-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 305 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เกษตรต่างแดน19




หน้า: 1/6


เกษตรเวียดนาม



1. ยุทธศาสตร์เกษตรเวียดนาม ตั้งเป้าส่งออก 5 แสนล้าน ปี 53

เวียดนามเร่งเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมการเกษตร ตั้งเป้าเพิ่มทั้งผลผลิตและการส่งออกผลิตภัณฑ์เกษตร ป่าไม้ ประมง บุกตลาดโลกหลังเข้าเป็นสมาชิกดับบลิวทีโอเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ชี้ปี 2550 การส่งออกสินค้าเกษตร-ประมงเพิ่มยอดกระฉูดทำสถิติกว่า 4 แสนล้านบาท โดยมี 5 กลุ่มหลัก อาหารทะเล-ข้าว-กาแฟ-ยาง-ผลิตภัณฑ์ไม้ เป็นหัวจักรสำคัญ มั่นใจขยับเป้าเกิน 5 แสนล้านบาทได้ภายในปี 2553 สำนักข่าววีเอ็นเอรายงานว่า ภายในปี พ.ศ. 2553 กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทแห่งประเทศเวียดนาม มีเป้าหมายขยายมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรสู่ระดับ 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 510,000 ล้านบาท และตั้งเป้าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในอัตราปีละ 4-4.5 % หรือคิดเป็นสัดส่วน 3.5 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) พร้อมกับเพิ่มการเติบโตของเศรษฐกิจในพื้นที่ชนบทในอัตราปีละ 8 % รายงานประจำปีของกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทของเวียดนาม ระบุว่า ในปี 2550 ที่ผ่านมา รายได้จากการส่งออกสินค้าเกษตรและป่าไม้รวมทั้งสินค้าประมง ทำมูลค่าสูงถึง 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ( 408,000 ล้านบาท) แล้วโดยมีสินค้าส่งออก 5 กลุ่มที่ทำรายได้สูงสุด คือกลุ่มละมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ได้แก่ อาหารทะเล ข้าว กาแฟ ยาง และผลิตภัณฑ์ไม้ โดยเฉพาะสินค้าอาหารทะเลมีแนวโน้มสดใสตลอดช่วงปีที่ผ่านมาและสามารถทำมูลค่าส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ คือ 3,750 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มจากสถิติของปี 2549 อยู่ถึง 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะเดียวกันจำนวนบริษัทผู้ส่งออกอาหารทะเลของเวียดนามที่ได้รับการรับรองคุณภาพสามารถส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรป (อียู) สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ก็มีเพิ่มขึ้นในอัตราถึงสองเท่า รายงานระบุว่า ผลิตภัณฑ์สินค้าประมงของเวียดนามมีการยกระดับคุณภาพและเพิ่มความหลากหลายอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดเหล่านี้ ในด้านการส่งออกน้ำยางพารา เวียดนามเห็นทิศทางที่ดีขึ้นเช่นกัน เพราะแม้ว่าในปีที่ผ่านมา (2550) จะมีการส่งออกไปยังตลาดใหญ่อย่างจีนลดลง แต่เวียดนามสามารถขยายตลาดใหม่และเพิ่มตัวเลขการส่งออกมาชดเชยกัน สถิติชี้ว่า ในระยะหลายปีที่ผ่านมา เวียดนามส่งออกน้ำยางพารา (rubber latex) ส่วนใหญ่ไปยังประเทศจีน แต่ปรากฏว่าในปี 2550 มูลค่าการส่งออกไปยังตลาดดังกล่าวลดลงถึง 41 % ขณะที่การส่งออกไปยังเกาหลีใต้ ไต้หวัน มาเลเซีย และเยอรมนี เพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น ยกตัวอย่างการส่งออกไปยังมาเลเซียที่เพิ่มขึ้นมากถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับสถิติในปี 2549 ทำให้มาเลเซียเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญต่อยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมเกษตรยางพาราของเวียดนามในอันดับต้นๆ นาย เคา ดึค ฝัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทของเวียดนาม เปิดเผยว่า เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดจากการที่เวียดนามได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจโลก (จากการที่ได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก หรือ ดับบลิวทีโอ อย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมกราคม 2550 ) ภาคการเกษตรของเวียดนามจึงจะเน้นส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตร การปรับปรุงคุณภาพสินค้า และการปรับยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าเกษตรให้ได้ตามกฎเกณฑ์ของดับบลิวทีโอ ทั้งนี้ภายในปี 2551 เวียดนามจะเพิ่มมาตรฐานการควบคุมคุณภาพสินค้าเกษตร ป่าไม้ ประมงและอาหารทะเล เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและสุขอนามัย ยุทธศาสตร์พัฒนาภาคการเกษตรของเวียดนามยังจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการผลิตและส่งออกสินค้าที่มีมูลค่าสูงในตลาด ซึ่งได้แก่ กาแฟ ข้าว และผลิตภัณฑ์ไม้ นอกจากนี้ยังจะปรับปรุงในด้านเทคโนโลยีการเกษตร และจะขยายตลาดส่งออกให้กว้างไกลยิ่งขึ้นสำหรับสินค้าประเภทที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ เช่น อาหารแปรรูป และผลิตภัณฑ์ยางธรรมชาติ รัฐมนตรีเกษตรฯ เวียดนาม กล่าวว่า เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตร รัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการลงทุนด้านนี้เป็นอันดับต้น นอกจากนี้จะประกาศใช้นโยบายให้สิทธิประโยชน์จูงใจการลงทุนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร อาทิ ให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีและการใช้ที่ดินเพื่อดึงดูดความสนใจของนักลงทุนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ (เอฟดีไอ) พร้อมกันนี้เวียดนามยังต้องการความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา หรือ โอดีเอ (Official Development Assistance) จากรัฐบาลต่างประเทศด้วย เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรที่จะทำให้เวียดนามมีพันธุ์พืชและสัตว์ที่ให้ผลผลิตสูงขึ้น และเพื่อยกระดับเทคโนโลยีการแปรรูปสินค้าเกษตร ตลอดจนเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการหลังการเก็บเกี่ยว ทั้งนี้ทางกระทรวงยอมรับว่า แม้ปีที่ผ่านมาตัวเลขการลงทุนโดยตรงของต่างชาติในเวียดนามได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยขยับขึ้นไปแตะระดับ 20,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 690,200 ล้านบาท) แต่การลงทุนโดยตรงในภาคการเกษตรยังถือว่าต่ำมาก คิดเป็นสัดส่วนเพียง 6.5 % ของมูลค่าการลงทุนเอฟดีไอทั้งหมดในช่วงดังกล่าว และคิดเป็น 10.6 % ของจำนวนโครงการลงทุนทั้งหมด
 
