-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 209 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เกษตรต่างแดน18




หน้า: 2/2



ภาวิณี สุดาปัน

ไปดูความก้าวหน้าทางด้านการเกษตร ของฟิลิปปินส์ กับสมาคมเทคโนโลยี
ชีวภาพสัมพันธ์ (ตอนจบ) เยี่ยมชมการเกษตร ลูซอน และ มอนคาด้า ทาแลค


เวลา 07.00 น. วันที่ 24 มีนาคม 2553 ทุกคนพร้อมกันที่รถบัส ซึ่งทางเจ้าหน้าที่
จาก Crop Life Asia ได้จัดเตรียมไว้สำหรับการเดินทาง จำนวน 2 คัน ใช้เวลาใน
การเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมงเศษๆ สถานที่แรกที่คณะเดินทางจะต้องเข้าเยี่ยมชม คือ

เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ข้าวแห่งชาติ IRRI และแปลงทดลองข้าว มะละกอ ที่มหาวิทยาลัย
ลอสบันโญส สถาบันปรับปรุงพันธุ์พืช

ฟังการบรรยายเกี่ยวกับมะเขือม่วง บีที มะละกอต้านทานโรคใบด่างจุดวงแหวน และมะละกอ
 จีเอ็มโอ ชะลอความสุกแก่

เยี่ยมชมแปลงปลูกข้าว จีเอ็มโอ และข้าวสีทอง ซึ่งขณะนี้ทาง IRRI กำลังวิจัยอยู่ในขั้น
ลงแปลงทดลองปลูก ซึ่งคาดว่าอีกไม่เกิน 2 ปี ผลงานวิจัยก็จะถูกนำออกมาเผยแพร่

ลักษณะต้นข้าวสีทอง มีสีเหลืองทั้งเปลือกเมล็ด เป็นสายพันธุ์ที่ถูกปรับปรุงขึ้นมาเพื่อให้มี
แคโรทีนสูงกว่าข้าวปกติทั่วไป ให้ผลผลิตมาก ต้านทานโรคและแมลง

เดินดูแปลงปลูกข้าวในโรงเรือนมุ้งลวด

ดูแปลงปลูกมะละกอ จีเอ็มโอ ในแปลงทดลองซึ่งอยู่ในขั้นการทดลองลงแปลงปลูกเช่นกัน

เช้าวันที่ 25 มีนาคม 2553 เดินทางสู่เขตชนบท เพื่อเยี่ยมชมแปลงข้าวโพด จีเอ็มโอ
ของเกษตรกรในระดับไร่นา เดินทางโดยรสบัส ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง
เศษๆ ก็ถึงจุดนัดพบจุดแรกที่ทางเจ้าหน้าที่จะพาไปดู


เยี่ยมชมแปลงปลูกข้าวโพด จีเอ็มโอ เพื่อการค้า

ที่ มอนคาด้า ทาแลค (Moncada Tarlac)


แปลงที่ 1 เป็นข้าวโพดลูกผสม จีเอ็มโอ สายพันธุ์ 818 ซื้อเมล็ดพันธุ์จาก บริษัท มอน
ซานโต แบ่งการเยี่ยมชมออกเป็น 3 แปลง แปลงทดลองที่ 1 เยี่ยมชมลักษณะแปลงปลูก
ข้าวโพด จีเอ็มโอ ที่มีวัชพืช (ไม่ได้ใช้ยากำจัดวัชพืช) กับไม่มีวัชพืช (ใช้ยากำจัดวัชพืช
จาก บริษัท มอนซานโต) ผลปรากฏว่าแปลงปลูกที่ใช้ยากำจัดวัชพืช จะเจริญเติบโตดีกว่า
และไม่มีหนูมาทำความเสียหายให้กับวัชพืช

แปลงที่ 2 เป็นแปลงทดลองที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะการกัดทำลายของตัวหนอนที่กัดกิน
ใบ กัดกินแกนลำต้น ตลอดจนทั่วทั้งใบ และลักษณะการกัดเจาะที่เป็นรูทั่วทั้งต้น ตัวนี้จะมี
ประสิทธิภาพในการทำลายก่อให้เกิดการสูญเสียผลผลิตได้สูง

