-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 235 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เกษตรต่างแดน19




หน้า: 2/6



4. ลำไยปิงปอง
เริ่มรายการ  
เพลงบรรเลง (เปิดเพลงดอกไม้ให้คุณ เริ่มจากไตเติ้ลจนถึงขอมอบดอกไม้ในสวน. จากนั้นลดเสียงเพลงลงให้คลอเบาๆ)
 
ผู้ดำเนินรายการ
สวัสดีค่ะคุณผู้ฟังที่รักทุกท่าน พบกับรายการสาระความรู้ทางการเกษตร จากคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ กันอีกครั้งนะคะ สำหรับวันนี้ดิฉันดวงจันทร์ เกรียงสุวรรณ ขอเสนอเรื่อง ลำไยปิงปองจากเวียดนาม ค่ะ
 
  เวียดนาม หรือสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ภายหลังเลิกสงคราม และเปิดประตูสู่โลกภายนอกแล้ว แม้ว่าความเจริญในด้านวัตถุยังล้าหลังกว่าประเทศไทย เพราะยังอยู่ในสภาวะฟื้นฟูประเทศ แต่เรื่องพืชสวนของเวียดนามก็มีของดีประจำท้องถิ่นและมีสายพันธุ์ที่ก้าวหน้า ลึกล้ำที่เป็นของเดิมทั้งที่หลักวิชาการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เทียบกับประเทศไทยเราไม่ได้ ตัวอย่างเช่น ฝรั่งเวียดนามที่เข้ามาสร้างความแปลกประหลาดใจในผลและรสชาติที่ยิ่งใหญ่ที่ไม่มีใครพบเห็นมาก่อนทั้งที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านอยู่ไม่ไกลจากกันนัก ทำให้เป็นพืชสำคัญในตลาดผู้บริโภคและทำให้ฝรั่งพันธุ์ดั้งเดิมของไทย ไม่ว่าจะเป็นฝรั่งขี้นก หรือฝรั่งอินเดียต้องเลือนหายไปจากความนิยมของผู้บริโภค
 
  นอกจากฝรั่งเวียดนามแล้วยังมีแก้วมังกรหรือดราก้อนฟรุ๊ตก็เป็นผลผลิตที่มาจากเวียดนาม แต่การที่แก้วมังกรเงียบหายไปจากตลาดพักหนึ่งนั้นเป็นเพราะการที่ไม่มีการคัดเลือกพันธุ์ที่มาปลูก มาถึงวันนี้วันที่เกษตรกรชาวสวนกำลังจับตาดูพืชสวนพันธุ์ใหม่ที่มาจากเวียดนามเข่นกัน ได้แก่ ลำไยที่มีผลขนาดใหญ่กว่าพันธุ์อีดอของเราถึงเท่าตัว หรือมีขนาดเท่าหรือจะใหญ่กว่าลูกปิงปองด้วยซ้ำไปทำให้ต้องคิดว่าที่เวียดนามเขามีอะไรๆดีๆ ที่ใหญ่ไปหมดทุกอย่างหรือเปล่า ค่ะ
 
  สาเหตุที่ทางรายการต้องพูดถึงลำไยปิงปองจากเวียดนาม ก็เนื่องจากลำไยพันธุ์นี้มีลักษณะผลใหญ่ขนาดเท่าลูกปิงปอง หรือมีขนาด 30 ผล/กก.และเมื่อเปรียบเทียมกับพันธุ์อีดอของเรา เกรดเอ หรือเกรดจัมโบที่มีผลขนาด 70 ผล/ กก. จึงตั้งชื่อลำไยพันธุ์นี่ว่า "ลำไยปิงปอง" ซึ่งเป็นลำไยพันธุ์พื้นเมืองของเวียดนามที่มีด้วยกันหลายพันธุ์ แต่ได้คัดเลือกสายพันธุ์ที่มีลักษณะเด่นมาเพียง 2 พันธุ์คือ พันธุ์ปิงปองกับพันธุ์พริกไทย แต่ลำไยพันธุ์พริกไทยมีขนาดผลพอๆ กับลำไยพันธุ์อีดอ แต่คุณภาพในผลมีรสหวานหอม เนื้อแห้งไม่ฉ่ำน้ำ และมีเนื้อมาก เนื้อหนาเป็นพิเศษเพราะเมล็ดเล็กๆ พอๆ กับพริกไทย ค่ะ
 
  แต่จุดเด่นที่ทั้งสองพันธุ์ คือ การเป็นลำไยทะวาย ที่สามารถทำให้ออกดอกและติดผลได้ถึงปีละสองครั้ง ด้วยกรรมวิธีง่ายๆ โดยการควั่นกิ่ง และไม่ต้องใช้สารใดๆ บังคับ โดยเฉพาะโปรแตสเซียมครอเรทซึ่งเป็นส่วนผสมของเชื้อประทุดินประสิวที่มีผลตต่อรากอย่างรุนแรงจนมีผลทำให้ต้นลำไยมีโอกาสตายง่ายๆ ทีเดียวค่ะ
 
