-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 523 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เกษตรต่างแดน8





เกษตรเขมร



 ห้ามสินค้าเกษตรเขมรข้ามเขตแดนไทย

นายสมบูรณ์ ศรีพัฒนาวัฒน์ ผวจ.สระแก้ว กล่าวว่า ขณะนี้สั่งการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบตามแนวชายแดน ประกอบด้วย อ.ตาพระยา กิ่ง อ.โคกสูง อ.อรัญประเทศ อ.คลองหาด และกิ่ง อ.วังสมบูรณ์ ดูแลป้องกันไม่ให้สินค้าเกษตรของกัมพูชาเข้ามาขายในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นข้าวโพด ข้าวเปลือก เพราะสินค้าเหล่านี้ทำให้เกษตรกรไทยได้รับความเดือดร้อนจำนวนมาก เกษตรกรถูกพ่อค้ากดราคาซื้อข้าว ข้าวโพด ขายข้าวโพดเราต้องมีปัญหามาก

"ผมสั่งให้ทุกหน่วยงานที่รับผิดชอบสกัดกั้นจับกุมสินค้าเถื่อนนำเข้าทุกชนิด ไม่มีการละเว้น หากหน่วยงานใดเปิดช่องให้มีการลักลอบนำสินค้าเถื่อนเข้ามา หน่วยงานนั้นจะถูกคาดโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงทันที พร้อมกันนี้สั่งนายอำเภอที่อยู่ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ตรวจสอบตามด่านและช่องทางลักลอบนำพืชไร่ทางการเกษตร โดยเฉพาะช่วงนี้ข้าวเข้ามาจำนวนมากด้านอำเภอคลองหาด อำเภออรัญประเทศ เป็นช่วงๆ เป็นฤดูข้าวโพด ราคาข้าวโพดของกัมพูชากิโลละ 2 บาท ของไทยราคา 2 บาท แต่พ่อค้าไม่รับซื้อ อ้างว่ามีความชื้นสูง และอ้างว่าฝักเล็ก ไม่สวย ไม่รับซื้อของเกษตรกรไทย ไปรับซื้อข้าวโพดจากกัมพูชา ทำให้เกษตรกรชาวไร่ข้าวโพดเดือดร้อน" ผู้ว่าฯ สระแก้วกล่าว

ที่มา  หนังสือพิมพ์ข่าวสด




ปลาเขมรเนื้อหวาน ต่างชาติขยับเข้าลงทุนส่งออก
แม่ค้าปลากำลังกุลีกุจอชั่งปลาสดให้ลูกค้าในตลาดเมืองเกาะกง กัมพูชาเป็นแหล่งผลิตปลาสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือปลาน้ำจืดที่ยังมีมากมายในแหล่งน้ำธรรมชาติ ขณะที่การประมงทางทะเลกำลังรอการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อพัฒนาขึ้นมาแข่งกับเพื่อนบ้าน ปัจจุบันธุรกิจผลิตปลาส่งออกกำลังได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากขึ้น 
 
เพิ่งจะมีการเปิดเผยขอมูลว่า ในแต่ละปีไทยกับเวียดนามนำเข้าปลาแช่แข็งจากกัมพูชาปริมาณมหาศาล แต่ตลาดก็กำลังขยายออกไปอย่างกว้าง และบริษัทต่างชาติเริ่มเข้าไปทำกำไรจากการส่งออก
      
       ตามตัวเลขของกระทรวงเกษตรกัมพูชา ปีที่แล้วมีการส่งออกปลาถึง 30,000 ตัน มูลค่า 30 ล้านดอลลาร์ เทียบกับปี 2551 ที่ส่งออกปลาสด 20,000 ตัน กับปลาแปรรูป 10,000 ตัน เพิ่มขึ้นราว 5,000 ตัน จากปี 2550 ปริมาณส่งออกปีที่แล้วไม่ได้ลดลง แม้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจจะส่งผลกระทบต่อตลาดอย่างหนักก็ตาม
      
