-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 189 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เกษตรต่างแดน12




หน้า: 3/5



การประกันราคาสินค้าเกษตรของญี่ปุ่น

          รัฐบาลญี่ปุ่น ดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อประกันราคาสินค้าเกษตรผ่านหน่วยงาน Agriculture & Livestock Industries Corporation (ALIC) องค์กรที่รัฐบาลญี่ปุ่น ก่อตัง้ขึน้ ในเดือนตุลาคมปี 2539 เกิดจากการรวมตัวของ 2 องค์กร ได้แก่ Livestock Industry Promotion Corporation และ Raw Silk and Sugar Price Stabilization Agency นอกจากนี้ ALIC มีหน้าที่ดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อสร้างเสถียรภาพในการบริโภคสินค้าปศุสัตว์ ผัก น้ำตาลและแป้งมัน รวมถึงให้เงินช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตร ปศุสัตว์ และเสนอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการผลิต การกระจายสินค้า และการบริโภคที่เป็นประโยชน์เพื่อการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและสนองความต้องการของผู้บริโภค การดำเนินนโยบายภายในประเทศและนโยบายด้านต่างประเทศของ ALIC มีดังนี้

          นโยบายในประเทศ 


         1. นโยบายประกันราคา และปรับสมดุลย์อุปสงค์และอุปทานของสินค้าเกษตร ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหารนม เนื้อหมู เนื้อวัว และผักสด
         2. นโยบายช่วยเหลือเกษตรกรสินค้าปศุสัตว์และพืชผัก ได้แก่ ผู้ผลิตน้ำนมดิบสำหรับผลิตผลิตภัณฑ์อาหารนม ผู้ผลิต ลูกวัวพันธุ์เนื้อ ผู้ผลิตผัก ผู้ผลิตอ้อย ผู้ผลิตน้ำตาล ผู้ผลิตมันสำปะหลังและผู้ผลิตแป้งมันสำปะหลัง
         3. ดำเนินมาตรกรในด้านต่างๆ เพื่อส่งเสริมการทำเกษตรและปศุสัตว์
         4. รวบรวมและนำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับอุปสงค์และอุปทานของสินค้าเกษตรและปศุสัตว์


          นโยบายด้านต่างประเทศ


         1. นำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารนมและจำหน่ายต่อ
         2. นำเข้าน้ำตาล รับซื้อและจำหน่ายต่อ
         3. นำเข้าแป้งมันสำปะหลัง ข้าวโพดสำหรับผลิตคอร์นสตาร์ท รับซื้อและจำหน่ายต่อนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการประกันราคาสินค้าเกษตรสรุปประเด็นสำคัญได้ ดังนี้




1. นโยบายประกันราคา และปรับสมดุลอุปสงค์และอุปทานของสินค้าเกษตร

ALIC จัดหาเครือข่ายรองรับ (Safety Net) เพื่อทำการปรับสมดุลอุปสงค์-อุปทานและราคาสินค้าเกษตรที่ผันผวน ให้ผู้บริโภคมีอาหารบริโภคอย่างเพียงพอ โดยมีการประกันราคาสินค้ารายการสำคัญ ดังนี้

       ผลิตภัณฑ์อาหารนม (Dairy Products)

1. ในกรณีที่ราคาผลิตภัณฑ์อาหารนมที่ผลิตในประเทศ เช่น ราคาเนยสูงเกินร้อยละ 10 ของราคามาตรฐาน (ราคาเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง) และราคาผลิตภัณฑ์อื่นๆ อาทิเช่น นมผงขาดมันเนย เวย์โปรตีน (Whey) เวย์โปรตีนปรุงแต่ง Dairy Spreads ฯลฯ สูงขึ้น เกินร้อยละ 8 ของราคามาตรฐาน ALIC จะนำเข้าสินค้าดังกล่าวเป็นกรณีเร่งด่วนเพื่อจำหน่ายต่อไป2. ในทางกลับกัน กรณีที่ราคาผลิตภัณฑ์อาหารนม เช่น ราคาเนยตํ่ากว่าร้อยละ 10 ของราคามาตรฐาน และราคาผลิตภัณฑ์อื่นๆ ต่ำกว่าร้อยละ 8 ของราคามาตรฐาน ALIC จะจ่ายเงินชดเชยแก่ผู้ผลิตอาหารนมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้าในโกดัง










