-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 196 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ข่าวแวดวงเกษตร19





กรดฮิวมิก (Humic Acid)


ทวีลักษณ์ อ้นองอาจ

กฤตย์ สมสาร์


คำ สำ คัญ
: กรดฮิวมิก คุณภาพดิน

ในปัจจุบันพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรกรรมมีความสมบูรณ์น้อยลง เนื่องจากเกษตรกรใช้เพาะปลูกพืช เพียงชนิดเดียวต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน และมีการใช้ปุ๋ยเคมีมากเกินความจำ เป็น ด้วยเหตุนี้เกษตรกรจึง จำ เป็นต้องหาสารอื่นมาปรับปรุงคุณภาพดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถอุ้มนํ้าได้ดีและมีระดับอินทรีย์ วัตถุในปริมาณที่พอเหมาะ ตลอดจนช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีให้น้อยลง เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต ให้มากขึ้น สารที่มีคุณสมบัติดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้มีมากมายหลายชนิด แต่ที่จะกล่าวถึงในที่นี้ก็คือ กรดฮิว มิก ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของสารฮิวมิก


สารฮิวมิก แบ่งออกเป็น
3 ประเภท คือ


i)
กรดฮิวมิก (Humic Acid)
ซึ่งละลายในสารละลายด่างเจือจาง และนำ สารละลายด่างที่สกัดได้ นั้นมาตกตะกอนด้วยกรดจะได้ตะกอนของกรดฮิวมิก เมื่อเอากรดฮิวมิกมาสกัดด้วย แอลกอฮอล์ได้ส่วนที่ละลายคือกรดไฮมาโทเมลานิก (Hymatomelanic Acid) หรือเอาตะกอน กรดฮิวมิกมาละลายด้วยด่าง แล้วเติมอิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte) จะได้ตะกอนของกรดฮิวมิก สีเทา ส่วนที่ไม่ตกตะกอนคือ กรดฮิวมิกสีนํ้าตาล

ii)
กรดฟูลวิก (Fulvic Acid) สารละลายที่เหลือจากการทำ ให้เป็นกรดในข้อ i)
นั่นคือกรดฟูลวิก สามารถละลายได้ทั้งในกรดและด่าง

iii)
ฮิวมิน (Humin)
คือ สารฮิวมิกซึ่งไม่สามารถสกัดได้ด้วยสารละลายด่างเจือจางและกรด ดินหรือตะกอน (สารฮิวมิก) สกัดด้วยด่าง ส่วนที่ไม่ละลาย ส่วนที่ละลาย (ฮิวมิน) นำ มาเติมกรด ส่วนที่ตกตะกอน ส่วนที่ไม่ตกตะกอน


[
กรดฮิวมิก] [กรดฟูลวิก]

สกัดด้วยแอลกอฮอล์ นำ มาละลายในด่าง แล้วเติมอิเล็กโทรไลต์ ส่วนที่ละลาย ส่วนที่ตกตะกอน ส่วนที่ไม่ตกตะกอน

(กรดไฮมาโทเมลานิก)
[กรดฮิวมิกสีเทา]
[กรดฮิวมิกสีนํ้าตาล]


สารทั้ง 3 ประเภทข้างบนนี้จะมีโครงสร้างทางเคมีที่คล้ายคลึงกัน แต่ต่างกันที่นํ้าหนักโมเลกุลและ หมู่ฟังก์ชันแนลของแต่ละชนิด กรดฟูลวิกมีนํ้าหนักโมเลกุลน้อยแต่มีหมู่ฟังก์ชันแนลที่ประกอบด้วย ออกซิเจนมากกว่ากรดฮิวมิก และฮิวมิน กรดฮิวมิกเป็นสารอินทรีย์ที่มีโครงสร้างเป็น Polyphenol ที่เสถียรแต่สลับซับซ้อน ซึ่งเกิดจากการ สลายตัวของซากพืชซากสัตว์ในดิน พบได้ในพีท ลิกไนต์ และแร่ลีโอนาไดท์เป็นต้น กรดฮิวมิกมีส่วน ประกอบของหมู่คาร์บอกซิล (carboxyl group) หมู่ฟีนอล (phenolic group) หมู่คาร์บอนิล (carbonyl group) หมู่แอลกอฮอล์ (alcoholic hydroxyl group) และหมู่ฟังก์ชันแนลอื่นๆ มีนํ้าหนักโมเลกุลตั้งแต่ น้อยกว่า 1,000 จนถึง 100,000 กรดฮิวมิกสามารถละลายได้ในสารละลายด่าง  แต่ไม่ละลายในแอลกอฮอล์กรดฮิวมิก มีองค์ประกอบของคาร์บอน (C) ออกซิเจน(O) ไฮโดรเจน(H) กำ มะถัน (S) ไนโตรเจน (N) และ

ธาตุอื่นๆ อีกเล็กน้อย การสกัดกรดฮิวมิกนั้นในทางเคมีสามารถทำ ได้โดยใช้สารละลายที่มีฤทธิ์เป็นด่าง เช่น สารละลาย โซเดียมไฮดรอกไซด์ กรดฮิวมิกจะถูกสกัดเข้ามาละลายอยู่ในชั้นของสารละลายด่างเป็นโซเดียมฮิวเมท

