-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 564 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

มะม่วงหิมพานต์




หน้า: 1/2


                มะม่วงหิมพานต์

      ลักษณะทางธรรมชาติ

    * เป็นไม้ผลยืนต้นอายุหลายสิบปี ปลูกได้ทุกพื้นที่ ทุกภาค และทุกเวลา  เจริญเติบโตได้ดีใน
พื้นที่ลาดเชิงเขา ช่วงพักต้นต้องการความแห้งแล้งแต่ช่วงพัฒนาต้นต้องการน้ำสม่ำเสมอ
    * อายุต้นที่ปลูกจากกิ่งตอนตั้งแต่หลังปลูกถึงให้ผลผลิตประมาณ 3-4 ปี  แต่ต้นที่ได้จาก
การเพาะเมล็ดจะให้ผลผลิตเมื่ออายุต้น 5-6 ปี
               
    * มีระบบรากยาวและหยั่งลงดินลึกมากเพื่อรับความชื้นใต้ดินแทนความชื้นผิวดิน โดยต้นอายุ 2
ปีมีรากยาวเป็น  2 เท่าของความสูง  และมีรากฝอยแตกออกมาจากรากแก้วจำนวนมาก
    * ทนต่อสภาพแห้งแล้งดี  เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินเลว  มีชั้นหินมาก ชอบดินร่วนปน
ทรายหรือดินทราย  น้ำไม่ท่วมขังและราบายน้ำได้ดี
               
    * เป็นไม้ไม่ผลัดใบ แต่ถ้ามีใบน้อยเนื่องจากกระทบแล้งจนแตกยอดชุดใหม่ไม่ได้  เมื่อได้รับ
น้ำต้นก็จะแตกใบใหม่เขียวชอุ่มได้เหมือนเดิม
               
    * ระยะต้นเล็กยังไม่ให้ผลผลิตควรริดกิ่งข้างชิดพื้นดินออก ทำให้ส่วนลำต้น (เปล้า) สูงจาก
พื้น 1-1.20 ม. หรือมีกิ่งง่ามแรกสูงจากพื้นมากๆจะได้สภาพต้นที่สมบูรณ์ให้ผลผลิตดีเมื่อโตขึ้น
 
   * ขนาดทรงพุ่มใหญ่กิ่งภายในระเกะระกะจำเป็นต้องตัดกิ่งภายในทรงพุ่มอยู่เสมอ
 
   * ลักษณะโครงสร้างต้นที่มีกิ่งก้านยาว ปล้องยาว จะให้ผลผลิตด้อยกว่าต้นที่กิ่งก้านและปล้อง
อวบอ้วนสั้น
                
    * ออกดอกเป็นช่อจากปลายกิ่งที่แตกใหม่ในปีนั้น  ในต้นเดียวกันมีดอกตัวผู้กับดอกสมบูรณ์
เพศปะปนกันอยู่ในกิ่งหรือก้านช่อเดียวกัน ดอกตัวผู้มีมากกว่าดอกสมบูรณ์เพศ อัตรา 8:1 โดยเกสร
ตัวผู้จากดอกตัวผู้ต่างดอกจะเข้าผสมกับเกสรตัวเมียในดอกสมบูรณ์เพศ
  
  * ออกดอกติดผลปีละ 1 รุ่น แบบทยอยออกดอกตั้งแต่เดือน พ.ย.-ธ.ค. เป็นผลแก่เก็บ
เกี่ยวได้ในเดือน ก.พ.- พ.ค.จำนวนดอกทั้งสิ้นที่ออกมาแต่ละรุ่นจะติดเป็นผลได้เพียง 3-5
เปอร์เซ็นต์เท่านั้นซึ่งถือว่าค่อนข้างน้อย แก้ไขโดยปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม  บำรุงต้นให้
สมบูรณ์เต็มที่ บำรุงดอกด้วยอาหารหลัก/รอง/เสริม และฮอร์โมนโดยเฉพาะตรงตามช่วงพัฒนาการ
    
