-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 202 บุคคลทั่วไป และ 1 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เกษตรต่างแดน12




หน้า: 1/5


เกษตรญี่ปุ่น



ผู้ค้าดอกไม้ญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการรับประกันอายุการใช้ของดอกไม้
วงการธุรกิจค้าขายดอกไม้ในญี่ปุ่นเห็นว่า แม้ว่าสภาพเศรษฐกิจไม่ดี การบริโภคดอกไม้ในญี่ปุ่นยังมีโอกาสที่จะขยาย โดยผู้ค้าผู้ประกอบการให้ความสนใจต่อวิธีการจำหน่ายสินค้า
 
ผลการสำรวจแบบสอบถามผู้ประกอบการธุรกิจค้าขายดอกไม้ (ร้านขายดอกไม้/สหกรณ์ทั่วประเทศ 16 ราย และผู้ค้าส่ง/ผู้นำเข้า 22 ราย) จัดทำโดยหนังสือพิมพ์ The Japan Agricultural News พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่า หากมีการรับประกัน Shelf-life ของดอกไม้ จะทำให้การบริโภคดอกไม้เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค


โดยผู้ประกอบการที่ตอบว่า "เพิ่มขึ้นมาก" ร้อยละ 18 "เพิ่มขึ้นเล็กน้อย" ร้อยละ 55 ต่อข้อสอบถามเกี่ยวกับการระบุวันที่ตัดดอก ผู้ประกอบการเห็นว่า "สำคัญมาก" ร้อยละ 42 "สำคัญ" ร้อยละ 21 เนื่องจากหากมิได้ระบุวันที่ตัดดอก จะไม่มีประโยชน์ที่จะรับประกัน Shelf-life ของดอกไม้
 
แนวโน้มความนิยมไม้ตัดดอกในตลาดญี่ปุ่น จำแนกตามประเภทดอกไม้ กุหลาบสีแดง ร้อยละ 44.7 คาร์เนชั่นสีชมพู ร้อยละ 34.2 ลิลลี่ (Oriental Lily) สีขาว ร้อยละ 36.8 เยอร์บีร่าสีชมพู ร้อยละ 39.5 ยูสโทม่า (Eustoma) สีขาว ร้อยละ 18.4 สำหรับดอกกุหลาบ ผู้ประกอบการค้าส่งรายใหญ่ให้ข้อมูลว่า ดอกกุหลาบสีแดงเข้ม เช่น Wine Red ได้รับความสนใจมาก เนื่องจากใช้ตกแต่งในงานแต่งงานหรือร้านอาหารแล้ว สามารถแสดงความหรูหราได้ ดอกกุหลาบสีฟ้า คาดว่าจะได้รับความสนใจ โดยที่เป็นที่สนใจของวงการธุรกิจค้าขายดอกไม้มากในปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ คาดว่าสีชมพูจะได้รับความสนใจเช่นกัน เนื่องจากเป็นสีที่ผู้หญิงชอบมากที่สุด


ส่วนไม้ตัดดอกที่ได้รับความสนใจนำไปใช้ในงานแต่งงาน ได้แก่ กุหลาบ ร้อยละ 60.5 ยูสโทม่า ร้อยละ 47.4 ดอกรักเร่ (Dahlia) ร้อยละ 34.2 คาร์เนชั่น ร้อยละ 21.1 คาลล่า (Calla) ร้อยละ 21.1 เยอร์บีร่า ร้อยละ 18.4 ลิลลี่ (Oriental Lily) ร้อยละ 15.8 และกล้วยไม้ (Dendrobium Phalaenopsis) ร้อยละ 7.9 ตามลำดับ


นอกจากนี้ ช่วงที่ผู้ประกอบการคาดหวังว่าจำหน่ายดอกไม้ได้ดี ได้แก่ วันแม่ (วันที่ 9 พฤษภาคม 2553) ช่วงเทศกาลไหว้บรรพบุรุษหรือโอบ้ง (ระหว่างวันที่ 13 - 16 สิงหาคม 2553) ช่วงโอฮิงันของฤดูใบไม้ผลิ (ระหว่างวันที่ 18 - 24 มีนาคม 2553) และช่วงโอฮิงันของฤดูใบไม้ร่วง (ระหว่างวันที่ 20 - 26 กันยายน 2553) ตามลำดับ




