-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 190 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เกษตรต่างแดน11




หน้า: 3/3





ทับทิมพันธุ์ 'wonderful' ในพื้นที่โครงการหุบกะพง
อิสราเอล เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา เลือกพื้นที่โครงการตามพระราชประสงค์หุบกะพง จังหวัดเพชรบุรี เป็นแปลงทดลองปลูกทับทิมพันธุ์ “wonderful” ซึ่งถือเป็นทับทิมพันธุ์ดีของอิสราเอล โดยทางสถานทูตอิสราเอล ได้นำทับทิมพันธุ์วันเดอร์ฟูลเข้ามาในลักษณะกิ่งพันธุ์ มีราก และ กิ่งพันธุ์ไม่มีรากทั้งนี้ ทับทิมพันธุ์ Wonderful นำเข้ามาจากประเทศอิสราเอล ในลักษณะกิ่งพันธุ์มีราก และ  กิ่งพันธุ์ไม่มีราก จำนวน 216 กิ่ง ประกอบด้วย กิ่งพันธุ์ Wonderful 1 จำนวน 120 ต้น กิ่งพันธุ์ Wonderful 2 จำนวน 19 ต้น และกิ่งพันธุ์ Wonderful 3 จำนวน  77 ต้น นำมาปลูกเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2550 พื้นที่ 4 ไร่
 
ทางสถานทูตอิสราเอลได้ส่งผู้เชี่ยวชาญจากประเทศอิสราเอลมาให้คำแนะนำ วิธีการปลูกและดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง และมีการตั้งชื่อเรียกพื้นที่ดังกล่าวว่า “โครงการสวนทับทิมไทย-อิสราเอล ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างสถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์”
 
สำหรับพื้นที่ในโครงการตามพระราชประสงค์ หุบกะพง จังหวัดเพชรบุรี ในอดีตนั้นทางรัฐบาล อิสราเอลมีโครงการความร่วมมือกับรัฐบาลไทย โดย ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ เข้ามาให้คำแนะนำ และถ่ายทอดวิชาการด้านเกษตรในพื้นที่หุบกะพง ภายใต้ “โครงการไทย-อิสราเอล เพื่อพัฒนาชนบท (หุบกะพง)” เมื่อปี 2509-2514 และยังคงมีความร่วมมือกันระหว่างประเทศไทยกับอิสราเอลอย่างต่อเนื่อง  จนได้มีการนำทับทิมพันธุ์ดีมาจากอิสราเอลมาทดลองปลูกในพื้นที่หุบกะพงในครั้งนี้
 
จากการทดสอบพบว่า ต้นทับทิมที่นำมาปลูกเติบโตอยู่ในเกณฑ์ดี คาดว่าจะสามารถให้ผลผลิตได้เมื่ออายุครบ 2 ปีขึ้นไป
 
ข้อมูลจากวิกิพีเดียวระบุว่า ทับทิม มีชื่อท้องถิ่นคือ เซียะลิ้ว, พิลา, พิลาขาว, มะก่องแก้ว, มะเก๊าะ, หมากจัง เป็นไม้ผลขนาดเล็ก มีขนาดประมาณ 5-8 เมตร ทับทิมมีถิ่นกำเนิดจากตะวันออกของประเทศอิหร่าน ทางตอนใต้ของอัฟกานิสถานและทางตอนเหนือของเทือกเขาหิมาลัย ทับทิมจึงชอบอากาศหนาวเย็นและอยู่บนพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลอย่างน้อย 300 เมตร ยิ่งอากาศหนาวเนื้อทับทิมจะมีสีแดงเข้มมากขึ้น
 
ทับทิมเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ น้ำทับทิมมีวิตามินซีสูงและยังมีสารเกลือแร่ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายในปริมาณที่สูงเหมาะสำหรับการดื่มเพื่อเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย
 
น้ำทับทิมมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด และมีประสิทธิภาพสูงมากสามารถลดภาวะการแข็งตัวของเลือดจากไขมันในเลือดสูง บรรเทาโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง ช่วยเพิ่มพลังและความงาม ดื่มน้ำทับทิมคั้นวันละแก้วจะช่วยส่งเสริมการทำงานของหลอดเลือด ลดการแข็งตัวของหลอดเลือดแดงและช่วยเสริมสุขภาพของหัวใจให้ดีขึ้น
 
ทับทิมเป็นผลไม้มงคลของจีน กิ่งใบทับทิมเป็นใบไม้สิริมงคลที่ใช้ทุกงานที่มีน้ำมนต์ประกอบพิธี โดยจะใช้พรมน้ำมนต์และมีไว้ติดตัวเพื่อคุ้มครองกันภัย มีเรื่องเล่าว่า เพราะเป็นพันธุ์ไม้ที่ถูกนำมาเผยแพร่ในเมืองจีนพร้อมกับพระพุทธศาสนา ซึ่งประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า  “พระถังซัมจั๋ง”  เมื่อไปอาราธนาพระไตรปิฎกที่อินเดีย ได้นำพันธุ์ไม้ต่าง ๆ มาด้วย และหนึ่งในนั้นก็คือทับทิม ด้วยความที่ทับทิมมีเมล็ดมาก จึงสื่อความหมายถึงการให้มีลูกชายมาก ๆ นั่นเอง. 


