-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 555 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ข่าวแวดวงเกษตร29




หน้า: 2/2




การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อการค้า   ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์
ในการผลิตโปรตีนไส้เดือนดินสำหรับเลี้ยงสัตว์ในทางการค้า
              

ปัจจุบันในประเทศไทยมีการเลี้ยงไส้เดือนดินเพื่อผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินจำหน่ายทางการค้าหลายแห่งแต่ยังไม่เคยมีการผลิตโปรตีนจากไส้เดือนดิน ดังนั้นข้อมูลในส่วนนี้จะเป็นเรื่องการผลิตโปรตีนไส้เดือนดินทางการค้าที่ได้จากต่างประเทศ สรุปได้คือ หารผลิตโปรตีนไส้เดือนดินในทางการค้า ผลผลิตที่ได้จะมีคุณภาพดีหากตัวไส้เดือนดินที่นำมาใช้ในการผลิตเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ ได้มาจากฟาร์มเลี้ยงไส้เดือนดินขนาดใหญ่ ที่ใช้มูลหรือของเสียจากสัตว์ปริมาณมากในการเลี้ยงไส้เดือนดิน เนื่องจากมูลสัตว์เหล่านั้น สามารถเพิ่มประชากรของไส้เดือนดินได้มากและเจริญเติบโตได้น้ำหนักดี ทำให้ได้ตัวไส้เดือนดินที่นำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารโปรตีนมีปริมาณมากและมีคุณภาพ นอกจากนี้ หลักเกณฑ์การผลิตที่สำคัญในการนำไส้เดือนดินมาผลิตเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ทางการค้าจะต้องผลิตให้คุ้มค้าทางเศรษฐศาสตร์ด้วย ในสมัยก่อนการผลิตโปรตีนจากไส้เดือนดินจะต้องใช้แรงงานคนในการคัดเลือกไส้เดือนดินออกจากมูลไส้เดือนดินจำนวนมากทำให้สิ้นเปลืองแรงงานและต้นทุนในส่วนของค่าแรงมาก ซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการผลิตโปรตีนไส้เดือนดินทางการค้าทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ปัจจุบันสามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้แล้วโดยใช้เครื่องคัดแยกไส้เดือนดินที่มีประสิทธิภาพที่ดีกว่า ทำให้สามารถทำการแยกไส้เดือนดินออกจากมูลไส้เดือนดินได้อย่างรวดเร็วและใช้แรงงานคนน้อย




เครื่องแยกไส้เดือนดินออกจากมูลดิน

จากการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของโปรตีนที่ได้จากไส้เดือนดิน พบว่า คุณค่าทางอาหารที่ได้จากไส้เดือนดิน ประกอบด้วย กรดอะมิโน กรดไขมัน แร่ธาตุและวิตามิน ซึ่งพบว่ามีปริมาณมากและมีคุณค่าเหมาะแก่การใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะ ปลา ปลาไหล ลูกไก่ สัตว์ปีกทุกชนิด และ หมู  โดยใช้ทดแทนอาหารจากเนื้อ และ ปลาได้ดี สำหรับการพิจารณาการผลิตทางเศรษฐศาสตร์ ในแง่ราคาผลผลิตที่ได้ ต่อการนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์เพื่อการค้า ในเรื่องนี้ Sabine ได้คำนวณราคา  เปรียบเทียบอาหารโปรตีนเลี้ยงสัตว์ที่ผลิตจากการใช้เนื้อสัตว์ในโรงงานผลิตอาหารสัตว์ที่ประเทศออสเตรเลีย กับการใช้ไส้เดือนดินผลิตเป็นอาหารโปรตีนเลี้ยงสัตว์ จากการทดสอบคุณค่าทางอาหารในข้างต้น พบว่า การใช้เนื้อผลิตเป็นอาหารโปรตีนเลี้ยงสัตว์ปีกทางการค้า จะมีราคา 7,680 บาท/ตัน แต่ถ้าใช้ไส้เดือนดินในจำนวนที่เท่ากัน พบว่าราคาสูงถึง 9,440 บาท/ตัน และอาจสูงถึง 12,000 บาท/ตัน ซึ่งเป็นราคาต้นทุนที่สูงกว่าหลายเท่า อาจไม่คุ้มค่าในทางเศรษฐศาสตร์ ในการใช้โปรตีนการไส้เดือนดินในการเลี้ยงสัตว์เชิงการค้า   ดังนั้นการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อการค้าต้นทุนอาจยังสูง แต่ปัจจุบัน การส่งออกไส้เดือนดินอบแห้งไปยังต่างประเทศยังทำเงินให้ได้พอสมควร 


