-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 220 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

มะปราง-มะยง




หน้า: 4/4





มนตรี แสนสุข

พยับ-สมจิตร สดใส คว้ารางวัลชนะเลิศ ประกวด "มะยงชิด"
ทำสวนแบบง่ายๆ แต่ได้คุณภาพ


มะยงชิด ผลไม้ตามฤดูกาล 1 ปี ติดผลผลิตครั้งเดียวในช่วงฤดูหนาว เป็นผลไม้ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ในทุกปีจะมีสวนมะยงชิดเกิดขึ้นใหม่เรื่อยๆ และขยายอาณาเขตพื้นที่ปลูกขึ้นไปทางภาคเหนือมากขึ้น

มะยงชิด กับ มะปราง สมัยโบร่ำโบราณปลูกกันมากในเขต อเภอบางกอกน้อย อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี ต่อมาความเจริญเข้าครอบงำพื้นที่สวน สายพันธุ์มะปรางและมะยงชิดไปแพร่ขยายแถวจังหวัดนนทบุรี จนเป็นที่ขึ้นชื่อลือชากล่าวกันว่า

ถ้าจะรับประทานกระท้อนอร่อยต้องที่บางกร่าง รับประทานมะปรางหวานต้องที่ท่าอิฐ
อยู่ในพื้นที่เขตจังหวัดนนทบุรี แล้วพันธุ์มะปรางหวานก็แพร่ออกสู่ต่างจังหวัด หรือต่างจังหวัดในหลายๆ พื้นที่มาโด่งดังที่สุดก็คือจังหวัดนครนายก เมืองปริมณฑลไม่ใกล้ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานครเท่าไรนัก จนทุกวันนี้คนรุ่นใหม่จะรู้จักเพียงแค่ว่า มะปรางหวาน มะยงชิด คือผลไม้คู่เมืองนครนายกเท่านั้น จนผลไม้ทั้งสองชนิดเป็นผลไม้ประจำจังหวัดไปเลย ส่วนถิ่นกำเนิดพื้นเพดั้งเดิมของมะปรางนั้น ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านจัดสรร เป็นชุมชนคนเมืองไปเสียแล้ว กลายเป็นตำนานให้เล่าขานมาจนทุกวันนี้

มะยงชิด เป็นสายพันธุ์หนึ่งในตระกูลมะปราง มีผลใหญ่ สีส้มสวยสดใส เนื้อในหวาน กรอบ อร่อย สนนราคาค่อนข้างสูง เนื่องจากยังมีการปลูกกันน้อย แต่มีผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก อันเนื่องมาจากสนนราคาสูงนี้ จึงมีการสัพยอกกันถึงผลไม้ชนิดนี้ว่าเป็นผลไม้ที่

คนซื้อไม่ดั้บประทาน คนรับประทานไม่ได้ซื้อ ส่วนใหญ่มักซื้อเอาไปเป็นของขวัญของฝากเสียมากกว่า

ปัจจุบัน สวนมะยงชิดทุกสวนเกษตรกรพยายามพัฒนาแข่งขันกันในเรื่องของคุณภาพ และการพัฒนาพื้นที่สวน ในทุกปีช่วงฤดูกาลมะยงชิดติดผลจะมีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวชมสวนมะยงชิดในเขตพื้นที่จังหวัดนครนายกกันมากมาย จนกลายเป็นทัวร์สวนมะยงชิดไปเลย สร้างมูลค่าการจำหน่ายผลผลิตแก่เกษตรกรชาวสวนมะยงชิดในแต่ละปีมิใช่น้อย

และทุกปีที่จังหวัดนครนายกจะมีการจัดงานการประกวดผลผลิต "มะปรางหวาน มะยงชิด ของดีเมืองนครนายก" เพื่อให้เกษตรกรสนใจพัฒนาคุณภาพมะปรางและมะยงชิดให้มีคุณภาพดียิ่งๆ ขึ้นไป ในปี 2553 นี้ มะยงชิดที่ชนะเลิศการประกวดได้แก่ มะยงชิดจาก "สวนพิมพา" เจ้าของสวนคือ คุณพยับ และคุณสมจิตร สดใส สองคุณลุงคุณป้าช่วยกันทำสวนอยู่ที่บ้านหมู่ที่ 3 ตำบลดอนยอ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เมื่อได้รับรางวัล คุณป้าพยับ บอกว่า

"ไม่เคยคิดเลยค่ะ ว่าจะได้รับรางวัลชนะเลิศเช่นนี้ ป้าเข้าเป็นสมาชิกชมรมชาวสวนมะปรางและมะยงชิด จังหวัดนครนายก ในที่ประชุมเขาให้สมาชิกส่งผลผลิตเข้าประกวดในงานประกวดมะปรางและมะยงชิด ป้าก็เก็บผลผลิตในสวนส่งเข้าประกวด เป็นการส่งผลผลิตประกวดครั้งแรกในชีวิต"

คุณป้าพยับ กล่าวอย่างดีใจและว่า ป้าส่งมะยงชิดเข้าประกวดตามหน้าที่เท่านั้นเอง ผลการตัดสินการประกวด กรรมการเขาประกาศผ่านเครื่องขยายเสียงไปทั้งงานว่า สวนของป้าได้รับรางวัลที่ 1 ดีใจมากๆ เลย เมื่อก่อนเคยมีทัศนคติไม่ดีต่องานประกวด เคยคิดว่า จะประกวดกันจริงๆ หรือ น่าจะมีการล็อครางวัลกันไว้ก่อนซะมากกว่า แต่มาเจอเข้ากับตนเอง ต้องยอมรับว่า ชมรมที่จัดงานการประกวดนี้ เขายุติธรรมจริงๆ ไม่มีกั๊กรางวัลไว้เพื่อตนเองและพรรคพวก ขอชม ร.ต.ต.อำนวย หงษ์ทอง ประธานชมรมชาวสวนมะปราง มะยงชิด นครนายก มา ณ ที่นี้ด้วย

คุณป้าพยับ กล่าวพร้อมกับเล่าต่อไปว่า ที่สวนปลูกมะยงชิดพันธุ์ทูลเกล้าไว้ประมาณ 100 กว่าต้น ในเนื้อที่ 10 ไร่ ทำเป็นสวนผสม แบ่งเป็น บ่อปลา 1 ไร่ รอบๆ บ่อปลาปลูกมะยงชิด ทำนาปลูกข้าว 5 ไร่ จะเพิ่มสวนมะยงชิดอีก 2 ไร่ ที่เหลือเป็นพื้นที่บ้าน รอบๆ สวนและคันนาปลูกกล้วยและยูคาลิปตัส ในสวนแซมผลไม้หลายชนิด เช่น มะม่วง น้อยหน่า เป็นต้น

คุณลุงสมจิตร คู่ชีวิตคุณป้าพยับ บอกว่า เดิมทีทำนาอย่างเดียว และก็รับจ้างทั่วไป ทำนาลงทุนเยอะ กำไรน้อย เห็นเขาปลูกมะยงชิดแล้วได้ดี ก็เลยหันมาปลูกมะยงชิดกับเขาบ้าง เมื่อ 7 ปีที่แล้ว ไปซื้อพันธุ์มะยงชิดจากเพื่อนบ้านมาปลูก

คุณป้าพยับ เล่าเสริมอีกว่า แรกๆ ต้องทยอยปลูก เพราะต้องใช้ทุนซื้อกิ่งพันธุ์ สำหรับผู้ที่คิดจะปลูกมะยงชิดในอนาคต หากจะซื้อกิ่งพันธุ์ขอให้มาซื้อที่แหล่งปลูกเลยจะดีกว่า เลือกดูกิ่งพันธุ์ที่สมบูรณ์ ดูกิ่งยอดตั้งสวย ต้นไม่อ่อนและไม่แก่เกินไป ถ้าคนขายเขาเสริมรากให้ด้วยจะยิ่งดีมากๆ เลย รากของมะยงชิดและมะปรางนั้นต้องดีจึงจะเจริญเติบโตรวดเร็ว

เมื่อได้กิ่งพันธุ์มา คุณป้าพยับ แนะนำว่า สามารถขุดหลุมปลูกได้เลย ให้ขุดหลุมกว้างและลึกพอสมควร เอาดินก้นหลุมขึ้นมาผสมกับปุ๋ยขี้วัวแล้วก็เอาลงไปรองก้นหลุมตามเดิม จากนั้นก็แกะถุงชำกิ่งพันธุ์ออกเอาต้นลงปลูก

วิธีปลูกจะต้องไม่ให้บริเวณต้นเป็นแอ่ง ต้องพูนดินให้เป็นเนินขึ้นเอากิ่งพันธุ์ลงปลูกกลบดินเสมอโคนต้น อย่าให้ดินกลบรอยทาบที่กิ่งพันธุ์ มะยงชิด มะปราง ไม่ชอบแฉะ ไม่ชอบน้ำขัง ฉะนั้น การเอากิ่งพันธุ์ลงปลูกต้องพูนดินเป็นเนินให้น้ำไหลลงสะดวก จึงจะทำให้การปลูกสมบูรณ์ ต้นจะเจริญเติบโตรวดเร็ว

หลังปลูกรดน้ำพอชุ่ม เว้น 3-4 วันรดครั้งหนึ่งก็ได้ ดูที่ดิน ถ้าดินแห้งมากก็ให้รดน้ำจนชุ่ม ระวังอย่าให้น้ำขังโคนต้นจะไม่ดี พอระบบรากเดินดีจะใส่ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพก็ได้ หรือไม่ใส่ก็ได้สุดแล้วแต่เจ้าของสวน

จนกระทั่งต้นแตกใบอ่อน คุณป้าพยับ บอกว่า ตอนนี้สำคัญมาก แมลงจะมากัดกินใบอ่อน เกษตรกรต้องฉีดยากำจัดแมลง ฉีดยาฆ่าหนอน รักษาใบอ่อนให้ได้ จนกระทั่งใบเพสลาดแล้วกลายเป็นใบแก่ต้นจะเจริญเติบโตขึ้น มะยงชิดปีแรกจะค่อยๆ เจริญเติบโต แต่พอเข้าปีที่สอง ต้นจะเจริญเติบโตแตกยอดพุ่งสูงขึ้นรวดเร็วมาก และทุกครั้งที่แตกใบอ่อนจะต้องฉีดยาฆ่าแมลง และหนอนที่จะมากัดกินใบอ่อน เรียกว่าต้องดูแลรักษาใบอ่อนกันเต็มกำลังกันเลย พอใบอ่อนเป็นใบแก่ต้นก็จะโตขึ้นๆ

มะยงชิดใช้เวลาเจริญเติบโตประมาณ 3 ปี ก็ให้ผลผลิต ก่อนอากาศหนาวจะมา 1 เดือน เป็นช่วงปลายฤดูฝนต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ และปุ๋ยสูตรเสมอพอสมควร เป็นการบำรุงต้นให้สมบูรณ์เต็มที่

คุณป้าพยับ กล่าวต่อไปอีกว่า พออากาศหนาวกระทบลงมา มะยงชิดก็จะแตกตาดอกและติดดอก ช่วงนี้ฉีดยาป้องกันแมลงและเชื้อรา จนกระทั่งดอกบานจึงหยุดฉีด

ครั้นพอดอกพัฒนาเป็นผลเล็กๆ ให้ฉีดยาป้องกันแมลง เชื้อรา พร้อมทั้งให้ฮอร์โมน ประมาณ 1-2 ครั้ง ทางดินรดน้ำสม่ำเสมอเรื่อยไปจนกระทั่งเก็บผล

สำหรับเทคนิคทำให้รสชาติมะยงชิดหวาน เนื้อกรอบ อร่อย จนได้รับรางวัลการประกวดนั้น คุณป้าพยับกับคุณลุงสมจิตร บอกว่า ไม่มีเทคนิคอะไรเลย ที่ผลผลิตหวาน กรอบ อร่อยนั้นก็เป็นไปตามธรรมชาติ ไปตามพันธุ์เขาเท่านั้น ไม่ได้เสริมเติมแต่งอะไร การส่งผลผลิตเข้าประกวดความสำคัญอยู่ตรงที่คัดผลส่งเข้าประกวดให้เสมอกัน ดูผลที่นวลสวยเอาเข้าประกวด นอกนั้นกรรมการเขาตัดสินเอง