 

สินค้าเกษตรอินทรีย์ในอิสราเอล
อิสราเอลมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 2 หมื่นตารางกิโลเมตร ประชากรประมาณ 7.2 ล้านคน พื้นที่ของประเทศเป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียนและกึ่งทะเลทราย อากาศร้อนชื้นตลอดปี มีพื้นที่เพาะปลูกไม่มากนักประมาณ 4.3 ล้านดูนั่ม (1 Dunams มีขนาดเท่ากับ 1,000 ตารางเมตรหรือ 10 เอเคอร์หรือ 0.1 Hectares) ซึ่งในที่นี้เป็นพื้นที่การทำเกษตรอินทรีย์ปะมาณ 70,000 ดูนั่ม            

การเพาะปลูกของอิสราเอลนั้นแบ่งเป็นการปลูกผัก 35 % ดอกไม้ 20 % Field Corps 18 % ผลไม้ 15 % และ Citrus 10 % ส่วนการเกษตรอินทรีย์ของอิสราเอลจะมีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 1.5 % ของพื้นที่ที่ทำการเกษตรทั้งหมดของอิสราเอล
             
ผลผลิตทางการเกษตรของอิสราเอล 37 % จะเป็นการบริโภคภายในประเทศ  (ซึ่งในที่นี้การบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ภายในประเทศของอิสราเอลจะมีประมาณ 1-2 % ) อีก 34 % จะนำไปใช้ในการผลิตในอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารของอิสราเอล และที่เหลืออีกประมาณ 22-23 % ที่เป็นการส่งออกสินค้าเกษตรของอิสราเอล
             
ผลผลิตทางการเกษตรของอิสราเอลจะมูลค่าประมาณ 2.5 % ของ GDP และมียอดประมาณ 3.6 % ของการส่งออกสินค้าทั้งหมดของอิสราเอล มีมูลค่าของการส่งออกสินค้าเกษตรประมาณ 1 พันล้านเหรียญ และการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์จะมียอดประมาณ 13 % จากยอดการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมด             

สินค้าเกษตรอินทรีย์ยังเพิ่งจะเริ่มเป็นที่รู้จักและนิยมสำหรับการบริโภคภายในประเทศอิสราเอล สินค้าเกษตรอินทรีย์ส่วนใหญ่ที่อิสราเอลผลิตได้จะส่งออกไปยังสหภาพยุโรปที่เป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญที่สุดของอิสราเอล สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่อิสราเอลส่งออก แบ่งได้ ดังนี้ แบ่งเป็นผัก 32,000 ตัน (โดยส่วนใหญ่จะเป็นการส่งออกมันฝรั่ง 31,000 ตัน) ผลไม้ (ส่วนใหญ่จะเป็น Citrus) 1,720 ตัน อะโวคาโดประมาณ 1,410 ตันและอินทผาลัมอีกประมาณ 653 ตัน            

การตลาดการจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ภานใยประเทศอิสราเอลจะเป็นการจำหน่ายในซุปเปอร์มาเก็ตขนาดใหญ่ ร้านที่จำหน่ายเฉพาะสินค้าเกษตรอินทรีย์และการจำหน่ายตรง ราคาของสินค้าเกษตรอินทรีย์จะมีราคาสูงกว่าสินค้าเกษตรทั่วๆไปประมาณ 40-60 % (ในบางช่วงอาจสูงมากกว่า 100 %)  จึงทำให้ยังไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคภายในประเทศมากนัก เนื่องจากราคายังสูงมากเมื่อเทียบกับผลผลิตเกษตรอื่นๆ โดยเฉพาะในสภาพเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ขณะนี้ก็น่าจะทำให้การจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์มีปัญหาที่ความต้องการของผู้บริโภคลดลงแน่            

การนำเข้าสินค้าเกษตรของอิสราเอลยังมีการนำเข้าในส่วนของสินค้าที่ไม่สามารถผลิตได้เองในประเทศ อิสราเอลไม่มีข้อจำกัดทางการค้าในการนำเข้าสินค้าเกษตรจากต่างประเทศ ยกเว้นสินค้านั้นอิสราเอลสามารถผลิตได้เองในประเทศ ก็จะมีการตั้งอัตราภาษีที่สูงมากเพื่อเป็นการปกป้องอุตสาหกรรมการผลิตและเกษตรกรของอิสราเอลเอง             