การผลิตไส้เดือนตากแห้งของชาวบ้าน ที่ สกลนคร




 

ผลิตภัณฑ์จากไส้เดือนดิน


 


 



อาหารจากไส้เดือน

การเลี้ยงไส้เดือนเป็น อาหาร ยาบำรุง และยารักษาโรคในมนุษย์ 
           
ไส้เดือนดินเคยถูกนำมาใช้เป็นอาหารของมนุษย์ด้วย โดยถือว่าเมนูอาหารที่ทำจากไส้เดือนดินเป็นอาหารที่หรูหราและแปลก ซึ่งได้รับความสนใจมากในประเทศนิวซีแลนด์ นอกจากนี้พบว่าในประเทศญี่ปุ่นก็เคยนำไส้เดือนดินมาทำพาย และในฟาร์มเลี้ยงไส้เดือนดินขนาดใหญ่เคยนำไส้เดือนดินมาทอดกับไข่ ถือว่าเป็นอาหารจานพิเศษ ในภัตตาคารบางแห่ง และนอกจากนี้เคยมีรายงานจากแอฟริกาใต้ว่ามีการกินไส้เดือนดินย่างและยังคงกินอยู่ในปัจจุบัน และชนพื้นเมืองในยุคแรกจากนิวกีนีและบางส่วนของแอฟริกาเคยมีรายงานว่ากินไส้เดือนดินเป็นอาหารด้วยเช่นกัน ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าไส้เดือนดินเป็นแหล่งอาหารของมนุษย์และในไส้เดือนดินมีคุณค่าทางอาหารสูงโดยเฉพาะโปรตีนในไส้เดือนดินมีปริมาณมากกว่าเนื้อสัตว์อื่นๆ
 
          
นอกจากนี้ เคยมีรายงานหลายฉบับเกี่ยวกับการกินไส้เดือนดิน เพื่อเป็นยารักษาโรค เช่น นิ่ว ดีซ่าน ริดสีดวงทวาร ไข้ ฝีดาษหรือไข้ทรพิษ และในสมัยก่อนเคยมีการใช้เถ้าของไส้เดือนดินทำเป็นผงยาสีฟัน หรือใช้บำรุงผม ด้วย (ที่มาจาก Strphenson , 1930)  นอกจากนี้ยังเคยมีการกินไส้เดือนดินเพื่อรักษาการเสริมสมรรถภาพทางเพศของเพศชายที่มีอายุมาก หรือใช้บำรุงหญิงที่เพิ่งคลอดบุตร และใช้ไส้เดือนดินพอกแผลที่ถอนหนามออก นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ได้เคยใช้ไส้เดือนดินในการรักษาด้านการขยายหลอดเลือดด้วย (ข้อมูลจาก Reynolds and Reynols , 1972) และไส้เดือนดินอาจมีส่วนประกอบของสารที่ใช้บำบัดรักษาโรคไขข้อได้ 
           