  ลำไยพันธุ์ปิงปอง และพันธุ์พริกไทย เป็นลำไยที่มีสายพันธุ์มาจากเวียดนามดังกล่าว สามารถนำมาปลูกได้ในพื้นที่ทั่วประเทศไทย หรือแม้แต่ภูมิภาคทางใต้ โดยไม่จำเป็นต้องเลือกพื้นที่ปลูกที่มีอากาศหนาว เพื่อที่จะใช้ความหนาวเย็นกระตุ้นให้เกิดการสร้างตาดอก เพราะลำไยของเวียดนามเป็นลำไยสายพันธุ์เมืองร้อนที่สามารถออกดอกและติดผลได้ตลอดปีโดยไม่เลือกฤดู เช่นเดียวกับลำไยพันธุ์เพชรสาคร ค่ะ
 
  การใช้ปุ๋ยบำรุงต้น มีคำแนะนำว่าควรใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น ปุ๋ยไข่มุก 16-16-16 ใส่ทั้งในช่วงเก็บผลผลิตและตัดแต่งกิ่งแล้ว และใส่ปุ๋ยอีกครั้งในช่วงก่อนออกดอก 1 เดือน ซึ่งอาจจะใช้สูตร 12-24-12 หรือใช้ปุยสูตร 8-24-24 ร่วมกับแคบลเซียมไนเตรทโบรอน 15-0-0 เป็นปุ๋ยเสริม ซึ่งจะให้ความแข็งแรงแก่ต้น ดอกและผล และช่วยให้ต้นลำไยดูดรับธาตุอาหารอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะต้นไม้ที่ติดดอกออกผลผิดปกติอย่างลำไยทะวายพันธุ์ปิงปองนี้ ที่ให้ผลผลิตตั้งแต่ลงปลูกเพียง 2 ปีแรก และผลผลิตออกดอกปีละ 2 ครั้ง อีกด้วยค่ะ
 
  สิ่งที่น่าแปลกใจและผิดแผกแตกต่างกับพืชไม่ผลยืนต้นทั่วไป คือ เป็นลำไยที่มีทรงพุ่มเล็กกะทัดรัดทั้งทรงพุ่มและลักษณะใบคล้ายกับลำไยเครือหรือลำไยเลื้อยของไทย แต่ผลกลับใหญ่มากผิดปกติ เพราะส่วนมากไม้ผลทั่วไปที่มีใบขนาดเล็ก ผลก็จะเล็กและไม่ติดผลทะวาย และจุดเด่นอีกอย่างหนึ่ง คือมีกิ่งก้านเหนียวแข็งแรงมีอายุการติดดกจนเก็บเกี่ยวผลผลิต ออกจำหน่ายได้เพียง 4 เดือนเท่านั้น การติดผลครั้งที่สองในรอบปีจึงไม่มีปัญหา แต่จะต้องมีการบำรุงดินดังกล่าวข้างต้น ส่วนคุณภาพของผลที่มีเนื้อมากเนื้อหน้านั้น เนื้อเป็นสีเหลืองน้ำผึ้ง แต่แห้งไม่แฉะน้ำ และการทำลำไยพันธุ์ปิงปองมีทรงพุ่มเล็กนั้น จึงทำให้ลำไยพันธุ์ปิงปองสามารถนำไปปลูกได้ในลักษณะระบบพุ่มชิด โดยการปลูกในระยะ 4x4 เมตรใน 1 ไร่ จะปลูกได้ 100 ต้น เป็นโอกาสที่เกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ใน 2 ปีแรก ดังนั้นเมื่อมีการเก็บผลผลิตออกจำหน่าย เกษตรกรก็จะได้ทุนคืนแล้วค่ะ
 
  คุณผู้ฟังที่รักค่ะ หากคุณผู้ฟังต้องการรายละเอียดเกี่ยวกับรายการสาระความรู้ทางการเกษตรเพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด หรือต้องการให้คำแนะนำ ติชมอย่างไรนะค่ะ ก็สามารถติดต่อเข้ามาได้ค่ะ ที่คณะทรัพยากรธรราชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ โทร.(074)-211030-49 ต่อ 2370 หรือที่สถานีวิทยุ มอ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โทร.(074)-211030-49 ต่อ 2999 ในวันและเวลาราชการค่ะ
 