แปลงที่ 3 เป็นแปลงทดลองที่แสดงให้เห็นผลผลิตข้าวโพด ที่สามารถเก็บผลผลิตจำหน่าย
ได้ ประมาณ 120 วัน ลักษณะเมล็ดใช้มือจิก ถ้าแข็งแสดงว่าเก็บได้เลย สำหรับเป็น
อาหารสัตว์เลี้ยง ประมาณ 90 วัน สำหรับคนบริโภค สังเกตเห็นวัชพืชจำพวกแตงเมลอน
วัชพืชตัวนี้หนูจะชอบมากัดกิน เพราะฉะนั้นควรกำจัดทิ้งเสีย เพื่อป้องกันการสูญเสียผลผลิต


เยี่ยมชมแปลงปลูกข้าวโพดของเกษตรกร คนที่ 1


เกษตรกรคือ คุณจูเลียต้า (Julieta Mordyuirl) อายุ 43 ปี เป็นคนฟิลิปปินส์
เริ่มปลูกข้าวโพด จีเอ็มโอ ตั้งแต่ปี 1992 ปลูกข้าวโพด จีเอ็มโอ ประมาณ 2,500 ไร่
พันธุ์จาก บริษัท ซินเจนตา ปลูกเพื่อเป็นอาหารสัตว์ สาเหตุที่เลือกพันธุ์จากซินเจนตา
เพราะเมล็ดมีสีเหลืองเต็มเมล็ด น้ำหนักฝักดี ตากแห้งเร็ว

เริ่มปลูกข้าวโพด บีที เมื่อปี 2002 แต่ก่อนประสบปัญหาเรื่องวัชพืช เดี๋ยวนี้ใช้พันธุ์ข้าว
โพด จีเอ็มโอ แล้วใช้สารเคมีน้อยลง ผลผลิตเพิ่ม ไม่ต้องดูแลมาก ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา
ส่วนที่มากกว่าปุ๋ยเคมี

การเก็บเกี่ยวผลผลิต ใช้แรงงานคนร่วมกับเครื่องจักรกลเกษตร


เยี่ยมชมแปลงปลูกข้าวโพดของเกษตรกร คนที่ 2


คุณแอนโตมิโอ ไดซอน (Antomio Dizon) อายุประมาณ 40 กว่าปี แต่ก่อนใช้
พันธุ์พื้นเมืองมักประสบปัญหาวัชพืช พันธุ์ไม่ต้านทานโรคแมลง จึงเปลี่ยนมาใช้ข้าวโพด จี
เอ็มโอ ให้ผลผลิตมากกว่า ไม่มีปัญหาวัชพืช ใช้พันธุ์ของ บริษัท มอนซานโต สายพันธุ์ที่
ปลูกมี 2 สายพันธุ์ คือ พันธุ์ 818 กับ 9132

สายพันธุ์ 818 จะเป็นต้นที่มีฝักเพียง 1 ฝัก ให้น้ำหนักดี ส่วนพันธุ์ 9132 เป็นพันธุ์ที่ให้
ฝัก 2 ฝัก ต่อข้าวโพด 1 ต้น ผลจะเล็กกว่าสายพันธุ์แรก เมื่อแก่ผลฝักก็ยังเขียว

การใส่ปุ๋ยต่อ 1 รอบการปลูก ใส่จำนวน 2 ครั้ง ในช่วง 1 วัน ก่อนการปลูก และ 45 วัน
หลังการปลูก ระยะเวลาการเก็บผลผลิต ประมาณ 120 วัน ได้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 14
ตัน ต่อ 10 เฮกตาร์ (1 เฮกตาร์ เท่ากับ 6.25 ไร่)

