-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 214 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ข่าวแวดวงเกษตร33




หน้า: 3/11



ปุ๋ยที่ใช้ในระบบ Hydroponics พิมพ์ ส่งเมล์
เขียนโดย ดา   

Imageปุ๋ยที่เราใช้ในระบบปลูกแบบ Hydroponics ทำไมต้องเป็นปุ๋ยเคมีที่บริสุทธิ์กว่าปกติด้วย  เคยสงสัยไหมค่ะว่า  จะใช้ปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆที่มีขายทั่วไปได้หรือไม่   แล้วปุ๋ยชีวภาพล่ะ จะใช้แทนกันได้ไหม   ลองมาหาคำตอบด้วยกันเลยค่ะ

การปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิกส์  เป็นการปลูกพืชที่ไม่ต้องใช้ดิน  รากพืชจะแช่อยู่ในสารละลายธาตุอาหารโดยตรง ดังนั้น หากสารละลายธาตุอาหารไม่สะอาด บริสุทธิ์ เมื่อรากพืชเกิดบาดแผล เชื้อโรคต่างๆจะสามารถเข้าทำลายได้โดยง่าย  ซึ่งต่างจากพืชที่ปลูกในดิน รากพืชจะมีดินช่วยกรองสิ่งเจือปนต่างๆที่ปนมากับปุ๋ยไว้ ก่อนถึงรากพืชค่ะ  ดังนั้น ปุ๋ยที่เราใช้ในการปลูกระบบนี้ จึงเป็นแม่ปุ๋ยบริสุทธิ์  ซึ่งจะมีความบริสุทธิ์สูงมาก มีสิ่งเจือปนน้อย  การละลายน้ำดี  พืชสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้สูงมาก แต่จะมีราคาแพงค่ะ

Image

 


เรามาดูความหมายของปุ๋ยเคมี และปุ๋ยชีวภาพกันก่อนค่ะ


ปุ๋ยเคมี  หรือปุ๋ยอนินทรีย์ แบ่งออกเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือ อนินทรีย์ธรรมชาติ และปุ๋ยอนินทรีย์ สังเคราะห์

ปุ๋ยอนินทรีย์ธรรมชาติ หมายถึง ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของสารอนินทรีย์ เช่น หินฟอสเฟตบดและแร่ซิลไวท์ ( ปุ๋ยโพแทสเซียม ) เป็นต้น


ส่วนปุ๋ยอนินทรีย์สังเคราะห์ หมายถึง ปุ๋ยอนินทรีย์ที่มนุษย์ทำขึ้นจากวิธีทางเคมี เช่น แอมโมเนียมซัลเฟตและปุ๋ยทริบเบิลซูเปอร์ฟอสเฟต เป็นต้น เนื่องจากปุ๋ยอนินทรีย์สังเคราะห์ ได้มาจากการผลิตโดยวิธีทางเคมี จึงถูกจัดว่าเป็นปุ๋ยเคมี วัตถุประสงค์ของการใช้ปุ๋ยเคมี

      โดยปกติธาตุอาหารที่พืชดูดมาจากดิน คือ ธาตุอาหารที่ดินปลดปล่อยออกมาจากแร่ต่างๆ และอินทรีย์วัตถุอันเป็นองค์ประกอบของดินนั้น ถ้าพืชได้รับทุกธาตุเพียงพอและสมดุลตามความต้องการแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมีปุ๋ยเคมีอีก แต่ถ้าบางธาตุยังขาดแคลน ในกรณีที่ปลูกพืชซ้ำในที่เดิมประกอบกับการนำผลิตผลของพืชไปจากแหล่งปลูก ธาตุอาหารต่างๆในดินจึงนำออกไปจากดินด้วย จึงทำให้ธาตุอาหารมีปริมาณลดลงและสูญเสียความสมดุลไปจึงทำให้ผลผลิตต่ำ แม้จะใส่ปุ๋ยอินทรีย์แล้วก็ตาม กรณีเช่นนี้จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเคมี ดังนั้น ปุ๋ยเคมีจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มเติมธาตุซึ่งดินยังขาดอยู่ ให้เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตอย่างปกติให้คุณภาพผลผลิตดีและให้ผลผลิตสูงอย่างถาวรของพืช


