-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 515 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

มะปราง-มะยง




หน้า: 3/4


มะยงชิด-มะปรางหวาน

มะยงชิดเป็นอะไรกับมะปรางคะ พันธุ์เดียวกัน หรือต้นเดียวกันแต่เรียกคนละชื่อ

ได้ข้อมูลจากเว็บไซต์ Siamsouth.com ว่าด้วย มะยงชิด-มะปรางหวาน ว่า โดยทั่วไปแล้วมะปรางกับมะยงชิดเป็นพืชในกลุ่มเดียวกัน ทั้งนี้ เนื่องจากปลูกโดยเมล็ดและมีการกลายพันธุ์ทำให้มีลักษณะที่แสดงออกแตกต่างกันไป จึงทำให้มะปรางถูกเรียกแยกออกเป็นหลายกลุ่ม ได้แก่ มะปรางหวาน มะยงชิดมาก มะยงชิดน้อย มะปรางเปรี้ยว กาวาง ซึ่งจะเห็นว่าการแบ่งลักษณะออกเป็น 5 กลุ่ม ดังกล่าว ใช้รสชาติเป็นหลัก ร่วมกับขนาดของผล ขณะที่ขนาดของใบ การเรียงตัวของใบ เส้นใบ สีของยอดอ่อน รสของยอดอ่อน ยังไม่มีใครศึกษาลักษณะเหล่านี้เพื่อคัดแยกกลุ่มของมะปราง ทั้งเกษตรกร นักวิชาการ บุคคลทั่วไป ก็ไม่ใช้ลักษณะเหล่านี้ในการจำแนกเพราะไม่เด่นชัด

สำหรับความแตกต่างระหว่างมะปรางหวานกับมะยงชิด แยกได้เป็นข้อๆ ดังนี้

มะปรางหวาน
1.ผลดิบมีรสมัน
2.ผลสุกมีรสหวาน-หวานจืด
3.โดยรวมขนาดจะเล็กกว่ามะยงชิด
4.บางสายพันธุ์เมื่อทานแล้วจะคันคอ
5.ผลสุกจะมีสีออกเหลือง


มะยงชิด
1.ผลดิบมีรสเปรี้ยว
2.ผลสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว
3.โดยรวมผลจะมีขนาดใหญ่กว่ามะปรางหวาน
4.โดยรวมไม่ทำให้เกิดอาการคันคอ
5.ผลสุกมีสีออกเหลืองอมส้ม


ส่วนลักษณะทั่วไป มะปรางเป็นไม้ผลเมืองร้อน ไม่มีการผลัดใบคือมีใบสีเขียวตลอดปี ชื่อสามัญ Marian plum ชื่อวิทยา ศาสตร์ Boueaburmanica Griff. ตระกูลเดียวกับมะม่วง มะกอก คือ Ama cardiaceae มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทรงต้นค่อนข้างแหลมถึงทรงกระบอก กิ่งก้านสาขาทึบ ทรงต้นมีขนาดสูงประมาณ 15-30 เมตร มีระบบรากแก้วแข็งแรงจึงทนอยู่ในสภาพแห้งแล้งได้ดี ใบมากแน่นทึบ ใบคล้ายใบมะม่วงแต่เล็กกว่าและเรียวยาว ขนาดใบกว้างราว 3.5 ซ.ม. ยาว 14 ซ.ม. ใบเกิดเป็นคู่อยู่ตรงกันข้าม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเหนียว ใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่มีสีม่วงแดง เส้นใบเด่นชัด จากนั้นค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเขียวเป็นมัน ปีหนึ่งมะปรางจะแตกใบอ่อน 1-3 ครั้ง