          สินค้าปศุสัตว์ (เนื้อสุกร เนื้อวัวและไข่ไก่)

1. ในกรณีที่ราคาสินค้าปศุสัตว์ในประเทศ ได้แก่ เนือ้สุกรและเนือ้วัว มีราคาปรับตัวสูงขึน้ เกินกว่าราคาขายส่งสูงสุด(Upper Stabilization Price) ที่รัฐบาลกำหนด ALIC จะนำเนือ้สุกรและเนือ้วัวที่เก็บไว้ในสต๊อกออกจำหน่ายในตลาด โดยจะจำหน่าย ณ ราคาขายส่งสูงสุดที่รัฐบาลกำหนด และจะนำปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ คุณภาพสินค้า สถานส่งสินค้า ระยะเวลาที่เก็บสต๊อกสินค้า ต้นทุนในการเก็บสินค้า สถานการณ์ของอุปสงค์-อุปทานในตลาด ราคาในแต่ละตลาด สภาวะเศรษฐกิจ มาพิจารณาประกอบการคำนวณราคาขายส่งสูงสุดด้วย

2. ในทางตรงกันข้าม กรณีที่เนือ้สุกรและเนือ้วัวมีราคาต่ำกว่าราคาขายส่งต่ำสุดที่รัฐบาลกำหนด ALIC จะรับซื้อเนือ้สุกรและเนือ้วัว เพื่อเก็บเข้าสต๊อก โดยราคารับซือ้เนือ้สัตว์จากตลาดกลางขายส่งกรุงโตเกียวและโอซากา
ใช้ราคาขายส่งมาตรฐาน ส่วนการรับซือ้สินค้าจากตลาดอื่นๆ นอกเหนือจากตลาดกลางขายส่งกรุงโตเกียวและโอซากา ใช้ราคารับซือ้โดยคำนวณจากข้อมูลราคาตลาดกลางขายส่งกรุงโตเกียวและโอซากาเฉลี่ย 4 ปีย้อนหลังและนำไปหักออกจากราคาขายส่งมาตรฐานที่รัฐบาลกำหนด

3. ALIC จะจ่ายเงินช่วยเหลือเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเก็บสต๊อก ในกรณีสมาคมผู้ผลิต (Producer Associations) ช่วยรับซือ้เนือ้หมู เนือ้ไก่และไข่ไก่เพื่อเก็บเข้าสต๊อก





ผักสด

           สินค้าผัก

           1. ในกรณีที่ราคาผักสดในตลาดปรับตัวสูงเกินกว่าราคามาตรฐานสูงสุด ALIC ดำเนินการประกันราคา หลังจากได้รับการแจ้งจากกระทรวงเกษตรฯ ญี่ปุ่น โดย ALIC จะขอความร่วมมือให้สมาคมผู้ผลิต (Producer
Associations) ส่งผักออกจำหน่ายสู่ตลาดก่อนกำหนดอันควรและจ่ายเงินชดเชยให้สมาคมฯสำหรับผักไม่ได้มาตรฐาน (แตงกวามีผลบิดเบีย้ว) ที่ไม่สามารถจำหน่ายในตลาดได้


           2. ในกรณีที่ผักรายการสำคัญซึ่งเป็นผักมีความต้องการบริโภคสูง ได้แก่ ผักรายการที่กำหนด 14 รายการและผักรายการพิเศษ 34 รายการ มีราคาตํ่ากว่าราคามาตรฐานตํ่าสุด ALIC จะจ่ายเงินชดเชยให้แก่เกษตรกรที่