       “เราก็ไม่ได้คิดว่าจะส่งออกมากมายขนาดนั้น เพราะว่ายังจะต้องเหลือให้พอบริโภคภายในประเทศด้วย” หนังสือพิมพ์ในกัมพูชาอ้างคำสัมภาษณ์ของ นายซัมนอว์ (Sam Nav) รองอธิบดีกรมประมง
      
       ปี 2552 ทั่วกัมพูชาจับปลาได้ราว 465,000 ตัน เพิ่มขึ้น 25% จากปีก่อน ในนั้น 390,000 ตันเป็นปลาน้ำจืด ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า โตนเลสาบ (Tonle Sap) ทะเลสาบใหญ่ใจกลางประเทศเป็นแหล่งปลาที่อุดมสมบูรณ์ แม้ว่าปริมาณจะลดลงในช่วงปีหลังๆ นี้ เนื่องจากจับกันมาก

กัมพูชาเป็นแหล่งผลิตปลาช่อนทะเล ปลากะพง กุ้งลอบสเตอร์ ปูและกุ้งทะเล ตลาดส่งออกมีตั้งแต่ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง เกาหลี สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ลูกค้าสองรายหลังนี้ต้องการนำเข้าเพิ่มขึ้นทุกปี แต่กัมพูชาผลิตได้ไม่พอ
      
       ความต้องการของตลาดที่สูงขึ้นได้ทำให้บริษัทต่างชาติหลายแห่งเข้าไปปักหลักในสีหนุวิลล์ เมืองท่าเรือและท่าแพปลาใหญ่ที่สุด สร้างห้องเย็นผลิตปลาแช่แข็งและแปรรูปสำหรับส่งออก
      
       บริษัท แคนาเดียนนอทิสโก (Canadian Nautisco Seafood Manufacturing) เป็นรายล่าสุดที่เข้าไปแสวงหาผลกำไรจากการผลิตและส่งออกปลากับอาหารทะเล บริษัทนี้ลงทุนราว 4 ล้านดอลลาร์สร้างโรงงานขึ้นในสีหนุวิลล์โดยเล็งไปยังตลาดแคนาดา ยุโรปตะวันออก ญี่ปุ่น รัสเซีย รวมทั้งสหรัฐฯ ด้วย
      
       อย่างไรก็ตาม บริษัทจากแคนาดาผลิตกุ้งแช่แข็งได้เพียง 500 ตันต่อเดือนเท่านั้น ที่เหลือล้วนเป็นผู้ผลิตส่งออกรายเล็ก โอกาสสำหรับการลงทุนเรื่องนี้จึงมีอีกมาก สื่อในกัมพูชากล่าว


ที่มา  :  ผู้จัดการ



ข่าวกรองเขมรระบุ จีนบีบ “ฮุนเซน” หน้าเขียวให้ญาติดีกับไทย
ภาพนี้ดูไม่รู้เบื่อ เพราะว่าก่อนหน้านี้เพียง 2 เดือน ไม่มีใครคิดว่ามันจะเกิดขึ้นได้รวดเร็วเพียงนี้ ภาพเอเอฟพีวันที่ 4 เม.ย.2553 นายกรัฐมนตรีไทยอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สัมผัสมือต้อนรับนายกรัฐมนตรีฮุนเซน อย่างเป็นกันเองฐานเจ้าภาพที่ดี ในงานเลี้ยงผู้นำกลุ่มแม่น้ำโขง 4 ประเทศ ที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ข่าวกรองของชาวเขมรในต่างแดนกล่าวว่า จีนอยู่เบื้องหลังทำให้ นายกฯ กัมพูชาเปลี่ยนไป 
 
สื่อออนไลน์ของชาวเขมรในต่างแดน ระบุว่า จีนเป็นผู้อยู่เบื้องหลังอย่างแข็งขันกดดันให้นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ฮุนเซน โอนอ่อนผ่อนตาม และยุติการสร้างความยุ่งเหยิงให้กับไทย โดยแทรกแซงกิจการภายในของไทยอย่างเปิดเผย
      