โดยยังไม่มีการนำสินค้าผัก ผลไม้สดจากเมืองไทยเป็นทางการ นอกจากเคยมีผู้นำเข้าอิสราเอล 1 รายที่เคยนำเข้ามะพร้าวอ่อนจากไทยมา 1 ครั้งแล้วก็เลิกการนำเข้าอีก เนื่องจากประสบกับปัญหาด้านการตลาดที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในอิสราเอล และนอกจากนั้นขั้นตอนในการขออนุญาตนำเข้าสินค้าผัก ผลไม้สดมีขั้นตอนมากและใช้เวลานานมาก (ในกรณีของมะพร้าวอ่อนที่เคยนำเข้าต้องใช้เวลาในการขออนุญาตนำเข้ากว่า 2 ปี) ถึงแม้จะไม่ข้อห้ามหรือข้อกีดกันในการนำเข้าสินค้าผัก ผลไม้สดจากต่างประเทศ แต่จะมีปัญหาในทางปฏิบัติที่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะใช้เวลาและมีขั้นตอนในการปฎิบัติมาก จนทำให้ผู้นำเข้าที่เคยสนใจจะนำเข้าสินค้าผัก ผลไม้สดจากเมืองไทยและประเทศอื่นๆเปลี่ยนใจไม่ต้องการนำเข้าสินค้านั้นๆ            

สินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยน่าจะมีโอกาสที่จะขยายตลาดการส่งออกมายังอิสราเอลได้ แต่ก็ต้องทำความเข้าใจว่าอิสราเอลยังเป็นตลาดที่เล็ก มีความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์ไม่มากนัก ทั้งนี้ราคาก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้นำเข้า/ผู้บริโภคใช้ในการตัดสินใจซื้อสินค้า ซึ่งจะทำให้ผู้นำเข้าอิสราเอลใช้เป็นข้อต่อรองในการกดราคาสั่งซื้อสินค้าจากผู้ส่งออก นอกจากว่าผู้ผลิต/ผู้ส่งออกของไทยสามารถที่จะส่งสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่อิสราเอลสามารถนำไปส่งออกต่อยังประเทศอื่นๆได้ ซึ่งจะมีโอกาสและความมีความเป็นไปได้มากกว่าสำหรับสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยในตลาดอิสราเอล โดยไทยสามารถอาศัยช่องทางที่ผู้นำเข้า/ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ที่มีช่องทางในการส่งออกสินค้าไปยังตลาดอื่นๆ เช่น สหภาพยุโรป และอิสราเอลเองก็มีข้อตกลงการเปิดการค้าเสรีกับสหภาพยุโรปที่สามารถส่งออกสินค้าโดยไม่ต้องเสียภาษี
                                                                          


สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเทลอาวีฟ   พฤษภาคม 2552



ชาวยิวในสหรัฐอเมริกาช่วยอิสราเอลอย่างไร
กลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เนตในอียิปต์ ได้ออกมาเรียกร้องและเชิญชวนให้มุสลิมศึกษารูปแบบการช่วยเหลือกันของกลุ่ม ชาวยิวในสหรัฐอเมริกา เพื่อช่วยเหลืออิสราเอล ในการทำสงครามต่อเลบานอน


ในเวบไซต์หนึ่งของชาวยิว ได้นำเสนอ 54 วิธีการในการสนับสนุนอิสราเอล โดยทั้ง 54 วิธีการนี้ หากมุสลิมได้ทำในทางตรงกันข้ามกัน ก็จะมีผลไม่น้อยในการช่วยเหลือต่อชาวปาเลสไตน์ และชาวเลบานอน





ส่วนหนึ่งจาก 54 วิธีการของชาวยิวในสหรัฐอเมริกา ในการช่วยเหลืออิสราเอล มีดังนี้


1. จงร่วมกันเป็นทูตให้กับอิสราเอลในทุกๆ ที่ และทุกๆ เวลา เมื่อใดที่ได้พบเห็นการกล่าวโจมตีอิสราเอลในสื่อใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นสื่ออินเตอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ ฯลฯ จงร่วมกันออกมาตอบโต้

2. จงติดตามข่าวสารต่างๆ ที่มาจากอิสราเอล อย่างต่อเนื่อง และศึกษาประวัติของอิสราเอลจากสื่อต่างๆ ของอิสราเอล

3. จงร่วมกันขอพรให้กับเหล่าผู้นำของอิสราเอล เพื่อให้พวกเขาได้มีอำนาจและสามารถครอบครองแผ่นดิน พร้อมทั้งขอพรให้กับเหล่าผู้ที่ต้องสูญเสียในสงคราม และนักสู้ของเรา เพื่อที่พระเจ้าจะได้สร้างความล้มสลายต่อคนที่เข้ามาพลีชีพต่อคนของเรา