* เทคนิคการช่วยผสมเกสรด้วยมือโดยนำเกสรตัวผู้พร้อมผสมจากดอกตัวผู้ ไปฉีดฉีดพ่นใส่
เกสรตัวเมียของดอกสมบูรณ์เพศที่พร้อมรับผสมเหมือนกัน    จะช่วยให้การติดเป็นผลเพิ่มขึ้นหลาย
เท่าตัวเมื่อเทียบกับปล่อยให้ละอองเกสรตัวผู้ลอยไปตามลมหรืออาศัยเพียงแมลงช่วย
    * เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสาร
อาหาร/ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนา
เป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว
               
    * ผลแก่เก็บเกี่ยวได้ไม่พร้อมกันซึ่งในแต่ละต้นจะเก็บเกี่ยวได้ถึง  3 ชุด อายุผลพันธุ์
ศรีสะเกษ 60-1 นาน 90-95 วัน  พันธุ์ศรีสะเกษ 60-2   นาน 100-110 วัน
    * เกี่ยวกับ ผล กับ เมล็ด ของมะม่วงหิมพานต์ยังเข้าใจสับสนกันมาก กล่าวคือ ส่วนที่เรียก
ว่าเมล็ดสำหรับรับประทานนั้นแท้จริงคือ ผล หรือ ผลจริง และส่วนที่เรียกว่าเปลือกนั้นแท้จริงคือ ผล
ปลอม การเจริญเติบโตของผลตั้งแต่ผสมติดช่วงแรก ส่วนผลจริงจะเจริญเติบโตก่อนจากนั้น  ส่วนผล
ปลอมจึงจะเจริญเติบโตตาม
               
    * การเก็บเกี่ยวต้องเก็บจากผลแก่จัดคาต้นแล้วร่วงลงพื้นแล้วเท่านั้น
          
    * การให้ธาตุรอง/ธาตุเสริมอย่างสม่ำเสมอ  จะช่วยบำรุงผนังเซลล์เปลือกแข็งแน่นทำให้เชื้อ
ราเข้าทำลายเนื้อภายในผลส่วนที่เป็นเมล็ดไม่ได้
               
    * การบำรุงทางรากช่วงก่อนเก็บเกี่ยวเพื่อเร่งหวานด้วย 8-24-24 หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต
หมด  แล้วเข้าสู่ช่วงพักต้นจะช่วยให้ต้นไม่โทรม ส่งผลให้การเรียกใบอ่อนของฤดูการผลิตรุ่นต่อไปใบ
อ่อนจะออกมาเร็วและได้ใบดีมีคุณภาพ
                

      สายพันธุ์
               
      พันธุ์เหลือง. และพันธุ์ครั่ง.(พันธุ์เหลืองให้ผลดกกว่าพันธุ์ผลครั่ง).  ศิริชัย-25. 
ศรีสะเกษ 60-1.  ศรีสะเกษ 60-2.     
                

      การขยายพันธุ์
               
    - ตอน (ดีที่สุด).  ทาบ.  ติดตา.  
               
    - เพาะเมล็ด (นิยมมาก) ใช้เมล็ดพันธุ์จากต้นพันธุ์ดี  ให้ผลดกและสม่ำเสมอ  ออกดอก
ติดผลทุกปี  เมล็ดขนาดกลางจะให้ผลผลิตดีกว่าเมล็ดขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ หรือแช่น้ำเมล็ดจมน้ำ
จะให้ผลผลิตดี
กว่าเมล็ดลอยน้ำ                  
    - เพาะเมล็ดโดยหงายส่วนโค้งขึ้น  ฝังดินลึก 6-8 ซม.จะงอกเร็ว
    - ต้นพันธุ์ที่ได้จากการเพาะเมล็ดแล้วเสียบยอดพันธุ์  กับเสริมรากด้วยต้นกิ่งตอนจะทำให้ต้น
มีทั้งรากแก้ว รากฝอย (จากเมล็ด) และรากฝอย(จากกิ่งตอน) จำนวนมาก  เมื่อต้นมีรากมากขึ้น
ย่อมหาอาหาร
ส่งไปเลี้ยงต้นได้มากขึ้น                

      ระยะปลูก 
               
    - ระยะปกติ  6 X 6 ม. หรือ  6 X 8 ม.
               
