-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 371 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ข่าวแวดวงเกษตร33




หน้า: 2/11



เคล็บลับในการปลูกผักให้มีสีแดงเข้ม พิมพ์ ส่งเมล์
เขียนโดย Fah   

red oakในการปลูกผักสลัดสีแดง เช่น Red Oak หรือ Red Coral นั้น มีบ่อยครั้งที่ผักที่ปลูก มีสีแดงซีดจาง ไม่สวยสดใส เหมือนที่หาซื้อจากในห้าสรรพสินค้า หรือไปทานในร้านอาหารเลย  วันนี้มีเคล็บลับการปลูกผักสลัดสีแดง ให้มีสีสวย น่ารับประทานมาฝากค่ะ

red coral1. เลือกสายพันธุ์ที่มีสีแดงเข้ม  การเลือกสายพันธุ์ที่ดี ก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้วนะคะ  ถึงแม้จะเป็นผักประเภทเดียวกัน แต่ก็จะมีหลายสายพันธุ์ที่มีข้อดีแตกต่างกันออกไป  ดังนั้นควรเลือกสายพันธุ์ที่ให้สีแดงสด เช่น Red Oak นั้น พันธุ์ Mondai จะมีสีที่เข้ม และสดกว่า Raisa มากเลยค่ะ

2. ปริมาณแสงแดด และอุณหภูมิ ผักที่ปลูกหากได้รับแสงแดดมาก และอุณหภูมิต่ำ ผักจะมีสีแดดจัดมากกว่า ดังนั้นผักที่ปลูกในหน้าหนาวจะมีสีจัดกว่าในหน้าอื่นๆ และผักที่ปลูกในโรงเรือน จะซีดกว่าที่ปลูกกลางแจ้ง เนื่องจาก หลังคาของโรงเรือน จะลดความเข้มของแสงลง  ที่เป็นเช่นนี้ เพราะ เม็ดสีที่อยู่ในใบผักสลัด ซึ่งจะมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ Chlorophyll ที่ให้สีเขียว พืชใช้ในการสังเคราะห์แสง และอีกตัวคือ Antocyanins ซึ่งจะให้สีแดง  โดยหากปริมาณ Antocyanins นี้ ถ้ามีมาก ผักก็จะแดงมากตามไปด้วย  และปัจจัยที่จะทำให้ Antocyanins นี้มีมากขึ้น  ก็ด้วยปัจจัยในเรื่องของแสง และอุณหภูมินั่นเอง

3. ผักที่ปลูกเลี้ยงในสารละลายที่มีค่า EC สูง จะมีสีที่เข้มกว่าผักที่เลี้ยงในสารละลายที่เจือจางกว่า

4. การเพิ่มค่า K ลงไปในสารละลาย ก็จะช่วยเพิ่มความเข้มของสีได้ด้วยนะคะ




แม่ปุ๋ย
พิมพ์ ส่งเมล์
ช่วงนี้หากใครไม่ได้ตามราคาปุ๋ยมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว  คงต้องตั้งสติกันให้ดี ถ้าได้ทราบว่า ราคาของปุ๋ยทุกตัวขยับราคาขึ้น  และบางตัวขยับขึ้นไปถึง 100 %  และยังไม่มีแนวโน้มว่าราคาจะนิ่งในเร็ววันนี้เลยค่ะ