ในประเทศจีนได้มีการใช้ไส้เดือนทำยา รักษาโรคหลายชนิด โดยการนำไส้เดือนดินมาตากแห้ง มาบดเป็นยาผง เข้าสูตรยาต่างๆ สำหรับผลิตเป็นยาบำรุงหรือยารักษาโรค เช่น ในตำราแพทย์แผนโบราณ ใช้ไส้เดือนดินเป็นเครื่องยาอย่างหนึ่ง บางตำราเรียกไส้เดือนดินว่า รากดินหรือไส้ดินก็มี ตำราสรรพคุณยาโบราณได้กล่าวไว้ว่าไส้เดือนดินทั้งตัว (แห้ง ) มีรสเย็น คาว ต้มน้ำดื่ม หรือทำเป็นเม็ด มีสรรพคุณแก้ไข้พิษ ระงับความร้อน แก้อาการเกร็ง แก้ตาแดง แก้อัมพาตครึ่งซีก แก้คอพอก แก้เจ็บปวดตามข้อ และใช้ส่วนขี้เถ้าที่ได้จากการเผาไส้เดือนดิน ซึ่งมีรสเย็น เค็ม มีสรรพคุณแก้ไข แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ปากคอเปื่อย แก้ทอนซิลอักเสบ แก้ฝีในคอ แก้ปวดกระดูก (ข้อมูลจาก ชยันต์ และ วิเชียร , 2546)
           
นอกจากนี้ชาวจีนยังมีความเชื่อว่าการกินไส้เดือนดินทำให้สมรรถภาพทางเพศของเพศชายดีขึ้นด้วย ทำให้มีการผลิตยาหรืออาหารเสริมที่มีส่วนผสมของไส้เดือนดินออกจำหน่าย เช่น เอิร์ดรากอน ชึ่งเป็นชื่อทางการค้าของยาแผนโบราณที่มีส่วนผสมของไส้เดือนดิน โดยมีอ้างถึงการใช้ไส้เดือนดินสกุล Lumbricus และใช้สมุนไพรพื้นบ้านของประเทศเวียดนาม ทวีปเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึง จีน เกาหลี และเวียดนาม โดยมีสรรพคุณในการเป็นอาหารเสริม ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และบำรุงตับ ในราคาขายประมาณ 27 เหรียญสหรัฐ ต่อ 50 แคปซูล
           

ไส้เดือนดินที่นำมาผลิตเป็นยาขนานต่างๆ เหล่านี้ บางส่วนเป็นไส้เดือนดินตากแห้งที่ส่งออกโดยชาวบ้านในอำเภอนาหว้า ซึ่งได้จับไส้เดือนดินที่หนีน้ำท่วมในฤดูฝนเป็นจำนวนมากโดยสามารถจับได้วันละ 20 กิโลกรัม ซึ่งเมื่อตากแห้งจะเหลือ 3-4 กิโลกรัม และส่งออกไปยังประเทศจีน ปีละกว่า 200 ตัน ซึ่งทำเช่นนี้มานานกว่า 20 ปี นำรายได้เข้าประเทศปีละหลายล้านบาท


โปรตีนจากไส้เดือนดิน และการนำไปใช้ 

ไส้เดือนดินนอกจากมีประโยชน์ในแง่การนำมาย่อยสายขยะอินทรีย์เพื่อผผลิตปุ๋ยหมักแล้ว สามารถนำมาใช้เป็นแหล่งโปรตีนเสริมเลี้ยงสัตว์ได้ เนื่องจากเนื้อเยื่อของไส้เดือนดินจะอุดมไปด้วย กรดอะมิโนและสารอาหารที่มีประโยชน์อื่นๆ หลายชนิดที่เหมาะสมนำมาเลี้ยงสัตว์ได้ คุณค่าทางอาหารที่ได้จากตัวไส้เดือนดิน           

มีนักวิจัยหลายท่านได้ทำการศึกษาคุณค่าทางอาหารของไส้เดือนดิน พบว่าส่วนประกอบในเนื้อเยื่อโดยทั่วไปของไส้เดือนดินไม่ต่างจากเนื้อเยื่อของสัตว์ชนิดอื่นๆ ที่ประกอบด้วย กรดอะมิโน ไลซีน อนุพันธ์ของ เมทไธโอนีน กับ ซีสทีน ฟีนิลอะนิลีน และ ไทโรซีน ซึ่งปริมาณกรดอะมิโนที่จำเป็นที่ตรวจพบในเนื้อเยื่อของไส้เดือนดินมีปริมาณเพียงพอสำหรับนำมาผลิตเป็นอาหารสัตว์ได้ดี นอกจากนี้เนื้อเยื่อของไส้เดือนดิน ยังประกอบด้วยกรดไขมันที่ต่อกันเป็นสายยาว ซึ่งกรดไขมันหลายชนิดที่ไม่สามารถสังเคราะห์ได้ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง และนอกจากนี้ยังประกอบด้วยแร่ธาตุวิตามินอีกหลายชนิด โดยเฉพาะ ไนอาซิน จะมีอยู่ปริมาณมากและเป็นแหล่งของวิตามิน บี12 จากผลการวิเคราะห์สารอาหารในเนื้อเยื่อของไส้เดือนดิน มีความเหมาะสม อย่างยิ่งสำหรับนำมาใช้เลี้ยงไก่ หมู หรือ สัตว์เลี้ยงภายในบ้าน 