    - ระยะชิด   4 X 4 ม. หรือ  4 X 6 ม.  
                

      เตรียมดินและอินทรีย์วัตถุ  
               
    - ใส่ปุ๋ยคอก (มูลวัวเนื้อ/นม + มูลไก่ไข่/เนื้อ/นกกระทา (แห้งเก่าข้ามปี) ปีละ 2 ครั้ง
  
  - ให้ยิบซั่มธรรมชาติ  ปีละ 2 ครั้ง               
    - ให้กระดูกป่น  ปีละ 1 ครั้ง  
               
    - คลุมโคนต้นด้วยเศษพืชแห้งหนาๆเต็มพื้นที่บริเวณทรงพุ่ม ล้ำออกไปถึงนอกเขตทรงพุ่ม
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิงหรือจุลินทรีย์ 1-2 เดือน/ครั้ง               
      หมายเหตุ :
               
    - การฝังซากสัตว์ เช่น หอยเชอรี่  ปลาสด  เป็นชิ้นเท่าลูกมะนาวหรือบดละเอียด ที่ชายเขต
ทรงพุ่ม 4-5 หลุม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. ฝังปีเว้นปี เพื่อให้ต้นมีสารอาหารกินตลอด 24 ชม. ต่อ
เนื่องหลายๆปีจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์สูงพร้อมต่อการบำรุงทุกขั้นตอน  
               
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ (ทางใบ-ทางราก) บ่อยเกินไปจะทำให้ต้นหยุดการเจริญเติบโต ไม่แตก
ใบอ่อน  ผลหยุดขยายขนาดแล้วกลายเป็นผลแก่  การให้ทางใบอาจเป็นแหล่งอาศัยและแพร่ระบาด
ของเชื้อราได้  
                
   
- ฮอร์โมนธรรมชาติและฮอร์โมนวิทยาศาสตร์จะให้ประสิทธิภาพเต็มร้อยก็ต่อเมื่อ ต้นมีสภาพ
ความสมบูรณ์สูง
                

      เตรียมต้น
               
      ตัดแต่งกิ่ง :
               
    - ตัดแต่งเพื่อการแตกยอดใหม่ให้ตัดกิ่งกระโดง  กิ่งในทรงพุ่ม  กิ่งคดงอ  กิ่งชี้ลง  กิ่ง
ไขว้ กิ่งหาง
หนู กิ่งเป็นโรค ทั้งนี้ภายในทรงพุ่มควรให้โปร่งจนแสงส่องผ่านลงไปถึงโคนต้นได้
    - มะม่วงหิมพานต์ออกดอกติดผลที่ปลายยอดของกิ่งนอกทรงพุ่ม จึงควรตัดทิ้งกิ่งในทรงพุ่ม
ทั้ง
หมดและเพื่อไม่ให้แตกยอดใหม่ป้องกันทรงพุ่มทึบเกินไปให้ตัดชิดลำกิ่งประธาน
    - ตัดยอดกิ่งประธาน (ผ่ากบาล) ณ ความสูงต้นตามต้องการ  นอกจากช่วยทำให้แสงแดด
ผ่านจากยอดเข้าสู่ภายในทรงพุ่มได้อย่างทั่วถึงแล้วแสงแดดที่ร้อนยังช่วยกำจัดเชื้อราได้เป็นอย่างดี
และเพื่อควบคุมขนาดความสูงทรงพุ่มอีกด้วย
               
    - นิสัยมะม่วงหิมพานต์มักออกดอกหลังจากกระทบหนาวได้ระยะหนึ่ง  ดังนั้นจึงควรตัดแต่ง
กิ่ง-เรียกใบอ่อนช่วงต้นหน้าฝน แล้วเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงตามลำดับจะทำให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ดี
กว่าการตัดแต่งกิ่งในช่วงอื่น หมายความว่า หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วยังไม่ต้องตัดแต่งกิ่งแต่ให้
บำรุงตามปกติต่อไปก่อน  จนกระทั่งเข้าสู่หน้าฝนจึงลงมือตัดแต่งกิ่ง
               