       สำนักข่าวกรองเขมร (Khmer Intelligence) หรือ KI รายงานเรื่องนี้ในบอร์ดข่าววันศุกร์ (9 เม.ย.) ที่ผ่านมา โดยอ้างแหล่งข่าวนักการทูตที่เชื่อถือได้สองคน
      
       “จีนต้องการผดุงสันติภาพและเสถียรภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และต้องการป้องกันมิให้เวียดนามเข้าไปมีอิทธิพลในภูมิภาคนี้..” สำนักข่าวเดียวกัน กล่าว
      
       (จีน) เชื่อว่า เวียดนามอยู่เบื้องหลังพฤติกรรมอันก้าวร้าวของนายกรัฐมนตรีกัมพูชาฮุนเซน ที่มุ่งสร้างความอ่อนแอให้ประเทศไทย ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้นแล้ว จะเห็นได้จากการเดินขบวนต่อต้านประเทศไทยในกรุงพนมเปญ ในเดือน ม.ค.2546
      
       สำนักข่าวแห่งนี้หมายถึงเหตุการณ์จลาจลใหญ่ที่ผู้ประท้วงบุกเข้าเผาสถานทูตไทย และ เผาทุบทำลาย ตลอดจนปล้มสะดมผลประโยชน์ต่างๆ ของบริษัทเอกชนไทย
      
       สัปดาห์ที่แล้ว KI ได้รายงานข่าวกรองชิ้นหนึ่ง อ้างว่า นายกฯ กัมพูชา กับนักโทษชาย ทักษิณ ชินวัตร วางแผนการอันแยบยลฮุบผลประโยชน์จากน้ำมันในเขตทับซ้อนอ่าวไทย เพื่อประโยชน์ส่วนตน แต่ทักษิณหมดอำนาจลงเสียก่อน
      
       กระดานข่าว KI-Media เสนอข่าวที่มี่เนื้อหา หรือน้ำหนักต่อต้านเวียดนาม กับรัฐบาลฮุนเซน และมีท่าทีสนับสนุนพรรคฝ่ายค้านสมรังสี ตลอดมา ข่าวกรองหลายชิ้นของสำนักนี้พิสูจน์ได้ในภายหลังว่าเป็นความจริง แต่บางชิ้นก็ไม่เป็นเช่นที่รายงาน


ที่มา  :  ผู้จัดการ



ทุนจีนหนุนเขมรผลิตข้าวส่งออก
ให้กู้  $300 ล้าน...จัดน้ำเข้านา

ด้วยเงินกู้จากจีนกับเงินกู้จากแหล่งอื่นอีกจำนวนหนึ่งรวมประมาณ 300 ล้านดอลลาร์ กัมพูชากำลังจะสร้างขยายระบบชลประทานอย่างกว้างขวาง เพื่อให้ครอบคลุม 70% ของผืนนาใน 2 ปีข้างหน้านี้ ซึ่งจะช่วยให้ผลิตข้าวได้มากขึ้นอีกหลายเท่า และ หมายถึงส่งออกได้มากขึ้นด้วย

นายกรัฐมนตรีกัมพูชาฮุนเซนประกาศเรื่องนี้ในสัปดาห์ต้นเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ระหว่างทำพิธีเปิดใช้ระบบชลประทานโครงการหนึ่งใน จ.พระตะบอง จังหวัดใหญ่อันดับ 2 ซึ่งเป็นเขตอู่ข้าวสำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศ

"เรากำลังจะเปลี่ยนสนามรบในอดีต ให้เป็นแหล่งเพาะปลูกอันกว้างขวาง" ฮุนเซนประกาศผ่านสถานีโทรทัศน์กัมพูชา (TVK) ที่รับชมได้ในกรุงเทพฯ โดยจานดาวเทียม