ดอกมะปรางมีลักษณะเป็นช่อ เกิดบริเวณปลายกิ่งแขนงที่อยู่ภายในทรงพุ่มและนอกทรงพุ่ม ช่อดอกยาว 8-15 ซ.ม. ดอกย่อมมีขนาดเล็กประกอบด้วยดอกสมบูรณ์เพศ หรือดอกกะเทยและดอกตัวผู้ ดอกเมื่อบานจะมีสีเหลือง ในประเทศไทยดอกมะปรางจะบานช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ผลมะปรางมีลักษณะทรงกลมรูปไข่ ปลายค่อนข้างเรียวแหลม มะปรางช่อหนึ่งจะมีผล 1-15 ผล รูปร่างและขนาดของผลมะปรางจะแตกต่างกันในแต่ละพันธุ์ ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อนเมื่อแก่หรือสุกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือเหลืองอมส้ม เปลือกผลนิ่ม ผลหนึ่งมี 1 เมล็ด ส่วนหุ้มเมล็ดจะเป็นเส้นใย เนื้อของเมล็ดมีสีชมพูอมม่วง รสขมและฝาด ใน 1 เมล็ดสามารถเพาะกล้าเป็นต้นมะปรางได้ 1 ต้น

มะปรางเป็นไม้ผลที่เจริญเติบโตช้า ขยายพันธุ์ได้ยากและใช้เวลาในการขยายพันธุ์ยาวนานกว่ามะม่วง ส้มโอ และขนุน อย่างไรก็ตามมะปรางขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด การตอน การทาบกิ่ง การต่อกิ่ง การติดตา และการปักชำ ซึ่งการเพาะเมล็ดมีข้อจำกัดตรงที่มีการกลายพันธุ์จากมะปรางหวานอาจกลายเป็นมะปรางเปรี้ยวหรือหวานอมเปรี้ยว และจากผลใหญ่อาจกลายเป็นชนิดผลเล็ก นอกจากนี้ การปลูกจากต้นเพาะเมล็ดจะใช้เวลาประมาณ 8 ปี จึงจะเริ่มออกดอกติดผล

ขณะที่การตอนมีข้อจำกัดตรงที่กิ่งตอนจะไม่มีรากแก้ว จะต้องเสริมรากภายหลัง ส่วนการทาบกิ่ง การต่อกิ่งและการติดตา จะต้องเพาะต้นตอมะปรางก่อน สำหรับการปักชำก็จะได้ต้นกล้าที่ไม่มีรากแก้ว ต้องเสริมมรากภายหลังเช่นกัน ทั้งนี้ การทาบกิ่งเป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่นิยมที่สุด เพราะจะได้ต้นมะปรางพันธุ์ดีที่ระบบรากแก้วจากต้นตอ สามารถคัดเลือกกิ่งพันธุ์ดีได้ค่อนข้างใหญ่และยาวกว่ากิ่งปักชำ ให้มีการกลายพันธุ์และให้ผลผลิตเร็วประมาณ 4-5 ปี



มนตรี แสนสุข

ครูประสาน ทุมมา คว้ารางวัลที่ 1 "มะปรางยักษ์" 3 ปี
เผยเทคนิคทำ มะปราง-มะยงชิด

เรื่องราวของ "มะปรางยักษ์" จากงานการประกวด "มะปรางหวาน มะยงชิด ของดีจังหวัดนครนายก" ในครั้งนี้ค่อนข้างชวนให้สนเท่ห์สักเล็กน้อย "เทคโนโลยีชาวบ้าน" ได้ไปเยี่ยม "สวนครูประสาน" ซึ่งเป็นของ คุณครูประสาน ทุมมา อดีตคุณครูที่อิ่มตัวกับชีวิตของการเป็นครู หันหน้ามาเอาดีทางทำสวนเกษตรปลูกมะยงชิด มะปรางหวาน อยู่ที่บ้านหมู่ที่ 1 ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ซึ่งสวนของคุณครูประสานนี้สามารถคว้ารางวัลที่ 1 ประเภท "มะปรางยักษ์"

รางวัลการประกวดผลไม้ประเภทมะปรางยักษ์ของคุณครูประสานนั้น ผลไม้ที่คุณครูประสานส่งเข้าประกวดแล้วได้รับรางวัลก็คือ มะยงชิด คุณครูประสานจึงอธิบายคลายความสนเท่ห์ กล่าวคือ