ก่อนจะอำลาจากฟิลิปปินส์ ขอฝากความน่ารักๆ ของเด็กชาวฟิลิปปินส์ทิ้งท้ายกันหน่อย
เด็กๆ ที่นี่แต่งตัวธรรมดา เหมือนชาวบ้านในแถบอีสานบ้านเรา บางคนก็ไม่ใส่รองเท้า บาง
คนก็ฟันหรอ พูดภาษาอังกฤษกันได้ชัดแจ๋ว แตกต่างจากเด็กบ้านเรา ไม่ขี้อาย ก่อนที่จะจาก
มาก็แห่ขบวนกันมาส่งขึ้นรถบัส กล่าวคำอำลาเป็นภาษาตากาล็อกว่า ปาอาลาม แปลว่า ลา
ก่อน เด็กชายไบรอัน ในฐานะที่โตสุดแล้วกล่าวคำอำลาพร้อมกับยกมือขึ้นบ๊ายบาย ว่า ไน
ซ์-ทู-มิส-ยู ผู้เขียนก็เลยยกมือขึ้นลูบหัวเด็กชายไบรอัน‚แล้วกล่าวว่า ลาก่อน (ทุกคน)
ลาก่อนฟิลิปปินส์ เดินทางจากมาพร้อมกับเก็บความประทับใจไว้อย่างมิรู้ลืม





แนะนำสถานที่สำคัญ

สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ IRRI


ตั้งขึ้นเมื่อปี 1960 ที่เมืองลอสบันโญส จังหวัดลากูนา ได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิร็อกกี้
เฟลเลอร์และมูลนิธิฟอร์ด ประเทศที่เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน คือ สหรัฐอเมริกา ไทย
อินเดีย จีน ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์ สัญลักษณ์เป็นเหรียญวงกลมนูน ด้านในมีภาพชาวนาใส่
หมวกกำลังปักดำบนผืนนา มีภูเขาล้อมรอบ ธงประจำสถาบันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สภาพ
พื้นที่เป็นที่ราบภูเขา มีแปลงวิจัยและทดลองจำนวนมาก



พิพิธภัณฑ์ข้าวแห่งชาติไรซ์เวิลด์

พิพิธภัณฑ์ข้าวแห่งชาติ ภายในจะบอกเล่าประวัติความเป็นมาของกสิกรรมตั้งแต่อดีตจนถึง
ปัจจุบัน มีชุดแต่งกายของชาวนาสมัยก่อน มีกระท่อม บ้านดิน อุปกรณ์และเครื่องมือทำการ
เกษตร ไล่ตั้งแต่ ผาลไถ คราด เคียวเกี่ยวข้าว เสียม จอบ กระบุง ไห โพงวิดน้ำเข้านา
ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากฟางข้าว เมล็ดพันธุ์ข้าวจากภูมิภาคทั่วโลก ทั้งยุโรป อเมริกา ละตินอเม
ริกา เอเชีย



มหาวิทยาลัยลอสบันโญส

ตั้งอยู่ที่เมืองลอสบันโญส จังหวัดลากูนา เป็นมหาวิทยาลัยชั้น นำเชี่ยวชาญด้านการศึกษา
และวิจัยการเกษตร สภาพภูมิประเทศอยู่ห่างไกลจากเขตชุมชน ตั้งอยู่กลางภูเขาสูง ก่อนที่
จะถึงจุดหมายจะมองเห็นภูเขาขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเหมือนรูปผู้หญิงนอนพนมมือ เป็น
ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ เวลาเดินทางผ่านจะต้องสำรวมกายและใจ
(นั่งเงียบๆ ห้ามเอ่ยวาจาใดๆ ออกมา จนกว่าจะผ่านเขาลูกนี้)





รถจิ๊ปนีย์ หรือ Sarow ซาเรา (ภาษาตากาล็อก)