  สำหรับวันนี้เวลาของรายการสาระความรู้ทางการเกษตรได้หมดลงอีกแล้วละคะ คุณผู้ฟังจะติดตามรับฟังรายการสาระความรู้ทางการเกษตรได้ใหม่ ณ สถานีวิทยุมอ.FM 88 MHz ทุกวันจันทร์เวลาประมาณสิบห้านาฬิกาสี่สิบห้านาที สำหรับวันนี้ดิฉันขอลาคุณผู้ฟังไปก่อนค่ะ สวัสดีค่ะ
 

งานศูนย์บริการวิชาการและฝึกอบรม
ผ่ายวิจัยและบริการวิชาการ  คณะทรัพยากรธรรมชาติ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตหาดใหญ่
โทร.  (074) 211030-49  ต่อ 2370  ต่อ 14,212849 ต่อ 14 แฟกซ์ (074) 212823

สถานีวิทยุมอ.FM 88 MHz
ออกอากาศทุกวันจันทร์ เวลา : 15.45-15.55  น.
โทร.  (074) 211030-49 ต่อ 2999



5. ก.เกษตรฯ ปรับโครงสร้างการผลิตกาแฟ
หวั่นกาแฟเวียดนามตีตลาดไทย

นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนปรับโครงสร้างการ ผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ หรือกองทุนเอฟทีเอ ว่า ที่ประชุมอนุมัติงบประมาณของกองทุนเอฟทีเอวงเงิน 54.4 ล้านบาท สำหรับปรับโครงสร้างสินค้ากาแฟแบบครบวงจรของสถาบันเกษตรกรจำนวน 3 แห่ง คือ กลุ่มสหกรณ์ทำสวนเขาทะลุ สหกรณ์ผู้ปลูกกาแฟจังหวัดชุมพร จำกัด และกลุ่มเกษตรกรทำสวน จปร.จังหวัดระนอง ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มคุณภาพผลผลิตกาแฟของสถาบันเกษตรกรทั้ง 3 แห่ง


ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างการผลิตกาแฟครั้งนี้เพื่อลดผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้าอา เซียนหรืออาฟตา ที่ทางเวียดนามจะส่งกาแฟเข้ามาขายมากขึ้น เพราะต้นทุนการผลิตต่ำกว่าของไทย โดยมีเป้าหมายเพิ่มผลผลิตต่อไร่ของการปลูกกาแฟของไทยจากเดิม 200 กก./ไร่ เป็นไม่น้อยกว่า 250 กก./ไร่ โดยต้นทุนการผลิตเมื่อสิ้นสุดโครงการต้องไม่มากกว่าของเวียดนามเกิน 10% และปริมาณธุรกิจของสถาบันเกษตรกรเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 10% เมื่อเทียบกับก่อนเข้าร่วมโครงการ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากการเปิดตลาดภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน แล้ว ยังทำให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในการผลิตกาแฟที่มีคุณภาพ ช่วยส่งเสริมสถาบันเกษตรกรการให้มีความเข้มแข็งในการดำเนินธุรกิจกาแฟให้สอด คล้องกับความต้องการของผู้บริโภคและสามารถแข่งขันในตลาดได้



6. คณะเกษตรฯ มข. หารือความร่วมมือทางวิชาการกับคณะผู้บริหาร อาจารย์และนักวิจัยเวียดนาม

เขียนโดย agpresin.......พฤ. 25 ก.พ. 2553 


เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 09.30-12.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร. อนันต์ พลธานี คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ พร้อมคณะผู้บริหาร อาทิ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาวดี ภักดี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร.สังคม เตชะวงค์เสถียร รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา รองศาสตราจารย์ ดร.สมพงษ์ ดุลย์จินดาชบาพร หัวหน้าภาควิชาประมง รองศาสตราจารย์ เพียรศักดิ์ ภักดี หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์การเกษตร รองศาสตราจารย์ ดร.เทวินทร์ วงษ์พระลับ หัวหน้าภาควิชาสัตวศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ ภัทรจินดา รองหัวหน้าภาควิชาสัตวศาสตร์ฝ่ายบริหารและวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.ยุพา หาญบุญทรง ผู้อำนวยการสำนักงานเกษตรนานาชาติ และอาจารย์ ดร. เทพฤทธิ์ ตุลาพิทักษ์ อดีตรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา พร้อมทั้งนักศึกษานานาชาติประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ให้การต้อนรับ Assoc. Prof. Nguyen Minh HIEU, Rector of Hue University of Agriculture and Forestry ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พร้อมคณะผู้บริหาร อาจารย์และนักวิจัย รวม 18 คน เข้าเยี่ยมชมคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อศึกษาดูงานและเจรจาหารือความร่วมมือทางวิชาการ ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ

        
ซึ่งคณะผู้บริหาร อาจารย์และนักวิจัยจากเวียดนาม สนใจในการเกษตร ด้านความร่วมมือการวิจัย ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกต่อการผลิตพืชและผลิตสัตว์ โดยได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องการบริหารจัดการของคณะเกษตรศาสตร์ตลอดจนเรื่องการแลกเปลี่ยนนักศึกษา 
       