ตามตัวเลขของกระทรวงเกษตรกัมพูชา ปัจจุบันทั้งประเทศมีพื้นที่นาข้าว 2.6 ล้านเฮกตาร์ (1 เฮกตาร์= 6.25 ไร่) รัฐบาลจะเพิ่มให้เป็น 3 ล้านเฮกตาร์ภายในปี 2558 การชลประทานที่ทั่วถึง จะทำให้เพิ่มผลิตจาก 2.6 ตัน (ข้าวเปลือก) ให้เป็น 3 ตันต่อเฮกตาร์ได้ และหากเป็นไปตามนี้ กัมพูชาก็จะผลิตข้าวได้ 12.25 ล้านตันต่อปี

"มีพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น ได้ผลผลิตต่อเฮกตาร์มากขึ้น และทำนาสองฤดู วันนั้นกัมพูชาจะผลิตข้าวได้ถึง 15 ล้านตันต่อปี" ดร.จัน สะรุน รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรกล่าวผ่าน TVK ในงานเดียวกัน

รัฐมนตรีผู้นี้กล่าวอีกว่า รัฐบาลกำลังหาทางขยายพื้นที่การเกษตรอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตสมรภูมิเก่าทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับทางตะวันตกของประเทศ โดยไม่ต้องรอให้เก็บกู้ระเบิดแล้วเสร็จเสียก่อน

ส่วนพื้นที่รอบๆ ทะเลสาบใหญ่ (Tonle Sap) ยังขยายพื้นที่นาข้าวได้อีกราว 800,000 เฮกตาร์ บริเวณนี้ผืนดินอุดมที่สุด ให้ผลผลิตสูงสุด

การสร้างถนนหนทางและขยายระบบชลประทานอย่างกว้างขวางในช่วงหลายปีมานี้ เป็นผลงานสำคัญที่ทำให้ชาวกัมพูชาเลือกพรรครัฐบาลเข้ารัฐสภาจนได้เสียงข้างมากอันเด็ดขาดในการเลือกตั้งปี 2551

นโยบายเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ เป็นที่ประทับใจของผู้คนในเขตชนบาท ซึ่งเกือบร้อยละ 90 ประกอบอาชีพเป็นชาวนา และเกษตรกรแขนงต่างๆ

นโยบายเพิ่มผลผลิตข้าวของกัมพูชา ไม่เพียงแต่สร้างความสนใจให้แก่จีนเท่านั้น รัฐบาลคูเวตกับกาตาร์ซึ่งเป็นเศรษฐีน้ำมันในตะวันออกกลาง ได้ส่งเจ้าหน้าที่เดินทางเข้าออกกัมพูชาหลายครั้งไม่กี่ปีมานี้ ศึกษาโอกาสในการลงทุนผลิตข้าว

ปี 2551 รัฐบาลคูเวตได้เงินกู้กัมพูชา 546 ล้านดอลลาร์ เพื่อสร้างระบบชลประทาน กับเขื่อนเอนกประสงค์อีก 1 แห่ง และทำถนนเข้าสู่ผืนนา ใน จ.กัมปงจาม และ พระตะบอง คูเวตยังมีแผนจะเข้าลงทุนอีกราว 200 ล้านดอลลาร์ปลูกข้าวในกัมพูชาโดยตรง หนังสือพิมพ์ของคูเวตรายงานปลายปีที่แล้ว

ในเดือน ธ.ค.2552 กัมพูชาได้เซ็นสัญญาเงินกู้กับจีนรวม 850 ล้านดอลลาร์ นับเป็นเงินกู้ก้อนใหญ่ที่สุด ตั้งแต่เคยได้รับความช่วยเหลือ ในปัจจุบันจีนยังเป็นผู้ลงทุนมากที่สุดในกัมพูชา และ เป็นประเทศผู้บริจาครายใหญ่ที่สุด