สาเหตุไม่ได้มาจากราคาน้ำมันที่ทะยานขึ้นไม่หยุดเท่านั้น  แต่สาเหตุหลักมาจากความต้องการปุ๋ยในตลาดโลกมีเพิ่มมากขึ้น เกินกว่าปุ๋ยที่มีอยู่ในท้องตลาดนั่นเองค่ะ  เนื่องจากในหลายประเทศ  โดยเฉพาะอเมริกา  ได้หันมาปลูกพืชพลังงาน  เพื่อนำมาผลิตพลังงานทดแทนน้ำมันที่มีเหลือใช้อยู่ในโลกไม่มากนัก  ดังนั้นการใช้ปุ๋ยจึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  ในขณะที่ในด้านการผลิตนั้น มีอยู่อย่างจำกัด  ทั้งในด้านของแหล่งผลิต  วัตถุดิบในการผลิต  และค่าแรงงานในการผลิต   เมื่อปริมาณความต้องการมีมากกว่าสินค้าในตลาด  กลไกของราคาจึงเข้ามามีบทบาทอย่างสูงค่ะ  ราคาปุ๋ยที่ขายไปในฝั่งตะวันตกนั้นได้ราคา และปริมาณการสั่งซื้อก็มากเสียด้วยสิค่ะ  ปุ๋ยที่ถูกส่งเข้ามาทางฝั่งเอเชียจึงมีปริมาณไม่มากนัก  เพราะขายไม่ค่อยได้ราคานัก   ด้วยเหตุนี้ พวกเราจึงต้องใช้ปุ๋ยในราคาที่สูงเหลือกำลังค่ะ 

พวกเรายังถือว่าโชคดีกว่าเกษตรในดินอยู่มากค่ะ  เพราะสัดส่วนของปุ๋ยที่ใช้ในระบบปลูกพืชไม่ใช้ดิน  ถือว่ามีผลกระทบไม่มากนัก  เพราะใช้ปุ๋ยน้อยกว่า  และวนใช้ซ้ำได้ด้วย    สำหรับคำแนะนำในช่วงนี้นะคะ   หากใครพอจะมีกำลังหน่อย  ก็stock ปุ๋ยกันไว้ใช้ให้นานขึ้นสักหน่อยนะคะ  แต่ถ้าไม่ไหวจริงๆ   ก็ขอให้เก็บ  โปตัสเซียมไนเตรด  กับ โมโนโปแตสเซียมฟอสเฟต ไว้สักหน่อยก็ยังดีค่ะ    

ในหมู่ผู้ปลูกผักไฮโดรฯ ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับเหล็กคีเลตกันเป็นอย่างดี  เนื่องจากเป็นส่วนผสมในแม่ปุ๋ยที่ใช้กันในระบบปลูก  แต่หลายคนยังไม่ทราบความหมายของคำว่าคีเลต  และอาจยังไม่ทราบว่ายังมีอาหารเสริมในรูปคีเลตอีกหลายตัวที่เราใช้ในระบบไฮโดรฯ  และทำไมต้องอยู่ในรูปของคีเลตด้วย 




สารคีเลต
คือสารอินทรีย์เคมีซึ่งสามารถจะรวมกับจุลธาตุอาหารที่มีประจุบวกได้แก่ เหล็ก,สังกะสี,ทองแดง,แมงกานีส เป็นต้น ปฏิกิริยาการรวมนี้เรียกว่า chelation จะได้คีเลต โดยสารคีเลตจะล้อมแคตไอออนของธาตุที่เป็นโลหะไว้ไม่เปิดโอกาสให้ประจุลบจากที่อื่น(ดินที่มีปัญหากรด)เข้าทำปฏิกิริยาได้ ทำให้จุลธาตุคีเลตนี้ไม่เกิดการตกตะกอนเป็นไฮดรอกไซด์ของโลหะ จึงเป็นประโยชน์ต่อพืชได้มากขึ้น
 คีเลตที่เกิดขื้นส่วนใหญ่ละลายน้ำได้ดี พืชจึงสามารถดูดซึมผ่านรากนำธาตุอาหารรองเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ได้ และต้องมีโครงสร้างภายในที่ประกอบด้วยโลหะต่างๆที่กล่าวมาแล้วไม่ตกตะกอนในตัวคีเลตเอง และที่สำคัญธาตุโลหะต้องไม่เกาะตัวกันแน่นเกินไป เพราะเมื่อคีเลตถูกพืชดูดซึมเข้าไปแล้ว ธาตุอาหารเสริมเหล่านั้นควรจะแตกตัวให้พืชดูดซึมไปใช้งานได้จึงจะเรียกว่า เป็นคีเลตที่ดี