ในโอกาสนี้ คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ ได้แนะนำภาพรวมของคณะเกษตรศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ ภัทรจินดา นำเสนอเกี่ยวกับหลักสูตรและสาขาการวิจัยของภาควิชาสัตวศาสตร์  รองศาสตราจารย์ ดร.สังคม เตชะวงค์เสถียร นำเสนอเกี่ยวกับหลักสูตรและสาขาการวิจัยของภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร รองศาสตราจารย์ ดร.สมพงษ์ ดุลจินดาชบาพร แนะนำกิจกรรมและหลักสูตรของภาควิชาประมง  รองศาสตราจารย์ ดร.ยุพา หาญบุญทรง รายงานหลักสูตรเกษตรนานาชาติและแนวทางความร่วมมือกับต่างประเทศ โดย อาจารย์ ดร. เทพฤทธิ์ ตุลาพิทักษ์ ได้ร่วมให้ข้อมูลและตอบข้อซักถามแก่คณะผู้ศึกษาดูงานอย่างชัดเจน



7. ข้าว/ข้าวหอมปทุมเจอคู่แข่ง
ข้าว 1) ข้าวหอมปทุมไทยเจอคู่แข่ง เมื่อเวียดนามพัฒนาข้าวจัสมิน 85
ข้าว 2) คุณสมบัติคล้ายข้าวหอมปทุมธานี 1 และราคายังถูกกว่าตันละ 100 ดอลล์
        
นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อุทัยโปรดิวส์ จำกัด ผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิรายใหญ่รายหนึ่ง เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงสถานการณ์ส่งออกข้าวหอมของไทยว่า แนวโน้มมีปัญหาสูงและรัฐบาลต้องหามาตรการแก้ไขอย่างเร่งด่วน กล่าวคือก่อนหน้านี้จีนซึ่งเป็นผู้นำเข้าข้าวหอมมะลิ 105 จากไทยรายใหญ่รายหนึ่ง ได้พัฒนาพันธุ์ข้าวหอมมะลิขึ้นมา มีคุณสมบัติใกล้เคียงหอมมะลิของไทยมาก จนส่งผลให้จีนนำเข้าข้าวหอมมะลิ 105 จากไทยลดลงไป เพราะข้าวหอมมะลิจีนราคาถูก


นอกจากนี้ ขณะนี้ข้าวพันธุ์หอมปทุมธานี 1 กำลังจะตกอยู่ในฐานะลำบากเช่นเดียวกัน เพราะเวลานี้ประเทศเวียดนาม ได้พัฒนาพันธุ์ข้าวที่ชื่อว่าพันธุ์จัสมิน 85 ขึ้นมามีคุณสมบัติคล้ายข้าวหอมปทุมธานี 1 ของไทยมาก โดยเวียดนามได้ใช้เวลาพัฒนามา 3-4 ปีแล้วและได้เริ่มนำออกมาจำหน่ายสู่ตลาดมากขึ้น ซึ่งราคาข้าวจัสมิน 85 ของเวียดนามเสนอขายอยู่ที่ตันละ 580-600 ดอลลาร์สหรัฐฯ ข้าวหอมปทุมธานี 1ของไทยตันละ 750 ดอลลาร์สหรัฐฯ แต่หลังจากที่ข้าวหอมปทุมธานี 1 ของไทยขยับขึ้นมาอยู่ที่ตันละ 770 ดอลลาร์สหรัฐฯ เวียดนามได้ขยับราคาข้าวจัสมิน 85 ขึ้นมาอยู่ที่ตันละ 680-700 ดอลลาร์สหรัฐฯ


"ข้าวหอมของไทยดูแล้วอนาคตไม่สดใส ปี 2551 ที่ผ่านมาทั้งปริมาณข้าวหอมมะลิและข้าวหอมปทุมธานีต่างลดลงอย่างมาก โดยข้าวหอมมะลิต้นข้าวลดลงจากปี 2550 ที่ส่งออกได้ 1,865,782 ตัน เหลือ 1,804,304 ตัน หรือลดลงร้อยละ 3 ขณะที่ปลายข้าวหอมมะลิลดลงเช่นเดียวกันและลดลงมากกว่าต้นข้าวหอมมะลิ กล่าวคือลดลงถึงร้อยละ 33 จากที่ส่งออกปี 2550 ปริมาณ 1,038,123 ตัน ปี 2551 ส่งออกได้เพียง 694,338 ตัน ข้าวหอมปทุมธานีลดลงร้อยละ 32 จากปี 2550 ส่งออก 347,848 ตัน ปี 2551 ส่งออก 236,474 ตัน" นายเจริญ กล่าวและว่า