4. จงติดต่อและสื่อสารกับเพื่อนๆ ของท่านในอิสราเอล อันจะเป็นการสร้างกำลังใจและสร้างความเข้มแข็งต่อพวกเขา ในการอยู่ในอิสราเอลต่อไป

5. จงปฏิเสธต่อสื่อใด ๆ ที่เผยแพร่ข่าวสารในด้านลบต่ออิสราเอล. จงตระหนักเสมอว่าสื่อสารมวลชนต่างๆ ถือเป็นหัวใจหลักในการสร้างความเข้าใจใดๆ ต่อสาธารณชน

6. จงร่วมกันบริจาคต่ออิสราเอลอย่างต่อเนื่องและทุกๆ วัน

7. จงเห็นใจต่อชตากรรมของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการ “ก่อการร้าย” โดยให้คิดว่าถ้าตัวเราเองต้องตกเป็นเหยื่อเหมือนกับเขา เราจึงต้องใส่ใจต่อชตากรรมของพวกเขา และจงร่วมมือกันช่วยเหลือต่อพวกเขาเหล่านั้น

8. จงไปเยี่ยมเยียนประเทศอิสราเอล และให้สถาบันการนำเที่ยวต่างๆ จัดโปรแกรมเดินทางไปท่องเที่ยวยังอิสราเอล เพื่อช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจต่อชาวอิสราเอล จงพูดคุยถึงความสวยงามในดินแดนอิสราเอล และให้ถือเป็นคติเตือนใจว่า “ท่องเที่ยวเพื่อช่วยเหลือการทำสงครามต่อผู้ก่อการร้าย”

9. จงแขวนธงชาติของอิสราเอลในทุกๆ ที่ ทั้งในบ้าน ในรถ ในสำนักงาน เพื่อให้ทุกคนได้รู้ว่าคุณคือผู้ที่สนับสนุนและช่วยเหลืออิสราเอล

10. จงลดการใช้น้ำมัน เพราะน้ำมันจากประเทศอาหรับ จะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างอิทธิพลในทางการเมือง

11. จงร่วมกันออกเดินขบวนเพื่อสนับสนุนอิสราเอล อันจะเป็นแรงกดดันในทางการเมือง และในการกำหนดนโยบายสนับสนุนต่ออิสราเอล

12. จงทำความรู้จักต่อศัตรูของท่าน ทั้งชาวอาหรับและอิสลาม ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ใช้ภาษาอาหรับและภาษาอังกฤษ

13. จงร่วมมือกัน เมื่อใดที่เกิดความขัดแย้งทางความคิดเห็น และมีการโต้เถียงกัน เราจะถูกทำให้ต้องพ่ายแพ้ เพราะฉะนั้น เราจึงต้องหลีกเลี่ยงจากการโต้เถียงให้มากที่สุด จงจำไว้ว่าการฟื้นขึ้นของเยรูซาเล็มนั้น เป็นสัจธรรม สิ่งนี้จะต้องเกิดขึ้น อย่าได้มีใครคนใดในหมู่พวกเราที่มาขัดขวางเป้าหมายนี้

14. จงเผยแพร่ข่าวสารของโฮโลโคส์ต การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อชาวยิวของนาซีเยอรมัน เพื่อที่จะเป็นบทเรียนต่อเรา

15. จงไปพบปะกับตัวแทนของเราในวอชิงตัน จงร่วมมือกับเขาในการกระทำการใดๆ ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลาง



ญะซากัลลอฮุคอยร็อน : http://www.baanmuslimah.com/dp57/?q=node/108




เล็งร่วมวิจัยอิสราเอล หวังใช้เป็นต้นแบบพัฒนาวิทยาศาสตร์ไทย
กระทรวงต่างประเทศร่วมมือ สวทช. เปิดเวทีต้อนรับคณะนักวิทย์อิสราเอล ร่วมประชุมเปิดทางความร่วมมือของสองประเทศ ด้านวิทย์และเทคโนโลยีครั้งแรก ไทยหวังยึดยิวเป็นต้นแบบพัฒนาองค์ความรู้วิทย์ให้ก้าวหน้า พร้อมเพิ่มโอกาสส่งคนไทยไปศึกษาในอิสราเอล
       
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดประชุมโครงการความร่วมมือทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างประเทศไทยและอิสราเอล (Thai-Israeli Science and Technology Cooperation Project) ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย โดยทีมข่าววิทยาศาสตร์ศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ ได้เข้าร่วมฟังการประชุมเมื่อวันที่ 14 ก.ค.52 ที่ผ่านมา ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์ชาวอิสราเอลจำนวนมากให้เกียรติมาบรรยายถึงงานวิจัยและความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ของอิสราเอล
       