ลงทะเบียนเป็นสมาชิกของสมาคมที่ ALIC รับรอง เงินชดเชยส่วนต่างของราคามาตรฐานและราคามาตรฐานตํ่าสุดหมายเหตุ ผักรายการที่กำหนด 14 รายการ ได้แก่ กะหลํ่าปลี มะเขือเทศ มันสัมปะหลัง แตงกวา มะเขือม่วง
พริกหวาน เผือก แครอท ผักโขม หัวไชเท้า ต้นหอม ผักกาดแก้ว หอมหัวใหญ่ และผักกาดขาว ผักรายการพิเศษ 34 รายการ อาทิเช่น หน่อไม้ฝรั่ง ขิง ผักกวางตุ้ง กระเจี๊ยวเขียว และบร็อคโคลี่ ฯลฯ


2. นโยบายช่วยเหลือเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าปศุสัตว์และพืชผัก

                ALIC ดำเนินนโยบายต่างๆ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าปศุสัตว์และพืชผักเพื่อสร้างเสถียรภาพของ อุปสงค์-อุปทานและราคาเพื่อให้เกษตรกรสามารถดำเนินกิจการได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง

         2.1 การจ่ายเงินชดเชยแก่เกษตรกรผู้ผลิตน้ำนมดิบสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบผลิตผลิตภัณฑ์จากนม

               ALIC จ่ายเงินชดเชยให้แก่เกษตรกรผู้ผลิตน้ำนมดิบเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบผลิตผลิตภัณฑ์นม เนื่องจากราคาน้ำนมดิบที่ใช้ผลิตนมสดสำหรับดื่ม มีราคาขายสูงกว่าน้ำนมดิบสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบผลิตผลิตภัณฑ์จากนมอาทิเช่น เนย นมผงขาดมันเนย ฯลฯ ซึ่งระบบการจ่ายเงินชดเชยนี้ ช่วยให้เกษตรกรสามารถดำเนินกิจการผลิต น้ำนมดิบสำหรับเป็นวัตถุดิบผลิตผลิตภัณฑ์จากนมได้อย่างต่อเนื่อง และช่วยให้มีปริมาณน้ำนมสำหรับดื่มและผลิตภัณฑ์นมป้อนตลาดอย่างเพียงพอ

         2.2 การจ่ายเงินชดเชยให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงลูกวัวเนื้อ

               ALIC จ่ายเงินชดเชยให้แก่เกษตรกรผู้เลีย้งลูกวัวเนือ้ ในกรณีที่ราคาขายลูกวัวเนือ้ต่ำกว่าราคามาตรฐาน เพื่อให้เกษตรกรสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง โดย ALIC จะชดเชยให้ถึงระดับราคาที่ rational target price หากตํ่ากว่า rational target price แล้ว เกษตรกรจะได้รับเงินชดเชยจากแหล่งเงินสมทบอื่นๆ ในอัตราส่วน ALIC ร้อยละ 50 ส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 25 และเงินสะสมของเกษตรกรเอง ร้อยละ 25




          2.3 ระบบจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ผลิตผักสด

                ALIC จ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ผลิตผักสดเพื่อสร้างเสถียรภาพในด้านราคาและอุปทาน ในกรณีที่ผักรายการสำคัญที่มีความต้องการบริโภคสูง ได้แก่ ผักรายการที่กำหนด 14 รายการ และ ผักรายการพิเศษ (34 รายการ) มีราคาตํ่ากว่าราคามาตรฐาน ALIC จะจ่ายเงินชดเชยให้แก่เกษตรกรที่ลงทะเบียนเป็นสมาชิกของสมาคมผู้ผลิตผัก ที่ ALIC ให้การรับรอง ในส่วนต่างของราคาขายและราคามาตรฐาน ในอัตราคงที่ที่ได้กำหนดไว้ นอกจากนี้ ALIC จ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ผลิตผักสดที่ทำสัญญาจำหน่ายผักรายการสำคัญและผักรายการพิเศษ ให้แก่ร้านอาหาร ภัตตาคาร และผู้ประกอบการแปรรูป เพื่อสร้างเสถียรภาพของอุปทาน และเป็นการลดความเสี่ยงในการหาตลาดของเกษตรกรผู้ผลิตอีกด้วย