การผลิตอาหารโปรตีนจากไส้เดือนดิน


1. 
วิธีการตากแห้ง  
เป็นรูปแบบการผลิตอาหารโปรตีนที่มีวิธีการทำที่ง่ายมากไม่ต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์การผลิตที่ยุ่งยาก โดยการนำไส้เดือนไปเกลี่ยบนภาชนะที่ใช้ตากแห้ง ทิ้งไว้จนแห้ง วิธี การนี้เหมาะสมสำหรับพื้นที่สิ่งแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง และใช้เวลาในการผลิตค่อนข่างนาน

2. วิธีการอบแห้งด้วยตู้
 
เป็นการผลิตไส้เดือนดินที่ต้องใช้ตู้อบเข้ามาช่วยดำเนินการอบ โดยการนำไปอบในตู้อบขนาดใหญ่ อบจนกว่าไส้เดือนแห้ง อุณหภูมิการอบขึ้นอยู่กับขนาดและปริมาณไส้เดือนดิน

3. วิธีการผสมกับกากน้ำตาล
วิธีการนี้เป็นการผลิตอาหารโปรตีนจากไส้เดือนดินในรูปแบบอาหารเปียก โดยการนำไส้เดือน ไปผสมกับกากน้ำตาล ทำให้สามารถเก็บรักษาผลผลิตได้นาน

4. วิธีการหมักด้วยกรดฟอร์มิค
เป็นวิธีการผลิตแบบเปียกอีกวิธีหนึ่ง โดยการนำไส้เดือนดินมาผสมกับกรดฟอร์มิค แล้วปั่นให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วนำไปผสมกับอาหารสัตว์

5. วิธีการแช่แข็ง
 
วิธีการนี้เป็นการผลิตอาหารโปรตีนจากไส้เดือนดินในรูปป่นอีกชนิดหนึ่ง สามารถผลิตโดยการแช่แข็งไส้เดือนที่แยกได้อย่างรวดเร็วทำให้ไส้เดือนดินตาย หลังจากนั้นนำมาทำแห้ง วิธีนี้ค่อนข้างมีประสิทธิภาพแต่ช้าและราคาแพง

6.วิธีการใช้อะซิโตนร่วมกับการอบแห้ง
 
โดยการแช่ไส้เดือนดินในอะซิโตน 1 ชั่วโมง แล้วนำไส้เดือนมาผึ่งให้แห้งแล้วเข้าเตาอบ
  



ไส้เดือนดินที่ผ่านการอบแห้ง  


ในกระบวนการแปรรูปไส้เดือนดินเป็นอาหารโปรตีน จะมีผลกระทบต่อปริมาณกรดอะมิโนที่จำเป็นในตัวได้เดือนดินเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

           
การใช้ไส้เดือนดินเป็นโปรตีนเสริมเลี้ยงสัตว์ต่าง สามารถเอามาเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ สัตว์ปีก สุกร และแปรรูป นำมาเป็นอาหารเสริมสำหรับสัตว์ได้ดี มีรายงานออกมาว่าการใช้โปรตีนจากไส้เดือนมาเลี้ยงสัตว์ทำให้อัตราการเจริญเติบโตของสัตว์ที่เลี้ยงดีมาก  การเลี้ยงไก่ ทำให้ไก่ออกไข้ได้ดี ปลาสี จะสีสด ลูกสุกรที่เลี้ยงด้วยโปรตีนจากไส้เดือนจะเจริญเติบโตดี