ดังนั้น ปุ๋ยคีเลต จึงหมายถึง ปุ๋ยอาหารเสริมหรือปุ๋ยจุลธาตุ
สารคีเลตที่ใช้ทำปุ๋ยจุลธาตุหรือธาตุอาหารเสริมมีอยู่ 2 ประเภทคือ
 
1. สารอินทรีย์ธรรมชาติ เช่น กรดฮิวมิก กรดฟีโนลิก กรดซิตริก   และ กรดอะมิโน
 
2. สารคีเลตสังเคราะห์ มีสมบัติในการจับธาตุเหล็ก ทองแดง สังกะสี และแมงกานีส ตัวอย่าง เช่น EDTA  ย่อมาจากเอทิลีนไดอามีน เตตราอะเซติก แอซิด

การดูดธาตุอาหารเสริมในรูปคีเลตมักใช้ทางใบ เนื่องจากโมเลกุลของคีเลตซึ่งเป็นวงแหวนเมื่อจับธาตุเหล็ก ทองแดง แมงกานีส หรือสังกะสี ธาตุใดธาตุหนึ่งไว้ภายในโครงสร้างนั้น คีเลตจะปกป้องไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เมื่อฉีดพ่นไปที่ผิวใบ จะแทรกซึมผ่านเข้าสู่ภายในใบพืช บางส่วนจะเคลื่อนย้ายลงไปสู่รากได้อีกด้วย หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของปุ๋ยคีเลตให้สูงขึ้น ควรผสมสารจับใบในอัตราที่พอเหมาะกับปุ๋ยคีเลต

สารละลายธาตุอาหาร  หรือ ปุ๋ยน้ำที่ใช้ในระบบไฮโดรโพนิกส์นั้น  เรานิยมเตรียมเป็นแบบเข้มข้น  เพื่อง่ายต่อการใช้และการเก็บรักษา    ผู้ปลูกที่เป็นฟาร์ม หรือที่มีจำนวนแปลงปลูกหลายแปลง   ควรผสมปุ๋ยไว้ใช้เอง  เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตลง


ปุ๋ยน้ำ   เตรียมจากแม่ปุ๋ยบริสุทธ์ที่มีลักษณะเป็นผง หรือเกล็ด    แม่ปุ๋ยนี้จะมีมีอายุการเก็บได้นานหลายๆเดือน จนถึง เป็นปี    เมื่อเก็บในที่แห้ง  เย็น  และแสงแดดส่องไม่ถึง    มีเพียง แคลเซียมไนเตรดเท่านั้น  ที่การเก็บรักษาหลังจากการเปิดถุงแล้ว  เก็บได้ยากกว่าตัวอื่น   เพราะแคลเซียมไนเตรดนี้มักดูดความชื้น   จึงชื้นแฉะได้ง่าย       แต่เมื่อผสมปุ๋ยแห้งเป็นปุ๋ยน้ำเข้มข้นแล้ว    ปุ๋ยน้ำนี้จะมีอายุการใช้งานลดลงค่ะ      ไม่ควรผสมเก็บไว้ใช้เกิน  2 เดือน    ที่ฟาร์ม Higreen   จะผสมใหม่ทุก  2  สัปดาห์ค่ะ    

มีวิธีสังเกตุง่ายๆ   หากพบการตกตะกอนของปุ๋ยน้ำ   แล้วให้คนใหม่ให้เข้ากันดู   ทิ้งไว้สักพัก    หากยังคงพบการตกตะกอนอีก   แสดงว่าปุ๋ยน้ำนั้นไม่อยู่ในสภาพที่เหมาะกับการใช้งานอีกต่อไปค่ะ  ควรเปลี่ยน  หรือผสมใหม่จะดีกว่าค่ะ  ไม่ต้องเสียดาย  ไม่งั้นจะเข้าภาษิตที่ว่า  เสียน้อยเสียยาก  เสียมากเสียง่าย

ในการปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิกส์นั้น  การควบคุมค่าความเป็นกรด-ด่าง ( pH ) ของสารละลายในระบบ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เป็นสิ่งจำเป็นไม่น้อยไปกว่าการใส่ธาตุอาหารให้กับพืช  หากไม่สามารถรักษาระดับความเป็นกรด-ด่างไว้ได้  ธาตุอาหารที่มีในระบบ  พืชจะไม่สามารถดูดไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
ค่า pH ของสารละลายโดยทั่วไปควรอยู่ในช่วง 5.5-6.5 หรือให้ดีที่สุดอยู่ในช่วง 5.8-6.2  ซี่งเป็นช่วงที่พืชสามารถดูดใช้ธาตุอาหารทุกตัวได้ดี  แต่หากค่า pH ของสารละลายต่ำกว่า 4 จะเป็นอันตรายต่อรากพืช ในทางตรงข้ามถ้า pH สูงกว่า 7 ติดต่อกันนาน 2-3 วัน จะทำให้การดูดใช้ ฟอสฟอรัส เหล็ก และแมงกานีส ผิดปกติไป  ทำให้พืชขาดธาตุอาหารดังกล่าวจนแสดงอาการ  ทั้งที่ในระบบมีธาตุอาหารดังกล่าวอยู่

โดยปกติเมื่อปลูกพืชในระบบไฮโดรฯ  แนวโน้มที่ค่า pH ของสารละลายจะสูงขึ้นเรื่อยๆ  ยิ่งพืชโตขึ้นมากเท่าใด  ค่า pH ยิ่งสูงขึ้นตาม  ทั้งนี้เพราะ ในการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ (vegetative growth) พืชจะมีการดูดใช้ ไนเตรทอิออน (NO3-) เป็นส่วนใหญ่ (ดูดใช้ประจุลบมากกว่าบวก) จึงมีการปล่อยอนุมูลไบคาร์บอเนต (HCO3-) ออกมาในปริมาณเท่ากัน ทำให้ pH ของสารละลายเพิ่มขึ้นด้วย  ในการปลูกพืชในระบบปิดจึงต้องวัดค่า pH สม่ำเสมอและปรับค่าให้อยู่ประมาณ 6 ตลอดเวลา

ในการปรับค่า pHของสารละลาย  เรานิยมใช้ กรดไนตริก หรือกรดฟอสฟอริก ซึ่งจะเป็นการเติมไนโตรเจน และฟอสฟอรัสให้สารละลายด้วย  แต่การใช้กรดฟอสฟอริก ต้องระวังไม่ให้เป็นการเพิ่มฟอสฟอรัสให้สารละลายมากเกินไป  หรือ ใช้สูตรสารละลายธาตุอาหารที่มีแอมโมเนียมก็ได้  เพราะ เมื่อมีอนุมูล NH4+ ในสารละลายการดูดใช้อนุมูลนี้ของพืชจะเกิดการปลดปล่อยอนุมูลไฮโดรเจนออกมา ทำให้ pH ลดลง อย่างไรก็ตามต้องระวังไม่ให้อนุมูล NH4+ เพิ่มเกิน ร้อยละ 10 ของความเข้มข้นของอนุมูล NO3- ในสารละลาย เนื่องจาก NH4+ ที่ความเข้มข้นสูงๆ เป็นอันตรายต่อพืชได้

ในทางกลับกัน  หากต้องการเพิ่มค่า pH ของสารละลาย ในกรณีที่น้ำที่ใช้ตั้งต้น  มีค่า pH ต่ำ  การเพิ่ม pH ของสารละลายทำได้โดยเติมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ หรือโพแทสเซียมคาร์บอเนต และลดปริมาณแอมโมเนียมไนเตรต (NH4NO3) ลง หรือเปลี่ยนการใช้โมโนแอมโมเนียมฟอสเเฟต มาใช้ไดแอมโมเนียมฟอสเฟตแทนก็ได้

ค่าใช้จ่ายที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งในการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน คือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับธาตุอาหารพืช เนื่องจากเป็นค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาการปลูกพืช ซึ่งต่างจากค่าอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งถึงแม้จะมีราคาแพงแต่จะเป็นการลงทุนเพียงครั้งเดียว ปุ๋ยหรือสารเคมีที่ใช้ในการเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืช จะมีความบริสุทธิ์สูงกว่าปุ๋ยทางดินทั่วๆไปและจะต้องสามารถละลายน้ำได้หมดซึ่งปกติจะมีราคาแพงกว่าปุ๋ยที่ใช้ทางดิน