ข้อดี / ข้อจำกัดของปุ๋ยเคมี
ข้อดีของปุ๋ยเคม
1. มีปริมาณธาตุอาหารต่อหน่วยน้ำหนักของปุ๋ยสูง ใช้ปริมาณเพียงเล็กน้อยก็พอเพียง
2. ราคาถูกเมื่อคิดเป็นราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหาร ประกอบกับการขนส่งและการเก็บ รักษาสะดวกมากเมื่อเทียบกับปุ๋ยอินทรีย์
3. ถ้าต้องการเป็นปริมาณมากก็สามารถหาได้เพราะเป็นผลผลิตที่ผลิตได้จากโรงงาน
4. ให้ผลทางด้านธาตุอาหารพืชเร็วกว่าปุ๋ยอินทรีย์ ในระยะสั้นจึงให้ผลผลิตสูงกว่าเพราะมีธาตุ อาหารหลักมากกว่า


ข้อจำกัดของปุ๋ยเคมี
1. ปุ๋ยเคมีไม่มีคุณสมบัติปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินกล่าวคือ ไม่ทำดินโปร่ง ร่วนซุยและ อื่นๆ / เหมือนปุ๋ยอินทรีย์
2. ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียม ถ้าใช้เป็นปริมาณมากและติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องใช้ปูนเพื่อแก้ความเป็นกรดของดิน
3. ปุ๋ยเคมีบางชนิดมีความเค็ม ถ้าใช้ในอัตราสูงจะเป็นอันตรายแก่พืช โดยเฉพาะการงอกของเมล็ด จะลดลง การใช้จึงต้องระมัดระวัง
4. ผู้ใช้ต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องปุ๋ยเคมีพอสมควร มิฉะนั้นจะเกิดผลเสียต่อพืช และต่อภาวะเศรษฐกิจของผู้ใช้ ( ทำให้ขาดทุนได้ )
5. ปุ๋ยเคมีมีโอกาสสุญเสียมาก ขึ้นกับชนิดของดินที่ใช้ปุ๋ย วิธีและเวลาใส่ปุ๋ย
6. วิธีการใส่ยุ่งยากกว่าโดยต้องใช้แรงงานหลายครั้งเพราะต้องแบ่งใส่เป็นช่วงๆ

ส่วนปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ หมายถึง ปุ๋ยที่มีจุลินทรีย์ที่มีชีวิตและมีประสิทธิภาพ ที่สามารถมีกิจกรรมที่ทำให้เพิ่มธาตุอาหารให้กับพืชได้ ดังนั้นคำว่า ชีวภาพในคำของน้ำหมักจึงได้แก่สิ่งมีชีวิต ซึ่งได้แก่จุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ที่มี บทบาทในการช่วยย่อยอินทรียวัตถุต่าง ๆ เช่น เศษผัก ผลไม้ หรือสัตว์ เช่น ปลาหรือหอย ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้โดยตัวเอง แล้วไม่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มธาตุอาหารให้กับพืช แต่มีบทบาทที่ช่วยในการย่อยสลายอินทรียวัตถุต่าง ๆ ให้ปลดปล่อยธาตุอาหารหรือเอนไซม์และสารประกอบบางชนิดที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ แต่จะมีปริมาณธาตุอาหารไม่มากพอที่จะเรียกเป็นปุ๋ยได้ 

 
(กล่าวโดยรวมปุ๋ยอินทรีย์มีธาตุอาหารค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับปุ๋ยเคมี การใช้ปุ๋นอินทรีย์เพื่อให้ธาตุอาหารเพียงพอและสมดุลย์สำหรับพืชกรือทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี จะต้องใส่ในอัตราที่สูงมากโดยเฉพาะใน ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ดังนั้นถ้าผลิตใช้เองไม่ได้จะทำให้ต้นทุนสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว

ที่มา : 
http://www.doa.go.th/apsrdo/fertilizer.htm )

Image

 



จะเห็นได้ว่าปุ๋ยเคมี ไม่ได้มีอันตรายในแง่การสะสมในพืชจนเป็นอันตรายกับผู้บริโภคเลย  การจัดการก็ง่ายกว่า  เพราะสามารถเปลี่ยนถ่ายสารละลายได้ทันทีที่ สารละลายธาตุอาหารเสียสมดุลไป    และสามารถคำนวณธาตุอาหารได้สอดคล้องใกล้เคียงกับความต้องการของพืชอีกด้วย