 
ที่มา  :  ฐานเศรษฐกิจ



2. ท่องเที่ยวเชิงเกษตรเวียดนาม  "จิ๋วแต่แจ๋ว"
การที่จะไปเที่ยวประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามได้นั้น ก่อนอื่นท่านต้องมีหนังสือเดินทาง (passport) ซึ่งปัจจุบันไม่ต้องทำวีซ่าแล้ว ท่านสามารถเดินทางเข้าประเทศได้เลย คุณสมบัติของผู้ที่จะไปเที่ยวต้องเป็นผู้รักธรรมชาติ เป็นคนง่าย ๆ ติดดิน ชอบรับประทานผัก และปลา เป็นชีวิตจิตใจ ไม่ต้องพกพาเครื่องประดับหรูหรา เพื่อแสดงฐานะทางสังคมเหมือนอยู่ในประเทศไทย เพราะคนเวียดนามเขารู้ว่าคนไทยรวยอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องแลกหรือพกพาเงินดอลล่าร์ไป เพราะเงินไทยของเราสามารถจับจ่ายใช้สอยได้ ในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ หลายแห่ง หากใช้ไม่ได้ก็ไม่ต้องวิตก เพราะเรามีธนาคารกรุงเทพ สาขานครโฮจิมินท์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ 35 Nguyen Hue Boulevard District 1 ในย่านดาว์ทาว์ อยู่ไม่ห่างจากโรงแรมเร็กซ์ โฮเต็ล ท่านสามารถนำเงินบาทไทย แลกเป็นเงินดองเวียดนามได้โดยตรง เวลาเปิดทำการตั้งแต่ 08.00 -16.30 น. จันทร์ถึงศุกร์ และไม่ว่าท่านจะแลกเงินบาทเป็นเงินเวียดนามหรือแลกเงินดอลล่าร์เป็นเงินเวียดนามที่ธนาคารใดก็ตาม โปรดอย่าทิ้งใบเสร็จเที่แลกเงินเด็ดขาด เพราะท่านจะไม่สามารถแลกเงินกลับคืนได้หากไม่มีใบเสร็จแลกเงินสำแดง ซึ่งท่านจะต้องไปแลกเงินคืนที่ตลาดมืดและจะได้รับในอัตราที่ต่ำกว่าธนาคาร โดยทั่วไปท่านแลกเงินดอลล่าร์เป็นเงินเวียดนามง่ายมาก แต่เวลาจะแลกเงินเวียดนามกลับเป็นดอลล่าร์ส่วนใหญ่จะได้รับการปฏิเสธจากธนาคาร โดยอ้างว่าไม่มีเงินดอลล่าร์ เช่น ธนาคารซิตี้แบงค์ สาขานครโฮจิมินท์ ที่ผู้เขียนและคณะประสบมาแล้ว ควรแลกเงินแต่พอใช้อย่าแลกครั้งละมาก ๆ เพราะจะต้องแบกเงินไปทุกหนทุกแห่งลำบากลำบน ตัวอย่างเช่น ผู้เขียนแลกเงินสำหรับคณะทั้งหมด ประมาณ 5,000 ดอลล่าร์ เป็นเงินเวียดนาม ประมาณ 73.5 ล้านดอง หนักสัก 2 กิโลกรัมเห็นจะได้ แบกจนหัวไหล่ล้าไปเลย