          2.4 ผู้ผลิตอ้อยและผู้ผลิตน้ำตาลจากอ้อยผลิตในประเทศ

                เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนินกิจการของเกษตรกรผู้ผลิตอ้อย ALIC จ่ายเงินชดเชยค่าใช้จ่ายบางส่วนที่ใช้ในการปลูกอ้อยสำหรับเป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำตาล ซึ่งเกษตรกรจำหน่ายได้ไม่คุ้มทุนที่ลงไปนอกจากนี้ALIC ยังมีระบบจ่ายเงินชดเชย เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนินกิจการให้แก่ผู้ผลิตน้ำตาล ที่ใช้หัวบีทและอ้อยที่ปลูกในประเทศเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบ โดยการจ่ายเงินชดเชยสำหรับวัตถุดิบน้ำตาลและต้นทุนการผลิตน้ำตาลบางส่วน แก่ผู้ผลิตน้ำตาลที่จำหน่ายน้ำ
ตาลได้ไม่คุ้มทุน

          2.5 ผู้ปลูกมันสำปะหลังและผู้ผลิตแป้งมันสำปะหลัง

                เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนินกิจการของเกษตรกรผู้ปลูกมันสัมปะหลัง ALIC จ่ายเงินชดเชยค่าใช้จ่ายบางส่วนที่ใช้ในการปลูกมันสำปะหลังสำหรับเป็นวัตถุดิบในการผลิตแป้งมันซึ่งเกษตรกรจำหน่ายได้ไม่คุ้มทุนที่ลงไปนอกจากนี้ALIC ยังมีระบบจ่ายเงินชดเชย เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนินกิจการให้แก่ผู้ผลิตแป้งมันที่ใช้สำปะหลังและมันฝรั่งที่ผลิตในประเทศเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบ โดยการจ่ายเงินชดเชยสำหรับวัตถุดิบแป้งมันและต้นทุนการผลิตแป้งมันบางส่วน แก่ผู้ผลิตแป้งมันที่จำหน่ายได้ไม่คุ้มทุน




2.    Season's first sweet mangoes fetch ¥200,000. 
สำนักข่าวเกียวโดรายงาน ราคาประมูลมะม่วงสุกสีแดงที่ปลูกในจังหวัดมิยาซากิ ที่ได้รับขนานนามว่า “Egg of the sun” ของฤดูกาลเก็บเกี่ยวนี้ ณ ตลาดกลางค้าส่งเมืองมิยาซากิ มีราคาประมูลสูงถึง 200,000 เยน/ กล่องบรรจุ 2 ลูก นายยาสุคาซุ มัตสุดะ เกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงกล่าวว่า ตนเกรงว่าราคามะม่วงจะลดลง เนื่องจากเศรษฐกิจถดถอย แต่ราคาประมูลกลับสูง ตนหวังว่ามะม่วงพันธุ์นี้ จะช่วยให้อุตสาหกรรมการเกษตรของจังหวัดขยายตัว มะม่วงมิยาซากิ จะถูกส่งจำหน่ายเมื่อมีความหวานของน้ำมะม่วงเกินร้อยละ 15 และมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 350 กรัม ในปีนี้  จังหวัดฯ เริ่มส่งมะม่วงจำหน่ายเร็วกว่าปีที่ผ่านมา 15 วัน




หน้าก่อน หน้าก่อน (2/5) - หน้าถัดไป (4/5) หน้าถัดไป


Content ©