งานการประกวดมะยงชิด มะปรางหวานของจังหวัดนครนายกที่จัดเป็นงานประจำปีต่อเนื่องเรื่อยมาในช่วงผลผลิตมะยงชิด มะปรางหวาน ออกสู่ท้องตลาดราวปลายเดือนมกราคม ถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี การประกวดมะยงชิด มะปรางหวาน จัดโดยชมรมชาวสวนมะปราง-มะยงชิด จังหวัดนครนายก คณะกรรมการได้วางกติกาให้เกษตรกรส่งผลผลิตเข้าประกวด 4 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 มะปรางหวาน ประเภทที่ 2 มะยงชิด ประเภทที่ 3 มะปรางยักษ์ และประเภทที่ 4 คือประเภทกิ่งทาบ

กติกายังระบุต่อไปว่า การประกวดมะปรางหวานกับมะยงชิด ประเภทที่ 1-2 นั้น ให้ส่งผลผลิตเข้าประกวดชุดละ 12 ผล ส่วนประเภทที่ 3 คือ มะปรางหวานส่งผลผลิตเข้าประกวด 5 ผล

หลักเกณฑ์การตัดสินประเภทมะยงชิดกับมะปรางหวาน กรรมการจะให้คะแนนที่ทรงผลเสมอกัน ดูรูปลักษณ์และสีสันภายนอก ส่วนภายในดูที่เมล็ด รสชาติ ความหวาน รวมเป็นคะแนนออกมา ใครได้คะแนนสูงสุดคือ ผู้ชนะเลิศ และรองชนะเลิศตามลำดับ

ส่วนมะปรางยักษ์ซึ่งให้ส่งเข้าประกวด 5 ผล นั้น กติการะบุไว้ว่า ให้ส่งมะปรางหรือมะยงชิดอย่างใดอย่างหนึ่งเข้าประกวดก็ได้ แต่ต้องชุดละ 5 ผล คณะกรรมการจะตัดสินกันที่น้ำหนักรวมทั้ง 5 ผล ชุดไหนได้น้ำหนักรวมมากที่สุด ก็ได้รับรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศตามลำดับ "สวนครูประสาน" ได้น้ำหนักรวม 5 ผล 7 ขีด คว้าโล่รางวัลประเภทมะปรางยักษ์มาครอง

สำหรับข้อกังขาที่ว่าชื่อของประเภทการประกวดคือ มะปรางยักษ์ แต่ทำไม จึงให้มะยงชิดเข้าประกวดได้ ซึ่งมะยงชิดก็ต้องคว้ารางวัลแน่นอน "คุณครูประสาน" กล่าวว่า มะปรางเป็นผลไม้ดั้งเดิมที่เข้ามาเผยแพร่ในจังหวัดนครนายก ต่อมาจึงมี "มะยงชิด" สายพันธุ์ต่างๆ เกิดขึ้นในภายหลัง คณะกรรมการจึงเห็นว่าน่าจะใช้ คำว่า "มะปราง" กับทั้ง คำว่า "มะปราง" ก็เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดนครนายก การจัดงานก็ใช้ชื่องานว่า "งานมะปรางหวาน-มะยงชิด ของดีเมืองนครนายก" กับอีกประการหนึ่งคือ มะยงชิดก็แยกมาจากมะปราง โดยรวมแล้วมะปรางเป็นแม่พันธุ์ คือต้นกำเนิดของมะยงชิด

ส่วนชื่อของประเภทนั้น หากจะกำหนดให้เป็นมะปรางยักษ์อย่างเดียวคงไม่มีมะปรางผลใหญ่มากๆ มาประกวด จะมีก็แต่มะยงชิดที่ผลใหญ่เท่านั้น คณะกรรมการชมรมจึงเห็นว่า น่าจะใช้ชื่อประเภทการประกวดว่า "มะปรางยักษ์" แต่เกษตรกรสามารถส่งมะยงชิดเข้าประกวดได้ หากอนาคตข้างหน้าเกิดมีมะปรางยักษ์จริงๆ ก็จะแยกประเภทเป็นมะปรางยักษ์ และมะยงชิดยักษ์กันต่อไป

คุณครูประสาน ไขข้อข้องใจอย่างยืดยาวเพื่อให้ทุกฝ่ายคลายข้อสนเท่ห์ในใจลงไป สำหรับ "สวนครูประสาน" นั้น เจ้าตัวบอกว่า ปลูกมะยงชิดไว้ 12 ไร่ มีมะยงชิดกับมะปราง ประมาณ 1,000 กว่าต้น แยกเป็นมะยงชิดประมาณ 700-800 ต้น นอกนั้นเป็นมะปราง