ดร.นพวรรณ ตันติพัฒน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. เปิดเผยกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ว่า ไทยกับอิสราเอลมีความสัมพันธ์ฉันท์มิตรประเทศกันมายาวนานร่วม 55 ปี และมีความร่วมมือกันทางด้านต่างๆ แล้วมากมาย แต่นี่เป็นครั้งแรกที่ไทยกับอิสราเอลให้ความร่วมมือกันทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งอิสราเอลถือเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำของโลกที่มีความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมาก และมีนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาเคมีแล้วถึง 2 คน
       
"อิสราเอลยังถือเป็นประเทศใหม่มาก เมื่อเทียบกับประเทศไทย และเป็นประเทศเล็กๆ ที่มีประชากรเพียง 7 ล้านคน แต่เขามีชื่อเสียงระดับโลกในเรื่องความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี มีความรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐานที่แข็งแรงอย่างมาก และมีความก้าวหน้าในงานวิจัยระดับสูงที่ถือได้ว่าเป็นผู้นำในระดับโลก เช่น สเต็มเซลล์ และภูมิคุ้มกันวิทยาการปลูกถ่ายอวัยวะ ทั้งยังมีนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกหลายคน เช่น ไอน์สไตน์ ไทยเราสามารถเรียนรู้จากอิสราเอลได้ว่าเขาสามารถพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีได้อย่างไรในเวลาอันสั้น" ดร.นพวรรณ กล่าว
       
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างไทยและอิสราเอล จะทำให้ไทยได้เรียนรู้แนวทางการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศชาติให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น พร้อมทั้งสร้างความเข้มแข็งทางด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ซึ่งขณะนี้ทั้งสองประเทศยังไม่มีความร่วมมือกันทางด้านนี้อย่างเป็นทางการ แต่การประชุมในครั้งนี้จะนำไปสู่ความร่วมมือทางด้านวิทยาศาสตร์ของทั้งสองประเทศในทุกสาขาต่อไป รวมทั้งการแลกเปลี่ยนความรู้ บุคลากร และส่งนักศึกษาไทยไปเรียนในอิสราเอลเพิ่มมากขึ้น
       
ทั้งนี้ โครงการความร่วมมือดังกล่าวเกิดขึ้นโดยการสนับสนุนของกระทรวงการต่างประเทศ และมอบหมายให้ สวทช. เป็นหน่วยงานผู้ดำเนินการ โดยเล็งเห็นว่าประเทศไทยจะได้มีโอกาสเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีกับอิสราเอลที่มีความก้าวหน้าในระดับโลก ทั้งนำไปสู่ความร่วมมือกันพัฒนาเทคโนโลยีของทั้งสองประเทศในอนาคต และเพิ่มโอกาสในการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ของไทยได้มากยิ่งขึ้น


ที่มา:  ผู้จัดการออนไลน์


อิสราเอลส่งเสริมอาชีพเกษตรกรไทยที่หุบกะพง
นางยาเอล รูบินสไตน์ เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย ได้เดินทางไปยังศูนย์เรียนรู้โครงการตามพระราชประสงค์หุบกะพง จ.เพชรบุรี เมื่อวันก่อนเพื่อเยี่ยมชม โครงการในความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลอิสราเอล เพื่อช่วยเหลือด้านการพัฒนาเกษตรกรในรูปของผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ภายใต้ชื่อโครงการ “ไทย-อิสราเอลเพื่อพัฒนาชนบท”

และเนื่องในโอกาส เฉลิมฉลอง 80 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางรัฐบาลอิสราเอลได้ร่วมจัดกิจกรรมเพื่อเฉลิมฉลอง 80 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ด้วย โดยได้เสนอให้ความช่วยเหลือแก่ศูนย์เรียนรู้โครงการตามพระราชประสงค์หุบกะพง 2 โครงการ คือ โครงการการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม โดยจะมอบแม่พันธุ์จากอิสราเอล จำนวน 100 ตัว ให้แก่เกษตรกรในหมู่บ้านหุบกะพง พร้อมผู้เชี่ยวชาญ มาให้ความรู้ตั้งแต่การบำรุงรักษา และการแปรรูปนม โดยทางรัฐบาลอิสราเอลจะติดต่อกับรัฐบาลไทยผ่านกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยตรง
 
โครงการที่ 2 คือโครงการมอบพันธุ์ทับทิมซึ่งเป็นผลไม้ของอิสราเอลที่มีรสหวาน กรอบ เมล็ดเล็กเนื้อในมีสีแดงสด น้ำหนักลูก ละ 800-1,000 กรัม ราคาที่ประเทศอิสราเอลกิโลกรัมละ 80-160 บาท จะนำมาปลูกในพื้นที่หุบกะพง จำนวน 120 ต้น โดยให้ทางศูนย์ฯ จัดแปลงให้อย่างน้อย 500 ตารางเมตร พร้อมยกร่องเตรียมปลูก
 