ส่วนประกอบทางโภชนาของไส้เดือนดิน ( ข้อมูล จาก Tiger Worm  Pigs,May/JUne )
วัตถุแห้ง (%)
20-25
ส่วนประกอบคิดเป็น % ของวัตถุแห้ง
โปรตีนรวม (crude protien)
62-64
โปรตีนจริง (true protien)
60-61
ไขมัน
7-10
เถ้า
8-10
แควเซียม
0-55
ฟอสฟอรัส
1-10
พลังงานรวม (kcal/kg)
39,000-41,000





โรงเรือนในการเลี้ยงไส้เดือน


การเตรียมโรงเรือนผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน
             

โรงเรือนกำจัดขยะเพื่อผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน ต้องมีหลังคากันฝนและพรางแสง เนื่องจากไส้เดือนดินไม่ชอบแสงสว่าง ในบริเวณบ่อเลี้ยงต้องมีตาข่ายปิดด้านบน หรือใช้ตาข่ายกั้นบริเวณด้านข้างรอบโรงเรือนเพื่อป้องกันศัตรูของไส้เดือน
             
บ่อเลี้ยงไส้เดือน กว้าง ประมาณ 1 เมตรความยาวแล้วแต่ต้องการ และมีความลึกไม่เกิน 0.5 เมตรจะใช้เป็นบ่อเลี้ยงที่ใช้ผลิตปุ๋ยหมัก มูลไส้เดือนดินจากวัสดุอินทรีย์ได้ดีและสะดวกในการจัดการ
             
บ่อเก็บน้ำหมักมูลไส้เดือนดิน ควรก่อสร้างบริเวณด้านข้างโรงเรือนหรือด้านหลังโรงเรือนให้น้ำหมักจากบ่อเลี้ยงไส้เดือนไหล เข้าไปเก็บไว้ในบ่อเก็บน้ำหมักได้ง่าย ขนาดของบ่อเก็บน้ำหมักจะมีขนาดเล็กกว่าบ่อเลี้ยงไส้เดือนตามความเหมาะสมของปริมาณ น้ำหมักที่ได้
การเตรียมวัสดุรองพื้นเพื่อเป็นที่อาศัยของไส้เดือนดิน             

ใช้วัสดุอินทรีย์สด เป็นวัสดุรองพื้นหนาประมาณ 6 นิ้ว โดยเน้นส่วนที่เป็นผักสีเขียว วัชพืช ขยะสดโดยจะใช้ปุ๋ยคอกโรยบนหน้า ให้หนาประมาณ 2 นิ้ว โรยปูนขาวให้ทั่วบริเวณ แล้วจึงให้ความชื้นเล็กน้อยประมาณ 20%ของน้ำหนักขยะสดหรือให้เปียกชุ่มแต่ไม่ให้มีน้ำ แช่ขังทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน จะพบว่าเกิดขบวนการหมัก สังเกตได้โดยมีความร้อนที่สูงขึ้นทิ้งไว้ประมาณ 4-6 สัปดาห์ความร้อนที่เกิดขึ้นจะ หายไปหรืออาจจะเร็วกว่านี้ ถ้ามีการหมักในกองที่มีความหนาน้อยกว่าที่กำหนดไว้ การหมักที่สมบูรณ์จะทำวัสดุมีสีเข้มจนเป็นสีน้ำตาล มีลักษณะร่วนซุยไม่มีกลิ่นเหม็น
            