สำหรับชื่อสวนพิมพานั้น คุณป้าพยับ นิ่งคิดชั่วครู่แล้วก็บอกว่า คิดขึ้นมาเองเจ้าค่ะ ถ้าสนใจจะมาเยี่ยมสวนก็ได้ แต่ต้องบอกกันก่อนนะว่า "สวนพิมพา" นั้นไม่เหมือนใคร เป็นสวนผสม ต่างจากสวนมะยงชิดอื่นๆ ที่เขาปลูกเป็นเชิงเดี่ยว จะไปเยี่ยมเยือน โทร.นัดหมายกันก่อน ที่ (089) 751-1986 ยินดีต้อนรับทุกท่านเจ้าค่ะ คุณป้าพยับ กล่าวในที่สุด






มะปราง
ลักษณะทางพฤษศาสตร์ของมะปราง มะปรางเป็นไม้ผลเมืองร้อนไม่มีการผลัดใบคือ จะมีใบสีเขียวตลอดทั้งปี มีชื่อสามัญว่า Marian plum

ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Boueaburmanica Griff ตระกูลเดียวกันมะม่วง มะกอก คือ ตระกูลAmacardiaceae มีถิ่นกำเนิดทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พม่า ไทย ลาว และมาเลเซีย ส่วนต่างๆ ของมะปรางมีลักษณะดังนี้ ลำต้น มะปรางเป็นไม้ผลที่มีทรงต้นค่อนข้างแหลมถึงทรงกระบอกมีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบ ทรงต้นมีขนาดสูงปานกลาง-ใหญ่ ประมาณ 15-30 เมตร มีระบบรากแก้วเข็งแรง จึงทนอยู่ในสภาพที่แห้งแล้งได้ดี ใบ มะปรางเป็นไม้ผลที่มีใบมากแน่นทึบ ใบคล้ายใบมะม่วงแต่มีขนาดเล็กกว่า และใบเรียวยาว ขนาดใบโดยเฉลี่ยกว้าง 3.5 เซนติเมตร ยาว 14 เซนติเมตร ใบจะเกิดเป็นคู่อยู่ตรงกันข้าม ขอบใบเรียบแผ่นใบเหนียว ใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่ๆ จะมีสีม่วงแดง มีเส้นใบเด่นชัด จากนั้นค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเขียวเป็นมัน ปีหนึ่งมะปรางจะแตกใบอ่อน 1-3 ครั้ง ดอก ดอกมะปรางจะมีลักษณะเป็นช่อเกิดบริเวณปลายกิ่งแขนงที่อยู่ภายในทรงพุ่มและนอกทรงพุ่ม ช่อดอกยาว 8-15 เซนติเมตร ดอกย่อมมีขนาดเล็กประกอบด้วยดอกสมบูรณ์เพศ หรือดอกกระเทยและดอกตัวผู้ ดอกเมื่อบานจะมีสีเหลือง ในประเทศไทยดอกมะปรางจะบานช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ผล มะปรางมีลักษณะทรงกลมรูปไข่ ปลายค่อนข้างเรียวแหลม มะปรางช่อหนึ่งจะมีผล 1-15 ผล รูปร่างและขนาดของผลมะปรางจะแตกต่างกันในแต่ละพันธุ์ ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อนเมื่อแก่หรือสุกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือเหลืองอมส้ม เปลือกผลนิ่ม เมล็ด มะปรางผลหนึ่งจะมี 1 เมล็ด ส่วนหุ้มเมล็ดจะเป็นเส้นใย เนื้อของเมล็ดมีสีชมพูอมม่วง มีรสขมและฝาดใน 1 เมล็ดสามารถเพาะกล้าเป็นต้นมะปรางได้ 1 ต้น สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม การที่มะปรางจะเจริญเติบโตมีการแทงช่อดอกออกดอกติดผล และให้ผลมีคุณภาพดี ตรงกับความต้องการของตลาดนั้น นอกจากพันธุ์มะปรางแต่ละพันธุ์แล้ว สภาพแวดล้อมต่างๆ ตามธรรมชาติก็มีอิทธิพลอย่างมาก ถึงแม้ว่ามะปรางจะเป็นไม้ผลที่สามารถเจริญเติบโตได้ในแหล่งที่ภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างกว้างขวาง และมีการออกดอกติดผลได้ง่ายกว่ามะม่วงก็ตาม แต่ในการจะปลูกมะปรางเพื่อเป็นการค้าที่ใช้ต้นทุนต่ำและมีผลตอบแทนสูงนั้น ควรมีการพิจารณาเลือกแหล่งปลูกมะปรางที่มีสภาพแวดล้อมต่อไปนี้ด้วย

1. น้ำและความชื้นสัมพัทธ
์มะปรางเป็นไม้ผลที่ขึ้นได้ดีทั้งในแหล่งที่มีฝนตกชุกและในที่มีปริมาณฝนตกน้อยถึงค่อนข้างแห้งแล้ง แต่แหล่งที่จะปลูกมะปรางเป็นการค้านั้นควรเป็นแหล่งที่มีฤดูฝนสลับฤดูแล้ง (หนาวและร้อน) ที่เด่นชัด เพราะช่วงแล้งดังกล่าวจะมีความสำคัญต่อการออกดอกของมะปราง ซึ่งช่วงดังกล่าวจะช่วยทำให้ต้นมะปรางมีการพักตัวชั่วคราวชะงักการเจริญเติบโตทางใบและกิ่งและช่วงดังกล่าว ถ้ามีอุณหภูมิต่ำจะช่วยให้มะปรางออกดอกติดผลได้ดียิ่งขึ้น แหล่งปลูกมะปรางที่อาศัยน้ำฝนนั้น ควรเป็นแหล่งที่มีปริมาณน้ำฝนกระจายตัวตกต้องตามฤดูกาล ส่วนแหล่งที่มีปริมาณฝนตกน้อย ควรเลือกพื้นที่ปลูกมะปรางเป็นการค้าที่ใกล้แหล่งน้ำหรือมีน้ำชลประทานเพียงพอ เพราะในระยะที่มะปรางแทงช่อดอกและติดผลนั้น (พฤศจิกายน - มีนาคม) จะเป็นช่วงที่มีปริมาณฝนตกน้อยมาก ซึ่งช่วงดังกล่าวมะปรางต้องการน้ำเพื่อการเจริญเติบโตของผล และถ้ามะปรางขาดน้ำจะมีผลทำให้ผลมะปรางมีขนาดเล็ก ผลร่วงและให้ผลผลิตต่ำกว่าปกติได้


2. อุณหภูม

เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการแทงช่อดอก การติดผล และระยะเวลาการสุกของผลมะปราง กล่าวคือ ถ้าอุณหภูมิต่ำและมีช่วงระยะเวลาของอุณหภูมิต่ำนานพอสมควร จะทำให้มะปรางออกดอกและติดผลได้ดีขึ้น และหลังจากมะปรางติดผลแล้วถ้าแหล่งปลูกมะปรางมีอุณหภูมิสูงขึ้นเร็ว จะมีผลให้มะปรางแก่หรือสุกเร็วกว่าในแหล่งที่มีอุณหภูมิต่ำ แหล่งปลูกมะปรางที่ให้ได้ผลดีนั้น ควรมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีอยู่ในช่วง 20 -30 องศาเซลเซียส


3. แสง
แสงจากดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังานที่สำคัญที่พืชนำมาใช้ในการสังเคราะห์แสงหรือการสร้างอาหาร โดยทั่วไปแล้วพืชจะเจริญงอกงามได้เมื่อได้รับแสงและจะชะงักการเจริญเติบโตถ้าพืชเหล่านั้นขาดแสง สำหรับมะปรางนั้น มะปรางเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ทั้งในที่มีแสงแดดรำไร (แสงแดด 50%) จนถึงแสงแดดกลางแจ้งโดยตรง (แสงแดด 100%) จากลักษณะดังกล่าวนี้ มะปรางจึงเป็นไม้ผลอีกชนิดหนึ่งที่สามารถปลูกควบคู่กับไม้ยืนต้นชนิดอื่นๆ ที่มีระบบรากแตกต่างจากมะปรางได้ เช่น กล้วย หมาก และมะพร้าว เป็นต้น


4. ความสูงและเส้นละติจูด

มะปรางเป็นไม้ผลที่สามารถเจริญเติบโตได้ในความสูงตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงความสูงประมาณ 1,000 เมตร แต่ความสูงที่เหมาะสมสำหรับการปลูกมะปรางเป็นการค้า ไม่ควรเกิน 600 เมตร ซึ่งถ้าพื้นที่สูงเกินไปมะปรางจะไม่ค่อยติดผลหรือให้ผลผลิตต่ำ นอกจากนี้ความสูงของพื้นที่มีอิทธิพลต่อระยะเวลาการออกดอกของมะปรางด้วย กล่าวคือ ทุกๆ 130 เมตร มะปรางจะออกดอกล่าช้าไป 4 วัน ในด้านเส้นละติจูดหรือเส้นรุ้ง มะปรางที่ปลูกห่างจากเส้นศูนย์สูตรในแต่ละองศาละติจูดเหนือ หรือองศาละติจูดใต้ จะออกดอกล่าช้าไปประมาณ 4 วัน เว้นแต่เขตที่มีอุณหภูมิหรือภูมิอากาศเฉพาะ


5. ดิน

มะปรางเป็นไม้ผลที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพดินปลูกหลายชนิดทั้งดินเหนียว ดินร่วน ดินร่วนปนทราย แต่ถ้าจะให้ผลดีที่สุดควรเป็นดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์มีหน้าดินลึก เพื่อให้รากมะปรางหาอาหารได้เต็มที่และควรมีความเป็นกรดและเป็นด่างของดินอยู่ระหว่าง 5.5 - 7.5 ในแหล่งที่มีดินเหนียวจัด ควรมีการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักรองก้นหลุมก่อนปลูกและใส่หลังจากปลูกเป็นระยะเพื่อให้โครงสร้างของดินเหมาะสมในการเจริญเติบโต
ของมะปรางด้วย

ประเภทของมะปราง

.........มะปรางที่ปลูกในประเทศไทย สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มตามขนาดของผลและรสชาติได้ดังนี้


1. แบ่งตามขนาดของผล มี 2 ชนิด ดังนี้

1.1 ชนิดผลเล็ก มะปรางชนิดนี้มีผลขนาดเล็ก ปลูกกันมากทั่วประเทศ ขนาดของผลกว้างประมาณ 2.5-3.5 เซนติเมตร ยาว 3-4 เซนติเมตร ใน 1 กิโลกรัมมีจำนวนผลมากกว่า 25 ผลต่อกิโลกรัม

1.2 ชนิดผลใหญ่ มะปรางชนิดนี้มีผลขนาดใหญ่ มีการปลูกเป็นการค้าเป็นบางจังหวัด เช่น สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร อ่างทอง นนทบุรี นครนายก และปราจีนบุรี โดยขนาดของผลกว้างมากกว่า 3.5 เซนติเมตร ใน 1 กิโลกรัมจะมีผลน้อยกว่า 25 ผล เช่น พันธุ์ท่าอิฐ น้ำหนักผลประมาณ 18 - 20 ผลต่อกิโลกรัม มะปรางชนิดผลใหญ่นี้เป็นมะปรางที่มีศักยภาพสูง เกษตรกรที่คิดจะปลูกมะปรางเพื่อการค้าควรคัดเลือกปลูกเฉพาะมะปรางชนิดผลใหญ่ ซึ่งจะให้ผลผลิตต่อไร่สูง และมีราคาดีกว่ามะปรางชนิดผลเล็ก


2. แบ่งตามรสชาติของผล มี 3 ประเภท ดังนี้

2.1 มะปรางเปรี้ยว เป็นมะปรางที่มีรสเปรี้ยวทั้งผลดิบและผลสุก ขนาดของผลมีทั้งผลขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เหมาะที่จะนำมาแปรรูปเป็นมะปรางดอง มะปรางแช่อิ่ม และน้ำมะปรางมากกว่าบริโภคสดโดยตรง มะปรางเปรี้ยวที่มีขนาดน่าสนใจ ได้แก่ พันธุ์กาวางของสุโขทัย นครนายก และนนทบุรี

2.2 มะปรางหวาน มะปรางชนิดนี้จะมีรสหวานทั้งผลดิบและผลสุก ผลมีขนาดเล็กและผลขนาดใหญ่ ความหวานจะแตกต่างกันไป ซึ่งจะหวานมากหรือหวานน้อย รับประทานแล้วไอระคายคอหรือหวานสนิท แตกต่างกันในแต่ละพันธุ์ มะปรางหวานชนิดผลใหญ่ที่มีรสชาติหวานสนิท ได้แก่ พันธุ์ลุงชิดสุโขทัย , พันธุ์สุวรรณบาทอุตรดิตถ์ , พันธุ์ท่าอิฐนนทบุรี และพันธุ์ทองใหญ่จากปราจีนบุรี