ทั้งสองโครงการที่ทางรัฐบาลอิสราเอล เสนอความช่วยเหลือมานั้น นับเป็นโครงการที่จะช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่โครงการตามพระราชประสงค์หุบกะพง จ.เพชรบุรี มีอาชีพเสริมและรายได้เพิ่ม ทั้งนี้ในส่วนของไทยจะมีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลพื้นที่เป็นส่วนรับผิดชอบด้านการดำเนินการและประสานงานให้โครงการฯ สามารถเดินไปข้างหน้าได้อย่างต่อเนื่อง
 
สำหรับทับทิมอิสราเอลนั้น นักวิทยาศาสตร์ในอิสราเอลบันทึกไว้ว่า หากดื่มน้ำทับทิมวันละแก้วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ  และหลอดเลือด ด้วยน้ำทับทิมมีความสามารถในการต่อต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำผลไม้ชนิดอื่น

ทับทิมมีการเพาะปลูกตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีถิ่นกำเนิดในเปอร์เซียแล้วกระจายจากสเปนไปจนถึงแคลิฟอร์เนีย ในอาเซอร์ไบจาน ซอสทับทิม ที่เรียกว่า Narsharab ถูกเสิร์ฟพร้อมกับปลาสเทอจินสอดไส้ ในจอร์เจียใช้เมล็ดทับทิมเป็นส่วนประกอบในสลัดหรืออาหารที่เป็นเนื้อ ในอิหร่าน อาหารที่ชื่อว่า Ferenjan ประกอบด้วยน้ำทับทิมเข้มข้น

สำหรับทับทิมอิสราเอลที่ปลูกในพื้นที่ของโครงการตามพระราชประสงค์หุบกะพง ทางโครงการจะขยายพันธุ์เพื่อขยายผลให้กับเกษตรกรในพื้นที่นำไปปลูกเชิงพาณิชย์ต่อไป


ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์


มหาวิทยาลัยดังอิสราเอล แชมป์เอเชีย-ตะวันออกกลาง
มหาวิทยาลัยชั้นนำ 30 อันดับแรกในภูมิภาคเอเชียและตะวันออกกลาง มีมหาวิทยาลัยของอิสราเอลรวมอยู่ 3 อันดับด้วยกัน คือ Hebrew University of Jerusalem อันดับ 13 Technion-Israel Institute of Technology อันดับ 15 และ Tel Aviv University อันดับ 18

มหาวิทยาลัยของรัฐที่ได้จัดตั้งเป็นทางการในอิสราเอลมีด้วยกัน 8 แห่ง คือ Hebrew University of Jerusalem, Tel Aviv University, Weizmann Institute of Science, Technion, Ben-Gurion University of the Negev, Haifa University, Bar-Ilan University, Open University

Hebrew University of Jerusalem (HUJI) เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดในอิสราเอล วิทยาเขต 3 แห่ง อยู่ในกรุงเยรูซาเลม (Jerusalem) ซึ่งเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศอิสราเอล วิทยาเขตแห่งที่ 4 อยู่ในเมืองเรโฮวอต (Rehovot)

กรรมการสภามหาวิทยาลัยกลุ่มแรกประกอบด้วยอัลเบิร์ต ไอสไตน์ นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันผู้เสนอทฤษฎีสัมพันธภาพ ซิกมันด์ ฟรอยด์ จิตแพทย์ชาวออสเตรีย เชื้อสายยิว มาร์ติน บูเบอร์ นักปรัชญาและเทววิทยาชาวยิว และไคม์ ไวซ์แมนน์ ประธานาธิบดีคนแรกของอิสราเอล

Technion-Israel Institute of Technology (IIT) เป็นสถาบันเทคโนโลยีระดับนานาชาติในเมืองไฮฟา (Haifa) ซึ่งเป็นเมืองท่าเรือที่สำคัญในอิสราเอล มุ่งเน้นการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ วิศวกรรมศาสตร์สถาปัตยกรรม และได้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ในภายหลัง

สาขาวิชาที่ติดอันดับต้น ๆ ของโลก ได้แก่ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรรม/เทคโนโลยีและวิทยาการคอมพิวเตอร์

Tel Aviv University (TAU) เป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ในเมืองเทล อาวีฟ (Tel Aviv) การเรียนการสอนแบ่งเป็น 9 คณะ ได้แก่ ศิลปศาสตร์ (รวมภาควิชาภาพยนตร์และโทรทัศน์) สถาปัตยกรรม ดนตรี วิศวกรรมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ นิติศาสตร์ วิทยาศาสตร์สิ่งมีชีวิต การจัดการ แพทยศาสตร์ สังคมศาสตร์

นอกจากนี้ได้เปิดสอนโปรแกรมพิเศษสาขายิวศึกษา (Jewish studies) แก่ครูและนักเรียนจากสหรัฐ ฝรั่งเศส บราซิล อาร์เจนตินา และเม็กซิโก ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร รวมทั้งเปิดหลักสูตรสอนเป็นภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนต่างชาติที่เข้ามาศึกษาต่อในอิสราเอล