1.น้ำที่ใช้ในการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
น้ำเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดในการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน โดยต้องคำนึงถึงคุณภาพของน้ำที่เหมาะสม ถ้าคุณภาพน้ำไม่ดีการเจริญเติบโตของผักที่ปลูกจะไม่ดี จนถึงไม่สามารถเจริญเติบโตได้ เนื่องจากคุณสมบัติของน้ำที่จะนำมาใช้ในการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินจะเป็นตัวกำหนดว่าการปลูกพืชจะได้ผลหรือไม่
น้ำที่สามารถใช้ปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินได้ต้องเป็นน้ำที่สะอาด ไม่มีตะกอน มีปริมาณเกลือละลายอยู่น้อย ค่า EC ของน้ำไม่ควรเกิน 0.5 (ค่า EC เป็นค่าที่ใช้บอกปริมาณเกลือต่างๆที่ละลายอยู่ในน้ำมีหน่วยเป็น mS/cm) น้ำที่เหมาะสมที่สุดคือน้ำฝน นอกจากนี้สามารถใช้น้ำจากบ่อบาดาล น้ำประปา หรือน้ำจากลำธาร น้ำเหล่านี้ต้องใสสะอาด ถ้าไม่ใสจะต้องมีการกรองหรือปล่อยให้ตกตะกอนก่อน และควรมีค่า EC ต่ำกว่า 0.5

2.ปริมาณน้ำที่ต้องใช้ในการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
การปลูกผักแต่ละครั้งต้องใช้น้ำประมาณ 3 -4  ลิตร/ต้น ดังนั้นต้องมีปริมาณน้ำเพียงพอตลอดทั้งปี

   
3.สูตรสารละลายที่ใช้กับพืชต่างๆ
สูตรจะแตกต่างกันตามชนิดพืช ในที่นี้จะนำเสนอสูตรที่ใช้กับการปลูกพืชผักทั่วๆไป โดยมีขั้นตอนการเตรียมสารละลายดังนี้


การเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืชในการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
สูตรสารละลาย(ปุ๋ย) ที่ใช้จะเป็นสูตรKMITL3 ที่สามารถเตรียมสารละลายเข้มข้น 200 เท่าได้จำนวน 40 ลิตร มีองค์ประกอบดังนี้


ชื่อปุ๋ย
กก.
ถัง  A

Ca(NO3)2.4H2O แคลเซี่ยมไนเตรท                 สูตรปุ๋ย(12-0-0)
8.5
Fe-EDTA เหล็กคีเลต (12 % Fe)
0.3

ถัง  B

KNO3 โปแตสเซี่ยมไนเตรท                          สูตรปุ๋ย(13-0-46)
6.0
KH2PO4 โมโนโปแตสเซี่ยมฟอสเฟต               สูตรปุ๋ย(0-52-34)
1.0
NH4H2PO4 โมโน แอมโมเนียมฟอสเฟต                  สูตรปุ๋ย(12-60-0)
1.0
MgSO4 แมกนีเซี่ยมซัลเฟต                            
3.8
Nicspray นิคสเปรย์                                        (ธาตุอาหารรอง)
0.2

วิธีการเตรียมสารละลายเข้มข้น

            เหตุที่ต้องเตรียมสารละลายเข้มข้นเพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้ายและเก็บรักษา ในที่นี้จะเตรียมสารละลายเข้มข้น 200 เท่า จำนวนอย่างละ 40 ลิตร (สารละลาย A 40 ลิตร และ สารละลาย B 40 ลิตร) จากสารละลาย 40 ลิตร สามารถนำไปละลายน้ำเพื่อใช้ปลูกผักได้ = 40x200 = 8000 ลิตร