ไม่เพียงเท่านั้นประเทศกัมพูชาได้มีการพัฒนาข้าวหอมมะลิเช่นเดียวกัน โดยเวลานี้จากที่รัฐบาลเปิดรับจำนำข้าวหอมมะลิตันละ 15,000 บาท ได้มีการนำข้าวหอมมะลิจากกัมพูชาเข้ามาสวมสิทธิ์โครงการรับจำนำข้าวหอมมะลิไทย เพราะปีนี้ข้าวหอมมะลิไทยช่วงเก็บเกี่ยวเจอฝนคุณภาพข้าวต่ำมาก เมื่อนำข้าวหอมมะลิจากกัมพูชาซึ่งมีคุณภาพด้อยอยู่แล้ว มาปลอมปนจะดูไม่ออกเพราะคุณภาพใกล้เคียงกันมาก


นอกจากนี้โครงการจำนำยังส่งผลเสียหลายด้าน การตั้งราคาจำนำสูงจนเปิดช่องให้มีการนำข้าวกัมพูชามาสวมสิทธิ์ และการรับจำนำที่เก็บไว้นานทำให้คุณภาพข้าวเสื่อมตามไปด้วย เพราะข้าวหอมมะลิจะต้องขายในรูปของข้าวใหม่ที่เพิ่งเก็บเกี่ยวไม่ใช่ข้าวที่เก็บค้างปี เมื่อเก็บไว้นานแล้วนำออกมาประมูลขายคุณภาพข้าวต่ำ ทำให้ภาพลักษณ์ข้าวหอมะลิไทยที่ได้ชื่อว่าเป็นข้าวคุณภาพดีที่สุดในโลกถูกมองจากลูกค้าว่าเป็นข้าวเกรดต่ำ ที่สำคัญโครงการจำนำปีนี้ที่มีข้าวจากกัมพูชาเข้ามาปลอมปนคุณภาพข้าวหอมมะลิไทยยิ่งแย่หนักลงไปอีก เป็นปัญหาใหญ่มากที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการแก้ปัญหาข้าวหอมไม่ให้สูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขัน


"โดยภาพรวมแล้วข้าวไทยทุกชนิดต้องเจอการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น โดยข้าวขาวต้องแข่งกับเวียดนามอย่างหนักอยู่แล้ว เพราะเวลานี้ราคาต่างกันถึงตันละ 200 ดอลลาร์สหรัฐฯ ข้าวหอมมะลิเจอการแข่งขันกับหอมมะลิจีน ล่าสุดหอมปทุมยังต้องมาเจอกับเวียดนามอีก ทางออกของผู้ส่งออกเวลานี้สำหรับข้าวหอมต้องมุ่งไปที่ตลาดสหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย"


ที่มา ฐานเศรษฐกิจ


ที่มา
http://www.riceexporters.or.th/Local%20news/News_2009/news_240209-1.html




8. เวียดนามเตือนเกษตรกรเลิกใช้ขี้ไก่เลี้ยงปลา-สกัดหวัดนก
รองผู้อำนวยการสถาบัน "ปาสเตอร์" ของนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ขอให้เกษตรกรหยุดใช้ "มูลไก่" เลี้ยงปลา เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไข้หวัดนกเข้าสู่นครโฮจิมินห์

    
หนังสือพิมพ์เวียดนามรายงานว่า เกษตรกรเวียดนามใช้มูลไก่ถึงวันละ 100 ตัน เทลงสู่ทะเลสาบแห่งหนึ่งใกล้นครโฮจิมินห์ เพื่อเลี้ยงปลา ทะเลสาบดังกล่าวเชื่อมต่อกับแม่น้ำสายหลักที่ไหลผ่านนครที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนามแห่งนี้

    
ชาวนครโฮจิมินห์ถึง 7 ล้านคนใช้น้ำโดยตรงจากแม่น้ำดังกล่าว ดังนั้นนักวิชาการของสถาบันปาสเตอร์จึงเกรงว่า แม่น้ำของนครโฮจิมินห์อาจกลายเป็นพาหะนำโรคไข้หวัดนกติดต่อสู่ชาวเวียดนามได้ หากเกษตรกรยังไม่เลิกวิธีเลี้ยงปลาด้วยการใช้มูลสัตว์ปีกเทลงในแม่น้ำ และเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา เด็กชายเวียดนามวัย 9 ขวบเสียชีวิตจากเชื้อไวรัสไข้หวัดนกหลังจากว่ายน้ำเล่นใกล้กับบริเวณที่มีคนมักง่ายนำซากไก่ตายไปทิ้งในแม่น้ำ