แนะนำมหาวิทยาลัยอีกแห่ง Tel Aviv International School of Management (TISOM) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกในอิสราเอลที่ได้การรับรองวิทยฐานะจากสภามหาวิทยาลัย จัดตั้งขึ้นโดยกลุ่มผู้ประกอบการและนักธุรกิจชั้นนำจากนานาชาติ

TISOM เปิดสอนโปรแกรมปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ M.B.A. มุ่งศึกษาการดำเนินธุรกิจเชื่อมโยงทั่วโลก ทั้งธุรกิจระหว่างประเทศและการบริหารข้ามสายวัฒนธรรม ซึ่งเป็นกระแสที่มาแรง และเป็นช่องทางสำคัญในตลาดงานทุกวันนี้

ที่มา "การศึกษาวันนี้"
ผู้เขียน : จิระนันต์ jiranan_ad@yahoo.com



แฝดเหมือน... วิกฤตคุณภาพการศึกษาไทยและอิสราเอล Identical twins … The Education Crisis of Thailand and of Israel
อิสราเอลเป็นประเทศที่มีปัญหาการศึกษาคล้ายกับไทยมากปัจจุบันความเชื่อมั่นต่อระบบการศึกษาของคนอิสราเอลลดต่ำลง จนเกิดความวิตกกันว่า อนาคตอิสราเอลจะไม่ได้เป็นประเทศที่โดดเด่นด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกต่อไป สัญญาณที่บ่งบอกว่าการศึกษาอิสราเอลมีปัญหา และเมื่อเปรียบเทียบกับไทยพบว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกันหลายประการ ดังนี้

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
 ในศตวรรษที่ 1960s นักเรียนอิสราเอลมีศักยภาพด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก แต่ศักยภาพด้านนี้ได้ลดลงเรื่อย ๆ ในปี 2002 เลื่อนอันดับลงไปอยู่ที่ 33 จากทั้งหมด 41 ประเทศ ตามหลังไทยและโรมาเนีย และมีนักเรียนอายุ 18 ปี เพียงร้อยละ 30 เท่านั้น ที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานการอ่านภาษาฮีบรู (standard Hebrew reading comprehension test) จากที่เคยผ่านถึงร้อยละ 60 เมื่อ 20 ปีที่แล้ว เช่นเดียวกับไทย ผลการทดสอบโอเน็ต ปี 2546-2547 และ 2549 และเอเน็ต ปีการศึกษา 2548-2549 พบว่านักเรียนมัธยม 3 และมัธยม 6 มีคะแนนเฉลี่ยวิชาหลัก 5 วิชา คือ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ต่ำกว่าร้อยละ 50 ภาษาไทย ต่ำกว่าร้อยละ 50 ยกเว้นวิชาภาษาไทย           

1213_787075900.gif

             ครูมีภาระงานมากแต่ค่าตอบแทนต่ำ จากการประเมิน OECD กล่าวว่า ในบรรดาประเทศอุตสาหกรรม เงินเดือนครูอิสราเอลต่ำที่สุด โดยเริ่มต้นอยู่ที่ 600 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน ส่งผลกระทบต่อขวัญกำลังใจของครู ไม่เพียงเท่านั้น ครูอิสราเอลยังมีภาระความรับผิดชอบมาก ครู 1 คน ต้องรับผิดชอบนักเรียนถึง 40 คน และนอกจากงานสอนยังต้องรับผิดชอบภาระอื่นของโรงเรียนอีก ปัญหาครูอิสราเอลไม่ต่างจากครูไทย กล่าวคือ มีผลตอบแทนและสวัสดิการต่ำ แต่มีชั่วโมงการทำงานที่สูง ข้อมูลจาก Education at a Glance 2005 ของ OECD พบว่า ครูไทยมีภาระงานหนักกว่าครูประเทศกลุ่ม OECD โดยต้องรับผิดชอบนักเรียน 40 คน ต่อ 1 ห้องเรียน มีชั่วโมงการทำงาน 900-1,200 ชั่วโมงต่อปี สูงกว่าค่าเฉลี่ยของครูในประเทศกลุ่ม OECD ซึ่งอยู่ที่ 600-700 ชั่วโมงต่อปี รายงานการวิจัยของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) สภาวะการขาดแคลนครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทย (2547) โดย รศ.ดร.ชนิตา รักษ์พลเมือง รศ.ดร.จรูญศรี มาดิลกโกวิท และคณะฯ พบว่า ค่าตอบแทนครูต่ำมากเมื่อเทียบกับวิชาชีพอื่น อีกทั้ง อัตราเงินเดือนระหว่างครูเก่งครูดีกับครูคุณภาพไม่แตกต่างกันทำให้ครูเก่งครูดีขาดกำลังใจและมีแนวโน้มออกจากอาชีพครูมากขึ้น         