2.3 มะยง เป็นมะปรางที่มีรสชาติหวานและเปรี้ยวอยู่ในผลเดียวกัน หรือเรียกว่าหวานอมเปรี้ยว มีทั้งชนิดผลเล็กและผลใหญ่ ซึ่งจะหวานมากกว่าเปรี้ยวหรือเปรี้ยวมากกว่าหวานแตกต่างกันในแต่ละพันธุ์ ถ้าหวานมากกว่าเปรี้ยวเรียกว่า มะยงชิด ถ้าเปรี้ยวมากกว่าหวานเรียกว่า มะยงห่าง มะยงชนิดผลใหญ่ เนื้อหนา รสชาติดีที่น่าสนใจ ได้แก่ มะยงสวนพลูศรีสุโขทัย , สวนนางอ้อนพิษณุโลก , สวนนางล้วนอุตรดิตถ์ , สวนลุงฉิมบางกอกน้อย , สวนลุงเย็นปราจีนบุรี , และมะยงชิดพันธ์ทูลเกล้าที่จังหวัดนครนายก การขยายพันธุ์มะปราง มะปรางเป็นไม้ผลที่มีการเจริญเติบโตช้า ขยายพันธุ์ได้ยากและใช้เวลาในการขยายพันธุ์ยาวนานกว่าไม้ผลที่สำคัญบางชนิด เช่น มะม่วง ส้มโอ และขนุน อย่างไรก็ตามมะปรางสามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด การตอน การทาบกิ่ง การต่อกิ่ง การติดตา และการปักชำ ซึ่งการเพาะเมล็ดมีข้อจำกัดตรงที่มีการกลายพันธุ์จากมะปรางหวานอาจกลายเป็นมะปรางเปรี้ยวหรือหวานอมเปรี้ยว และจากมะปรางผลใหญ่อาจกลายเป็นมะปรางชนิดผลเล็ก มีส่วนน้อยที่การกลายพันธุ์ไปในทางที่ดีกว่าต้นพ่อแม่พันธุ์ และนอกจากนี้การปลูกจากต้นเพาะเมล็ดจะใช้เวลาประมาณ 8 ปี จึงจะเริ่มออกดอกติดผล การตอนมีข้อจำกัดตรงที่กิ่งตอนจะไม่มีรากแก้ว จะต้องมีการเสริมรากภายหลัง ส่วนการทาบกิ่ง การต่อกิ่งและการติดตา จะต้องดำเนินการเพาะต้นตอมะปรางก่อน และการปักชำนั้นจะได้ต้นกล้าที่ไม่มีรากแก้ว จะต้องมีการเสริมมากภายหลังเช่นกัน การขยายพันธุ์มะปรางที่นิยมปฏิบัติกันมากในขณะนี้จะเป็นการทาบกิ่งและการต่อกิ่ง


การขยายพันธุ์แต่ละวิธีมีวิธีการปฏิบัติดังต่อไปนี้

1. การเพาะเมล็ด การขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นวิธีที่ง่ายและสามารถขยายพันธุ์มะปรางได้จำนวนมาก มีข้อเสียที่มีการกลายพันธุ์และให้ผลผลิตช้าประมาณ 7-8 ปี แต่อย่างไรก็ตามยังมีเกษตรกรบางแห่งปฏิบัติอยู่ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากพันธุ์มะปรางที่เป็นต้นกิ่งทาบ หรือต้นต่อยอด มีราคาแพง ต้นละ 150-500 บาท พื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกมะปรางได้ 25 ต้น (ระยะปลูก 8x8 เมตร) ใน 1 ไร่ จะเป็นค่าพันธุ์มะปรางชนิดผลใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นมะปรางหวานหรือมะยงจากสวนที่มีชื่อเสียงดีและเชื่อถือได้มาเพาะเมล็ด ซึ่งต้นเพาะเมล็ดดังกล่าวนั้นอาจจะให้ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ คอยหาทางเปลี่ยนยอดพันธุ์ภายหลัง และเท่าที่ศึกษายังพบว่ามีเกษตรกรบางแห่ง เช่น สุโขทัย อุตรดิตถ์ ใช้วิธีการปลูกมะปรางจากต้นเพาะเมล็ดลงไปในสวนก่อนพอมีอายุได้ 1-2 ปี ดำเนินการเปลี่ยนยอดพันธุ์ชนิดผลใหญ่ภายหลัง ซึ่งวิธีหลังนี้จะใช้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าการซื้อมะปรางพันธุ์ดีมาปลูกโดยตรง ลดความเสี่ยงจากการที่มะปรางบางต้นตาย หรืออาจจะมีขโมยมาลักไปก็ได้ แต่มีข้อจำกัดตรงที่การเปลี่ยนยอดภายหลังนั้น เกษตรกรจะต้องมีความรู้ ความสามารถในการเปลี่ยนยอดพันธุ์มะปรางพันธุ์ดีเป็นอย่างดี จึงจะประสบความสำเร็จ การเพาะเมล็ดมะปรางมีหลายวิธี ซึ่งแตกต่างกันแล้วแต่วัตถุประสงค์ เช่น การเพาะเมล็ดมะปรางเพื่อปลูกโดยตรง เพื่อใช้เป็นต้นต่อยอด เพื่อใช้เป็นต้นตอติดตา เพื่อใช้เป็นต้นตอเสริมราก และเพื่อใช้เป็นต้นตอการทาบกิ่ง ซึ่งแต่ละวัตถุประสงค์มีวิธีการเพาะเมล็ด ดังนี้


1.1 การเพาะเมล็ดมะปรางเพื่อปลูกโดยตรง เป็นต้นตอต่อยอด เป็นต้นตอติดตา และเพื่อเป็นต้นตอเสริมราก ขั้นตอนการเพาะเมล็ด
- ดำเนินการผสมดินปลูก ซึ่งประกอบด้วยดินร่วน 3 ส่วน ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 1 ส่วน และขี้เถ้าแกลบดำ 2 ส่วน ผสมวัสดุดังกล่าวให้เข้ากันดี แล้วนำไปกรอกดินใส่ถุงพลาสติกสีดำที่จัดเตรียมไว้แล้วขนาดถุง 4x7 นิ้ว หรือ 5x9 นิ้ว จัดเรียงไว้ในเรือนเพาะชำ หรือไว้ในที่ร่ม เช่น ใต้ต้นไม้ ไม่ควรเพาะเมล็ดมะปรางกลางแจ้งที่ได้รับแสงแดดโดยตรง เพราะต้นกล้ามะปรางที่ขึ้นมาใหม่ ยอดจะไหม้และมีเปอร์เซ็นต์ต้นตายมาก และถ้าเป็นไปได้ก่อนเรียงถุงพลาสติกสีดำที่กรอกใส่ถุงดังกล่าวแล้วนั้น ควรมีการปูพื้นด้วยผ้าพลาสติก เพื่อป้องกันรากมะปรางบางต้นออกมานอกถุงและดิน ซึ่งเวลาเคลื่อนย้ายถุงต้นมะปรางออกไปปลูก รากมะปรางอาจฉีกขาด มีผลให้มะปรางเหี่ยวเฉา ตายได้ และในการจัดเรียงถุง เพื่อเพาะเมล็ดนั้น ควรจัดเรียงถุงให้เป็นแถวทางด้านกว้าง ประมาณ 10-15 ถุง ส่วนความยาวตามความเหมาะสมจัดเป็นชุด 500-1,000 ถุง และแต่ละชุดควรเว้นช่องว่างไว้ประมาณ 50 เซนติเมตร เพื่อสะดวกในการดูแลรักษาต้นกล้า มะปรางในโอกาสต่อไป

- นำผลมะปรางที่จะใช้เพาะเมล็ด โดยเลือกเฉพาะผลที่สุกและสมบูรณ์มาล้างเอาเนื้อออกให้หมด ผึ่งไว้ในร่ม ไม่ควรนำออกตากแดดเมล็ดมะปรางจะตายนึ่ง หลังจากล้างเอาเนื้อมะปรางออกแล้ว สามารถนำเมล็ดมะปรางไปเพาะเมล็ดได้ ซึ่งก่อนเพาะเมล็ดควรมีการนำเมล็ดมะปรางไปจุ่มสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา ก่อนทำการเพาะเมล็ดถุงแต่ละเมล็ด แต่ถ้ายังไม่พร้อมจะเพาะเมล็ดได้ ก็สามารถเก็บเมล็ดมะปรางไปเพาะในวันต่อๆ ไปได้ แต่ไม่ควรเกิน 30 วัน เพราะถ้าทิ้งไว้นานเกินไป เปอร์เซ็นต์การงอกจะลดลงมาก ในการเพาะเมล็ดควรใช้ไม้ไผ่กลมเล็กๆ แทงลงไปในดินลึกประมาณ 2-3 เซนติเมตร แล้วนำเมล็ดมะปรางมาหยอดลงในแนวนอนกลบเมล็ดด้วยดินเพาะ นำฟางข้าวหรือเศษหญ้าที่แห้งมาคลุมถุงเพาะชำมะปรางบางๆ ลดน้ำให้ความชื้นอยู่เสมอ อย่าให้แห้งหรือแฉะเกินไปประมาณ 5-10 วัน เมล็ดมะปรางจะงอกเป็นต้นกล้าขึ้นมา

- เมื่อเมล็ดมะปรางงอกเป็นต้นกล้าแล้ว ควรมีการรดน้ำให้ปุ๋ยทางใบและมีการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะช่วงมะปรางแตกใบอ่อนใหม่ๆ มักจะมีเพลี้ยไฟมาดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ใบอ่อนมะปรางใบไหม้ ใบไม่สมบูรณ์ในที่สุด การเลี้ยงต้นกล้ามะปรางในเรือนเพาะชำประมาณ 1 ปี ต่อจากนั้นจึงนำมะปรางดังกล่าวไปปลูกโรงแปลงหรือไปใช้เป็นต้นตอต่อยอด เป็นต้นตอติดตาหรือใช้เป็นต้นตอเสริมรากตามแต่ละวัตถุประสงค์


1.2 การเพาะเมล็ดเป็นต้นตอทาบกิ่ง
ขั้นตอนการเพาะเมล็ด

- จัดทำกระบะเมล็ดมะปรางในเรือนเพาะชำหรือใต้ร่มไม้ ซึ่งจะใช้กระบะอิฐบล็อกหรือกระบะไม้ไผ่ก็ใช้ได้ นำผ้าพลาสติกกันฝนมาปูที่พื้น เพื่อป้องกันรากมะปรางลงไปในดินมาก เวลาถอนต้นตอ รากจะขาดมีผลให้ต้นต้นมะปรางเหี่ยวเฉาหรือใช้เวลาตั้งตัวนานหลายวัน
- นำขุยมะพร้าวมาใส่ลงในกระบะอิฐบล็อก หรือกระบะไม้ไผ่ให้มีความสูงของขุยมะพร้าวประมาณ 15-20 เซนติเมตร รดน้ำให้ความชื้นกระบะอยู่เสมอ

- นำเมล็ดมะปรางที่จัดเตรียมไว้เช่นเดียวกันการเพาะลงถุงพลาสติกสีดำ มาจุ่มสารเคมีป้องกันเชื้อราแล้วนำเมล็ดดังกล่าวไปหว่านลงกระบะเพาะ ให้เมล็ดมะปรางกระจัดกระจายทั่วกระบะ อย่าให้เมล็ดมะปรางติดกันเป็นกระจุก ต่อจากนั้นนำขุยมะพร้าวมาหว่านกลบเมล็ดมะปรางอีกครั้ง ความหนาประมาณ 3-5 เซนติเมตร ให้ฟางข้าวหรือเศษหญ้าคลุมกระบะบางๆ รดน้ำให้ความชื้นกระบะเพาะอยู่เสมออย่าให้แห้งหรือแฉะเกินไป ประมาณ 5-10 วัน เมล็ดมะปรางจะงอกเป็นต้นกล้า

- เมื่อเมล็ดงอกเป็นต้นกล้าแล้ว ควรมีการรดน้ำ ให้ปุ๋ยทางใบและมีการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงเสมอ เลี้ยงต้นกล้าอยู่ในกระบะเพาะ 6 เดือน -1 ปี ถอนต้นตอไปทาบกิ่งได้