    
คณะของเราได้ออกเดินทางจากนครโฮจิมินท์ ไปยังจังหวัดเตียนยาง (TIEN GIANG) ต้องขอโทษผู้อ่านท่านผู้รู้เป็นอย่างสูงที่การออกเสียงสำเนียงภาษาเวียดนามอาจผิดพลาดได้ เข้าเยี่ยมคารวะและดูงานกิจกรรมของศูนย์อารักขาพืชภาคใต้ (Southern Regional Plant Protection Center ) ที่จังหวัดเตียนยาง โดยมี คุณ Ho Van Chien ผู้อำนวยการศูนย์ บรรยายสรุปและตอบข้อซักถามให้กับคณะจนเสร็จสิ้น คุณ Chien นี้ มีความสนิทสนมกับผู้เขียนเป็นอย่างดี เคยเข้าร่วมสัมมนาด้วยกันหลายครั้ง คณะของเราได้รับการดูแลต้อนรับเป็นอย่างดี หลังจากนั้นคณะจึงได้ติดต่อซื้อบัตร การท่องเที่ยวเชิงเกษตรของเมือง หมี่โถ (My Tho) จังหวัดเตียนยาง ซึ่ง บริษัท Tien Giang Tourist เรียกการท่องเที่ยวนี้ว่า การท่องเที่ยวชมความหลากหลายทางชีวภาพ (Bio diversify Tour) อัตราค่าท่องเที่ยวถูกมาก คิดเป็นเงินไทยคนละ 150 บาท เท่านั้น