ตั้งแต่ลงจากเครื่องที่สนามบินนานาชาตินีนอยอาคีโน (NAIA) ฟิลิปปินส์ เมื่อผ่านด่าน
ศุลกากรและได้กระเป๋าเดินทางเรียบร้อยแล้ว ต่อไปก็ต้องเตรียมตัวหารถไปยังโรงแรมที่จอง
ไว้ หรือในบางโรงแรมจะมีรถไว้คอยบริการลูกค้า ส่วนค่าบริการก็บวกรวมอยู่ในราคาห้องพัก
บางทีอาจจะมองหาแท็กซี่หรือรถโดยสารประจำทางชั้นประหยัด ซึ่งถ้าหากสังเกตให้ดีเวลา
เดินทางออกจากสนามบิน ก็จะมองเห็นรถยนต์ (ซาเรา/จิ๊ปนีย์) สีสันสะดุดตาวิ่งวุ่นบน
ท้องถนน หากเปรียบเทียบกับบ้านเราก็คงจะเหมือนรถสองแถวรับจ้างราคาถูกที่สุดนั่นเอง
แต่จิ๊ปนีย์แตกต่างจากบ้านเราโดยสิ้นเชิง

จี๊ปนีย์ถูกดัดแปลงและรีไซเคิลมาจากรถทหารอเมริกัน ซึ่งถูกปลดระวางหลังจากสงคราม
โลก ครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ชาวฟิลิปินโนแต่ละคนจะคลั่งไคล้ และนิยมจิ๊ปนีย์เป็นพิเศษ เรียก
ได้ว่า เป็นการนำงานศิลปะสไตล์รถสี่ล้อมาแต่งแต้มลวดลายได้อย่างเหมาะเจาะลงตัว แถม
ใช้ประโยชน์ได้ทุกงาน ตั้งแต่งานในไร่ยันในเขตเมืองหลวง

ความโดดเด่นของจิ๊ปนีย์ เป็นรถที่ประหยัดน้ำมัน บรรทุกคนได้มากกว่า 10 คน บนหลังคาก็
สามารถนั่งได้ เป็นรถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อ ฝากระโปรงด้านหน้าคนขับแต่งแต้มสีต่างๆ บางคัน
เล่นสีธงชาติ ขาว แดง น้ำเงิน เหลือง พวงมาลัยด้านหน้าคนขับห้อยตุ๊กตาระโยงระยาง บาง
คันก็ห้อยเครื่องรางของขลัง เบาะหน้ามีพลขับทำหน้าที่เป็นโชเฟอร์แต่งตัวตามสบาย บาง
นายก็สูบซิการ์สบายใจเฉิบ สวมเสื้อกล้ามนุ่งกางเกงเล ขาสั้น ด้านข้างคนขับมีผ้าใบสำหรับ
หลบแสงแดดตอนกลางวัน ถัดจากคนขับก็จะเป็นเบาะสำหรับให้ลูกค้านั่ง นั่งได้ประมาณ 2
คน ด้านข้างติดล้ออะไหล่ 1 ล้อ ส่วนตอนหลังของรถเป็นช่วงยาว มีเบาะนวมทั้ง 2 ข้าง ไว้
สำหรับให้ผู้โดยสารนั่ง ด้านหลังมีบันไดสำหรับเกาะยึด และปีนขึ้นบนหลังคา ด้านข้างติด
ป้ายบอกจุดหมายปลายทาง บางคันก็ติดแผนที่ไว้ด้วย ด้านบนหัวรถบางคันติดเขาควาย
(คนฟิลิปปินส์เรียกควายว่า คาราบาว) บางคันก็ติดธงชาติ

ผู้ผลิตจิ๊ปนีย์รายใหญ่คือ ซาเรา เป็นบริษัทที่ดัดแปลงตัวถัง และเครื่องยนต์โลหะให้เข้ารูป
มีคนงานยัดไส้เบาะด้วยใยมะพร้าว นำเข้าจากวิลลีส์จิ๊ปในดีทรอยต์ ทว่าในปัจจุบันราคา
เครื่องพุ่งสูง เป็นเหตุให้ซาเราต้องปิดกิจการ เพราะสู้คู่แข่งรายอื่นๆ ไม่ได้ ปัจจุบัน จึงไม่
ค่อยเห็นจิ๊ปนีย์ที่มาจากดีทรอยต์ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นจิ๊ปนีย์ที่ดัดแปลงมาจากรถยนต์เก่า
ของญี่ปุ่นมากกว่า