จากนั้นนำ สารละลายที่ได้มาตกตะกอนให้เป็นกรดฮิวมิกด้วยกรดเกลือ โดยการปรับ
pH ของสารละลายน้อยกว่าหรือเท่ากับ 2 และนำ ไปเข้าเครื่องเหวี่ยงเพื่อแยกตะกอนของกรดฮิวมิกออกมา ถึงแม้ว่ากรดฮิวมิกจะไม่ใช่ปุ๋ย แต่ก็มีการนำ มาใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงดินทั้ง ทางกายภาพและทางเคมี สมบัติทางกายภาพ


กรดฮิวมิกจะรักษาโครงสร้างของดินให้อุ้มนํ้าและระบายอากาศได้ดี ในอนุภาคของดินที่มีความ
เป็นดินเหนียวสูงจะมีประจุบวกและประจุลบอยู่อย่างหนาแน่น ทำ ให้มีแรงยึดเหนี่ยวสูง จึงส่งผลให้ดินมี ความละเอียดและความหนาแน่นมาก ซึ่งเป็นอุปสรรคสำ คัญต่อระบบรากของพืชที่จะดูดซึมแร่ธาตุอาหาร และนํ้า กรดฮิวมิกสามารถปรับปรุงดินที่มีความเป็นดินเหนียวสูงเนื่องจากในโครงสร้างโมเลกุลของกรดฮิวมิกมีหมู่คาร์บอกซิล ซึ่งจะไปสร้างพันธะกับอนุภาคประจุบวกในดินที่มีความเป็นดินเหนียวสูง และทำลายแรงยึดเหนี่ยวระหว่างประจุบวกและประจุลบออกจากกัน ซึ่งก็จะทำ ให้ชั้นดินมีความโปร่งขึ้น ส่งผลให้นํ้า และอากาศหมุนเวียนถ่ายเทได้ดีขึ้น


นอกจากนั้นกรดฮิวมิกสามารถป้องกันไม่ให้นํ้าระเหยไปจากดิน ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่มีความสำคัญ
ยิ่งสำ หรับดินที่มีความเป็นดินเหนียวตํ่า ดินทราย และดินในพื้นที่แห้งแล้ง ที่ไม่สามารถจะดูดซับนํ้าไว้ได้ เมื่อดินที่มีลักษณะดังกล่าวมีนํ้าผ่านเข้ามา ประจุบวกที่กรดฮิวมิกได้ดูดซับไว้จะสร้างพันธะกับประจุลบ ของนํ้าคือออกซิเจน ส่วนประจุบวกที่เหลืออยู่ในนํ้าคือไฮโดรเจนนั้นก็จะสามารถสร้างพันธะไฮโดรเจนกับ อะตอมของออกซิเจนในนํ้าโมเลกุลอื่นๆต่อๆไป ทำ ให้นํ้าระเหยออกจากดินน้อยลงหรือสามารถอุ้มนํ้าได้ มากขึ้นนั่นเอง


สมบัติทางเคมี

กรดฮิวมิกมีประสิทธิภาพในการดูดซับธาตุอาหารเพื่อที่จะปลดปล่อยธาตุอาหารเหล่านั้นให้แก่พืช เพื่อที่จะได้นำ สารเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในด้านการเจริญเติบโต การออกดอกออกผล กล่าวคือกรดฮิวมิก สามารถยึดประจุบวกของธาตุอาหารเสริมภายใต้สภาวะหนึ่งและจะปลดปล่อยธาตุอาหารเหล่านั้นเมื่อ สภาวะเปลี่ยนไป ด้วยคุณสมบัตินี้เมื่อกรดฮิวมิกเคลื่อนที่เข้าไปใกล้บริเวณรากของพืช ซึ่งระบบรากพืชจะมีประจุลบ พวกธาตุอาหารเสริมเหล่านั้นก็จะถูกปล่อยจากโมเลกุลของกรดฮิวมิกเข้าไปสู่ระบบรากพืช ซึ่งอาจกล่าวได้ว่ากรดฮิวมิกมีความสำ คัญอย่างมากในการเป็นสื่อกลางการลำ เลียงธาตุอาหารจากดินไปสู่รากพืช


อย่างไรก็ดีเกษตรกรควรพิจารณาให้รอบคอบว่าจะเลือกใช้กรดฮิวมิกชนิดใดเพื่อความเหมาะสม
ของสภาพดิน ชนิดของพืชและการปรับปรุงบำ รุงส่วนไหนของพืช เนื่องจากผลิตภัณฑ์ของกรดฮิวมิกมีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็มีปริมาณกรดฮิวมิกแตกต่างกันออกไปตั้งแต่
1-25% ดังนั้นจึงควรคำ นึงถึงประโยชน์ที่ได้รับและความคุ้มค่าของผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้เป็นสำ คัญด้วย


เอกสารอ้างอิง

1. การใช้สารปรับปรุงดินเพื่อการเกษตร (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http://www.ldd.go.th/ORDweb/

ORD_WebCore47/AbsT/A025.htm

2. Humic Acid Stucture and properties (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก:http://www.phelpstek.com/

graphics/bioag/humic_acid.pdf

3. M.M. KONONOVA, T.Z. NOWAKOWSKI and A.C.D. NEWMAN. SOIL ORGANIC

MATTER 2nd ed., London : Pergamon Press LtD. 1966.

4. M. SCHNITZER and S.U. KHAN. HUMIC SUBSTANCES IN THE ENVIRONMENT, New

York : MARCEL DEKKER INCE. 1972.

5. SELMAN A. WAKSMAN. HUMUS ORIGIN, CHEMICAL COMPOSITION, AND

IMPORTANCE IN NATURE, London : BAILLERE, TINDALL & COX. 1936.












สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (2889 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©