การเตรียมวัสดุรองพื้นเพื่อเป็นที่อาศัยของไส้เดือนดิน

ใช้วัสดุอินทรีย์สด เป็นวัสดุรองพื้นหนาประมาณ 6 นิ้ว โดยเน้นส่วนที่เป็นผักสีเขียว วัชพืช ขยะสดโดยจะใช้ปุ๋ยคอกโรยบนหน้า ให้หนาประมาณ 2 นิ้ว โรยปูนขาวให้ทั่วบริเวณ แล้วจึงให้ความชื้นเล็กน้อยประมาณ 20%ของน้ำหนักขยะสดหรือให้เปียกชุ่มแต่ไม่ให้มีน้ำ แช่ขังทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน จะพบว่าเกิดขบวนการหมัก สังเกตได้โดยมีความร้อนที่สูงขึ้นทิ้งไว้ประมาณ 4-6 สัปดาห์ความร้อนที่เกิดขึ้นจะ หายไปหรืออาจจะเร็วกว่านี้ ถ้ามีการหมักในกองที่มีความหนาน้อยกว่าที่กำหนดไว้ การหมักที่สมบูรณ์จะทำวัสดุมีสีเข้มจนเป็นสีน้ำตาล มีลักษณะร่วนซุยไม่มีกลิ่นเหม็น
             
การเริ่มต้นเลี้ยงไส้เดือนดิน
ในระยะเตรียมการจึงควรมีปริมาณไส้เดือนดินอย่างน้อย 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 4 –6 สัปดาห์ ก็จะทำให้ปริมาณไส้เดือนเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว และทวีจำนวนมากขึ้นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
             
ปริมาณอาหารที่ให้ไส้เดือน โดยปกติไส้เดือนดินชอบอาหารที่มีปริมาณโปรตีนสูง รวมถึงในดินที่มีปริมาณอินทรียวัตถุจำนวนมาก ไส้เดือนดินสายพันธุ์ไทย Pheretima peguana และ Pheretima posthuma จะกินอาหารเฉลี่ย 120-150 มก./น้ำหนักตัว 1 กรัมต่อวัน และ พบว่าไส้เดือนดินสายพันธุ์ Lumbricus rubellus และ Eisenia foetida จะกินอาหารประมาณ 240-300 กรัมต่อวัน ต่อน้ำหนักไส้เดือน 1 กิโลกรัม ซึ่งเป็นจำนวน 2 เท่าของอาหารไส้เดือนดินสายพันธุ์ไทย
             
การให้อาหารที่เป็นเศษอินทรียวัตถุกับไส้เดือนดินในบ่อเลี้ยง นำขยะสดจากชุมชนมาแยกวัสดุที่ไม่ย่อยสลายเช่นถุงพลาสติกต่างๆ ออก ปริมาณขยะสดที่ควรเตรียมให้ไส้เดือนดิน ควรจะมีการเตรียมการหมักให้เริ่มบูดเสียก่อน นำมาใส่ในบ่อเลี้ยงไส้เดือนความหนาไม่เกิน 10 เซนติเมตร เนื่องจากถ้าหนามากกว่านี้ จะทำให้เกิดความร้อน
             
การแยกไส้เดือนออกจากปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้แสงไฟไล่ ใช้ตะแกรงร่อนด้วยมือ ในกรณีที่มีมูลไส้เดือนปริมาณน้อย และใช้เครื่องร่อนขนาดใหญ่ ทำงานด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ช่วยแยกไส้เดือนดินออกมาจากกองปุ๋ยหมักในกรณีที่มีปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินในปริมาณมาก


ปัญหาและการจัดการโรงเรือนเลี้ยงไส้เดือนดิน             
ความร้อน จัดการโดยควบคุมความหนาของขยะที่ให้
กลิ่น การจัดการสามารถใช้น้ำหมักมูลไส้เดือนในบ่อ หรือใช้กากน้ำตาลรดก็สามารถกำจัดกลิ่นได้  บ่อเลี้ยงมีสภาพเป็นกรด แก้ไขได้โดยการใช้ปูนขาวโรยบางๆ บริเวณผิวดิน และรดน้ำตามเดือนละครั้ง แมลงศัตรูของไส้เดือนดิน เช่น เป็ด ไก่ นก พังพอน กบ หนู งู 



