-
++kasetloongkim.com++ - Content
หน้าแรก สมัครสมาชิก กระดานข่าว ดาวน์โหลด ติดต่อ

เมนูหลัก

» หน้าแรก
» เว็บบอร์ด
» ผู้ดูแล
» ไม้ผล
» พืชสวนครัว
» พืชไร่
» ไม้ดอก-ไม้ประดับ
» นาข้าว
» อินทรีย์ชีวภาพ
» ฮอร์โมน
» จุลินทรีย์
» ปุ๋ยเคมี
» สารสมุนไพร
» ระบบน้ำ
» ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
» ไร่กล้อมแกล้ม
» โฆษณา ฟรี !
» โดย KIM ZA GASS
» สมรภูมิเลือด
» ชมรม

ผู้ที่กำลังใช้งานอยู่

ขณะนี้มี 245 บุคคลทั่วไป และ 0 สมาชิกเข้าชม

ท่านยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นสมาชิก หากท่านต้องการ กรุณาสมัครฟรีได้ที่นี่

เข้าระบบ

ชื่อเรียก

รหัสผ่าน

ถ้าท่านยังไม่ได้เป็นสมาชิก? ท่านสามารถ สมัครได้ที่นี่ ในการเป็นสมาชิก ท่านจะได้ประโยชน์จากการตั้งค่าส่วนตัวต่างๆ เช่น ฉากหรือพื้นโปรแกรม ค่าอ่านความคิดเห็น และการแสดงความเห็นด้วยชื่อท่านเอง

สถิติผู้เข้าเว็บ

มีผู้เข้าเยี่ยมชม
PHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG CounterPHP-Nuke PNG Counter ครั้ง
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม 2553

product13

product9

product10

product11

product12

เกษตรต่างแดน3




หน้า: 2/2



13. น่าทึ่งเขื่อนดอนสะโฮง เขตสี่พันดอนลาว ไม่มีอ่างเก็บน้ำ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 มิถุนายน 2553 23:33 น.

แผนที่ของ TERRA แสดงที่ตั้งเขื่อนกั้นลำน้ำโขงหลายแห่ง และเขื่อนดอนสะฮองหรือ ดอนสะโฮง ที่อยู่ทางตอนใต้สุดของลาว
       
ASTVผู้จัดการออนไลน์-- ลาวจับมือบริษัทจากมาเลเซีย เซ็นสัญญาสัปดาห์ที่แล้วเพื่อก่อสร้างเขื่อนดอนสะโฮง (ดอนสะฮอง) ขนาด 240 เมกะวัตต์ กำลังจะเป็นเขื่อนแห่งแรกที่ไม่มีอ่างเก็บน้ำ
       
       การผลิตไฟฟ้าจะอาศัยแรงน้ำไหลไปตามทางน้ำที่ใหญ่ที่สุดในเขตสี่พันดอนของเมืองโขง แขวงจำปาสัก โดยตัวเขื่อนกับโรงปั่นไฟจะอยู่ห่างจากปากทางน้ำลงไป 5 กม.
       
       ตามรายงานของสื่อทางการ เขื่อนดอนสะโฮงจะเป็นฝายน้ำล้นสูงเพียง 17 เมตร ก่อสร้างด้วยหินถมอัดแน่นเทคอนกรีตทับ อาศัยสภาพทางภูมิศาสตร์ที่น้ำโขงในช่วงชายแดนลาว-กัมพูชาไหลลงต่ำ โดยจะสร้างพนังคอนกรีตกั้นสองฝั่งของ “ฮูสะโฮง” บังคับให้น้ำไหลตรง
       
       ลักษณะทั้งหมดนี้ทำให้เขื่อนดอนสะโฮงมีลักษณะต่างไปจากเขื่อนอื่นๆ ทั้งที่ก่อสร้างแล้วและกำลังก่อสร้างในลาว ที่ส่วนใหญ่จะทำให้เกิดอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน และน้ำท่วมป่ากินอาณาบริเวณหลายสิบหรือหลายร้อยตารางกิโลเมตร และเขื่อนดอนสะโฮงไม่ได้กั้นแม่น้ำโขงทั้งสาย
       
       แต่กลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสภาพแวดล้อมที่มีเครือข่ายแม่น้ำระหว่างประเทศ (International River Network) กับ เทอร์รา (TERRA) เป็นหัวหอกกล่าวว่า เขื่อนนี้จะกั้นทางน้ำ ไหลสายใหญ่ที่สุดในลำน้ำโขง ในทางตอนใต้สุดของลาว ที่เป็นเส้นทางอพยพหลักของฝูงปลาจากทะเลสาบใหญ่ในภาคกลางของกัมพูชา ขึ้นไปตามลำน้ำ เป็นแหล่งโปรตีนหลักของผู้คนนับล้านๆ ที่อาศัยอยู่สองฝั่ง
       