ในขณะที่ปุ๋ยชีวภาพนั้น   เต็มไปด้วยจุลินทรีย์ชนิดต่างๆมากมาย ซึ่งมีหน้าที่ย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินให้สามารถใช้ประโยชน์ได้  แต่ในระบบไฮโดรโพนิกส์นั้น  เราไม่มีดิน และสารอินทรีย์ใดให้ย่อยสลาย  ดังนั้นจุลินทรีย์ต่างๆเหล่านี้ จึงไม่มีประโยชน์ หรืออาจเป็นตัวเพิ่มเชื้อโรคในสารละลายได้ค่ะ



การปรับค่า pH ของสารละลาย จะใช้อะไรปรับดี
พิมพ์ ส่งเมล์
 
Imageเมื่อเตรียมสารละลาย ที่ pH ตั้งต้นไว้ ประมาณ 6  แต่เมื่อเวลาผ่านไป  สำหรับการปลูกพืชผักนั้น  pH ของสารละลาย จะสูงขึ้นเรื่อยๆค่ะ
ทั้งนี้ เนื่องมาจาก  ในช่วงการเจริญเติบโตทางใบ และลำต้น  พืชจะมีการดูดใช้ NO3-   เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นก็จะปลดปล่อย HCO3-  ออกมาในจำนวนที่เท่ากัน   ซึ่งจะทำให้ pH ของสารละลายเพิ่มขึ้น

ในกรณีที่ ค่า pH ของสารละลายสูง เราสามารถลด pH ให้ต่ำลงได้ โดยใช้สารเคมีเช่น กรด ซัลฟูริค (H2SO4)  กรดไนตริก (HNO3)  หรือ กรดฟอสฟอริก (H3PO4)


1.  เมื่อปรับด้วย กรดไนตริก (HNO3)   จะช่วยเพิ่มไนโตรเจนในสารละลาย   ราคาถูก เป็นที่นิยมใช้กันมาก
2.  หากปรับด้วย  กรด ซัลฟูริค (H2SO4) จะมีอันตรายต่อผู้ใช้สูง ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
3.  หากปรับด้วยการใช้ กรดฟอสฟอริก (H3PO4)  จะช่วยเพิ่มฟอสฟอรัส    กรดฟอสฟอริก (H3PO4) นั้นมี    ราคาค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับตัวอื่น   แต่จะลด pH ได้ดีกว่ากรดชนิดอื่น ๆ ในปริมาณที่เท่ากันค่ะ


ในสารละลายที่มี pH ตํ่ าเกินไป (carbonate) คอสติกโซดา (Caustic soda) โพแทสเซียมคาร์โบเนต (Potassium bicarbonate) โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์(Potassium hydroxide ) และ คอสติก โพแทส (caustic potash) สารที่นิยมใช้คือ โซเดี่ยมคาร์โบเนต (sodium carbonate) ซึ่งมี pH 8.2 และช่วยเพิ่มโพแทสเซียมในสารละลายได้ ไม่ควรใช้ในรูปของเกลือโซเดี่ยม เนื่องจากพืชไม่ต้งการธาตุนี้
                         Image 

ที่มา : รศ.นิพนธ์ ไชยมงคล




ค่า EC ต่อ ผลผลิตพืช
พิมพ์ ส่งเมล์
 
Imageค่า EC สูงหรือ ต่ำ อย่างไร มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช  จะไปในทิศทางใด  และให้ผลผลิตที่สูงต่ำกว่ากันอย่างไร  ต้องศึกษาค่ะ

โดยทั่วไปในระบบ Hydroponics ความเข้มข้นของสารละลาย จะวัดเป็นค่า EC  ( Electrical Conductivity ) หน่วยเป็น mS/cm  ซึ่งค่าจะอยู่ในช่วง 1 - 4  mS/cm  การตอบสนองของผลผลิต ต่อค่า EC คือ เมื่อค่า EC ต่ำ ผลผลิตก็จะต่ำ และเมื่อเพิ่มค่า EC ถึงระดับหนึ่ง จะได้ค่าผลผลิตสูงสุด และเมื่อเพิ่มค่า EC ต่อไป ผลผลิตจะไม่เพิ่ม  หลังจากนั้น ถ้าเพิ่มค่า EC ต่อไปอีก ผลผลิตจะลดลง ค่า EC ในที่นี้คือ ค่า EC บริเวณรากพืช ซึ่งอาจแตกต่างจาก ค่า EC ของสารละลายที่เตรียม