การจัดการโรงเรือน

ในขณะที่ไส้เดือนกำลังกินขยะสดที่ให้ในปริมาณที่เหมาะสม จะพบว่าชั้นของไส้เดือนในกระบะจะมีความสูงมากขึ้นเรื่อยๆ การจัดการอาหารที่ให้กับไส้เดือนดินกินหมดในระยะเวลา 2-3 วัน จึงเป็นสิ่งที่เหมาะสม ทำให้สามารถคำนวณจำนวนของไส้เดือนดินที่มีอยู่ในโรงเรือนได้ อีกทั้งยังทำให้กำหนดปริมาณของปุ๋ยหมักจากมูลไส้เดือนดิน และน้ำหมักจากมูลไส้เดือนดินที่สามารถผลิตได้อีกด้วย
"หลักการในการจัดการโรงเรือนก็คือ การพยายามควบคุมไม่ให้เกิดความร้อนขึ้นในกระบะที่ไส้เดือนดินอาศัยอยู่ เนื่องจากจะเป็นสิ่งที่จำกัดการเจริญเติบโตของไส้เดือนดิน และลดจำนวนไส้เดือนดิน รวมถึงลดการกินขยะสดที่จัดเตรียมเอาไว้ด้วย"
สำหรับเทคนิคการแยกไส้เดือนดินออกจากปุ๋ยหมักมูลสัตว์ชนิดนี้นั้น ดร.อานัฐ บอกว่าสามารถทำได้หลายเทคนิค เช่น การใช้แสงไฟไล่ เนื่องจากไส้เดือนดินไม่ชอบแสง หรือใช้ตะแกรงร่อนด้วยมือก็ได้

ใครอยากเห็นการเลี้ยงไส้เดือนดินด้วยสายตาตัวเอง โปรดติดต่อไปได้ที่ ภาควิชาทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม้โจ้ ที่นี่มีโรงเรือนเลี้ยงไส้เดือนดินทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่
ไม่แน่ขยะที่เป็นปัญหาของสังคมเมือง อาจแก้ไขได้ด้วยไส้เดือนดิน สัตว์ที่หลายคนรังเกียจ แต่มีประโยชน์มหาศาล



 

รูปแบบโรงเรือน / การเลี้ยงไส้เดือนดิน แบบต่างๆ

 

 





วงจรชีวิตไส้เดือนดิน




การผสมพันธุ์ของไส้เดือนดินไส้เดือนดินโดยปกติจะผสมพันธุ์กันในช่วงกลางคืน โดยไส้เดือนดินสองตัวมาจับคู่กันโดยใช้ด้านท้องแนบกันและสลับหัวสลับหางกัน ช่องสืบพันธุ์เพศผู้ของตัวหนึ่งจะแนบกับช่องสเปิร์มมาทีกาของอีกตัวหนึ่ง โดยมีปุ่มสืบพันธุ์กับเมือกบริเวณไคลเทลลัมยึดซึ่งกันและกันเอาไว้ สเปิร์มจากช่องสืบพันธุ์เพศผู้ของตัวหนึ่งจะส่งเข้าไปเก็บในถุงสเปิร์มมาทีกาที่ละคู่จนครบทุกคู่ การจับคู่จะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง จึงแยกออกจากกัน



ภาพการจับคู่ผสมพันธุ์ของไส้เดือนดิน




ในขณะที่มีการจับคู่แลกเปลี่ยนสเปิร์มกัน ไส้เดือนดินทั้ง 2 ตัว จะไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกอย่างฉับพลัน กรณีเช่นสิ่งเร้าจากการสัมผัสและแสง เมื่อไส้เดือนดินแยกจากกัน ประมาณ 2-3 วัน จะมีการเปลี่ยนแปลงบริเวณไคลเทลลัม เพื่อสร้างถุงไข่ (Cocoon) ต่อมเมือกจะสร้างเมือกคลุมบริเวณไคลเทลลัมและต่อมสร้างโคคูน (Cocoon secreting gland) จะสร้างเปลือกของโคคูน ซึ่งเป็นสารคล้ายไคติน สารนี้จะแข็งตัวเมื่อถูกอากาศกลายเป็นแผ่นเหนียวๆ ต่อมาต่อมสร้างไข่ขาว (Albumin secreting gland) จะขับสารอัลบูมินออกมาอยู่ในเปลือกของโคคูน Pheretima ซึ่งมีช่องสืบพันธุ์เพศเมียอยู่ที่ไคลเทลลัม จะปล่อยไข่เข้าไปอยู่ในโคคูน หลังจากนั้น โคคูนจะแยกตัวออกจากผนังตัวของไส้เดือนดินคล้ายกับเป็นปลอกหลวมๆ เมื่อไส้เดือนหดตัวและเคลื่อนถอยหลัง โคคูนจะเคลื่อนไปข้างหน้า เมื่อเคลื่อนผ่านช่องเปิดของถุงเก็บสเปิร์ม ก็จะรับสเปิร์มเข้าไปในโคคูน และมีการปฏิสนธืภายในโคคูน เมื่อโคคูนหลุดออกจากตัวไส้เดือนดินปลายสองด้านของโคคูนก็จะหดตัวปิดสนิท เป็นถุงรูปไข่มีสีเหลืองอ่อนๆ ยาวประมาณ 2-2.4 มิลลิเมตร กว้างประมาณ1.2-2 มิลลิเมตร ถุงไข่แต่ละถุงจะใช้เวลา 8-10 สัปดาห์จึงฟักออกมา โดยทั่วไปจะมีไข่ 1-3 ฟอง ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ ไส้เดือนบางชนิดอาจมีไข่มากถึง 60 ฟอง         