ยุวเกษตรกรไทยต้องการนำเทคนิคเกษตรไปใช้ในการปลูกข้าวในประเทศไทย
นายวัฒนา อินลี ยุวเกษตรกรมาจากไทย ได้สำเร็จการฝึกอบรม 2009 ASEAN Young Farm Leader's Training Program เป็นโครงการอบรมยุวเกษตรกรในประเทศสมาชิกอาเซียน โดยรัฐบาลญี่ปุ่นดำเนินการเป็นโครงการหนึ่งของ Official Development Assistance (ODA) นายวัฒนา อินลี ได้ฝึกอบรมกับครอบครัว นายโนริฮิโตะ โมริชิมะ เกษตรกรปลูกข้าวอินทรีย์ ณ เมืองฮางะ จังหวัดโทจิหงิ ระหว่างเดือนเมษายน 2552 - เดือนกุมภาพันธ์ 2553 นายวัฒนากล่าวว่า ต้องการจะนำเทคนิคการเกษตรที่ได้เรียนรู้ที่ญี่ปุ่น ไปใช้ในการเกษตรในประเทศไทย


นายวัฒนามาจากภาคเหนือในประเทศไทย ซึ่งใช้น้ำฝนในการปลูกข้าว แต่เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอ ทำให้การเก็บเกี่ยวได้ปีละครั้ง นายวัฒนาเห็นว่า ฟาร์มของนายโมริชิมะมีนาดำ14 เฮกตาร์ มีระบบคลองส่งน้ำ จึงต้องการนำระบบฯ ไปใช้ที่เมืองไทยด้วย


นายโมริชิมะ ผู้รับฝึกงานของนายวัฒนา กล่าวว่า น่าเสียดายที่ไม่ได้สอนตั้งแต่การจัดทำเนิร์สเซอรี่ เนื่องจากรับการฝึกอบรมยุวเกษตรกรตั้งแต่เดือนเมษายน ซึ่งช่วงการจัดทำเนิร์สเซอรี่เสร็จแล้ว การทำงานของเกษตรกรไม่สามารถแบ่งแยกตามปีงบประมาณ สำหรับเกษตรกรปลูกข้าว ต้องการให้ยุวเกษตรกรมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงนอกฤดูทำนา เพื่อฝึกภาษาญี่ปุ่นและเตรียมการจัดทำเนิร์สเซอรี่ นายโมริชิมะหวังว่า ขอให้เริ่มการฝึกอบรมโดยขึ้นอยู่กับประเภทกิจการเกษตรที่ยุวเกษตรกรจะฝึกอบรม ไม่ใช่ทุกคนเริ่มการฝึกอบรมพร้อมกันตั้งแต่เดือนเมษายน


จากรายงานประจำปีขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ปี 2552 ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตข้าวที่อยู่อันดับที่ 6 ของโลก รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการเพิ่มปริมาณผลผลิต นายโมริชิมะสอนเกษตรอินทรีย์ให้แก่นายวัฒนาด้วย เพราะนายโมริชิมะเห็นว่า หลังจากการเพิ่มผลผลิต คลื่นเกษตรอินทรีย์จะมาต่อไป จึงอยากให้นายวัฒนาจดจำวิธีการทำเกษตรอินทรีย์ไว้เพื่ออนาคต แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีโอกาสที่จะใช้


โครงการ ASEAN Young Farm Leader's Training Program ของปี 2552 นับเป็นครั้งที่ 27 โดย Japan Agriculture Exchange Council (JAEC) เป็นผู้ดำเนินการ และรับยุวเกษตรกรที่ผ่านมา มากกว่า 1,400 คน การฝึกอบรมรอบนี้ ยุวเกษตรกร รวม 55 คน จาก ไทย อินโดนีเซีย มเลเซีย และฟิลิปปินส์ เดินทางมาเข้าร่วมฝึกอบรมเทคนิคและวิธีการดำเนินกิจการเกษตรของญี่ปุ่น ครัวเรือนเกษตรกรที่รับการฝึกอบรม 52 ราย ใน 18 จังหวัด



MAFF ดำเนินโครงการทดลองการผลิตไบโอเอธานอลจากเปลือกข้าว
กระทรวงเกษตรฯ ญี่ปุ่น (MAFF) ดำเนินโครงการทดลองการผลิตไบโอเอธานอลจากเปลือกข้าว เพื่อให้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ โดยเปลือกข้าวเป็นวัตถุดิบที่ไม่ต้องมีการแข่งขัน เช่น ข้าวโพดนำเข้าซึ่งมีการแข่งขันระหว่างข้าวโพดสำหรับอาหารและข้าวโพดสำหรับวัตถุดิบเชื้อเพลิง ในปี 2552 โครงการทดลองฯ ดังกล่าว เริ่มดำเนินการในจังหวัดฮอกไกโด อากิตะ และเฮียวโงะ เนื่องจากเป็นจังหวัดที่ทำนาแบบดำนา ทำให้มีฟางข้าวเหลือมาก และมีฟางเหลือจากการใช้ในกิจการปศุสัตว์ และในเดือนมีนาคม 2553 จะดำเนินโครงการทดลองในจังหวัดชิบะ คาดว่า โรงผลิต 4 แห่งดังกล่าว สามารถผลิตไบโอเอธานอลมากที่สุด รวม 31,040 ลิตร/ปี โครงการนี้เน้นการสะสมวัตถุดิบและการหากรรมวิธีการผลิตที่มีประสิทธิภาพ


