วิธีเด็ดหรือตัด

2.4 ประเภทดอก โดยทั่วไปเก็บในช่วงดอกเริ่มบาน บางชนิดเก็บในช่วงดอกตูม

วิธีเก็บ ใช้วิธีเด็ดหรือตัด



ตารางแสดงการเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพรบางชนิด


พืช ส่วนที่เก็บเกี่ยว

การเก็บเกี่ยวเพื่อให้

ได้สารสำคัญสูงสุด

    อายุการให้ผลผลิต สภาพต้นพืช
ขมิ้นชัน เหง้า 9 - 10 เดือน เหง้าแกร่ง ต้นแห้งฟุบ
ขี้เหล็ก ใบ 1 - 10 ปีขึ้นไป เก็บไปอ่อน 5 ใบปรักอบนับจากยอด
คำฝอย เกสร

เมล็ด

90 -100 วัน

120 - 150 วัน

ลำต้น ใบ ช่อดอก แห้ง

ไม่มีช่อดอก

ตะไคร้หอม ใบ 8 เดือน - 3 ปี ต้นมีข้อเด่นชัด ระยะก่อนออกดอก
บุก หัวใต้ดิน

หัวบนใบ

2 - 3 ปี

1 ปี

ต้นแห้งไม่มีใบสด

ประมาณเดือน ส.ค. - ก.ย.

ไพล เหง้า 1 - 3 ปี อายุ 2 ปีขึ้นไป ต้นฟุบ ไม่เก็บช่วงฝนหรือเมื่อ

แตกหน่อใหม่

ฟ้าทะลายโจร ใบ 110 - 120 วัน เริ่มออกดอกไม่ควรให้เริ่มติดเมล็ด
มะขามแขก ใบ

ฝัก

50 - 90 วัน

80 - 120 วัน

เมื่อเริ่มออกดอก

เก็บฝักอายุ 20 - 23 วัน เท่านั้น ฝักไม่แก่ เริ่ม

มีเมล็ดใส ๆ

มะแว้งเครือ ผล 8 เดือน ผลแก่แต่ยังไม่สุก เริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมส้ม
ส้มแขก ผล 8 - 70 ปี ผลสุก แก่ขนาดโตเต็มที่
ดีปลี ผล 1 - 5 ปีขึ้นไป แก่จัดแต่ไม่สุก สีเหลืองอมส้ม

2.5 ประเภทผลและเมล็ด โดยทั่วไปมักเก็บตอนผลแก่เต็มที่แล้ว แต่บางชนิดจะเก็บในช่วงที่ผลยังไม่สุก



วิธีเก็บ
ใช้วิธีเด็ดหรือวิธีตัด

สมุนไพรแห้ง


ก า ร ป ฏิ บั ติ ห ลั ง ก า ร เ ก็ บ เ กี่ ย ว

เมื่อเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพรออกจากแปลงปลูกหรือต้นแล้วการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวเป็นสิ่งจำเป็นมาก เพื่อรักษาคุณภาพของพืชสมุนไพรให้ได้ผลดีที่สุดต่อการนำไปใช้ ทั้งนี้การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวขึ้นแยู่กับความเหมาะสมของพืชสมุนไพรแต่ละชนิด รวมทั้งส่วนของพืชสมุนไพรที่จะนำไปใช้ การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพร มีวิธีปฏิบัติดังนี้


1
. การทำความสะอาดและคัดแยกผลผลิตที่ได้มาตรฐาน

1.1 คัดแยกสิ่งปลอมปนออก เช่น หิน ดิน ทราย ส่วนของพืชที่ปะปน หรือสมุนไพรอื่นที่คล้ายคลึง กันปะปนมา

1.2 การตัดแต่ง เช่น ตัดรากฝอย ปอกเปลือกและหั่นซอยเป็นชิ้นในสมุนไพรที่มีเนื้อแข็ง แห้งยาก

1.3 คัดเลือกส่วนที่เน่าเสีย มีโรคแมลงออกจากส่วนที่มีคุ ณภาพดี

1.4 ล้างทำความสะอาด ชำระสิ่งสกปรกและสิ่งที่ติดมากับพืชขณะทำการเก็บเกี่ยวออกให้หมด