    
ทั้งนี้ คนสามารถติดเชื้อจากสัตว์ได้จากการสัมผัสสัตว์ป่วยโดยตรง และโดยทางอ้อมจากการสัมผัสกับสิ่งคัดหลั่งจากสัตว์ที่เป็นโรค เช่น อุจจาระ น้ำมูก น้ำตา น้ำลายของสัตว์ที่ป่วย จากการเฝ้าระวังโรคยังไม่พบว่ามีการติดต่อระหว่างคนสู่คน ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคได้แก่ ผู้ที่มีอาชีพและใกล้ชิดกับสัตว์ปีก เช่น ผู้เลี้ยง ฆ่า ขนส่ง ขนย้าย ผู้ขายสัตว์ปีกและซากสัตว์ปีก สัตวบาล และสัตวแพทย์ รวมถึงเด็กๆ ที่เล่นและคลุกคลีกับสัตว์

หนังสือพิมพ์ ข่าวสด



9. เวียดนามฮุบตลาดเขมร $2 พันล้าน
จัดงานถี่ยิบสินค้าไทยตกแผง
นักท่องเที่ยวจากเวียดนามกำลังชมกระเป๋าถือหลากสีหลากดีไซน์อย่างใจจดใจจ่อ ที่ร้านค้าบริเวณด่านตรวจคนเข้าเมืองบ้านหาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด สินค้าไทยเป็นสินค้าคุณภาพเยี่ยมในเวียดนาม แต่ในขณะเดียวกันสินค้าจากเวียดนาม ก็กำลังเข้าครองตลาดแทนสินค้าไทยในกัมพูชา ด้วยสาเหตุที่หลากหลาย 
 
ผู้จัดการ 360 องศารายสัปดาห์ -- ในที่สุดสินค้าโภคภัณฑ์จากเวียดนามก็เข้าแทนที่สินค้าไทยอย่างสมบูรณ์ตามคาด สองฝ่ายเชื่อว่ามูลค่าการค้าขายในปี 2553 จะทะลุเป้า 2,000 ล้านดอลลาร์ มีการประกาศเรื่องนี้ในงานแสดงสินค้าเวียดนาม ที่จัดขึ้นในกรุงพนมเปญ ต้นเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา
      
       เป็นการแสดงสินค้าเวียดนามครั้งที่ 9 ในประเทศเพื่อนบ้าน ตลาดผู้บริโภค 14 ล้านคน ที่ยังมีรายได้ต่ำ แต่นิยมสินค้าที่คุณภาพยอมรับได้และราคาถูก
      
       งานแสดงสินค้าครั้งล่าสุด “ไม่เพียงแต่เป็นการส่งเสริมกิจกรรมทางการค้าเท่านั้น หากยังเป็นการเปิดโอกาสให้ธุรกิจต่างๆ จากเวียดนามได้แสดงสินค้าคุณภาพและการมีฐานะอันมั่นคงในตลาดประเทศเพื่อนบ้าน” สำนักข่าววีเอ็นเอของทางการเวียดนาม กล่าว
      
       นายหวูกิมแฮง (Vu Kim Hanh) ประธานศูนย์ศึกษาและให้ความช่วยเหลือทางธุรกิจเวียดนามบอกกับวีเอ็นเอ ว่า ปีนี้มีธุรกิจและผู้ผลิต ผู้ค้าจากเวียดนามเข้าร่วมมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา
      
       ในช่วงไม่กี่ปีมานี้เวียดนามจัดแสดงสินค้าถี่ๆ ปีละ 2-3 ครั้ง นอกจากกรุงพนมเปญแล้ว ยังขยายไปสู่เมืองใหญ่ใกล้ชายแดนไทย เช่น พระตะบอง กับเสียมราฐ ด้วย และทุกครั้งจะไปพร้อมกับการแสดงทางวัฒนธรรม และ กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ รวมทั้งตรวจรักษาโรคฟรีสำหรับประชาชนทั่วไป เพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่สินค้าจากเวียดนาม
      
       นอกจากสินค้าประเภทอาหาร สิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือนแล้ว ปัจจุบันสินค้าอิเล็กทรอนิกส์กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากเวียดนาม ก็ได้รับความนิมมากขึ้นเรื่อยๆ สามารถเข้าแทนที่สินค้าที่ผลิตจากจีนได้มากขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะสินค้าคุณภาพ ขณะที่มีภาพรวมอยู่ว่า สินค้าจากจีนคุณภาพต่ำ ราคาถูกกว่าเพียงเล็กน้อย สินค้าไทยคุณภาพดีเยี่ยม แต่ราคาแพง
      
       ตามรายของสื่อในกัมพูชาในปัจจุบันอุปกรณ์ก่อสร้าง อุปกรณ์ตบแต่งบ้านจากเวียดนาม รวมทั้งอุปกรณ์สำหรับงานฝ้าเพดาน อุปกรณ์มุงหลังคา ปูพื้นและผนัง ตลอดจนสุขภัณฑ์ ผลิตจากเวียดนามได้เข้าแทนที่สินค้าผลิตจากจีนและไทยอย่างสมบูรณ์
      