MAFF เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ปี 2551 เนื่องจากญี่ปุ่นผลิตฟางและเปลือกข้าว ซึ่งรับประทานไม่ได้ รวม 14 ล้านตันในปี 2551 แต่การใช้ฟาง/เปลือกข้าวสำหรับอาหารสัตว์หรือปุ๋ยคอกมีเพียงร้อยละ 30 ของปริมาณการผลิตฟาง/เปลือกข้าวทั้งหมด เจ้าหน้าที่ MAFF คาดการณ์ปริมาณการผลิตไบโอเอธานอลปีในปี 2554 มีปริมาณ 50,000 กิโลลิตร และต้องการเพิ่มปริมาณการผลิตจนถึง 6 ล้านกิโลลิตร ซึ่งเท่ากับร้อยละ 10 ของปริมาณการบริโภคน้ำมันเบนซิน ภายใน 20 ปีข้างหน้า




ผู้ประกอบการขายส่งข้าวรายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น
จะส่งออกข้าวที่ผลิตในปี 2553 รวม 1,000 ตัน
บริษัท Shinmei Co., Ltd. ผู้ประกอบการขายส่งข้าวรายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น  จะสร้างความเข้มแข็งให้กับธุรกิจการส่งออกข้าวที่ผลิตในญี่ปุ่น ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2553 โดยมีแผนส่งออกข้าวที่ผลิตในปี 2553 ไปยังตลาดยุโรปและเอเชีย รวม 1,000 ตัน (คำนวณจากข้าวกล้อง) เพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่า เมื่อเทียบกับข้าวที่ผลิตในปี 2552 ที่บริษัทส่งออก รวม 300 ตัน ซึ่งทำให้ปริมาณการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากการส่งออกข้าวจากญี่ปุ่นไปต่างประเทศในปี 2552 ทั้งหมด มีปริมาณ 1,300 ตัน (รวมข้าวกล้อง/ข้าวสาร)


บริษัท Shinmei Co., Ltd. ส่งออกข้าวสารไปยัง อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ไต้หวัน ฮ่องกง และออสเตรเลีย เป็นต้น และส่งออก Clean Packed Rice ไปยัง อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน เบลเยี่ยม และเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น เนื่องจาก บริษัทเห็นว่า ต้องการหาช่องทางการจำหน่ายใหม่ เพราะในตลาดญี่ปุ่นอุปทานข้าวมีมากเกิน และต้องการส่งออกเข้าไปยังขยายตลาดโลกในขณะที่ประชากรโลกเพิ่มขึ้น




Kitoku Shinryo มีแผนเพิ่มปริมาณขายส่งข้าวถึง 600,000 ตันภายในปี 2555
เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2553 บริษัท Kitoku Shinryo Co., Ltd. ผู้ประกอบการขายส่งข้าวรายใหญ่ เปิดเผยว่า มีแผนเพิ่มปริมาณขายส่งข้าวถึง 600,000 ตัน ภายในสิ้นปี 2555 จากปริมาณฯ ปี 2552 400,000 ตัน โดยเน้นขยายการขายส่งข้าวที่ผลิตในต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 200,000 ตัน จากเดิม 90,000 ตัน (ปี 2552) โดยผลิตข้าว Japonica ในไทยและเวียดนาม และจำหน่ายที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุโรป และสหรัฐฯ โดยไม่ผ่านญี่ปุ่น ในปี 2552 ได้เพิ่มปริมาณจำหน่ายข้าว Japonica ที่ผลิตในเวียดนามถึง 10,000 ตันจาก 2,000 ตันในปี 2551 นายมาโกโตะ ฮิรายามะ ประธานบริษัท Kitoku Shinryo Co., Ltd. อธิบายว่า คาดว่าจีนจะไม่สามารถส่งออกข้าวในอนาคต เนื่องจากปริมาณบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น จึงเห็นว่าการผลิตข้าว Japonica ในเอเชีย จะเป็นประเด็นสำคัญในอนาคตต่อไป นอกจากนี้ บริษัทจะนำเข้าและจำหน่ายข้าว Minimum Access (MA) สำหรับอาหารหลัก (Staple Food)  อย่างกระตือรือร้นด้วย