       ดอนสะโฮงเป็นหนึ่งในหลาย “ดอน” หรือเกาะที่มีขนาดใหญ่นับสิบแห่ง ในเขต "สีพันดอน" ที่ลำน้ำโขงไหลกินอาณาบริเวณกว้าง ส่วน "ฮู" หรือ "ฮอง" หรือ "โฮง" คือ ทางน้ำไหลผ่านระหว่างเกาะดังกล่าว


แผนที่ทำขึ้นใหม่แสดงทางน้ำไหล หรือ "ฮู" หรือ "ฮอง" สายสำคัญ กับ "ดอน" หรือเกาะขนาดใหญ่ในเขตสีพันดอน เมืองโขง แขวงจำปาสักของลาว
       ตามสัญญาที่เซ็นกันในวันที่ 3 มิ.ย. โครงการเขื่อนดอนสะโฮงยังประกอบด้วยแผนการปรับปรุงยกระดับถนน สะพานและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง รวมทั้งโรงเรียนโรงพยาบาล และศูนย์บริการต่างๆ ตลอดจนโครงการอนุรักษ์ป่าในอาณาบริเวณ
       
       รัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว (Electricite Du Lao) ถือหุ้น 20% ในโครงการดอนสะโฮงมูลค่า 600 ล้านดอลลาร์ ที่เหลือเป็นของกลุ่มเมกะเฟิร์สคอร์ปเบอร์ฮัด จากมาเลเซีย มีกำหนดแล้วเสร็จในปลายปี 2559 ประกอบด้วยหน่วยปั่นไฟ 4 หน่วยๆ ละ 60 เมกะวัตต์ คาดว่าจะผลิตไฟฟ้ารวมกันได้ 1.756 ล้านกิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี
       
       ไฟฟ้าที่ผลิตได้จะจำหน่ายให้แก่ไทยและกัมพูชา อีกส่วนหนึ่งสำหรับใช้ในแขวงภาคใต้ ที่มีความต้องการสูงขึ้นทุกปี หนังสือพิมพ์ "ประชาชน" ของศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาวกล่าว.






14. ชาวลาวในแขวงภาคเหนือ กลับไปทำไร่ฝิ่นอีกครั้ง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 มิถุนายน 2553 13:34 น.

ภาพจากสื่อของทางการ เจ้าหน้าที่ควบคุมยาเสพติดเข้าตรวจ และพบว่า มีการปลูกฝิ่นกันกว่า 600 ไร่ในเขต 4 เมือง (อำเภอ) แขวงหลวงน้ำทา
       
ASTVผู้จัดการออนไลน์-- เจ้าหน้าที่คณะกรรมการกำกับและควบคุมยาเสพติดแขวงหลวงน้ำทา ทางภาคเหนือของลาวกล่าวว่า พบราษฎรในพื้นที่ห่างไกล ใน 4 ตัวเมือง กลับไปปลูกฝิ่นอีกครั้งหนึ่ง หลังเลิกไปแล้วตั้งแต่ปี 2547 ทั้งนี้ด้วยสาเหตุหลายประการ
       
       ตามรายงานของสำนักข่าวสารปะเทดลาว คณะกรรมการดังกล่าวได้เปิดเผยเรื่องนี้ในรายงานชิ้นหนึ่งที่เผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้
       
       นายมะนีสีสุวัน จันทะปะเสิด หัวหน้าคณะกรรมการฯ เปิดเผยในวันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมาว่า เจ้าหน้าที่ได้ตรวจพบราษฎร กลับมาปลูกฝิ่นในเขตเมือง (อำเภอ) สิง เมืองลองเวียงภูคา รวมทั้งเมืองน้ำทา ในแขวงหลวงน้ำทา เนื้อที่รวมกันราว 100 เฮกตาร์ ( 625 ไร่) ที่นั่นเคยเลิกปลูกฝิ่นไปแล้วตั้งแต่ปี 2547
       
       ราษฎรเหล่านั้นซึ่งเป็นชนชาติส่วนน้อย ไม่เข้าใจภาษาลาวภาษาแห่งชาติ การสื่อสารยากลำบาก และหน่วยงานก็ไม่มีงบประมาณเพียงพอในการเผยแพร่ข่าวสาร คำแนะนำเกี่ยวกับกฎหมาย และให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของการสูบฝิ่น
       
       หลายกรณีเป็นการปลูกในความเคยชินเนื่องจากมีการใช้ฝิ่นในชีวิตประจำวัน นายมะนีสีสุวันกล่าว
       