คุณครูประสาน กล่าวต่อไปอีกว่า เดิมทีทำสวนมะม่วงมาก่อน ภายหลังเปลี่ยนมาเป็นสวนมะยงชิด เห็นเขาปลูกแล้วได้ดีก็เลยปลูกตามเขาบ้าง แล้วก็ได้ดีจริงๆ เริ่มทำสวนมะยงชิดมาตั้งแต่ ปี 2536 ค่อยๆ พัฒนาสวนเรื่อยมา มะยงชิดที่ปลูกใช้พันธุ์ทูลเกล้า เป็นพันธุ์ดั้งเดิมของจังหวัดนครนายก

ความสำคัญของการปลูกมะยงชิดให้ได้ดีนั้น คุณครูประสาน บอกว่า ประการแรกต้องใช้มะยงชิดสายพันธุ์ดี ประการที่ 2 ต้องบำรุงดูแลดี ประการที่ 3 ต้องให้ปุ๋ย และป้องกันโรคแมลงดี หากทำครบทั้ง 3 ประการนี้ จึงจะประสบความสำเร็จได้ผลผลิตมะยงชิดมีคุณภาพดี

ในเรื่องราวของสายพันธุ์ต้องซื้อจากสวนที่น่าเชื่อถือ มีต้นแม่พันธุ์ที่ดี ตรงนี้เกษตรกรต้องพิจารณาให้รอบคอบ ผู้จำหน่ายกิ่งพันธุ์ก็ต้องมีคุณธรรม จัดหากิ่งพันธุ์ดีมาจำหน่ายให้ลูกค้าด้วย

พอได้กิ่งพันธุ์ดีมาแล้ว ก็นำไปปลูกในแปลงได้เลย วิธีการปลูกมีเทคนิคเล็กน้อยคือ หลุมปลูกต้องไม่ลึก ขุดหลุมปลูกไม่ต้องกว้าง ถ้าขุดหลุมปลูกลึกและกว้างมาก จะทำให้น้ำเข้าไปแฉะอยู่ก้นหลุม ทำให้ระบบรากเน่าได้ ต้นจะไม่โต และตายในที่สุด เอากิ่งพันธุ์ลงปลูกแกะถุงชำออกก่อน ยกโคนกิ่งพันธุ์ให้สูงกว่าพื้นดินเล็กน้อยหรือเสมอพื้นดิน แล้วกลบโคนให้แน่น อย่ากลบโคนทับรอยทาบที่กิ่งพันธุ์เป็นอันขาด หาไม้หลักปักยึดป้องกันกิ่งโยกคลอน เวลาลมพัดแรงจะทำให้ระบบรากขยับไปมาได้ไม่ดี มะยงชิดไม่ชอบแฉะอย่าให้น้ำท่วมขังโคนต้นได้

หลังปลูกเสร็จรดน้ำไม่ต้องมากพอชุ่มเท่านั้น ให้น้ำวันเว้นวัน จนดินรัดรากดีต้นจะแตกใบอ่อนออกมา ตรงนี้สำคัญมาก คุณครูประสาน บอกว่า

"เราต้องรักษายอดอ่อน ใบอ่อน ให้ดีที่สุด ช่วงนี้จะมีหนอนและแมลงมากัดกินใบอ่อน เกษตรกรต้องฉีดยากำจัด อย่าให้ใบอ่อนเสียหาย จะทำให้การเจริญเติบโตของต้นชะงัก"

เมื่อรักษาใบอ่อนไว้ได้ ต้นจะเจริญเติบโตสูงขึ้นแล้วก็แตกใบอ่อนอีก เกษตรกรก็ต้องรักษาใบอ่อนเช่นเดิม การเจริญเติบโตของมะยงชิดอยู่ที่การแตกยอดอ่อนนี่แหล่ะ หลังจากใบอ่อนเพสลาดก็ให้ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ เป็นการเร่งให้ต้นแตกยอดอ่อนชุดใหม่ออกมาอีก 1 ปี ต้นมะยงชิดจะแตกยอดอ่อนประมาณ 2-3 ครั้ง ในช่วงฤดูแล้ง พอเข้าฤดูฝนต้นจะหยุดการแตกยอดอ่อน จะไปแตกอีกครั้งก็เมื่อหมดฝนเข้าฤดูหนาวจนถึงฤดูแล้ง การบำรุงต้นให้ปุ๋ยรดน้ำสม่ำเสมอ ต้นก็จะแตกยอดอ่อนออกมา