หากบริษัท Kitoku Shinryo Co., Ltd. สามารถบรรลุเป้าหมาย 600,000 ตัน จะเป็นผู้ประกอบการขายส่งข้าวรายใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น เนื่องจากปริมาณขายส่งของบริษัท Shinmei Co., Ltd. ผู้ประกอบการขายส่งรายใหญ่ที่สุดในปจจุบัน รวม 520,000 ตัน (ปี 2551




ผลการสำรวจความเห็นต่อผักผลไม้ไม่ได้มาตรฐาน
เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2553 Japan Finance Corporation (JFC) เปิดเผยผลการสำรวจความเห็นต่อผักผลไม้ไม่ได้มาตรฐาน พบว่า ผู้เข้าร่วมการสำรวจที่เห็นว่า “ควรล้มเลิกมาตรฐานฯ” หรือ “ควรผ่อนปรนมากกว่าปัจจุบัน” หรือ “ควรผ่อนปรนเล็กน้อย” เป็นขอคิดเห็นจากผู้บริโภคร้อยละ 89  และจากผู้ผลิตร้อยละ 64 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แม้ว่าจำนวนผู้ผลิตที่สนใจการล้มเลิก/การผ่อนปรนมาตรฐานฯ จะน้อยกว่าผู้บริโภค แต่ก็ยังมีผู้ผลิตที่สนใจฯ เนื่องจากผู้ผลิตจะได้รับประโยชน์โดยสามารถลดต้นทุนการผลิตและสามารถเพิ่มปริมาณจำหน่ายได้




NILGS ได้พัฒนาเทคโนโลยีการลด Nitrate Nitrogen ร้อยละ 90 ในอาหารสัตว์ที่ทำมาจากเศษผัก
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2553 National Institute of Livestock and Grassland Science (NILGS) ภายใต้ National Agriculture and Food Research Organization (NARO) เปิดเผยว่า ได้พัฒนาเทคโนโลยีการลด Nitrate Nitrogen   ร้อยละ 90 ในอาหารสัตว์ที่ทำมาจากเศษผัก โดยใช้จุลินทรีย์ แม้ว่าการใช้อาหารสัตว์ที่ทำมาจากเศษผักให้กับสุกรหรือไก่จะไม่พบปัญหา Nitrate Nitrogen ก็ตาม แต่การใช้อาหารสัตว์ที่ทำมาจากเศษผักสำหรับเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง (Ruminant) เช่น โค เป็นต้น มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นพิษต่อสัตว์เคี้ยวเอื้อง หากสามารถใช้อาหารสัตว์ที่ทำมาจากผักกับโคได้ จะทำให้อัตราการผลิตอาหารสัตว์ภายในประเทศเพิ่มขึ้น โดยใช้เศษผักที่ทิ้งในนา หรือเศษผักจากโรงงานแปรรูปอาหาร




ญี่ปุ่นให้ความร่วมมือเกษตรอินทรีย์ในไทย
รัฐบาลญี่ปุ่นจะให้ความช่วยเหลือแก่โครงการความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการพึ่งพาตนเองผ่านระบบหมุนเวียนในชุมชนในประเทศไทย ภายใต้โครงการความร่วมมือดำเนินการโดยองค์กรเอ็นจีโอของญี่ปุ่น พิธีลงนามว่าด้วยความตกลงดังกล่าวระหว่าง นายอะสึซิ โทะกิโนยะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยและ คาโอรุ โมริโมโต เจ้าหน้าที่ประสานงาน ศูนย์อาสาสมัครนานาชาติแห่งญี่ปุ่น-เจวีซี ประจำสำนักงานไทยขอนแก่นมีขึ้น ณ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา
    
    โครงการนี้กำหนดไว้ว่าเกษตรกรจะดำเนินกิจกรรมที่ยั่งยืนด้วยตนเอง เจวีซีมีฐานะเป็นที่ปรึกษา และหรือผู้อำนวยความสะดวกเพื่อโครงการ รัฐบาลญี่ปุ่นจะให้การสนับสนุนจำนวน 53,271 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เช่น ค่าสัมมนา ค่าจ้างเจ้าหน้าที่ และค่าบริหารจัดการ.



ที่มา หนังสือพิมพ์เดลินิวส์




หน้าถัดไป (2/5) หน้าถัดไป


Content ©