นอกจากนั้นจีนยังให้คำมั่นจะขยายวงเงินกู้ เพื่อช่วยกัมพูชาพัฒนาการเกษตรต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการก่อสร้างระบบชลประทานในเขตอู่ข้าวรอบๆ กรุงพนมเปญ คือ เปรย์แวง (Prey Veng) กับ จ.โพธิสัตว์ (Pursat) และ จ.อุดรมีชัย (Oddor Meanchey) ทางตอนเหนือ

นายเกียตชนรองนายกฯ และ รัฐมนตีกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังกล่าวว่า ยังมีญี่ปุ่นกับเกาหลีอีก 2 แรงที่ให้เงินกู้ช่วยกัมพูชาพัฒนาการเกษตรและการผลิตข้าวส่งออก

ก่อนหน้านี้รัฐมนตรีเกษตรกัมพูชาเคยประกาศจะขึ้นเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลกในปี 2558 เทียมไหล่กับประเทศเพื่อนบ้านอย่างไทย ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ส่งออกข้าวเบอร์หนึ่งของโลก และ เวียดนามอันดับ 2

แต่นายสะรุนกล่าวว่า ถึงแม้จะยังไม่สามารถเป็นผู้ส่งออกลำดับต้นๆ ได้ ในปี 2558 กัมพูชาก็จะมีข้าวส่งออกอย่างเหลือเฟือ ซึ่งก่อนหน้านั้นเคยตั้งเป้าไว้ที่ 8 ล้านตัน เป็นรองเพียงประเทศไทยเท่านั้น

อย่างไรก็ตามรายงานของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ระบุว่า ปี 2550 กัมพูชาส่งออกข้าว 450,000 ตันเป็นอันดับที่ 9 ของโลก ปริมาณเพิ่มขึ้นเป็น 500,000 ตันในปี 2551

ปีการผลิต 2552-2553 นี้ กัมพูชาผลิตข้าวได้ 7.286 ล้นตัน ซึ่งจะทำให้มีข้าวเหลือบริโภคภายในและส่งออกได้ 3.1 ล้านตัน ยังห่างไทยกับเวียดนามอีกหลายชั้น.
 
       
เกษตรกรกัมพูชาจำนวนมากขึ้นกำลังหันกลับมาใช้ปุ๋ยจากธรรมชาติ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการทำเกษตรอินทรีย์อีกครั้ง
นายคิม สีฝาย (Khim Siphay) ปลูกและผักในไร่นาได้จำนวนมากขึ้นในทุกวันนี้ และยังจ่ายเงินค่าปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชน้อยลงด้วย
       
       "การใช้ยาปราบศัตรูพืชและการใส่ปุ๋ยจะทำให้แมลงที่มีประโยชน์ตายและเป็นสาเหตุให้ดินเสีย" เกษตรกรวัย 46 ปีกล่าว
       
       "ผมใช้ปุ๋ยผสมเพื่อช่วยให้ดินคงสภาพดีได้ปีต่อปี สมาชิกในครอบครัวทั้งหมดจะช่วยกันผสมปุ๋ย"
       
       ประชากรจำนวนประมาณ 3 ใน 4 ของทั้งหมด 13 ล้านคนในกัมพูชาดำรงชีวิตด้วยการพึ่งพาทางการเกษตร เงินรายรับโดยเฉลี่ยน้อยกว่า 2 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ทำให้การทำเกษตรอินทรีย์ ซึ่งใช้งบประมาณน้อยและมีผลดีต่อสุขภาพกลายเป็นที่สนใจมากขึ้น
       
       การเกษตรอินทรีย์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการซึ่งริเริ่มโดยศูนย์การศึกษาเพื่อพัฒนาการเกษตรกัมพูชา (Centre d'Etude et de Developpement Agricole Cambogien) หรือ CEDAC เพื่อพยายามให้เกษตรกรออกห่างจากสารเคมีที่เป็นอันตรายและมีราคาแพง
       