พอถึงช่วงมะยงชิดต้นโตเต็มที่ ประมาณ 3-4 ปี ได้เวลาจะเอาผลผลิต ก่อนหมดฝนใส่ปุ๋ยบำรุงต้นให้เต็มที่ รดน้ำให้ชุ่ม ไม่ให้ต้นแตกใบอ่อนออกมาอีก เมื่อต้นจะสมบูรณ์เต็มที่พอลมหนาวกระทบลงมาอุณหภูมิอยู่ที่ 20-23 องศาเซลเซียส ต้นก็จะติดตาดอกทันที มะยงชิดติดตาดอกง่าย เพียงแค่ได้อุณหภูมิความหนาวเย็นได้ที่เท่านั้น ต้นก็ติดตาดอกแล้ว

หลังติดตาดอกก็ต้องดูแลแมลงและหนอน ระวังเพลี้ยไฟให้ดีๆ ฉีดยากำจัดก่อนดอกบาน พอดอกบานเว้นช่วงให้ผสมเกสรก่อน จนกระทั่งติดผลเล็กๆ ฉีดยาป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟและแมลงสัปดาห์ละครั้ง เสริมด้วยฮอร์โมนบ้าง ไม่ต้องมาก จนกระทั่งผลโตการฉีดยาต้องทำอย่างสม่ำเสมอ

คุณครูประสาน กล่าวต่อไปอีกว่า กำหนดระยะเวลาการเก็บผลผลิตมะยงชิด ให้เริ่มนับ 1 ตั้งแต่วันติดดอกนับไป 75-80 วัน สามารถเก็บผลผลิตและกำหนดจัดงานประกวดได้เลย

สำหรับทางดินก่อนหนาวมาต้องงดให้น้ำ ให้ปุ๋ย ประมาณ 1-2 สัปดาห์ พอหนาวมาต้นติดตาดอกจึงโชยน้ำพอดินชื้นๆ จนกระทั่งต้นติดเป็นผล ใส่ปุ๋ย สูตร 16-16-16 และปุ๋ยเม็ดชีวภาพ 15 วันครั้ง ใช้วิธี "ใส่น้อยๆ แต่บ่อยครั้ง" ส่วนปุ๋ยหวานไม่ต้องใส่มะยงชิดหวานโดยสายพันธุ์อยู่แล้ว

หลังเก็บผลผลิต ตัดแต่งกิ่งภายในให้โล่งโปร่ง แล้วใส่ปุ๋ยคอกกับปุ๋ยสูตร 16-16-16 ต้นก็จะแตกยอดอ่อนออกมา คราวนี้จะต้องดูแลยอดอ่อนกันอีกครั้ง เพื่อให้ต้นเจริญเติบโตสมบูรณ์ยิ่งๆ ขึ้น หากทำตามขั้นตอนเหล่านี้ ท่านก็จะประสบความสำเร็จในการปลูกมะยงชิด

"สวนครูประสาน"" มีผู้ไปดูงาน ไปเยี่ยมชมสวนตลอดเวลา โดยเฉพาะช่วงมะยงชิดกำลังติดผลเหลืองสวยสดทั้งต้น มีคณะทัวร์ไปเยี่ยมชมกันมาก เกษตรกรท่านใดสนใจจะคุยกับคุณครูประสาน หรือคณะทัวร์จะเตรียมการไว้ปีหน้าพาลูกทัวร์ไปเที่ยว ติดต่อกันเองได้เลย ที่โทร. (081) 773-3111 คุณครูประสาน บอกมา ยินดีต้อนรับตลอด 24 ชั่วโมง ครับผม


ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน





หน้าก่อน หน้าก่อน (2/4) - หน้าถัดไป (4/4) หน้าถัดไป


Content ©