     

      โคคูนของไส้เดือนดิน         


ตัวอ่อนของไส้เดือนดินที่อยู่ในไข่ก็จะเจริญและพัฒนาร่างกายในส่วนต่างๆ โดยใช้สารอาหารที่อยู่ภายในถุงไข่ ระหว่างที่ตัวอ่อนเจริญเติบโตและพัฒนาอยู่ในถุงไข่นั้น ผนังของถุงไข่ก็จะเปลี่ยนสีไปด้วย โดยถุงไข่ที่ออกจากตัวใหม่ๆ จะมีสีจางๆ และเมื่อเวลาผ่านไปสีของถุงไข่ก็จะมีสีที่เข้มขึ้นตามลำดับ และจะฟักเป็นตัวในเวลาต่อมา ไส้เดือนดินบางสายพันธุ์สามารถที่จะสืบพันธุ์แบบไม่ต้องเกิดการผสมกันระหว่างไข่กับสเปิร์มได้ ซึ่งเป็นการสืบพันธุ์แบบ Parthenogenetically  จะพบลักษณะการสืบพันธุ์เช่นนี้ได้ในไส้เดือนดินสกุล Dendrobaena  เป็นต้น ซึ่งพบว่ามักจะมีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยการผสมพันธุ์ นอกจากการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศแล้วยังมีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเซลล์สืบพันธุ์ด้วยเช่น กระบวนการแบ่งเป็นชิ้นเล็ก และ กระบวนการงอกใหม่



ลูกไส้เดือนดินขนาดเล็กสียังไม่ชัดเจน
 
การขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแบ่งตัว


อิทธิพลของสภาพแวดล้อมต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของไส้เดือนดิน
สำหรับช่วงเวลาการเจริญเติบโตของไส้เดือนดินเมื่อฟักออกจากถุงไข่แล้ว องค์ประกอบสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบอย่างมากต่อระยะเวลาเจริญเติบโตของไส้เดือนดิน ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ ความชื้น ขึ้นอยู่กับการดำรงชีวิตของแต่ละสายพันธุ์ บางสายพันธุ์ใช้เวลาเติบโต 17-19 สัปดาห์ เมื่อเลี้ยงที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียล บางสายพันธุ์ใช้เวลา 13 สัปดาห์ที่ 18 องศาเซลเซียล  ไส้เดือนดินจะมีอายุขัยยืนยาวถึง 4–25 ปี ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ สำหรับประเทศไทยอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเลี้ยงไส้เดือนดิน อุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 15-25 องศาเซลเซียล ในฤดูฝนที่มีความชื้นสูงไส้เดือนจะสร้างถุงไข่ได้มากกว่าช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาว เพราะฉนั้นอุณหภูมิและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสามารถทำให้ชีวิตของไส้เดือนดินดำรงชีวิตได้ยาวนานขึ้น

(บทความจากหนังสือ การเลี้ยงไส้เดือนดิน)
   







หน้าก่อน หน้าก่อน (1/2)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (15512 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©