2. การตอน
เป็นวิธีการทำให้มะปรางออกรากในขณะที่กิ่งยังติดอยู่กับต้นพันธุ์ดี เป็นวิธีที่ปฏิบัติมานานแล้ว แต่มีข้อจำกัดที่กิ่ง ตอนไม่มีรากแก้ว การเพาะเมล็ดหรือต้นทาบกิ่งอาจเจริญเติบโตช้า หรือโค่นล้มได้ง่าย อย่างไรก็ตามสามารถปรับปรุงแก้ไขได้โดยการปลูกต้นกิ่งตอนลงไปก่อน แล้วมีการเสริมรากภายหลัง ในการตอนมะปรางควรตอนในช่วงฤดูฝน

วิธีการตอน
- เลือกต้นมะปรางที่จะตอนจากต้นมะปรางพันธุ์ดีที่สมบูรณ์ มีอายุ 4-5 ปีขึ้นไป ซึ่งกิ่งที่จะใช้ตอนนั้นควรเป็นกิ่งที่ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป เป็นกิ่งเพสลาด สังเกตที่ผิวเปลือกของกิ่งเป็นสีน้ำตาลปนเขียวเป็นกิ่งที่สมบูรณ์ไม่เป็นกิ่งที่เป็นโรคหรือแมลงรบกวนกิ่งขนาดเท่าแท่งดินสอดำหรือมีขนาดเล็ก
กว่าเล็กน้อย
- ควั่นกิ่งที่จะตอนรอบกิ่งมะปรางสองรอยตรงบริเวณใต้ทางแยกของกิ่ง ให้รอยแผลห่างกันเท่ากับความยาวของเส้นรอบวงของกิ่งหรือประมาณ 2-3 เซนติเมตร ต่อ จากนั้นใช้มีดกรีดระหว่างรอยควั่นเป็นแนวตรงจากรอยควั่นด้านบนลงล่างแล้วลอกเปลือกออกให้หมด นำสันมีดตอนมาขูดเยื่อเจริญของรอยควั่นออกโดยขูดเบาๆ และที่สำคัญอย่าใช้ด้านคมของมีดตอนขูดเนื้อเจริญ เพราะอาจขูดเข้าไปในเนื้อไม้ลึกเกินไป มีผลทำให้กิ่งมะปรางแห้งตายได้ หลังจากควั่นกิ่งแล้วควรทิ้งไว้ประมาณ 10 - 15 วัน ค่อยหุ้มกิ่งตอนด้วยขุยมะพร้าวต่อไป
- นำสารเร่งรากที่ใช้กับไม้กึ่งเนื้อเข็งทาบบริเวณแผลด้านบนเพื่อกระตุ้นให้มะปรางออกรากได้เร็วขึ้น - นำขุยมะพร้าวที่พรมน้ำบีบจนน้ำหมดแล้ว ใส่ในถุงพลาสติกขนาด 3 x 7 นิ้ว หรือ 4 x 6 นิ้ว มัดปากถุงให้เรียบร้อย
- นำดินที่จัดเตรียมไว้แล้วมาหุ้มรอยแผลด้านบนบีบดินให้แน่น แล้วนำขุยมะพร้าวที่เตรียมไว้ในถุงพลาสติกมาหุ้มกิ่งตอนโดยใช้มีดกรีดตรงกลางถุงแล้วแบะถุงออกหุ้มรอบแผล นำเชือกฟางมัดด้านบนและล่างให้แน่น ไม่ให้ขุยมะพร้าวที่หุ้มหมุนได้ ซึ่งถ้ามัดไม่แน่นแล้ว วัสดุที่หุ้มกิ่งตอนจะสูญเสียความชื้นเร็วเกินไป มะปรางจะออกรากช้าหรือไม่ออกรากเลย ซึ่งช่วงที่ตอนอยู่นั้นควรมีการรดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ อย่าให้ขุยมะพร้าวแห้ง หลังจากนั้นประมาณ 1-2 เดือน จะมีรากงอกออกมา ทิ้งเอาไว้ก่อนจนกว่ารากมะปรางจะมีสีน้ำตาลและมีรากฝอยออกมา
- เมื่อกิ่งตอนมะปรางออกรากดีแล้ว ให้ตัดกิ่งตอนมะปรางไปแช่น้ำประมาณ 1-2 ชั่วโมง ตัดแต่งกิ่งและใบที่มากเกินไปออกเพื่อลดการคายน้ำ ต่อจากนั้นนำกิ่งตอนไปชำลงถุงพลาสติกสีดำ ขนาดถุง 8x10 นิ้ว ซึ่งประกอบด้วยดินปลูกเป็นดินร่วน 3 ส่วน ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 1 ส่วน และขี้เถ้าแกลบดำ 2 ส่วน ดูแลรักษาต้นกิ่งตอนในเรือนเพาะชำหรือใต้ต้นไม้ที่มีแสงแดดรำไร มีการรดน้ำให้ความชื้นอยู่เสมอ มีการพ่นปุ๋ยทางใบและสารป้องกันกำจัดโรคและแมลงเป็นระยะตามความเหมาะสม หลังจากนั้น 2-3 เดือน เมื่อเห็นต้นกิ่งตอนแข็งแรงดีแล้ว ให้นำไปปลูกลงแปลงหรือปลูกลงสวนต่อไป



การเตรียมดินและการปลูกมะปราง

มะปรางเป็นไม้ผลเมืองร้อนที่ปลูกง่ายปลูกได้ในดินหลายชนิด ทั้งดินเหนียว ดินร่วนและดินร่วนปนทราย และปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย มีอัตราการเจริญเติบโตช้ากว่าไม้ผลที่สำคัญหลายชนิด แต่มีอายุยืนยาว 80-100 ปี ส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากมะปรางเป็นไม้ผลที่มีระบบรากแก้วหยั่งลึกลงไปในดินในแนวดิ่ง มีรากแขนงและรากฝอยหาอาหารในระดับผิวเล็กน้อย ในช่วงแรกที่มะปรางมีอายุน้อย 1-3 ปี รากมะปรางจึงหาอาหารเพื่อการเจริญเติบโตได้ไม่มาก

ฉะนั้นในการปลูกมะปรางเพื่อเป็นการค้าที่มีการเจริญเติบโตเร็วและให้ผลผลิตสูงต่อไปในอนาคตนั้น เกษตรกรผู้ปลูกมะปรางจะต้องเตรียมดินปลูกที่เหมาะสม การเตรียมดินปลูก ในพื้นที่ราบและที่ดอน เช่น จังหวัดสุโขทัย อุตรดิตถ์ พิจิตร และนครสวรรค์ ควรมีการไถเตรียมดิน กำจัดวัชพืชในช่วงฤดูแล้ง พอต้นฤดูฝนทำการไถพรวนแล้วขุดหลุมปลูก ส่วนในที่ลุ่มและมีน้ำขัง เช่น แถบจังหวัดนนทบุรี อ่างทอง ควรปลูกมะปรางแบบสวนยกร่องโดยให้ร่องสูงจากระดับน้ำประมาณ 1-1.5 เมตร สันร่องกว้าง 6 เมตร ร่องน้ำกว้าง 1.5 เมตร ขุดหลุมตรงกลางสันร่อง ปลูกแบบแถวเดียว การขุดหลุม หลังจากเตรียมพื้นที่เรียบร้อยแล้วให้ขุดหลุมกว้าง ยาว และลึกอย่างละ 75-100 เซนติเมตร อย่างน้อยที่สุด 50 เซนติเมตร (1 ศอก) แยกดินเป็น 2 ส่วน ชั้นบนแยกไว้ด้านหนึ่ง ชั้นล่างแยกไว้อีกด้านหนึ่ง ไม่ให้ปะปนกัน เมื่อขุดหลุมเสร็จแล้วตากดินแต่ละหลุมไว้ 15-20 วัน ต่อจากนั้นนำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักใส่ลงไปในหลุม ๆ ละ 2-3 ปี๊ป ผสมดินกับปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักให้เข้ากันดี โดยเอาดินบนลงก่อนแล้วค่อยตามด้วยดินชั้นล่างพูนดินหลุมปลูกสูงจากพื้นดินปกติประมาณ 5-6 นิ้ว เผื่อไว้สำหรับดินในหลุมยุบตัวลงภายหลัง ระยะการปลูก ในพื้นที่ราบหรือที่ดอน ควรใช้ระยะการปลูกระหว่างต้น 8 เมตร ระหว่างแถว 8 เมตร (4x4วา)

หรือจะปลูกแถวชิด ใช้ระยะห่างต้น 4 เมตร และระหว่างแถว 4 เมตร (2x2วา) ก็ใช้ได้แต่จะต้องมีการตัดต้นตรงกลาง ทิ้งภายหลัง เมื่อทรงพุ่มชนกันเหลือ 8x8 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ระยะ 8x8 เมตร จะปลูกมะปรางได้ 25 ต้น ระยะชิด 4x4 เมตร จะต้องใช้ต้นพันธุ์ 50 ต้นต่อไร่ ส่วนการปลูกแบบสวนยกร่องควรใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 6 เมตร ระหว่างแถว 6 เมตร ปลูกแถวเดียวในพื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกมะปรางได้ 45 ต้น

การเตรียมพันธุ์ ต้นพันธุ์มะปราง หรือกิ่งพันธุ์มะปรางที่พร้อมจะปลูกลงแปลงในสวนนั้น ควรมีลักษณะแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่มีโรคและแมลงรบกวน และมีการชำอยู่ในถุงพลาสติกสีดำ หรืออยู่ในวัสดุเพาะชำอย่างน้อย 2-3 เดือน ไม่ควรเป็นกิ่งพันธุ์ที่มาจากกิ่งทาบที่ตัดลงมาจากต้นใหม่ ๆ หรือเป็นต้นพันธุ์ที่เคลื่อนย้ายมาจากต่างจังหวัดใหม่ ๆ เพราะต้นพันธุ์มะปรางเหล่านี้จะปรับตัวเข้ากับพื้นที่ปลูกใหม่ไม่ทัน จะมีเปอร์เซ็นต์ต้นตายมาก และก่อนที่จะนำต้นพันธุ์มะปรางไปปลูกลงแปลงหรือลงสวนควรมีการรดน้ำต้นมะปรางให้ชุ่ม เวลานำถุงพลาสติกออกจากต้น มะปรางดินปลูกจะไม่แตกง่าย ต้นมะปรางจะไม่ช้ำหรือชะงักการเจริญเติบโต


การปลูก
เมื่อมีการเตรียมต้นพันธุ์และเตรียมหลุมปลูกดีแล้ว ในแหล่งที่มีระบบน้ำชลประทานดีจะปลูกมะปรางควรปลูกต้นฤดูฝนเพราะต้นไม้จะได้รับน้ำฝนและความชื้นอย่างสม่ำเสมอ เจริญเติบโตได้เร็วขึ้นและเป็นการประหยัดแรงงานในการรดน้ำ ส่วนเวลาปลูกนั้นควรปลุกมะปรางในช่วงตอนเช้าหรือตอนเย็น ซึ่งเป็นช่วงที่มีอากาศไม่ร้อนเกินไป นำต้นพันธุ์มะปรางที่จะปลูกไปวางไว้แต่ละหลุมปลูก ถ้าเป็นต้นกิ่งทาบควรใช้มีดกรีดพลาสติกที่พันโคนต้นออกเสียก่อน ต่อจากนั้นถ้าเป็นกิ่งพันธุ์ที่ชำอยู่ในถุงพลาสติกสีดำ ให้ใช้มีดกรีดด้านข้างก้นถุงพลาสติกจะหลุดออก ต่อจากนั้นยกต้นมะปรางไปปลูกลงหลุมปลูกที่จัดเตรียมไว้ ความลึกอย่างน้อย 25 เซนติเมตร กลบดินลงไปในหลุมเล็กน้อย แล้วดึงถุงพลาสติกสีดำส่วนที่เหลือขึ้นมา ใช้มีดตัดถุงออกจากต้นมะปราง