การตากแห้ง

2. การทำให้แห้ง

พืชสมุนไพรนอกจากจะใช้สดแล้ว ยังมีการนำมาทำให้แห้งเพื่อความสะดวกในการเก็บรักษาและการนำมาใช้ สมุนไพรที่มีความชื้นมากเกินไปจะทำให้เกิดเชื้อราและแบคทีเรีย และยังเร่งให้เกิดการสูญเสียสารสำคัญด้วย วิธีการทำแห้งโดยการตากแห้งหรืออบแห้ง จนเหลือความชื้นที่เหมาะแก่การเก็บรักษาซึ่งโดยทั่วไปควรมีความชื้นไม่เกินร้อยละ 13

2.1 การตากแห้งพืชสมุนไพร ควรตากในภาชนะโปร่ง สะอาด ป้องกันฝุ่นละอองและตากในที่ร่ม การตากแดดควรมีลานตากยกจากพื้นดิน มีลหังคาพลาสติกคลุม ไม่ตากแดดโดยตรงและคำนึงถึงสุขอนามัยให้มาก

2.2 การอบแห้ง เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำให้พืชสมุนไพรแห้ง ซึ่งต้องใช้อุณหภูมิและระยะเวลาในการอบตกต่างกันไป ตามส่วนของพืชสมุนไพร ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและประหยัดเวลาและได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพดี


ชนิดของสมุนไพร

อุณหภูมิที่ใช้ในการอบแห้ง (C)

ดอก ใบ ทั้งต้น 45 - 55
ราก กิ่งราก ผิว 55 - 65
ผล 65 - 80
สมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย 40 - 45

มะคำดีควาย

Sapindus rarak A.DC.


มะตูม

Aegle marmelos Corr.

3. การเก็บรักษาสมุนไพรแห้ง เมื่อสมุนไพรแห้งแล้ว การดูดความชื้น การเข้าทำลายของแมลง เชื้อราและแบคทีเรีย เป็นองค์ประกอบสำคัญที่เร่งให้สมุนไพรเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้น จึงควรปฏิบัติ ดังนี้

3.1 ควรเก็บในที่สะอาด เย็น ไม่อับชื้น มีอากาศถ่ายเทได้ดี และไม่ถูกแสงแดด หรือเก็บในห้องเย็น

ขิง

Zingiber officinale Rose.

คำฝอย

Carthamus tinctorius Linn.


3.2 เก็บในภาชนะที่ปิดสนิท เช่น ยวดแก้วสีชามีฝาปิดสนิท ถุงพลาสติกหรือถุงฟลอยด์

3.3 ไม่ควรเก็บไว้นาน โดยทั่วไป สมุนไพรไม่ควรเก็บนานเกินกว่า 1 ปี เพราะจะสูญเสียสารสำคัญที่ต้องการไป

3.4 การเก็บรักษาควรระบุฉลากชนิดสมุนไพร รวมทั้งวันเก็บชัดเจน เพื่อป้องกันนำไปใช้ผิด


มะแว้งเครือ

Solanum indicum Linn.






ก า ร ใ ช้ ส มุ น ไ พ ร ที่ ถู ก ต้ อ ง

การใช้สมุนไพรที่ถูกต้องควรปฏิบัติดังนี้

1. ใช้ให้ถูกต้น สมุนไพรมีชื่อพ้องหรือซ้ำกันมาก และบางท้องถิ่นก็เรียกชื่อไม่เหมือนกัน จึงต้องรู้จักสมุนไพรและรู้จักใช้ให้ถูกต้น

2. ใช้ให้ถูกส่วน สมุนไพรไม่ว่าจะเป็น ราก ใบ ดอก เปลือกผล เมล็ด จะมีฤทธิ์ไม่เท่ากัน บางทีผลแผลอ่อนก็มีฤทธิ์ต่างกันด้วย จะต้องรู้ส่วนใดใช้เป็นยาได้

3. ใช้ให้ถูกขนาด สมุนไพรถ้าใช้น้อยไปกรักษาไม่ได้ผล แต่ถ้ามากไปก็อาจเป็นอันตรายหรือเกิดพิษต่อร่างกายได้

4. ใช้ให้ถูกวิธี สมุนไพรบางชนิดต้องใช้สด บางชนิดต้องดองเหล้า บางชนิดใช้ต้ม จะต้องรู้จักนำมาใช้ให้ถูกต้อง

5. ใช้ให้ถูกโรค เช่น เมื่อท้องผูกต้องใช้ยาระบาย ถ้าใช้ยาที่มีฤทธิ์ฝาดสมาน จะทำให้ท้องผูกยิ่งขึ้น






หน้าถัดไป (2/3) หน้าถัดไป


Content ©