       เรื่องนี้สอดคล้องกับข้อมูลของผู้ค้าทางฝั่งไทย ในจังหวัดชายแดนติดกับกัมพูชา
      
       “ดูที่บ้านเราตอนนี้อุปกรณ์ก่อสร้างและเครื่องสุขภัณฑ์จากเวียดนาม หาได้ในร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้างเกือบจะทุกแห่ง เกือบจะทุกจังหวัด คุณภาพพอยอมรับได้แต่ราคาถูกกว่าของไทย” ผู้ค้าและส่งออกที่ท่าเรือเอกชนใหญ่ที่สุดใน จ.ตราด บอกกับ “ผู้จัดการ360องศารายสัปดาห์” ปลายเดือน พ.ย.ปีที่แล้ว
      
       “สำหรับเสื้อผ้า ซึ่งไทยผลิตได้คุณภาพดีที่สุด ดีไซน์สวยงามที่สุด เป็นที่นิยมของชาวกัมพูชา แต่ต้องยอมรับว่าเราได้สูญเสียตลาดให้แก่เวียดนามไปแล้ว” ผู้ส่งออกที่ไม่ประสงค์จะให้ระบุชื่อกล่าว
      
       นายเยียวกิมเฮียน (Yeav Kim Hean) ที่ปรึกษาฝ่ายการพาณิชย์สถานทูตกัมพูชาประจำกรุงฮานอย บอกกับวีเอ็นเอ ว่า “ขณะนี้เป็นโอกาสดีสำหรับผู้ผลิตสินค้าในเวียดนาม ในขณะที่ชาวกัมพูชากำลังเปลี่ยนความนิยมจากสินค้าไทย”
      
       นับตั้งแต่ปี 2551 ที่กรณีพิพาทชายแดนด้านปราสาทพระวิหารปะทุขึ้นมา กัมพูชาได้ตอบโต้ด้วยการรณรงค์ไม่ใช้ ไม่ซื้อสินค้า และบริการจากประเทศไทย และบรรยากาศเช่นนี้ไม่เอื้ออำนวยให้กับงานแสดงสินค้าไทยในกรุงพนมเปญ ซึ่งทำให้ต้องงดจัดมาอย่างน้อย 3 งานตั้งแต่นั้น

ภาพถ่ายวันที่ 23 พ.ย.2552 คนงานที่ท่าเรือ ส.กฤตะวัณ ท่าเรือเอกชนใหญ่ที่สุดที่ชายแดน จ.ตราด กำลังขนหีบห่อบรรจุสินค้าลงเรือ เตรียมส่งไปยังลูกค้าในกัมพูชาที่ จ.เกาะกง ผู้ค้าที่นั่นกล่าวว่าไทยได้สูญตลาดกัมพูชาไปแล้วหลายรายการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่เคยได้รับความนิยมอย่างสูง มีเพียงสินค้าอุปโภคบริโภคประจำวันเท่านั้นทียังมีการสั่งซื้อสม่ำเสมอ 
 
 ตามตัวเลขของสำนักงานส่งเสริมการค้าเวียดนาม (Vietnam Trade Promotion Agency) ในช่วง 3 ปีมานี้สินค้าเวียดนาม สามารถแย่งส่วนแบ่งตลาดในกัมพูชาเพิ่มขึ้นถึง 40% โดยอาหารทะเล อุปกรณ์กับเครื่องมือก่อสร้าง และอาหารแปรรูปเพิ่มขึ้น 67-80% ในช่วงเดียวกันนี้
      
       สินค้าส่งออกที่ขายดีมากยังรวมทั้งบะหมี่สำเร็จรูป ซึ่งได้เข้าแทนที่บะหมี่จากไทยอย่างสมบูรณ์ แม้ว่าผู้บริโภคจะบอกว่า ไม่คุ้นและไม่อร่อยเท่ากับของไทยก็ตาม
      
       ความขัดแย้งชายแดนที่กลายเป็นการเผชิญหน้าทางทหารในปี 2551 ได้ทำให้ผู้ผลิตบะหมี่ยี่ห้อไทยรายหนึ่งในกรุงพนมเปญต้องเปลี่ยนชื่อ และ ภัตตาคารอาหารไทยยอดนิยมแห่งหนึ่งในเมืองหลวงต้องปลดป้ายลง เปลี่ยนชื่อใหม่เช่นกัน
      
       สินค้าเวียดนามที่ขายดีในกัมพูชายังประกอบด้วย เครื่องใช้พลาสติก บุหรี่ ขนมขบเคี้ยว เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลไม้สดและแปรรูป เหล็กก่อสร้าง เครื่องมือการเกษตร ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ขณะเดียวกัน เวียดนามได้นำเข้าวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้า อะไหล่รถยนต์เก่า สินค้าจากไม้ และยางพารา จากกัมพูชา
      