การปลูกแบบนี้ดินปลูกที่อยู่กับถุงเพาะชำต้นมะปรางจะไม่แตกออก มะปรางจะตั้งตัวได้ดี กลบดินปลูกลงหลุมให้สูงกว่าระดับดินเดิมเล็กน้อย ใช้มือกดบริเวณรอบ ๆ โคนต้นให้แน่น นำหลักไม้ไผ่ เช่น ไม้ลวกหรือไม้เลี้ยง ยาว 80-100 เซนติเมตร ปักหลักที่โคนต้น ผูกต้นมะปรางกับหลักเพื่อกันลมโยก ถ้าบริเวณนั้นมีฟางข้าวหรือเศษหญ้าแห้ง ควรนำมาคลุมโคนต้นด้วย ต่อจากนั้นรดน้ำต้นมะปรางที่ปลูกใหม่อยู่เสมอ

ข้อควรระวังถ้าพื้นที่ปลูกมีปลวกมาก ควรมีการใส่สารเคมีป้องกันกำจัดปลวกหรือแมลงในดินรองก้นหลุมก่อนปลูกด้วย


 www.nakhonnayok.go.th/data/mapang.html -




[--PAGEBREAK--]

มะยงชิด - มะปรางหวาน





ลักษณะโดยทั่วไป ของมะปรางหรือมะยงชิด


มะปราง เป็นไม้ผลที่มีทรงต้นค่อนข้างแหลมถึงทรงกระบอกมีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบ มะปรางเป็นไม้ผลเมืองร้อนไม่มีการผลัดใบคือ จะมีใบสีเขียวตลอดทั้งปี มีชื่อสามัญว่า Marian plum ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Boueaburmanica Griff. ตระกูลเดียวกันมะม่วง มะกอก คือ ตระกูล Amacardiaceae มีถิ่นกำเนิดทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พม่า ไทย ลาว และมาเลเซีย





ลักษณะลำต้นมะปรางหรือมะยงชิด


ลำต้น
 มะปรางเป็นไม้ผลที่มีทรงต้นค่อนข้างแหลมถึงทรงกระบอกมีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบ ทรงต้นมีขนาดสูงปานกลาง-ใหญ่ ประมาณ 15-30 เมตร มีระบบรากแก้วเข็งแรง จึงทนอยู่ในสภาพที่แห้งแล้งได้ดี


ลักษณะใบ มะปรางหรือมะยงชิด

ใบ
มะปรางเป็นไม้ผลที่มีใบมากแน่นทึบ ใบคล้ายใบมะม่วงแต่มีขนาดเล็กกว่า และใบเรียวยาว ขนาดใบโดยเฉลี่ยกว้าง 3.5 เซนติเมตร ยาว 14 เซนติเมตร ใบจะเกิดเป็นคู่อยู่ตรงกันข้าม ขอบใบเรียบแผ่นใบเหนียว ใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่ๆ จะมีสีม่วงแดง มีเส้นใบเด่นชัด จากนั้นค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเขียวเป็นมัน ปีหนึ่งมะปรางจะแตกใบอ่อน 1-3 ครั้ง





ลักษณะดอก มะปรางหรือมะยงชิด

ดอก
ดอกมะปรางจะมีลักษณะเป็นช่อเกิดบริเวณปลายกิ่งแขนงที่อยู่ภายในทรงพุ่มและนอกทรง พุ่ม ช่อดอกยาว 8-15 เซนติเมตร ดอกย่อมมีขนาดเล็กประกอบด้วยดอกสมบูรณ์เพศ หรือดอกกระเทยและดอกตัวผู้ ดอกเมื่อบานจะมีสีเหลือง ในประเทศไทยดอกมะปรางจะบานช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม





ลักษณะผล มะปรางหรือมะยงชิด

ผล
มะปรางมีลักษณะทรงกลมรูปไข่ ปลายค่อนข้างเรียวแหลม มะปรางช่อหนึ่งจะมีผล 1-15 ผล รูปร่างและขนาดของผลมะปรางจะแตกต่างกันในแต่ละพันธุ์ ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อนเมื่อแก่หรือสุกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือเหลืองอมส้ม เปลือกผลนิ่ม



ลักษณะเมล็ด มะปรางหรือมะยงชิด

เมล็ด

มะปรางผลหนึ่งจะมี 1 เมล็ด ส่วนหุ้มเมล็ดจะเป็นเส้นใย เนื้อของเมล็ดมีสีชมพูอมม่วง มีรสขมและฝาดใน 1 เมล็ดสามารถเพาะกล้าเป็นต้นมะปรางได้ 1 ต้น

 


ความแตกต่างของมะปรางหวานกับมะยงชิด


ลักษณะโดยรวม
 โดยทั่วไปแล้ว มะปรางกับมะยงชิด เป็นพื้ชในกลุ่มเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องจากมีการปลูกโดยเมล็ดและมีการกลายพันธุ์ทำให้มีลักษณะที่แสดงออกแตกต่างกันไป จึงทำให้มะปรางถูกเรียกแยกออกเป็นหลายกลุ่ม เช่น มะปรางหวาน มะยงชิดมาก มะยงชิดน้อย มะปรางเปรี้ยว กาวาง ซึ่งจะเห็นว่า การแบ่งลักษณะมะปรางออกเป็นกลุ่มได้ 5 กลุ่ม โดยใช้ลักษณะรสชาดเป็นหลัก และขนาดผลร่วมด้วย ซึ่งลักษณะทรงพุ่ม ขนาดของใบ การเรียงตัวของใบ เส้นใบ สีของยอดอ่อน รสของยอดอ่อน ยังไม่มีใครศึกษาลักษณะเหล่านี้เพื่อคัดแยกกลุ่มของมะปราง และจากการแยกของเกษตรกร หรือนักวิชาการ บุคคลทั่วไป ก็ไม่ใช้ลักษณะเหล่านี้ เนื่องจากใช้ลักษณะเหล่านี้แล้วแยกออกไม่เด่นชัด  นอกเหนือจากรสชาดและขนาดผล เท่านั้น

มะปรางหวาน

1. ผลดิบมีรสมัน
2. ผลสุกมีรสหวาน-หวานจืด
3. โดยรวมขนาดจะเล็กกว่ามะยงชิด
4. บางสายพันธุ์เมื่อทานแล้วจะคันคอ
5.ผลสุกจะมีสีออกเหลือง



มะยงชิด

1. ผลดิบมีรสเปรี้ยว
2. ผลสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว
3. โดยรวมผลจะมีขนาดใหญ่กว่ามะปรางหวาน
4. โดยรวมไม่ทำให้เกิดอาการคันคอ
5. ผลสุกจะมีสีออกเหลืองอมส้ม




ปฏิทินการปฏิบัติดูแลรักษา

การปฏิบัติเพื่อเตรียมความสมบูรณ์ของต้นหลังเก็บเกี่ยว

เมษายน-พฤษภาคม

 เป็นช่วงหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต จึงต้องเร่งบำรุงต้นให้สมบูรณ์ จึงเริ่มต้นจาก การตัดแต่งกิ่ง โดยตัดกิ่งที่โรคแมลงทำลายเสียหาย เช่น กิ่งแห้ง กิ่งฉีกหัก กิ่งน้ำค้าง กิ่งซ้อนกันออก การกำจัดวัชพืช โดยทำความสะอาดแปลงและกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย จะใส่เมื่อตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชแล้ว ใส่ปุ๋ยเพื่อเร่งการแตกยอดใหม่ โดยใส่ปุ๋ยคอก อัตรา 1-3 ปี๊ป / ต้น ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 2 กิโลกรัม/ ต้น การให้น้ำ ให้น้ำตามปกติอย่าปล่อยให้ขาดน้ำ

มิถุนายน - สิงหาคม
 เป็นระยะที่มะปรางแตกใบอ่อนและเจริญเติบโตทางใบ จึงเน้น การป้องกันกำจัดโรคและแมลง โดยเฉพาะโรคแอนแทรคโนส ราดำ ราแป้ง ซึ่งจะทำลายใบและกิ่ง ถ้ามีการระบาดแนะนำให้ใช้ ้เบนโนมิล แคพแทน แมนโคเซป ส่วนแมลงที่ทำลายใบและลำต้น เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย แมลงค่อมทอง เพลี้ยจั๊กจั่น ถ้ามีการระบาดแนะนำให้ใช้สารเคมีป้องกันจำพวก คาร์บาริล การให้น้ำ ให้น้ำถ้าฝนทิ้งช่วง อายุ 1 ปีขึ้นไป ให้น้ำ 5-7 วัน/ ครั้ง การกำจัดวัชพืช  ดูแลอย่าให้วัชพืชขึ้นรก เพราะจะเป็นแหล่งสะสมโรคแมลง
 
กันยายน - ตุลาคม 
เป็นระยะที่ใบเริ่มแก่จัด ต้นมะปรางจะเข้าสู่ ระยะฟักตัวและสะสมอาหาร การปฏิบัติดูแลรักษาช่วงนี้ ควรงดการให้น้ำถ้าเป็นในที่ลุ่ม ปลูกแบบยกร่อง ให้ลดระดับน้ำในร่อง เพื่อให้พืชฟักตัวสะสมอาหารและไม่แตกใบอ่อน การใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยเพื่อช่วยในการสร้างตาดอก ใช้สูตร 12-24-12 และ งดการใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง ถ้าต้นมะปรางอายุ 4-5 ปี ใส่ปุ๋ยอัตรา 0.5 กิโลกรัม/ ต้น การกำจัดวัชพืช ให้กำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่มออกให้หมด




การปฏิบัติในช่วงการออกดอกติดผลอ่อน


พฤศจิกายน

เป็นช่วงระยะเริ่มแทงช่อดอกและดอกเริ่มบานในช่วงปลายเดือน ดังนั้น การให้น้ำ จะต้องระมัดระวัง โดยเริ่มให้น้ำเล็กน้อย เมื่อแทงช่อดอกยาวประมาณ 7 ซม. แค่หน้าดินเปียกและให้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ดอกมีความสมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้ติดผลดี การป้องกันกำจัดโรคแมลง ควรป้องกันกำจัดแมลงประเภทเพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย แมลงค่อมทอง ครั้งที่ 2 ช่อดอกยืดแล้วแต่ยังไม่บาน การปฏิบัติอื่นๆ  เช่น ในช่วงที่มะปรางเริ่มแทงช่อดอก ให้นำปุ๋ยคอกสด ๆ มากองในสวนเพื่อเลี้ยงแมลงวัน สำหรับช่วยในการผสมเกสร
 
ธันวาคม
เป็นระยะที่ดอกทยอยบานและติดผลขนาดเล็ก จึงต้องปฏิบัติดูแลรักษาเป็นกรณีพิเศษ โดย การให้น้ำเมื่อติดผลแล้วให้เพิ่มปริมาณน้ำมากขึ้นที่ละน้อย อย่าให้แบบทันที่ซึ่งอาจมีผลต่อการร่วงของผลอ่อน การใส่ปุ๋ย  เมื่อติดผลอ่อนขนาดหัวไม้ขีด ให้ใส่ปุ๋ยเร่งการเจริญเติบโตของผล คือ ใส่ปุ๋ยเคมีที่มีตัวท้ายสูง เช่น 13-13-21 อัตรา 1-2 กก./ ต้น (ประมาณตามอายุ/ขนาดของทรงพุ่ม) การป้องกันกำจัดโรคแมลง เมื่อดอกบาน ให้หยุดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงทุกชนิดทันที ระยะผลโตขนาดหัวไม้ขีด ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย โดยใช้คาร์บาริล และผสมสารเคมีป้องกันกำจัดโรครา เช่น เบนโนบิล ไธอะเบนดาโซล ป้องกันโรคแอนแทรคโนส ราดำ ราแป้ง


การปฏิบัติในช่วงผลกำลังเจริญเติบโต





มกราคม

เป็นระยะที่ผลกำลังเจริญเติบโต การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ 3-5 วัน/ครั้ง การป้องกันกำจัดโรคแมลง ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย โดยใช้คาร์บาริล และผสมสารเคมีป้องกันกำจัดโรครา เช่น เบนโนบิล ไธอะเบนดาโซล ป้องกันโรคแอนแทรคโนส ราดำ ราแป้ง ให้ห่อผลเมื่อผลอายุ 3 อาทิตย์ เพื่อป้องกันแมลงวันผลไม้ นก และเพื่อเพิ่มคุณภาพผล

 
การปฏิบัติในช่วงผลแก่และเก็บเกี่ยว


 
กุมภาพันธ์

เป็นระยะผลเริ่มแก่และเก็บเกี่ยว นับเวลาจากดอกบานถึงผลแก่ ประมาณ 75 วัน ขึ้นกับพันธุ์และสิ่งแวดล้อม (อุณหภูมิความชื้น)