      ตัดแต่งราก :
               
    - ระยะที่ต้นอายุยังน้อยไม่ควรตัดแต่งราก  แต่ถ้าต้องการสร้างรากใหม่ให้มีประสิทธิภาพใน
การหาอาหารดียิ่งขึ้นใช้วิธีล่อรากด้วยการพูนโคนต้นด้วยดิน 3 ส่วนกับอินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน
    - ต้นอายุหลายปี  ระบบรากเก่าและแก่มาก  ให้พิจารณาตัดแต่งรากส่วนปลายออก 1 ใน
4 ด้วยการพรวนดินรอบทรงพุ่มลึก 10-15 ซม. หลังจากให้ฮอร์โมนบำรุงรากไปแล้วต้นจะแตกราก
ใหม่จำนวนมากขึ้นและมีประสิทธิภาพในการดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าเดิม
  


            
ขั้นตอนการปฏิบัติบำรุงต่อมะม่วงหิมพานต์    

    1.เรียกใบอ่อน
               
      ทางใบ :
                   
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 25-5-5(200 กรัม)หรือ 46-0-0(200 กรัม)สูตรใดสูตรหนึ่ง +
จิ๊บเบอเรลลิน 10 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
      ทางราก :
               
    - ให้น้ำหมักชีวภาพระเบิดเถิดเทิง +25-7-7(½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
    - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน                
      หมายเหตุ :
               
    - เริ่มปฏิบัติทันทีหลังตัดแต่งกิ่งและตัดแต่งรากเสร็จ
               
    - หลังจากให้ทางใบไปแล้ว 5-7 วันถ้าต้นใดแตกใบอ่อนดีน้อยกว่า  50 เปอร์เซ็นต์ให้ฉีด
พ่นซ้ำรอบสองด้วยอัตราและวิธีการเดิม เพราะถ้าต้นแตกใบอ่อนไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นจะส่งผลเสียหลาย
อย่างตั้งแต่การเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่  การสะสมอาหารเพื่อการออก  การปรับ ซี/เอ็น เรโช.  การ
เปิดตาดอก  ซึ่งจะออกดอกไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้นและเมื่อดอกออกไม่พร้อมกันก็กลายเป็นผลไม่
พร้อมกันทำให้ยุ่งยากต่อการปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอนอย่างมา.....แนวทางแก้ไข คือ ต้องบำรุงเรียก
ใบอ่อนให้ออกมาเป็นชุดเดียวพร้อมกันทั้งต้นให้ได้ 
               
    - มะม่วงหิมพานต์ต้องการใบอ่อน 2 ชุด ถ้าต้นสมบูรณ์ดี มีการเตรียมดินและปรับปรุงบำรุงดิน
สม่ำเสมอต่อเนื่องมาหลายๆปีแล้ว  หลังจากใบอ่อนชุดแรกเพสลาดแล้วให้เรียกใบอ่อนชุด 2 ต่อได้
เลย  ใบชุด  2 นี้อาจจะออกไม่พร้อมกันทั้งต้นเหมือนชุดแรกแต่ก็จะออกห่างกันไม่เกิน 7-10 วัน
และหลังจากใบอ่อนชุด 2 เพสลาดก็ให้เข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงต่อไปตามปกติ 
         

    2.เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่   
               
      ทางใบ :
               
    - ให้น้ำ 100 + 0-21-74(200 กรัม)หรือ 0-39-39 (200 กรัม) สูตรใดสูตร
หนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
               
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
               
      ทางราก :
               
    - ให้น้ำตามปกติ  ทุก 2-3 วัน
               
      หมายเหตุ :
               