    
คณะของเราลงเรือที่ท่าเรือของเมืองหมี่โถ เพื่อจะเดินทางไปท่องเที่ยวชมความหลากหลายทางชีวภาพของเกาะต่าง ๆ ที่อยู่กลางแม่น้ำโขง ที่คนท้องถิ่นเรียกว่า แม่น้ำเตียน (Tien River) คล้ายเกาะเกร็ด ที่จังหวัดนนทบุรี ซึ่งมัคคุเทศน์คนสวยของเราได้เริ่มบรรยายทันที เมื่อเรือออกจากฝั่งแล่นผ่านเกาะต่าง ๆ ในแม่น้ำ มัคคุเทศน์คนสวยบรรยายถึงประวัติความเป็นมาของแต่ละเกาะ วัฒนธรรม ประเพณี อาชีพ การดำรงชีวิต และความเป็นอยู่ของผู้คนบนเกาะ จำนวนประชากรบนเกาะ ซึ่งเป็นการปูพื้นฐานและให้ความรู้ในการท่องเที่ยวแก่นักท่องเที่ยว มัคคุเทศน์แต่ละคนจะรับผิดชอบนักท่องเที่ยวเป็นกลุ่ม ๆ แยกกัน เราใช้เวลาเดินทางจากฝั่งเมืองหมี่โถ ถึงเกาะยูนิครอนซึ่งเป็นเกาะใหญ่ที่สุด ประมาณ 30 นาที เกาะยูนิครอน เป็นเกาะขนาดใหญ่กลางแม่น้ำโขง มีความกว้างประมาณ 1 กิโลเมตร และมีความยาวประมาณ 11 กิโลเมตร มีผู้คนอาศัยอยู่ประมาณ 6,000 คน อาชีพหลักของคนบนเกาะนี้คือ การเกษตรโดยปลูกผลไม้ต่าง ๆ เป็นหลัก ผลไม้ที่สำคัญ คือ ลำไย กล้ายไข่ ละมุด เงาะ มะละกอ สับปะรด มะพร้าว และจาก (water coconut) มัคคุเทศน์ที่นำคณะมีความสามารถเป็นอย่างสูงในการที่จะทำให้นักท่องเที่ยวได้รับความรู้ สนุกสนาน และมีความสุขขณะท่องเที่ยว เธอบรรยายว่าบนเกาะนี้มีผลไม้ที่เป็นมงคล 5 อย่าง หากใครได้รับประทานแล้วจะมีโชคดี จะร่ำรวย มีความสุข จริง ๆ แล้ว ก็คือ ผลไม้ธรรมดาเรานี้เอง เป็นแต่เพียงว่าเขาปลูกมากบนเกาะนี้ ซึ่งรสชาดและคุณภาพก็สู้ผลไม้บ้านเราไม่ได้ หากแต่ว่าเป็นวิธีการนำเสนอให้นักท่องเที่ยวเกิดความรู้สึกที่สนใจมากยิ่งขึ้น ผลไม้มงคลที่ว่าก็คือ สับปะรด กล้วยไข่ มะละกอ เงาะ และละมุด เมื่อเรือถึงเกาะมัคคุเทศน์ได้นำคณะของเรารับประทานผลไม้มงคล 5 อย่าง ที่ได้จัดเตรียมไว้แล้ว พร้อมชาจีนร้อน ๆ และผ้าเย็น ซึ่งการรับประทาน ก็มีวิธีการอีกไม่ใช่ธรรมดา มัคคุเทศน์บอกว่า ถ้าจะให้เป็นมงคลมากยิ่งขึ้น เราต้องเริ่มรับประทานตั้งแต่ กล้วยไข่ มะละกอ สับปะรด เงาะ และละมุดเป็นสิ่งสุดท้าย การไม่รับประทานตามลำดับจะทำให้เราไม่มีโชค จริง ๆ แล้วก็คือ การรับประทานที่เริ่มจาก ผลไม้ที่มีความหวานน้อยไปหามากนั้นเอง ไม่มีอะไรวิจิตรพิสดาร แต่หากวิธีการนำเสนอของมัคคุเทศน์ทำให้ดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้นเท่านั้น หลังจากที่รับประทานผลไม้มงคล 5 อย่างและพักผ่อนอิริยาบถกันพอสมควรแล้ว มัคคุเทศน์ก็นำคณะเดินลัดเลาะตามร่องสวนผลไม้เพื่อชมสวนผลไม้ต่าง ๆ โดยในระหว่างเส้นทางจะมีจุดสาธิต แสดงผลผลิตและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของชาวบ้านบนเกาะคล้ายกับเกาะเกร็ดบ้านเรา โดยแต่ละจุดห่างกันประมาณ 50-60 เมตร เดินลัดเลาะกลมกลืนไปกับสวนผลไม้ที่ปลูกผสมปนเปกันหลายชนิด ในลักษณะที่บ้านเราเรียกว่า สวนสมรม จากจุดผลไม้มงคล คณะเราเข้าเยี่ยวชมจุดต่อไป คือลูกอมกะทิแห่งโชคลาภ ซึ่งมัคคุเทศน์ได้นำคณะชมและบรรยายการทำลูกอมจากกะทิที่มีหลายรส เช่น รสและกลิ่นใบเตย เป็นต้น โดยมัคคุเทศน์บอกว่าผู้ที่มาเที่ยวเกาะนี้ หากได้ลองลิ้มรส ลูกอมที่ทำจากกะทิสด ๆ ที่เป็นผลผลิตของคนบนเกาะนี้แล้วจะมีโชคลาภ นับว่าเป็นจิตวิทยาที่ดีที่เดียว และที่จุดนี้ก็จะมีผลิตภัณฑ์ลูกอมกะทิและผลไม้อบแห้งต่าง ๆ เช่น กล้วยตากแช่น้ำผึ้ง และผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นบ้านต่าง ๆ เช่น พัดไม้ไผ่ ตะเกียบ และช้อนที่ทำจากต้นมะพร้าวที่มีอายุกว่า 100 ปีขึ้นไป ขายให้นักท่องเที่ยว จากนั้นมัคคุเทศน์ได้นำคณะของเราไปเยี่ยมชมอีกจุด ซึ่งเป็นจุดสุดท้าย ที่จุดนี้จะมีการบริการน้ำส้มคั้นผสมน้ำผึ้ง และ เหล้าดองสมุนไพรบริการให้นักท่องเที่ยว ได้ชิมพร้อมกับฟังการบรรเลงเพลงพื้นเมืองจากคณะนักร้องและนักดนตรี ซึ่งเป็นคนบนเกาะนี้ และมีผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ให้ชิม จำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวด้วย ซึ่งในทุกจุดที่คณะเราแวะชมมัคคุเทศน์จะมาสะกิดผู้เขียนและบอกว่าเนื่องจากบุคคลเหล่านี้เป็นเกษตรกรไม่มีรายได้ประจำ การอุดหนุนช่วยซื้อสินค้าต่าง ๆ จะช่วยเขาให้มีรายได้เพิ่มขึ้น นับว่าเป็นสิ่งที่ดี ในการให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยวเป็นระยะ ๆ ปรากฏว่าพวกเราช่วยกันอุดหนุนสินค้ารวมกันแล้วไม่น้อยทีเดียว จากจุดสุดท้ายนี้ มัคคุเทศน์ได้นำคณะของเราลงเรือพายลำเล็ก ซึ่งบรรทุกคนได้ลำละ 4 คน นำคณะส่งขึ้นเรือลำใหญ่ เพื่อเดินทางกลับ ผู้เขียนได้ถามมัคคุเทศน์ว่า เราต้องจ่ายค่าเรือลำเล็กนี้หรือไม่ เธอตอบว่า การบริการต่าง ๆ ฟรี เพราะได้เก็บเงินจากพวกเราไปแล้ว ทำให้ผู้เขียนรำพึงในใจว่า คิดว่าเหมือนตลาดน้ำดำเนินสะดวกบ้านเราเสียอีก ซื้อทัวร์มาถูก ๆ แต่มาโดนมัคคุเทศน์ฟันค่าเรือเสียหัวละ 300-500 บาท อ่วมกันทั่วหน้า เมื่อคณะกลับถึงเรือใหญ่แล้ว มัคคุเทศน์ก็จะบรรยายสรุปให้คณะฟังอีกครั้งพร้อมกับผ่ามะพร้าวอ่อน (น้ำเปรี้ยว) ให้พวกเราได้ดื่มแก้กระหาย เป็นการตบท้ายบนเรือ และนี่คือการท่องเที่ยวเชิงเกษตร หรือท่องเที่ยวชมความหลากหลายทางชีวภาพที่ใช้เวลาประมาณ 2.30-3 ชั่วโมง ด้วยเงินท่านละ 150 บาท


จากการนำคณะดูงานครั้งนี้ผู้เขียนได้ตั้งข้อสังเกตเปรียบเทียบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของไทยกับเวียดนามไว้หลายประเด็น คือ
    
1. สถานที่ที่คณะของเราไปชม หากจะเปรียบเทียบกับเกาะเกร็ดของเราแล้วไม่ได้ 1 ใน 4 ของเรา โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม ร้านขายของที่ระลึกบนเกาะยูนิครอนมีสินค้าที่ระลึกของไทยวางขายปนอยู่กับของเวียดนามประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าพวกผ้าฝ้ายพื้นเมืองของไทย
    