อาหารพื้นเมือง

1. ร้าน Lamaze Grill


เป็นร้านอาหารมื้อสุดท้ายที่คณะเดินทางได้ลิ้มลองกัน รู้สึกว่ารสชาติของอาหารแต่ละอย่าง
นั้น แตกต่างกันออกไป รสจืดบ้าง เปรี้ยวบ้าง แต่ไม่มีรสเผ็ดเลย (อยากกินส้มตำเผ็ดๆ สัก
จานแต่ก็ไม่มี) น้ำดื่ม ชามะนาว ส่วนของหวาน คือ มะม่วงปั่น (อร่อยมาก) ผู้ที่เดินทาง
ผ่านไปเที่ยวฟิลิปปินส์ควรจะลองแวะไปนั่งลิ้มรสกันสักหน่อย นั่งกินลมชมวิวในช่วงที่พระ
อาทิตย์กำลังจะตกน้ำที่หาดมะนิลา ฟังเพลงผ่อนคลายได้มากทีเดียว รายการอาหารที่เป็น
เมนูแนะนำของร้าน (ภาษาพื้นเมืองทั้งหมด) มีดังนี้ Scallop in Goalie
Butter, Tinapa Roll, Tamarind Soup, Grilled Shrimp,
Prawns in Chili Sauce, Asado Bulalo, Seafood Combo,
Sigarilyas sa Gata, Stream Rice and Mango Sago

2. ร้าน Bakahan at Manukan SARI-SARING BULALO ATBP

อาหารพื้นเมืองแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่จังหวัดทาแลค ประเทศฟิลิปปินส์ สไตล์การตกแต่งร้านเหมือน
จะนำวังมัจฉา (ปลา) มาจัดแสดงทั้งวัง แต่ก็สวยแปลกตา ดึงดูดลูกค้าได้ดี แต่ที่เห็นแล้ว
เศร้าใจคือ การนำเศียรองค์พระพุทธรูปของไทยมาตั้งเป็นเสาวางไว้กับพื้น และมีพระพุทธ
รูปองค์ใหญ่วางเด่นอยู่หน้าร้าน 3 องค์ ภายในตกแต่งได้สวยงาม พนักงานประจำร้านแต่ง
ชุดประจำชาติ รายการอาหารเป็นของท้องถิ่นล้วน ประกอบไปด้วย ข้าวห่อใบตอง จำนวน 1
ห่อใหญ่ ปลานิลย่าง (กินแล้วกลิ่นยังคาวติดปาก) แกงส้มลูกข้าวสาร ส่วนเครื่องปรุงและ
ผักเป็นของชาวฟิลิปปินส์ รสชาติเปรี้ยวนำ แกงเนื้อวัวไขขึ้นเต็มตั้งแต่ยังไม่ได้กิน ส่วนน้ำดื่ม
มี 2 อย่าง คือ น้ำมะม่วงกับชามะนาว ของหวานรู้สึกจะเป็นเผือกผสมกับถั่วเหลืองบด รูป
ทรงเป็นก้อนสี่เหลี่ยมลูกเต๋า

3. ร้าน Banana Leafs

เป็นร้านอาหารที่ตั้งอยู่ภายในห้างสรรพสินค้า MG Mall เมืองมะนิลา เมนูอาหารเป็นแบบ
บริการตนเอง อยากกินมากเท่าไรก็ได้ เพราะเหมาจ่าย ชื่อร้านอาหารหากแปลเป็นไทยคง
จะหมายถึง ร้านใบตอง ชื่อร้านน่าจะมีที่มาจากใบตองนี่แหละ เพราะเจ้าของร้านจะไม่ใช้
จาน แต่จะใช้ใบตองแทน รองด้วยถาดที่ทำจากหวาย (ประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ ช่วย
ลดภาวะโลกร้อนได้อีกทาง ไอเดียดีจริง) จากนั้นแขกก็เดินตักอาหารบริการตนเอง ร้าน
อาหารแห่งนี้คล้ายประเทศไทยบ้านเรา เพราะมีผัดผักบุ้ง ผัดผักรวมมิตร ยำส้มโอ ของหวาน
คือ ตะโก้ น้ำดื่มคือ ชามะนาว ถ้าใครไปเที่ยวก็อย่าลืมแวะไปกันล่ะ