    - เริ่มปฏิบัติเมื่อใบเริ่มแผ่กางรับแสงแดดได้
               
    - การเร่งใบอ่อนให้เป็นใบแก่ วัตถุประสงค์เพื่อเร่งระยะเวลาสู่การพัฒนาขั้นต่อไปให้เร็วขึ้น 
หรือเพื่อให้รอดพ้นจากการทำลายของแมลงปากกัดปากดูดที่ชอบกัดกินใบอ่อนพืช
    - สารอาหารในกลุ่มเร่งใบอ่อนเป็นใบแก่มีฟอสฟอรัส.และโปแตสเซียม. นอกจากช่วยเร่งใบ
อ่อนเป็นใบแก่แล้วยังช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนสะสมอาหารเพื่อการออกดอกได้ด้วย
    - ต้นที่สะสมความสมบูรณ์เต็มที่มานานหลายปีติดต่อกัน หลังจากใบอ่อนเริ่มแผ่กาแล้วสามารถ
ข้ามขั้นตอนการบำรุงไปสู่ขั้นตอนเปิดตาดอกได้เลย ทั้งนี้ฟอสฟอรัส.กับโปแตสเซียม. นอกจากช่วย
เร่งใบอ่อนเป็นใบแก่ได้แล้วยังช่วยเปิดตาดอกได้อีกด้วย 
       

    3.สะสมอาหารเพื่อการออกดอก
               
      ทางใบ :
                 
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-42-56(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ แคล
เซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ทุก 5-7 วัน  2-3 รอบ  ฉีดพ่นพอเปียกใบ  ติดต่อกัน 1-2 เดือน จะช่วยให้ต้นสมบูรณ์เต็มที่
  
  - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน               
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
               
      ทางราก :
               
    - ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 8-24-24(1-2 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน 
               
    - ให้มูลค้างคาว 100-200 กรัม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. 
               
    - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน
               
      หมายเหตุ :
               
    - เริ่มปฏิบัติเมื่อใบเพสลาด
               
    - แนวทางบำรุงให้ต้นได้สะสมอาหารเพื่อการออกดอกไว้มากที่สุดควรเตรียมแผนใช้เวลาบำรุง
2 เดือน  โดยให้กลูโคสหรือนมสัตว์สดรอบแรกเมื่อเริ่มลงมือบำรุง  และให้รอบสองห่างจากรอบ
แรก 20-30 วัน 
               
    - วัตถุประสงค์เพื่อให้ต้นได้สะสมสารอาหารทั้งกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.) และกลุ่ม สร้าง
ใบ-บำรุงต้น ไว้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้  จนกระทั่งเกิดอาการอั้นตาดอก  ไม่มีการแตกใบ
อ่อนออกมาอีก  ถ้าต้นแตกใบอ่อนออกมาใหม่ก็จะต้องย้อนกลับไปบำรุงที่ขั้นตอนเร่งใบอ่อนให้เป็นใบ
แก่อีกครั้งซึ่งทำให้เสียเวลา
               
    - ช่วงหน้าฝนสวนยกร่องน้ำหล่อ หรือพื้นที่ลุ่มปริมาณน้ำใต้ดินมาก  แนะนำให้บำรุงทางใบ
ด้วยสูตร  “สะสมอาหารปกติ”  โดยการให้ก่อนฝนตก 1 ชม.หรือให้ทันทีหลังฝนหยุดใบแห้ง  
ให้บ่อยๆได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งหรือช่วงระยะเวลาให้ 
               
    - เพื่อให้ต้นได้มีการสะสมอาหารเพื่อการออดอกมากยิ่งขึ้น  แนะนำให้ใส่มูลค้างคาว 100-
200 กรัม/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม. โดยละลายน้ำรดโคนต้นบริเวณชายพุ่มจะเป็นการดียิ่งขึ้น ในมูลค้าง
คาวมีสารอาหารในการสร้างเมล็ดจะช่วยให้ได้ส่วนเมล็ดใหญ่ขึ้น
               
    - ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการบำรุงขั้นต่อไป คือ ปรับ ซี/เอ็น เรโช. ให้ทบทวนความทรงจำเมื่อครั้ง
เรียกใบอ่อนแล้วใบอ่อนออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นหรือไม่ ถ้าใบอ่อนออกมาพร้อมกันดีทั่ว
ทั้งต้นให้ปรับ ซี/เอ็น เรโช.ต่อไปได้เลย  แต่ถ้าใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันเป็นชุดเดียวทั่วทั้งต้นและ
ค่อนข้างต่างรุ่นกันมากก็ให้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการออกดอกต่อไปอีก 2-3 รอบ เพื่อรอให้ใบอ่อน
ชุดหลังสะสมอาหารจนอั้นตาดอกดีเท่ากับใบอ่อนชุดแรกจากนั้นจึงลงมือปรับ ซี/เอ็น เรโช.  ทั้งนี้
วัตถุประสงค์เพื่อทำให้มีดอกออกมาพร้อมกันเป็นชุดเดียวกันทั่วทั้งต้นนั่นเอง
       

    4.ปรับ ซี/เอ็น เรโช
               
      ทางใบ :
                
    - ให้น้ำ 100ล.+ นมสัตว์สด 100-200 ซีซี.+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100ซีซี.+ แคล
เซียม โบรอน 100 ซีซี. + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ ระวังอย่าให้ลงพื้น
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
      ทางราก :
               
      งดน้ำ  เปิดหน้าดินโคนต้น
               
      หมายเหตุ :
                
    - เริ่มปฏิบัติเมื่อสังเกตเห็นความสมบูรณ์ของต้นชัดเจน
               
    - ต้นที่มีอาการอั้นตาดอกดีจนพอใจแล้วไม่ต้องฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์สดเพิ่มอีกแต่ถ้าต้นมี
อาการอั้นตาดอกไม่ดีหรือยังไม่น่าพอใจ  แนะนำให้ฉีดพ่นกลูโคสหรือนมสัตว์ทางใบอีกซ้ำอีก 1
รอบ  โดยเว้นระยะเวลาให้ห่างจากที่เคยให้เมื่อช่วงสะสมอาหารไม่น้อยกว่า 30-45 วัน
  
  - วัตถุประสงค์เพื่อ  “เพิ่ม”  ปริมาณสารอาหารกลุ่มสร้างดอก-บำรุงผล (ซี.)และ 
“ลด”  ปริมาณสารอาหารกลุ่มสร้างใบ-บำรุงต้น (เอ็น.)  
      

    5.เปิดตาดอก
               
      ทางใบ :
               
    - ในรอบ 7 วันให้น้ำ 100 ล.+ ไธโอยูเรีย (500 กรัม)หรือ 0-52-34(500 กรัม)
สูตรใดสูตรหนึ่ง
+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 กรัม + สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1 รอบกับให้
น้ำ 100 ล.+ ฮอร์โมนไข่ 100 ซีซี.+ เอ็นเอเอ.25 ซีซี.+ สาหร่ายทะเล 50 กรัม + สาร
สกัดสมุนไพร 250 ซีซี.   อีก 1 รอบ  ฉีดพ่นพอเปียกใบ
               
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
               
      ทางราก :
               
    - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
               
    - ให้น้ำพอหน้าดินชื้นหรือพอให้ต้นได้รู้สึกตัว 
               
      หมายเหตุ :
               
    - เริ่มปฏิบัติเมื่อต้นมีอาการอั้นตาดอกทั่วทั้งต้นหรือทุกจุดที่สามารถออกดอกได้
    - อาจจะพิจารณาใส่ 8-24-24 (100-200 กรัม)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.อีก 1 รอบก็
ได้ด้วยการละลายน้ำรดโคนต้นพอหน้าดินชื้นเพื่อเสริมของเก่าที่ใส่เมื่อช่วงสะสมอาหารและช่วงที่ปรับ
ซี/เอ็น เรโช.
                