       เจ้าหน้าที่คนเดียวกันกล่าวว่าในช่วงปีงบประมาณ 2552-2553 ได้รักษาผู้เสพฝิ่นกว่า 130 รานใน 45 หมู่บ้านของทั้ง 4 เมือง สถิติอย่างเป็นทางการระบุว่า ปัจจุบันแขวงหลวงน้ำทา ที่มีชายแดนติดกับจีน มีผู้เสพฝิ่นประมาณ 1,756 ราย
       
       ตามรายงานของสื่อทางการ หลายปีมารนี้ลาวได้รณรงค์ให้ชนชาติส่วนน้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ชาวเขาเผ่าม้ง ให้เลิกปลูกฝิ่น และหันมาปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยางพารา ที่จำหน่ายได้ราคาดี ด้วยความร่วมมือช่วยหลือจากองค์การสหประชาชาติ และหลายหน่วยงานจากต่างประเทศ
       
       ลาวเพิ่งประกาศตัวเองเป็นประเทศปลอดฝิ่นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แต่ทางการยังคงจับกุมผู้กระทำผิด และจับยึดยาเสพติดได้หลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเฮโรอีนและฝิ่น
       
       ทางการลาวกล่าวว่า ไม่มีการผลิตยาเสพติดร้ายแรงในประเทศ แต่เป็นทางผ่านการขนยาเสพติดจากประเทศเพื่อนบ้านไปยังประเทศที่สาม.


ภาพจากสื่อของทางการ เจ้าหน้าที่จับกุมฝิ่นในนครเวียงจันทน์เดือน เม.ย.ที่ผ่านมา พบบรรจุในถุงพลาสติกกันน้ำอย่างดี ซุกซ่อนมิดชิดในถังน้ำแข็ง ชาวลาวภูเขาในภาคเหนือจำนวนหนึ่ง หันกลีบมาปลูกฝิ่นอีกแล้ว



15. นักลงทุนจีนปลูกยางอีก 6 หมื่นไร่ $50 ล้านปูพรมลาวเหนือ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 มิถุนายน 2553 22:30 น.

ภาพของสำนักงานส่งเสริมการค้าไทยประจำนครเวียงจันทน์ ถ่ายวันที่ 12 ต.ค. 2551 นายเฉลิมพล พงศ์ฉบับนภา อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายการพาณิชย์ประจำลาวไปเยี่ยมชมการทดลองทำยางแผ่นดิบที่ บริษัทลำปางฟู้ดจำกัด จากประเทศไทย ที่เข้าไปฝึกสอนให้แก่เกษตรกรลาว ที่บ้านดอนคูน เมืองหลวงน้ำทา แขวงหลวงน้ำทา บริษัทจากไทยเข้าไปอยู่ที่นั่นนานแล้ว แต่ทุนจากจีนกำลังมาแรงจัด
       
ASTVผู้จัดการรายวัน-- ทางการแขวงหลวงน้ำทาในภาคเหนือลาว ได้อนุมัติที่ดินสัมปทานอีก 10,000 เฮกตาร์ (62,500 ไร่) ให้บริษัทเอกชนจีนอีกแห่งหนึ่งทำสวนยางพารา และ ด้วยเงินลงทุนกว่า 50 ล้านดอลลาร์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นการขยายบทบาทของจีนในการพัฒนาเศรษฐกิจลาว
       
       การเซ็นสัญญามีขึ้นเมื่อวันที่ 25 พ.ค. โดยมีเลขาพรรคแขวง เจ้าแขวงหลวงน้ำทา นายพิมมะสอน เลืองคำมา และ ผู้แทนกระทรวงกลาโหมเข้าร่วมเป็นสักขีพยาน สำนักข่าวสารปะเทดลาวกล่าว
       
       สำนักข่าวทางการไม่ได้รายงานในรายละเอียดว่า สัญญาการงทุนอนุญาตให้ใช้ที่ดินรูปแบบใด เป็นการลงทุนปลูกยางเองโดยบริษัทจีนทั้งหมด หรือแบ่งออกเป็นเกษตรพันธะสัญญาที่ดำเนินการร่วมกับเกษตรในท้องถิ่น บนที่ดินของพวกเขาเอง อันเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมในระยะๆ หลังนี้ เนื่องจากมีที่ดินว่างเหลือน้อยลง
       
       ยังไม่มีตัวเลขอย่างเป็นทางการแต่หลายปีมานี้นักลงทุนจากจีนได้เข้าทำสวนยางพาราในแขวงภาคเหนือของลาวคิดเป็นเนื้อที่หลายหมื่นเฮกตาร์ เพื่อผลิตยางแผ่นส่งกลับไปป้อนตลาดในแผ่นดินใหญ่จีน ที่มีความต้องการเพิ่มมากขึ้นทุกปี
       
