-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 429 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ข่าวแวดวงเกษตร32







คำถามยอดฮิต

ปัญหาที่ผู้ฟังการบรรยายเรื่องดิน ปุ๋ยและธาตุอาหารพืชถาม จะแตกต่างกันระหว่างผู้ฟังที่เป็นชาวสวนไม้ผล ชาวสวนผัก ชาวไร่หรือเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร แต่มีบางคำถามที่ได้รับค่อนข้างบ่อย จึงขอนำคำถามเหล่านั้นมาทยอยเล่าสู่กันฟัง


คำถาม: จริงหรือไม่ ที่มีบางคนบอกว่า ถ้าใส่ปุ๋ยเคมีในดินรากพืชจะดูดธาตุอาหารในรูปไอออน แต่ถ้าใส่ปุ๋ยอินทรีย์รากพืชจะดูดในรูปอินทรีย์


คำตอบ: โดยธรรมชาติรูปของธาตุอาหารที่รากพืชดูดได้มี 3 แบบ คือ

1) ไอออน ส่วนมากรากพืชดูดในรูปนี้
2) โมเลกุลอนินทรีย์ เช่น โบรอนในรูปของกรดบอริก
3) โมเลกุลอินทรีย์ เช่น

ก) ไนโตรเจนในรูปยูเรีย เมื่อใส่ปุ๋ยยูเรียในดินและปุ๋ยละลายน้ำ รากพืชจะดูดยูเรียทั้งโมเลกุลไปใช้ได้เลย ส่วนยูเรียที่เหลือในดินจะเปลี่ยนแปลงเป็นแอมโมเนียม ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืช และ

ข) ไนโตรเจนในรูปกรดอะมิโน ซึ่งรากพืชมีโอกาสดูดรูปนี้ได้น้อย เนื่องจากกรดอะมิโนอิสระในดินมีน้อยมาก ที่มีอยู่ก็มักถูกจุลินทรีย์นำไปใช้เป็นอาหาร สำหรับการแปรสภาพของปุ๋ยในดินมีดังนี้

1) ปุ๋ยเคมี (ซึ่งรวมถึงยูเรีย) ละลายน้ำง่ายและเป็นประโยชน์ต่อพืชเร็ว

2) ปุ๋ยอินทรีย์ สำหรับธาตุอาหารในปุ๋ยอินทรีย์นั้น บางส่วนอยู่ในรูปไอออน เช่น K+ ซึ่งพืชดูดไปใช้ได้ง่าย ส่วนธาตุอื่นๆอยู่ในรูปสารอินทรีย์โมเลกุลใหญ่ เซลล์พืชดูดไม่ได้ แต่สารอินทรีย์เหล่านั้นจะถูกจุลินทรีย์ย่อยให้มีขนาดโมเลกุลเล็กลง ต่อจากนั้นจุลินทรีย์บางชนิด จะแปรสภาพให้เป็นสารอนินทรีย์ เรียกกระบวนการนี้ว่า  "มินเนอราลไลเซชัน"  (mineralization) ได้สารอนินทรีย์ที่ละลายน้ำและแตกตัวเป็นไอออน แล้วรากพืชจึงดูดไปใช้ ธาตุอาหารในปุ๋ยอินทรีย์ส่วนนี้ เป็นประโยชน์ต่อพืชอย่างช้าๆ

ดังนั้นไม่ว่าจะใสปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์ รูปของธาตุอาหารส่วนมากที่รากพืชดูดไปใช้ คือไอออน



คำถาม: ใช้หินฟอสเฟตและยิปซัมในการปรับปรุงดินกรดแทนปูนได้หรือไม่ เพราะต่างก็มีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบเหมือนกัน

คำตอบ: ก่อนอื่นต้องทราบองค์ประกอบทางเคมีของวัสดุบำรุงดินทั้งสามชนิดนี้ 1) หินฟอสเฟต มีแร่อะพาไทต์ {[Ca3(PO4)2]3CaF2} เป็นองค์ประกอบ 2) หินปูน คือ แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) และ 3) ยิบซัม คือแคลเซียมซัลเฟต (Ca2SO4.2H2O)

การปรับปรุงดินกรดต้องทำ 2 ควบคู่กัน คือ เพิ่ม pH ของดินมาเป็น 6 หรือ 6.5 และลดพิษของอะลูมิเนียมในดิน โดยลดทั้งความเข้มข้นของ Al3+ ในสารละลายดิน และปริมาณอลูมิเนียมที่แลกเปลี่ยนได้ ผลการใส่หินฟอสเฟต ปูนและยิปซัมในดินกรดเกิดผลดังนี้

1) หินฟอสเฟตเป็นปุ๋ยฟอสเฟตชนิดหนึ่ง มีราคาแพงกว่าสารอีกสองชนิด การใส่ในดินกรดตามอัตราที่ใช้เป็นปุ๋ย แม้ว่าจะละลายได้ดีกว่าใส่ในดินที่เป็นกลาง แต่ไม่ทำให้ pH ของดินสูงขึ้น และช่วยลดความเข้มข้นของ Al3+ ในสารละลายดิน และปริมาณอลูมิเนียมที่แลกเปลี่ยนได้เพียงเล็กน้อย ไม่บรรลุเป้าหมายของการปรับปรุงดินกรด

2) การใส่ปูนตามความต้องการปูน (lime requirement) ของดิน จะเพิ่ม pH ของดินมาเป็น 6.5 และลดพิษของอะลูมิเนียมในดิน โดยลดทั้งความเข้มข้นของ Al3+ ในสารละลายดิน และปริมาณอลูมิเนียมที่แลกเปลี่ยนได้สู่ระดับที่ต้องการ

3) การใส่ยิบซัมในอัตราเท่ากับปูน ไม่ช่วยเพิ่ม pH ดังนั้นดินยังคงมีระดับของสภาพกรดเท่าเดิม แต่เนื่องจากยิบซัมเคลื่อนย้ายลงสู่ชั้นดินล่างได้เร็วกว่าปูน จึงสามารถลดอลูมิเนียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดินล่างให้ดีกว่าปูน

สรุปได้ว่าปูนเป็นวัสดุปรับปรุงดินกรดที่เหมาะสมที่สุด

      
 
ที่มา  :
รศ.ดร.ยงยุทธ  โอสถสภา
อาจารย์พิเศษ ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน 
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อ กำแพงแสน จ. นครปฐม 73140









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1793 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©