200 40 A 40 B40 40 = 40x200 = 8000
                              

อุปกรณ์ที่ต้องใช้
1.ถังขนาด 60 ลิตร                                         2    ถัง
2.เครื่องชั่ง 7 กก.                                          1    เครื่อง
3.เครื่องชั่ง 1 กก.                                          1    เครื่อง
4.ภาชนะหรือถุงพลาสติก(ชั่งปุ๋ย)                        1    ชุด
5.ท่อ PVC ใช้คนปุ๋ย                                       2    ท่อน

โดยมีขั้นตอนการผสมดังนี้

1.การผสมสารละลายในถัง A

1.ทำขีดบอกปริมาตรที่ถังผสมปุ๋ย 40 ลิตร โดยใช้กระบอกตวงหรือภาชนะที่รู้ปริมาตรที่แน่นอนตวงน้ำใส่ในถังจนครบ 40 ลิตร และทำเครื่องหมายที่ขอบถังด้านในหรือทำเครื่องหมายที่ท่อ PVC ที่ใช้คนสารละลาย หลังจากนั้นเทน้ำออกให้เหลือน้ำในถังประมาณ 30 ลิตร
2.ชั่งแคลเซียมไนเตรท 8.5 กก.เทใส่ในถัง คนจนละลายหมด
3.ชั่งเหล็กคีเลต (ผงสีเหลือง) 0.3 กก.ใส่ลงในถัง คนจนละลายหมด
4.เติมน้ำให้ครบ 40 ลิตร (จนถึงขีดที่ทำเครื่องหมายไว้ในข้อ 1) สารละลายในถังนี้จะเป็นสีเหลืองเข้ม 

2.การผสมสารละลายในถัง B


 1.ทำปริมาตรที่ถังผสมปุ๋ย 40 ลิตร โดยใช้กระบอกตวงหรือภาชนะที่รู้ปริมาตรที่แน่นอนตวงน้ำใส่ในถังจนครบ 40 ลิตร และทำเครื่องหมายที่ขอบถังด้านในหรือทำเครื่องหมายที่ท่อ PVC ที่ใช้คนสารละลาย หลังจาดนั้นเทน้ำออกให้เหลือน้ำในถังประมาณ 30 ลิตร
2.ชั่งโปแตสเซี่ยมไนเตรท 6 กก เทใส่ในถัง คนจนละลายหมด
3.ชั่งโมโนโปแตสเซี่ยมฟอสเฟต 1 กก. คนจนละลายหมด
4.ชั่งโมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต 1 กก. คนจนละลายหมด
5.ชั่งแมกนีเซี่ยมซัลเฟต 3.8 กก. คนจนละลายหมด
6.ชั่งนิคสเปรย์ (ผงสีเขียว) 0.2 กก.ใส่ลงในถัง คนจนละลายหมด
7.เติมน้ำให้ครบ 40 ลิตร (จนถึงขีดที่ทำเครื่องหมายไว้ในข้อ 1) สารละลายในถังนี้จะเป็นสีเขียว

1.40 40 PVC 30 614153.860271

สารละลายที่ได้จะมีความเข้มข้น 200 เท่าเมื่อต้องการใช้ก็จะนำมาเจือจางให้ได้ความเข้มข้นตามต้องการ เหตุที่ต้องเตรียมสารละลายแยกเป็น 2 ถัง เนื่องจากปุ๋ยบางชนิดไม่สามารถผสมกันโดยตรงที่ระดับความเข้มข้นสูงๆ ดังนั้นต้องแยกปุ๋ยเหล่านี้ออกจากกันเพื่อไม่ให้ตกตะกอน


  สารละลายทั้งสองถังนี้เมื่อจะนำไปใช้ จะทำการเจือจางในอัตราส่วน 1:200 เช่น ถ้าต้องการใช้สารละลายธาตุอาหารพืช 200 ลิตร ต้องใช้สารละลายเข้มข้น ถัง A และถัง B ถังละ 1 ลิตร และปรับปริมาตรโดยเติมน้ำ ให้ครบ 200 ลิตร