       หลายปีมานี้นักลงทุนจากจีนได้เข้าทำกิจการหลายอย่างในแขวงทางภาคเหนือลาว ทั้งการปลูกพืชเศรษฐกิจ ก่อสร้างศูนย์บริการการท่องเที่ยว และกาสิโน ศูนย์การค้า ทำเหมืองแร่ และสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้า โครงการส่วนใหญ่จะใช้ที่ดินสัมปทานหลายพันหรือนับหมื่นไร่
       
       ขณะที่ภาคเอกชนขยายการนลงทุนในลาว รัฐบาลจีนก็ได้เพิ่มความร่วมมือช่วยเหลือให้แก่รัฐบาลลาว รวมทั้งช่วยสร้างถนนหลายสาย สร้างสะพาน และ ช่วยลาวพัฒนายกระดับสนามบินอย่างน้อย 3 แห่งในภาคเหนือลาวตลอด 5 ปีข้างหน้า สื่อของทางการกล่าว
       
       เมื่อเร็วๆ นี้บริษัทก่อสร้างจากจีนแห่งหนึ่งได้เซ็นสัญญาเพื่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่เมืองปากแบง แขวงอุดมไซ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อการขนส่งทางบกระหว่างไทย ลาว จีนและเวียดนาม และ ยังช่วยลาวสำรวจเตรียมก่อสร้างทางหลวงสายหนึ่ง เพื่อเปิดทางไปยังชายแดนเวียดนามอีกด้วย.







16. เศรษฐีน้ำมันคูเวต เริ่มแผนทำนา 25,000 ไร่ในลาว



ภาพจาก Flickr.com ต้นกล้าขึ้นเขียวขจีในทุ่งนาของแขวงจำปาสัก ฤดูทำนาเริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ไม่เพียงแต่ชาวนาลาวจะปลูกข้าวเลี้ยงดูเพื่อนร่วมชาติเท่านั้น หากยังมีภารกิจต้องผลิตข้าวเลี้ยงดูเศรษฐีน้ำมันอย่างคูเวตอีกด้วย
       
ASTVผู้จัดการออนไลน์-- รัฐบาลคูเวตมาตามสัญญา มอบเงิน 350,000 ดอลลาร์ให้แก่กระทรวงเกษตรและป่าไม้ลาว ศึกษาโครงการทำนาข้าวและจัดระบบชลประทานในเขตนครเวียงจันทน์ เพื่อผลิตข้าวและส่งจำหน่ายให้แก่คูเวต
       
       สำนักข่าวสารปะเทดลาวรายงานโดยอ้างการเปิดเผยของอธิบดีกรมชลประทานที่ระบุว่า ปัจจุบันระบบชลประทาน 2 แห่งในเขตเมืองไซทานี นครเวียงจันทน์จัดน้ำให้นาข้าวได้เพียง 500 เฮกตาร์เศษ (3,100 ไร่เศษ) และกำลังจะพัฒนาให้ครอบคลุมนาข้าวถึง 4,000 เฮกตาร์ (25,000 ไร่) เพื่อผลิตข้าวให้พอป้อนตลาดตูเวต
       
       สองฝ่ายร่วมกันเซ็นความตกลงเรื่องนี้ปีที่แล้ว เมื่อนายกรัฐมนตรีลาว บัวสอน บุปผาวัน ไปเยือนคูเวต ซึ่งมีการเซ็นข้อตกลงความร่วมมือกันหลายด้าน ทั้งอุตสาหกรรม การค้าและการท่องเที่ยวด้วย
       
       ต่างไปจากในกัมพูชา ซึ่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า รัฐบาลคูเวตได้ขอเช่าที่นาที่นั่นนับหมื่นๆ ไร่เพื่อปลูกข้าว ด้วยจุดประสงค์คล้ายกันนี้
       
       คูเวตประเทศเล็กๆ ที่ร่ำรวยด้วยน้ำมันดิบ กำลังแสวงหาผืนดินอันอุดมในต่างแดน เพื่อผลิตข้าวและพืชอาหารชนิดอื่นๆ ส่งกลับไปเลี้ยงดูประชากร ตามแผนการที่มีมานานแล้ว แผนการเป็นจริงเป็นจังยิ่งขึ้น เมื่อเกิดยุคข้าวยากหมากแพงในต้นปี 2551 ซึ่งข้าวราคาแพงมากอย่างเป็นประวัติการและเกิดการขาดแคลนในตลาดโลก
       
       สำหรับโครงการในลาว ผู้เชี่ยวชาญจากตะวันออกกลางกำลังจะเข้าร่วมในโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในด้านต่างๆ ด้วย เจ้าหน้าที่ของทางการกล่าว .

ที่มา  :  ผู้จัดการ
[--pagebreak







หน้าก่อน หน้าก่อน (1/2)


สงวนลิขสิทธิ์โดย © ++kasetloongkim.com++ All Right Reserved.

ติดประกาศ: 2010-04-23 (5358 ครั้ง)

[ ย้อนกลับ ]
Content ©