    - หลังจากเปิดตาดอกแล้ว ถ้าดอกออกมาไม่มากพอ สาเหตุมาจากตั้งแต่ช่วงเรียกใบอ่อนแล้ว
ใบอ่อนออกมาไม่พร้อมกันทั่วทั้งต้น ระหว่างที่ดอกชุดแรกยังเป็นดอกตูมอยู่นั้น ให้เปิดตาดอกซ้ำอีก
1-2 รอบด้วยสูตรเดิม หรือจนกระทั่งดอกชุดแรกบานแล้วจึงยุติการเปิดตาดอกซ้ำ
       
        
    6.บำรุงดอก
               
      ทางใบ :
               
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 15-45-15(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริ 100 ซีซี.+ เอ็นเอ
เอ.100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. ฉีดพ่นพอเปียกใบ 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7
วัน
               
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรช่วงค่ำ ทุก 2-3 วัน    
               
      ทางราก :
               
    - ให้ 8-24-24 (½ กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.    
               
    - ยังคงเปิดหน้าดินโคนต้น
                 
    - ให้น้ำพอหน้าดินชื้น
               
      หมายเหตุ :
               
    - ให้  “เอ็นเอเอ. หรือ เอ็นเอเอ.+ จิ๊บเบอเรลลิน”   ช่วงดอกตูมแทงออกมายาว 2-3
ซม. 1 ครั้ง จะช่วยบำรุงเกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียให้สมบูรณ์พร้อมรับการผสมแต่ต้องใช้ด้วยระมัดระวัง
เพราะถ้าให้เข้มข้นเกินไปจะเกิดความเสียหายต่อดอกและถ้าให้น้อยเกินไปก็จะไม่ได้ผล
    - ช่วงดอกเริ่มแทงออกมาใหม่ๆให้แคลเซียม โบรอน.1 รอบ จะช่วยให้ดอกสมบูรณ์ผสมติดดี           
    - ฉีดพ่นสารอาหารเพื่อบำรุงดอกด้วยเครื่องมือฉีดพ่นที่มีแรงลมพ่นเบาที่สุดตามความเหมาะสม
เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อส่วนต่างๆของดอก  ฉีดพ่นที่ช่อดอกโดยตรงพอเปียกหรือฉีดพ่นให้ทั่ง
ทรงพุ่มพอเปียกใบก็ได้
                
    - บำรุงดอกช่วงฝนชุกให้เน้น  “ฮอร์โมนน้ำดำ และ แคลเซียม โบรอน”  โดยให้เมื่อดอก
ออกมาแล้วหรือให้แบบสะสมล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงเปิดตาดอก  ให้แบบเดี่ยวๆหรือผสมรวมไปกับธาตุ
อาหารอื่นๆก็ได้
                
    - ช่วงดอกตูมควรฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพรให้บ่อยขึ้น เพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงจนถึงช่วง
ดอกบาน
                
    - ระยะดอกบานถ้าตรงกับช่วงฝนชุกเกสรจะเปียกชื้นทำให้ผสมไม่ติด แก้ไขโดยกะระยะเวลา
บำรุงให้ดอกออกมาไม่ตรงกับช่วงฝนชุกเท่านั้น  แต่ถ้าดอกออกมาตรงกับช่วงแล้งอากาศร้อนมาก
เกสรจะฝ่อทำให้ผสมไม่ติดเช่นกัน แก้ไขโดยการสร้างความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศและที่พื้นดิน ทั้งใน
แปลงปลูกและรอบๆแปลงปลูก......มาตรการบำรุงต้นและดอกให้สมบูรณ์อย่างแท้จริงอยู่เสมอ
สามารถช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมาก 
     

    7.บำรุงผลเล็ก
               
      ทางใบ :
               
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 15-45-15 (200 กรัม) + + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี + แคลเซียม โบรอน 100 ซีซี.+ ฮอร์โมนไข่ 25 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.  ฉีดพ่นทางใบพอเปียกใบ
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน                
      ทางราก :
               
    - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง + 25-7-7(½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./
เดือน
               
    - นำอินทรีย์วัตถุกลับเข้าคลุมโคนต้นพร้อมกับเสริมยิบซั่มธรรมชาติ อัตรา 1 ใน 10 ส่วนของ
อัตราที่เคยใส่เมื่อช่วงเตรียมต้น 
                
