-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 562 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

ข่าวแวดวงเกษตร9





เนื้อเมล็ดปาล์มน้ำมันอบแห้งไขมันเต็มเป็นส่วนประกอบในสูตรอาหารไก่


การใช้เนื้อเมล็ดปาล์มน้ำมันอบแห้งไขมันเต็มเป็นส่วนประกอบสูตรอาหารไก่กระทงมีผลต่อ น้ำหนักตัวเพิ่ม อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวและคุณภาพซาก


นางสาวชมัยพร สิทธิเกษมกิจ นักศึกษาปริญญาโทสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร ด้านสัตวศาสตร์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร พบว่า การใช้เนื้อเมล็ดปาล์มน้ำมันอบแห้งไขมันเต็มเป็นส่วนประกอบในสูตรอาหารไก่กระทงมีผลต่อน้ำหนักตัวเพิ่มและอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว สามารถใช้เนื้อเมล็ดปาล์มน้ำมันอบแห้งไขมันเต็มในระดับ 30-40% โดยมีสมรรถภาพการผลิตไม่แตกต่างกับสูตรเปรียบเทียบ (ไม่ใช้เนื้อเมล็ดปาล์มน้ำมันอบแห้งไขมันเต็ม) ทั้งนี้ ไก่กระทงอายุ 0-3 สัปดาห์ การให้อาหารที่มีระดับโปรตีน 21% และใช้เนื้อเมล็ดปาล์มน้ำมันอบแห้งไขมันเต็มในระดับ 30% ส่วนในช่วงอายุ 3-6 สัปดาห์ การให้อาหารที่มีระดับโปรตีน 19% และใช้เนื้อเมล็ดปาล์มน้ำมันอบแห้งไขมันเต็มในระดับ 40% ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่ม อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวและคุณภาพซากไม่แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรในการนำเนื้อปาล์มน้ำมันมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์

สืบเนื่องจากการประกอบสูตรอาหารสัตว์นั้น วัตถุดิบอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต เป็นแหล่งพลังงานหลักและใช้ในปริมาณมากกว่าอาหารกลุ่มอื่น โดยเฉพาะอาหารสัตว์ปีกมีการใช้ข้าวโพดเป็นวัตถุดิบหลัก โดยนิยมใช้ในระดับ 40-50% ในสูตรอาหาร ขณะเดียวกันมีการใช้วัตถุดิบพลังงานสูง ได้แก่ น้ำมันและไขมันเป็นแหล่งพลังงานเสริม เพื่อให้ได้พลังงานเพียงพอกับความต้องการ อย่างไรก็ตาม การใช้ข้าวโพดในสูตรอาหารสัตว์มักพบการปนเปื้อนเชื้อรา ซึ่งสามารถผลิตสารอะฟลาทอกซิน เนื่องจากข้าวโพดมีแหล่งปลูกในเขตภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การสั่งซื้อมาใช้ในเขตภาคใต้เป็นการเพิ่มต้นทุนด้านการขนส่ง และหากสั่งซื้อในปริมาณมากอาจเกิดปัญหาด้านการเก็บรักษาเนื่องจากความชื้นในอากาศสูงทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย ขณะเดียวกัน ปาล์มซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของภาคใต้ มีองค์ประกอบทางโภชนะของเนื้อเมล็ดปาล์มน้ำมันอบแห้งไขมันเต็มมีส่วนประกอบของโปรตีนใกล้เคียงกับข้าวโพด แต่มีไขมันและเยื่อใยสูง

ดังนั้น นางสาวชมัยพร สิทธิเกษมกิจ จึงได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ได้ของเนื้อเมล็ดปาล์มน้ำมันอบแห้งไขมันเต็มที่มีผลต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพซากของไก่กระทง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวทางในการนำเนื้อเมล็ดปาล์มมาใช้เป็นส่วนผสมในสูตรอาหารไก่กระทง พบว่า ไก่กระทงอายุ 0-3 สัปดาห์ ใช้เนื้อเมล็ดปาล์มน้ำมันอบแห้งไขมันเต็มในระดับ 30% ส่วนในช่วงอายุ 3-6 สัปดาห์ ใช้เนื้อในเมล็ดปาล์มน้ำมันอบแห้งไขมันเต็มในระดับ 40% ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มและอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวไม่แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบ

จากการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการนำเนื้อเมล็ดปาล์มน้ำมันอบแห้งไขมันเต็มซึ่งมีโปรตีนรวมใกล้เคียงกับข้าวโพดมาใช้ประกอบเป็นสูตรอาหารสัตว์ เป็นทางเลือกหนึ่งของเกษตรภาคใต้เพื่อใช้เป็นอาหารของไก่กระทง

ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัต เมืองแก้ว สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช โทรศัพท์ 075 672360

ข่าวโดย
ส่วนประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์


















สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (2217 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©