       ตามตัวเลขของฝ่ายเวียดนาม ปี 2552 มูลค่าการค้ากัมพูชา-เวียดนาม พุ่งขึ้นเป็น 1,600 ล้านดอลลาร์ จาก 1,200 ล้านดอลลาร์ในปี 2551
      
       ยังไม่มีตัวเลขที่เป็นปัจจุบัน แต่สถิติของกรมศุลกากรไทย ระบุว่า ห้าเดือนแรกของปี 2552 การค้าขายกัมพูชา-ไทย มีมูลค่ารวม 633.17 ล้านดอลลาร์ ลดลง 31% จาก 922.89 ล้านดอลลาร์ ในช่วงเดียวกันของปี 2551
      
       กัมพูชาซื้อสินค้าจากไทยรวมมูลค่า 614 ล้านดอลลาร์ ส่วนใหญ่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง สินค้าอุปโภคบริโภค อุปกรณ์ก่อสร้างและเครื่องสำอาง ขณะที่ไทยนำเข้าจากกัมพูชาเพียง 18.9 ล้านดอลลาร์ เป็นผลผลิตการเกษตร เสื้อผ้าใช้แล้ว เศษเหล็กกับปลาแห้ง
      
       นางจิระนัน วงศ์มงคล ที่ปรึกษาฝ่ายการพาณิชย์สถานทูตไทยในกรุงพนมเปญ คาดว่า การค้าสองฝ่ายตลอดปี 2552 อาจจะลดลงถึง 40% เป็นประมาณ 1,200 ล้านดอลลาร์ จาก 2,000 ล้านดอลลาร์ในปี 2551 แต่ก็กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก มากกว่าความสัมพันธ์ที่เสื่อมลง


ที่มา  :  ผู้จัดการ



10. กรีนเนทช่วยกลุ่มโกโก้เกษตรอินทรีย์
ในเวียดนาม

วิฑูรย์ ปัญญากุล (30 ม.ค. 53)

Helvetas ซึ่งเป็นหน่วยงานพัฒนาเอกชนของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ได้ริเริ่มการส่งเสริมโกโก้เกษตรอินทรีย์ ในเขตลุ่มแม่น้ำโขง ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเวียดนาม มาตั้งแต่เมื่อ 2 ปีก่อน โดยในช่วงที่ผ่านมาได้ทำการศึกษาวิจัยเพื่อคัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย และพัฒนาเทคโนโลยีการปลูกและการแปรรูปแบบเกษตรอินทรีย์ ทั้งการทำปุ๋ยหมักจากเปลือกโกโก้ การจัดการมวนยุงโกโก้ (mirid bug) และโรคผลเน่าที่เกิดจากเชื้อไฟท้อปโทร่า (phytophthora pod rot) รวมทั้งโรคโคนเน่าจากเชื้อไฟท้อปโทร่าด้วย จนมีความพร้อมที่จะส่งเสริมระบบการปลูกโกโก้แบบเกษตรอินทรีย์ให้กับเกษตร โดยโครงการมีแผนที่จะขยายเกษตรกรสมาชิกให้ได้เป็น 2,000 ครอบครัวในอีก 7 ปีข้างหน้า


ในการขอรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ทางโครงการส่งเสริมโกโก้เกษตรอินทรีย์เวียดนาม (ECO-COCOA) เตรียมการที่จะขอการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ตามระบบ IFOAM และสหภาพยุโรป จากสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) ในลักษณะของการผลิตแบบกลุ่ม ซึ่งทำให้โครงการต้องจัดทำระบบควบคุมภายใน (internal control system) ขึ้น ดังนั้น ทางโครงการฯ จึงได้ติดต่อมายังมูลนิธิสายใยแผ่นดิน เพื่อให้เป็นที่ปรึกษาในการพัฒนาระบบควบคุมภายในและเตรียมการขอการรับรองเกษตรอินทรีย์ ซึ่งทางมูลนิธิฯ ได้มอบหมายให้คุณวิฑูรย์ ปัญญากุล หัวหน้าฝ่ายเกษตรอินทรีย์ของมูลนิธิฯ ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของโครงการดังกล่าว และได้เดินทางไปสำรวจระบบการผลิตของเกษตรกรในเขตภาคใต้ของเวียดนามในช่วงระหว่างวันที่ 20 - 24 มกราคมที่ผ่านมา และอยู่ในระหว่างการวิเคราะห์ระบบการผลิต และจัดเตรียมหลักสูตรการฝึกอบรมให้กับผู้เกี่ยวข้องในโครงการนี้อยู่





หน้าก่อน หน้าก่อน (1/6) - หน้าถัดไป (3/6) หน้าถัดไป


Content ©