 การให้น้ำ
ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและลดปริมาณให้น้อยลงเมื่อผลเริ่มแก่ แต่ต้องสม่ำเสมอเพื่อป้องกันผลแตกเมื่อมีฝนหลงฤดู


 การใส่ปุ๋ย
ในระยะที่มะปรางเริ่มเข้าไคล ควรใส่ปุ๋ยเพิ่มคุณภาพของผล คือใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 อัตรา 1-2 กก./ ตัน และปุ๋ยทางใบ สูตร 13-0-46 หรือ 10-20-30 อัตรา 2-3 ช้อนแกง/ น้ำ 20 ลิตร ฉีด 2 ครั้ง ห่างกัน 1 สัปดาห์ การป้อง
กันและกำจัดโรคแมลง ควรมีการห่อผลเพื่อป้องกันแมลงวันผลไม้ และนกจิกกิน
 
กุมภาพันธ์ - มีนาคม
เป็นระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิต การเก็บเกี่ยว ควรเก็บเกี่ยวผลที่แก่ คือมีลักษณะบริเวณขั้วของผลจะมีสีเหลืองเข้ม โดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เก็บผลให้มีก้านติดมาด้วยอย่างน้อย 4-5 ซม. แล้วนำมาไว้ที่ร่ม ระวังจะช้ำเนื่องจากมะปรางเป็นผลไม้ผิวบาง



การขยายพันธุ์มะปราง / มะยงชิด

 
มะปรางเป็นไม้ผลที่มีการเจริญเติบโตช้า ขยายพันธุ์ได้ยากและใช้เวลาในการขยายพันธุ์ยาวนานกว่าไม้ผลที่สำคัญบางชนิด เช่น มะม่วง ส้มโอ และขนุน อย่างไรก็ตามมะปรางสามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด การตอน การทาบกิ่ง การต่อกิ่ง การติดตา และการปักชำ ซึ่งการเพาะเมล็ดมีข้อจำกัดตรงที่มีการกลายพันธุ์จากมะปรางหวานอาจกลายเป็นมะปรางเปรี้ยวหรือหวานอมเปรี้ยว และจากมะปรางผลใหญ่อาจกลายเป็นมะปรางชนิดผลเล็ก มีส่วนน้อยที่การกลายพันธุ์ไปในทางที่ดีกว่าต้นพ่อแม่พันธุ์ และนอกจากนี้การปลูกจากต้นเพาะเมล็ดจะใช้เวลาประมาณ 8 ปี จึงจะเริ่มออกดอกติดผล การตอนมีข้อจำกัดตรงที่กิ่งตอนจะไม่มีรากแก้ว จะต้องมีการเสริมรากภายหลัง ส่วนการทาบกิ่ง การต่อกิ่งและการติดตา จะต้องดำเนินการเพาะต้นตอมะปรางก่อน และการปักชำนั้นจะได้ต้นกล้าที่ไม่มีรากแก้ว จะต้องมีการเสริมมากภายหลังเช่นกัน

การขยายพันธุ์มะปรางที่นิยมปฏิบัติกันมากในขณะนี้จะเป็นการทาบกิ่งและการต่อกิ่ง ซึ่งการขยายพันธุ์แต่ละวิธีมีวิธีการปฏิบัติดังต่อไปนี้

การเพาะเมล็ด
การขยายพันธุ์โดยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นวิธีที่ง่ายและสามารถขยายพันธุ์มะปรางได้จำนวนมาก มีข้อเสียที่มีการกลายพันธุ์

การตอน
เป็นวิธีการทำให้มะปรางออกรากในขณะที่กิ่งยังติดอยู่กับต้นพันธุ์ดี เป็นวิธีที่ปฏิบัติมานานแล้ว แต่มีข้อจำกัดที่กิ่ง ตอนไม่มีรากแก้ว การเพาะเมล็ดหรือต้นทาบกิ่งอาจเจริญเติบโตช้า หรือโค่นล้มได้ง่าย

การทาบกิ่ง
เป็นวิธีการขยายพันธุ์มะปรางที่นิยมปฏิบัติมากที่สุดเพราะจะได้ต้นมะปรางพันธุ์ดีที่ระบบรากแก้วจากต้นตอ สามารถคัดเลือกกิ่งพันธุ์ดีได้ค่อนข้างใหญ่และยาวกว่ากิ่งปักชำ ให้มีการกลายพันธุ์และให้ผลผลิตเร็วประมาณ 4-5 ปี หลังจากปลูก นอกจากนี้การทาบกิ่งมะปรางให้เทคนิคและความชำนาญน้อยกว่าการต่อยอด และการติดตา ทั้งนี้เพราะทั้งกิ่งพันธุ์และต้นตอมะปรางต่างก็มีรากคอยเลี้ยงต้นเดิม อยู่แล้ว โดยที่ต้นตอมะปรางที่ใช้ทาบกิ่งจะปลูกอยู่หรือถูกอัดขุยมะพร้าวที่มีความชื้นอยู่เสมอในถุงพลาสติกหรือในภาชนะพลาสติกขนาดเล็ก ส่วนของกิ่งพันธุ์ดีก็เป็นต้นมะปรางที่ปลูกอยู่กับต้นอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามการทาบกิ่งมีข้อจำกัดตรงที่จะต้องมีการเพาะกล้าต้นมะปรางเป็นต้นตออายุ 6 เดือน - 1 ปีก่อน จึงนำมาทาบกิ่งได้

การต่อกิ่งหรือการเสียบยอด
การต่อกิ่ง หรือการเปลี่ยนยอดมะปราง เป็นวิธีการขยายพันธุ์มะปรางที่นิยมปฏิบัติมากอีกวิธีหนึ่ง สามารถขยายพันธุ์ได้ปริมาณมาก และเป็นการประหยัดกิ่งพันธุ์ดีหรือยอดพันธุ์ดีได้ดีกว่าการตอนและการทาบกิ่ง
 
การติดตา
เป็นการนำตาของมะปรางที่สมบูรณ์เพียงตาเดียวจากต้นพันธุ์ดีไปสอดใส่ลงบนส่วนของมะปรางอีกต้นหนึ่งซึ่งเป็นต้นตอและเมื่อส่วนของมะปรางทั้งสองเชื่อมติดกันและเจริญเติบโตเป็นต้นเดียวกันแล้ว จากตาพันธุ์ดีเพียงตาเดียวจะทำหน้าที่เป็นยอดของต้นใหม่และมีส่วนต้นตอเป็นรากของมะปรางต้นใหม่ด้วย ต้นตอมะปรางที่จะนำมาติดตานั้นควรเป็นต้นตอที่ใส่ถุงเลี้ยงอยู่ในเรือนเพาะชำอายุ 1-2 ปี หรือเป็นต้นตอเพาะเมล็ดที่ปลูกลงแปลง ในสภาพสวนแล้ว 1-2 ปี ก็สามารถติดตาได้ การติดตามะปรางนั้นต้องใช้ความชำนาญค่อนข้างสูง ตามะ
ปรางบอบซ้ำได้ง่าย ผู้ติดตาต้องใช้มีดที่คม สะอาดและปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง
 
การปักชำ
มะปรางเป็นไม้ผลที่มีกิ่งหรือยอดเล็ก ๆ จำนวนมาก สามารถนำมาปักชำให้ออกรากเป็นมะปรางต้นใหม่ได้ ไม่มีการกลายพันธุ์ประหยัดยอดพันธุ์ได้ดีกว่าการตอนและการทาบกิ่ง และสามารถขยายพันธุ์ได้จำนวนมาก

 





ที่มา 
www.geocities.com/Akkachai998

www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=5020.0 -




จิรวรรณ โรจนพรทิพย์

ร.ต.ต.อำนวย (ดาบนวย) หงษ์ทอง ชวนเที่ยวงาน มะปรางหวาน มะยงชิด นครนายก


ตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์จนถึงต้นเดือนเมษายน ตรงกับช่วงการจัดงานมะยงชิด มะปรางหวาน ของดีจังหวัดนครนายก หากใครมีโอกาสแวะผ่านจังหวัดนครนายกอย่าลืมแวะเลือกซื้อผลไม้ของดีของจังหวัดนครนายก หรือใครสนใจเที่ยวสวน สัมผัสชีวิตชาวสวน ก็ขอแนะนำให้ติดต่อขอเยี่ยมชม "สวนนพรัตน์" ตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ 99 หมู่ที่ 10 ชุมชนบ้านดงละคร ตำบลดงละคร อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก

ร.ต.ต.อำนวย หงษ์ทอง หรือ ที่รู้จักกันดีในชื่อ "ดาบนวย" ประธานคณะกรรมการบริหารชมรมชาวสวนมะปรางนครนายก เจ้าของสวนนพรัตน์ สะสมประสบการณ์ในการปลูกมะปรางหวาน-มะยงชิดมายาวนานถึง 30 ปีแล้ว ปัจจุบันดาบนวยอายุเฉียด 60 ปีแล้ว เกิดและเติบโตภายในสวนมะปราง ตำบลดงละคร จังหวัดนครนายก เมื่อเรียนจบก็ไปบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจที่จังหวัดชลบุรีประมาณ 3 ปี ก็ได้ย้ายกลับมาประจำที่จังหวัดนครนายก ก็เริ่มสนใจทำสวนมะปรางเป็นรายได้เสริม ดาบนวยฟื้นความหลังให้ฟังว่า เมื่อตอนเด็กๆ จำได้ว่า มะปรางพื้นเมืองที่มีขนาดลูกเล็ก รสชาติหวาน ขนาด 20-30 ลูก/กิโลกรัม ขายในราคากิโลกรัมละ 3-5 บาทเท่านั้น แต่เมื่อ 30 ปีก่อน ผมมีโอกาสซื้อมะปรางผลใหญ่ไปฝากผู้บังคับบัญชา ขายได้กิโลกรัมละ 50-60 บาท เมื่อเทียบกับรายได้ตำรวจในขณะนั้น เพียงเดือนละ 700-800 บาท หากซื้อมะปราง 10 กิโลกรัม ก็เท่ากับหมดเงินเดือนไปครึ่งเดือน

ดาบนวย บอกว่า ตนมั่นใจว่า อาชีพนี้จะสร้างรายได้ที่ดี ในช่วงปี พ.ศ. 2522-2523 จึงได้รวบรวมรายได้จากเงินเดือนและเงินกู้จากสหกรณ์ มาลงทุนซื้อที่ดินในราคาไร่ละ 6,000 บาท สามารถปลูกมะปรางได้ จำนวน 10 ไร่ ในสมัยนั้น มีสวนที่ปลูกมะปรางหวานลูกใหญ่เพียงไม่กี่ราย ผมก็ขอผลมะปรางที่หล่นจากโคนต้นมาเพาะเมล็ด และอาศัยเทคนิคการทาบกิ่งจากสวนเกษตรกรที่มีมะปรางผลใหญ่ ลองผิดลองถูกกันไปเรื่อย มาได้ผลในปีที่ 3 หลังจากนั้นก็เริ่มคัดเลือกกิ่งพันธุ์ที่มีคุณภาพดีตามที่ต้องการ โดยขอซื้อกิ่งพันธุ์ ขนาด 50-80 เซนติเมตร จากเกษตรกรในราคากิ่งละ 200-300 บาท

เริ่มลงทุนปลูกมะปรางตอนแรกจำนวน 30 ต้น เพราะไม่มีทุนและยังไม่แน่ใจว่า ปลูกแล้วจะดีจริงหรือไม่ ปลูกไปแล้วก็เกิดปัญหาตามมาจริงๆ เพราะตำบลดงละคร มักเกิดประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเป็นประจำทุกปี แหล่งน้ำหรือบ่อน้ำโบราณ จะมีเส้นรอบวงประมาณ 2 เมตร และต้องขุดลึกลงไปประมาณ 15 เมตร จึงจะเจอตาน้ำขึ้นมาใช้ได้ พอเราปั๊มน้ำขึ้นมาใช้จริงๆ เพียงแค่ 30 นาที น้ำก็หมดแล้ว น้ำก็ไม่พอ ทำไปก็มีปัญหา