Image

เมื่อค่า EC ต่ำ 

ที่มา :  รศ.ดร. อิทธิสุนทร นันทกิจ





เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับค่า pH ของสารละลายที่ใช้ปลูกผักใบ
พิมพ์ ส่งเมล์
 
ต้นกล้าการปลูกพืชในระบบ Hydroponics นั้น ค่าที่เราต้องตรวจวัดกันแทบทุกวัน คือ ค่า Ph ของสารละลายในระบบ  ซึ่งค่านี้ควรจะอยู่ในช่วงใด จึงจะเหมาะสมที่สุดสำหรับพืช  จะเป็นเพราะสาเหตุใด จึงควรที่จะรักษาระดับนี้ไว้ให้อยู่ในระดับที่คงที่ ตลอดเวลา   และมีอะไรอีกที่เราควรรู้เกี่ยวกับค่านี้บ้าง

pH สารละลายธาตุอาหารเข้มข้น A และ B  ควรให้อยู่ในช่วง 4-6  และเมื่อเจือจางปุ๋ยลงในระบบแล้ว ควรรักษาระดับค่า pH ให้อยู่ในช่วง 5.5–6.5 ในกรณีหากค่า pH ของสารละลายสูงกว่า 6 การละลายของอนุมูลคาร์บอเนตและฟอสเฟตจะลดลง โดยจะตกตะกอนกับแคลเซียมและแมกนีเซียม ทำให้พืชใช้ประโยชน์ธาตุทั้งสองได้น้อยลง นอกจากนี้ตะกอนที่เกิดขึ้นจะอุดตันหัวน้ำหยด ระบบท่อ และเครื่องกรองน้ำ และยังไปหุ้มอีเลกโทรดของเครื่องวัด pH และ เครื่องวัด EC อีกด้วย นอกจากนี้หากค่า  pH ที่สูงยังมีผลให้เหล็กคีเลต  อยู่ในรูปที่พืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้อีกด้วย  และถ้า pH สูงกว่า 7 ติดต่อกันนาน 2-3 วัน จะทำให้การดูดใช้ ฟอสฟอรัส เหล็ก และแมงกานีส ผิดปกติไป




ค่า pH ของสารละลายต่ำกว่า 4 จะเป็นอันตรายต่อรากพืช
 

บัตเตอร์เฮดเมื่อเราเตรียมสารละลายลงในระบบใหม่ๆ ค่า pH ตั้งต้นจะเท่ากับ 6  แต่เมื่อเวลาผ่านไป pH จะสูงขึ้นเรื่อยๆ จำเป็นต้องมีการปรับค่า pH ให้เท่ากับ 6 อยู่อย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้เนื่องมาจาก ในการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ (vegetative growth) พืชจะมีการดูดใช้ ไนเตรทอิออน (NO3-) เป็นส่วนใหญ่ (ดูดใช้ประจุลบมากกว่าบวก) จึงมีการปล่อยอนุมูลไบคาร์บอเนต (HCO3-) ออกมาในปริมาณเท่ากัน ทำให้ pH ของสารละลายเพิ่มขึ้น  
   
ในการปรับค่า pH ให้ต่ำลง เรานิยมใช้ กรดไนตริก  หรือกรดฟอสฟอริก เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งกรดทั้ง 2 ตัวนี้จะให้ธาตุ ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส เพิ่มกับสารละลายไปในตัวด้วย  ในทางกลับกัน การเพิ่ม pH ของสารละลายทำได้โดยเติม โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ หรือโพแทสเซียมคาร์บอเนต ลงในสารละลาย




สาเหตุที่ปุ๋ยต้องมี 2 ถัง
พิมพ์ ส่งเมล์
  
Imageสาเหตุ ที่สารละลายธาตุอาหารที่ใช้ในการปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิกส์  จึงต้องแยกเป็นถัง A และถัง B

เนื่องจาก สารประกอบแคลเซียมและสารประกอบซัลเฟต ซึ่งต่างก็เป็นแร่ธาตุสำคัญที่พืชต้องการนั้น  หากอยู่ร่วมกันในถังสาiละลายที่เข้มข้น  จะทำปฏิกริยาต่อกัน ทำให้ตกตะกอนได้  จึงจำเป็นต้องแยกถังสารละลายที่เข้มข้นออกเป็น 2 ถัง โดยจะแยกแม่ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของ แคลเซียมไว้ถังหนึ่ง  และแม่ปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของ ซัลเฟตไว้อีกถังหนึ่ง  ซึ่งทั้ง 2 ตัวนี้จะทำปฏิกิริยาน้อยมากเมื่อผสมกันในปริมาณที่เจือจาง  เราจึงนิยมใส่ปุ๋ย  A ก่อน แล้วรอสักพักหนึ่ง เพื่อให้ปุ๋ย  A เจือจางลงกับน้ำในระบบ  แล้วจึงใส่ปุ๋ย B ตามลงไป





ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนของค่า EC
พิมพ์ ส่งเมล์
เขียนโดย Fah   

Imageในการปลูกพืชไม่ใช้ดินนั้น ค่า  EC เป็นสิ่งที่เราต้องหมั่นตรวจสอบอยู่เป็นประจำ  ค่า EC จะเปลี่ยนแปลงมากน้อยแค่ไหน  ขึ้นกับอะไรบ้าง มีเหตุปัจจัยที่สัมพันธ์กันที่เราควรทำความเข้าใจค่ะ
การเปลี่ยนค่า EC ของสารละลาย จะเปลี่ยนเร็วมากน้อยแค่ไหน จะขึ้นกับปัจจัยดังนี้

1. สภาพภูมิอากาศ  ถ้าสภาพที่ส่งเสริมให้อัตราการคายน้ำของพืชเพิ่มขึ้น  ก็มีผลในการเปลี่ยน EC เร็วขึ้น  เช่น หน้าร้อน อากาศแห้ง  อุณหภูมิสูง  แดดจัด  พืชคายน้ำมาก  ค่า EC เปลี่ยนเร็วกว่าในหน้าฝน ที่มีเมฆมาก อากาศชื้น

2. สัดส่วนของจำนวนพืชที่ปลูก ต่อปริมาตรถังสารละลาย  เช่น ถ้าถังมีขนาดเล็ก แต่ปลูกพืชจำนวนมาก  การเปลี่ยนค่า EC ก็จะเร็วกว่าถังขนาดใหญ่

3. ค่า EC ตั้งต้นของสารละลาย  ถ้าค่า EC เริ่มต้นของสารละลาย มีความแตกต่างจากค่า EC ที่พืชดูดใช้มากๆ ค่า EC ก็จะเปลี่ยนเร็ว เช่น เราเตรียมสารละลายปลูกพืชที่มีค่า EC = 1.8 แต่พืชมีความต้องการค่า EC = 1.0  การเปลี่ยนค่า EC จะเร็วกว่าเมื่อเราเตรียมสารละลายปลูกพืชที่มีค่า EC = 1.1

4. ความบริสุทธิ์ของน้ำและปุ๋ยที่ใช้เตรียมสารละลาย  ถ้ามีธาตุที่พืชไม่ต้องการเจือปนอยู่มาก เช่น Na สารละลายก็จะมีการเปลี่ยนค่า EC เร็วกว่าการใช้น้ำและปุ๋ยที่มีปริมาณ Na น้อยกว่า  เนื่องจาก ธาตุเหล่านี้ พืชจะไม่ดูดใช้  ดังนั้น จะเหลือสะสมอยู่ในน้ำ ทำให้ค่า EC สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว


ที่มา : เอกสารแระกอบการอบรมหลักสูตร  การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน รุ่นที่6 โดย รศ.ดร.อิทธิสุนทร นันทกิจ



สิ่งที่ต้องควบคุมระหว่างการปลูก
พิมพ์ ส่งเมล์
เขียนโดย ดา   

Imageสิ่งที่ท่านที่ได้ทดลองปลูกแล้ว หรือที่กำลังจะเริ่มปลูก ควรทราบ เกี่ยวกับการจัดการสารละลายธาตุอาหาร เรื่องที่ควรดูแลใส่ใจเป็นพิเศษนั้นมีอะไรบ้าง 

การจัดการธาตุอาหารพืช จะมีสิ่งที่ต้องคอยดูแลและควบคุมดังนี้

1. ค่า EC ของสารละลาย เป็นค่าบอกความเข้มข้นของสารละลายที่ใช้ในการปลูกในระบบ Hydroponics ค่าจะอยู่ในช่วง 1 – 4 Ms/cm  ขึ้นอยู่กับ ชนิดพืช  ช่วงอายุการเจริญของพืช  สภาพภูมิอากาศ คือ อุณหภูมิ ความเข้มแสง ฯลฯ