2. การที่เขามีบริษัทท่องเที่ยวในท้องถิ่นรับผิดชอบนำคณะนักท่องเที่ยวดูงานโดยมีมัคคุเทศน์ท้องถิ่นรับผิดชอบเป็นกลุ่ม ๆ ทำให้นักท่องเที่ยวได้รับข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวโดยละเอียด เป็นอย่างดี ต่างกับเกาะเกร็ดของเราที่ไม่มีการจัดระบบในแบบนี้ การท่องเที่ยวเกาะยูนิครอนนี้ มัคคุเทศน์ต่างถิ่นจะไม่ได้รับอนุญาตให้บรรยายจะต้องใช้มัคคุเทศน์ของบริษัทในจังหวัดเตียนยางเท่านั้น ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่น อีกทั้งนักท่องเที่ยวทุกกลุ่มยังได้รับข้อมูลที่เหมือนกันอีกด้วย นักท่องเที่ยวจะไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากมัคคุเทศน์ต่างถิ่น ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนในบ้านเรา เช่น กรณีเที่ยวตลาดน้ำของดำเนินสะดวก มีมัคคุเทศน์สักกี่คนที่จะบรรยายให้นักท่องเที่ยวทราบว่า ประวัติความเป็นมาของคลองดำเนินสะดวกว่าขุดเมื่อใด โดยพระมหากษัตริย์พระองค์ใด มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร คลองเชื่อมระหว่างแม่น้ำอะไรสองแม่น้ำ คลองมีความยาวกี่กิโลเมตร มีหลักแบ่งระยะความยาวของคลองทั้งหมดกี่หลัก ซึ่งเป็นที่น่าเสียใจที่ปัจจุบันหลักกำหนดระยะความยาวของคลอง ส่วนมากได้จมน้ำหายไปในคลองดำเนินสะดวก หรือถูกประชาชนที่สร้างบ้านเรือนรื้อทิ้งไปโดยไม่รู้คุณค่าทางประวัติศาสตร์ ส่วนที่ยังเก็บดูแลรักษาเป็นอย่างดีคือ หลักที่ 3 ที่ตำบลหลักสาม อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ติดกับร้านศรีสุวรรณโภชนา ตั้งอยู่หน้าร้านคุณป้าของผู้เขียน ปัจจุบันอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์มาก ซึ่งที่หลักนี้จะจารึกบอกลำดับที่ของหลักเป็นภาษาไทย จีน และโรมัน ตัวอย่างที่กล่าว ๆ มานี้ มัคคุเทศน์สักกี่คนที่จะบอกนักท่องเที่ยวเท่าที่พบเห็น มัคคุเทศน์เกือบทั้งหมดซึ่งบางคนพูดภาษาไทยก็ไม่ชัดพยายามต้อนให้นักท่องเที่ยวลงเรือพาย หรือเรือหางยาว โดยที่นักท่องเที่ยวไม่ทราบว่าลงไปทำอะไร เพื่ออะไร นักท่องเที่ยวจะถูกเรียกเก็บเงินค่าเรือคนละ 300-500 บาท (ชาวต่างชาติ) ด้วยเวลานั่งเรือตั้งแต่ครึ่งชั่งโมงถึงหนึ่งชั่วโมง ซึ่งไม่ยุติธรรมเลย นอกจากนั้นผลไม้ที่ปลูกในบริเวณนั้นก็ยังขายแพงจนไม่สมกับคำว่ามาเที่ยวสวนเลย เช่นมะพร้าวน้ำหอมราคาจากสวนลูกละ 3.50 - 4 บาท เท่านั้น ขายให้นักท่องเที่ยวลูกละ 20-30 บาท ซึ่งราคาน่าจะอยู่ที่ 10 - 15 บาทก็พอ ผู้ที่มาเที่ยวไม่ว่าจะชาวไทยหรือชาวต่างประเทศจะได้มีความรู้สึกที่ดี และอยากกลับมาเที่ยวอีก นักท่องเที่ยวหลายคนเคยบ่นให้ผู้เขียนฟัง ว่ามาเที่ยวแล้วเหมือนถูกโจรปล้น ได้ยินแล้วสะท้อนใจ จุดขายของตลาดน้ำคลองดำเนินสะดวกไม่ได้อยู่ตรงที่พานักท่องเที่ยวมาลงเรือ หรือดูการทำน้ำตาลมะพร้าว ซื้อของที่ระลึกแล้วก็กลับ ถ้าอย่างนี้ประเทศอื่นเขามีสตางค์เขาก็ลงทุนจำลองทำให้นักท่องเที่ยวของบ้านเขาดูได้ไม่ต้องถ่อสังขารมาถึงประเทศไทย จุดขายของตลาดน้ำควรอยู่ที่วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม วิถีการดำรงชีวิตแบบเก่า ๆ ความเป็นธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ ความเป็นคลองดำเนินสะดวก ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศใดในโลกก็ลอกเลียนแบบไม่ได้
    