       โครงการดังกล่าวเริ่มต้นเมื่อปี 2543 มีเกษตรกรที่ต้องการกลับไปทำการเพาะปลูกรูปเกษตรอินทรีย์แบบดั้งเดิมเพียง 28 คน แต่ขณะนี้มีจำนวนถึง 60,000 คนทั่วประเทศ และ การทำเกษตรรูปแบบนี้ยังได้รับการรับรองจากกระทรวงการเกษตรของกัมพูชาด้วย

ผลผลิตข้าวต่อเฮกตาร์ (6.25 ไร่) ที่เกษตรกรได้รับจากการเพาะปลูกแบบอินทรีย์มีเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า และ ความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ก็น้อยลงถึง 70-80% ซึ่งหมายความว่าเกษตรการมีรายได้จากเดิม 58 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นเป็น 172 ดอลลาร์ต่อเฮกตาร์
       
       "หลักสำคัญของการทำเกษตรอินทรีย์คือ เกษตรกรไม่จำเป็นต้องเสียเงินจ่ายค่าปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืช ดั้งนั้นพวกเขาจึงใช้เงินในการเพาะปลูกน้อยลง" หยางซางโกมา (Yang Saing Koma) เจ้าหน้าที่ของ CEDAC กล่าว
       
       "เกษตรกรสามารถขายผลผลิตแพงขึ้น นอกจากนั้นยังหลีกเลี่ยงการติดเชื้อจากยาปราบศัตรูพืชทำให้มีสุขภาพดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมด้วย" เจ้าหน้าที่คนเดียวกันกล่าว
       
       การเกษตรอินทรีย์ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงในนาข้าวเท่านั้น เกษตรกรได้รับการกระตุ้นให้ขุดร่องรองรับน้ำฝนสำหรับการชลประทาน สร้างบ่อน้ำและลำคลองเพื่อใช้ในการผสมพันธุ์ปลา
       
       ข้าวและผลผลิตอื่นๆ สามารถนำมาใช้เลี้ยงไก่เพื่อผลิตไก่และไข่อินทรีย์ได้
       
       "ผมเริ่มทำการเกษตรอินทรีย์รอบๆ นาข้าวก่อน แต่เมื่อเห็นว่าผลผลิตที่ได้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ในฤดูกาลต่อมาจึงตัดสินใจทำการเพาะปลูกแบบอินทรีย์ในพื้นที่ทั้งหมด... ตอนนี้ผมเสียค่าใช้จ่ายน้อยลง ปลูกพืชได้มากขึ้น และก็ไม่เจ็บป่วยเหมือนเมื่อก่อน สุขภาพดีขึ้นมาก" เกษตรกรโรส เมียว (Ros Meo) กล่าว
       
       หลังจากกัมพูชาเริ่มลืมบาดแผลของสงคราม และ ประชาชนโดยเฉพาะที่อยู่ในเมืองมีเงินทองใช้มากขึ้น ประโยชน์ที่ได้รับคือความเป็นอยู่ที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น เป็นแรงผลัดดันในการทำการเกษตรอินทรีย์
       
       รัฐบาลหวังว่าในที่สุดประเทศจะได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากตลาดการค้าอาหารเกษตรอินทรีย์ระดับสากล.



 
ด้วยภาษีนำเข้า 0% ข้าวเขมรเริ่มออกลุยตลาดยุโรป


กัมพูชาเริ่มส่งข้าวไปจำหน่ายในหลายประเทศยุโรป ทั้งยุโรปตะวันตก ตะวันออก รวมทั้งรัสเซียด้วย หลังจากสหภาพยุโรปประกาศไม่เก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากกัมพูชา ภายใต้โครงการ "ทุกอย่างนอกจากอาวุธ" (Everything But Arms) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2552 เป็นต้นมา

    
อียู กำหนดโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อ ช่วยเหลือประเทศที่ยากจน ซึ่งประเทศเพื่อนบ้านของกัมพูชาคือ ไทยกับเวียดนามไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว

    
ทางสมาคมอุตสาหกรรมฯได้ทำสัญญาขายข้าวจำนวน 48 ตันให้กับประเทศเยอรมนี 120 ตันให้ลิธัวเนีย 360 ตันให้โปแลนด์ อีก 480 ตันให้กับรัสเซีย รวมมูลค่า 567,840 ดอลลาร์ โดยเริ่มส่งให้ระหว่างวันที่ 27 มี.ค.- 7 เม.ย. ศกนี้ หนังสือพิมพ์พนมเปญโพสต์กล่าว

    
สมาคมฯ ตั้งความหวังว่าในปี 2553 นี้จะสามารถส่งออกข้าวสู่ตลาดยุโรปได้ 7,000-10,000 ตันซึ่งมีมูลค่า 3.1-4.5 ล้านดอลลาร์ ก่อนหน้านี้ในเดือน ม.ค. ได้ส่งออกไปยุโรปแล้ว 144 ตัน และ ในเดือน ก.พ. อีก 480 ตัน

    
นายเหมา ธุรา (Mao Thura) ผู้ช่วยรัฐมนตรีการค้ากัมพูชา กล่าวว่าปีนี้กัมพูชาผลิตข้าวได้มากขึ้น และ ยังได้รับการลดหย่อนภาษีจาก อียูด้วย

    
"ข้อตกลงเกี่ยวกับภาษีที่ยุโรปให้กับกัมพูชาถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ข้าวของกัมพูชาจะเข้าไปแข่งกับข้าวจากประเทศอื่นๆ ที่ส่งออกไปยังยุโรปเช่นกัน" รัฐมนตรีคนเดียวกันกล่าว

    
ในเดือน พ.ค.นี้ สมาคมฯ จะจัดประชุมระหว่างผู้ซื้อจากยุโรปและผู้ผลิตข้าวในประเทศ เพื่อให้การซื้อขายเป็นระบบมากขึ้น ขณะที่กำลังเร่งการเพิ่มผลผลิต. เจ้าหน้าที่ของสมาคมฯ คนหนึ่งกล่าว

    
การให้สิทธิประโยชน์ของอียูยังมีออกมาในขณะที่ต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสองประเทศตะวันออกกลางคือ คูเวตกับกาตาร์กำลังเข้าเข้าลงทุนผลิตข้าวในกัมพูชา ขณะที่สื่อในประเทศนี้กล่าวว่าที่ผ่านมา รัฐบาล ได้ให้สัมปทานที่นาแก่ทุนต่างชาตินับแสนไร่ ยังไม่นับรวมพื้นที่สวนยางและพืชเศรษฐกิจอื่นๆ

    
มาตรการของอียูกำลังจะทำให้บริษัทต่างชาติที่ลงทุนด้านการเกษตรในกัมพูชาได้รับประโยชน์ถ้วนหน้า รวมทั้งกลุ่มทุนใหญ่จากไทย คือ ไทยเบฟเวอเรจ หรือ "กลุ่มเบียร์ช้าง" เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ กลุ่มน้ำตาลมิตรผล ที่มีโครงการโรงงานอาหารสัตว์ ไร่อ้อยกับโรงงานน้ำตาลในประเทศนี้

    
ในช่วงสองปีมานี้กัมพูชาผลิตข้าวได้มากจนเหลือส่งขายต่างประเทศ แต่ก็ยังมีปริมาณน้อย แม้ว่ารัฐบาลจะตั้งเป้าส่งออกเอาไว้ประมาณ 8 ล้านตันต่อปีในปี 2558 แต่ก็ยังมีอีกหลายอย่างต้องทำก่อนจะได้รับสิทธิประโยชน์จากภาษี 0% ของสหภาพยุโรปอย่างเต็มที่

    
ตามตัวเลขของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ปี 2551 กัมพูชาส่งออกข้าวเพียงประมาณ 500,000 ตัน ในนั้นเพียง 2,700 ตันที่ไปถึงประเทศยุโรป และ ทำ เงินได้เพียงประมาณ 2 ล้านดอลลาร์