2. ค่า pH เป็นค่าบอกความเป็นกรด-ด่างของสารละลาย  โดยทั่วไป จะควบคุมให้อยู่ในช่วง  5.5-6.5  ซึ่งจะเป็นช่วงที่ธาตุอาหารในสารละลายอยู่ในรูปที่พืชใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด

3. ปริมาณธาตุอาหารในสารละลาย  ซึ่งสารละลายธาตุอาหารพืชจะต้องมีครบทั้ง 12 ตัว คือ  N, P, K, Ca, Mg, S, Zn, Mo, B, Fe, Mn, Cu  ยกเว้น Cl ซึ่งถึงแม้จะเป็นธาตุอาหารที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช  แต่ Cl มักจะมีเจือปนอยู่ในสารละลายธาตุอาหารของพืชในปริมาณที่เพียงพออยู่แล้ว  โดยจะปนมากับน้ำ หรือปุ๋ยที่ใช้เตรียมสารละลาย  ดังนั้น ในการคำนวณเพื่อเตรียมสารละลายฯ  จะไม่มีการใส่ Cl  นอกจากในสารละลายจะต้องมีธาตุต่างๆครบ  ธาตุเหล่านี้ต้องควบคุมให้อยู่ในอัตราส่วนที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชตลอดการปลูก

4. อุณหภูมิ และปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในสารละลาย  โดยอุณหภูมิและปริมาณออกซิเจน จะมีความสัมพันธ์แบบผกผันกัน  คือ  เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ปริมาณการละลายตัวของออกซิเจนจะลดลง  ดังนั้น ในเขตร้อนแถบบ้านเรา อุณหภูมิสารละลายในระบบ NFT อาจจะสูงขึ้นถึง 35 องศาเซลเซียส ซึ่งทำให้การละลายตัวของออกซิเจนสูงสุดได้เพียง  6.8  mg/l  ดังนั้น ปริมาณออกซิเจนในสารละลาย เป็นปัญหาที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งในการปลูกพืชระบบ NFT ในเขตร้อน  โดยทั่วไปต้องรักษาระดับออกซิเจนในสารละลายให้สูงกว่า  6  mg/l

5. ต้องคอยป้องกันโรคพืชในสารละลายธาตุอาหาร ซึ่งเชื้อโรคที่มีปัญหามากและพบบ่อยในการปลูกพืชในระบบ NFT คือ เชื้อ  Pythium ซึ่งเป็นสาเหตุให้รากพืชเน่าเป็นสีน้ำตาล-ดำ  และเป็นโรคที่ระบาดอย่างรวดเร็วและรุนแรงในระบบที่มีการนำสารละลายกลับมาใช้ใหม่  โดยทั่วไปเมื่อโรคนี้ระบาดในสารละลาย  จะเป็นการยากมากในการกำจัด หรือรักษาให้หายได้  ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุด คือ การป้องกันโดยการทำความสะอาดระบบปลูกก่อนปลูกทุกครั้ง

6. การกำจัดสารที่รากปล่อยออกสู่สารละลาย  พวกสารอินทรีย์ต่างๆ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ซึ่งโดยทั่วไป  จะเอาออกจากบริเวณรากพืชโดยการหมุนเวียนสารละลาย ผ่านรากพืชในอัตราที่เร็วพอ  เพื่อป้องกันการสะสมจนอยู่ในปริมาณที่อาจเป็นพิษต่อพืช


ที่มา : เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตร การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินรุ่น 6  โดย รศ.ดร. อิทธิสุนทร นันทกิจ




pH ของน้ำ
พิมพ์ ส่งเมล์
เขียนโดย Fah   
การปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของสารละลาย
        
ค่าความเป็นกรด-ด่างของสารละลาย มีผลต่อการที่พืชจะดูดธาตุอาหารในสารละลายนั้นๆไปใช้ได้มาน้อยเพียงใด สารละลายที่มีค่าความเป็นกรดมาก (pH ประมาณ 4)จะเป็นอันตรายต่อรากพืชได้  ในขณะเดียวกันหาก pH ของสารละลายสูงเกินไป จะทำให้การดูดเหล็ก  ฟอสฟอรัส และแมงกานีส ผิดปกติไปด้วย
         