3. รูปแบบการนำเสนอที่ดีในการนำคณะนักท่องเที่ยวเที่ยวชม แม้ว่าที่เกาะยูนิครอนจะไม่มีอะไรที่เหนือกว่าบ้านเรา แต่ด้วยวิธีการนำเสนอที่ดีเรียบง่าย ต่อเนื่อง เน้นที่ความเป็นธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ ความเป็นเวียดนามที่หลายประเทศไม่มี ทำให้ดูแล้วน่าสนใจ
    
4. ความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวก็เป็นก็เป็นเรื่องสำคัญในการนั่งเรือท่องเที่ยว เรือที่นำคณะนักท่องเที่ยวไปเกาะยูนิครอนทุกลำเขาจะมีชูชีพเพียงพอกับนักท่องเที่ยวบนเรือ ซึ่งเท่าที่สังเกตบ้านเราไม่ค่อยพร้อม ต้องมีอุบัติเหตุเสียก่อนจึงค่อยคิดทำกัน ตามแบบไทย ๆ วัวหายแล้วล้อมคอก
    
5. มัคคุเทศน์ที่นำคณะดูงานที่เกาะยูนิครอนเป็นคนท้องถิ่นมีความรอบรู้เป็นอย่างดี ในสถานที่ ๆ พาคณะดูงาน นักท่องเที่ยวจึงได้รับประโยชน์ในการเที่ยวชมเชิงเกษตรหรือความหลากหลายทางชีวภาพเป็นอย่างดี การท่องเที่ยวเชิงเกษตร หรือความหลากหลายทางชีวภาพนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่มัคคุเทศน์คนไหนก็ทำได้ ตัวอย่างเช่น การท่องเที่ยวชมและชิมผลไม้ ของบ้านเรา มัคคุเทศน์ที่นำชมต้องมีความรู้ทางด้านการเกษตรเป็นอย่างดี เช่นต้องทราบชนิด พันธุ์ การปลูก การปฏิบัติดูแลรักษา ศัตรูพืช เรื่องของสารเคมีทางการเกษตร การปฏิบัติตัวของนักท่องเที่ยวขณะชมสวนผลไม้ การดูลักษณะ หรือเลือกผลไม้ที่ผลแก่เพื่อบริโภค ฯลฯ เป็นต้น การนำนักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวชมและชิมผลไม้ในสวน มัคคุเทศน์ต้องทราบด้วยว่าผลไม้ของไทยมีข้อกำหนด หรือข้อห้ามอะไรบ้างที่ห้ามนำออกจากประเทศไทย ซึ่งบางครั้งนักท่องเที่ยวพยายามที่จะขโมยพันธุ์ไม้ของไทยกลับไปบ้านเขา เพียงแค่กิ่งพันธุ์ดีหนึ่งกิ่งด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ก็สามารถที่จะนำไปขยายพันธุ์ได้เป็นจำนวนมากแล้ว ข้อมูลบางเรื่องที่เป็นเทคนิคหรือวิธีการที่เกษตรกรไทยได้จากประสบการณ์ที่สร้างสมกันมายาวนาน ไม่ควรอย่างยิ่งที่มัคคุเทศน์จะแปลหรือบอกเล่ากับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักท่องเที่ยวที่มาจากภูมิภาคที่มีภูมิอากาศเหมือนบ้านเรา เช่น เวียดนาม มาเลเซีย เป็นต้น

    
แม้ว่าเวียดนามจะเป็นน้องใหม่ในวงการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ซึ่งแทบจะเปรียบเทียบกับประเทศไทยไม่ได้เลย แต่การนำเสนอที่ดี โดยเน้นที่ความหลากหลายทางชีวภาพ ความเป็นเวียดนาม และการท่องเที่ยวที่มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าบ้านเรา ประกอบกับความสมบูรณ์และความสวยงามทางธรรมชาติซึ่งหลายแห่งดีกว่าประเทศไทย จะทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร หรือการท่องเที่ยวทางธรรมชาติมีโอกาสที่จะพัฒนาก้าวหน้าขึ้นมาเป็นคู่แข่งของไทยได้ในอนาคต (อย่าดูแคลนเพื่อนบ้าน)

    
หากท่านใดสนใจไปท่องเที่ยวชมธรรมชาติ วิถีชีวิตเกษตร และการเกษตรในเวียดนาม ก็ลองโทรมาคุยกับ บก.เทคโนชาวบ้านได้


มัคคุเทศน์ กำลังบรรยายประโยชน์ของหมวก   

มัคคุเทศนำคณะของเราเดินชมสวน

หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ จำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยวที่เกาะยูนิครอน

เรือลำเล็กที่รับคณะของเราไปยังเรือลำใหญ่เพื่อเดินทางกลับ

ผู้เขียนกับเพื่อนชาวจีนกับหลักเสาหินบอกระยะทาง หลักที่ 3 ที่เรียกว่า ตำบลหลักสาม ตรงข้ามหน้าที่ว่าการอำเภอแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร



3. การผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในเวียดนาม

การผลิต :
ภาคการเกษตรมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจเวียดนาม โดยสามารถสร้างรายได้  30 %  ของรายได้จากการส่งออกทั้งหมดและ 25 % ของ  GDP  ของประเทศ
           
การเพาะปลูกและการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ในเวียดนามยังเป็นเรื่องใหม่และเพิ่งเริ่มมีขึ้นเมื่อประมาณ  10  ปีที่แล้ว  โดยเริ่มจากชาและเครื่องเทศจำนวนไม่มากนัก  อย่างไรก็ตาม เมื่อประมาณ 2 - 3 ปีที่ผ่านมา พื้นที่การผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ของชา  ผัก  ข้าว  เครื่องเทศ  น้ำผึ้งและสัตว์น้ำได้ขยายตัวมากขึ้น  โดยสถิติเมื่อปี 2549  เวียดนามมีฟาร์มสินค้าเกษตรอินทรีย์จำนวน  1,022  ฟาร์ม  มีพื้นที่เพิ่มเป็น  6,475 เฮคตาร์  ซึ่งคิดเป็นเพียง  0.08 %  ของพื้นที่เกษตรทั้งหมดของเวียดนาม 
            
ผลผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ของเวียดนามบางชนิดสามารถส่งออกได้แล้วแต่ส่วนใหญ่ยังไม่มีศักยภาพในการผลิตเท่าใดนัก   ปัจจุบันมีองค์กรระหว่างประเทศ  2 - 3  องค์กรที่ให้การสนับสนุนการเกษตรอินทรีย์ในเวียดนาม  เช่น  ADDA  ของเดนมาร์ค  ( Agricultural Development Denmark Asia )  GTZ  ของเยอรมัน  และ JICA  ของญี่ปุ่น  เป็นต้น   นอกจากนี้  เวียดนามยังได้รับการสนับสนุนจากบริษัทที่ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก ( สัตว์น้ำ   ชา  เครื่องเทศ  และผลไม้ )  โดยชาเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด
            
ผลผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่สำคัญของเวียดนาม  ประกอบด้วย
            
ในพื้นที่เขตเมือง   :  ผัก  ผลไม้  เนื้อ  ไข่และนม
             
ในจังหวัดแถบภูเขา  :  ชา  กาแฟ  พริกไทย  ผลไม้  พืชสมุนไพรทำยา   เม็ดมะม่วงหิมพานต์  
พืชป่า( เช่น ซินนามอน )   ซึ่งผลผลิตดังกล่าวผลิตภายใต้การรับรองตามมาตรฐานของประเทศผู้นำเข้า
 เช่น  สหภาพยุโรป  สหรัฐอเมริกา  โดยการตรวจสอบและออกใบรับรองกระทำโดยหน่วยงานออกใบรับรองของต่างชาติ ( certification bodies – CB’s )



การตลาด :
ปัจจุบันประมาณ  90 %  ของสินค้าเกษตรอินทรีย์เป็นสินค้าส่งออกโดยมีตลาดหลัก คือ  สหภาพยุโรป  และสหรัฐอเมริกา   ส่วนตลาดในประเทศยังมีน้อยมาก   ส่วนใหญ่เป็นชาและผักออร์แกนนิคที่ขายให้กับคนต่างชาติในเวียดนาม   คนเวียดนามที่มีฐานะดีในกรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์   รีสอร์ทระดับ  5  ดาวและภัตตาคารตามเมืองใหญ่ ๆ
               
ในปี 2542  ได้มีการจัดตั้ง  Hanoi Organic Company  เพื่อเป็นบริษัทที่ดูแลในการพัฒนาตลาดผัก organic ในประเทศ   โดยบริษัทจะรับคำสั่งซื้อจากลูกค้าและแจ้งไปยังเกษตรกรเพื่อการเพาะปลูก


 เก็บเกี่ยวและนำมาจำหน่ายให้กับบริษัท  บริษัทจะนำไปจำหน่ายต่อให้ลูกค้าในกรุงฮานอย  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติและโรงแรม  แต่ระบบดังกล่าวยังไม่สู้จะได้ผลนัก เพราะ
              
-  ในส่วนของเกษตรกร  ปริมาณผัก organic ที่ผลิตได้ยังมีน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตเกษตรแบบดั้งเดิม และเกษตรกรได้รับรายได้
-  ในส่วนของผู้บริโภค  ตลาดผัก organic ไม่ใหญ่และผลผลิตที่จำหน่ายไม่มีการรับรอง ( ช่วงที่ CB’s ยังไม่ให้บริการตรวจสอบและออกใบรับรองในเวียดนาม)
- ในส่วนของผู้จำหน่าย  ไม่มีผลกำไร ทำให้ไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
                 
ในปี 2548  ภาคเอกชนเวียดนามได้จัดตั้งบริษัทเอกชนชื่อ Ecolink เพื่อทำธุรกิจชาอินทรีย์  และบริษัทนี้มีบทบาทเป็นอย่างมากในการพัฒนาชา organic ในเวียดนาม และได้ผลดีมากโดยตลาดส่งออกที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกา  อิตาลี และแคนาดา  แต่ตลาดในประเทศยังมีไม่มาก  ในอนาคตบริษัท Ecolink  มีแผนจะขยายชนิดของผลผลิต  โดยเริ่มจากการผลิตผักในพื้นที่รอบ ๆ กรุงฮานอย  เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง   
                  