 
 
 
 



คูเวต เล็งใช้ ลาว-เขมร เป็นฐานผลิตอาหาร
กระทรวงการต่างประเทศลาวเปิดเผยเมื่อวันพุธ (6 ส.ค.) ว่า ชีค นัสเซอร์ อัล-โมฮัมเหม็ด อัล-ฮาเหม็ด อัล-จาเบอร์ นายกรัฐมนตรีคูเวต ซึ่งอยู่ระหว่างการเยือนเอเชีย ได้พบหารือกับนายบัวสอน บุบผาวัน นายกรัฐมนตรีลาว และแสดงความสนใจที่จะลงทุนด้านพลังงานและการเกษตรในลาว อันเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามแสวงหาโอกาสการลงทุนใหม่ๆ ในภูมิภาคเอเชีย


คูเวตเชื่อว่าลาวมีศักยภาพอย่างมากในด้านการเกษตร โดยเฉพาะการปลูกข้าว ผู้นำทั้งสองได้ตกลงร่วมกันที่จะหาทางส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานและการเกษตร และลาวรับปากจัดหาสถานที่สำหรับจัดตั้งสถานทูตคูเวตในกรุงเวียงจันทน์ ขณะที่นายยง จันทะลังสี โฆษกกระทรวงต่างประเทศลาว กล่าวเมื่อวันอังคารว่า ขณะนี้คูเวตและประเทศในแถบอ่าวเปอร์เซีย มีนโยบายใหม่ที่จะแสวงหาการลงทุนในด้านอื่นๆ โดยนำรายได้จำนวนมหาศาลจากน้ำมันมาใช้ในการลงทุนใหม่ ซึ่งนับเป็นข่าวดีสำหรับลาว เพราะลาวมีศักยภาพทางเศรษฐกิจ แต่ขาดเงินทุน

ทั้งนี้ ลาวเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประชากรเกือบ 6 ล้านคน และรัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านการเกษตรเป็นอันดับแรกๆ นอกจากนี้ลาวซึ่งเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทะเลและเต็มไปด้วยภูเขา สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำได้อย่างมาก แต่ไม่มีแหล่งน้ำมัน ขณะที่คูเวตเป็นประเทศร่ำรวยทรัพยากรน้ำมัน แต่เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย จึงเป็นเรื่องยากที่จะปลูกพืชอาหาร เพื่อเลี้ยงประชากรกว่า 2 ล้านคนในประเทศ


ก่อนหน้านี้ ระหว่างเยือนกัมพูชาเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม นายกรัฐมนตรีคูเวตแสดงความสนใจที่จะลงทุนแบบเดียวกันนี้ โดยนายจัน สารัน รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรของกัมพูชา กล่าวว่า ข้อเสนอที่ทางการพนมเปญสนใจมากที่สุด คือ การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีการเกษตรกับที่ดินในกัมพูชาเพื่อปลูกพืชเป็นอาหาร ซึ่งอาจจะเป็นข้าวสำหรับส่งออกไปคูเวต ขณะที่ทางกัมพูชาเพิ่งแถลงเมื่อไม่นานมานี้ว่า จะยกเครื่องเทคนิคการผลิตข้าว และพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ระบบชลประทานและโรงสีให้ทันสมัยขึ้น เพื่อช่วยให้กัมพูชากลายเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ในเอเชีย


ก่อนเดินทางถึงกัมพูชาและลาว นายกรัฐมนตรีคูเวตได้ตระเวนเยือนหลายประเทศในเอเชีย ตั้งแต่บรูไน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และขณะนี้เดินทางออกจากเวียงจันทน์มุ่งหน้าไปยังพม่าแล้ว รวมทั้งมีกำหนดมาเยือนไทยระหว่างวันที่ 13-14 สิงหาคมนี้

 
 
 









สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (1613 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©