พืชส่วนใหญ่เจริญเติบโตได้ดีในสารละลายที่มีค่า pH ระหว่าง 5.8-6.5 ( Mason  1992 ) การปรับค่าpHให้สูงขึ้นมักจะใช้ โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH ) หรือโซดาไบคาร์บอเนต (Na HCO3 ) หากต้องการปรับค่า pH ลดลง มักเติมกรดซัลฟิวริก  กรดไนตริก  หรือกรด ไฮโดรคลอริก ( Resh 1991b)
         
ในการปลูกพืชที่มีการหมุนเวียนสารละลายกลับมาใช้อีก  ควรมีการวัดค่า pH ทุกวัน
         
ที่มา : “การผลิตพืชสวนแบบไม่ใช้ดิน” ดร.โสรยา ร่วมรังษี




อาการผิดปกติเมื่อขาดอาหาร พิมพ์ ส่งเมล์
เขียนโดย Admin 
  
ลักษณะอาการผิดปกติเบื้องต้นที่พบทั่วไปในพืชที่ขาดธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต

ธาตุที่ขาด
ลักษณะอาการ
กลุ่มของธาตุที่แสดงอาการครั้งแรกที่ใบแก่ (ธาตุที่เคลื่อนที่ได้)
ไนโตรเจน (N)
ใบแก่มีสีเหลืองปนส้ม โดยเริ่มจากปลายใบก่อน เมื่อขาดรุนแรงขึ้นใบแก่จะแห้งตาย
ฟอสฟอรัส (P)
ใบล่างและลำต้นมีสีแดงอมม่วง
โพแทสเซียม (K)
ใบล่างมีสีเหลืองโดยเริ่มจากขอบใบก่อน หลังจากนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลลุกลามเข้าสู่กลางใบ
แมกนีเซียม (Mg)
เนื้อเยื่อระหว่างเส้นใบของใบแก่จะมีสีเหลือง แต่เส้นใบเป็นสีเขียวปกติ (intervein chlorosis)
โมลิบดินัม (Mo)
ใบแก่มีสีเหลืองบางครั้งมีจุดสีน้ำตาลไหม้บนใบ
กลุ่มของธาตุที่แสดงอาการครั้งแรกที่ใบอ่อน (ธาตุที่เคลื่อนที่ไม่ได้)
แคลเซียม (Ca)
ใบอ่อนบิดเบี้ยว ม้วนงอ ยอดหงิก ใบไม่สามารถคลี่ได้เต็มที่
กำมะถัน (S)
ใบอ่อนหรือใบบนมีสีเหลืองทั้งใบ
เหล็ก (Fe)
ใบอ่อนที่ยังโตไม่เต็มที่มีสีเหลืองระหว่างเส้นใบ
แมงกานีส (Mn)
ใบอ่อนที่โตเต็มที่มีสีเหลืองระหว่างเส้นใบ และมีจุดสีน้ำตาลบนใบ
สังกะสี (Zn)
ใบอ่อนเกิดแถบสีเหลืองทั้งสองข้างของเส้นกลางใบ จากปลายใบลามเข้าสู่กลางใบ เส้นกลางใบยังเขียว ใบมีขนาดเล็ก
ทองแดง (Cu)
ปลายใบอ่อนมีสีซีดหรือขาว
โบรอน (B)
ใบย่น หนาผิดปกติและเปราะ ม้วนงอหรือขาดวิ่น
คลอรีน (Cl)
ปลายใบแห้ง ใบเหลือง

ที่มา: สุมิตรา, 2542



ชื่อสารเคมีและสูตร
พิมพ์ ส่งเมล์
เขียนโดย FAH   
Imageในการปลูกพืชผักในระบบไฮโดรโพนิกส์   หรือปลูกในดินก็ดีนั้น  บ่อยครั้งที่การสื่อสารจะเป็นไปอย่างยากลำบาก  เนื่องจากตัวเกษตรกร

ไม่ทราบชื่อสารเคมี หรือชื่อเรียกโดยทั่วๆไปของสารเคมีจำเป็นบางตัว  ที่อาจต้องใช้ภายในฟาร์ม เพื่อประโยชน์ในหลายๆทาง  วันนี้มีชื่อสารเคมีที่จำเป็นที่เกษตรกรควรทราบไว้  ทั้งชื่อภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ และสูตรเคมีมาฝากกันค่ะ



                                                 