ดาบนวยคิดว่า สวนมะปรางเนื้อที่ 10 ไร่ ควรมีสระน้ำสัก 3-4 ไร่ จึงตัดสินใจซื้อที่ดินบริเวณข้างเคียงไร่ละ 10,000 บาท และขุดหน้าดินไปขาย เมื่อหักลบรายจ่ายรายรับ ก็เท่ากับมูลค่าที่ดินใหม่ที่ซื้อมาใหม่ จึงเท่ากับได้ที่ดินมาฟรีๆ ปรากฏว่า ขุดดินแล้วรถแทร็กเตอร์ขึ้นมาไม่ได้ เพราะบ่อที่ขุดทั้งลึกและชันมาก จึงซื้อที่ดินเพิ่มเพื่อให้รถเวียนขึ้นมาให้ได้ ปัจจุบันจึงมีสระน้ำอยู่หลังบ้านประมาณ 10 ไร่ สำหรับใช้เพาะปลูกมะปรางในสวนแห่งนี้

หลังจากปลูกมาได้สักพัก ราคามะปรางก็ปรับตัวสูงขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 80-100 บาท ก็รู้สึกดีใจว่า จับทิศทางตลาดถูก ถึงแม้เรารับราชการก็ไม่ยุ่งยากอะไร เพราะสามารถใช้วันหยุดช่วงเสาร์-อาทิตย์มาทำสวนได้ ผมก็ขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ต่อมาทางจังหวัดเริ่มจัดงานโปรโมตสินค้ามะปราง สินค้าผมก็เริ่มขายได้แล้ว มีแม่ค้ามารับซื้อสินค้าถึงสวนเลย ผมเริ่มโปรโมตสินค้าโดยนำมะปรางลูกใหญ่ไปแจกกับผู้คนที่รู้จัก เมื่อพวกเขารู้จักสินค้าก็เริ่มสนใจอยากเข้ามาซื้อมะปรางถึงสวน ช่วงนั้นต้นยังไม่ใหญ่ ผลผลิตยังไม่มาก เฉลี่ยประมาณ 5-10 กิโลกรัม/ต้น

หลังจากปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา มีชาวบ้านสนใจปลูกมะปราง ประมาณ 10 ราย สำนักงานเกษตรประจำจังหวัดเริ่มเล็งเห็นความสำคัญของมะยงชิด-มะปราง จึงเริ่มจัดงานประกวดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 ทำให้ประชาชนเริ่มรู้จักว่า นครนายกเป็นแหล่งเพาะปลูกมะปรางที่สำคัญ ความจริงโดยทั่วไปก็มีหลายจังหวัดที่ปลูกมะปรางพันธุ์พื้นเมือง แต่มีรสชาติอร่อยสู้ผลไม้เมืองนครนายกไม่ได้ ดาบนวยกล่าวว่า แม่ผมเชื่อว่า ผลไม้ประเภท กระท้อน ขนุน มะม่วง ที่ปลูกในพื้นที่ตำบลดงละคร จะมีรสชาติหวานกว่าปกติ เนื่องจากตำบลดงละคร มีระดับน้ำใต้ดินต่ำกว่า 10 เมตรนั่นเอง ซึ่งดาบนวยก็มีความเชื่อเช่นเดียวกับคุณแม่ เพราะหากเปรียบปริมาณน้ำตาลในมะปรางที่ปลูกในพื้นที่ดงละครกับที่ดินท้องนา พบว่า มีความแตกต่างกันกันประมาณ 1-2 บริกซ์

ที่ผ่านมา ดาบนวยดำเนินนโยบายการตลาดในลักษณะแจกบ้าง ขายบ้าง สร้างรายได้เข้าสู่กระเป๋านับหลายแสนบาทต่อปี ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวดีขึ้น นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบรายได้จากธุรกิจสวนมะปรางก็เท่ากับตัวเลขเงินเดือนข้าราชการตำรวจตลอดทั้งปี ทำให้ดาบนวยเกิดแรงจูงใจที่จะขยายพื้นที่สวนมะปรางเพิ่มขึ้น โดยนำรายได้จากธุรกิจสวนมะปรางมาซื้อที่ดินเพิ่มขึ้นทีละ 3-5 ไร่ อย่างต่อเนื่อง

ขณะนี้ สวนนพรัตน์ของดาบนวย มีพื้นที่ปลูกมะปรางอยู่ในตำบลดงละครประมาณ 50 ไร่ ปลูกต้นมะปราง-มะยงชิด รวมทั้งสิ้น 1,000 กว่าต้น โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 70 เป็นต้นมะยงชิด ที่เหลือร้อยละ 30 เป็นต้นมะปราง ปัจจุบันสวนแห่งนี้ มีมะปรางต้นใหญ่ อายุ 30 ปี จำนวน 30 ต้น นอกนั้น เป็นมะปราง อายุ 20 ปี ประมาณ 300-400 ต้น และต้นมะปรางอายุ 10 ปี อีกประมาณ 400-500 ต้น

ปัจจุบัน มะปรางพันธุ์ทองนพรัตน์ ถือเป็นผลงานที่ดาบนวยมีความภาคภูมิใจมาก เพราะช่วยสร้างชื่อเสียงให้แก่สวนนพรัตน์ เพราะมะปรางพันธุ์ทั่วไปจะออกลูกในระยะ 3-5 ปี แต่เป็นมะปรางหวานพันธุ์นี้ มีจุดเด่น คือ ออกลูกง่าย แค่ใช้เวลาปลูกเพียง 2 ปีเท่านั้น ลักษณะผลยาวรี เมล็ดเล็ก ผลมีขนาดใหญ่เท่ากับมะยงชิด มีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 10-12 ลูก/กิโลกรัม ความหวานประมาณ 19-20 บริกซ์ หากเปรียบเทียบกับมะปรางพันธุ์อื่นๆ แล้ว พบว่า มะปรางพันธุ์ทองนพรัตน์ จะมีความหวานมากกว่า นอกจากนี้ยังมีความต้านทานโรคและแมลงได้ดี

ดาบนวย เล่าว่า ตนก็ไม่ทราบถึงแหล่งที่มาของมะปรางพันธุ์ทองนพรัตน์ เพราะน้าชายเป็นผู้นำกิ่งพันธุ์มาให้ทดลองปลูกเมื่อประมาณ 20 ปีก่อน ขณะนี้ได้ปลูกและขยายพันธุ์ในสวนแห่งนี้ไปแล้วกว่า 350 ต้น ดาบนวยพึงพอใจกับมะปรางพันธุ์นี้มาก เพราะเมื่ออายุครบ 5 ปี ให้ผลผลิตดกทุกปี เฉลี่ยต้นละ 30-40 กิโลกรัม/ปี ดาบนวยจะคัดเกรดมะปรางพันธุ์นี้ เป็น 3 ขนาด และขายในราคาเดียวกับมะยงชิด คือ กิโลกรัมละ 100-150 บาท และ 200 บาท ดาบนวยเคยขายมะปรางทองนพรัตน์ผลใหญ่ในราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 250 บาท

นอกจากนี้ ดาบนวยยังผลิตมะยงชิดคุณภาพดี พันธุ์ทูลเกล้าที่เป็นผลงานขึ้นชื่อของจังหวัดนครนายก และพันธุ์ชิตนพรัตน์ ที่เกิดจากการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ โดยคำว่า นพรัตน์ มาจากชื่อลูกชายดาบนวยนั่นเอง ปกติมะยงชิดทั่วไป ผลจะมีลักษณะทรงรี แต่มะยงชิดพันธุ์ชิตนพรัตน์ ผลจะมีลักษณะกลมใหญ่ และมีความหวานมากถึง 22 บริกซ์

ดาบนวย เล่าถึงเทคนิคการทาบกิ่งว่า สมัยก่อนเกษตรกรไม่รู้จักเทคนิคการทาบกิ่ง มักจะไปทาบกิ่งแก่ที่อยู่ด้านล่างจึงไม่ได้ผล แต่ผมโชคดี ได้มีโอกาสเรียนรู้เทคนิคการทาบกิ่งจากน้าชายว่า ต้องเลือกทาบกิ่งอ่อน เพื่อให้กิ่งพันธุ์มีการเจริญเติบโตที่ดี ที่ผ่านมา สวนมะปรางของผมจะสร้างนั่งร้านคลุมต้นมะปรางไว้ทั้งต้น เพื่อทาบกิ่งเฉพาะส่วนยอดเท่านั้น โดยทั่วไป ต้นมะปรางจะแตกยอดใหม่ทุกๆ 1-2 ปี สวนผมจึงทาบกิ่งทุกปี

ดาบนวย สังเกตว่า มะม่วงกับมะยงชิด มีลักษณะเด่นที่แตกต่างกัน มะม่วงจะมีช่อดอกรุ่นเดียว แต่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม มะยงชิดจะมีโอกาสแทงช่อถึง 3 รุ่นในต้นเดียว เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา อากาศหนาวประมาณ 18-19 องศา ประมาณ 5 วัน หลังจากนั้นอากาศร้อนขึ้น ต้นมะยงชิดก็เริ่มแทงยอดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ให้ผลผลิตรุ่นแรกประมาณ 20% หลังจากนั้น เกิดปรากฏการณ์ซ้ำรอยเดิม อากาศคลายหนาวมาเจอร้อน ต้นมะยงชิดให้ผลผลิตรุ่น 2 ช่วงวันที่ 25 ธันวาคม และ รุ่น 3 เมื่อวันที่ 5 มกราคม คาดว่า ตลอดเดือนมีนาคมจะมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก เพราะมีผลผลิต รุ่น 2 และ รุ่น 3 เข้าสู่ตลาดห่างกันแค่ 12 วัน

สำหรับต้นมะยงชิด ที่มีอายุ 15 ปี จะมีผลผลิตเฉลี่ยต้นละ 100 กิโลกรัม หากขายในราคากิโลกรัมละ 150 บาท จะมีรายได้เฉลี่ยต้นละ 15,000 บาท สมัยก่อนผมปลูกในอัตรา 6x6 ตารางเมตร เฉลี่ยไร่ละ 45 ต้น ระยะหลังผมเห็นว่า เป็นการปลูกที่หนาแน่นเกินไป จึงหันมาปลูกในอัตรา 8x8 ตารางเมตร เฉลี่ยไร่ละ 25 ต้น ผมเห็นว่า ปลูก 5-6 ปียังไม่รู้เรื่องเลย จึงหันมาปลูกเพิ่ม สับหว่างลงไปลักษณะเหมือนไฮโลลูก 5 จากเดิมไร่ละ 25 ต้น ก็เพิ่มขึ้นเป็นไร่ละ 50 ต้น ต้นมะยงชิดที่ปลูกชุดนี้มีอายุ 6 ปี มีจำนวน 100 กว่าต้น ให้ผลผลิตมาแล้วประมาณ 2-3 ปี ฤดูที่ผ่านมา เก็บผลผลิตขายได้แสนกว่าบาทแล้ว

ดาบนวย บอกว่า โดยทั่วไปสวนมะยงชิด-มะปรางหวาน ถือว่ามีต้นทุนการดูแลรักษาน้อยมาก เมื่อเทียบกับสวนผลไม้อื่นๆ ต้นทุนการดูแลรักษาส่วนใหญ่เป็นเรื่องปุ๋ย ค่าตัดหญ้า และมีค่าไฟฟ้าสำหรับรดน้ำต้นไม้ ประมาณปีละ 4-5 แสนบาท โดยทั่วไปสวนมะยงชิด-มะปรางหวานจะใช้ปุ๋ยยาน้อยมาก ช่วงที่แตกใบอ่อนจะใช้สารเคมีเป็นครั้งคราว ระยะที่ต้นมะยงชิดออกช่อในช่วงฤดูฝน จะฉีดสารเคมีป้องกันเพลี้ยไฟและเชื้อราประมาณ 2 ครั้ง