4. ร้าน Zamboanga Restaurant Manila

เมนูอาหารประกอบไปด้วย อาหารทะเล รสชาติหวานเลี่ยน มีทั้งผัดทะเลรวมมิตร ยำกุ้ง ปู
ปลา (ปลาที่ขึ้นชื่อคือ ปลานวลจันทร์) ซุป ข้าวสวย ของหวาน มะม่วงสดผ่าครึ่ง หั่นเป็น
ชิ้นลูกเต๋าทั้งสองข้าง ไม่ใส่พริก และรสจัดเหมือนบ้านเรา รสชาติก็อร่อยพอใช้ได้ หรือ
เพราะทุกคนหิวจัดก็ไม่รู้ เมนูอาหารมีดังต่อไปนี้ Zamboanga Soup, Tufo with
Black Beans, Zamboanga Bounty of the Sea, Grilled Lapu
Lapu, Streamed Rice and Fresh Mango







ภาษาตากาล๊อก

Kumusta ka อ่านว่า กูมุสตา กา แปลว่า สวัสดีครับ/ค่ะ

Salamat po อ่านว่า ซาลามัต โป แปลว่า ขอบคุณครับ/ค่ะ

Walang anuman อ่านว่า วาลัง อานูมัน แปลว่า ด้วยความยินดี

Mabuhay อ่านว่า มาบูไฮ แปลว่า ยินดีต้อนรับ

Magandang umaga po อ่านว่า มากันดัง อูมากา โป แปลว่า อรุณสวัสดิ์

Anong pangalan mo อ่านว่า อานอง ปางาลัน โม แปลว่า คุณชื่ออะไร

Ang pangalan ko ay... อ่านว่า อัง ปางาลัน โก ไอ แปลว่า ฉันชื่ออะไร

Sandali lang อ่านว่า ซันดาลี ลัง แปลว่า โปรดรอสักครู่

Maari po bakayong kunan ng retrato อ่านว่า มาอารี โป บากายอง กู
นัน นาง เรตราโต แปลว่า ขอถ่ายรูปได้ไหม

Paalam อ่านว่า ปาอาลัม แปลว่า ลาก่อน

Masarap อ่านว่า มาซารัป แปลว่า อร่อย

Matamis อ่านว่า มาตามิส แปลว่า หวาน

Maasim อ่านว่า มาอาซิม แปลว่า เปรี้ยว

Tubig อ่านว่า ตูบิก แปลว่า น้ำ

Bata อ่านว่า บาตา แปลว่า เด็ก

Lalaki อ่านว่า ลาลากี แปลว่า ผู้ชาย

Babae อ่านว่า บาเบ แปลว่า ผู้หญิง

Magkano ito อ่านว่า มากาโน อีโต แปลว่า ราคาเท่าไหร่

Mahal อ่านว่า มาฮัล แปลว่า แพง

Mura อ่านว่า มูรา แปลว่า ถูก

Ang bill nga อ่านว่า อัง บิล งา แปลว่า เก็บเงินค่ะ/ครับ

Mah-roo nohng ho kay-yong mahg-Ing-glehs อ่านว่า มาห์-รูนอง โฮ
ไค-ยง-มัคอิงกริซ แปลว่า คุณพูดภาษาอังกฤษได้ไหม



ที่มา  :  เทคโนโลยีชาวบ้าน







หน้าก่อน หน้าก่อน (1/2)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (4304 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©