ในปี 2547  นายเหวียน บ่า  ฮึง  ( Nguyen Ba Hung ) ได้ตั้งบริษัท  Thien Private Enterprise  ที่เมืองดาลัด  เพื่อดำเนินกิจการผลิตและจำหน่ายผักปลอดสารพิษ  ตามมาตรฐานของเวียดนาม  ต่อมาในปี 2549  ได้ขยายกิจการและปรับมาตรฐานการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานยุโรป  ( EUREP GAP )  และเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น Organik Dalat  Joint  Venture Co. ซึ่งปัจจุบันบริษัทเก็บผักสัปดาห์ละ  3  ครั้ง ๆ ละ 2.5  ตัน และ 80%  ของผลผลิตจำหน่ายในประเทศ  ส่วนที่เหลือส่งออกไปยังญี่ปุ่น เยอรมัน และไต้หวัน  ในอนาคตบริษัทวางแผนจะตั้งร้านค้าในนครโฮจิมินห์และกรุงฮานอยเพื่อรองรับสินค้าของบริษัท   รวมทั้งจะนำเข้าและจำหน่ายสินค้าอินทรีย์อื่นๆ เช่น ของแห้ง ( dried  items )  เกลือ   cooking oil  และเครื่องเทศ  เป็นต้น  ด้วย

หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง
                
-  กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ( Ministry of Science and Technology )
-  กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท ( Ministry of Agriculture and Rulal Development )
-   กระทรวงศึกษาธิการ  ( Ministry of Education )


การดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองของเวียดนาม
เกษตรกรเวียดนามที่ปลูกพืชเกษตรอินทรีย์สามารถจำแนกได้กว้าง ๆ  3   ประเภท   คือ
                    
1. เกษตรกรที่เพาะปลูกเกษตรอินทรีย์แบบดั้งเดิม (traditional organic farmer )  คือเกษตรกรที่ไม่เคยใช้สารเคมีในการเพาะปลูกและยังคงใช้วิธีการเพาะปลูกแบบดั้งเดิม  ปัจจุบัน เกษตรกรประเภทนี้เหลือไม่มากนัก   ส่วนใหญ่เพาะปลูกตามพื้นที่แถบภูเขาและชนกลุ่มน้อยทางภาคเหนือของประเทศ

                    
2. เกษตรกรที่ปรับมาเป็นการเพาะปลูกเกษตรอินทรีย์  ( reformed  organic farmer ) คือเกษตรกรที่เดิมเคยใช้สารเคมีในไร่นา  แต่ปัจจุบันหลังผ่านการ training course  ว่าด้วยการจัดการด้านศัตรูพืชและผักปลอดสารพิษแล้ว  ได้ปรับปรุงวิธีการเพาะปลูกโดยลด / ยกเลิกการใช้สารเคมี
                    
3. เกษตรกรที่เพาะปลูกเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองแล้ว ( certified organic farmer )  เป็นผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ที่พัฒนาแล้วและได้รับการรับรองแล้ว  หรืออยู่ระหว่างกระบวนการจะได้ใบรับรอง    ส่วนใหญ่ได้รับการผลักดันจากบริษัทการค้าของเอกชนที่ต้องการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์   มีเพียง  2 – 3 โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรด้านการพัฒนา   รายชื่อบริษัท / โครงการที่ให้การริเริ่มแก่เกษตรกรกลุ่มนี้  ปรากฏในตารางที่แนบ

การออกใบรับรองและมาตรฐาน
                   
แม้ว่าจะมีความพยายามจัดตั้งหน่วยงานของเอกชนในการออกใบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศ  แต่เวียดนามยังคงไม่มีมาตรฐาน organic ของประเทศหรือแม้แต่หน่วยงานรับรองในประเทศ   ผลผลิต organic  ทั้งหมดจะถูกรับรองโดยผู้ออกใบรับรองต่างชาติ   เช่น  ICEA ( อิตาลี )  และ ACT (ไทย)  เป็นต้น   ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นจุดอ่อนของธุรกิจสินค้าเกษตรอินทรีย์ของเวียดนาม


แนวโน้มตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ของเวียดนาม
ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในเวียดนามยังคงจำกัด  เพราะผู้บริโภคยังมองว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย  แม้ว่ารัฐบาลจะให้การสนับสนุนให้มีการผลิตและการจัดตั้งระบบการรับรอง   รวมทั้งให้ติดป้ายฉลาก
 “ผักปลอดสารพิษ”  แต่ผู้บริโภคก็ไม่ให้ความเชื่อถือฉลากดังกล่าว  ซึ่งเป็นเหตุผลหลักสำหรับความล้มเหลวของ

ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศ :
อย่างไรก็ตาม คาดว่าอนาคตสำหรับตลาดในประเทศของสินค้าเกษตรอินทรีย์ของเวียดนามจะขยายตัวมากขึ้น  เนื่องจาก :
-  เวียดนามเป็นตลาดใหญ่มีพลเมืองมากกว่า  87  ล้านคน
-  ประชากรในเขตเมืองที่มีรายได้สูงเพิ่มมากขึ้นและสามารถซื้อสินค้า organic ที่มีราคาสูงได้
-  ผู้บริโภคในเขตเมืองเริ่มมีความตื่นตัวต่อการเลือกซื้ออาหารที่ปลอดภัยและเกี่ยวข้องกับสุขภาพมากขึ้น

--------------------------------
สคต.นครโฮจิมินห์
15 พฤษภาคม 2552





หน้าถัดไป (2/6) หน้าถัดไป


Content ©