    - ให้น้ำแบบค่อยๆเพิ่มปริมาณน้ำทีละน้อยๆของการให้น้ำ 3-4 รอบเพื่อให้ต้นรู้ตัว
      หมายเหตุ :               
    - เริ่มบำรุงเมื่อผลจริงขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว หรือหลังกลีบดอกร่วง 
       

    8.บำรุงผลกลาง
               
      ทางใบ :
               
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 15-45-15(200 กรัม)+ ธาตุรอง/ธาตุเสริม(100 ซีซี.)+แคล
เซียม โบรอน 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี.ทุก 7-10 วัน ฉีดพ่นทางใบพอเปียกใบ
    - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน               
      ทางราก :
               
    - ให้น้ำหมักชีวภาพสูตรระเบิดเถิดเทิง 8-24-24(½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม./เดือน
   
 - ให้น้ำปกติ  ทุก 2-3 วัน                
      หมายเหตุ
               
    - เริ่มบำรุงเมื่อเปลือกหุ้มเมล็ด (ผลจริง) เริ่มแข็ง
               
    - วัตถุประสงค์เพื่อขยายขนาดเมล็ด (ผลจริง) และลดขนาดเนื้อ (ผลปลอม)
  
  - ให้สังกะสีคีเลต. 1-2 รอบห่างกันรอบละ 1 เดือนเพื่อบำรุงเมล็ดให้ใหญ่และคุณภาพดี
    - ถ้าต้นติดผลดกมากควรให้ฮอร์โมนน้ำดำ.กับ แคลเซียม โบรอน. 1-2 รอบ โดยแบ่งให้
ตลอดระยะผลกลางจะช่วยให้ต้นไม่โทรมเนื่องจากรับภาระเลี้ยงผลมาก
     

    9.บำรุงผลแก่
               
      ทางใบ :
                 
    - ให้น้ำ 100 ล.+ 0-0-50(200 กรัม)หรือ 0-21-74(200 กรัม)สูตรใดสูตร
หนึ่ง + ธาตุรอง/ธาตุเสริม 100 ซีซี.+ สารสกัดสมุนไพร 250 ซีซี. 1-2 รอบ ห่างกันรอบละ 5-7 วันก่อนเก็บเกี่ยว  ฉีดพ่นทางใบ
พอเปียกใบ
               
     - ฉีดพ่นสารสกัดสมุนไพร  ทุก 2-3 วัน
               
       ทางราก :
               
     - ให้ 13-13-21 หรือ 8-24-24 สูตรใดสูตรหนึ่ง (½-1 กก.)/ต้นทรงพุ่ม 3-5 ม.
               
     - ให้น้ำเพื่อละลายปุ๋ยแล้วงดน้ำเด็ดขาด
               
       หมายเหตุ :
               
     - เริ่มให้ก่อนเก็บเกี่ยว 7-10 วัน  1-2 รอบ  ห่างกันรอบละ 5-7 วัน
     - การให้ 13-13-21 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลรุ่นเดียวกันทั้งต้น แต่หลังจากเก็บเกี่ยวผล
ผลิตแล้วต้นมักโทรมจึงต้องเร่งบำรุงฟื้นฟูความสมบูรณ์ของต้น (เรียกใบอ่อน) กลับคืนมาโดยเร็วแล้ว
จึงเข้าสู่วงรอบการบำรุงใหม่        
               
     - การให้ 8-24-24 เหมาะสำหรับต้นที่มีผลหลายรุ่นในต้นเดียวกันซึ่งนอกจากหลังจากเก็บ
เกี่ยวผลผลิตจนหมดต้นแล้วต้นไม่โทรม   ช่วยบำรุงผลรุ่นหลังต่อ  และทำให้ต้นมีความสมบูรณ์
พร้อมสำหรับ
ให้ผลผลิตรุ่นปีต่อไปอีกด้วย              








หน้าถัดไป (2/2) หน้าถัดไป


Content ©