ปริมาตรที่แสดงในตารางเป็นปริมาณโดยประมาณ ต้องตรวจวัดด้วยเครื่องวัด EC อีกครั้ง แต่ถ้าไม่มีเครื่องวัด EC สามารถใช้ค่านี้ได้ และต้องคอยสังเกตอาการของพืชด้วย เช่น ถ้าพืชโตช้าใบเหลือง โดยเฉพาะผักคะน้าต้องการปุ๋ยเข้มข้นกว่าผักชนิดอื่นต้องเพิ่มปริมาณ สารละลาย A และ B อย่างละเท่าๆกัน เช่น เพิ่ม A = 1 ลิตร และ B = 1 ลิตร

ปริมาตรที่ต้องการ ลิตร
คะน้า,กวางตุ้ง,ผักกาดขาว
EC=3.0-3.5
ปริมาตร(ลิตร)
ผักบุ้ง, ผักสลัด,ผักโขม
EC=1.5 – 1.8
ปริมาตร(ลิตร)
100
A=0.7
B=0.7
A=0.4
B=0.4
200
A=1.4
B=1.4
A=0.8
B=0.8
300
A=2.1
B=2.1
A=1.2
B=1.2
400
A=2.8
B=2.8
A=1.6
B=1.6
500
A=3.5
B=3.5
A=2.0
B=2.0
600
A=4.2
B=4.2
A=2.4
B=2.4
700
A=4.9
B=4.9
A=2.8
B=2.8
800
A=5.6
B=5.6
A=3.2
B=3.2
900
A=6.3
B=6.3
A=3.6
B=3.6
1000
A=7.0
B=7.0
A=4.0
B=4.0


ช่วง3-4 วันนี้ อากาศในกรุงเทพหนาวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด  ทั้งนี้เนื่องมาจาก ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีอากาศหนาวเย็นลงโดยทั่วไปและมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2 - 3 องศา

ช่วงนี้การปลูกผักจึงง่ายกว่าทุกฤดู  พืชโตดีได้น้ำหนักดีมากค่ะ  แต่ฤดูหนาวที่มีอากาศหนาวจริงๆแบบนี้   เราน่าจะมีการปรับค่า EC ให้สูงขึ้นในการปลูกผัก  มากกว่าในหน้าร้อนนิดหน่อยค่ะ

ทั้งนี้เป็นเพราะ พืชจะมีการดูดใช้ธาตุอาหารได้รวดเร็วกว่าการดูดน้ำ  ธาตุอาหารในระบบจะหมดเร็วขึ้น  ความเข้มข้นของสารละลายจะลดลง เราจึงควรใช้ความเข้มข้นของสารละลายเริ่มต้นในระดับที่สูงขึ้นได้  พืชจะมีการเจริญเติบโต สร้างน้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งที่มากกว่า การใช้ความเข้มข้นที่ต่ำกว่า  ค่า EC ที่มักนิยมใช้ในการปลูกผักสลัดในหน้าหนาวนี้  อยู่ในช่วง  1.5-1.6  ค่ะ


จากการพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายว่า ฤดูหนาวปีนี้จะสิ้นสุดที่กลางเดือนกุมภาพันธ์ 2550  และอากาศจะเริ่มอุ่นขึ้น  หลังจากนั้นก็ย่างเข้าฤดูร้อนแล้ว หากมีการวางแผนผลิตอย่างดี  รู้แล้วใช่ไหมค่ะว่าตอนนี้ต้องทำอย่างไร 

ฟาร์มที่หัวหินจะเปลี่ยนถ่ายสารละลายธาตุอาหารทุก 15 วัน และทำเหมือนกันทุกฤดู  ฟาร์มที่เชียงราย เปลี่ยนถ่ายทุก 30 วันในหน้าร้อน  ส่วนหน้าหนาวไม่มีการเปลี่ยนถ่ายเลย  ส่วนฟาร์มที่บางนา ไม่มีการเปลี่ยนถ่ายสารลายเลยในทุกฤดู  และฟาร์มที่ภูเก็ต จะเปลี่ยนทุก 15 วัน ในหน้าร้อน  และทุก 20-25  วันในหน้าฝนและหน้าหนาว   เพื่อนๆว่า  ฟาร์มที่ไหนน่าจะทำถูกและมีต้นทุนต่ำลง    อะไรเป็นตัววัดว่าเมื่อไหร่น่าจะเปลี่ยนสารละลายได้แล้ว  ทำไมแต่ละที่จึงเปลี่ยนถ่ายสารละลายไม่เหมือนกัน  มีปัจจัยอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง........