        
การขาดแคลนครูในวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ
อิสราเอลขาดครูที่เชี่ยวชาญวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เพราะปัจจุบันอิสราเอลได้ลดมาตรฐานผู้ที่จะเข้ามาเป็นครูในสาขาวิชาดังกล่าวลง ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ได้กำหนดเงื่อนไขไว้ว่า ผู้ที่เข้ามาเป็นครูคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ อย่างน้อยต้องจบจากมหาวิทยาลัย ในประเทศไทย ผลจากนโยบายจำกัดอัตรากำลังคนของภาครัฐ หรือการเออลี่รีไทร์ ทำให้ขาดแคลนครูอย่างรุนแรงตั้งแต่ปี 2543 โดยเฉพาะครูวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ นอกจากนี้ กระบวนการผลิตครูยังไม่สามารถคัดเลือกคนดีคนเก่งมาเป็นครู


  image002_652331065.gif ความไม่มั่นใจในคุณภาพการศึกษา
ผลจากการตัดงบประมาณเพื่อการศึกษาของรัฐบาลอิสราเอล จากร้อยละ 9.3 ของ GDP ในปี 2002 เป็นร้อยละ 8.3 ของ GDP เมื่อปลายปี 2006 ทำให้โรงเรียนลดชั่วโมงเรียนลงไป เมื่อปี 1997 นักเรียนใช้เวลาอยู่ในโรงเรียนจำนวน 36 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่วันนี้ใช้เหลือเพียง 30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพราะบางวิชาไม่มีการเรียนการสอน หรือไม่สามารถสอนครบหลักสูตร โดยวิชาหลักอย่างคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ถูกตัดทอนลงไป ทำให้พ่อแม่ปกครองในอิสราเอลไม่มั่นใจในคุณภาพการศึกษา จึงหาทางออกโดยจัดครูพิเศษมาสอน ในประเทศไทย ไม่มีการลดชั่วโมงเรียนเหมือนอิสราเอล แม้จะขาดครูและมีปัญหาคุณภาพ แต่สิ่งที่สะท้อนว่าพ่อแม่ผู้ปกครองไม่มั่นใจในคุณภาพการศึกษาคือ การเตรียมค่าใช้จ่ายสำหรับเรียนพิเศษในช่วงปิดเทอมหรือหลังเลิกเรียน
           

            การแก้ไขปัญหาคุณภาพการศึกษาของอิสราเอล
อิสราเอลแก้ไขปัญหาการศึกษาด้วยการเพิ่มงบประมาณในปี 2008 โดยอิสราเอลจะเพิ่มงบประมาณอีก 400 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับการศึกษา โดยงบฯ ที่เพิ่มเข้ามานี้นำมาใช้เป็นเงินเดือนครูและการปฏิรูปโรงเรียน โดยรัฐบาลมีงบผูกมัดว่าต้องเพิ่มงบฯ 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในอีก 5 ปี
           
          หากมองย้อนกลับมายังประเทศไทย แม้มีความพยายามปฏิรูปการศึกษามาตั้งแต่ พ.ศ. 2542  แต่พบว่า การศึกษาไทยยังไม่พัฒนาไปเท่าที่ควร แสดงให้เห็นว่า

ไทยต้องทบทวนการปฏิรูปการศึกษาใหม่ ซึ่งประเด็นสำคัญอยู่ที่การหาจุดที่เป็นคานงัดของการพัฒนาคุณภาพการศึกษา


ดังตัวอย่างของอิสราเอลที่เห็นว่าการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต้อง “พัฒนาครู” และ “ปฏิรูปสถานศึกษา”
     

  
สำหรับคานงัดในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย ผมเสนออย่างน้อย 3 จุด ได้แก่ 1) รมต. ศธ. ต้องนำธงชัดเจนด้านการกำหนดนโยบายการศึกษา และมีกลไกให้เกิดดำเนินการต่อเนื่องแม้มีการปรับเปลี่ยนรัฐบาล 2) จัดสรรทรัพยากรโดยจัดสรรเงินอุดหนุนรายหัวให้แก่ผู้เรียนตามคุณภาพและประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และ 3) พัฒนาคุณภาพครู โดยพัฒนาครูให้มีคุณภาพในการสอนและมีขวัญกำลังใจในการประกอบวิชาชีพ           

   
การปฏิรูปการศึกษาไทยจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องตั้งลำ และหาคานงัดสำคัญในการขับเคลื่อนการศึกษาไปทิศทางที่ถูกต้อง ไม่ควรดันทุรังดำเนินการตามกรอบเดิมซึ่งแสดงให้เห็นแล้วว่าไม่ได้ผล

beean_475186152.gif

ขอบคุณ    ศ. ดร.เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์

 ที่มา  www.kriengsak.com/index.php?components=content&id_content_category










หน้าก่อน หน้าก่อน (2/3)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (7873 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©