ชื่อสารเคมีและสูตร
ชื่อภาษาอังกฤษ ชื่อภาษาไทย สูตรเคมี
กรดซัลฟาวริก กรดกํามะถัน H2SO4
กรดไนตริก กรดดินประสิว HNO3
กรดแอซีติก กรดนํ้าส้ม CH3COOH
กรดไฮโดรคลอริก กรดเกลือ HCl
คอปเปอร์ (II) ซัลเฟต จุนสีสะตุ CuSO4
คลเซียมคาร์บอเนต หินปูน, หินอ่อน CaCO3
แคลเซียมไฮดรอกไซด์ น้ำปูนใส Ca(OH)2
โซเดียมคลอไรด์  เกลือแกง NaCl
โซเดียมคาร์บอเนต โซดาแอช Na2CO3
โซเดียมไฮดรอกไซด์ โซดาไฟ NaOH
โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต ผงฟู NaHCO3
นิลเกิลซัลเฟต เฮปทะไฮเดรต ดินประสิว NiSO4 . 7H2O
โพแทสเซียมไนเตรต ดินประสิว KNO3
โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต ด่างทับทิม KMnO4
โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ด่างคลี, น้ำขี้เถ้า KOH





การทำงานของรากพืชที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิกส์
พิมพ์ ส่งเมล์

เขียนโดย ดา   


Imageเคยสงสัยไหมค่ะว่า  การปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิกส์  ที่รากของพืชจุ่มแช่ในสารละลายอยู่ตลอดเวลานั้น  ทำไมรากพืชซึ่งนอกจากจะไม่เน่าตายแล้ว    ยังจะสามารถเจริญเติบโตได้ดีอีกด้วย 

จากหลัก การนำรากพืชจุ่มในสารละลาย และข้อสังเกตในการปลูกพืชในน้ำ คือ ปกติถ้านำต้นพืชที่ขึ้นอยู่บนดินมาวางแช่น้ำ ในระยะแรกต้นพืชจะยังสามารถเจริญงอกงามต่อไปได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งกลับพบว่า ต้นพืชที่เจริญต่อไปนั้นกลับแสดงอาการเหี่ยวเฉา โดยสาเหตุ  มาจากเมื่อรากพืชแช่อยู่ในน้ำนานๆ จะเกิดการขาดออกซิเจน  จึงทำให้พืชเฉาตายในที่สุด

ดังนั้นการปลูกพืชในสารละลายธาตุอาหาร  จึงต้องมีหลักและเทคนิควิธีการที่แตกต่างจากวิธีอื่น คือต้องพัฒนารากพืชในต้นเดียวกันนั้นให้สามารถทำงานได้ 2 หน้าที่พร้อมๆ กัน คือ รากดูดออกซิเจน (oxygen roots) และ รากดูดน้ำและธาตุอาหาร (water nutrient roots)

          การจะทำให้รากพืชทำงานได้ทั้ง 2 หน้าที่นั้น ต้องพยายามให้ส่วนหนึ่งของรากพืชสัมผัสกับอากาศได้โดยตรงบริเวณโคนราก (ส่วนนี้ต้องให้มีช่องว่างของอากาศไว้สำหรับให้รากหายใจเอาออกซิเจนเข้าไป และอีกส่วนหนึ่งตรงปลายรากจุ่มแช่อยู่ในสารละลาย) ซึ่งหลักการคือ รากส่วนที่มีหน้าที่ดูดน้ำและอาหารสามารถพัฒนาเป็นรากดูดอากาศได้ แต่รากดูดอากาศจะไม่สามารถเปลี่ยนเป็นรากดูดน้ำและแร่ธาตุได้ ดังนั้น จึงต้องไม่เติมสารละลายท่วมรากส่วนที่ทำหน้าที่ดูดอากาศ  เพราะพืชจะไม่สามารถดูดออกซิเจนและตายได้ในที่สุด  ด้วยหลักการดังกล่าวต้นพืชจึงสามารถจุ่มแช่อยู่ในสารละลายได้โดยไม่เน่าตาย และไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ในการเติมอากาศกับพืชบางชนิด  ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงระดับของสารละลาย ให้มีความเหมาะสมกับความยาวของรากพืชในแต่ละช่วงอายุของพืชด้วย    หรืออาจใช้เครื่องปั๊มอากาศช่วยเติมออกซิเจนให้แก่รากพืช


ที่มา : รศ.ดร.อิทธิสุนทร  นันทกิจ







หน้าก่อน หน้าก่อน (2/11) - หน้าถัดไป (4/11) หน้าถัดไป


Content ©