ในการเปลี่ยนถ่ายสารละลายนั้น   ช่วงเวลาการเปลี่ยนถ่ายสารละลายที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในการปลูก คือ

1.ฤดูกาลที่ปลูก โดยในหน้าร้อนอาจต้องมีการถ่ายสารละลายบ่อยกว่าหน้าหนาว เนื่องจากหน้าร้อนพืชมีการคายน้ำมากกว่าและอากาศร้อนมีผลต่อการดูดใช้ธาตุอาหารของรากพืช

2.คุณภาพของน้ำที่ใช้สารเตรียมสารละลาย ถ้าน้ำที่ใช้มีความบริสุทธิ์มากๆ เช่นน้ำฝน, น้ำ RO (Reverse osmosis) จะเป็นน้ำที่มีสิ่งเจือปนโดยเฉพาะธาตุที่พืชไม่ต้องการปนอยู่น้อยดังนั้นโอกาสสะสมของธาตุที่พืชไม่ต้องการจึงมีน้อย ทำให้การถ่ายสารละลายทิ้งช่วงได้นาน

3. ความบริสุทธิ์ของปุ๋ยและสารที่ใช้เตรียมสารละลาย ถ้ามีความบริสุทธิ์น้อยมีสิ่งเจือปนอยู่มาก ก็จะต้องมีการถ่ายสารละลายบ่อยขึ้น

4. สูตรและความเข้มข้นของสารละลายที่ใช้ปลูก มีความเหมาะสมกับความต้องการของพืชหรือไม่ ถ้าไม่เหมาะสมเช่นมีอัตราส่วนของธาตุต่างๆไม่ตรงกับความต้องการของพืชที่ปลูกก็จะเกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารได้เร็ว จะต้องมีการถ่ายสารละลายบ่อย

5. อายุการเจริญเติบโตและชนิดของพืชที่ปลูก พืชบางชนิดแสดงอาการผลกระทบจากความไม่สมดุลของธาตุอาหารอย่างรวดเร็วและรุนแรง อาจต้องมีการถ่ายสารละลายบ่อยขึ้น ช่วงการเจริญเติบโตของพืชก็เช่นกัน เช่นผักสลัดจะแสดงอาการ Tip burn ในช่วงก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 1-2 สัปดาห์ เนื่องจากมีการเจริญเติบโตเต็มที่และรวดเร็ว อัตราความต้องการน้ำและธาตุอาหารสูงจึงเกิดสภาพความไม่สมดุลของธาตุอาหารได้ง่ายและรวดเร็ว ดังนั้นควรมีการถ่ายสารละลายก่อนหน้านั้นประมาณ 1 สัปดาห์

6. สัดส่วนระหว่างขนาดถังสารละลายต่อจำนวนพืชที่ปลูก ถ้าถังสารละลายมีขนาดใหญ่ (เมื่อเทียบกับจำนวนพืชที่ปลูก) การถ่ายสารละลายจะช้ากว่าถังขนาดเล็ก

ตอนนี้ก็ทราบแล้วกันแล้วนะคะว่า  เราจะสังเกตจากอะไรบ้าง  ก่อนจะเปลี่ยนถ่ายสารละลายธาตุอาหาร เพราะการเปลี่ยนถ่ายเท่าที่จำเป็นและเหมาะสม  จะช่วยให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้มาก นี่ถือเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งในเทคนิคการลดต้นทุนการผลิต  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปลูกค่ะ




ที่มา  :  เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตร “ การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน” รุ่นที่ 7  ของสถาบันเทคโลโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง




หน้าก่อน หน้าก่อน (1/11) - หน้าถัดไป (3/11) หน้าถัดไป


Content ©