ดาบนวยเล็งเห็นโอกาสทางการตลาดของมะยงชิดและมะปรางหวาน จึงได้ทยอยซื้อที่ดินสำหรับทำสวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนถึงขณะนี้ สวนมะยงชิดและมะปรางหวาน กระจายอยู่ในพื้นที่ตำบลบ้านนา อำเภอแก่งคอย จำนวน 20 ไร่ อำเภอสาริกา 10 ไร่ อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ อีก 20 ไร่ เนื่องจากดาบนวย สะสมประสบการณ์การทำสวนมะยงชิด-มะปรางหวานมานานกว่า 30 ปีจึงมีเกษตรกรมือใหม่แวะเวียนเข้ามาขอคำแนะนำเกี่ยวกับการเพาะปลูกอย่างสม่ำเสมอ ดาบนวยเล่าว่า ปัญหาที่เกษตรกรถามกันไม่รู้จบ ได้แก่ เทคนิคการให้ปุ๋ย เกษตรกรส่วนใหญ่มีความตั้งใจสูงในการทำสวนแต่ยังไม่เข้าใจหลักการธรรมชาติ พืชที่เริ่มปลูกใหม่ๆ เกษตรกรบางรายโหมใส่ปุ๋ยสูตรเสมอจำนวนมาก ประมาณครึ่งกิโลกรัม-1 กิโลกรัม ซึ่งพืชก็ตายได้ ผมก็ให้คำแนะนำไปว่า พืชที่ปลูกใหม่ ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยมาก แต่ควรให้ปุ๋ยทีละน้อยอย่างสม่ำเสมอ สำหรับปุ๋ย 1 กระสอบ สามารถแบ่งใส่ใต้ต้นได้ถึง 3 ครั้ง ทุกๆ 3-4 เดือน

ดาบนวย แนะนำว่า ปุ๋ยควรใช้ในระยะแต่งกิ่ง ช่วงระยะออกดอกออกผลจะใช้ปุ๋ย 8-24-24 เพื่อบำรุง ดอกผลให้มีสภาพสมบรูณ์ นอกจากนี้ ภายหลังการเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนเมษายน จะใช้ปุ๋ยขี้วัวจากสระบุรี และลพบุรี ปกติจะสั่งซื้อเป็นกระสอบครั้งละ 3,000 บาท นำปุ๋ยขี้วัวมาเทใต้ต้นมะยงชิด เฉลี่ยต้นละ 3 กระสอบ เมื่อคำนวณเป็นต้นทุนก็ถือว่าไม่แพง เพียงต้นละ 30-40 บาทเท่านั้น ส่วนปุ๋ยขี้ไก่ ชาวสวนส่วนใหญ่มักไม่นิยมใช้ เพราะเจ้าของฟาร์มไก่มักนำโซดาไฟมาใช้ล้างเล้าไก่ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อต้นพืชได้

นอกจากนี้ เกษตรกรมักไม่เข้าใจเทคนิคการให้น้ำ บางรายซื้อกิ่งพันธุ์ไปปลูกในช่วงฤดูฝน หวังอาศัยน้ำฝนจากเทวดาเลี้ยงต้นไม้นั้น นับเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาด เพราะอาจมีฝนตกจริง แต่ไม่สามารถกำหนดปริมาณน้ำได้ ยิ่งปลูกในพื้นที่ลุ่มก็จะทำให้เกิดปัญหาดินแฉะ รากเน่าจนต้นไม้ตายได้ ระยะที่เหมาะสมสำหรับปลูกต้นมะยงชิดก็คือ ช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากสามารถกำหนดปริมาณน้ำและรักษาปริมาณความชื้นในดินได้อย่างสม่ำเสมอ ต้นไม้ก็จะไม่ตาย

คำถามไม่รู้จบที่เกษตรกรส่วนใหญ่สงสัยก็คือ เมื่อต้นมะยงชิดแทงช่อแล้ว ทำไมรดน้ำไม่ได้ ดาบนวยบอกว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เข้าใจว่า ไม่ควรรดน้ำระยะนี้ เพราะจะทำให้ช่อดอกร่วง แต่ความจริงกรณีช่อดอกร่วงเกิดจากปัญหาราน้ำค้าง เพลี้ยไฟ ไรแดง ทำให้ช่อดำ แห้งไปเลย ผมพิสูจน์แล้วว่า สามารถรดน้ำได้ตามปกติ ยิ่งรดน้ำต้นก็จะแทงช่อได้ดีขึ้น ช่อดอกยิ่งสมบูรณ์ไม่แห้ง ส่วนกรณีปัญหาช่อดอกร่วง ส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาเชื้อรา ราน้ำค้าง เพลี้ยไฟ ไรแดง ทำให้ช่อดำ แห้งไปเลย การรดน้ำควรใช้ดุลยพินิจแต่พอประมาณ อย่ารดน้ำจนดินแฉะโดยเฉพาะช่วงแตกใบอ่อน หรือช่วงออกผล เพราะจะทำให้เกิดอาการใบร่วงและผลร่วงได้ เพราะธรรมชาติของต้นไม้ เมื่ออดน้ำมา 2-3 เดือน เมื่อได้น้ำ ต้นก็จะกระทุ้งมาออกใบ และทิ้งลูกหมด

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นปัญหาเรื่องการปลูก บางรายได้รับคำแนะนำว่า ต้องขุดหลุมลึก 1 เมตร กว้าง 1 เมตรนั้น ดาบนวยกล่าวว่า ไม่มีประโยชน์และเสี่ยงทำให้ต้นไม้ตายได้ เพราะ โดยทั่วไปกิ่งพันธุ์มะปราง สูง 80 เซนติเมตร เพราะขุดหลุมลึก เมื่อใส่ต้นไม้ไปแล้วใช้ดินกลบ ก็เท่ากับ 40 เซนติเมตร ทำให้รอยแผลทาบกิ่งถูกฝังดินด้วยเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาเชื้อรา เน่าตายได้ง่ายขึ้น ความจริงรอยแผลทาบกิ่งต้องอยู่เหนือผิวดิน ดังนั้นขุดดินลึกเพียง 50x50 ก็เพียงพอแล้ว

ดาบนวยยืนยันว่า ธุรกิจสวนมะปรางหวาน-มะยงชิดถือเป็นอาชีพที่น่าสนใจมาก ใช้เงินลงทุนปลูกเพียง ไร่ละ 2 หมื่นบาท หากปลูก 5 ไร่ ก็ใช้เงินแค่แสนบาท จะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ภายใน 4 ปี เมื่อนำผลผลิตออกขาย หักต้นทุนค่าใช้จ่ายแล้วเหลือผลกำไรก้อนโตถึง 70% ปัจจุบันถือได้ว่า เมืองไทยไม่มีผลไม้ชนิดไหนที่ขายได้ในราคาแพงขนาดนี้ หากปีใดผลผลิตเข้าสู่ตลาดมาก เกษตรกรยังขายมะปรางหวานได้ในราคากิโลกรัมละ100 กว่าบาท แถมไม่ต้องยุ่งยากในการคัดขนาด และมีแม่ค้าจากตลาด อ.ต.ก. มารับซื้อผลผลิตถึงสวน ลูกเล็ก-ลูกใหญ่ซื้อในราคาเดียวกันหมด กิโลกรัมละ 200-220 บาท และไปขายปลีกในราคากิโลกรัมละ 300-500 บาท นอกจากนี้ ผลผลิตบางส่วนก็ส่งออกไปจำหน่ายที่สหภาพยุโรป และมาเลเซีย ระยะหลังมักมีพ่อค้าจากมาเลเซียเข้ามาติดต่อซื้อมะยงชิด-มะปรางหวานในสวนดาบนวยวันละ 2-3 รายทีเดียว

หากใครสนใจอยากซื้อมะปรางหวาน-มะยงชิด หรือกิ่งพันธุ์คุณภาพดี สามารถเข้าแวะเยี่ยมชมหรือสั่งซื้อสินค้าได้ที่ สวนนพรัตน์ บ้านเลขที่ 99 หมู่ที่ 10 ชุมชนบ้านดงละคร ตำบลดงละคร อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับดาบนวย ได้ที่ โทร. (081) 762-4082


http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05056010354&srcday=&search=no





มะปรางหวาน

มะปรางหวานพันธุ์ดีที่ผ่านการพิสูจน์ ดีเอ็นเอ
เมื่อวันที่ 23 มกราคม 52พื้นที่การปลูกมะปรางพันธุ์ดีในประเทศไทยในปัจจุบันนี้เกือบ 100% จะปลูกแต่มะยง ชิดพันธุ์ดีที่ขนาดผลใหญ่ใกล้เคียงกับไข่เป็ดหรือมีน้ำ หนักผลเฉลี่ย 12-15 ผลต่อกิโลกรัม จัดเป็นผลไม้ แปลกและหายากอีกชนิดหนึ่งที่มักจะซื้อกันเป็นของฝาก ที่ “คนกินไม่ได้ซื้อ คนซื้อไม่กิน”ผลผลิตมะยงชิดพันธุ์ดีจะออกสู่ตลาดเพียงปีละครั้งเดียว (ยังไม่มีเทคโนโลยีในการผลิตนอกฤดู) คือ ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์-เดือนมีนาคม

ในความเป็นจริงแล้วในบ้านเรายังมีสายพันธุ์มะปรางหวานพันธุ์ดีผลใหญ่ใกล้เคียงกับมะยงชิด แต่มีความแตกต่างตรงที่มะปรางหวานจะรับประทานได้ตั้งแต่ดิบจะมีรสชาติหวานมันเมื่อสุกจะมีรสชาติหวานแหลม และเป็นของหายากกว่ามะยงชิดเสียอีก

เนื่องจากที่ผ่านมาเจ้าของมักจะหวงสายพันธุ์ไม่อยากให้แพร่หลายคุณวิจิตร ไกรสรสวัสดิ์ เกษตรกร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ได้มีการรวบรวมสายพันธุ์มะปรางหวานและมะยงชิดพันธุ์ดีจากทั่วประเทศมากกว่า 50 สายพันธุ์นานประมาณ 20 ปี ประสบปัญหาเหมือนเกษตรกรผู้ปลูกมะปรางรายอื่น ๆ คือ ในบรรดาสายพันธุ์มะปรางหวานและมะยงชิดพันธุ์ดีที่ซื้อมานั้นบางสายพันธุ์ เมื่อให้ผลผลิตมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ แต่มีชื่อสายพันธุ์แตกต่างกันออกไปทั้ง ๆ ที่เป็นสายพันธุ์เดียวกัน

และนี่จึงเป็นที่มาของการนำสายพันธุ์มะปรางหวานและมะยงชิดพันธุ์ที่รวบรวมไว้มาทำการพิสูจน์ดีเอ็นเอทุกสายพันธุ์อย่างกรณีของมะปรางหวานพันธุ์ดีที่มีขนาดผลใหญ่ ในวงการผู้ปลูกมักจะรู้จักกันเฉพาะพันธุ์สุวรรณบาตร ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ จ.อุตรดิตถ์ เป็นมะปรางหวานที่ทรงผลยาวคล้ายกับลูกมะดันถึงแม้จะมีขนาดของผลไม่ใหญ่นักแต่โดดเด่นทางด้านรสชาติ คือ เนื้อแน่นและหวานกรอบ

อีกสายพันธุ์หนึ่งอยู่ที่ จ.ปราจีนบุรี มีชื่อว่าพันธุ์ทองใหญ่ จัดเป็นมะปรางหวานที่มีขนาดของผลใหญ่และยาวรสชาติอร่อย แต่มีจุดอ่อนตรงที่ให้ผลผลิตไม่ดก ไม่เหมาะที่จะปลูกในเชิงพาณิชย์

จากการพิสูจน์ดีเอ็นเอบรรดามะปรางหวานพันธุ์ดีทั้งหมดที่คุณวิจิตรได้ทำการรวบรวมไว้ได้ทำการคัดเลือกได้เพียง 4 สายพันธุ์เท่านั้นและแต่ละสายพันธุ์มีขนาดของผลใหญ่ใกล้เคียงกับไข่เป็ด มีรูปทรงรสชาติแตกต่างกันไป เช่น

พันธุ์เพชรคลองลาน ขนาดของผลใหญ่มาก ผลใหญ่ที่สุดใกล้เคียงกับไข่ห่าน รสชาติหวานฉ่ำ, พันธุ์เพชรหวานกลม มีรูปทรงกลมมนเมื่อสุกมีรสชาติหวานเจี๊ยบ,

พันธุ์เพชรหวานยาว มีรูปทรงผลที่ยาวมากและรสชาติหวานหอมและสายพันธุ์สุดท้าย คือ

พันธุ์เพชรนพเก้า ซึ่งเป็นมะปรางหวานที่มีรูปทรงคล้ายมะยงชิดมากที่สุดและมีรสชาติหวานมัน

ในอนาคตเกษตรกรจะหันมาปลูกมะปรางหวานพันธุ์ดีกันมากยิ่งขึ้น เนื่องจากราคาขายผลผลิตแพงกว่ามะยงชิดมากและมีอายุการวางขายในตลาดได้ นานกว่า 15 วัน


ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์



                  ************************************** 













หน้าก่อน หน้าก่อน (3/4)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2009-07-16 (44510 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©